ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Cancel Culture ในการเมืองไทย"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โ..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และ นน ศุภสาร
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และ นน ศุภสาร


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:
 
 


          ในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล[[ประยุทธ์_จันทร์โอชา]] นั้น สื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย ได้มีบทบาทในการเป็นพื้นที่แสดงความเห็นหรือจุดยืนทางการเมืองของทั้งฝ่ายสนับสนุนและต่อต้านรัฐบาลในหลายรูปแบบ ตั้งแต่ใช้ส่งต่อสื่อสารความเห็น ระดมคนไปชุมนุม จนถึงเรียกร้องให้เกิดการกระทำรวมหมู่ (collective action) อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น
          ในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล[[ประยุทธ์_จันทร์โอชา|ประยุทธ์_จันทร์โอชา]] นั้น สื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย ได้มีบทบาทในการเป็นพื้นที่แสดงความเห็นหรือจุดยืนทางการเมืองของทั้งฝ่ายสนับสนุนและต่อต้านรัฐบาลในหลายรูปแบบ ตั้งแต่ใช้ส่งต่อสื่อสารความเห็น ระดมคนไปชุมนุม จนถึงเรียกร้องให้เกิดการกระทำรวมหมู่ (collective action) อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น


          หนึ่งในวิธีการเคลื่อนไหวดังกล่าว คือ กระแสการเคลื่อนไหวหรือรณรงค์เรียกร้องให้ '''“คว่ำบาตร”''' หรือถอนการสนับสนุนหรือเรียกร้องให้ไม่สนับสนุนบุคคลหรือองค์กรที่มีทัศนคติหรือมีการแสดงออกทางจุดยืนไปในทางสนับสนุนรัฐบาล ลักษณะการเคลื่อนไหวเช่นนี้เป็นรูปแบบเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสังคมอื่นที่มีการแสดงออกผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียที่แสดงการถอนการสนับสนุน หรือไม่สนับสนุนบุคคลที่มีทัศนคติหรือการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นที่ยอมรับต่อสังคมวงกว้าง โดยการกระทำในลักษณะนี้ถูกเรียกว่า '''“Cancel Culture”''' ซึ่งก็ได้ปรากฏในกระแสการเคลื่อนไหวทางการเมืองไทยดังที่กล่าวไปก่อนหน้า
          หนึ่งในวิธีการเคลื่อนไหวดังกล่าว คือ กระแสการเคลื่อนไหวหรือรณรงค์เรียกร้องให้ '''“คว่ำบาตร”''' หรือถอนการสนับสนุนหรือเรียกร้องให้ไม่สนับสนุนบุคคลหรือองค์กรที่มีทัศนคติหรือมีการแสดงออกทางจุดยืนไปในทางสนับสนุนรัฐบาล ลักษณะการเคลื่อนไหวเช่นนี้เป็นรูปแบบเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสังคมอื่นที่มีการแสดงออกผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียที่แสดงการถอนการสนับสนุน หรือไม่สนับสนุนบุคคลที่มีทัศนคติหรือการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นที่ยอมรับต่อสังคมวงกว้าง โดยการกระทำในลักษณะนี้ถูกเรียกว่า '''“Cancel Culture”''' ซึ่งก็ได้ปรากฏในกระแสการเคลื่อนไหวทางการเมืองไทยดังที่กล่าวไปก่อนหน้า
บรรทัดที่ 12: บรรทัดที่ 12:
 
 


<span style="font-size:x-large;">'''ความหมายของ ''''''Cancel Culture'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''ความหมายของ Cancel Culture'''</span>


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''Cancel Culture''' หรือที่มีการแปลเป็นภาษาไทยว่า '''“วัฒนธรรมคว่ำบาตร”''' '''“วัฒนธรรมคว่ำบาตรออนไลน์'''”[[#_ftn1|[1]]]หรือ '''“วัฒนกรรมการแบน”''' เป็นกระแสการแสดงออกหรือรณรงค์การไม่สนับสนุนหรือ '''“คว่ำบาตร”''' หรือ '''“แบน”''' โดยบุคคลธรรมดาทั่วไปต่อบุคคลผู้มีชื่อเสียง เช่น ศิลปิน นักการเมือง องค์กร ที่มีการกระทำหรือแสดงทัศนคติในทางที่ไม่ถูกต้องโดยการเลิกสนับสนุน เลิกอุดหนุนหรือบริโภคผลงานหรือสินค้าหรือเลิกการติดตามในช่องทางโซเชียลมีเดียต่อบุคคลหรือองค์กรนั้น ๆ โดยที่สื่อโซเชียลมีเดียมีส่วนสนับสนุนกระแสการคว่ำบาตรนี้ ทำให้บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถแสดงออกถึงการคว่ำบาตรหรือไม่สนับสนุนผู้มีชื่อเสียงหรือองค์กรขนาดใหญ่ หรือสามารถประกาศถึงจุดยืนและสิทธิในการเลือกสนับสนุนของตนได้ง่ายขึ้น[[#_ftn2|[2]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''Cancel Culture''' หรือที่มีการแปลเป็นภาษาไทยว่า '''“วัฒนธรรมคว่ำบาตร”''' '''“วัฒนธรรมคว่ำบาตรออนไลน์'''”[[#_ftn1|[1]]]&nbsp;หรือ '''“วัฒนกรรมการแบน”''' เป็นกระแสการแสดงออกหรือรณรงค์การไม่สนับสนุนหรือ '''“คว่ำบาตร”''' หรือ '''“แบน”''' โดยบุคคลธรรมดาทั่วไปต่อบุคคลผู้มีชื่อเสียง เช่น ศิลปิน นักการเมือง องค์กร ที่มีการกระทำหรือแสดงทัศนคติในทางที่ไม่ถูกต้องโดยการเลิกสนับสนุน เลิกอุดหนุนหรือบริโภคผลงานหรือสินค้าหรือเลิกการติดตามในช่องทางโซเชียลมีเดียต่อบุคคลหรือองค์กรนั้น ๆ โดยที่สื่อโซเชียลมีเดียมีส่วนสนับสนุนกระแสการคว่ำบาตรนี้ ทำให้บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถแสดงออกถึงการคว่ำบาตรหรือไม่สนับสนุนผู้มีชื่อเสียงหรือองค์กรขนาดใหญ่ หรือสามารถประกาศถึงจุดยืนและสิทธิในการเลือกสนับสนุนของตนได้ง่ายขึ้น[[#_ftn2|[2]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; จุดเริ่มต้นของกระแสการแสดงออกถึงการไม่สนับสนุนนี้เริ่มจากในสหรัฐอเมริกาประมาณช่วง ปี 2558 และเกิดการใช้คำว่า Cancel Culture ใน ปี 2561[[#_ftn3|[3]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; จุดเริ่มต้นของกระแสการแสดงออกถึงการไม่สนับสนุนนี้เริ่มจากในสหรัฐอเมริกาประมาณช่วง ปี 2558 และเกิดการใช้คำว่า Cancel Culture ในปี 2561[[#_ftn3|[3]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ตัวอย่างการกระทำที่ก่อให้เกิดกระแสการคว่ำบาตร เช่น การแสดงท่าทีเหยียดเพศ ชาติพันธุ์&nbsp;หรือมีประวัติการทำผิด เช่น ล่วงละเมิดทางเพศ[[#_ftn4|[4]]]ไปจนถึงการแสดงจุดยืนทางการเมือง[[#_ftn5|[5]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ตัวอย่างการกระทำที่ก่อให้เกิดกระแสการคว่ำบาตร เช่น การแสดงท่าทีเหยียดเพศ ชาติพันธุ์&nbsp;หรือมีประวัติการทำผิด เช่น ล่วงละเมิดทางเพศ[[#_ftn4|[4]]]&nbsp;ไปจนถึงการแสดงจุดยืนทางการเมือง[[#_ftn5|[5]]]


