ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิดบนโลกออนไลน์ (ศชอ.)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 12: บรรทัดที่ 12:
          การเคลื่อนไหวของ ศชอ. นั้น จะมุ่งเน้นไปในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการกระทำบนพื้นที่ออนไลน์เป็นหลัก โดยวิธีการสำคัญของกลุ่มฯ อันหนึ่ง คือการรวบรวมหลักฐานเข้าแจ้งความต่อบุคคลต่าง ๆ ในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยใช้แฟนเพจเฟซบุ๊กในชื่อเดียวกับกลุ่ม เป็นช่องทางหลักในการสื่อสาร
          การเคลื่อนไหวของ ศชอ. นั้น จะมุ่งเน้นไปในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการกระทำบนพื้นที่ออนไลน์เป็นหลัก โดยวิธีการสำคัญของกลุ่มฯ อันหนึ่ง คือการรวบรวมหลักฐานเข้าแจ้งความต่อบุคคลต่าง ๆ ในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยใช้แฟนเพจเฟซบุ๊กในชื่อเดียวกับกลุ่ม เป็นช่องทางหลักในการสื่อสาร


 
= <span style="font-size:x-large;">'''บุคคลสำคัญของ ศชอ.'''</span> =
 
= '''บุคคลสำคัญของ ศชอ.''' =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สมาชิกคนสำคัญและมีบทบาทในการเคลื่อนไหวของ ศชอ. ได้แก่ แน่งน้อย อัศวกิตติกร ประธาน ศชอ. และ นพดล พรหมภาสิต ทำหน้าที่เลขาธิการ ซึ่งทั้งสองเป็นแกนนำที่ร่วมจัดตั้งกลุ่มขึ้น โดยแน่งน้อยเป็นอดีตผู้สมัคร ส.ส. พิษณุโลก พรรครวมพลังประชาชาติไทยรวมถึงเป็นอดีตผู้ประสานงาน [[กปปส.|กปปส.]] พิษณุโลก[[#_ftn2|<sup><sup>[2]</sup></sup>]]ในขณะที่นพดลดำรงตำแหน่งรองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย รวมถึงเป็นสมาชิกพรรครวมพลังประชาชาติไทย[[#_ftn3|<sup><sup>[3]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สมาชิกคนสำคัญและมีบทบาทในการเคลื่อนไหวของ ศชอ. ได้แก่ แน่งน้อย อัศวกิตติกร ประธาน ศชอ. และ นพดล พรหมภาสิต ทำหน้าที่เลขาธิการ ซึ่งทั้งสองเป็นแกนนำที่ร่วมจัดตั้งกลุ่มขึ้น โดยแน่งน้อยเป็นอดีตผู้สมัคร ส.ส. พิษณุโลก พรรครวมพลังประชาชาติไทยรวมถึงเป็นอดีตผู้ประสานงาน [[กปปส.|กปปส.]] พิษณุโลก[[#_ftn2|<sup><sup>[2]</sup></sup>]]ในขณะที่นพดลดำรงตำแหน่งรองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย รวมถึงเป็นสมาชิกพรรครวมพลังประชาชาติไทย[[#_ftn3|<sup><sup>[3]</sup></sup>]]
บรรทัดที่ 20: บรรทัดที่ 18:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สมาชิกที่เคลื่อนไหวเป็นผู้ที่มีประวัติทางการเมืองไปในทางอนุรักษ์นิยมและชาตินิยมและแสดงท่าทีวิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เช่น ทรงกลด ชื่นชูผล (ผู้กองปูเค็ม) นักเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านพรรคอนาคตใหม่และพรรคก้าวไกล วริศนันท์ ศรีบวรกิตติ์ (แอดมินเจน ผู้ดูแลแฟนเพจสนับสนุนรัฐบาล '''“เชียร์ลุง”''') อดิสรณ์ โสภา (เอ มินเนี่ยน เจ้าของบ้านที่ปรากฏในวิดิโอ '''“หมู่บ้านทะลุจักรวาลบานบุรี"''') ผู้บริจาคเงินสนับสนุนกลุ่ม เตชะ ทับทอง (ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการต่อจากนพดล มีประวัติการทำงานเพื่อสังคม เช่น มูลนิธิร่วมร้อยหัวใจไทย รวมถึงเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรม '''“100 ตัวแทนทำดีเพื่อพ่อ”''') นอกจากนี้ ยังมีสมาชิก-ผู้ร่วมเคลื่อนไหวอื่น ๆ เช่น '''“ป้าอยุธยา”''' '''“ป้าสมุทรสาคร”''' '''“ป้าระยอง”''' และ '''“ป้าพัทลุง”'''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สมาชิกที่เคลื่อนไหวเป็นผู้ที่มีประวัติทางการเมืองไปในทางอนุรักษ์นิยมและชาตินิยมและแสดงท่าทีวิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เช่น ทรงกลด ชื่นชูผล (ผู้กองปูเค็ม) นักเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านพรรคอนาคตใหม่และพรรคก้าวไกล วริศนันท์ ศรีบวรกิตติ์ (แอดมินเจน ผู้ดูแลแฟนเพจสนับสนุนรัฐบาล '''“เชียร์ลุง”''') อดิสรณ์ โสภา (เอ มินเนี่ยน เจ้าของบ้านที่ปรากฏในวิดิโอ '''“หมู่บ้านทะลุจักรวาลบานบุรี"''') ผู้บริจาคเงินสนับสนุนกลุ่ม เตชะ ทับทอง (ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการต่อจากนพดล มีประวัติการทำงานเพื่อสังคม เช่น มูลนิธิร่วมร้อยหัวใจไทย รวมถึงเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรม '''“100 ตัวแทนทำดีเพื่อพ่อ”''') นอกจากนี้ ยังมีสมาชิก-ผู้ร่วมเคลื่อนไหวอื่น ๆ เช่น '''“ป้าอยุธยา”''' '''“ป้าสมุทรสาคร”''' '''“ป้าระยอง”''' และ '''“ป้าพัทลุง”'''


= '''ความเป็นมา''' =
= <span style="font-size:x-large;">'''ความเป็นมา'''</span> =
 
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แฟนเพจเฟซบุ๊กของ ศชอ. ได้เปิดทำการและโพสต์ข้อความแรกใน วันที่ 2 กันยายน 2563[[#_ftn4|[4]]]สอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์โดยแน่งน้อย อัศวกิตติกร ที่ระบุว่า ศชอ. ได้จัดตั้งขึ้นในเดือนกันยายน[[#_ftn5|<sup><sup>[5]</sup></sup>]]&nbsp;โดยแน่งน้อยกล่าวว่า ศชอ. เกิดจากการพบเห็นการคุกคาม ด่าทอ หรือ '''“บุลลี่”''' '''(bully)''' กันในโซเชียลมีเดียและได้ปรึกษากับ นพดล พรหมภาสิต ในการจัดตั้งกลุ่ม[[#_ftn6|<sup><sup>[6]</sup></sup>]]ในขณะที่นพดลอธิบายที่มาของการก่อตั้งกลุ่มว่ามีการคุกคามสถาบันกษัตริย์ ทำให้ผู้ที่จงรักภักดีต่อสถาบันฯ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เนื่องจากถูกคุกคามบนพื้นที่ออนไลน์ในลักษณะ '''“ทัวร์ลง”''' หรือการรุมด่าในสื่อสังคมออนไลน์[[#_ftn7|<sup><sup>[7]</sup></sup>]]พวกเขาเชื่อว่ามีการระดมความเห็นจำนวนมากของฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองบนพื้นที่โซเชียลมีเดียส่วนตัว ในโพสต์เปิดตัวของ ศชอ. ได้ระบุว่า ศชอ.&nbsp;เป็นกลุ่มภาคประชาชนที่มีภารกิจให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกละเมิด หมิ่นประมาทหรือคุกคามบนโซเชียลมีเดีย และดำเนินคดีกับผู้ที่คุกคาม โดย ศชอ. จะดำเนินการและให้คำปรึกษาทางกฎหมายโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยระบุว่ามีผู้ใหญ่ใจดีและผู้สนับสนุนพร้อมช่วยเหลือค่าใช้จ่าย[[#_ftn8|<sup><sup>[8]</sup></sup>]]


