ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
== ความเบื้องต้น : สำหรับการอภิวัตน์กับระบอบรัฐธรรมนูญสยาม == | == ความเบื้องต้น : สำหรับการอภิวัตน์กับระบอบรัฐธรรมนูญสยาม == | ||
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 [[คณะราษฎร]]ได้ทำการอภิวัตน์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศสยามจากระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]]มาเป็นระบอบ[[รัฐธรรมนูญ]]<ref> [[นายปรีดี พนมยงค์]] เรียกระบอบการปกครองใหม่นี้ว่า ระบบ[[ราชาธิปไตย]]ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย (ปรีดี พนมยงค์ 2526 : 346), [[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]]เรียกว่า ราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ (รงส. 34/2475) ในปัจจุบันเป็นที่เข้าใจว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย</ref> คณะราษฎรจัดทำร่าง พ.ร.บ. [[ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ. 2475]] ทูลเกล้าถวาย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานลงมา ณ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงเติมคำว่า “ชั่วคราว” กำกับต่อท้ายพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม โดยมีพระราชกระแสรับสั่งแก่คณะราษฎรว่าให้ใช้ พ.ร.บ. ธรรมนูญฯ นี้เป็นการชั่วคราว แล้วให้เสนอ[[สภาผู้แทนราษฎร]]เพื่อตั้งคณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร (ปรีดี พนมยงค์ 2526 : 346) | ||
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) แถลงต่อสภาฯว่า ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน เป็นฉบับชั่วคราวที่ร่างในเวลาฉุกละหุก อาจบกพร่อง จึงควรให้มีอนุกรรมการ ตรวจแก้ไขเพิ่มเติม ที่ประชุมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน 7 ท่าน มี พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ | ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) แถลงต่อสภาฯว่า ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน เป็นฉบับชั่วคราวที่ร่างในเวลาฉุกละหุก อาจบกพร่อง จึงควรให้มีอนุกรรมการ ตรวจแก้ไขเพิ่มเติม ที่ประชุมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน 7 ท่าน มี พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ และ[[หลวงประดิษฐมนูธรรม]]เป็นเลขาธิการ มีกรรมการประกอบด้วยพระยาเทพวิฑุร พระยามานวราชเสวี พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ พระยาปรีดานฤเบศร์ และหลวงสินาดโยธารักษ์ (รงส.1/2475, 28 มิถุนายน 2475) | ||
ต่อมา | ต่อมา พระมโนปกรณ์นิติธาดาเสนอต่อ[[สภาผู้แทนราษฎร]] ขอให้แต่งตั้ง อนุกรรมการฯเพิ่มขึ้นอีก 2 ท่าน ได้แก่พระยาศรีวิศาลวาจาและนายพลเรือโทพระยาราชวังสัน โดยให้เหตุผลว่าจะได้ช่วยกันคิดทำให้งานสำเร็จเร็วขึ้น (รงส.27/2475, 23 กันยายน 2475) เมื่อพิจารณาโครงสร้างคณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญพบว่า อนุกรรมการในปีกคณะราษฎร มีหลวงประดิษฐมนูธรรมส่วนอนุกรรมการท่านอื่นๆ เช่น พระยามโนปกรณ์นิติธาดา พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี พระยามานวราชเสวี และพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ เป็นนักกฎหมายที่จบการศึกษาจากอังกฤษและมีอาวุโสกว่า ขณะที่หลวงประดิษฐ์ฯมี อาวุโสอ่อนที่สุด และเป็นนักกฎหมายจากฝรั่งเศสเพียงคนเดียว (ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 2534 : 113-120) กล่าวได้ว่า ในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญมีการประนีประนอมระหว่างคณะราษฎร ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และพระมหากษัตริย์ตลอดเวลา ซึ่งรวมถึงการพิจารณาร่าง รัฐธรรมนูญในสภาผู้แทนราษฎรด้วย ดังปรากฏในคำแถลงของประธานอนุกรรมการ ฯ ต่อสภาฯ ว่า | ||
“…ในการร่างพระธรรมนูญนี้ อนุกรรมการได้ทำการติดต่อกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดเวลา จนถึงอาจจะกล่าวได้ว่า ได้ร่วมมือกันทำข้อความตลอดในร่างที่เสนอมานี้ ได้ทูลเกล้าฯถวาย และทรงเห็นชอบด้วยทุกประการแล้ว และที่กล่าวได้ว่าทรงเห็นชอบนั้น ไม่ใช่แต่เพียงทรงเห็นชอบด้วย อย่างข้อความที่กราบบังคมทูลขึ้นไป ยิ่งกว่านั้น เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก…” (รงส. 34/2475 24 พฤศจิกายน 2475) | “…ในการร่างพระธรรมนูญนี้ อนุกรรมการได้ทำการติดต่อกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดเวลา จนถึงอาจจะกล่าวได้ว่า ได้ร่วมมือกันทำข้อความตลอดในร่างที่เสนอมานี้ ได้ทูลเกล้าฯถวาย และทรงเห็นชอบด้วยทุกประการแล้ว และที่กล่าวได้ว่าทรงเห็นชอบนั้น ไม่ใช่แต่เพียงทรงเห็นชอบด้วย อย่างข้อความที่กราบบังคมทูลขึ้นไป ยิ่งกว่านั้น เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก…” (รงส. 34/2475 24 พฤศจิกายน 2475) | ||
บรรทัดที่ 15: | บรรทัดที่ 15: | ||
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 มีทั้งหมด 68 มาตรา โดย แบ่งออกเป็น 7 หมวด ได้แก่ | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 มีทั้งหมด 68 มาตรา โดย แบ่งออกเป็น 7 หมวด ได้แก่ | ||
หมวด 1 พระมหากษัตริย์ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม หมวด 3 สภาผู้แทนราษฎร หมวด 4 คณะรัฐมนตรี หมวด 5 ศาล หมวด 6 บทสุดท้าย เป็นหมวดพิเศษเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และหมวด 7 การใช้รัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล | หมวด 1 [[พระมหากษัตริย์]] หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม หมวด 3 [[สภาผู้แทนราษฎร]] หมวด 4 [[คณะรัฐมนตรี]] หมวด 5 ศาล หมวด 6 บทสุดท้าย เป็นหมวดพิเศษเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และหมวด 7 การใช้รัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล | ||
วิภาลัย ธีรชัย (2522 : 131- 32) สรุปสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ไว้ดังนี้ | วิภาลัย ธีรชัย (2522 : 131- 32) สรุปสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ไว้ดังนี้ | ||
# อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวสยามมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข ทรงใช้อำนาจโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ | # อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวสยามมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข ทรงใช้อำนาจโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ [[อำนาจอธิปไตย]]แบ่งออก เป็น [[อำนาจนิติบัญญัติ]] มีสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารมี[[คณะรัฐมนตรี]]เป็นผู้ใช้และ[[อำนาจตุลาการ]]มีศาลเป็นผู้ใช้ | ||
# พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพ ตามรัฐธรรมนูญกำหนดต้องทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงมีพระราชอำนาจในการประกาศสงคราม ลงนามในสัญญา สันติภาพ ทำสนธิสัญญากับนานาประเทศ | # พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพ ตามรัฐธรรมนูญกำหนดต้องทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงมีพระราชอำนาจในการประกาศสงคราม ลงนามในสัญญา สันติภาพ ทำสนธิสัญญากับนานาประเทศ และยังทรงมี[[พระราชอำนาจ]]ที่จะพระราชทานอภัยโทษ ทรงเรียกและปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจน[[ยุบสภา]]ผู้แทนราษฎร | ||
# | # พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง[[นายกรัฐมนตรี]]โดยคำแนะนำของสภาผู้แทนราษฎร ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้จัดตั้งคณะรัฐมนตรี | ||
# สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีสมาชิก 2 ประเภท ประกอบด้วย สมาชิกประเภทที่หนึ่งมาจากการเลือกตั้ง 2 ชั้น โดยราษฎรชาย หญิงที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ และมีสัญชาติไทยตามกฎหมาย และภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2475 โดยจัดการเลือกผู้แทนตำบล แล้วให้ผู้แทนตำบลเลือกผู้แทนราษฎรอีกชั้นหนึ่ง <p> ส่วนสมาชิกประเภทที่สองได้รับแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี และจะยกเลิกโดยกำหนดระยะเวลาไว้ว่าหากมีจำนวนราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรจบการศึกษาขั้นประถมศึกษาเกินกว่าครึ่งหนึ่งของ จำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด หรือในระยะเวลา 10 ปี</p> | # สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีสมาชิก 2 ประเภท ประกอบด้วย สมาชิกประเภทที่หนึ่งมาจากการเลือกตั้ง 2 ชั้น โดยราษฎรชาย หญิงที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ และมีสัญชาติไทยตามกฎหมาย และภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2475 โดยจัดการเลือกผู้แทนตำบล แล้วให้ผู้แทนตำบลเลือกผู้แทนราษฎรอีกชั้นหนึ่ง <p> ส่วนสมาชิกประเภทที่สองได้รับแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี และจะยกเลิกโดยกำหนดระยะเวลาไว้ว่าหากมีจำนวนราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรจบการศึกษาขั้นประถมศึกษาเกินกว่าครึ่งหนึ่งของ จำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด หรือในระยะเวลา 10 ปี</p> | ||
# กำหนดให้พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป ไม่ว่าจะทรงอิศริยศโดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง | # กำหนดให้พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป ไม่ว่าจะทรงอิศริยศโดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง | ||
บรรทัดที่ 29: | บรรทัดที่ 29: | ||
ประการแรก สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจลดลง สภาผู้แทนราษฎรจะถูกยุบโดย | ประการแรก สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจลดลง สภาผู้แทนราษฎรจะถูกยุบโดย | ||
พระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา และให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 90 วัน (มาตรา 29) | พระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา และให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 90 วัน (มาตรา 29) นอกจากนั้นเป็น[[การประชุมสมัยวิสามัญ]]ซึ่งพระมหากษัตริย์จะทรงเรียกประชุมเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ (มาตรา 31) | ||