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 30: บรรทัดที่ 30:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การแบนหรือคว่ำบาตรบุคคลได้ถูกแสดงออกผ่านกระแส '''“แบนดาราสลิ่ม”''' โดยเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ต่อศิลปิน ดารา นักแสดงที่แสดงความคิดเห็นวิจารณ์การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล รวมถึงผู้ที่แสดงความเห็นด้วยถ้อยคำทั่วไปจนถึงระดับที่แสดงความหยาบคาย
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การแบนหรือคว่ำบาตรบุคคลได้ถูกแสดงออกผ่านกระแส '''“แบนดาราสลิ่ม”''' โดยเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ต่อศิลปิน ดารา นักแสดงที่แสดงความคิดเห็นวิจารณ์การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล รวมถึงผู้ที่แสดงความเห็นด้วยถ้อยคำทั่วไปจนถึงระดับที่แสดงความหยาบคาย


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในแง่ตัวบุคคล แบบแผนของการแบนหรือคว่ำบาตรที่เห็นได้ชัดคือการสืบค้นประวัติของบุคคลผู้นั้น&nbsp;ว่าได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่ม [[กปปส.]] ระหว่าง ปี 2556-2557 หรือไม่[[#_ftn6|[6]]]ในขณะที่กระแสการ '''“แบนดาราปรสิต”''' เป็นกระแสการคว่ำบาตรบุคคลมีชื่อเสียงที่เพิกเฉยหรือไม่แสดงจุดยืนทางการเมืองวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ภายหลังการสลายการชุมนุมการชุมนุมที่แยกปทุมวัน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563[[#_ftn7|[7]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในแง่ตัวบุคคล แบบแผนของการแบนหรือคว่ำบาตรที่เห็นได้ชัดคือการสืบค้นประวัติของบุคคลผู้นั้น&nbsp;ว่าได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่ม [[กปปส.|กปปส.]] ระหว่าง ปี 2556-2557 หรือไม่[[#_ftn6|[6]]]&nbsp;ในขณะที่กระแสการ '''“แบนดาราปรสิต”''' เป็นกระแสการคว่ำบาตรบุคคลมีชื่อเสียงที่เพิกเฉยหรือไม่แสดงจุดยืนทางการเมืองวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ภายหลังการสลายการชุมนุมการชุมนุมที่แยกปทุมวัน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563[[#_ftn7|[7]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ ยังมีกระแสการคว่ำบาตรศิลปินสัญชาติไทยในเกาหลีใต้ผ่านกระแส '''“แบนแทกุกไลน์”''' จากการไม่แสดงจุดยืนหรือ '''“คอลเอาท์”''' '''(Call Out)''' ต่อประเด็นปัญหาในประเทศไทย[[#_ftn8|[8]]]ซึ่งหนึ่งในการแสดงออกถึงการไม่สนับสนุนคือการยกเลิกการติดตาม (unsubscribe หรือ unfollow) บัญชีของสื่อโซเชียลมีเดียของศิลปินหรือดาราคนนั้น ๆ ส่งผลให้ยอดผู้ติดตามลดลง ซึ่งนอกจากจะกระทบต่อความนิยมชื่นชอบของแฟนคลับแล้วยังส่งผลต่อการที่ผู้สนับสนุนจากภาคธุรกิจจะจ้างดารานักแสดงผู้นั้นในการแสดงละคร โฆษณา&nbsp;เป็นตัวแทนของสินค้าของตนที่มีมูลค่าทางการตลาดอย่างมีนัยสำคัญ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ ยังมีกระแสการคว่ำบาตรศิลปินสัญชาติไทยในเกาหลีใต้ผ่านกระแส '''“แบนแทกุกไลน์”''' จากการไม่แสดงจุดยืนหรือ '''“คอลเอาท์”''' '''(Call Out)''' ต่อประเด็นปัญหาในประเทศไทย[[#_ftn8|[8]]]&nbsp;ซึ่งหนึ่งในการแสดงออกถึงการไม่สนับสนุนคือการยกเลิกการติดตาม (unsubscribe หรือ unfollow) บัญชีของสื่อโซเชียลมีเดียของศิลปินหรือดาราคนนั้น ๆ ส่งผลให้ยอดผู้ติดตามลดลง ซึ่งนอกจากจะกระทบต่อความนิยมชื่นชอบของแฟนคลับแล้วยังส่งผลต่อการที่ผู้สนับสนุนจากภาคธุรกิจจะจ้างดารานักแสดงผู้นั้นในการแสดงละคร โฆษณา&nbsp;เป็นตัวแทนของสินค้าของตนที่มีมูลค่าทางการตลาดอย่างมีนัยสำคัญ