&nbsp;
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แฟนเพจเฟซบุ๊กของ ศชอ. ได้เปิดทำการและโพสต์ข้อความแรกใน วันที่ 2 กันยายน 2563[[#_ftn4|[4]]]&nbsp;สอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์โดยแน่งน้อย อัศวกิตติกร ที่ระบุว่า ศชอ. ได้จัดตั้งขึ้นในเดือนกันยายน[[#_ftn5|<sup><sup>[5]</sup></sup>]]&nbsp;โดยแน่งน้อยกล่าวว่า ศชอ. เกิดจากการพบเห็นการคุกคาม ด่าทอ หรือ '''“บุลลี่”''' '''(bully)''' กันในโซเชียลมีเดียและได้ปรึกษากับ นพดล พรหมภาสิต ในการจัดตั้งกลุ่ม[[#_ftn6|<sup><sup>[6]</sup></sup>]]&nbsp;ในขณะที่นพดลอธิบายที่มาของการก่อตั้งกลุ่มว่ามีการคุกคามสถาบันกษัตริย์ ทำให้ผู้ที่จงรักภักดีต่อสถาบันฯ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เนื่องจากถูกคุกคามบนพื้นที่ออนไลน์ในลักษณะ '''“ทัวร์ลง”''' หรือการรุมด่าในสื่อสังคมออนไลน์[[#_ftn7|<sup><sup>[7]</sup></sup>]]&nbsp;พวกเขาเชื่อว่ามีการระดมความเห็นจำนวนมากของฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองบนพื้นที่โซเชียลมีเดียส่วนตัว ในโพสต์เปิดตัวของ ศชอ. ได้ระบุว่า ศชอ.&nbsp;เป็นกลุ่มภาคประชาชนที่มีภารกิจให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกละเมิด หมิ่นประมาทหรือคุกคามบนโซเชียลมีเดีย และดำเนินคดีกับผู้ที่คุกคาม โดย ศชอ. จะดำเนินการและให้คำปรึกษาทางกฎหมายโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยระบุว่ามีผู้ใหญ่ใจดีและผู้สนับสนุนพร้อมช่วยเหลือค่าใช้จ่าย[[#_ftn8|<sup><sup>[8]</sup></sup>]]


= '''บทบาทและการเคลื่อนไหวของของกลุ่ม ศชอ.''' =
= <span style="font-size:x-large;">'''บทบาทและการเคลื่อนไหวของของกลุ่ม ศชอ.'''</span> =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การเคลื่อนไหวช่วยเหลือผู้ถูกคุกคามและประเด็นอื่น ๆ บนพื้นที่โซเชียลมีเดียตามที่ ศชอ. ประกาศภารกิจและเป้าหมายในการช่วยเหลือและดำเนินคดีผู้ถูกคุกคามหรือล่วงละเมิด (ที่ ศชอ. เรียกว่าเป็นการบูลลี่) ศชอ. ได้มีบทบาทในการรับมอบอำนาจหรือขอความช่วยเหลือจากดารา นักแสดง หรือผู้มีชื่อเสียงหลายรายในการดำเนินคดีกับผู้ที่แสดงความคิดเห็นคุกคามบนพื้นที่ออนไลน์ โดยตัวอย่างผู้ที่ขอความช่วยเหลือและมอบอำนาจให้ ศชอ. ดำเนินการ มีทั้งบุคคลในวงการบันเทิง เช่น อรนภา กฤษฎี (ม้า) พศุตม์ บานแย้ม (อาร์ต) กิตติ เชี่ยววงศ์กุล (เกลือ เป็นต่อ) บุคคลในวงการสื่อมวลชน เช่น กนก รัตน์วงศ์สกุล อัญชะลี ไพรีรักษ์ ซึ่งล้วนเป็นผู้ที่แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหว ต่อต้านรัฐบาล หรือมีท่าทีสนับสนุนรัฐบาลรวมไปถึง นพ.ยง ภู่วรวรรณ ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากการจัดหาวัคซีนโควิด-19 โดยในกรณีนี้ ศชอ. ได้ฟ้องดำเนินคดี อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล (ส.ส. พรรคก้าวไกล) ในข้อหาหมิ่นประมาท[[#_ftn9|<sup><sup>[9]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การเคลื่อนไหวช่วยเหลือผู้ถูกคุกคามและประเด็นอื่น ๆ บนพื้นที่โซเชียลมีเดียตามที่ ศชอ. ประกาศภารกิจและเป้าหมายในการช่วยเหลือและดำเนินคดีผู้ถูกคุกคามหรือล่วงละเมิด (ที่ ศชอ. เรียกว่าเป็นการบูลลี่) ศชอ. ได้มีบทบาทในการรับมอบอำนาจหรือขอความช่วยเหลือจากดารา นักแสดง หรือผู้มีชื่อเสียงหลายรายในการดำเนินคดีกับผู้ที่แสดงความคิดเห็นคุกคามบนพื้นที่ออนไลน์ โดยตัวอย่างผู้ที่ขอความช่วยเหลือและมอบอำนาจให้ ศชอ. ดำเนินการ มีทั้งบุคคลในวงการบันเทิง เช่น อรนภา กฤษฎี (ม้า) พศุตม์ บานแย้ม (อาร์ต) กิตติ เชี่ยววงศ์กุล (เกลือ เป็นต่อ) บุคคลในวงการสื่อมวลชน เช่น กนก รัตน์วงศ์สกุล อัญชะลี ไพรีรักษ์ ซึ่งล้วนเป็นผู้ที่แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหว ต่อต้านรัฐบาล หรือมีท่าทีสนับสนุนรัฐบาลรวมไปถึง นพ.ยง ภู่วรวรรณ ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากการจัดหาวัคซีนโควิด-19 โดยในกรณีนี้ ศชอ. ได้ฟ้องดำเนินคดี อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล (ส.ส. พรรคก้าวไกล) ในข้อหาหมิ่นประมาท[[#_ftn9|<sup><sup>[9]</sup></sup>]]
บรรทัดที่ 34: บรรทัดที่ 30:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงต้นของการเคลื่อนไหว ศชอ. ได้อ้างว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มฯ ได้รับการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐทุกองค์กรในประเทศที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับพื้นที่ออนไลน์[[#_ftn11|<sup><sup>[11]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงต้นของการเคลื่อนไหว ศชอ. ได้อ้างว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มฯ ได้รับการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐทุกองค์กรในประเทศที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับพื้นที่ออนไลน์[[#_ftn11|<sup><sup>[11]</sup></sup>]]


