ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธรรมสังคม"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิป... |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | '''ผู้เรียบเรียง''' รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | ||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
---- | ---- | ||
== พรรคธรรมสังคม == | == พรรคธรรมสังคม == | ||
พรรคธรรมสังคมเป็น[[พรรคการเมือง]]ที่จดทะเบียนจัดตั้งตาม[[พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517]] โดยมีนายทวิช กลิ่นประทุม เป็น[[หัวหน้าพรรค]] นายบุญเลิศ เลิศปรีชา เป็น[[เลขาธิการพรรค]] คำขวัญของพรรคคือ “สร้างความเป็นธรรมในสังคม” | |||
== นโยบายพรรคธรรมสังคม == | == นโยบายพรรคธรรมสังคม == | ||
นโยบายด้านการบริหาร พรรคธรรมสังคมจะให้สวัสดิการแก่ข้าราชการกรมการของรัฐ ไม่ใช่การเพิ่มเงินเดือน แต่เป็นการให้สวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ลูกเรียนหนังสือ โดยตั้งเป็น[[กระทรวงสวัสดิการข้าราชการ]] ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพของ[[ระบบราชการ]] เพราะพรรคธรรมสังคมมองว่า ปัญหา[[คอรัปชั่น]]ในวงข้าราชการเกิดจากปัญหาความไม่เพียงพอในรายได้ของข้าราชการ นั่นคือ ถ้าหากข้าราชการสามารถประกอบอาชีพอย่างพอกินพอใช้แล้ว ปัญหาการ[[ฉ้อราษฎร์บังหลวง]]ก็จะลดลง สำหรับจำนวนข้าราชการนั้น พรรคธรรมสังคมเห็นว่าไม่จำเป็นต้องลดจำนวนข้าราชการ แต่อาจจำเป็นต้องเพิ่มขึ้นเมื่อ[[รัฐบาล]]สามารถสร้างเมืองในชนบทให้เกิดขึ้นในทุกภูมิภาค | |||
นโยบายทางการเมือง พรรคธรรมสังคมจะมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจนำการเมือง โดยมองว่าหากเศรษฐกิจของประเทศดีแล้ว เสถียรภาพทางการเมืองก็จะตามมา สำหรับ[[รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517]] นั้น พรรคธรรมสังคมเห็นว่าไม่ควรมี[[วุฒิสภา]]ที่มาจากการแต่งตั้งโดย[[พระมหากษัตริย์]] เพราะจะทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งสมควรที่จะแยกให้เด็ดขาด หากเป็นไปได้ควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้วุฒิสภามีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน หรือไม่เช่นนั้นก็ไม่ควรให้มีวุฒิสภาเลย นอกจากนี้ พรรคธรรมสังคมจะนำหลักการประชาธิปไตยชาวบ้านมาประยุกต์เข้ากับ[[ประชาธิปไตย]]อุดมการวิชาการ | |||
นโยบายทางการเมือง พรรคธรรมสังคมจะมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจนำการเมือง โดยมองว่าหากเศรษฐกิจของประเทศดีแล้ว เสถียรภาพทางการเมืองก็จะตามมา | |||
นโยบายด้านการเกษตร พรรคธรรมสังคมจะให้รัฐเป็นผู้ค้าขายสินค้าเกษตร โดยมอบหมายให้คนที่มีความรู้ความสามารถด้านติดต่อการค้าต่างประเทศมาวางแผนการผลิตสินค้าเกษตร โดยจะเร่งผลผลิตการเกษตรแต่ละประเภทตามลำดับความสำคัญให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องให้เกษตรกรทุกพื้นที่ปลูกพืชชนิดเดียวกันพร้อมกันทั้งหมด เพื่อจำกัดควบคุมมิให้ปริมาณสินค้าผลผลิตการเกษตรล้นตลาด | นโยบายด้านการเกษตร พรรคธรรมสังคมจะให้รัฐเป็นผู้ค้าขายสินค้าเกษตร โดยมอบหมายให้คนที่มีความรู้ความสามารถด้านติดต่อการค้าต่างประเทศมาวางแผนการผลิตสินค้าเกษตร โดยจะเร่งผลผลิตการเกษตรแต่ละประเภทตามลำดับความสำคัญให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องให้เกษตรกรทุกพื้นที่ปลูกพืชชนิดเดียวกันพร้อมกันทั้งหมด เพื่อจำกัดควบคุมมิให้ปริมาณสินค้าผลผลิตการเกษตรล้นตลาด | ||