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>กลุ่มเป้าหมายที่สอง</u> การรณรงค์คว่ำบาตรต่อองค์กรธุรกิจหรือเครือข่ายบริษัทเอกชนนั้นกระทำในระดับของบริษัทที่มีจุดยืนตรงข้ามกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เช่น กระแสการ '''“แบนเนชั่น”''' และ&nbsp;'''“แบนสปอนเซอร์เนชั่น”''' เนื่องจากสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งออนไลน์และสิ่งพิมพ์ ตลอดจนเนชั่นทีวีถูกฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมองว่าทำรายงานข่าวสนับสนุนรัฐบาล ไม่เป็นธรรมต่อผู้ชุมนุมรวมถึงผิดจริยธรรมสื่อมวลชน ซึ่งได้มีการเรียกร้องให้สินค้าหรือธุรกิจต่าง ๆ ถอนโฆษณาออกจากช่องเนชั่นทีวี[[#_ftn9|[9]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>กลุ่มเป้าหมายที่สอง</u> การรณรงค์คว่ำบาตรต่อองค์กรธุรกิจหรือเครือข่ายบริษัทเอกชนนั้นกระทำในระดับของบริษัทที่มีจุดยืนตรงข้ามกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เช่น กระแสการ '''“แบนเนชั่น”''' และ&nbsp;'''“แบนสปอนเซอร์เนชั่น”''' เนื่องจากสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งออนไลน์และสิ่งพิมพ์ ตลอดจนเนชั่นทีวีถูกฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมองว่าทำรายงานข่าวสนับสนุนรัฐบาล ไม่เป็นธรรมต่อผู้ชุมนุมรวมถึงผิดจริยธรรมสื่อมวลชน ซึ่งได้มีการเรียกร้องให้สินค้าหรือธุรกิจต่าง ๆ ถอนโฆษณาออกจากช่องเนชั่นทีวี[[#_ftn9|[9]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลยังมีการรณรงค์ไม่อุดหนุนสินค้าจากร้านสะดวกซื้อรายใหญ่รายหนึ่งและสินค้าในเครือ ภายหลังจากการอภิปรายเปิดเผยเรื่องมูลนิธิป่ารอยต่อซึ่งระบุว่าบริษัทดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องอีกทั้งเครือบริษัทนั้นก็ถูกมองว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลและผูกขาดทางการค้า โดยมีการเคลื่อนไหวรณรงค์ไม่เข้าร้านสะดวกซื้อหนึ่งวันในหนึ่งสัปดาห์หรือรณรงค์ไม่อุดหนุนโดยสิ้นเชิง[[#_ftn10|[10]]]กระแสการต่อต้านยังรวมไปถึงการแบนศิลปินที่เป็นพรีเซนเตอร์ให้กับร่านสะดวกซื้อนั้นด้วย[[#_ftn11|[11]]]หรือกระแสแบนสินค้าฟาสต์ฟู้ดยี่ห้อหนึ่งภายหลังจากการที่แฟนเพจของร้านได้ลงโพสต์โฆษณาที่มีเนื้อหาคล้ายจะล้อเลียนแกนนำการชุมนุมที่ถูกจับกุมตัวในเวลาไล่เลี่ยกัน[[#_ftn12|[12]]]ทั้งนี้ ยังมีกระแสการรณรงค์ยกเลิกหรือไม่เช่าป้ายโฆษณาในสถานีรถไฟฟ้า BTS และ MRT เนื่องในโอกาสวันเกิดของศิลปิน โดยกลุ่มแฟนคลับศิลปินไทย เกาหลี และจีน (แฟนคลับ&nbsp;หรือ “ติ่ง”) เพื่อเป็นการโต้ตอบมาตรการการปิดให้บริการรถไฟฟ้าและสถานีในช่วงที่มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาล[[#_ftn13|[13]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลยังมีการรณรงค์ไม่อุดหนุนสินค้าจากร้านสะดวกซื้อรายใหญ่รายหนึ่งและสินค้าในเครือ ภายหลังจากการอภิปรายเปิดเผยเรื่องมูลนิธิป่ารอยต่อซึ่งระบุว่าบริษัทดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องอีกทั้งเครือบริษัทนั้นก็ถูกมองว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลและผูกขาดทางการค้า โดยมีการเคลื่อนไหวรณรงค์ไม่เข้าร้านสะดวกซื้อหนึ่งวันในหนึ่งสัปดาห์หรือรณรงค์ไม่อุดหนุนโดยสิ้นเชิง[[#_ftn10|[10]]]&nbsp;กระแสการต่อต้านยังรวมไปถึงการแบนศิลปินที่เป็นพรีเซนเตอร์ให้กับร่านสะดวกซื้อนั้นด้วย[[#_ftn11|[11]]]&nbsp;หรือกระแสแบนสินค้าฟาสต์ฟู้ดยี่ห้อหนึ่งภายหลังจากการที่แฟนเพจของร้านได้ลงโพสต์โฆษณาที่มีเนื้อหาคล้ายจะล้อเลียนแกนนำการชุมนุมที่ถูกจับกุมตัวในเวลาไล่เลี่ยกัน[[#_ftn12|[12]]]&nbsp;ทั้งนี้ ยังมีกระแสการรณรงค์ยกเลิกหรือไม่เช่าป้ายโฆษณาในสถานีรถไฟฟ้า BTS และ MRT เนื่องในโอกาสวันเกิดของศิลปิน โดยกลุ่มแฟนคลับศิลปินไทย เกาหลี และจีน (แฟนคลับ&nbsp;หรือ '''“ติ่ง”''') เพื่อเป็นการโต้ตอบมาตรการการปิดให้บริการรถไฟฟ้าและสถานีในช่วงที่มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาล[[#_ftn13|[13]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กระแสการรณรงค์ไม่สนับสนุนสินค้าและธุรกิจโดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ยังได้ปรากฏเป็นรูปธรรมผ่านบัญชีทวิตเตอร์ '''“No Salim Shopping List”''' ที่ทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อสินค้าหรือธุรกิจที่เป็นและไม่เป็น '''“สลิ่ม”''' โดยมีการตรวจสอบข้อมูลและนำเสนอว่าสินค้าหรือธุรกิจนั้น ๆ มีจุดยืนทางการเมืองหรือมีความสัมพันธ์กับรัฐบาลหรือไม่ ขณะเดียวกันก็เสนอทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคฝ่ายต่อต้านรัฐบาลด้วยการทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่มีจุดยืนสนับสนุนการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลหรือมีแนวคิดทางการเมืองที่สอดคล้องกัน[[#_ftn14|[14]]]ตลอดจนการรวบรวมรายชื่อศิลปินหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงที่มีจุดยืนสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อนำมาเผยแพร่และเชิญชวนให้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลหันมาสนับสนุนผลงานของศิลปินเหล่านี้
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กระแสการรณรงค์ไม่สนับสนุนสินค้าและธุรกิจโดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ยังได้ปรากฏเป็นรูปธรรมผ่านบัญชีทวิตเตอร์ '''“No Salim Shopping List”''' ที่ทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อสินค้าหรือธุรกิจที่เป็นและไม่เป็น '''“สลิ่ม”''' โดยมีการตรวจสอบข้อมูลและนำเสนอว่าสินค้าหรือธุรกิจนั้น ๆ มีจุดยืนทางการเมืองหรือมีความสัมพันธ์กับรัฐบาลหรือไม่ ขณะเดียวกันก็เสนอทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคฝ่ายต่อต้านรัฐบาลด้วยการทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่มีจุดยืนสนับสนุนการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลหรือมีแนวคิดทางการเมืองที่สอดคล้องกัน[[#_ftn14|[14]]]&nbsp;ตลอดจนการรวบรวมรายชื่อศิลปินหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงที่มีจุดยืนสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อนำมาเผยแพร่และเชิญชวนให้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลหันมาสนับสนุนผลงานของศิลปินเหล่านี้


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กระแสการคว่ำบาตรออนไลน์ทางการเมืองส่งผลเห็นได้ชัดเจน เช่น การรณรงค์ไม่เช่าป้ายในสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งทำให้การเช่าป้ายในสถานีรถไฟฟ้าในวันเกิดศิลปินลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเปลี่ยนไปเช่าพื้นที่ร้านค้าแผงลอยหรือติดป้ายบนรถรับจ้างแทน มีการถอนโฆษณาออกจากช่องเนชั่นทีวีโดยสินค้าและธุรกิจจำนวนหนึ่ง ซึ่งรวมถึงการกดดันให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารและทีมผู้สื่อข่าวให้มีท่าทีเป็นกลาง<br/> มากขึ้น[[#_ftn15|[15]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กระแสการคว่ำบาตรออนไลน์ทางการเมืองส่งผลเห็นได้ชัดเจน เช่น การรณรงค์ไม่เช่าป้ายในสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งทำให้การเช่าป้ายในสถานีรถไฟฟ้าในวันเกิดศิลปินลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเปลี่ยนไปเช่าพื้นที่ร้านค้าแผงลอยหรือติดป้ายบนรถรับจ้างแทน มีการถอนโฆษณาออกจากช่องเนชั่นทีวีโดยสินค้าและธุรกิจจำนวนหนึ่ง ซึ่งรวมถึงการกดดันให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารและทีมผู้สื่อข่าวให้มีท่าทีเป็นกลางมากขึ้น[[#_ftn15|[15]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; หรือกรณีของแพลตฟอร์มส่งอาหารเจ้าหนึ่ง ซึ่งถูกแบนทั้งจากฝ่ายต่อต้านและสนับสนุนรัฐบาลจากการแสดงท่าทีสนับสนุนรัฐให้ดำเนินคดีกับแรงงานส่งอาหารของบริษัทที่เข้าร่วมการชุมนุม ทำให้เกิดความไม่พอใจจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาล[[#_ftn16|[16]]]ในขณะที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลที่ไม่พอใจต่อการเปลี่ยนท่าทีในภายหลังของบริษัทส่งอาหารก็แสดงท่าทีต่อต้านเช่นเดียวกัน[[#_ftn17|[17]]]ซึ่งทำให้ผลชองกระแสต่อต้านบริษัทดังกล่าวเกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; หรือกรณีของแพลตฟอร์มส่งอาหารเจ้าหนึ่ง ซึ่งถูกแบนทั้งจากฝ่ายต่อต้านและสนับสนุนรัฐบาลจากการแสดงท่าทีสนับสนุนรัฐให้ดำเนินคดีกับแรงงานส่งอาหารของบริษัทที่เข้าร่วมการชุมนุม ทำให้เกิดความไม่พอใจจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาล[[#_ftn16|[16]]]&nbsp;ในขณะที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลที่ไม่พอใจต่อการเปลี่ยนท่าทีในภายหลังของบริษัทส่งอาหารก็แสดงท่าทีต่อต้านเช่นเดียวกัน[[#_ftn17|[17]]]&nbsp;ซึ่งทำให้ผลชองกระแสต่อต้านบริษัทดังกล่าวเกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ จากสภาพความขัดแย้งที่นำไปสู่แบ่งขั้วและแสดงจุดยืนทางการเมืองชัดเจน ก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ที่มาจากฝ่ายอนุรักษนิยม-ชาตินิยมที่สนับสนุนรัฐบาล ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลต่างมองว่ากระแสการแบนบุคคลหรือองค์กรของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเป็นเรื่องตลกขำขันมากกว่าจะสร้างผลกระทบอย่างแท้จริง&nbsp;การเคลื่อนไหวรณรงค์คว่ำบาตรโดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจึงไม่ประสบผลสำเร็จและเป็นการกระทำที่ไม่มีเหตุผล
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ จากสภาพความขัดแย้งที่นำไปสู่แบ่งขั้วและแสดงจุดยืนทางการเมืองชัดเจน ก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ที่มาจากฝ่ายอนุรักษนิยม-ชาตินิยมที่สนับสนุนรัฐบาล ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลต่างมองว่ากระแสการแบนบุคคลหรือองค์กรของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเป็นเรื่องตลกขำขันมากกว่าจะสร้างผลกระทบอย่างแท้จริง&nbsp;การเคลื่อนไหวรณรงค์คว่ำบาตรโดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจึงไม่ประสบผลสำเร็จและเป็นการกระทำที่ไม่มีเหตุผล