&nbsp;
= <span style="font-size:x-large;">'''การเคลื่อนไหวในประเด็นความผิดต่อพระมหากษัตริย์'''</span> =
 
= '''การเคลื่อนไหวในประเด็นความผิดต่อพระมหากษัตริย์''' =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในส่วนการเคลื่อนไหวของ ศชอ. ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเบื้องต้น กลุ่มฯ&nbsp;ได้ประกาศว่าจะดำเนินการเฉพาะการคุกคามทางออนไลน์เท่านั้น[[#_ftn12|<sup><sup>[12]</sup></sup>]]อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนพฤศจิกายน ศชอ. ได้เริ่มการแจ้งความดำเนินคดีในข้อกล่าวหาตาม มาตรา 112 ต่อทั้งบุคคลธรรมดาและฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง เช่น แกนนำผู้ชุมนุมหลายคนรวมไปถึงหลานสาวของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ[[#_ftn13|<sup><sup>[13]</sup></sup>]]ศชอ. ยังได้ประกาศตัวเป็นศูนย์กลางการรับแจ้งข้อมูลและให้คำปรึกษาในการร้องทุกข์ต่อผู้กระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์[[#_ftn14|<sup><sup>[14]</sup></sup>]]ซึ่งในเวลาต่อมา ศชอ. ได้เรียกการแจ้งความนี้ว่า '''“มหกรรมแจกพิซซ่า”''' โดยรวบรวมหลักฐานการกระทำความผิดบนพื้นที่ออนไลน์เข้าแจ้งความ ซึ่งในช่วงนับจากเดือนมิถุนายน การเข้าแจ้งความของ ศชอ. จะปรากฏกลุ่มคนที่เรียกว่า '''“กองทัพ[[มินเนี่ยน|มินเนี่ยน]]ปกป้องสถาบัน”''' ซึ่งแต่งกายในชุดคอสตูมของตัวละคร Minion (ก่อนหน้านี้ มินเนี่ยนเป็นตัวละครดิสนีย์ที่ถูกฝ่ายต่อต้านรัฐบาลใช้เรียกฝ่ายตรงข้ามหรือเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ภายหลังฝ่ายสนับสนุนรัฐได้ยอมรับนำเอาสัญญะนี้มาใช้กับฝ่ายตน (เช่น กรณีหมู่บ้านทะลุจักรวาลบานบุรี) เข้าร่วมแจ้งความด้วย
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในส่วนการเคลื่อนไหวของ ศชอ. ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเบื้องต้น กลุ่มฯ&nbsp;ได้ประกาศว่าจะดำเนินการเฉพาะการคุกคามทางออนไลน์เท่านั้น[[#_ftn12|<sup><sup>[12]</sup></sup>]]&nbsp;อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนพฤศจิกายน ศชอ. ได้เริ่มการแจ้งความดำเนินคดีในข้อกล่าวหาตาม มาตรา 112 ต่อทั้งบุคคลธรรมดาและฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง เช่น แกนนำผู้ชุมนุมหลายคนรวมไปถึงหลานสาวของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ[[#_ftn13|<sup><sup>[13]</sup></sup>]]&nbsp;ศชอ. ยังได้ประกาศตัวเป็นศูนย์กลางการรับแจ้งข้อมูลและให้คำปรึกษาในการร้องทุกข์ต่อผู้กระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์[[#_ftn14|<sup><sup>[14]</sup></sup>]]ซึ่งในเวลาต่อมา ศชอ. ได้เรียกการแจ้งความนี้ว่า '''“มหกรรมแจกพิซซ่า”''' โดยรวบรวมหลักฐานการกระทำความผิดบนพื้นที่ออนไลน์เข้าแจ้งความ ซึ่งในช่วงนับจากเดือนมิถุนายน การเข้าแจ้งความของ ศชอ. จะปรากฏกลุ่มคนที่เรียกว่า '''“กองทัพ[[มินเนี่ยน|มินเนี่ยน]]ปกป้องสถาบัน”''' ซึ่งแต่งกายในชุดคอสตูมของตัวละคร Minion (ก่อนหน้านี้ มินเนี่ยนเป็นตัวละครดิสนีย์ที่ถูกฝ่ายต่อต้านรัฐบาลใช้เรียกฝ่ายตรงข้ามหรือเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ภายหลังฝ่ายสนับสนุนรัฐได้ยอมรับนำเอาสัญญะนี้มาใช้กับฝ่ายตน (เช่น กรณีหมู่บ้านทะลุจักรวาลบานบุรี) เข้าร่วมแจ้งความด้วย


