ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คุกลาดยาว"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
|||
(ไม่แสดง 12 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเีรียง''' ศรัญญู และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | |||
---- | ---- | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | |||
---- | |||
'''เรือนจำลาดยาว''' เป็นชื่อเรียกของกลุ่มทัณฑสถานที่ตั้งอยู่บนถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งในปัจจุบันกลุ่มเรือนจำลาดยาวประกอบด้วยเรือนจำขนาดใหญ่หลายแห่งอันได้แก่ เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง และทัณฑสถานหญิงกลาง | '''เรือนจำลาดยาว''' เป็นชื่อเรียกของกลุ่มทัณฑสถานที่ตั้งอยู่บนถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งในปัจจุบันกลุ่มเรือนจำลาดยาวประกอบด้วยเรือนจำขนาดใหญ่หลายแห่งอันได้แก่ เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง และทัณฑสถานหญิงกลาง | ||
==ประวัติเรือนจำลาดยาว== | ==ประวัติเรือนจำลาดยาว== | ||
ในปีพ.ศ.2478 กรมราชทัณฑ์มีความเห็นว่าเรือนจำลหุโทษ ( | ในปีพ.ศ.2478 กรมราชทัณฑ์มีความเห็นว่าเรือนจำลหุโทษ (ต่อมาถูกเรียกว่า[[เรือนจำกลางคลองเปรมเดิม]] ปัจจุบันเป็น[[พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์และสวนรมณีนารถ]]) ซึ่งอยู่บนถนนมหาไชยใกล้กับวัดสุทัศน์เทพวราราม มีสภาพทรุดโทรมและตั้งอยู่กลางพระนคร จึงควรย้ายเรือนจำไปตั้งยังสถานที่อื่น ดังนั้นทางกรมราชทัณฑ์จึงได้เริ่มโครงการตั้งเรือนจำแห่งใหม่ในบริเวณตรงข้ามฟากคลองเปรม ในท้องที่ตำบลลาดยาว อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร นอกเหนือจากการย้ายเรือนจำลหุโทษไปตั้งที่ใหม่แล้ว ทางกรมราชทัณฑ์ยังเสนอให้ตั้งเรือนจำหญิง และสถานราชทัณฑ์อื่น ๆเช่น โรงเรียนฝึกอาชีพ ในบริเวณโครงการดังกล่าวด้วย<ref>กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย, ประวัติการราชทัณฑ์ 200 ปี (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ราชทัณฑ์ เรือนจำกลางคลองเปรม, 2525), หน้า 403.</ref> | ||
ทั้งนี้รัฐบาลได้เริ่มเวนคืนที่ดินในท้องที่ตำบลลาดยาว ในปีพ.ศ.2486 มีเนื้อที่ 150 ไร่ 2 งาน 29 ตารางวา และได้มีการจัดตั้งเรือนจำขึ้นเรียกว่า ''' “เรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาว”''' จนในปีพ.ศ.2490 รัฐบาลได้เวนคืนที่ดินตำบลลาดยาวเพิ่มเติมสำหรับการก่อสร้างเรือนจำแห่งใหม่เป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น 782 ไร่ 2 งาน 10 ตารางวา | |||
สำหรับการก่อสร้างเรือนจำแห่งใหม่นั้นได้เริ่มในปีพ.ศ.2496 ซึ่งจากการที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ดังนั้นในการของบประมาณในการก่อสร้าง ทางกรมราชทัณฑ์จึงต้องใช้วิธีของบประมาณผูกพันเป็นรายปีต่อเนื่องกันจนกว่าจะแล้วเสร็จ | |||
ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างเรือนจำแห่งใหม่นี้ ได้มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนแรกเป็นสถานอบรมและฝึกอาชีพลาดยาว และส่วนที่สองเป็นเรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาว | ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างเรือนจำแห่งใหม่นี้ ได้มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนแรกเป็นสถานอบรมและฝึกอาชีพลาดยาว และส่วนที่สองเป็นเรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาว | ||