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลของการเคลื่อนไหวในลักษณะตรงกันข้ามกับกระแสคว่ำบาตร เช่น การที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งหนึ่งได้เข้าซื้อโฆษณาในช่องเนชั่นทีวีภายหลังกระแสการกดดันให้มีการถอนโฆษณาจากช่อง[[#_ftn18|[18]]]มีการเผยแพร่ข่าวหรือการแสดงออกถึงการสนับสนุนธุรกิจที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลรณรงค์ไม่สนับสนุน&nbsp;เช่น ร้านอาหารที่มีร้านในเครือบริษัททั่วประเทศ[[#_ftn19|[19]]]จากที่มีกระแสรณรงค์ไม่อุดหนุนเนื่องจากปรากฏรายชื่อเป็นผู้ซื้อโฆษณาช่อง Top News ซึ่งเป็นสื่อฝ่ายอนุรักษนิยม[[#_ftn20|[20]]]กระแสการอุดหนุนธุรกิจขนมของนักแสดงที่แสดงความเห็นวิจารณ์ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล[[#_ftn21|[21]]]กระแสสนับสนุนน้ำพริกที่มีประเด็นขัดแย้งกับ ลักขณา ปันวิชัย หรือ “คำ ผกา” พิธีกร-สื่อมวลชนที่มีจุดยืนต่อต้านรัฐบาล[[#_ftn22|[22]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลของการเคลื่อนไหวในลักษณะตรงกันข้ามกับกระแสคว่ำบาตร เช่น การที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งหนึ่งได้เข้าซื้อโฆษณาในช่องเนชั่นทีวีภายหลังกระแสการกดดันให้มีการถอนโฆษณาจากช่อง[[#_ftn18|[18]]]&nbsp;มีการเผยแพร่ข่าวหรือการแสดงออกถึงการสนับสนุนธุรกิจที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลรณรงค์ไม่สนับสนุน&nbsp;เช่น ร้านอาหารที่มีร้านในเครือบริษัททั่วประเทศ[[#_ftn19|[19]]]&nbsp;จากที่มีกระแสรณรงค์ไม่อุดหนุนเนื่องจากปรากฏรายชื่อเป็นผู้ซื้อโฆษณาช่อง Top News ซึ่งเป็นสื่อฝ่ายอนุรักษนิยม[[#_ftn20|[20]]]&nbsp;กระแสการอุดหนุนธุรกิจขนมของนักแสดงที่แสดงความเห็นวิจารณ์ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล[[#_ftn21|[21]]]&nbsp;กระแสสนับสนุนน้ำพริกที่มีประเด็นขัดแย้งกับ ลักขณา ปันวิชัย หรือ '''“คำ ผกา”''' พิธีกร-สื่อมวลชนที่มีจุดยืนต่อต้านรัฐบาล[[#_ftn22|[22]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แม้ในกรณีของของนักแสดงตลกและร้านที่เป็นเครือขนาดใหญ่จะไม่มีการรณรงค์คว่ำบาตรในวงกว้างจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลหรือกระแสการให้กำลังใจ-สนับสนุน หรือปกป้องลูกสาวของศิลปินที่มีบทบาทในขบวนการ กปปส. ที่กำลังจะมีผลงานกับต้นสังกัดในประเทศเกาหลีใต้ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักและมีการรณรงค์ไม่สนับสนุนโดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจากสถานะความเป็นลูกสาวของดาราชื่อดังที่ร่วมในการชุมนุมกลุ่ม กปปส. ในช่วง ปี 2556-2557[[#_ftn23|[23]]]นอกจากนั้นก็ยังมีกระแสต่อต้านสินค้าหรือธุรกิจที่ยอมโอนอ่อนต่อกระแสต่อต้านรัฐบาลด้วยเช่นกัน[[#_ftn24|[24]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แม้ในกรณีของของนักแสดงตลกและร้านที่เป็นเครือขนาดใหญ่จะไม่มีการรณรงค์คว่ำบาตรในวงกว้างจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลหรือกระแสการให้กำลังใจ-สนับสนุน หรือปกป้องลูกสาวของศิลปินที่มีบทบาทในขบวนการ กปปส. ที่กำลังจะมีผลงานกับต้นสังกัดในประเทศเกาหลีใต้ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักและมีการรณรงค์ไม่สนับสนุนโดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจากสถานะความเป็นลูกสาวของดาราชื่อดังที่ร่วมในการชุมนุมกลุ่ม กปปส. ในช่วง ปี 2556-2557[[#_ftn23|[23]]]&nbsp;นอกจากนั้นก็ยังมีกระแสต่อต้านสินค้าหรือธุรกิจที่ยอมโอนอ่อนต่อกระแสต่อต้านรัฐบาลด้วยเช่นกัน[[#_ftn24|[24]]]


&nbsp;
&nbsp;


<span style="font-size:x-large;">'''ข้อถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อกระแส ''''''Cancel Culture'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''ข้อถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อกระแส Cancel Culture'''</span>