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; มหกรรมแจกพิซซ่าของ ศชอ. นับจากเดือนพฤษภาคม 2564 มีจำนวนผู้ถูก ศชอ. แจ้งความต่อครั้ง มีตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงมากกว่า 1 พันราย[[#_ftn15|<sup><sup>[15]</sup></sup>]]บทความ Voice Online ได้ระบุว่า ศชอ. เคลื่อนไหวในลักษณะเป็น '''“ตำรวจออนไลน์”''' ที่ '''“เฝ้าหน้าจอ”''' (Monitor) โดยตรวจดูการกระทำความผิดและรวบรวมหลักฐานเข้าแจ้งความ ซึ่งหลังจากนั้นทางกลุ่มฯ จะส่งเอกสารแจ้งไปยังผู้ที่ถูกแจ้งความหรือหน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษาให้ทราบและติดตามบทลงโทษจากต้นสังกัด หากไม่มีการลงโทษจะดำเนินมาตรการทางสังคมต่อไป[[#_ftn16|<sup><sup>[16]</sup></sup>]]ซึ่งมีการรายงานถึงการ '''“ข่มขู่”''' จากบัญชีเฟซบุ๊กที่ไม่เปิดเผยชื่อนามสกุลและรูปภาพผู้ใช้งานต่อผู้ถูก ศชอ. แจ้งความ ผ่านกล่องข้อความส่วนตัว การคอมเมนต์หรืออีเมล โดยแนบข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่ถูกแจ้งความและหลักฐานการกระทำความผิด[[#_ftn17|<sup><sup>[17]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; มหกรรมแจกพิซซ่าของ ศชอ. นับจากเดือนพฤษภาคม 2564 มีจำนวนผู้ถูก ศชอ. แจ้งความต่อครั้ง มีตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงมากกว่า 1 พันราย[[#_ftn15|<sup><sup>[15]</sup></sup>]]&nbsp;บทความ Voice Online ได้ระบุว่า ศชอ. เคลื่อนไหวในลักษณะเป็น '''“ตำรวจออนไลน์”''' ที่ '''“เฝ้าหน้าจอ”''' (Monitor) โดยตรวจดูการกระทำความผิดและรวบรวมหลักฐานเข้าแจ้งความ ซึ่งหลังจากนั้นทางกลุ่มฯ จะส่งเอกสารแจ้งไปยังผู้ที่ถูกแจ้งความหรือหน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษาให้ทราบและติดตามบทลงโทษจากต้นสังกัด หากไม่มีการลงโทษจะดำเนินมาตรการทางสังคมต่อไป[[#_ftn16|<sup><sup>[16]</sup></sup>]]&nbsp;ซึ่งมีการรายงานถึงการ '''“ข่มขู่”''' จากบัญชีเฟซบุ๊กที่ไม่เปิดเผยชื่อนามสกุลและรูปภาพผู้ใช้งานต่อผู้ถูก ศชอ. แจ้งความ ผ่านกล่องข้อความส่วนตัว การคอมเมนต์หรืออีเมล โดยแนบข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่ถูกแจ้งความและหลักฐานการกระทำความผิด[[#_ftn17|<sup><sup>[17]</sup></sup>]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในเวลาใกล้เคียงกัน ศชอ. ได้เผยแพร่ '''“แผนที่ 112”''' ซึ่งเป็นแผนที่จาก Google Map ที่แสดงให้เห็นตำแหน่งที่อยู่ รูปภาพ และข้อมูลส่วนตัวของบุคคลจำนวนมากซึ่งถูกกล่าวหา ว่ากระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่ง ศชอ. จะดำเนินการแจ้งความต่อไป โดย '''“ผู้กองปูเค็ม”''' อ้างว่าเป็นผู้จัดทำขึ้น อย่างไรก็ตามแผนที่นี้ถูกรายงานและถูกระงับการเผยแพร่ในเวลาต่อมา[[#_ftn18|<sup><sup>[18]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในเวลาใกล้เคียงกัน ศชอ. ได้เผยแพร่ '''“แผนที่ 112”''' ซึ่งเป็นแผนที่จาก Google Map ที่แสดงให้เห็นตำแหน่งที่อยู่ รูปภาพ และข้อมูลส่วนตัวของบุคคลจำนวนมากซึ่งถูกกล่าวหา ว่ากระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่ง ศชอ. จะดำเนินการแจ้งความต่อไป โดย '''“ผู้กองปูเค็ม”''' อ้างว่าเป็นผู้จัดทำขึ้น อย่างไรก็ตามแผนที่นี้ถูกรายงานและถูกระงับการเผยแพร่ในเวลาต่อมา[[#_ftn18|<sup><sup>[18]</sup></sup>]]
บรรทัดที่ 48: บรรทัดที่ 42:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ศชอ. ยังได้มีการแจ้งความในลักษณะกลั่นแกล้งผู้ถูกกล่าวหา โดยมีตัวแทน ศชอ. เดินทางไปแจ้งความยังสถานีตำรวจในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้ถูกแจ้งความต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาในพื้นที่ห่างไกล[[#_ftn20|<sup><sup>[20]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ศชอ. ยังได้มีการแจ้งความในลักษณะกลั่นแกล้งผู้ถูกกล่าวหา โดยมีตัวแทน ศชอ. เดินทางไปแจ้งความยังสถานีตำรวจในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้ถูกแจ้งความต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาในพื้นที่ห่างไกล[[#_ftn20|<sup><sup>[20]</sup></sup>]]


&nbsp;
= <span style="font-size:x-large;">'''การเคลื่อนไหวของ ศชอ. ร่วมกับกลุ่มการเมืองอื่น'''</span> =
 
= '''การเคลื่อนไหวของ ศชอ. ร่วมกับกลุ่มการเมืองอื่น''' =
 
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในเดือนกรกฎาคม 2564 ศชอ. ได้ร่วมเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มการเมืองอื่นภายใต้ชื่อกลุ่ม '''“พสกนิกรปกป้องสถาบัน”''' โดยร่วมกับศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) กลุ่มภาคีประชาชนปกป้องสถาบันและอาชีวะปกป้องสถาบัน[[#_ftn21|<sup><sup>[21]</sup></sup>]]ต่อมาเพิ่มจำนวนเป็น 9 กลุ่ม[[#_ftn22|<sup><sup>[22]</sup></sup>]]มีบทบาทในการตอบโต้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลรวมถึงยื่นข้อเรียกร้องต่อหน่วยงานรัฐ เช่น การร่วมยื่นหนังสือคัดค้านการแก้ไข มาตรา 112 การคัดค้านการประกันตัวและส่งตัวแกนนำฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ถูกคุมขังไปรักษานอกเรือนจำ เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีตรวจสอบการทำงานของรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่งทางกลุ่มเห็นว่าปล่อยปะละเลยให้มีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จซึ่งรวมถึงสถาบันกษัตริย์[[#_ftn23|<sup><sup>[23]</sup></sup>]]การเรียกร้องให้ตรวจสอบจริยธรรมและแจ้งความ ส.ส. ที่สนับสนุนการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล[[#_ftn24|<sup><sup>[24]</sup></sup>]]นอกจากนั้นยังมีการเรียกร้องให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตรวจสอบกิจกรรมรับน้องใหม่ ปีการศึกษา 2564 ซึ่งองค์การบริหารสโมสรนิสิตฯ ที่ได้เชิญแกนนำหรือบุคคลสำคัญจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมาเข้าร่วมพิธีปฐมนิเทศทางออนไลน์[[#_ftn25|<sup><sup>[25]</sup></sup>]]นอกจากนั้นกลุ่มพสกนิกรฯ ยังสนับสนุนการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน (คฝ.) ด้วยการมอบอาหารและน้ำแก่เจ้าหน้าที่ในช่วงที่มีการชุมนุม[[#_ftn26|<sup><sup>[26]</sup></sup>]]


&nbsp;
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในเดือนกรกฎาคม 2564 ศชอ. ได้ร่วมเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มการเมืองอื่นภายใต้ชื่อกลุ่ม '''“พสกนิกรปกป้องสถาบัน”''' โดยร่วมกับศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) กลุ่มภาคีประชาชนปกป้องสถาบันและอาชีวะปกป้องสถาบัน[[#_ftn21|<sup><sup>[21]</sup></sup>]]&nbsp;ต่อมาเพิ่มจำนวนเป็น 9 กลุ่ม[[#_ftn22|<sup><sup>[22]</sup></sup>]]&nbsp;มีบทบาทในการตอบโต้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลรวมถึงยื่นข้อเรียกร้องต่อหน่วยงานรัฐ เช่น การร่วมยื่นหนังสือคัดค้านการแก้ไข มาตรา 112 การคัดค้านการประกันตัวและส่งตัวแกนนำฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ถูกคุมขังไปรักษานอกเรือนจำ เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีตรวจสอบการทำงานของรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่งทางกลุ่มเห็นว่าปล่อยปะละเลยให้มีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จซึ่งรวมถึงสถาบันกษัตริย์[[#_ftn23|<sup><sup>[23]</sup></sup>]]&nbsp;การเรียกร้องให้ตรวจสอบจริยธรรมและแจ้งความ ส.ส. ที่สนับสนุนการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล[[#_ftn24|<sup><sup>[24]</sup></sup>]]&nbsp;นอกจากนั้นยังมีการเรียกร้องให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตรวจสอบกิจกรรมรับน้องใหม่ ปีการศึกษา 2564 ซึ่งองค์การบริหารสโมสรนิสิตฯ ที่ได้เชิญแกนนำหรือบุคคลสำคัญจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมาเข้าร่วมพิธีปฐมนิเทศทางออนไลน์[[#_ftn25|<sup><sup>[25]</sup></sup>]]&nbsp;นอกจากนั้นกลุ่มพสกนิกรฯ ยังสนับสนุนการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน (คฝ.) ด้วยการมอบอาหารและน้ำแก่เจ้าหน้าที่ในช่วงที่มีการชุมนุม[[#_ftn26|<sup><sup>[26]</sup></sup>]]