สภาฯมีอำนาจในการตราพระราชบัญญัติและพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี และควบคุมฝ่ายบริหารโดยการตั้งกระทู้ถามและมีมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะหรือรายตัว (มาตรา 36, 37, 40 และ 41) และมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญเพื่อทำกิจการหรือ | สภาฯมีอำนาจในการตราพระราชบัญญัติและพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี และควบคุมฝ่ายบริหารโดยการตั้งกระทู้ถามและมีมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะหรือรายตัว (มาตรา 36, 37, 40 และ 41) และมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญเพื่อทำกิจการหรือ | ||
บรรทัดที่ 44: | บรรทัดที่ 44: | ||
พระราชอำนาจ ตามความในมาตรา 6 “พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติโดย คำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร”, มาตรา 7 “พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี” และ มาตรา 8 “พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาลที่ได้ตั้งขึ้นตามกฎหมาย” | พระราชอำนาจ ตามความในมาตรา 6 “พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติโดย คำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร”, มาตรา 7 “พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี” และ มาตรา 8 “พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาลที่ได้ตั้งขึ้นตามกฎหมาย” | ||
มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฯใช้คำว่า พระราชอำนาจ บริหาร พระราชอำนาจนิติบัญญัติ และพระราชอำนาจตุลาการ ประธานอนุกรรมการฯ เสนอให้ตัดคำว่า “พระราช” ออก โดยให้เหตุผลว่า อำนาจนี้ไม่ใช่ของกษัตริย์ แต่เป็นอำนาจที่มาจากประชาชนชาวสยาม ในขณะที่สมาชิกบางส่วนเห็นว่า ควรคงไว้เพื่อรักษาความสุภาพอ่อนโยน (sentiment) | มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฯใช้คำว่า [[พระราชอำนาจ]] บริหาร พระราชอำนาจนิติบัญญัติ และพระราชอำนาจตุลาการ ประธานอนุกรรมการฯ เสนอให้ตัดคำว่า “พระราช” ออก โดยให้เหตุผลว่า อำนาจนี้ไม่ใช่ของกษัตริย์ แต่เป็นอำนาจที่มาจากประชาชนชาวสยาม ในขณะที่สมาชิกบางส่วนเห็นว่า ควรคงไว้เพื่อรักษาความสุภาพอ่อนโยน (sentiment) แต่เจ้า[[พระยาธรรมศักดิ์มนตรี]]อธิบายว่า อาจขัดกับความเป็นจริง (fact) ได้ ถ้าเช่นนั้นควรจะรักษาความเป็นจริงไว้ดีกว่า | ||
ประธานอนุกรรมการฯกล่าวเพิ่มเติมว่า ในระบอบรัฐธรรมนูญ (constitutionalism) พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจในทางบริหารต่างจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์(absolutism) ที่การบริหารใดๆ เป็นพระราชอำนาจ ดังนั้น การใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์จึงต้อง มีกรรมการราษฎร (ที่ต่อมาสภา ฯ มีมติให้เรียกว่ารัฐมนตรี) เป็นผู้ลงนามสนอง พระบรมราชโองการ โดยเฉพาะมาตรา 7 ซึ่งหลวงประดิษฐมนูธรรมกล่าวว่า เป็นบทบัญญัติที่จำกัดพระราชอำนาจบริหารของกษัตริย์ หากความสุภาพนุ่มนวลไม่ขัดกับ ความเป็นจริงก็จะรักษาภาษาสำนวน เพราะ ‘ไม่ต้องการให้ชอกช้ำ’ ไว้ก็ได้ ในที่สุดที่ประชุมเห็นชอบให้ตัดคำว่า “พระราช” ออก (รงส. 35/2475 25 พฤศจิกายน 2475) | ประธานอนุกรรมการฯกล่าวเพิ่มเติมว่า ในระบอบรัฐธรรมนูญ (constitutionalism) พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจในทางบริหารต่างจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์(absolutism) ที่การบริหารใดๆ เป็นพระราชอำนาจ ดังนั้น การใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์จึงต้อง มีกรรมการราษฎร (ที่ต่อมาสภา ฯ มีมติให้เรียกว่ารัฐมนตรี) เป็นผู้ลงนามสนอง พระบรมราชโองการ โดยเฉพาะมาตรา 7 ซึ่งหลวงประดิษฐมนูธรรมกล่าวว่า เป็นบทบัญญัติที่จำกัดพระราชอำนาจบริหารของกษัตริย์ หากความสุภาพนุ่มนวลไม่ขัดกับ ความเป็นจริงก็จะรักษาภาษาสำนวน เพราะ ‘ไม่ต้องการให้ชอกช้ำ’ ไว้ก็ได้ ในที่สุดที่ประชุมเห็นชอบให้ตัดคำว่า “พระราช” ออก (รงส. 35/2475 25 พฤศจิกายน 2475) | ||
=== ปัญหาการสืบราชสมบัติ === | === ปัญหาการสืบราชสมบัติ === | ||
ปัญหา[[การสืบราชสมบัติ]] และการกำหนดว่า พระมหากษัตริย์จะต้องทรงปฏิญาณว่าจะรักษาและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 9 ระบุว่า “การสืบราชสมบัติท่านว่าให้เป็นไปโดยนัยแห่ง[[กฎมณเฑียรบาล]]ว่าด้วย[[การสืบราชสันตติวงศ์]] พ.ศ. 2467 และประกอบด้วยความเห็นชอบของ[[สภาผู้แทนราษฎร]]” มาตรานี้มีนัยว่า แม้จะมีข้อกำหนดใน[[กฎมณเฑียรบาล]]เป็นลำดับแต่[[พระมหากษัตริย์]]อาจทรงเลือกรัชทายาทโดย ไม่ต้องคำนึงถึงกฎมณเฑียรบาลก็ได้ ดังนั้น เพื่อมิให้ได้คนที่ไม่สมควรเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประธานอนุกรรมการฯ แถลงว่า ตรงกับประเพณีการสืบราชสมบัติของสยามที่ว่า“พระมหากษัตริย์ทรงเสด็จเถลิงถวัลย์สมบัติด้วยประชาชนอัญเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ” ตามหลัก[[อเนกนิกรสโมสรสมมติ]] (รงส. 36/2475 25 พฤศจิกายน 2475) | |||
นายหงวน ทองประเสริฐถามว่า พระมหากษัตริย์ต้องทรงปฏิญาณว่าจะรักษาและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ ประธานอนุกรรมการฯตอบว่า ต้องทรงปฏิญาณ และตามประเพณีราชาภิเษกก็มีการปฏิญาณ อยู่แล้ว นายหงวน ทองประเสริฐ และนายจรูญ สืบแสง | นายหงวน ทองประเสริฐถามว่า พระมหากษัตริย์ต้องทรงปฏิญาณว่าจะรักษาและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ ประธานอนุกรรมการฯตอบว่า ต้องทรงปฏิญาณ และตามประเพณีราชาภิเษกก็มีการปฏิญาณ อยู่แล้ว นายหงวน ทองประเสริฐ และนายจรูญ สืบแสง ต้องการให้บัญญัติไว้ใน[[รัฐธรรมนูญ]] โดยให้เหตุผลว่า พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆไปอาจไม่ปฏิญาณ | ||
ขณะที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมอธิบายว่าการที่ไม่บัญญัติหรือเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ได้เป็นการยกเว้นว่ากษัตริย์ไม่ต้องปฏิญาณเพราะถือเป็นพระราชประเพณีเวลาขึ้นครองราชสมบัติ และขอให้จดบันทึกไว้ในรายงานการประชุม | ขณะที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมอธิบายว่าการที่ไม่บัญญัติหรือเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ได้เป็นการยกเว้นว่ากษัตริย์ไม่ต้องปฏิญาณเพราะถือเป็นพระราชประเพณีเวลาขึ้นครองราชสมบัติ และขอให้จดบันทึกไว้ในรายงานการประชุม | ||
ประธานอนุกรรมการกล่าวเพิ่มเติมว่า | ประธานอนุกรรมการกล่าวเพิ่มเติมว่า ได้เคยเข้าเฝ้า[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และทรงมีรับสั่งว่าพระองค์ได้ทรงปฏิญาณเวลาเสวยราชสมบัติและเวลารับเป็นรัชทายาทก็ต้อง ปฏิญาณก่อนดังนั้นจึงถือเป็นพระราชประเพณีแต่นายจรูญยืนยันให้บัญญัติในรัฐธรรมนูญประธานสภาฯจึงขอให้ลงมติ ที่ประชุมฯยืนยันให้คงตามร่างเดิม 48 คะแนน ยืนยันให้เติม 7 คะแนน | ||
=== การกำหนดบทบาทของพระบรมวงศานุวงศ์ === | === การกำหนดบทบาทของพระบรมวงศานุวงศ์ === | ||
บรรทัดที่ 62: | บรรทัดที่ 62: | ||
“มาตรา 11 พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป โดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง” | “มาตรา 11 พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป โดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง” | ||
ประธาน อนุกรรมการกราบบังคมทูลถามเรียนพระราชปฏิบัติต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงมีลายพระหัตถ์พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยว่าทรงเห็นด้วยดังมีพระ ราชหัตถเลขาความว่า“ในหลักการพระบรมวงศานุวงศ์ย่อมดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ เหนือความที่จะพึงถูกติเตียนไม่ควรแก่ตำแหน่งการเมืองซึ่งเป็นงานที่นำมาทั้งในทางพระเดช และพระคุณ” (พระราชหัตถเลขาถึงพระยามโนปกรณ์นิติธาดา วันที่ 14 พฤศจิกายน 2475) โดยเฉพาะในเวลาการรณรงค์หาเสียงจะมีการโจมตีซึ่งกันและกัน | ประธาน อนุกรรมการกราบบังคมทูลถามเรียนพระราชปฏิบัติต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงมีลายพระหัตถ์พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยว่าทรงเห็นด้วยดังมีพระ ราชหัตถเลขาความว่า“ในหลักการพระบรมวงศานุวงศ์ย่อมดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ เหนือความที่จะพึงถูกติเตียนไม่ควรแก่ตำแหน่งการเมืองซึ่งเป็นงานที่นำมาทั้งในทางพระเดช และพระคุณ” (พระราชหัตถเลขาถึงพระยามโนปกรณ์นิติธาดา วันที่ 14 พฤศจิกายน 2475) โดยเฉพาะในเวลาการรณรงค์หาเสียงจะมีการโจมตีซึ่งกันและกัน [[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]]จึงทูลเสนอว่าให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปดำรงอยู่เหนือการเมือง พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์กล่าวในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่าไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการตัดสิทธิเจ้าซึ่งเป็นคนไทยด้วยกัน ดูจะไม่เหมาะ ขณะที่นายมังกร สามเสน เสนอว่าหม่อมเจ้าบางพระองค์มีความรู้เรื่องการเมือง หากจะทรงสละฐานันดรศักด์มาเป็นสามัญชนก็ควรจะให้เข้าวงการเมืองได้เช่นเดียวกับกรณีหม่อมเจ้าหญิงทรงสละสิทธิเดิมเพื่อสมรสกับสามัญชน | ||
แต่พระยามานวราชเสวี และนายดิเรก ชัยนาม เห็นพ้องกันว่าการเป็นเจ้าเป็นฐานะตามกำเนิดแม้หม่อมเจ้าหญิงจะสละฐานันดรศักดิ์มาสมรสกับสามัญชนก็ยังคงนับถือว่า | แต่พระยามานวราชเสวี และนายดิเรก ชัยนาม เห็นพ้องกันว่าการเป็นเจ้าเป็นฐานะตามกำเนิดแม้หม่อมเจ้าหญิงจะสละฐานันดรศักดิ์มาสมรสกับสามัญชนก็ยังคงนับถือว่า | ||
บรรทัดที่ 68: | บรรทัดที่ 68: | ||
หา เสียงจะมีการเสียดสีจะทำให้เสื่อมเสียเกียรติยศของเจ้านาย เช่นเดียวกับพระยาศรีวิสารวาจาอธิบายเพิ่มเติมว่าการให้เจ้าอยู่เหนือ การเมืองหมายถึงตำแหน่งที่เกี่ยวกับการเมืองดังเช่นเสนาบดีและผู้แทนราษฎร จุดประสงค์สำคัญก็คือในระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยอำนาจจำกัดนั้นได้จัดวาง ให้พระมหากษัตริย์ เป็นที่เคารพสักการะและอยู่เหนือการเมือง ดังนั้น พระบรมวงศานุวงศ์ก็อยู่ในฐานะเช่นเดียวกัน และเพื่อมิให้มีการกล่าวโจมตีพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งรวมถึงพระมหากษัตริย์ จึงถือว่าเจ้านายอยู่เหนือการเมือง | หา เสียงจะมีการเสียดสีจะทำให้เสื่อมเสียเกียรติยศของเจ้านาย เช่นเดียวกับพระยาศรีวิสารวาจาอธิบายเพิ่มเติมว่าการให้เจ้าอยู่เหนือ การเมืองหมายถึงตำแหน่งที่เกี่ยวกับการเมืองดังเช่นเสนาบดีและผู้แทนราษฎร จุดประสงค์สำคัญก็คือในระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยอำนาจจำกัดนั้นได้จัดวาง ให้พระมหากษัตริย์ เป็นที่เคารพสักการะและอยู่เหนือการเมือง ดังนั้น พระบรมวงศานุวงศ์ก็อยู่ในฐานะเช่นเดียวกัน และเพื่อมิให้มีการกล่าวโจมตีพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งรวมถึงพระมหากษัตริย์ จึงถือว่าเจ้านายอยู่เหนือการเมือง | ||