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กระแส Cancel Culture หรือการรณรงค์คว่ำบาตรไม่สนับสนุนบุคคลหรือองค์กรนำมาสู่ข้อถกเถียงถึงความเหมาะสมถูกต้องในหลายด้าน เช่น ถูกมองว่าเป็นการบังคับให้บุคคลต้องแสดงจุดยืนทางการเมืองและไม่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย[[#_ftn25|[25]]]หรือมีข้อโต้แย้งจากศิลปินหรือดาราว่าพวกเขาไม่อาจจะออกมาแสดงจุดยืนทางการเมืองได้เพราะขัดต่อสัญญาการทำงานและต้นสังกัดที่ห้ามการแสดงออกซึ่งจุดยืนและความเห็นทางการเมือง[[#_ftn26|[26]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กระแส Cancel Culture หรือการรณรงค์คว่ำบาตรไม่สนับสนุนบุคคลหรือองค์กรนำมาสู่ข้อถกเถียงถึงความเหมาะสมถูกต้องในหลายด้าน เช่น ถูกมองว่าเป็นการบังคับให้บุคคลต้องแสดงจุดยืนทางการเมืองและไม่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย[[#_ftn25|[25]]]&nbsp;หรือมีข้อโต้แย้งจากศิลปินหรือดาราว่าพวกเขาไม่อาจจะออกมาแสดงจุดยืนทางการเมืองได้เพราะขัดต่อสัญญาการทำงานและต้นสังกัดที่ห้ามการแสดงออกซึ่งจุดยืนและความเห็นทางการเมือง[[#_ftn26|[26]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กระแส cancel culture ยังสร้างข้อถกเถียงโต้แย้งระหว่างแฟนคลับผู้ติดตามศิลปินกับผู้ที่ต้องการให้แสดงจุดยืนทางการเมืองว่าเป็นการมุ่งจับผิดและมุ่งหาความสมบูรณ์แบบมากเกินไปจากผู้คนที่ย่อมมีความผิดพลาดกันได้ หรือเป็นการทำลายชีวิตการทำงานของผู้คนที่มีความสามารถแต่มีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องเล็กน้อยในประเด็นเรื่องความคิดเห็นทางสังคมการเมือง[[#_ftn27|[27]]]นอกจากนี้ยังมีลักษณะเป็นการจ้องจับผิด เข้าข่ายละเมิดสิทธิผู้อื่น จำกัดทางเลือกในการแสดงความคิดเห็น[[#_ftn28|[28]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กระแส cancel culture ยังสร้างข้อถกเถียงโต้แย้งระหว่างแฟนคลับผู้ติดตามศิลปินกับผู้ที่ต้องการให้แสดงจุดยืนทางการเมืองว่าเป็นการมุ่งจับผิดและมุ่งหาความสมบูรณ์แบบมากเกินไปจากผู้คนที่ย่อมมีความผิดพลาดกันได้ หรือเป็นการทำลายชีวิตการทำงานของผู้คนที่มีความสามารถแต่มีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องเล็กน้อยในประเด็นเรื่องความคิดเห็นทางสังคมการเมือง[[#_ftn27|[27]]]&nbsp;นอกจากนี้ยังมีลักษณะเป็นการจ้องจับผิด เข้าข่ายละเมิดสิทธิผู้อื่น จำกัดทางเลือกในการแสดงความคิดเห็น[[#_ftn28|[28]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีความเห็นในเชิงสนับสนุนว่าวัฒนธรรมการคว่ำบาตรเปิดโอกาสให้คนที่ไม่มีอำนาจหรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้มีโอกาสในการแสดงความเห็นหรือจุดยืนของตนร่วมกับผู้อื่น และโต้แย้งว่าคนที่มองเห็นว่าการแบนเป็นการคุกคามหรือรุนแรงนั้นละเลยต่อบริบททางการเมือง อำนาจ วัฒนธรรม ของผู้ที่แสดงท่าทีคว่ำบาตรต่อเป้าหมาย รวมไปถึงมองว่าการคว่ำบาตรนี้ไม่ใช่เรื่องตัวบุคคลหรือองค์กรเป้าหมายเป็นการเฉพาะ หากแต่มีสาเหตุมาจากแนวคิดหรือการกระทำที่ไม่เป็นประชาธิปไตยที่ทำให้พวกเขาถูกคว่ำบาตร[[#_ftn29|[29]]]กลุ่มเคลื่อนไหวคว่ำบาตรในไทยตลอดจนฝ่ายสนับสนุนแนวคิดและคุณค่าแบบประชาธิปไตยสิทธิมนุษยชนได้อ้างว่า ฝ่ายพวกตนต่างหากที่ตกเป็นผู้ถูกคุกคามโจมตีมาก่อนแล้วตั้งแต่ช่วงเวลาที่สังคมไทยยังไม่ตื่นตัวทางการเมือง[[#_ftn30|[30]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีความเห็นในเชิงสนับสนุนว่าวัฒนธรรมการคว่ำบาตรเปิดโอกาสให้คนที่ไม่มีอำนาจหรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้มีโอกาสในการแสดงความเห็นหรือจุดยืนของตนร่วมกับผู้อื่น และโต้แย้งว่าคนที่มองเห็นว่าการแบนเป็นการคุกคามหรือรุนแรงนั้นละเลยต่อบริบททางการเมือง อำนาจ วัฒนธรรม ของผู้ที่แสดงท่าทีคว่ำบาตรต่อเป้าหมาย รวมไปถึงมองว่าการคว่ำบาตรนี้ไม่ใช่เรื่องตัวบุคคลหรือองค์กรเป้าหมายเป็นการเฉพาะ หากแต่มีสาเหตุมาจากแนวคิดหรือการกระทำที่ไม่เป็นประชาธิปไตยที่ทำให้พวกเขาถูกคว่ำบาตร[[#_ftn29|[29]]]&nbsp;กลุ่มเคลื่อนไหวคว่ำบาตรในไทยตลอดจนฝ่ายสนับสนุนแนวคิดและคุณค่าแบบประชาธิปไตยสิทธิมนุษยชนได้อ้างว่า ฝ่ายพวกตนต่างหากที่ตกเป็นผู้ถูกคุกคามโจมตีมาก่อนแล้วตั้งแต่ช่วงเวลาที่สังคมไทยยังไม่ตื่นตัวทางการเมือง[[#_ftn30|[30]]]
<div>
<div>
&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 92: บรรทัดที่ 92:
[[#_ftnref14|[14]]] รัตนาพร เขม้นกิจ, “คุยกับ 3 แอดมินขนมหวาน เจ้าของแอคฯ ‘No Salim Shopping List’ ผู้สนับสนุนสินค้าประชาธิปไตย,” ''ประชาไท'', (7 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://prachatai.com/journal/2021/05/92913 https://prachatai.com/journal/2021/05/92913]. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565.
[[#_ftnref14|[14]]] รัตนาพร เขม้นกิจ, “คุยกับ 3 แอดมินขนมหวาน เจ้าของแอคฯ ‘No Salim Shopping List’ ผู้สนับสนุนสินค้าประชาธิปไตย,” ''ประชาไท'', (7 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://prachatai.com/journal/2021/05/92913 https://prachatai.com/journal/2021/05/92913]. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565.
</div> <div id="ftn15">
</div> <div id="ftn15">
[[#_ftnref15|[15]]] https://thematter.co/quick-bite/cancel-culture-2020/131472
[[#_ftnref15|[15]]] [https://thematter.co/quick-bite/cancel-culture-2020/131472 https://thematter.co/quick-bite/cancel-culture-2020/131472]
</div> <div id="ftn16">
</div> <div id="ftn16">
[[#_ftnref16|[16]]] “สรุปปม #แบนfoodpanda แห่ลบแอพพ์-ยกเลิกขาย โพสต์ให้ออกพนง. อ้างต่อต้านก่อการร้าย,” ''มติชนออนไลน์'', (19 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://www.matichon.co.th/economy/news_2836933 https://www.matichon.co.th/economy/news_2836933]. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
[[#_ftnref16|[16]]] “สรุปปม #แบนfoodpanda แห่ลบแอพพ์-ยกเลิกขาย โพสต์ให้ออกพนง. อ้างต่อต้านก่อการร้าย,” ''มติชนออนไลน์'', (19 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://www.matichon.co.th/economy/news_2836933 https://www.matichon.co.th/economy/news_2836933]. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.
บรรทัดที่ 126: บรรทัดที่ 126:
&nbsp;
&nbsp;
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]][[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]]
[[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:07, 22 กรกฎาคม 2565

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และ นน ศุภสาร

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ

 

          ในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลประยุทธ์_จันทร์โอชา นั้น สื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย ได้มีบทบาทในการเป็นพื้นที่แสดงความเห็นหรือจุดยืนทางการเมืองของทั้งฝ่ายสนับสนุนและต่อต้านรัฐบาลในหลายรูปแบบ ตั้งแต่ใช้ส่งต่อสื่อสารความเห็น ระดมคนไปชุมนุม จนถึงเรียกร้องให้เกิดการกระทำรวมหมู่ (collective action) อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น

          หนึ่งในวิธีการเคลื่อนไหวดังกล่าว คือ กระแสการเคลื่อนไหวหรือรณรงค์เรียกร้องให้ “คว่ำบาตร” หรือถอนการสนับสนุนหรือเรียกร้องให้ไม่สนับสนุนบุคคลหรือองค์กรที่มีทัศนคติหรือมีการแสดงออกทางจุดยืนไปในทางสนับสนุนรัฐบาล ลักษณะการเคลื่อนไหวเช่นนี้เป็นรูปแบบเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสังคมอื่นที่มีการแสดงออกผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียที่แสดงการถอนการสนับสนุน หรือไม่สนับสนุนบุคคลที่มีทัศนคติหรือการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นที่ยอมรับต่อสังคมวงกว้าง โดยการกระทำในลักษณะนี้ถูกเรียกว่า “Cancel Culture” ซึ่งก็ได้ปรากฏในกระแสการเคลื่อนไหวทางการเมืองไทยดังที่กล่าวไปก่อนหน้า