= '''การแสดงความเห็นทางการเมือง''' =
= <span style="font-size:x-large;">'''การแสดงความเห็นทางการเมือง'''</span> =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นอกเหนือไปจากการเคลื่อนไหวในประเด็นหลักของกลุ่มแล้ว ศชอ. ยังได้แสดงความเห็นหรือท่าทีทางการเมืองอื่น ๆ โดยเผยแพร่ลงในแฟนเพจ เช่น การกล่าวถึงประเด็น[[บัตรเลือกตั้ง|บัตรเลือกตั้ง]] 2 ใบ จะทำให้ระบบพรรคการเมืองเข้มแข็งและป้องกันไม่ให้เกิด '''“พรรคล้มสถาบัน”'''[[#_ftn27|<sup><sup>[27]</sup></sup>]]หรือความเห็นต่อฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง เช่น การโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน '''Sinovac''' ที่ถูก '''“ด้อยค่า”''' จากฝ่ายต่อต้านรัฐบาล โดยนำมาเทียบกับวัคซีนสัญชาติอเมริกัน[[#_ftn28|<sup><sup>[28]</sup></sup>]]รวมไปโจมตีฝ่ายต่อต้านรัฐบาลว่าเป็นผู้ที่ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-จีน สั่นคลอน[[#_ftn29|<sup><sup>[29]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นอกเหนือไปจากการเคลื่อนไหวในประเด็นหลักของกลุ่มแล้ว ศชอ. ยังได้แสดงความเห็นหรือท่าทีทางการเมืองอื่น ๆ โดยเผยแพร่ลงในแฟนเพจ เช่น การกล่าวถึงประเด็น[[บัตรเลือกตั้ง|บัตรเลือกตั้ง]] 2 ใบ จะทำให้ระบบพรรคการเมืองเข้มแข็งและป้องกันไม่ให้เกิด '''“พรรคล้มสถาบัน”'''[[#_ftn27|<sup><sup>[27]</sup></sup>]]&nbsp;หรือความเห็นต่อฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง เช่น การโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน '''Sinovac''' ที่ถูก '''“ด้อยค่า”''' จากฝ่ายต่อต้านรัฐบาล โดยนำมาเทียบกับวัคซีนสัญชาติอเมริกัน[[#_ftn28|<sup><sup>[28]</sup></sup>]]&nbsp;รวมไปโจมตีฝ่ายต่อต้านรัฐบาลว่าเป็นผู้ที่ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-จีน สั่นคลอน[[#_ftn29|<sup><sup>[29]</sup></sup>]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ศชอ.ยังได้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและแสดงความเห็นต่อนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่ไม่เป็นที่นิยมในหมู่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลบางส่วน เช่น ธรรมนัส พรหมเผ่า และ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่ง ศชอ. กล่าวว่าไม่เด็ดขาดในการทำหน้าที่ ซึ่งสัมพันธ์กับการที่ ศชอ. มักจะแสดงความเห็นวิจารณ์ถึงความบกพร่องของรัฐบาลในด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูลและไม่ดำเนินการควบคุมการเผยแพร่ข่าวเท็จอย่างเด็ดขาด[[#_ftn30|<sup><sup>[30]</sup></sup>]]ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ ศชอ. ต่อการควบคุมสื่อมวลชนที่ไร้จรรยาบรรณ[[#_ftn31|<sup><sup>[31]</sup></sup>]]ซึ่งศชอ. ระบุว่าเป็นที่มาของการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและสร้างความวุ่นวายในสังคม
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ศชอ.ยังได้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและแสดงความเห็นต่อนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่ไม่เป็นที่นิยมในหมู่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลบางส่วน เช่น ธรรมนัส พรหมเผ่า และ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่ง ศชอ. กล่าวว่าไม่เด็ดขาดในการทำหน้าที่ ซึ่งสัมพันธ์กับการที่ ศชอ. มักจะแสดงความเห็นวิจารณ์ถึงความบกพร่องของรัฐบาลในด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูลและไม่ดำเนินการควบคุมการเผยแพร่ข่าวเท็จอย่างเด็ดขาด[[#_ftn30|<sup><sup>[30]</sup></sup>]]&nbsp;ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ ศชอ. ต่อการควบคุมสื่อมวลชนที่ไร้จรรยาบรรณ[[#_ftn31|<sup><sup>[31]</sup></sup>]]&nbsp;ซึ่งศชอ. ระบุว่าเป็นที่มาของการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและสร้างความวุ่นวายในสังคม
<div>
<div>
&nbsp;
= <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> =
 
= '''อ้างอิง''' =
<div id="ftn1">
<div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] “รู้จักกลุ่ม ‘ขวาใหม่’ ในยุคราษฎร,” ''Voice Online'', (6 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://voicetv.co.th/read/5Vn4LDAO1 https://voicetv.co.th/read/5Vn4LDAO1]. เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564.; กลุ่มขวาใหม่อื่น ๆ ที่ได้นำเสนอ ได้แก่ อาชีวะปกป้องสถาบันฯ, นักรบองค์ดำ สองคาบสมุทร, และกลุ่มไทรักษา รวมถึงกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ได้นำเสนอลงรายละเอียดอย่าง 4 กลุ่มหลัก.
[[#_ftnref1|[1]]] “รู้จักกลุ่ม ‘ขวาใหม่’ ในยุคราษฎร,” ''Voice Online'', (6 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://voicetv.co.th/read/5Vn4LDAO1 https://voicetv.co.th/read/5Vn4LDAO1]. เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564.; กลุ่มขวาใหม่อื่น ๆ ที่ได้นำเสนอ ได้แก่ อาชีวะปกป้องสถาบันฯ, นักรบองค์ดำ สองคาบสมุทร, และกลุ่มไทรักษา รวมถึงกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ได้นำเสนอลงรายละเอียดอย่าง 4 กลุ่มหลัก.
บรรทัดที่ 127: บรรทัดที่ 115:
</div> <div id="ftn31">
</div> <div id="ftn31">
[[#_ftnref31|[31]]] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (14 กรกฎาคม 2564). [https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/334269125072671 https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/334269125072671]. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564.
[[#_ftnref31|[31]]] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (14 กรกฎาคม 2564). [https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/334269125072671 https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/334269125072671]. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564.
</div> </div>
&nbsp;


&nbsp;
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]
</div> </div>
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:29, 16 มีนาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ

 

          ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิดบนโลกออนไลน์ (ศชอ.) เป็นกลุ่มการเมืองที่ดำเนินการตามแนวทางอนุรักษ์นิยมและชาตินิยม ก่อตั้งขึ้นและมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในท่ามกลางกระแสการต่อต้านรัฐบาล พลเอกประยุทธ์_จันทร์โอชา และกระแสข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์นับแต่ ปี 2563 เป็นต้นมา

          กลุ่ม ศชอ. ได้รับการจัดจำแนกให้เป็นกลุ่มมวลชน “ขวาใหม่” ซึ่งมีการเคลื่อนไหวและแสดงออกทางอุดมการณ์ในลักษณะตอบโต้ หรือเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลควบคู่ไปกับการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ในช่วงเวลาที่เกิดข้อเรียกร้องต่อสถาบันฯ โดยเปิดเผยตรงไปตรงมา[1]

          การเคลื่อนไหวของ ศชอ. นั้น จะมุ่งเน้นไปในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการกระทำบนพื้นที่ออนไลน์เป็นหลัก โดยวิธีการสำคัญของกลุ่มฯ อันหนึ่ง คือการรวบรวมหลักฐานเข้าแจ้งความต่อบุคคลต่าง ๆ ในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยใช้แฟนเพจเฟซบุ๊กในชื่อเดียวกับกลุ่ม เป็นช่องทางหลักในการสื่อสาร

บุคคลสำคัญของ ศชอ.

