ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชกฤษฎีกา"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน) | |||
บรรทัดที่ 7: | บรรทัดที่ 7: | ||
==นิยาม ความหมาย== | ==นิยาม ความหมาย== | ||
พระราชกฤษฎีกา คือ | พระราชกฤษฎีกา คือ บัญญัติแห่งกฎหมายที่[[พระมหากษัตริย์]]ทรงตราขึ้น โดยอาศัยอำนาจตาม[[รัฐธรรมนูญ]] พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ [[พระราชบัญญัติ]] หรือพระราชกำหนดเพื่อใช้ใน[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]<ref>พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546. หน้า 765.</ref> ตามคำแนะนำของ[[คณะรัฐมนตรี]] ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 187 บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย” | ||
==การตราพระราชกฤษฎีกา== | ==การตราพระราชกฤษฎีกา== | ||
บรรทัดที่ 13: | บรรทัดที่ 13: | ||
ในการตราพระราชกฤษฎีกา ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็น 3 กรณี<ref>มานิตย์ จุมปา. '''ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย.''' (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2547) หน้า 55-56.</ref> คือ | ในการตราพระราชกฤษฎีกา ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็น 3 กรณี<ref>มานิตย์ จุมปา. '''ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย.''' (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2547) หน้า 55-56.</ref> คือ | ||
1. พระราชกฤษฎีกาที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ตราพระราชกฤษฎีกาในกิจการที่สำคัญอันเกี่ยวกับฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งจะเป็นการกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยของกฎหมาย เพื่อให้การปฏิบัติตามกฎหมายมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เช่น พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร | 1. พระราชกฤษฎีกาที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ตราพระราชกฤษฎีกาในกิจการที่สำคัญอันเกี่ยวกับฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งจะเป็นการกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยของกฎหมาย เพื่อให้การปฏิบัติตามกฎหมายมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เช่น พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พระราชกฤษฎีกาให้มี[[การเลือกตั้ง]]สมาชิกวุฒิสภา และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย[[การเลือกตั้ง]]สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น | ||
2. พระราชกฤษฎีกา ที่ออกมาเพื่อใช้กับฝ่ายบริหารเพียงอย่างเดียวไม่บังคับใช้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นกรณีที่รัฐบาลเห็นสมควรตราข้อบังคับใช้ในการบริหารงานทั่วไป | 2. พระราชกฤษฎีกา ที่ออกมาเพื่อใช้กับฝ่ายบริหารเพียงอย่างเดียวไม่บังคับใช้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นกรณีที่รัฐบาลเห็นสมควรตราข้อบังคับใช้ในการบริหารงานทั่วไป | ||
บรรทัดที่ 33: | บรรทัดที่ 33: | ||
==ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา== | ==ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา== | ||
ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือได้รักษาการตามกฎหมายแม่บทที่บัญญัติให้ออกพระราชกฤษฎีกานั้น ๆ ตัวอย่าง เช่น พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2544<ref>พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2544, '''ราชกิจจานุเบกษา''' เล่ม 118 ตอนที่ 28 ก, 10 พฤษภาคม 2544, หน้า 1.</ref>ผู้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา คือ | ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือได้รักษาการตามกฎหมายแม่บทที่บัญญัติให้ออกพระราชกฤษฎีกานั้น ๆ ตัวอย่าง เช่น พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2544<ref>พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2544, '''ราชกิจจานุเบกษา''' เล่ม 118 ตอนที่ 28 ก, 10 พฤษภาคม 2544, หน้า 1.</ref>ผู้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา คือ [[รัฐมนตรี]]ว่าการกระทรวงกลาโหม เพราะเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา | ||
==ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา== | ==ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา== | ||
ผู้มีอำนาจพิจารณาพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ คณะรัฐมนตรี | ผู้มีอำนาจพิจารณาพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ [[คณะรัฐมนตรี]] | ||
==ผู้มีอำนาจตราพระราชกฤษฎีกา== | ==ผู้มีอำนาจตราพระราชกฤษฎีกา== | ||
ผู้อำนาจตราพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ พระมหากษัตริย์ | ผู้อำนาจตราพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ [[พระมหากษัตริย์]] | ||
==การบังคับใช้เป็นกฎหมาย== | ==การบังคับใช้เป็นกฎหมาย== | ||
ร่างพระราชกฤษฎีกา | ร่างพระราชกฤษฎีกา จะใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ต่อเมื่อได้ประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]]แล้ว | ||
กล่าวโดยสรุป พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด | กล่าวโดยสรุป พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด | ||
การตราพระราชกฤษฎีกา | การตราพระราชกฤษฎีกา [[รัฐมนตรี]]ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องจะอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดนั้นๆ เสนอร่าง พระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา โดยร่างพระราชกฤษฎีกานั้น จะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดที่เกี่ยวข้อง | ||
เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว จะต้องนำร่างพระราชกฤษฎีกาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกานั้นๆ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จากนั้นจึงนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้ต่อไป | เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว จะต้องนำร่างพระราชกฤษฎีกาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกานั้นๆ [[นายกรัฐมนตรี]] จะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จากนั้นจึงนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้ต่อไป | ||