โดยในส่วนแรกนั้นเป็นผลมาจากในช่วงปีพ.ศ.2501-2502 [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์]]ได้ออก[[ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21]] มีเนื้อหาสำคัญคือ ให้อำนาจเจ้าพนักงานในการปราบปรามบุคคลที่มีพฤติกรรมเป็นอันธพาลและบุคคลประกอบอาชีพผิดต่อกฎหมาย<ref>“ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21” ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ, เล่ม 75 ตอนที่ 89 (2 พฤศจิกายน 2501), หน้า 1-2.</ref> และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 มีเนื้อหาสำคัญคือ ให้กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งสถานอบรมและฝึกอาชีพ เพื่อควบคุม อบรม ฝึกอาชีพบุคคลที่มีนิสัยและความประพฤติเป็นอันธพาล<ref>“ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43” ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ, เล่ม 76 ตอนที่ 5 (10 มกราคม 2502), หน้า 1-3.</ref> ดังนั้นทางราชการจึงใช้ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของโครงการเรือนจำแห่งใหม่เป็น '''“สถานอบรมและฝึกอาชีพลาดยาว”''' แก่บุคคลอันธพาล | |||
สำหรับพื้นที่อีกส่วนหนึ่งของเขตก่อสร้างเรือนจำแห่งใหม่ รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยตั้ง '''“เรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาว”''' สังกัดเรือนจำกลางคลองเปรมเดิม ถนนมหาไชย(ปัจจุบันเป็นพิพิทธภัณฑ์ราชทัณฑ์) เพื่อจะได้ใช้แรงงานผู้ต้องขังทำการก่อสร้างสถานที่คุมขังเพิ่มเติมใหม่ในบริเวณเรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาว ให้เป็นเรือนจำกลางคลองเปรมแห่งใหม่<ref>กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย, ประวัติการราชทัณฑ์ 200 ปี, หน้า 408.</ref> | |||
สำหรับพื้นที่อีกส่วนหนึ่งของเขตก่อสร้างเรือนจำแห่งใหม่ รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ | |||
[[image: Ladyao_prison.jpg|thumb|frame|right|แผนที่เรือนจำชั่วคราว ต.ลาดยาว อ.บางเขน จ.พระนคร]] | |||
[[ | [[ทองใบ ทองเปาด์]] ผู้ถูกคุมขังในเรือนจำชั่วคราวลาดยาวระหว่างปีพ.ศ.2503-2509 ได้ให้รายละเอียดของเรือนจำว่า | ||
{{Cquote|เรือนจำลาดยาว มีเนื้อที่ 15 ไร่ มีเรือนขัง 4 เรือน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 เขต คือ แดนการเมือง ควบคุมผู้ต้องหาและจำเลยในคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมือง โดยเฉพาะผู้ต้องหาในคดีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ แดนการเมืองประกอบด้วยเรือนขัง 2 หลัง โรงเลี้ยง 1 โรง เรือนขัง 2 เรือน เรือนมีห้องขัง 24 ห้อง เป็นห้องขังขนาดใหญ่ 3 ห้อง ห้องขังขนาดใหญ่ 1 ห้อง แดนธรรมดา ใช้คุมขังนักโทษเด็ดขาด(นักโทษที่คดีถึงที่สุดแล้ว)ในคดีธรรมดา 1 หลัง รวม 8 ห้อง เป็นห้องเล็ก 7 ห้อง ห้องใหญ่ 1 ห้อง แดนเฮโรอีนหรือแดนยาเสพย์ติด ซึ่งเป็นแดนที่มีพลเมืองหนาแน่นที่สุด|}} <ref>ทองใบ ทองเปาด์, คอมมิวนิสต์ลาดยาว (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, 2534), หน้า 15-17.</ref> | |||