          สมาชิกคนสำคัญและมีบทบาทในการเคลื่อนไหวของ ศชอ. ได้แก่ แน่งน้อย อัศวกิตติกร ประธาน ศชอ. และ นพดล พรหมภาสิต ทำหน้าที่เลขาธิการ ซึ่งทั้งสองเป็นแกนนำที่ร่วมจัดตั้งกลุ่มขึ้น โดยแน่งน้อยเป็นอดีตผู้สมัคร ส.ส. พิษณุโลก พรรครวมพลังประชาชาติไทยรวมถึงเป็นอดีตผู้ประสานงาน กปปส. พิษณุโลก[2]ในขณะที่นพดลดำรงตำแหน่งรองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย รวมถึงเป็นสมาชิกพรรครวมพลังประชาชาติไทย[3]

          สมาชิกที่เคลื่อนไหวเป็นผู้ที่มีประวัติทางการเมืองไปในทางอนุรักษ์นิยมและชาตินิยมและแสดงท่าทีวิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เช่น ทรงกลด ชื่นชูผล (ผู้กองปูเค็ม) นักเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านพรรคอนาคตใหม่และพรรคก้าวไกล วริศนันท์ ศรีบวรกิตติ์ (แอดมินเจน ผู้ดูแลแฟนเพจสนับสนุนรัฐบาล “เชียร์ลุง”) อดิสรณ์ โสภา (เอ มินเนี่ยน เจ้าของบ้านที่ปรากฏในวิดิโอ “หมู่บ้านทะลุจักรวาลบานบุรี") ผู้บริจาคเงินสนับสนุนกลุ่ม เตชะ ทับทอง (ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการต่อจากนพดล มีประวัติการทำงานเพื่อสังคม เช่น มูลนิธิร่วมร้อยหัวใจไทย รวมถึงเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรม “100 ตัวแทนทำดีเพื่อพ่อ”) นอกจากนี้ ยังมีสมาชิก-ผู้ร่วมเคลื่อนไหวอื่น ๆ เช่น “ป้าอยุธยา” “ป้าสมุทรสาคร” “ป้าระยอง” และ “ป้าพัทลุง”

ความเป็นมา

          แฟนเพจเฟซบุ๊กของ ศชอ. ได้เปิดทำการและโพสต์ข้อความแรกใน วันที่ 2 กันยายน 2563[4] สอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์โดยแน่งน้อย อัศวกิตติกร ที่ระบุว่า ศชอ. ได้จัดตั้งขึ้นในเดือนกันยายน[5] โดยแน่งน้อยกล่าวว่า ศชอ. เกิดจากการพบเห็นการคุกคาม ด่าทอ หรือ “บุลลี่” (bully) กันในโซเชียลมีเดียและได้ปรึกษากับ นพดล พรหมภาสิต ในการจัดตั้งกลุ่ม[6] ในขณะที่นพดลอธิบายที่มาของการก่อตั้งกลุ่มว่ามีการคุกคามสถาบันกษัตริย์ ทำให้ผู้ที่จงรักภักดีต่อสถาบันฯ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เนื่องจากถูกคุกคามบนพื้นที่ออนไลน์ในลักษณะ “ทัวร์ลง” หรือการรุมด่าในสื่อสังคมออนไลน์[7] พวกเขาเชื่อว่ามีการระดมความเห็นจำนวนมากของฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองบนพื้นที่โซเชียลมีเดียส่วนตัว ในโพสต์เปิดตัวของ ศชอ. ได้ระบุว่า ศชอ. เป็นกลุ่มภาคประชาชนที่มีภารกิจให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกละเมิด หมิ่นประมาทหรือคุกคามบนโซเชียลมีเดีย และดำเนินคดีกับผู้ที่คุกคาม โดย ศชอ. จะดำเนินการและให้คำปรึกษาทางกฎหมายโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยระบุว่ามีผู้ใหญ่ใจดีและผู้สนับสนุนพร้อมช่วยเหลือค่าใช้จ่าย[8]

บทบาทและการเคลื่อนไหวของของกลุ่ม ศชอ.

          การเคลื่อนไหวช่วยเหลือผู้ถูกคุกคามและประเด็นอื่น ๆ บนพื้นที่โซเชียลมีเดียตามที่ ศชอ. ประกาศภารกิจและเป้าหมายในการช่วยเหลือและดำเนินคดีผู้ถูกคุกคามหรือล่วงละเมิด (ที่ ศชอ. เรียกว่าเป็นการบูลลี่) ศชอ. ได้มีบทบาทในการรับมอบอำนาจหรือขอความช่วยเหลือจากดารา นักแสดง หรือผู้มีชื่อเสียงหลายรายในการดำเนินคดีกับผู้ที่แสดงความคิดเห็นคุกคามบนพื้นที่ออนไลน์ โดยตัวอย่างผู้ที่ขอความช่วยเหลือและมอบอำนาจให้ ศชอ. ดำเนินการ มีทั้งบุคคลในวงการบันเทิง เช่น อรนภา กฤษฎี (ม้า) พศุตม์ บานแย้ม (อาร์ต) กิตติ เชี่ยววงศ์กุล (เกลือ เป็นต่อ) บุคคลในวงการสื่อมวลชน เช่น กนก รัตน์วงศ์สกุล อัญชะลี ไพรีรักษ์ ซึ่งล้วนเป็นผู้ที่แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหว ต่อต้านรัฐบาล หรือมีท่าทีสนับสนุนรัฐบาลรวมไปถึง นพ.ยง ภู่วรวรรณ ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากการจัดหาวัคซีนโควิด-19 โดยในกรณีนี้ ศชอ. ได้ฟ้องดำเนินคดี อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล (ส.ส. พรรคก้าวไกล) ในข้อหาหมิ่นประมาท[9]

          ศชอ. ยังได้เคลื่อนไหวในประเด็นอื่น ๆ ต่อบุคคลที่แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล เช่น การยื่นเรื่องให้แพทยสภาตรวจสอบ กรณีที่มีบุคลากรทางการแพทย์โพสต์ข้อความต่อการเสียชีวิตของ ทมยันตี (นักเขียนที่มีบทบาทในการจัดรายการวิทยุและมีส่วนทำให้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519) หรือการเคลื่อนไหวในประเด็นเผยแพร่ข้อมูลเท็จ (Fake News) เช่น ในกระแสการ Call Out (หรือเรียกร้องให้ออกมาแสดงจุดยืน) ของดารานักแสดง หรือผู้มีชื่อเสียงที่ออกมาแสดงท่าทีวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ศชอ. ก็ได้แจ้งความกับบุคคลในวงการบันเทิงด้วยเช่นกัน[10]