นอกจากนี้ ม.จ. วรรณไวทยากร วรวรรณ ได้ตีพิมพ์ “คำอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ” เผยแพร่ก่อนสภาฯจะได้พิจารณา ทรงแสดงความเห็นอย่างแข็งขันว่า ความในมาตรา 11 | นอกจากนี้ ม.จ. วรรณไวทยากร วรวรรณ ได้ตีพิมพ์ “คำอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ” เผยแพร่ก่อนสภาฯจะได้พิจารณา ทรงแสดงความเห็นอย่างแข็งขันว่า ความในมาตรา 11 เป็นการตัด[[สิทธิการเมือง]]ของเจ้ารวมถึงสิทธิเลือกตั้งจึงผิดหลักประชาธิปไตย และหลักสิทธิรัฐธรรมนูญ (ดู “อภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ” ใน สิริ เปรมจิตต์ 2511 : 35-44) | ||
สำหรับประเด็นเรื่องการกำหนดบทบาทของผู้ที่มีบรรดาศักดิ์กับการเมืองนั้น นายซิม วีระไวทยะ เสนอญัตติต่อประธานสภาว่า “บุคคลทุกคนซึ่งมีบรรดาศักดิ์ไม่ว่าชั้นใด | สำหรับประเด็นเรื่องการกำหนดบทบาทของผู้ที่มีบรรดาศักดิ์กับการเมืองนั้น นายซิม วีระไวทยะ เสนอญัตติต่อประธานสภาว่า “บุคคลทุกคนซึ่งมีบรรดาศักดิ์ไม่ว่าชั้นใด | ||
โดยแต่งตั้งหรือประการใดก็ตาม ย่อมอยู่เหนือการเมืองทั้งสิ้น แต่ชอบที่จะเวนคืนบรรดาศักดิ์ เพื่อเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรได้” โดยให้เติมท้ายมาตรา 11และให้เหตุผลว่า บุคคลย่อมเสมอภาคตามกฎหมาย บรรดาศักดิ์ที่ได้รับแต่งตั้งไม่ก่อให้เกิดเอกสิทธิ์ใดๆ จึงไม่ควรอนุญาตให้ผู้มีบรรดาศักดิ์เกี่ยวข้องกับการเมือง อีกทั้งเราไม่มีสภาขุนนาง จึงควรกำหนดให้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับเจ้า เว้นแต่จะสละบรรดาศักดิ์นั้นเสีย เพื่อมิให้ถูกดูหมิ่นระหว่างการรณรงค์หาเสียง | โดยแต่งตั้งหรือประการใดก็ตาม ย่อมอยู่เหนือการเมืองทั้งสิ้น แต่ชอบที่จะเวนคืนบรรดาศักดิ์ เพื่อเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรได้” โดยให้เติมท้ายมาตรา 11และให้เหตุผลว่า บุคคลย่อมเสมอภาคตามกฎหมาย บรรดาศักดิ์ที่ได้รับแต่งตั้งไม่ก่อให้เกิดเอกสิทธิ์ใดๆ จึงไม่ควรอนุญาตให้ผู้มีบรรดาศักดิ์เกี่ยวข้องกับการเมือง อีกทั้งเราไม่มีสภาขุนนาง จึงควรกำหนดให้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับเจ้า เว้นแต่จะสละบรรดาศักดิ์นั้นเสีย เพื่อมิให้ถูกดูหมิ่นระหว่างการรณรงค์หาเสียง | ||
ผู้สนับสนุนมาตรการนี้อีกคนหนึ่งคือ นายจรูญ สืบแสง กล่าวว่าเรื่องบรรดาศักดิ์ได้พูดกันตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองว่า บรรดาศักดิ์เป็นลัทธิประเพณีหนึ่งที่แบ่งชั้นบุคคลทำให้แตกความสามัคคีและ ผู้มีบรรดาศักดิ์มีสิทธิพิเศษกว่าคนสามัญ ดังนั้น | ผู้สนับสนุนมาตรการนี้อีกคนหนึ่งคือ นายจรูญ สืบแสง กล่าวว่าเรื่องบรรดาศักดิ์ได้พูดกันตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองว่า บรรดาศักดิ์เป็นลัทธิประเพณีหนึ่งที่แบ่งชั้นบุคคลทำให้แตกความสามัคคีและ ผู้มีบรรดาศักดิ์มีสิทธิพิเศษกว่าคนสามัญ ดังนั้น จึงควรทำให้เกิด[[ความเสมอภาค]] โดยทำให้เห็นว่าบรรดาศักดิ์เป็นของไม่มีค่า เช่นเดียวกับนายหงวน ทองประเสริฐที่เห็นว่า เมื่อยกเจ้าให้อยู่เหนือการเมืองก็ควรยกให้ผู้มีบรรดาศักดิ์อยู่เหนือ การเมือง | ||
ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่าการมีบรรดาศักดิ์เป็นประเพณีแต่โบราณ การได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเครื่องหมายว่าได้รับราชการมาเป็นลำดับการจะเวนคืนบรรดาศักดิ์ดูจะเป็นการจองหอง นอกจากนี้ การได้รับเกียรติยศและบรรดาศักดิ์ไม่กีดขวางความเสมอภาคแต่อย่างใด ผู้ที่แสดงความเห็นในฝ่ายนี้ ได้แก่ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาวิชัยราชสุมนตร์ และพระยาราชวังสัน | ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่าการมีบรรดาศักดิ์เป็นประเพณีแต่โบราณ การได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเครื่องหมายว่าได้รับราชการมาเป็นลำดับการจะเวนคืนบรรดาศักดิ์ดูจะเป็นการจองหอง นอกจากนี้ การได้รับเกียรติยศและบรรดาศักดิ์ไม่กีดขวางความเสมอภาคแต่อย่างใด ผู้ที่แสดงความเห็นในฝ่ายนี้ ได้แก่ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาวิชัยราชสุมนตร์ และพระยาราชวังสัน | ||
บรรทัดที่ 79: | บรรทัดที่ 79: | ||
หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ไกล่เกลี่ยว่า เคยเสนอต่อประธานคณะกรรมการราษฎร แต่ได้รับความเห็นว่าไม่ควรทำ เพราะจะกระทบกระเทือนพระมหากษัตริย์ การขอเวนคืนบรรดาศักดิ์ควรใช้วิธีทางอ้อมโดยการไม่ตั้งบรรดาศักดิ์ใหม่และส่งเสริมให้เห็นว่าบรรดาศักดิ์ไม่สร้างความแตกต่างจากคนสามัญ ให้ถือว่าเป็นคำนำหน้าชื่อชนิดหนึ่ง ส่วนวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้คนเสมอภาคกันจึงได้กำหนดให้มีมาตรา 12 ว่า ฐานันดรศักดิ์ใดๆ ไม่ทำให้เกิดเอกสิทธิ์ใดๆเลย | หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ไกล่เกลี่ยว่า เคยเสนอต่อประธานคณะกรรมการราษฎร แต่ได้รับความเห็นว่าไม่ควรทำ เพราะจะกระทบกระเทือนพระมหากษัตริย์ การขอเวนคืนบรรดาศักดิ์ควรใช้วิธีทางอ้อมโดยการไม่ตั้งบรรดาศักดิ์ใหม่และส่งเสริมให้เห็นว่าบรรดาศักดิ์ไม่สร้างความแตกต่างจากคนสามัญ ให้ถือว่าเป็นคำนำหน้าชื่อชนิดหนึ่ง ส่วนวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้คนเสมอภาคกันจึงได้กำหนดให้มีมาตรา 12 ว่า ฐานันดรศักดิ์ใดๆ ไม่ทำให้เกิดเอกสิทธิ์ใดๆเลย | ||
ที่ประชุมมีความพยายามไกล่เกลี่ยกันในประเด็นนี้ โดยเฉพาะ พระยามโนปกรณ์นิติธาดาพระยาวิชัยสุมนตร์และเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้ ขอร้องไม่ให้ลงมติเพราะต่างยอมรับแล้วว่าฐานันดรศักดิ์ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้คน ไม่เสมอภาคหากเป็นการเคารพซึ่งกันและกันก็เพราะวัยวุฒิหรือคุณวุฒิ ไม่ใช่เพราะฐานันดร | ที่ประชุมมีความพยายามไกล่เกลี่ยกันในประเด็นนี้ โดยเฉพาะ พระยามโนปกรณ์นิติธาดาพระยาวิชัยสุมนตร์และเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้ ขอร้องไม่ให้ลงมติเพราะต่างยอมรับแล้วว่าฐานันดรศักดิ์ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้คน ไม่เสมอภาคหากเป็นการเคารพซึ่งกันและกันก็เพราะวัยวุฒิหรือคุณวุฒิ ไม่ใช่เพราะฐานันดร จึงขอให้[[ถอนญัตติ]]เสีย ซึ่งนายซิมและหลวงนฤเบศร์มานิตก็ยอมถอนญัตติ | ||
กล่าวโดยสรุปคือ ที่ประชุมยอมรับข้อความในมาตรา 11 ส่วนญัตติของนายซิมนั้นไม่มีการลงมติ โดยนายซิมขอถอนญัตติจากการพิจารณา (ดู รงส. 36/2475 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2475) | กล่าวโดยสรุปคือ ที่ประชุมยอมรับข้อความในมาตรา 11 ส่วนญัตติของนายซิมนั้นไม่มีการลงมติ โดยนายซิมขอถอนญัตติจากการพิจารณา (ดู รงส. 36/2475 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2475) | ||
=== การกำหนดสมัยประชุมของสภาผู้แทนราษฎร === | === การกำหนดสมัยประชุมของสภาผู้แทนราษฎร === | ||
การกำหนด[[สมัยประชุม]]ของสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญและสมัยวิสามัญ กับการเปิดปิด[[การประชุมสภาผู้แทนราษฎร]] | |||
ตามร่างรัฐธรรมนูญของคณะอนุกรรมการ มาตรา 29 (ซึ่งในฉบับถาวร คือมาตรา 28) | ตามร่างรัฐธรรมนูญของคณะอนุกรรมการ มาตรา 29 (ซึ่งในฉบับถาวร คือมาตรา 28) กำหนดให้มี[[การประชุมสมัยสามัญ]]ปีละหนึ่งสมัย และตามมาตรา 30 ระบุว่า สมัยการประชุมมีระยะเวลา 90 วัน แต่พระมหากษัตริย์อาจทรงขยายเวลาต่อไปก็ได้ | ||
ในที่ประชุมเห็นว่า การประชุมปีละหนึ่งสมัยนั้นน้อยไป และระยะเวลา 90 วัน ควรจะเพิ่มเป็น 120 วัน ถึง 180 วัน บางท่านเสนอให้มีการประชุมสมัยสามัญมากกว่าหนึ่งสมัย | ในที่ประชุมเห็นว่า การประชุมปีละหนึ่งสมัยนั้นน้อยไป และระยะเวลา 90 วัน ควรจะเพิ่มเป็น 120 วัน ถึง 180 วัน บางท่านเสนอให้มีการประชุมสมัยสามัญมากกว่าหนึ่งสมัย | ||
บรรทัดที่ 122: | บรรทัดที่ 122: | ||
=== การปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา กับ รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 === | === การปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา กับ รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 === | ||
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่นานนัก[[กระทรวงมหาดไทย]]อนุญาตให้ [[คณะราษฎร]]จดทะเบียนเป็นสมาคมคณะราษฎรเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2475 โดยมีพระยานิติศาสตร์ไพศาล ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม นายประยูร ภมรมนตรี เป็นอุปนายก นายสงวน ตุลารักษ์ เป็นเหรัญญิก และนายวนิช ปานะนนท์ เป็นเลขาธิการ โดยมีนายประหยัด ศรีจรูญ เป็นนายทะเบียน (วิภาลัย ธีรชัย 2522 : 133-134; นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 2540 : 242) | |||
ในระยะก่อตั้งมีสมาชิกประกอบด้วยกรรมการอำนวยการ 15 นายและ สมาชิก 140 นาย ต่อมาได้เปิดรับสมัครสมาชิกเพิ่มเติม จากข้าราชการประจำและผู้สนใจจำนวนมาก (วิภาลัย ธีรชัย 2522 : 133) ประมาณการว่า มีสมาชิก 10,000 นาย ในสายข้าราชการทั้งทหารและพลเรือน แยกเป็นข้าราชการชั้นพระยา 23 คน ชั้นคุณพระ 65 คน ชั้นคุณหลวง 376 คน (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 2540 : 252-253) มีประมาณการว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2475 มีสมาชิกถึง 60,000 คน (ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 2534 : 217) | ในระยะก่อตั้งมีสมาชิกประกอบด้วยกรรมการอำนวยการ 15 นายและ สมาชิก 140 นาย ต่อมาได้เปิดรับสมัครสมาชิกเพิ่มเติม จากข้าราชการประจำและผู้สนใจจำนวนมาก (วิภาลัย ธีรชัย 2522 : 133) ประมาณการว่า มีสมาชิก 10,000 นาย ในสายข้าราชการทั้งทหารและพลเรือน แยกเป็นข้าราชการชั้นพระยา 23 คน ชั้นคุณพระ 65 คน ชั้นคุณหลวง 376 คน (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 2540 : 252-253) มีประมาณการว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2475 มีสมาชิกถึง 60,000 คน (ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 2534 : 217) | ||