บรรทัดที่ 31: | บรรทัดที่ 27: | ||
นโยบายด้านการทหาร พรรคธรรมสังคมเห็นว่า ทหารไม่จำเป็นต้องออกไปรบ แต่ควรจะพัฒนาทักษะทหารในด้านการพัฒนาเมืองและชนบท | นโยบายด้านการทหาร พรรคธรรมสังคมเห็นว่า ทหารไม่จำเป็นต้องออกไปรบ แต่ควรจะพัฒนาทักษะทหารในด้านการพัฒนาเมืองและชนบท | ||
ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคธรรมสังคมส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งในเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 237 คน และได้รับเลือกตั้ง 45 คน | ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคธรรมสังคมส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งในเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 237 คน และได้รับเลือกตั้ง 45 คน ซึ่งมากเป็นอันดับสองรองจากพรรค[[ประชาธิปัตย์]]ซึ่งได้รับเลือกตั้ง 72 คน | ||
== ที่มา == | == ที่มา == | ||
บรรทัดที่ 45: | บรรทัดที่ 40: | ||
[[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | [[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | ||
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:21, 4 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคธรรมสังคม
พรรคธรรมสังคมเป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 โดยมีนายทวิช กลิ่นประทุม เป็นหัวหน้าพรรค นายบุญเลิศ เลิศปรีชา เป็นเลขาธิการพรรค คำขวัญของพรรคคือ “สร้างความเป็นธรรมในสังคม”
นโยบายพรรคธรรมสังคม
นโยบายด้านการบริหาร พรรคธรรมสังคมจะให้สวัสดิการแก่ข้าราชการกรมการของรัฐ ไม่ใช่การเพิ่มเงินเดือน แต่เป็นการให้สวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ลูกเรียนหนังสือ โดยตั้งเป็นกระทรวงสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพของระบบราชการ เพราะพรรคธรรมสังคมมองว่า ปัญหาคอรัปชั่นในวงข้าราชการเกิดจากปัญหาความไม่เพียงพอในรายได้ของข้าราชการ นั่นคือ ถ้าหากข้าราชการสามารถประกอบอาชีพอย่างพอกินพอใช้แล้ว ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงก็จะลดลง สำหรับจำนวนข้าราชการนั้น พรรคธรรมสังคมเห็นว่าไม่จำเป็นต้องลดจำนวนข้าราชการ แต่อาจจำเป็นต้องเพิ่มขึ้นเมื่อรัฐบาลสามารถสร้างเมืองในชนบทให้เกิดขึ้นในทุกภูมิภาค
นโยบายทางการเมือง พรรคธรรมสังคมจะมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจนำการเมือง โดยมองว่าหากเศรษฐกิจของประเทศดีแล้ว เสถียรภาพทางการเมืองก็จะตามมา สำหรับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 นั้น พรรคธรรมสังคมเห็นว่าไม่ควรมีวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ เพราะจะทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งสมควรที่จะแยกให้เด็ดขาด หากเป็นไปได้ควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้วุฒิสภามีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน หรือไม่เช่นนั้นก็ไม่ควรให้มีวุฒิสภาเลย นอกจากนี้ พรรคธรรมสังคมจะนำหลักการประชาธิปไตยชาวบ้านมาประยุกต์เข้ากับประชาธิปไตยอุดมการวิชาการ
นโยบายด้านการเกษตร พรรคธรรมสังคมจะให้รัฐเป็นผู้ค้าขายสินค้าเกษตร โดยมอบหมายให้คนที่มีความรู้ความสามารถด้านติดต่อการค้าต่างประเทศมาวางแผนการผลิตสินค้าเกษตร โดยจะเร่งผลผลิตการเกษตรแต่ละประเภทตามลำดับความสำคัญให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องให้เกษตรกรทุกพื้นที่ปลูกพืชชนิดเดียวกันพร้อมกันทั้งหมด เพื่อจำกัดควบคุมมิให้ปริมาณสินค้าผลผลิตการเกษตรล้นตลาด