          ทั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงต้นของการเคลื่อนไหว ศชอ. ได้อ้างว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มฯ ได้รับการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐทุกองค์กรในประเทศที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับพื้นที่ออนไลน์[11]

การเคลื่อนไหวในประเด็นความผิดต่อพระมหากษัตริย์

          ในส่วนการเคลื่อนไหวของ ศชอ. ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเบื้องต้น กลุ่มฯ ได้ประกาศว่าจะดำเนินการเฉพาะการคุกคามทางออนไลน์เท่านั้น[12] อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนพฤศจิกายน ศชอ. ได้เริ่มการแจ้งความดำเนินคดีในข้อกล่าวหาตาม มาตรา 112 ต่อทั้งบุคคลธรรมดาและฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง เช่น แกนนำผู้ชุมนุมหลายคนรวมไปถึงหลานสาวของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ[13] ศชอ. ยังได้ประกาศตัวเป็นศูนย์กลางการรับแจ้งข้อมูลและให้คำปรึกษาในการร้องทุกข์ต่อผู้กระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์[14]ซึ่งในเวลาต่อมา ศชอ. ได้เรียกการแจ้งความนี้ว่า “มหกรรมแจกพิซซ่า” โดยรวบรวมหลักฐานการกระทำความผิดบนพื้นที่ออนไลน์เข้าแจ้งความ ซึ่งในช่วงนับจากเดือนมิถุนายน การเข้าแจ้งความของ ศชอ. จะปรากฏกลุ่มคนที่เรียกว่า “กองทัพมินเนี่ยนปกป้องสถาบัน” ซึ่งแต่งกายในชุดคอสตูมของตัวละคร Minion (ก่อนหน้านี้ มินเนี่ยนเป็นตัวละครดิสนีย์ที่ถูกฝ่ายต่อต้านรัฐบาลใช้เรียกฝ่ายตรงข้ามหรือเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ภายหลังฝ่ายสนับสนุนรัฐได้ยอมรับนำเอาสัญญะนี้มาใช้กับฝ่ายตน (เช่น กรณีหมู่บ้านทะลุจักรวาลบานบุรี) เข้าร่วมแจ้งความด้วย

          มหกรรมแจกพิซซ่าของ ศชอ. นับจากเดือนพฤษภาคม 2564 มีจำนวนผู้ถูก ศชอ. แจ้งความต่อครั้ง มีตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงมากกว่า 1 พันราย[15] บทความ Voice Online ได้ระบุว่า ศชอ. เคลื่อนไหวในลักษณะเป็น “ตำรวจออนไลน์” ที่ “เฝ้าหน้าจอ” (Monitor) โดยตรวจดูการกระทำความผิดและรวบรวมหลักฐานเข้าแจ้งความ ซึ่งหลังจากนั้นทางกลุ่มฯ จะส่งเอกสารแจ้งไปยังผู้ที่ถูกแจ้งความหรือหน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษาให้ทราบและติดตามบทลงโทษจากต้นสังกัด หากไม่มีการลงโทษจะดำเนินมาตรการทางสังคมต่อไป[16] ซึ่งมีการรายงานถึงการ “ข่มขู่” จากบัญชีเฟซบุ๊กที่ไม่เปิดเผยชื่อนามสกุลและรูปภาพผู้ใช้งานต่อผู้ถูก ศชอ. แจ้งความ ผ่านกล่องข้อความส่วนตัว การคอมเมนต์หรืออีเมล โดยแนบข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่ถูกแจ้งความและหลักฐานการกระทำความผิด[17]

          ในเวลาใกล้เคียงกัน ศชอ. ได้เผยแพร่ “แผนที่ 112” ซึ่งเป็นแผนที่จาก Google Map ที่แสดงให้เห็นตำแหน่งที่อยู่ รูปภาพ และข้อมูลส่วนตัวของบุคคลจำนวนมากซึ่งถูกกล่าวหา ว่ากระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่ง ศชอ. จะดำเนินการแจ้งความต่อไป โดย “ผู้กองปูเค็ม” อ้างว่าเป็นผู้จัดทำขึ้น อย่างไรก็ตามแผนที่นี้ถูกรายงานและถูกระงับการเผยแพร่ในเวลาต่อมา[18]

          ศชอ. ยังเปิดช่องทางรับการส่งหลักฐานการกระทำผิดผ่าน LINE official ของกองทัพมินเนี่ยนปกป้องสถาบัน[19]

          ศชอ. ยังได้มีการแจ้งความในลักษณะกลั่นแกล้งผู้ถูกกล่าวหา โดยมีตัวแทน ศชอ. เดินทางไปแจ้งความยังสถานีตำรวจในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้ถูกแจ้งความต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาในพื้นที่ห่างไกล[20]

การเคลื่อนไหวของ ศชอ. ร่วมกับกลุ่มการเมืองอื่น

          ในเดือนกรกฎาคม 2564 ศชอ. ได้ร่วมเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มการเมืองอื่นภายใต้ชื่อกลุ่ม “พสกนิกรปกป้องสถาบัน” โดยร่วมกับศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) กลุ่มภาคีประชาชนปกป้องสถาบันและอาชีวะปกป้องสถาบัน[21] ต่อมาเพิ่มจำนวนเป็น 9 กลุ่ม[22] มีบทบาทในการตอบโต้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลรวมถึงยื่นข้อเรียกร้องต่อหน่วยงานรัฐ เช่น การร่วมยื่นหนังสือคัดค้านการแก้ไข มาตรา 112 การคัดค้านการประกันตัวและส่งตัวแกนนำฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ถูกคุมขังไปรักษานอกเรือนจำ เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีตรวจสอบการทำงานของรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่งทางกลุ่มเห็นว่าปล่อยปะละเลยให้มีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จซึ่งรวมถึงสถาบันกษัตริย์[23] การเรียกร้องให้ตรวจสอบจริยธรรมและแจ้งความ ส.ส. ที่สนับสนุนการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล[24] นอกจากนั้นยังมีการเรียกร้องให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตรวจสอบกิจกรรมรับน้องใหม่ ปีการศึกษา 2564 ซึ่งองค์การบริหารสโมสรนิสิตฯ ที่ได้เชิญแกนนำหรือบุคคลสำคัญจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมาเข้าร่วมพิธีปฐมนิเทศทางออนไลน์[25] นอกจากนั้นกลุ่มพสกนิกรฯ ยังสนับสนุนการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน (คฝ.) ด้วยการมอบอาหารและน้ำแก่เจ้าหน้าที่ในช่วงที่มีการชุมนุม[26]

การแสดงความเห็นทางการเมือง

          นอกเหนือไปจากการเคลื่อนไหวในประเด็นหลักของกลุ่มแล้ว ศชอ. ยังได้แสดงความเห็นหรือท่าทีทางการเมืองอื่น ๆ โดยเผยแพร่ลงในแฟนเพจ เช่น การกล่าวถึงประเด็นบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ จะทำให้ระบบพรรคการเมืองเข้มแข็งและป้องกันไม่ให้เกิด “พรรคล้มสถาบัน”[27] หรือความเห็นต่อฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง เช่น การโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน Sinovac ที่ถูก “ด้อยค่า” จากฝ่ายต่อต้านรัฐบาล โดยนำมาเทียบกับวัคซีนสัญชาติอเมริกัน[28] รวมไปโจมตีฝ่ายต่อต้านรัฐบาลว่าเป็นผู้ที่ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-จีน สั่นคลอน[29]