==อ้างอิง== | ==อ้างอิง== | ||
บรรทัดที่ 73: | บรรทัดที่ 73: | ||
*สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์. '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2550. | *สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์. '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2550. | ||
[[ | ---- | ||
{|cellpadding="2" cellspacing="5" style="vertical-align:top;background-color:#ffffff;color:#000;width:100%" | |||
! style="background-color:#fffff; font-size: 100%; border: 1px solid #afa3bf; text-align: left; padding-left: 7px; -moz-border-radius:7px" |[[หน้าหลัก]] | [[ลำดับขั้นของกฎหมาย]] [[หมวดหมู่ : สถาบันนิติบัญญัติ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:30, 19 กรกฎาคม 2553
ผู้เรียบเรียง ชงคชาญ สุวรณมณี
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
นิยาม ความหมาย
พระราชกฤษฎีกา คือ บัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน[1] ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 187 บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย”
การตราพระราชกฤษฎีกา
ในการตราพระราชกฤษฎีกา ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็น 3 กรณี[2] คือ
1. พระราชกฤษฎีกาที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ตราพระราชกฤษฎีกาในกิจการที่สำคัญอันเกี่ยวกับฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งจะเป็นการกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยของกฎหมาย เพื่อให้การปฏิบัติตามกฎหมายมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เช่น พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
2. พระราชกฤษฎีกา ที่ออกมาเพื่อใช้กับฝ่ายบริหารเพียงอย่างเดียวไม่บังคับใช้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นกรณีที่รัฐบาลเห็นสมควรตราข้อบังคับใช้ในการบริหารงานทั่วไป ในกิจการของฝ่ายบริหาร เช่น พระราชกฤษฎีกาว่าด้วย เบี้ยประชุมกรรมการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ เป็นต้น
3. พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายแม่บท คือ พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด ที่ให้อำนาจตราพระราชกฤษฎีกาได้ โดยการวางหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข หรือการจัดระเบียบการบริหารราชการไว้ เช่น พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522 กำหนดว่าการให้ปริญญาใด ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรณีนี้กฎหมายแม่บทจะกำหนดแต่หลักสาระสำคัญไว้ ส่วนรายละเอียดให้ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือให้ออกเป็นกฎกระทรวง
สาเหตุที่กฎหมายแม่บทมักจะกำหนดแต่หลักการใหญ่ ๆ ส่วนในรายละเอียดปลีกย่อยกำหนดให้ออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงนั้น สามารถอธิบายเหตุผลได้ 4 ประการ[3] คือ
1. ทำให้กฎหมายแม่บทกำหนดอ่านง่าย เข้าใจง่าย เพราะมีแต่หลักการใหญ่ๆ อันเป็นสาระสำคัญ
2. ประหยัดเวลาของผู้บัญญัติกฎหมายแม่บท ที่จะไม่ต้องเสียเวลาพิจารณารายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งสมควรมอบหมายความไว้วางใจให้ฝ่ายบริหารไปกำหนดได้เอง
3. พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงแก้ไขให้ทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ง่ายกว่ากฎหมายแม่บท ทั้งนี้ เพราะกฎหมายแม่บทจะต้องผ่านความเห็นชอบของบุคคลหลายฝ่าย
4. ทำให้กฎหมายเหมาะสมกับกาลเวลาอยู่เสมอ เพราะถ้าพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ก็เพียงแต่แก้ไขพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงเท่านั้น ไม่ต้องแก้ไขตัวกฎหมายแม่บท
ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือได้รักษาการตามกฎหมายแม่บทที่บัญญัติให้ออกพระราชกฤษฎีกานั้น ๆ ตัวอย่าง เช่น พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2544[4]ผู้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพราะเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา
ผู้มีอำนาจพิจารณาพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ คณะรัฐมนตรี
ผู้มีอำนาจตราพระราชกฤษฎีกา
ผู้อำนาจตราพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ พระมหากษัตริย์
การบังคับใช้เป็นกฎหมาย
ร่างพระราชกฤษฎีกา จะใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
กล่าวโดยสรุป พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
การตราพระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องจะอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดนั้นๆ เสนอร่าง พระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา โดยร่างพระราชกฤษฎีกานั้น จะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดที่เกี่ยวข้อง
เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว จะต้องนำร่างพระราชกฤษฎีกาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกานั้นๆ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จากนั้นจึงนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้ต่อไป
อ้างอิง
- ↑ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546. หน้า 765.
- ↑ มานิตย์ จุมปา. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย. (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2547) หน้า 55-56.
- ↑ หยุด แสงอุทัย. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. (กรุงเทพฯ : ประกายพรึก. 2548) หน้า 80.
- ↑ พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2544, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนที่ 28 ก, 10 พฤษภาคม 2544, หน้า 1.
บรรณานุกรม
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2550.
มานิตย์ จุมปา. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2547
หยุด แสงอุทัย. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ : ประกายพรึก. 2548
ดูเพิ่มเติม
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 http://www.chan1.go.th/kmc/modules.php?name=News&file=print&sid=351
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักประชาสัมพันธ์. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2550.
หน้าหลัก | ลำดับขั้นของกฎหมาย |
---|