 

ความหมายของ Cancel Culture

          Cancel Culture หรือที่มีการแปลเป็นภาษาไทยว่า “วัฒนธรรมคว่ำบาตร” “วัฒนธรรมคว่ำบาตรออนไลน์[1] หรือ “วัฒนกรรมการแบน” เป็นกระแสการแสดงออกหรือรณรงค์การไม่สนับสนุนหรือ “คว่ำบาตร” หรือ “แบน” โดยบุคคลธรรมดาทั่วไปต่อบุคคลผู้มีชื่อเสียง เช่น ศิลปิน นักการเมือง องค์กร ที่มีการกระทำหรือแสดงทัศนคติในทางที่ไม่ถูกต้องโดยการเลิกสนับสนุน เลิกอุดหนุนหรือบริโภคผลงานหรือสินค้าหรือเลิกการติดตามในช่องทางโซเชียลมีเดียต่อบุคคลหรือองค์กรนั้น ๆ โดยที่สื่อโซเชียลมีเดียมีส่วนสนับสนุนกระแสการคว่ำบาตรนี้ ทำให้บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถแสดงออกถึงการคว่ำบาตรหรือไม่สนับสนุนผู้มีชื่อเสียงหรือองค์กรขนาดใหญ่ หรือสามารถประกาศถึงจุดยืนและสิทธิในการเลือกสนับสนุนของตนได้ง่ายขึ้น[2]

          จุดเริ่มต้นของกระแสการแสดงออกถึงการไม่สนับสนุนนี้เริ่มจากในสหรัฐอเมริกาประมาณช่วง ปี 2558 และเกิดการใช้คำว่า Cancel Culture ในปี 2561[3]

          ตัวอย่างการกระทำที่ก่อให้เกิดกระแสการคว่ำบาตร เช่น การแสดงท่าทีเหยียดเพศ ชาติพันธุ์ หรือมีประวัติการทำผิด เช่น ล่วงละเมิดทางเพศ[4] ไปจนถึงการแสดงจุดยืนทางการเมือง[5]

 

กระแสการแบนหรือคว่ำบาตรในการเมืองไทย

          ความขัดแย้งทางการเมืองที่แบ่งขั้วระหว่างฝ่ายต่อต้านรัฐบาลประยุทธ์กับฝ่ายสนับสนุนสถาบันกษัตริย์และรัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในหลายรูปแบบทำให้เกิดการแสวงหาวิธีการต่อต้านรัฐบาล ซึ่งกระแสการคว่ำบาตรออนไลน์ หรือ Cancel Culture ในไทยได้ปรากฏออกมาและมีการเคลื่อนไหวรณรงค์จากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลโดยพุ่งเป้าหมายไปที่สองกลุ่ม กลุ่มแรก คือ ตัวบุคคลาที่มีชื่อเสียง เช่น นักร้อง นักแสดง หรืออินฟลูเอนเซอร์ต่าง ๆ กลุ่มที่สอง คือ ภาคธุรกิจเอกชนที่เป็นบรรษัทขนาดใหญ่และบริษัทในเครือ

          กลุ่มเป้าหมายกลุ่มแรก ได้แก่ บุคคลมีชื่อเสียง เช่น ดาราศิลปิน ผู้มีชื่อเสียง ธุรกิจ หรือสื่อ ที่มีท่าทีสนับสนุนรัฐบาล หรือทำการวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล รวมไปถึงเพิกเฉยทางการเมืองโดยการไม่แสดงจุดยืนที่ชัดเจนหรือแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล

          การแบนหรือคว่ำบาตรบุคคลได้ถูกแสดงออกผ่านกระแส “แบนดาราสลิ่ม” โดยเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ต่อศิลปิน ดารา นักแสดงที่แสดงความคิดเห็นวิจารณ์การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล รวมถึงผู้ที่แสดงความเห็นด้วยถ้อยคำทั่วไปจนถึงระดับที่แสดงความหยาบคาย

          ในแง่ตัวบุคคล แบบแผนของการแบนหรือคว่ำบาตรที่เห็นได้ชัดคือการสืบค้นประวัติของบุคคลผู้นั้น ว่าได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่ม กปปส. ระหว่าง ปี 2556-2557 หรือไม่[6] ในขณะที่กระแสการ “แบนดาราปรสิต” เป็นกระแสการคว่ำบาตรบุคคลมีชื่อเสียงที่เพิกเฉยหรือไม่แสดงจุดยืนทางการเมืองวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ภายหลังการสลายการชุมนุมการชุมนุมที่แยกปทุมวัน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563[7]

          ทั้งนี้ ยังมีกระแสการคว่ำบาตรศิลปินสัญชาติไทยในเกาหลีใต้ผ่านกระแส “แบนแทกุกไลน์” จากการไม่แสดงจุดยืนหรือ “คอลเอาท์” (Call Out) ต่อประเด็นปัญหาในประเทศไทย[8] ซึ่งหนึ่งในการแสดงออกถึงการไม่สนับสนุนคือการยกเลิกการติดตาม (unsubscribe หรือ unfollow) บัญชีของสื่อโซเชียลมีเดียของศิลปินหรือดาราคนนั้น ๆ ส่งผลให้ยอดผู้ติดตามลดลง ซึ่งนอกจากจะกระทบต่อความนิยมชื่นชอบของแฟนคลับแล้วยังส่งผลต่อการที่ผู้สนับสนุนจากภาคธุรกิจจะจ้างดารานักแสดงผู้นั้นในการแสดงละคร โฆษณา เป็นตัวแทนของสินค้าของตนที่มีมูลค่าทางการตลาดอย่างมีนัยสำคัญ

          กลุ่มเป้าหมายที่สอง การรณรงค์คว่ำบาตรต่อองค์กรธุรกิจหรือเครือข่ายบริษัทเอกชนนั้นกระทำในระดับของบริษัทที่มีจุดยืนตรงข้ามกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เช่น กระแสการ “แบนเนชั่น” และ “แบนสปอนเซอร์เนชั่น” เนื่องจากสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งออนไลน์และสิ่งพิมพ์ ตลอดจนเนชั่นทีวีถูกฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมองว่าทำรายงานข่าวสนับสนุนรัฐบาล ไม่เป็นธรรมต่อผู้ชุมนุมรวมถึงผิดจริยธรรมสื่อมวลชน ซึ่งได้มีการเรียกร้องให้สินค้าหรือธุรกิจต่าง ๆ ถอนโฆษณาออกจากช่องเนชั่นทีวี[9]

          ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลยังมีการรณรงค์ไม่อุดหนุนสินค้าจากร้านสะดวกซื้อรายใหญ่รายหนึ่งและสินค้าในเครือ ภายหลังจากการอภิปรายเปิดเผยเรื่องมูลนิธิป่ารอยต่อซึ่งระบุว่าบริษัทดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องอีกทั้งเครือบริษัทนั้นก็ถูกมองว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลและผูกขาดทางการค้า โดยมีการเคลื่อนไหวรณรงค์ไม่เข้าร้านสะดวกซื้อหนึ่งวันในหนึ่งสัปดาห์หรือรณรงค์ไม่อุดหนุนโดยสิ้นเชิง[10] กระแสการต่อต้านยังรวมไปถึงการแบนศิลปินที่เป็นพรีเซนเตอร์ให้กับร่านสะดวกซื้อนั้นด้วย[11] หรือกระแสแบนสินค้าฟาสต์ฟู้ดยี่ห้อหนึ่งภายหลังจากการที่แฟนเพจของร้านได้ลงโพสต์โฆษณาที่มีเนื้อหาคล้ายจะล้อเลียนแกนนำการชุมนุมที่ถูกจับกุมตัวในเวลาไล่เลี่ยกัน[12] ทั้งนี้ ยังมีกระแสการรณรงค์ยกเลิกหรือไม่เช่าป้ายโฆษณาในสถานีรถไฟฟ้า BTS และ MRT เนื่องในโอกาสวันเกิดของศิลปิน โดยกลุ่มแฟนคลับศิลปินไทย เกาหลี และจีน (แฟนคลับ หรือ “ติ่ง”) เพื่อเป็นการโต้ตอบมาตรการการปิดให้บริการรถไฟฟ้าและสถานีในช่วงที่มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาล[13]