          ศชอ.ยังได้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและแสดงความเห็นต่อนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่ไม่เป็นที่นิยมในหมู่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลบางส่วน เช่น ธรรมนัส พรหมเผ่า และ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่ง ศชอ. กล่าวว่าไม่เด็ดขาดในการทำหน้าที่ ซึ่งสัมพันธ์กับการที่ ศชอ. มักจะแสดงความเห็นวิจารณ์ถึงความบกพร่องของรัฐบาลในด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูลและไม่ดำเนินการควบคุมการเผยแพร่ข่าวเท็จอย่างเด็ดขาด[30] ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ ศชอ. ต่อการควบคุมสื่อมวลชนที่ไร้จรรยาบรรณ[31] ซึ่งศชอ. ระบุว่าเป็นที่มาของการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและสร้างความวุ่นวายในสังคม

อ้างอิง

[1] “รู้จักกลุ่ม ‘ขวาใหม่’ ในยุคราษฎร,” Voice Online, (6 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://voicetv.co.th/read/5Vn4LDAO1. เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564.; กลุ่มขวาใหม่อื่น ๆ ที่ได้นำเสนอ ได้แก่ อาชีวะปกป้องสถาบันฯ, นักรบองค์ดำ สองคาบสมุทร, และกลุ่มไทรักษา รวมถึงกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ได้นำเสนอลงรายละเอียดอย่าง 4 กลุ่มหลัก.

[2] “‘แน่งน้อย’ ผู้แจ้งจับเด็กม.3 ด้วยคดี 112 กำลังเจอดราม่า ฉีดวัคซีนเข็ม 3 ก่อนใคร?” มติชนออนไลน์, (2 สิงหาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2862850. เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564.

[3] “รปช. ถกสมัชชาใหญ่ เคาะ 11 อรหันต์ สรรหาผู้สมัคร ส.ส. ‘อเนก-จักษ์’ ขึ้นแท่น กก.บห. ‘สุเทพ’ ลั่นเสี่ยงชีวิตรอบสองสร้างพรรคให้ยิ่งใหญ่,” ประชาชาติธุรกิจ, (15 ธันวาคม 2561). เข้าถึงจาก https://www.prachachat.net/politics/news-265358. เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564; จากเนื้อหา พบว่ามีบุคคลชื่อ “นพดล พรหมประสิทธิ์” อย่างไรก็ตาม จากการสืบค้นเพิ่มเติม ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับ “นพดล พรหมภาสิต”.

[4] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (2 กันยายน 2563), เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/109823630850556. เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564.

[5] “ชวนทำความรู้จัก ‘ป้าแน่งน้อย’ และ ศชอ. ที่แจ้งความคนด้วย ม.112 กว่าพันคน,” ประชาไท, (11 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2021/07/93916. เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564..

[6] อ้างแล้ว.

[7] “ศชอ. ตั้ง ‘เตชะ ทับทอง’ เป็นเลขาฯ หลัง ‘นพดล’ ลาออก เคลื่อนไหวเอาผิด ม.112 ในนามอิสระ,” ผู้จัดการออนไลน์, (21 ตุลาคม 2564). เข้าถึงจาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000104577. เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564.

[8] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (2 กันยายน 2563).

[9] “คชอ. แจ้งเอาผิด ‘อมรัตน์’ หมิ่นประมาท ‘หมอยง’,” ผู้จัดการออนไลน์, (29 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://mgronline.com/crime/detail/9640000074302. เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564.

[10] “ศชอ. แจ้งความดำเนินคดี ‘แอริน-เจลลี่’ ปมปล่อยข่าวเท็จ,” สยามรัฐออนไลน์, (7 มิถุนายน 2564). เข้าถึงจาก https://siamrath.co.th/n/250937. เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564, ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (21 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/369741018192148. เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564.

[11] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (28 กันยายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/128875568945362 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564.

[12] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (30 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/146736073825978. เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564.

[13] “ศชอ. นำหลักฐานเข้าแจ้งความ 4 แกนนำม็อบราษฎร,” PPTV Online, (26 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/137308. เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564, “‘ศอช.’ หอบหลักฐานเข้าแจ้งความ ‘อั่งอั๊ง’ โพสต์ข้อความหมิ่นสถาบัน ผิดม.112,” The Truth, (16 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://truthforyou.co/35747/. เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564.

[14] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (26 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/163342108832041. เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564.

[15] “ศชอ. หอบหลักฐานส่ง ปอท. ให้ดำเนินคดี 1,275 รายชื่อ,” ประชาไท, (11 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2021/07/93915. เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564.

[16] “รู้จักกลุ่ม ‘ขวาใหม่’ ในยุคราษฎร,” Voice Online.

[17] “ศชอ. ส่งข้อความข่มขู่บุคคลเรื่องการดำเนินคดี ม.112 ไม่น้อยกว่า 62 ราย เผยแพร่ข้อมูลบุคคลในกูเกิ้ลแม็พกว่า 466 ราย,” ศูนย์ทนายความสิทธิมนุษยชน, (28 มิถุนายน 2564). เข้าถึงจาก https://tlhr2014.com/archives/31324. เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564.

[18] “ปลิวทั้งแผนที่ 112 และเพจ ศชอ. หลังถูกระดมรีพอร์ทละเมิดความเป็นส่วนตัว,” ประชาไท, (28 มิถุนายน 2564). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2021/06/93719. เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564., “ผู้กองปูเค็มอ้าง ‘แผนที่ 112’ ฝีมือตนเอง แม้แผนที่-เฟซบุ๊กกลุ่ม ศชอ. ปลิวแล้ว,” มติชนออนไลน์, (29 มิถุนายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/local/crime/news_2800692. เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564..

[19] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (29 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/332680961898154. เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2564.

[20] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (7 ธันวาคม 2563). เข้าถึงจาก  https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/172932617872990. เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564, ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (15 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/261712092328375. เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564.

[21] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (13 กรกฎาคม 2564) เข้าถึงจาก  https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/321595236340060. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564.

[22] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (4 สิงหาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/336902714809312. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564. 

[23]“พสกนิกรปกป้องสถาบัน ขอนายกฯ ประเมินการทำงานของรัฐมนตรี DE,” Voice Online, (16 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://voicetv.co.th/read/kqnVSU3eu. เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564. 

[24] “‘พสกนิกรปกป้องสถาบัน’ ร้องสภาสอบจริยธรรม ‘ส.ส. ร่วมม็อบ-ประกัน ม.112’,” Voice Online, (23 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจากhttps://voicetv.co.th/read/I6ACXsV34. เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564., ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (23 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/328663368966580. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564. 

[25] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (22 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/328024489030468. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564.

[26] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (7 สิงหาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/339047731261477. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564.

[27] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (12 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/363737795459137 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564.

[28]ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (4 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/358346502664933. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564.

[29] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (4 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/358200869346163. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564.

[30] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (14 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/322331609599756. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564.

[31] ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์, Facebook, (14 กรกฎาคม 2564). https://www.facebook.com/THCVC2020/posts/334269125072671. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564.