นโยบายด้านการพัฒนา พรรคธรรมสังคมจะสร้างเมืองชนบทให้มากขึ้น ชักจูงพ่อค้าประชาชนให้ไปลงทุนสร้างย่านการค้าในทุกจังหวัด หรือสี่ห้าจังหวัดพร้อมกัน โดยรัฐบาลจะเป็นวางผังเมืองให้ และจะกำหนดยกเว้นไม่เก็บภาษีในย่านการค้าดังกล่าวในช่วงหนึ่ง หรืออาจเก็บเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ จนกว่ากิจการค้าในเขตนั้นจะเจริญขึ้นพร้อมที่จะประกาศเป็นเขตเมืองใหม่ รัฐบาลต้องสร้างชนบทให้เป็นเมือง โดยหลักการสร้างเมืองในป่า สร้างป่าในเมือง ส่งเสริมให้ประชาชนในชนบทมีงานทำสูงขึ้น มีบริการจำเป็นของรัฐประจำตำบลทุกแห่ง และส่งเสริมอุตสาหกรรมในพื้นที่ชนบทห่างไกลให้มากขึ้น โดยรัฐจะดึงกำไรจากคนรวยมาช่วยคนจน และสร้างสวนสาธารณะหรือส่งเสริมการทำสวนครัวในเมืองให้มากขึ้น รัฐบาลจะส่งเสริมรายได้ให้สูงขึ้น และรายจ่ายลดลง โดยสร้างอำนาจเกษตรกรรมเป็นอำนาจของชาติ รัฐบาลจะต้องส่งเสริมให้ข้าวเปลือกมีราคาแพง ข้าวสารมีราคาถูก โดยประกันราคาโรงสีและสหกรณ์ จัดให้ชนบทเป็นแหล่งอยู่อาศัยที่น่าอยู่ ให้มีงานทำในชนบทสูงขึ้น มีบริการจำเป็นของรัฐ ในด้านการคมนาคม พรรคธรรมสังคมจะตั้งสหพันธ์รถเมล์ที่เป็นระบบสัมปทาน ให้มีการตั้งบริษัทมหาชนส่งเสริมการผลิตของเอกชน
นโยบายด้านการศึกษา พรรคธรรมสังคมจะให้เยาวชนได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมุ่งให้เยาวชนได้มีความรู้พื้นฐานทั่วไป และมีความรู้ในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะการออกไปดำเนินการผลิตเกษตรกรรม รวมถึงทักษะความรู้ในการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น โดจะพยายามผลักดันการสร้างหลักสูตรการศึกษาเพื่อเศรษฐกิจของชาติ
นโยบายด้านสวัสดิการสังคม พรรคธรรมสังคมจะยึดนโยบายสวัสดิการสังคมแบบเน้นให้ประชาชนช่วยตัวเองเป็นอันดับแรก โดยรัฐจะให้ความช่วยเหลือทางอ้อม เช่น สร้างถนนหนทางให้สะดวก สร้างคูคลองส่งน้ำเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพสร้างรายได้ ประกันราคาสินค้าเกษตรกรรม ส่งเสิมวิธีการลำเลียงพืชไร่สู่ตลาด เป็นต้น สำหรับการบริการทางการแพทย์และอนามัยนั้น พรรคธรรมสังคมจะเพิ่มปริมาณให้พอเพียงกับจำนวนประชากร ให้มีการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ระดับกลางให้มากขึ้น โดยจะสร้างโรงเรียนพยาบาล และมีการสร้างหลักสูตรส่งเสริมสมรรถภาพของบุคลากรทางการแพทย์และอนามัย
นโยบายด้านการทหาร พรรคธรรมสังคมเห็นว่า ทหารไม่จำเป็นต้องออกไปรบ แต่ควรจะพัฒนาทักษะทหารในด้านการพัฒนาเมืองและชนบท
ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคธรรมสังคมส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งในเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 237 คน และได้รับเลือกตั้ง 45 คน ซึ่งมากเป็นอันดับสองรองจากพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งได้รับเลือกตั้ง 72 คน
ที่มา
สุจิต บุญบงการ, การพัฒนาการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช, การสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมืองในประเทศไทย, วิทยานิพนธ์หลักสูตรชั้นปริญญาโท ภาค 2 ทางรัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2519
วสันต์ หงสกุล, 37 พรรคการเมือง ปัจจัยพิจารณาเปรียบเทียบ, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ตะวันนา, 2518
ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ, พรรคการเมืองและปัญหาพรรคการเมืองไทย, กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2524