          กระแสการรณรงค์ไม่สนับสนุนสินค้าและธุรกิจโดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ยังได้ปรากฏเป็นรูปธรรมผ่านบัญชีทวิตเตอร์ “No Salim Shopping List” ที่ทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อสินค้าหรือธุรกิจที่เป็นและไม่เป็น “สลิ่ม” โดยมีการตรวจสอบข้อมูลและนำเสนอว่าสินค้าหรือธุรกิจนั้น ๆ มีจุดยืนทางการเมืองหรือมีความสัมพันธ์กับรัฐบาลหรือไม่ ขณะเดียวกันก็เสนอทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคฝ่ายต่อต้านรัฐบาลด้วยการทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่มีจุดยืนสนับสนุนการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลหรือมีแนวคิดทางการเมืองที่สอดคล้องกัน[14] ตลอดจนการรวบรวมรายชื่อศิลปินหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงที่มีจุดยืนสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อนำมาเผยแพร่และเชิญชวนให้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลหันมาสนับสนุนผลงานของศิลปินเหล่านี้

          กระแสการคว่ำบาตรออนไลน์ทางการเมืองส่งผลเห็นได้ชัดเจน เช่น การรณรงค์ไม่เช่าป้ายในสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งทำให้การเช่าป้ายในสถานีรถไฟฟ้าในวันเกิดศิลปินลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเปลี่ยนไปเช่าพื้นที่ร้านค้าแผงลอยหรือติดป้ายบนรถรับจ้างแทน มีการถอนโฆษณาออกจากช่องเนชั่นทีวีโดยสินค้าและธุรกิจจำนวนหนึ่ง ซึ่งรวมถึงการกดดันให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารและทีมผู้สื่อข่าวให้มีท่าทีเป็นกลางมากขึ้น[15]

          หรือกรณีของแพลตฟอร์มส่งอาหารเจ้าหนึ่ง ซึ่งถูกแบนทั้งจากฝ่ายต่อต้านและสนับสนุนรัฐบาลจากการแสดงท่าทีสนับสนุนรัฐให้ดำเนินคดีกับแรงงานส่งอาหารของบริษัทที่เข้าร่วมการชุมนุม ทำให้เกิดความไม่พอใจจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาล[16] ในขณะที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลที่ไม่พอใจต่อการเปลี่ยนท่าทีในภายหลังของบริษัทส่งอาหารก็แสดงท่าทีต่อต้านเช่นเดียวกัน[17] ซึ่งทำให้ผลชองกระแสต่อต้านบริษัทดังกล่าวเกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง

          ทั้งนี้ จากสภาพความขัดแย้งที่นำไปสู่แบ่งขั้วและแสดงจุดยืนทางการเมืองชัดเจน ก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ที่มาจากฝ่ายอนุรักษนิยม-ชาตินิยมที่สนับสนุนรัฐบาล ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลต่างมองว่ากระแสการแบนบุคคลหรือองค์กรของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเป็นเรื่องตลกขำขันมากกว่าจะสร้างผลกระทบอย่างแท้จริง การเคลื่อนไหวรณรงค์คว่ำบาตรโดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจึงไม่ประสบผลสำเร็จและเป็นการกระทำที่ไม่มีเหตุผล

          ผลของการเคลื่อนไหวในลักษณะตรงกันข้ามกับกระแสคว่ำบาตร เช่น การที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งหนึ่งได้เข้าซื้อโฆษณาในช่องเนชั่นทีวีภายหลังกระแสการกดดันให้มีการถอนโฆษณาจากช่อง[18] มีการเผยแพร่ข่าวหรือการแสดงออกถึงการสนับสนุนธุรกิจที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลรณรงค์ไม่สนับสนุน เช่น ร้านอาหารที่มีร้านในเครือบริษัททั่วประเทศ[19] จากที่มีกระแสรณรงค์ไม่อุดหนุนเนื่องจากปรากฏรายชื่อเป็นผู้ซื้อโฆษณาช่อง Top News ซึ่งเป็นสื่อฝ่ายอนุรักษนิยม[20] กระแสการอุดหนุนธุรกิจขนมของนักแสดงที่แสดงความเห็นวิจารณ์ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล[21] กระแสสนับสนุนน้ำพริกที่มีประเด็นขัดแย้งกับ ลักขณา ปันวิชัย หรือ “คำ ผกา” พิธีกร-สื่อมวลชนที่มีจุดยืนต่อต้านรัฐบาล[22]

          แม้ในกรณีของของนักแสดงตลกและร้านที่เป็นเครือขนาดใหญ่จะไม่มีการรณรงค์คว่ำบาตรในวงกว้างจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลหรือกระแสการให้กำลังใจ-สนับสนุน หรือปกป้องลูกสาวของศิลปินที่มีบทบาทในขบวนการ กปปส. ที่กำลังจะมีผลงานกับต้นสังกัดในประเทศเกาหลีใต้ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักและมีการรณรงค์ไม่สนับสนุนโดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจากสถานะความเป็นลูกสาวของดาราชื่อดังที่ร่วมในการชุมนุมกลุ่ม กปปส. ในช่วง ปี 2556-2557[23] นอกจากนั้นก็ยังมีกระแสต่อต้านสินค้าหรือธุรกิจที่ยอมโอนอ่อนต่อกระแสต่อต้านรัฐบาลด้วยเช่นกัน[24]

 

ข้อถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อกระแส Cancel Culture

          กระแส Cancel Culture หรือการรณรงค์คว่ำบาตรไม่สนับสนุนบุคคลหรือองค์กรนำมาสู่ข้อถกเถียงถึงความเหมาะสมถูกต้องในหลายด้าน เช่น ถูกมองว่าเป็นการบังคับให้บุคคลต้องแสดงจุดยืนทางการเมืองและไม่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย[25] หรือมีข้อโต้แย้งจากศิลปินหรือดาราว่าพวกเขาไม่อาจจะออกมาแสดงจุดยืนทางการเมืองได้เพราะขัดต่อสัญญาการทำงานและต้นสังกัดที่ห้ามการแสดงออกซึ่งจุดยืนและความเห็นทางการเมือง[26]

          กระแส cancel culture ยังสร้างข้อถกเถียงโต้แย้งระหว่างแฟนคลับผู้ติดตามศิลปินกับผู้ที่ต้องการให้แสดงจุดยืนทางการเมืองว่าเป็นการมุ่งจับผิดและมุ่งหาความสมบูรณ์แบบมากเกินไปจากผู้คนที่ย่อมมีความผิดพลาดกันได้ หรือเป็นการทำลายชีวิตการทำงานของผู้คนที่มีความสามารถแต่มีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องเล็กน้อยในประเด็นเรื่องความคิดเห็นทางสังคมการเมือง[27] นอกจากนี้ยังมีลักษณะเป็นการจ้องจับผิด เข้าข่ายละเมิดสิทธิผู้อื่น จำกัดทางเลือกในการแสดงความคิดเห็น[28]

          ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีความเห็นในเชิงสนับสนุนว่าวัฒนธรรมการคว่ำบาตรเปิดโอกาสให้คนที่ไม่มีอำนาจหรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้มีโอกาสในการแสดงความเห็นหรือจุดยืนของตนร่วมกับผู้อื่น และโต้แย้งว่าคนที่มองเห็นว่าการแบนเป็นการคุกคามหรือรุนแรงนั้นละเลยต่อบริบททางการเมือง อำนาจ วัฒนธรรม ของผู้ที่แสดงท่าทีคว่ำบาตรต่อเป้าหมาย รวมไปถึงมองว่าการคว่ำบาตรนี้ไม่ใช่เรื่องตัวบุคคลหรือองค์กรเป้าหมายเป็นการเฉพาะ หากแต่มีสาเหตุมาจากแนวคิดหรือการกระทำที่ไม่เป็นประชาธิปไตยที่ทำให้พวกเขาถูกคว่ำบาตร[29] กลุ่มเคลื่อนไหวคว่ำบาตรในไทยตลอดจนฝ่ายสนับสนุนแนวคิดและคุณค่าแบบประชาธิปไตยสิทธิมนุษยชนได้อ้างว่า ฝ่ายพวกตนต่างหากที่ตกเป็นผู้ถูกคุกคามโจมตีมาก่อนแล้วตั้งแต่ช่วงเวลาที่สังคมไทยยังไม่ตื่นตัวทางการเมือง[30]

 

อ้างอิง

[1] “Cancel Culture วัฒนธรรมการคว่ำบาตรที่กำลังแพร่ระบาดในมือเรา,” The Momentum, (23 มิถุนายน 2563). เข้าถึงจาก  https://themomentum.co/what-is-cancel-culture/. เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2565./

[2] อ้างแล้ว.