บรรทัดที่ 134: | บรรทัดที่ 134: | ||
ขณะเดียวกัน ผู้นำฝ่ายพลเรือนของคณะราษฎรได้เสนอ “เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ” สู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 9 มีนาคม 2475 ในที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา 14 คน โดยประชุมในวันที่ 12 มีนาคม 2475 และมีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายที่คัดค้านนำโดยพระยามโนปกรณ์ นิติธาดา พระยาศรีวิศาลวาจา และพระยาทรงสุรเดชฝ่ายสนับสนุนนำโดย หลวงประดิษฐมนูธรรม นายแนบ พหลโยธิน นายทวี บุณยเกตุ และ ม.จ. สกลวรรณากร วรวรรณ มติของคณะอนุกรรมการไม่เป็นที่เด็ดขาด ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง | ขณะเดียวกัน ผู้นำฝ่ายพลเรือนของคณะราษฎรได้เสนอ “เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ” สู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 9 มีนาคม 2475 ในที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา 14 คน โดยประชุมในวันที่ 12 มีนาคม 2475 และมีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายที่คัดค้านนำโดยพระยามโนปกรณ์ นิติธาดา พระยาศรีวิศาลวาจา และพระยาทรงสุรเดชฝ่ายสนับสนุนนำโดย หลวงประดิษฐมนูธรรม นายแนบ พหลโยธิน นายทวี บุณยเกตุ และ ม.จ. สกลวรรณากร วรวรรณ มติของคณะอนุกรรมการไม่เป็นที่เด็ดขาด ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง | ||
คณะรัฐมนตรีใช้เวลาพิจารณาถึง 2 ครั้งในวันที่ 25 และ 28 มีนาคม | คณะรัฐมนตรีใช้เวลาพิจารณาถึง 2 ครั้งในวันที่ 25 และ 28 มีนาคม 2475โดย[[หลวงประดิษฐมนูธรรม]]ยืนยันว่าจะลาออกหากคณะรัฐมนตรีไม่เห็น ชอบ ขณะที่นายกรัฐมนตรีไม่ต้องการให้หลวงประดิษฐฯ ลาออก แต่ในการประชุมครั้งที่สอง ฝ่ายพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้นำพระราชบันทึกพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาด้วย ที่ประชุม[[คณะรัฐมนตรี]]มีมติไม่ให้ความเห็นชอบเค้าโครงการเศรษฐกิจฯ ถึง 11 เสียง ต่อ 3 เสียง (งดออกเสียง 5 คน) จากจำนวนผู้เข้าประชุม 19 คน | ||
ก่อนหน้านี้ในวันที่ 17 มีนาคม 2475 มีกระทู้ถามรัฐบาลเรื่องคำสั่งห้ามข้าราชการเป็นสมาชิกสมาคมการเมือง ในวันที่ 30 มีนาคม ที่ประชุมสภาฯมีมติว่า รัฐบาลกระทำผิดรัฐธรรมนูญและให้ถอนคำสั่ง (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 2540 : 253-254) | ก่อนหน้านี้ในวันที่ 17 มีนาคม 2475 มีกระทู้ถามรัฐบาลเรื่องคำสั่งห้ามข้าราชการเป็นสมาชิกสมาคมการเมือง ในวันที่ 30 มีนาคม ที่ประชุมสภาฯมีมติว่า รัฐบาลกระทำผิดรัฐธรรมนูญและให้ถอนคำสั่ง (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 2540 : 253-254) | ||
บรรทัดที่ 166: | บรรทัดที่ 166: | ||
=== กบฏบวรเดช : คณะกู้บ้านเมือง === | === กบฏบวรเดช : คณะกู้บ้านเมือง === | ||
พลเอกพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช (ม.จ. บวรเดช กฤดากร) | พลเอกพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช (ม.จ. บวรเดช กฤดากร) อดีตเสนาบดี[[กระทรวงกลาโหม]]นำคณะกู้บ้านกู้เมืองหรือคณะกู้บ้านเมือง ร่วมกับทหารหัวเมืองจากจังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก อยุธยา สระบุรี ปราจีนบุรี เพชรบุรี และราชบุรี เข้ามาล้อมกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เพื่อยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลปฏิบัติตาม 6 ประการ คือ | ||
# ต้องจัดการทุกอย่างที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปาวสาน | # ต้องจัดการทุกอย่างที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปาวสาน |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 00:15, 14 สิงหาคม 2553
ความเบื้องต้น : สำหรับการอภิวัตน์กับระบอบรัฐธรรมนูญสยาม
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ทำการอภิวัตน์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ[1] คณะราษฎรจัดทำร่าง พ.ร.บ. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ. 2475 ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานลงมา ณ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงเติมคำว่า “ชั่วคราว” กำกับต่อท้ายพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม โดยมีพระราชกระแสรับสั่งแก่คณะราษฎรว่าให้ใช้ พ.ร.บ. ธรรมนูญฯ นี้เป็นการชั่วคราว แล้วให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อตั้งคณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร (ปรีดี พนมยงค์ 2526 : 346)
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) แถลงต่อสภาฯว่า ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน เป็นฉบับชั่วคราวที่ร่างในเวลาฉุกละหุก อาจบกพร่อง จึงควรให้มีอนุกรรมการ ตรวจแก้ไขเพิ่มเติม ที่ประชุมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน 7 ท่าน มี พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ และหลวงประดิษฐมนูธรรมเป็นเลขาธิการ มีกรรมการประกอบด้วยพระยาเทพวิฑุร พระยามานวราชเสวี พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ พระยาปรีดานฤเบศร์ และหลวงสินาดโยธารักษ์ (รงส.1/2475, 28 มิถุนายน 2475)
ต่อมา พระมโนปกรณ์นิติธาดาเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ขอให้แต่งตั้ง อนุกรรมการฯเพิ่มขึ้นอีก 2 ท่าน ได้แก่พระยาศรีวิศาลวาจาและนายพลเรือโทพระยาราชวังสัน โดยให้เหตุผลว่าจะได้ช่วยกันคิดทำให้งานสำเร็จเร็วขึ้น (รงส.27/2475, 23 กันยายน 2475) เมื่อพิจารณาโครงสร้างคณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญพบว่า อนุกรรมการในปีกคณะราษฎร มีหลวงประดิษฐมนูธรรมส่วนอนุกรรมการท่านอื่นๆ เช่น พระยามโนปกรณ์นิติธาดา พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี พระยามานวราชเสวี และพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ เป็นนักกฎหมายที่จบการศึกษาจากอังกฤษและมีอาวุโสกว่า ขณะที่หลวงประดิษฐ์ฯมี อาวุโสอ่อนที่สุด และเป็นนักกฎหมายจากฝรั่งเศสเพียงคนเดียว (ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 2534 : 113-120) กล่าวได้ว่า ในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญมีการประนีประนอมระหว่างคณะราษฎร ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และพระมหากษัตริย์ตลอดเวลา ซึ่งรวมถึงการพิจารณาร่าง รัฐธรรมนูญในสภาผู้แทนราษฎรด้วย ดังปรากฏในคำแถลงของประธานอนุกรรมการ ฯ ต่อสภาฯ ว่า
“…ในการร่างพระธรรมนูญนี้ อนุกรรมการได้ทำการติดต่อกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดเวลา จนถึงอาจจะกล่าวได้ว่า ได้ร่วมมือกันทำข้อความตลอดในร่างที่เสนอมานี้ ได้ทูลเกล้าฯถวาย และทรงเห็นชอบด้วยทุกประการแล้ว และที่กล่าวได้ว่าทรงเห็นชอบนั้น ไม่ใช่แต่เพียงทรงเห็นชอบด้วย อย่างข้อความที่กราบบังคมทูลขึ้นไป ยิ่งกว่านั้น เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก…” (รงส. 34/2475 24 พฤศจิกายน 2475)
อนึ่ง สำหรับชื่อเรียก “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” นั้น ระหว่างที่คณะอนุกรรมการฯร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรมีผู้เสนอให้เรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” แทน ซึ่งคณะอนุกรรมการก็รับว่า เห็นควรใช้คำว่า “รัฐธรรมนูญ” ที่นายปรีดี พนมยงค์ อธิบายว่า หมายถึง “กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองแผ่นดินหรือรัฐ” (ปรีดี พนมยงค์ 2526 : 364-366 และ 374) เป็นที่ยอมรับกันภายหลังว่า ม.จ. วรรณไวทยากร วรวรรณ เป็นผู้เสนอให้ใช้คำว่า “รัฐธรรมนูญ” และกลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่าถ้าผู้ร่างต้องการให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะใช้คำว่า “รัฐธรรมนูญ” แต่ถ้าจะใช้เป็นฉบับชั่วคราวจะเรียกว่า “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” (วิษณุ เครืองาม 2530 : 21 )[2]
สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญโดยใช้วิธีพิจารณาแบบอนุกรรมการเต็มสภา และพิจารณาแบบเรียงมาตรา เพื่อเร่งพิจารณาให้เสร็จทันกำหนดฤกษ์พระราชทานรัฐธรรมนูญในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (รงส. 34/2475 24 พฤศจิกายน 2475)
สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 มีทั้งหมด 68 มาตรา โดย แบ่งออกเป็น 7 หมวด ได้แก่
หมวด 1 พระมหากษัตริย์ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม หมวด 3 สภาผู้แทนราษฎร หมวด 4 คณะรัฐมนตรี หมวด 5 ศาล หมวด 6 บทสุดท้าย เป็นหมวดพิเศษเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และหมวด 7 การใช้รัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล
วิภาลัย ธีรชัย (2522 : 131- 32) สรุปสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ไว้ดังนี้
- อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวสยามมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข ทรงใช้อำนาจโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ อำนาจอธิปไตยแบ่งออก เป็น อำนาจนิติบัญญัติ มีสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้และอำนาจตุลาการมีศาลเป็นผู้ใช้
- พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพ ตามรัฐธรรมนูญกำหนดต้องทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงมีพระราชอำนาจในการประกาศสงคราม ลงนามในสัญญา สันติภาพ ทำสนธิสัญญากับนานาประเทศ และยังทรงมีพระราชอำนาจที่จะพระราชทานอภัยโทษ ทรงเรียกและปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนยุบสภาผู้แทนราษฎร
- พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาผู้แทนราษฎร ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้จัดตั้งคณะรัฐมนตรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีสมาชิก 2 ประเภท ประกอบด้วย สมาชิกประเภทที่หนึ่งมาจากการเลือกตั้ง 2 ชั้น โดยราษฎรชาย หญิงที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ และมีสัญชาติไทยตามกฎหมาย และภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2475 โดยจัดการเลือกผู้แทนตำบล แล้วให้ผู้แทนตำบลเลือกผู้แทนราษฎรอีกชั้นหนึ่ง
ส่วนสมาชิกประเภทที่สองได้รับแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี และจะยกเลิกโดยกำหนดระยะเวลาไว้ว่าหากมีจำนวนราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรจบการศึกษาขั้นประถมศึกษาเกินกว่าครึ่งหนึ่งของ จำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด หรือในระยะเวลา 10 ปี
- กำหนดให้พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป ไม่ว่าจะทรงอิศริยศโดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง
เมื่อเปรียบเทียบกับ พ.ร.บ. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 มีความแตกต่างกันที่สำคัญ 3 ประการ ดังที่นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ (2540 : 236-237) ตั้งข้อสังเกตไว้คือ
ประการแรก สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจลดลง สภาผู้แทนราษฎรจะถูกยุบโดย พระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา และให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 90 วัน (มาตรา 29) นอกจากนั้นเป็นการประชุมสมัยวิสามัญซึ่งพระมหากษัตริย์จะทรงเรียกประชุมเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ (มาตรา 31)
สภาฯมีอำนาจในการตราพระราชบัญญัติและพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี และควบคุมฝ่ายบริหารโดยการตั้งกระทู้ถามและมีมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะหรือรายตัว (มาตรา 36, 37, 40 และ 41) และมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญเพื่อทำกิจการหรือ เพื่อสอบสวนข้อความต่างๆ แต่จะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในวงงานของสภา (มาตรา 43)
ประการที่สอง ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีจำนวน 14 ถึง 24 คน มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน (มาตรา 46) ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาฯ (มาตรา 47) คณะรัฐมนตรีบริหารราชการโดยได้รับความไว้วางใจจากสภา และสิ้นสุดฐานะเมื่อสภาลงมติไม่ไว้วางใจ (มาตรา 51) มีอำนาจในการตราพระราชกำหนด และกราบบังคมทูลขอ ให้พระมหากษัตริย์ตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย รวมทั้งพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 52 และ 56)
ประการที่สาม พระมหากษัตริย์ทรงได้รับพระราชอำนาจคืนมากขึ้น คือ ตราไว้ในรัฐธรรมนูญว่าทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ (มาตรา 3) ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพสยาม (มาตรา 4) ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติทางสภา ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล อันเป็นการแบ่งอำนาจอธิปไตยเป็น 3 ทาง ในขณะที่ธรรมนูญการปกครองฉบับแรก แบ่งอำนาจเป็น 4 ทาง (มาตรา 6, 7 และ 8) ทรงมีพระราชอำนาจในการประกาศสงคราม และพระราชอำนาจที่จะพระราชทานอภัยโทษ (มาตรา 54, 55) และยกฐานะให้ พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นอยู่เหนือการเมือง (มาตรา 11)
วิวาทะระหว่างการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ
ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีข้อถกเถียงประเด็นสำคัญใน 5 ประเด็น ดังต่อไปนี้คือ
พระราชอำนาจ
พระราชอำนาจ ตามความในมาตรา 6 “พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติโดย คำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร”, มาตรา 7 “พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี” และ มาตรา 8 “พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาลที่ได้ตั้งขึ้นตามกฎหมาย”
มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฯใช้คำว่า พระราชอำนาจ บริหาร พระราชอำนาจนิติบัญญัติ และพระราชอำนาจตุลาการ ประธานอนุกรรมการฯ เสนอให้ตัดคำว่า “พระราช” ออก โดยให้เหตุผลว่า อำนาจนี้ไม่ใช่ของกษัตริย์ แต่เป็นอำนาจที่มาจากประชาชนชาวสยาม ในขณะที่สมาชิกบางส่วนเห็นว่า ควรคงไว้เพื่อรักษาความสุภาพอ่อนโยน (sentiment) แต่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีอธิบายว่า อาจขัดกับความเป็นจริง (fact) ได้ ถ้าเช่นนั้นควรจะรักษาความเป็นจริงไว้ดีกว่า
ประธานอนุกรรมการฯกล่าวเพิ่มเติมว่า ในระบอบรัฐธรรมนูญ (constitutionalism) พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจในทางบริหารต่างจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์(absolutism) ที่การบริหารใดๆ เป็นพระราชอำนาจ ดังนั้น การใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์จึงต้อง มีกรรมการราษฎร (ที่ต่อมาสภา ฯ มีมติให้เรียกว่ารัฐมนตรี) เป็นผู้ลงนามสนอง พระบรมราชโองการ โดยเฉพาะมาตรา 7 ซึ่งหลวงประดิษฐมนูธรรมกล่าวว่า เป็นบทบัญญัติที่จำกัดพระราชอำนาจบริหารของกษัตริย์ หากความสุภาพนุ่มนวลไม่ขัดกับ ความเป็นจริงก็จะรักษาภาษาสำนวน เพราะ ‘ไม่ต้องการให้ชอกช้ำ’ ไว้ก็ได้ ในที่สุดที่ประชุมเห็นชอบให้ตัดคำว่า “พระราช” ออก (รงส. 35/2475 25 พฤศจิกายน 2475)
ปัญหาการสืบราชสมบัติ
ปัญหาการสืบราชสมบัติ และการกำหนดว่า พระมหากษัตริย์จะต้องทรงปฏิญาณว่าจะรักษาและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 9 ระบุว่า “การสืบราชสมบัติท่านว่าให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 และประกอบด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร” มาตรานี้มีนัยว่า แม้จะมีข้อกำหนดในกฎมณเฑียรบาลเป็นลำดับแต่พระมหากษัตริย์อาจทรงเลือกรัชทายาทโดย ไม่ต้องคำนึงถึงกฎมณเฑียรบาลก็ได้ ดังนั้น เพื่อมิให้ได้คนที่ไม่สมควรเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประธานอนุกรรมการฯ แถลงว่า ตรงกับประเพณีการสืบราชสมบัติของสยามที่ว่า“พระมหากษัตริย์ทรงเสด็จเถลิงถวัลย์สมบัติด้วยประชาชนอัญเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ” ตามหลักอเนกนิกรสโมสรสมมติ (รงส. 36/2475 25 พฤศจิกายน 2475)
นายหงวน ทองประเสริฐถามว่า พระมหากษัตริย์ต้องทรงปฏิญาณว่าจะรักษาและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ ประธานอนุกรรมการฯตอบว่า ต้องทรงปฏิญาณ และตามประเพณีราชาภิเษกก็มีการปฏิญาณ อยู่แล้ว นายหงวน ทองประเสริฐ และนายจรูญ สืบแสง ต้องการให้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่า พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆไปอาจไม่ปฏิญาณ
ขณะที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมอธิบายว่าการที่ไม่บัญญัติหรือเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ได้เป็นการยกเว้นว่ากษัตริย์ไม่ต้องปฏิญาณเพราะถือเป็นพระราชประเพณีเวลาขึ้นครองราชสมบัติ และขอให้จดบันทึกไว้ในรายงานการประชุม
ประธานอนุกรรมการกล่าวเพิ่มเติมว่า ได้เคยเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงมีรับสั่งว่าพระองค์ได้ทรงปฏิญาณเวลาเสวยราชสมบัติและเวลารับเป็นรัชทายาทก็ต้อง ปฏิญาณก่อนดังนั้นจึงถือเป็นพระราชประเพณีแต่นายจรูญยืนยันให้บัญญัติในรัฐธรรมนูญประธานสภาฯจึงขอให้ลงมติ ที่ประชุมฯยืนยันให้คงตามร่างเดิม 48 คะแนน ยืนยันให้เติม 7 คะแนน
การกำหนดบทบาทของพระบรมวงศานุวงศ์
การกำหนดบทบาทของพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปให้อยู่เหนือการเมือง และบทบาทของผู้ที่มีบรรดาศักดิ์กับการเมือง
“มาตรา 11 พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป โดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง”
ประธาน อนุกรรมการกราบบังคมทูลถามเรียนพระราชปฏิบัติต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงมีลายพระหัตถ์พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยว่าทรงเห็นด้วยดังมีพระ ราชหัตถเลขาความว่า“ในหลักการพระบรมวงศานุวงศ์ย่อมดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ เหนือความที่จะพึงถูกติเตียนไม่ควรแก่ตำแหน่งการเมืองซึ่งเป็นงานที่นำมาทั้งในทางพระเดช และพระคุณ” (พระราชหัตถเลขาถึงพระยามโนปกรณ์นิติธาดา วันที่ 14 พฤศจิกายน 2475) โดยเฉพาะในเวลาการรณรงค์หาเสียงจะมีการโจมตีซึ่งกันและกัน พระยามโนปกรณ์นิติธาดาจึงทูลเสนอว่าให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปดำรงอยู่เหนือการเมือง พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์กล่าวในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่าไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการตัดสิทธิเจ้าซึ่งเป็นคนไทยด้วยกัน ดูจะไม่เหมาะ ขณะที่นายมังกร สามเสน เสนอว่าหม่อมเจ้าบางพระองค์มีความรู้เรื่องการเมือง หากจะทรงสละฐานันดรศักด์มาเป็นสามัญชนก็ควรจะให้เข้าวงการเมืองได้เช่นเดียวกับกรณีหม่อมเจ้าหญิงทรงสละสิทธิเดิมเพื่อสมรสกับสามัญชน
แต่พระยามานวราชเสวี และนายดิเรก ชัยนาม เห็นพ้องกันว่าการเป็นเจ้าเป็นฐานะตามกำเนิดแม้หม่อมเจ้าหญิงจะสละฐานันดรศักดิ์มาสมรสกับสามัญชนก็ยังคงนับถือว่า เป็นเจ้า นายสงวน ตุลารักษ์ กล่าวสนับสนุนว่า การเข้ามาในวงการเมืองโดยเฉพาะการรณรงค์ หา เสียงจะมีการเสียดสีจะทำให้เสื่อมเสียเกียรติยศของเจ้านาย เช่นเดียวกับพระยาศรีวิสารวาจาอธิบายเพิ่มเติมว่าการให้เจ้าอยู่เหนือ การเมืองหมายถึงตำแหน่งที่เกี่ยวกับการเมืองดังเช่นเสนาบดีและผู้แทนราษฎร จุดประสงค์สำคัญก็คือในระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยอำนาจจำกัดนั้นได้จัดวาง ให้พระมหากษัตริย์ เป็นที่เคารพสักการะและอยู่เหนือการเมือง ดังนั้น พระบรมวงศานุวงศ์ก็อยู่ในฐานะเช่นเดียวกัน และเพื่อมิให้มีการกล่าวโจมตีพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งรวมถึงพระมหากษัตริย์ จึงถือว่าเจ้านายอยู่เหนือการเมือง
นอกจากนี้ ม.จ. วรรณไวทยากร วรวรรณ ได้ตีพิมพ์ “คำอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ” เผยแพร่ก่อนสภาฯจะได้พิจารณา ทรงแสดงความเห็นอย่างแข็งขันว่า ความในมาตรา 11 เป็นการตัดสิทธิการเมืองของเจ้ารวมถึงสิทธิเลือกตั้งจึงผิดหลักประชาธิปไตย และหลักสิทธิรัฐธรรมนูญ (ดู “อภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ” ใน สิริ เปรมจิตต์ 2511 : 35-44)
สำหรับประเด็นเรื่องการกำหนดบทบาทของผู้ที่มีบรรดาศักดิ์กับการเมืองนั้น นายซิม วีระไวทยะ เสนอญัตติต่อประธานสภาว่า “บุคคลทุกคนซึ่งมีบรรดาศักดิ์ไม่ว่าชั้นใด โดยแต่งตั้งหรือประการใดก็ตาม ย่อมอยู่เหนือการเมืองทั้งสิ้น แต่ชอบที่จะเวนคืนบรรดาศักดิ์ เพื่อเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรได้” โดยให้เติมท้ายมาตรา 11และให้เหตุผลว่า บุคคลย่อมเสมอภาคตามกฎหมาย บรรดาศักดิ์ที่ได้รับแต่งตั้งไม่ก่อให้เกิดเอกสิทธิ์ใดๆ จึงไม่ควรอนุญาตให้ผู้มีบรรดาศักดิ์เกี่ยวข้องกับการเมือง อีกทั้งเราไม่มีสภาขุนนาง จึงควรกำหนดให้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับเจ้า เว้นแต่จะสละบรรดาศักดิ์นั้นเสีย เพื่อมิให้ถูกดูหมิ่นระหว่างการรณรงค์หาเสียง