[3] “‘Cancel Culture’ วิถีแห่งการ ‘แบน’ กำลังเปลี่ยนแปลงธุรกิจอย่างไร,” กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, (16 กันยายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/897727. เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2565.

[4] “Cancel Culture วัฒนธรรมการคว่ำบาตรที่กำลังแพร่ระบาดในมือเรา,” The Momentum.

[5] “พันธมิตรชานม ‘ฮ่องกง-ไต้หวัน-ไทย’ ร่วมแบน ‘มู่หลาน’,” กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, (6 กันยายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/896684. เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2565.

[6] Sutthipath Kanittakul, “รวมแฮชแท็ก cancel culture หรือวัฒนธรรมการคว่ำบาตรสุดเข้มข้นแห่งปี 2020,” The MATTER, (22 ธันวาคม 2563). เข้าถึงจาก https://thematter.co/quick-bite/cancel-culture-2020/131472.; “ชาวเน็ตแห่ติด #แบนดาราสลิ่ม ขุดวีรกรรมร่วมม็อบเป่านกหวีด,” ข่าวสดออนไลน์, (26 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_4785868. เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2565

[7] “ชาวเน็ตแห่ #แบนดาราปรสิต หลังเมินม็อบ,” Nation Online, (17 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.nationtv.tv/news/378801341. เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2565.

[8] Sutthipath Kanittakul, “รวมแฮชแท็ก cancel culture หรือวัฒนธรรมการคว่ำบาตรสุดเข้มข้นแห่งปี 2020,” The MATTER.

[9] อ้างแล้ว.

[10] “ถอดรหัสแฮชแท็ก #เว้นเซเว่นทุกWednesday และ #pausemob,” ประชาไท, (17 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2020/03/86815. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565.

[11] “#แบนเป๊กผลิตโชค ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ หลังโพสต์โครงการข้าวกล่อง,” ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, (13 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.prachachat.net/social-media-viral/news-555225.

[12] “#แบนPotatoCorner ขึ้นเทรนด์อันดับ 1 หลังทัวร์ลงเละ โพสต์ล้อ ‘น้องโตโต้’ โดนจับ,” คมชัดลึกออนไลน์, (7 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.komchadluek.net/news/460352. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565.

[13] “กลุ่มแฟนคลับศิลปินแบน BTS-MRT เลิกเช่าป้ายโฆษณาในสถานีและขบวนรถ,” ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, (21 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.prachachat.net/general/news-541532. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565.

[14] รัตนาพร เขม้นกิจ, “คุยกับ 3 แอดมินขนมหวาน เจ้าของแอคฯ ‘No Salim Shopping List’ ผู้สนับสนุนสินค้าประชาธิปไตย,” ประชาไท, (7 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2021/05/92913. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565.

[16] “สรุปปม #แบนfoodpanda แห่ลบแอพพ์-ยกเลิกขาย โพสต์ให้ออกพนง. อ้างต่อต้านก่อการร้าย,” มติชนออนไลน์, (19 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/economy/news_2836933. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

[17] “‘หมอเหรียญทอง’ ประกาศแบน ‘ฟู้ดแพนด้า’ ห้ามทุกคนใน รพ.มงกุฎวัฒนะ และเครือใช้บริการ,” ผู้จัดการออนไลน์, (19 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000070633. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

[18] “หมอเหรียญทองโพสต์ทัวร์ลงหลังซื้อโฆษณาเนชั่น! เผยมีผู้ใช้บริการรายใหม่มารพ.มงกุฎฯ อย่างต่อเนื่อง,” สถาบันทิศทางไทย, (29 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.thaimoveinstitute.com/33163/?aoa=&fbclid=IwAR2ZP5Tv2eD8fqoJXCtM_F6I-DuG_gDBFA2Nfxs-uhrqJkD_gn8oZQCDbrU. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

[19] Fahwonmai Channel, “หมู่บ้านทะลุจักรวาลบานบุรี ‘ไม่เลือกพวกล้มเจ้า’,” YouTube, (1 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก  https://www.youtube.com/watch?v=6Qt55K942VY. นาทีที่ 0.24-0.40; Aramsak Bootchoo, ใน เครือข่ายสถาบันทิศทางไทย, Facebook, (22 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/groups/545424559527302/posts/919955905407497/.; “ผู้ประกาศ Top News โต้กลับปม #แบนmkและยาโยอิ บอก ระวังไม่มีอะไรจะกิน,” มติชนออนไลน์, (22 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/social/news_2635872. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

[20] “#แบนmkและยาโยอิ ติดเทรนด์อันดับ1 ชาวเน็ต-ส.ส.ก้าวไกล ตอบโต้สปอนเซอร์ Top News,” มติชนออนไลน์, (22 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2635334. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

[21] Aramsak Bootcho, ใน เครือข่ายสถาบันทิศทางไทย, Facebook, (28 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/groups/545424559527302/posts/999553167447770/. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

[22] “คนแห่สนับสนุน ‘น้ำพริกนิตยา’ หลังดราม่าไม่ต้อนรับ ‘สามนิ้ว’,” คมชัดลึกออนไลน์, (22 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.komchadluek.net/hot-social/484867. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

[23] “‘3 นิ้ว’ หยุดไม่อยู่! เปิดตัวซิงเกิลแรก ‘ลูกหนัง ศีตลา’ ยิ่งแบนยอดวิวยิ่งพุ่ง แฉทำผิด ม.112 ‘วิตถาร-พิสดาร’ รอด?,” ผู้จัดการออนไลน์, (6 มกราคม 2565). เข้าถึงจาก https://mgronline.com/politics/detail/9650000001688. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565.

[24] รู้ทันโลกออนไลน์, Facebook, (23 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/102423747955171/photos/a.103013587896187/188290079368537. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565.

[25] Sutthipath Kanittakul, “รวมแฮชแท็ก cancel culture หรือวัฒนธรรมการคว่ำบาตรสุดเข้มข้นแห่งปี 2020,” The MATTER.

[26] อ้างแล้ว.

[27] พรรษาสิริ กุหลาบ, “ไม่ใช่เพราะแค่ไม่ชอบ: การคว่ำบาตรสื่อที่ไปไกลกว่าเหตุผลทาง ‘จริยธรรมวิชาชีพ’,” The 101, (1 กันยายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.the101.world/cancel-culture/. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565.

[28] ธันย์ชนก รื่นถวิล, “‘Cancel Culture’ วัฒนธรรมการเท ฝันร้ายของคนดังและการตั้งคำถามถึงขอบเขตที่เหมาะสม,” a day BULLETIN, (7 ธันวาคม 2564). เข้าถึงจาก https://adaybulletin.com/know-special-report-cancel-culture/60802. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565.

[29] พรรษาสิริ กุหลาบ, “ไม่ใช่เพราะแค่ไม่ชอบ: การคว่ำบาตรสื่อที่ไปไกลกว่าเหตุผลทาง ‘จริยธรรมวิชาชีพ’,” The 101.

[30] อ้างแล้ว.