ผู้สนับสนุนมาตรการนี้อีกคนหนึ่งคือ นายจรูญ สืบแสง กล่าวว่าเรื่องบรรดาศักดิ์ได้พูดกันตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองว่า บรรดาศักดิ์เป็นลัทธิประเพณีหนึ่งที่แบ่งชั้นบุคคลทำให้แตกความสามัคคีและ ผู้มีบรรดาศักดิ์มีสิทธิพิเศษกว่าคนสามัญ ดังนั้น จึงควรทำให้เกิดความเสมอภาค โดยทำให้เห็นว่าบรรดาศักดิ์เป็นของไม่มีค่า เช่นเดียวกับนายหงวน ทองประเสริฐที่เห็นว่า เมื่อยกเจ้าให้อยู่เหนือการเมืองก็ควรยกให้ผู้มีบรรดาศักดิ์อยู่เหนือ การเมือง
ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่าการมีบรรดาศักดิ์เป็นประเพณีแต่โบราณ การได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเครื่องหมายว่าได้รับราชการมาเป็นลำดับการจะเวนคืนบรรดาศักดิ์ดูจะเป็นการจองหอง นอกจากนี้ การได้รับเกียรติยศและบรรดาศักดิ์ไม่กีดขวางความเสมอภาคแต่อย่างใด ผู้ที่แสดงความเห็นในฝ่ายนี้ ได้แก่ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาวิชัยราชสุมนตร์ และพระยาราชวังสัน
หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ไกล่เกลี่ยว่า เคยเสนอต่อประธานคณะกรรมการราษฎร แต่ได้รับความเห็นว่าไม่ควรทำ เพราะจะกระทบกระเทือนพระมหากษัตริย์ การขอเวนคืนบรรดาศักดิ์ควรใช้วิธีทางอ้อมโดยการไม่ตั้งบรรดาศักดิ์ใหม่และส่งเสริมให้เห็นว่าบรรดาศักดิ์ไม่สร้างความแตกต่างจากคนสามัญ ให้ถือว่าเป็นคำนำหน้าชื่อชนิดหนึ่ง ส่วนวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้คนเสมอภาคกันจึงได้กำหนดให้มีมาตรา 12 ว่า ฐานันดรศักดิ์ใดๆ ไม่ทำให้เกิดเอกสิทธิ์ใดๆเลย
ที่ประชุมมีความพยายามไกล่เกลี่ยกันในประเด็นนี้ โดยเฉพาะ พระยามโนปกรณ์นิติธาดาพระยาวิชัยสุมนตร์และเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้ ขอร้องไม่ให้ลงมติเพราะต่างยอมรับแล้วว่าฐานันดรศักดิ์ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้คน ไม่เสมอภาคหากเป็นการเคารพซึ่งกันและกันก็เพราะวัยวุฒิหรือคุณวุฒิ ไม่ใช่เพราะฐานันดร จึงขอให้ถอนญัตติเสีย ซึ่งนายซิมและหลวงนฤเบศร์มานิตก็ยอมถอนญัตติ
กล่าวโดยสรุปคือ ที่ประชุมยอมรับข้อความในมาตรา 11 ส่วนญัตติของนายซิมนั้นไม่มีการลงมติ โดยนายซิมขอถอนญัตติจากการพิจารณา (ดู รงส. 36/2475 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2475)
การกำหนดสมัยประชุมของสภาผู้แทนราษฎร
การกำหนดสมัยประชุมของสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญและสมัยวิสามัญ กับการเปิดปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ตามร่างรัฐธรรมนูญของคณะอนุกรรมการ มาตรา 29 (ซึ่งในฉบับถาวร คือมาตรา 28) กำหนดให้มีการประชุมสมัยสามัญปีละหนึ่งสมัย และตามมาตรา 30 ระบุว่า สมัยการประชุมมีระยะเวลา 90 วัน แต่พระมหากษัตริย์อาจทรงขยายเวลาต่อไปก็ได้
ในที่ประชุมเห็นว่า การประชุมปีละหนึ่งสมัยนั้นน้อยไป และระยะเวลา 90 วัน ควรจะเพิ่มเป็น 120 วัน ถึง 180 วัน บางท่านเสนอให้มีการประชุมสมัยสามัญมากกว่าหนึ่งสมัย
หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์เสนอประเด็นอำนาจการเรียกประชุมสมัยวิสามัญว่า ในการเรียกประชุม แม้จะเป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์ แต่จะต้องมีคณะกรรมการราษฎรลงนามรับพระบรมราชโองการ ถ้ากรรมการราษฎรไม่ลงนามก็จะเปิดประชุมไม่ได้
ขณะที่หลวงประดิษฐมนูธรรมเห็นว่า ข้อเสนอเรื่องการกำหนดสมัยประชุมสมัยสามัญอาจแก้ให้มีหลายสมัยแล้วแต่สภาจะกำหนด เป็นการยืดหยุ่นตามภาระงานของสภาฯ ส่วนการขยายเวลาประชุมตามวิธีการต้องให้กรรมการราษฎรลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่ทั้งสภาฯและคณะกรรมการราษฎรอาจขอเสนอให้ขยายเวลาได้เช่นเดียวกัน แล้วแต่ฝ่ายใดจะเห็นสมควร
ที่ประชุมขอให้สภาฯพักการพิจารณาเพื่อให้อนุกรรมการและผู้ที่ประสงค์จะแก้ไขได้ปรึกษากัน และมีข้อสรุปว่า ในปีหนึ่งอาจมีการประชุมสมัยสามัญหนึ่งสมัยหรือหลายสมัย แล้วแต่สภาฯจะกำหนด ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญเป็นอำนาจของสภาฯ
สำหรับ การเรียกประชุมสมัยวิสามัญนั้นให้อำนาจประธานสภาฯเป็นผู้กราบบังคมทูลให้ทรง สั่งเปิดประชุมได้แต่มีปัญหาที่ถกเถียงกันว่าฝ่ายบริหารอาจไม่ยอมลงนามสนอง พระบรม ราชโองการมีผลให้ไม่สามารถเปิดประชุมได้จึงกำหนดเพิ่มเติมว่าประธานสภาเป็น ผู้นำความกราบบังคมทูลและรับสนองพระบรมราชโองการ (ดูมาตรา 28-29-30-31 และ 32)
ปัญหาเรื่องการใช้คำ
ปัญหาเรื่องการใช้คำกรรมการราษฎร คณะกรรมการราษฎร และประธานคณะกรรมการราษฎร
แม้ปัญหาในการถกเถียงส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องแนวทางการปฏิบัติในทางกฎหมาย แต่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ให้ความสำคัญกับการเลือกถ้อยคำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งมาว่าไม่ไพเราะ และไม่ค่อยถูกต้องตามแบบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ(คำแถลงประธานอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ใน รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร 34/2475, 24 พฤศจิกายน 2475)
นับแต่การประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรกหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเสนอให้ พิจารณาในหลักการเสียก่อนจึงค่อยกลับมาพิจารณาเลือกถ้อยคำโดยขอให้นำไป พิจารณาในหมวด 4 คณะกรรมการราษฎร ที่ประชุมมีการลงมติด้วยคะแนนเสียง26 คะแนนเท่ากัน จนประธานสภาฯต้องเป็นผู้ชี้ขาดว่าให้รอจนถึงบทที่เกี่ยวข้องจึงค่อยนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง (รงส. 35/2475, 25 พฤศจิกายน 2475)
ในการพิจารณาหมวดคณะกรรมการราษฎร มีผู้เสนอญัตติให้ใช้คำเรียกแทน “กรรมการราษฎร” หลายคำ เช่น รัฐมนตรี (ผู้เสนอคือ พระยาพหลพลพยุหเสนา นายประยูร ภมรมนตรี หลวงเดชสหกรณ์ นายสงวน ตุลารักษ์) อนุสภาผู้แทนราษฎร (นายเนตร พูนวิวัฒน์) ส่วนผู้ยืนยันให้ใช้คำเดิมคือ นายซิม วีระไวทยะ
ในกลุ่มผู้สนับสนุนให้ใช้คำกรรมการราษฎรอธิบายว่า คำ “สภาผู้แทนราษฎร” กับ “กรรมการราษฎร” เป็นคำชุดเดียวกัน เมื่อใช้คำสภาผู้แทนราษฎรก็ควรใช้ให้เข้ากัน (เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี) เป็นคำธรรมดาเข้าใจง่าย (หลวงประดิษฐมนูธรรม) เป็นคำที่ใช้อยู่แล้ว (นายมังกร สามเสน)
ส่วนผู้สนับสนุนให้ใช้คำว่ารัฐมนตรีให้เหตุผลว่า คำว่า “รัฐมนตรี” ไพเราะกว่าคำว่า “กรรมการราษฎร” (นายประยูร ภมรมนตรี) เคยเรียกมาคุ้นปากแล้ว (พระยามานวราชเสวี) โดยเฉพาะนายประยูรถึงกลับกล่าวคำ “กรรมการราษฎร” นั้น ‘ฟังดูเป็นโซเวียต’
หลวงประดิษฐมนูธรรมกล่าวชี้แจงในตอนแรกว่า ได้สงวนคำนี้ให้สภาพิจารณา เพราะประธานอนุกรรมการกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงทักท้วง และมีผู้เข้าใจผิดว่า ตนจะนำ “ลัทธิบางประเทศมาเผยแผ่” แต่การใช้คำว่า “รัฐมนตรี” จะทำให้นึกถึงรัฐมนตรีสภาที่ไม่เคยทำงาน และต้องแก้ไขพระราชบัญญัติรัฐมนตรี
ในที่สุด พระยาราชวังสันเสนอให้พิจารณาการใช้ถ้อยคำในการประชุมครั้งถัดไป (รงส. 38/2475, วันที่ 26 พฤศจิกายน 2475)
อย่างไรก็ตาม เรื่องคำ “คณะกรรมการราษฎร” ถูกนำมาพิจารณา ในการประชุมสภาฯครั้งที่ 41 และมีการลงมติใช้คำว่า รัฐมนตรี 28 เสียงไม่ออกเสียง 24 เสียง และมีผู้เห็นควรใช้คำอื่น 7เสียง จึงมีผลทำให้ใช้คำว่า “รัฐมนตรี” แทน “กรรมการราษฎร” รวมทั้งใช้คำว่า “คณะรัฐมนตรี” แทน “คณะกรรมการราษฎร” และใช้คำว่า “นายกรัฐมนตรี” แทนคำว่า “ประธานคณะกรรมการราษฎร” ตลอดจนมีการกำหนดความหมายใหม่ว่า “รัฐมนตรี” หมายถึง “ข้าราชการผู้ใหญ่ในแผ่นดิน” มิใช่ที่ปรึกษาของแผ่นดินอีกต่อไป (รงส. 41/2475, 28 พฤศจิกายน 2475)
ความขัดแย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ได้มีความขัดแย้งอันเกี่ยวเนื่องกับรัฐธรรมนูญหลายเหตุการณ์ ดังมีลำดับดังนี้
การปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา กับ รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่นานนักกระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้ คณะราษฎรจดทะเบียนเป็นสมาคมคณะราษฎรเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2475 โดยมีพระยานิติศาสตร์ไพศาล ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม นายประยูร ภมรมนตรี เป็นอุปนายก นายสงวน ตุลารักษ์ เป็นเหรัญญิก และนายวนิช ปานะนนท์ เป็นเลขาธิการ โดยมีนายประหยัด ศรีจรูญ เป็นนายทะเบียน (วิภาลัย ธีรชัย 2522 : 133-134; นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 2540 : 242)
ในระยะก่อตั้งมีสมาชิกประกอบด้วยกรรมการอำนวยการ 15 นายและ สมาชิก 140 นาย ต่อมาได้เปิดรับสมัครสมาชิกเพิ่มเติม จากข้าราชการประจำและผู้สนใจจำนวนมาก (วิภาลัย ธีรชัย 2522 : 133) ประมาณการว่า มีสมาชิก 10,000 นาย ในสายข้าราชการทั้งทหารและพลเรือน แยกเป็นข้าราชการชั้นพระยา 23 คน ชั้นคุณพระ 65 คน ชั้นคุณหลวง 376 คน (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 2540 : 252-253) มีประมาณการว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2475 มีสมาชิกถึง 60,000 คน (ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 2534 : 217)
ในเวลาต่อมา พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก) กับคณะรวม 12 คน ร้องขอต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อจัดตั้งสมาคมคณะชาติเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2475โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาสมาชิกเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเช่นเดียวกับสมาคม คณะราษฎร
พระยามโนปกรณ์นิติธาดานำเรื่องนี้ขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯและทรงพระราชทานพระราชหัตถเลขาความว่าสยามยังไม่พร้อมจะมีคณะ การเมืองเพราะประชาชนส่วนมากยังไม่มีความเข้าใจวิธีการปกครองแบบรัฐธรรมนูญ ถ้าหากมีคณะการเมืองอาจจะทำให้เข้าใจว่าเป็นการตั้งหมู่คณะเพื่อเป็น ปฏิปักษ์กันแต่เมื่อรัฐบาลอนุญาตให้มีสมาคมคณะราษฎรก็เป็นการยากที่จะห้ามตั้งคณะการเมืองจึงควรยกเลิกสมาคมคณะราษฎรและคณะอื่นเสีย
เมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475 มีมติคณะรัฐมนตรีแจ้งตามหน่วยราชการต่างๆ ให้ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งห้ามข้าราชการเป็นสมาชิกสมาคมการเมือง (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 2540 : 252) แม้แต่พระยาพหลพลพยุหเสนาผู้บัญชาการทหารบก ยังต้องชี้แจงต่อข้าราชการทหารว่าทหารไม่มีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมในสมาคมคณะราษฎรต่อไป เพราะรัฐบาลมีความมั่นคงแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจึงสั่งให้ทหารลาออกจากสมาคมฯ เสีย
ขณะเดียวกัน ผู้นำฝ่ายพลเรือนของคณะราษฎรได้เสนอ “เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ” สู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 9 มีนาคม 2475 ในที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา 14 คน โดยประชุมในวันที่ 12 มีนาคม 2475 และมีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายที่คัดค้านนำโดยพระยามโนปกรณ์ นิติธาดา พระยาศรีวิศาลวาจา และพระยาทรงสุรเดชฝ่ายสนับสนุนนำโดย หลวงประดิษฐมนูธรรม นายแนบ พหลโยธิน นายทวี บุณยเกตุ และ ม.จ. สกลวรรณากร วรวรรณ มติของคณะอนุกรรมการไม่เป็นที่เด็ดขาด ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
คณะรัฐมนตรีใช้เวลาพิจารณาถึง 2 ครั้งในวันที่ 25 และ 28 มีนาคม 2475โดยหลวงประดิษฐมนูธรรมยืนยันว่าจะลาออกหากคณะรัฐมนตรีไม่เห็น ชอบ ขณะที่นายกรัฐมนตรีไม่ต้องการให้หลวงประดิษฐฯ ลาออก แต่ในการประชุมครั้งที่สอง ฝ่ายพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้นำพระราชบันทึกพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาด้วย ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติไม่ให้ความเห็นชอบเค้าโครงการเศรษฐกิจฯ ถึง 11 เสียง ต่อ 3 เสียง (งดออกเสียง 5 คน) จากจำนวนผู้เข้าประชุม 19 คน
ก่อนหน้านี้ในวันที่ 17 มีนาคม 2475 มีกระทู้ถามรัฐบาลเรื่องคำสั่งห้ามข้าราชการเป็นสมาชิกสมาคมการเมือง ในวันที่ 30 มีนาคม ที่ประชุมสภาฯมีมติว่า รัฐบาลกระทำผิดรัฐธรรมนูญและให้ถอนคำสั่ง (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 2540 : 253-254)
ผลจากความขัดแย้งข้างต้นทำให้รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยอธิบายว่า สภาผู้แทนราษฎรชุดดังกล่าวเป็นสภาฯชั่วคราว ไม่สมควรจะเปลี่ยนแปลงนโยบายสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่
“… ณ บัดนี้ ปรากฏว่า มีสมาชิกจำนวนมากแสดงความปรารถนาแรงกล้าเพียงที่จะทำการเปลี่ยนแปลงไปในทางนั้น โดยวิธีการอันเป็นอุบายในทางอ้อมที่จะบังคับข่มขู่ให้สภาต้องดำเนินการไปตามความปรารถนาของตน เป็นการไม่สมควร เป็นที่เห็นได้ชัดแล้วว่า จะประชุมกันบัญชาการของประเทศโดยความสวัสดิภาพไม่ได้แล้ว สามารถจะนำมาซึ่งความไม่มั่นคงต่อประเทศ และทำลายความสุขสมบูรณ์ของอาณาประชาราษฎร์ ทรงพระราชดำริเห็นว่า เป็นเวลาฉุกเฉินแล้ว สมควรต้องจัดการป้องกันความหายนะ อันจะนำมาสู่ประเทศและอาณาประชาราษฎร์ทั่วไป …”
และกำหนดวัตถุประสงค์ของการตราพระราชกฤษฎีกาไว้ดังนี้
- ให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรนี้เสียและห้ามไม่ให้เรียกประชุมจนกว่าจะได้มีสภาฯขึ้นใหม่ เมื่อได้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรตามความในรัฐธรรมนูญนั้นแล้ว
- ให้ยุบคณะรัฐมนตรีปัจจุบันนี้เสีย และให้มีคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหนึ่งนาย กับรัฐมนตรีอื่นๆอีกไม่เกินยี่สิบนาย และให้นายกรัฐมนตรีคณะซึ่งยุบนี้เป็นนายกรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีใหม่ กับให้รัฐมนตรีผู้ซึ่งว่าการกระทรวงต่างๆอยู่ในเวลานี้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยตำแหน่ง ส่วนรัฐมนตรีอื่นๆจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าตั้งขึ้นโดย คำแนะนำของนายกรัฐมนตรีอีกต่อไป
- ตราบใดที่ ยังไม่ได้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรยังไม่ได้เรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรใหม่ นั้นและยังไม่ได้ตั้งคณะรัฐมนตรีตามความในรัฐธรรมนูญแล้วให้คณะรัฐมนตรีใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เป็นผู้ใช้อำนาจต่างๆ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ให้ไว้แก่คณะรัฐมนตรี
- ตราบเท่าที่ยังไม่ได้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรและ ยังไม่ได้เรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรใหม่นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรง ใช้อำนาจนิติบัญญัติตามคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี
- ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรยังไม่ได้เรียกประชุม สภาผู้แทนราษฎรใหม่นั้น และยังไม่ได้ตั้งคณะรัฐมนตรีตามความในรัฐธรรมนูญแล้ว ให้รอการใช้บทบัญญัติต่างๆ ในรัฐธรรมนูญซึ่งขัดกับพระราชกฤษฎีกานี้เสีย ส่วน
บทบัญญัติอื่นๆในรัฐธรรมนูญนั้นให้เป็นอันคงใช้อยู่ต่อไป
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 น. 1, วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476)
รัฐบาลยังได้ออกแถลงการณ์ถึงความจำเป็นในการปิดสภาผู้แทนราษฎรกับการตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ และการงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราว่า คณะรัฐมนตรีมีความเห็นแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มข้างน้อยต้องการวางนโยบายเศรษฐกิจมีลักษณะเป็นคอมมิวนิสม์ ฝ่ายข้างมากเห็นว่า ตรงข้ามกับธรรมเนียมประเพณีของชาวสยาม จะนำมาซึ่งความหายนะและความมั่นคงของ ประเทศ[3] ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาแต่งตั้งและเป็นสภาฯชั่วคราว ไม่ควรวางนโยบายเศรษฐกิจใหม่ ที่ “ประดุจเป็นการพลิกแผ่นดิน” แต่ก็เห็นได้ชัดว่า สมาชิกจำนวนมากต้องการและเลื่อมใสรัฐมนตรีเสียงข้างน้อยความแตกต่างระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับนิติบัญญัติ ระหว่างคณะรัฐมนตรีกับฝ่ายบริหารเป็นอันตรายต่อความมั่นคง ทำให้การปฏิบัติราชการช้าและกิดความแตกแยก ตลอดจนก่อให้เกิดความไม่มั่นใจแก่ประชาชน จึงจำเป็นต้องปิดสภาฯและตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่การงดใช้รัฐธรรมนูญนั้นเป็นเฉพาะ บางมาตราและเป็นการชั่วคราวเท่านั้น (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 น. 7, 1 เมษายน พ.ศ. 2476 และดูประเด็นเรื่องอำนาจของฝ่ายบริหารที่จะปิดสภาที่ ม.จ. วรรณไวทยากรเคยกล่าวไว้ใน สิริ เปรมจิตต์ 2511: 86)
ผลการปิดสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ทำให้เกิดการ รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ภายใต้การนำของ พ.อ. พระยา พหลพลพยุหเสนา ซึ่งเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา และบังคับให้ลาออกจากตำแหน่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการประกาศให้เปิดประชุม สภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งเรียกประชุมสมัยวิสามัญตามคำกราบบังคมทูลของประธาน สภาผู้แทนราษฎรกับทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายก รัฐมนตรี (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 น. 385-387, 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476) นอกจากนี้ยังได้ตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ในการจัดกา ให้คณะรัฐมนตรีลาออกเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2476 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 น. 389, 25 มิถุนายน พ.ศ. 2476) ดังคำอธิบายว่า
“สภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษาว่า การที่คณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ซึ่งเห็นความจำเป็นในอันจะแก้ไขเหตุการณ์ที่ทำให้เสื่อมทรามความศักดิ์สิทธิ์แห่งรัฐธรรมนูญ เป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อความปลอดภัยแห่งชาติบ้านเมือง จึงพร้อมใจกันเข้าจัดการให้คณะรัฐมนตรีชุดซึ่งไม่บริหารราชการแผ่นดินตามหน้าที่ด้วยความไว้วางใจของสภาฯตามรัฐธรรมนูญลาออกจากตำแหน่งทั้งคณะ ซึ่งในที่สุด รัฐมนตรีคณะที่กล่าวข้างต้นก็ได้ยื่นใบลา และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากตำแหน่งแล้ว ปรากฏว่าเหตุการณ์ได้เป็นไปโดยราบรื่นปกติเรียบร้อย มิได้รุนแรง สมควรได้รับพระมหากรุณา เพราะความหวังดีงามและความละมุนละม่อมในการกระทำของคณะนี้”
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 น. 389, 25 มิถุนายน 2476)
รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการตราพระราชบัญญัติให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาที่ได้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 โดยกล่าวว่า การปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งนั้น ‘มิได้อาศัยอำนาจในรัฐธรรมนูญประการใด ซึ่งทำให้เสื่อมทรามความศักดิ์สิทธิ์แห่งรัฐธรรมนูญ’ พระยาพหลพลพยุหเสนา จึงได้จัดการให้คณะรัฐมนตรีชุดเก่าลาออก เพื่อเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยวิสามัญ เพื่อยกเลิกพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 น. 394, วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2476)
กบฏบวรเดช : คณะกู้บ้านเมือง
พลเอกพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช (ม.จ. บวรเดช กฤดากร) อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหมนำคณะกู้บ้านกู้เมืองหรือคณะกู้บ้านเมือง ร่วมกับทหารหัวเมืองจากจังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก อยุธยา สระบุรี ปราจีนบุรี เพชรบุรี และราชบุรี เข้ามาล้อมกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เพื่อยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลปฏิบัติตาม 6 ประการ คือ
- ต้องจัดการทุกอย่างที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปาวสาน
- ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ การตั้งและถอดถอนคณะรัฐบาลต้องเป็นไปตามเสียงหมู่มากไม่ใช่ทำด้วยการจับอาวุธดังที่กล่าวมาแล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงต้องยอมให้มีคณะการเมืองที่ชอบด้วยกฎหมาย
- ข้าราชการซึ่งอยู่ในตำแหน่งประจำการ ทั้งทหารและพลเรือน ต้องอยู่นอกการเมือง เว้นแต่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่ทางการเมืองโดยตรง แต่ความข้างต้นนั้น ไม่ตัดสิทธิในการที่ข้าราชการประจำจะนิยมยึดถือลัทธิการเมืองใดๆที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ห้ามมิให้ใช้อำนาจหรือโอกาสในตำแหน่งหน้าที่เพื่อสนับสนุนเผยแผ่ลัทธิที่ตนนิยม หรือเพื่อบังคับขู่เข็ญโดยทางตรงหรือโดยอ้อมให้คนอื่นถือตามลัทธิที่ตนนิยมเป็นอันขาด ตำแหน่งฝ่ายทหารตั้งแต่ผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารเรือลงไปต้องไม่มีหน้าที่ทางการเมือง
- การแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งราชการจักต้องถือคุณวุฒิความสามารถเป็นหลัก ไม่ถือเอาความเกี่ยวข้องในทางการเมืองเป็นความชอบ หรือเป็นข้อรังเกียจในการบรรจุหรือเลื่อนตำแหน่ง
- การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง ต้องถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือก
- การปกครองกองทัพบกจักต้องให้มีหน่วยผสมตามหลักยุทธวิธี เฉลี่ยอาวุธสำคัญแยกกันไปประจำตามท้องถิ่น มิให้มีกำลังเป็นส่วนใหญ่เฉพาะใน
แห่งใดแห่งหนึ่ง” (นิคม จารุมณี 2519 : 352-353)
นิคม จารุมณี (2519 : 117-149) สรุปสาเหตุสำคัญของการกบฏไว้ 6 ประการ ได้แก่
- ความหวาดระแวงภัยคอมมิวนิสม์และความไม่พอใจการกลับมา มีอำนาจทางการเมืองของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
- ความไม่พอใจที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถูกหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพตั้งแต่การยึดอำนาจเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 การที่นายถวัติฤทธิเดชยื่นฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯในข้อหาหมิ่นประมาท ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าได้รับการสนับสนุนจาก หลวงประดิษฐมนูธรรม
- ปัญหาความคิดความเข้าใจและปฏิบัติการทางการเมืองในระบอบรัฐธรรมนูญที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะกรณีรัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ฝ่ายกบฏบวรเดชเห็นว่าไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ
- ความต้องการที่จะให้มีการจัดการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ตามอุดมการณ์โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- ความขัดแย้งระหว่างคณะทหารหัวเมืองกับคณะราษฎร โดยเฉพาะความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจของทหารหัวเมืองว่าขาดความสำคัญ
- ความขัดแย้งส่วนตัวระหว่างพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดชและพันเอกพระยาศรีสิทธิสงครามฝ่ายหนึ่งกับผู้นำในคณะราษฎรอีกฝ่ายหนึ่ง
จะเห็นได้ว่า การเกิดกบฏบวรเดชนอกจากจะสะท้อนให้เห็นความขัดแย้ง ระหว่างชนชั้นนำไทยแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความนึกคิดความเข้าใจ ในระบอบรัฐธรรมนูญที่ต่างกันใน 2 ประเด็น คือ กรณีการรัฐประหาร 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และข้อเรียกร้องที่จะให้รัฐบาลถวายอำนาจให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกผู้แทนประเภทที่สองด้วยพระองค์เอง
อย่างไรก็ตาม แม้รัฐบาลปราบกบฏบวรเดชสำเร็จ แต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่มีผลต่อความรู้สึกนึกคิดของคนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสะเทือนพระทัยมาก และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทรงสละราชสมบัติในเวลาต่อมา
กรณีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเคยดำริที่จะสละราชสมบัติภายหลัง การปฏิวัติสยาม 2475 เพราะอาการประชวรที่พระเนตร แต่พระยาศรีวิสารวาจากราบบังคมทูลทัดทานขอพระราชทานไว้ (“บันทึกลับ” เจ้าพระยามหิธรถึงพระยามโนปกรณ์นิติธาดา วันที่ 2 กรกฎาคม 2475 ในแถลงการณ์เรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ 2478 : 3)
แต่ระบอบการปกครองใหม่เป็นไปอย่างไม่ราบรื่นนักความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะกรณีกบฏบวรเดช ทำให้รัฐบาลไม่ไว้วางใจพวกเจ้ามากขึ้น เพราะเกรงว่าจะถูกยึดอำนาจกลับคืนสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ขณะเดียวกันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าก็ทรงรู้สึกว่ารัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร ไม่ค่อยเห็นความสำคัญของสถาบันกษัตริย์กระทำการโดยไม่ขอพระราชทานคำปรึกษาและขัดกับพระราชดำริ (วิภาลัย ธีรชัย 2522 : 139-140)
ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินประพาสยุโรปและสหรัฐอเมริกาเพื่อรักษาอาการประชวร ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2477 พระองค์ทรงติดต่อกับรัฐบาลในประเด็นการสละราชสมบัติ ทรงยื่นข้อเสนอเป็นพระราชบันทึกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2477 มีรายละเอียดดังนี้
- ทรงมีพระราชประสงค์ให้แก้ไขการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่สองเพราะที่ผ่านมารัฐบาลมักเลือกเอาพวกในคณะ ราษฎร โดยมิได้คำนึงถึงคุณวุฒิและความเหมาะสม
- พระราชอำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา 39 ยังไม่เหมาะสมตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ใช้เสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎร พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ให้ใช้เสียงไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของสภาผู้แทนราษฎรในการลงมติให้ใช้ พระราชบัญญัติที่พระองค์ทรงยับยั้งไว้
- ทรงร้องขอให้รัฐบาลปฏิบัติตามมาตรา 14 ของรัฐธรรมนูญ ให้เสรีภาพในการพูด การเขียน การโฆษณา และให้เสรีภาพในการประชุมโดยเปิดเผยและการตั้งสมาคม
- ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันรัฐธรรมนูญ เนื่องจากขัดกับหลักเสรีภาพ
- ทรงขอให้รัฐบาลอภัยโทษนักโทษการเมือง
- สำหรับข้าราชการที่ถูกลงโทษ ไม่ว่าจะเป็นการปลดออก จากราชการก็ดี การถูกลงโทษแล้วพ้นคดีก็ดีแต่ถูกตัดสิทธิ์ใน การรับเบี้ยบำเหน็จบำนาญ ขอให้ข้าราชการเหล่านั้น ได้รับบำเหน็จบำนาญตามสิทธิ
- ให้งดการฟ้องร้องข้าราชการที่ถูกสงสัยในข้อหากบฏ หรือที่กำลังจะฟ้องให้งดการฟ้องร้องจับกุม
- ขอให้รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรให้คำมั่นเป็นลายลักษณ์อักษร ว่า จะไม่ตัดกำลังและงบประมาณของทหารรักษาวัง ให้น้อยกว่าเท่าที่จัดให้มีอยู่ ตลอดจนจ่ายอาวุธเท่ากับกองพันทหารราบอื่นๆ เพื่อรักษาพระราชวังและรักษาพระองค์
- ขอให้จัดการออกพระราชบัญญัติระเบียบการทูลเกล้าฯถวายฎีกา ในเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษ (วิภาลัย ธีรชัย 2522 : 140-141 และแถลงการณ์เรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีพระราชบันทึกอีก 2 ฉบับ ให้งดกล่าวโทษ ม.จ. ศุภสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ และนายทหารรักษาวัง งดการเลิกทหารรักษาวัง งดการเปลี่ยนแปลงกระทรวงวังให้บุคคลในรัฐบาลเลิกกล่าวร้ายพระราชจักรีวงศ์และรัฐบาลเก่า พร้อมกับปราบผู้ที่กระทำเช่นนั้น ให้แสดงความเคารพต่อพระมหากษัตริย์อย่างแท้จริง ตลอดจนระงับปัญหาความไม่สงบ โดยไม่ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมอย่างแรงกับลดหย่อนโทษให้นักโทษการเมือง พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์จะให้มีคณะการเมืองเพื่อชี้ให้เห็นว่าลัทธิแบบไหนดีกว่า โดยเฉพาะแนวความคิดของรัฐบาลว่าจะเป็นแนวเสรีนิยมหรือสังคมนิยม (ชัยอนันต์ สมุทวณิชและขัตติยา กรรณสูต 2532 : 301-304)
ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่ารัฐบาลไม่อาจสนอง พระราชบันทึกตามที่ทรงมีพระราชประสงค์ได้ พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัย สละราชสมบัติในวันที่ 2 มีนาคม 2477 และรัฐบาลได้กราบบังคมทูลพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมา (วิภาลัย ธีรชัย 2522 : 141)
การแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ถูกแก้ไขครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2482 ตามรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประกาศ พ.ศ. 2482 มีผลทำให้เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย และเรียกรัฐธรรมนูญใหม่ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 ตอน 44 หน้า 980, 6 ตุลาคม พ.ศ. 2482) ผู้เสนอให้แก้ไขคือนายกรัฐมนตรี พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม โดยการแถลงของ หลวงวิจิตรวาทการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ประชุมมีมติเห็นชอบและเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นประเทศไทย (ปรีดี พนมยงค์ 2526 : 86-87)
การแก้ไขครั้งที่สองเป็นการแก้ไขบทเฉพาะกาล เพื่อยืดอายุการใช้บทเฉพาะกาลจาก 10 ปี เป็น 20 ปี (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 57, 4 ตุลาคม พ.ศ. 2483) โดยขุนบุรัสการกิตติคดี ผู้แทนราษฎรประเภทที่หนึ่ง จังหวัดอุบลราชธานี ให้เหตุผลว่าเพื่อความมั่นคงของประเทศ ในภาวะสงครามที่เริ่มขยายตัวเข้ามาถึงประเทศไทย (ปรีดี พนมยงค์ 2526 : 350)
ครั้งที่สาม คือ รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2485 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 ตอน 75, 3 ธันวาคม พ.ศ. 2485) เป็นการขยายกำหนดวาระของสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรออกไปครั้งละ 2 ปี โดยต้องตราออกมาเป็นพระราชบัญญัติ
อ้างอิง
- ↑ นายปรีดี พนมยงค์ เรียกระบอบการปกครองใหม่นี้ว่า ระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย (ปรีดี พนมยงค์ 2526 : 346), พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเรียกว่า ราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ (รงส. 34/2475) ในปัจจุบันเป็นที่เข้าใจว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
- ↑ เป็นที่น่าสังเกตว่าธรรมเนียมปฏิบัตินี้ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ดังจะเห็นได้จากการประกาศใช้รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 และ รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 ซึ่งผู้ร่างเลือกใช้คำว่ารัฐธรรมนูญโดยกำกับด้วยคำว่าชั่วคราวเพื่อแสดงสถานะและมิติทางเวลาของรัฐธรรมนูญ
- ↑ รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 เพื่อปรามการเคลื่อนไหวของหลวงประดิษมนูธรรม เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2476 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50, 1 เมษายน พ.ศ. 2476 สำหรับบทวิเคราะห์โปรดดู นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 2540 : 255)
หน้าหลัก |
---|