เรือนจำกลางคลองเปรมแห่งใหม่ได้ก่อสร้างทั้งหมดแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2513 ทางกรมราชทัณฑ์จึงได้ย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำคลองเปรมเดิมมาคุมขังในเรือนจำแห่งใหม่ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 453/2515 และกำหนดให้เรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาว อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร เป็นเรือนจำกลางคลองเปรม มีเนื้อที่ประมาณ 183 ไร่ 3 งาน 2 วา<ref>“คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 453/2515” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 89 ตอนที่ 121 (8 สิงหาคม 2515), หน้า 2022-2023.</ref> จนในปีพ.ศ.2519 ได้ใช้พื้นที่บางส่วนของเรือนจำกลางคลองเปรมเป็นเขตทัณฑสถานบำบัดพิเศษบางเขน(ปัจจุบันเป็นทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง) เพื่อควบคุมอบรมและให้การบำบัดผู้ต้องขังที่ติดยาเสพย์ติดโดยเฉพาะ<ref>“คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 839/2519” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม93 ตอนที่ 148 (30 พฤศจิกายน 2519), หน้า 3607-3608.</ref> | |||
นอกจากนี้ จากการที่รัฐบาลได้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 และ 43 ในปีพ.ศ.2518 จึงส่งผลให้เริ่มมีการปล่อยตัวผู้ถูกคุมขัง(อันธพาล)ในสถานอบรมและฝึกอาชีพลาดยาว<ref>“คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 510/2518” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม92 ตอนที่ 144 (29 กรกฎาคม 2518), หน้า 1889-1890.</ref> ดังนั้นทางราชการจึงได้นำพื้นที่บางส่วนของสถานอบรมและฝึกอาชีพลาดยาวมาเป็นเรือนจำ เพื่อใช้ควบคุม อบรม และฝึกอาชีพแก่ผู้ต้องขังวัยหนุ่ม เรียกว่า '''“ทัณฑสถานวัยหนุ่มบางเขน”'''<ref>“คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 511/2518” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม92 ตอนที่ 144 (29 กรกฎาคม 2518), หน้า 1891-1892.</ref> จนในปีพ.ศ.2522 สถานอบรมและฝึกอาชีพลาดยาวได้ยุบเลิก กระทรวงมหาดไทยจึงได้กำหนดให้ทัณฑสถานวัยหนุ่มบางเขนใช้พื้นที่ทั้งหมดของสถานอบรมและฝึกอาชีพลาดยาวเดิม<ref>“คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 934/2522” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 97 ตอนที่ 2 (8 มกราคม 2523), หน้า 155-156.</ref> จนถึงปีพ.ศ.2534 ทางราชการได้ใช้พื้นที่ของทัณฑสถานวัยหนุ่มบางเขนเป็น '''“เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร”''' จนถึงปัจจุบัน | |||
ทั้งนี้เรือนจำกลางคลองเปรมในปัจจุบัน เป็นทัณฑสถานที่คุมขังผู้ต้องโทษไม่เกิน 30 ปี มีทั้งนักโทษระหว่างและนักโทษเด็ดขาด ผู้ต้องขังส่วนหนึ่งมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครซึ่งพ้นกำหนดฝากขัง จากเรือนจำจังหวัดซึ่งเหลือโทษไม่ถึง 30 ปี เรือนจำกลางคลองเปรมแบ่งออกเป็น 13 แดน โดยไม่ได้แบ่งผู้ต้องขังตามฐานโทษ ดังนั้นผู้ต้องขังจึงคละกันไปตามแดน | ทั้งนี้เรือนจำกลางคลองเปรมในปัจจุบัน เป็นทัณฑสถานที่คุมขังผู้ต้องโทษไม่เกิน 30 ปี มีทั้งนักโทษระหว่างและนักโทษเด็ดขาด ผู้ต้องขังส่วนหนึ่งมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครซึ่งพ้นกำหนดฝากขัง จากเรือนจำจังหวัดซึ่งเหลือโทษไม่ถึง 30 ปี เรือนจำกลางคลองเปรมแบ่งออกเป็น 13 แดน โดยไม่ได้แบ่งผู้ต้องขังตามฐานโทษ ดังนั้นผู้ต้องขังจึงคละกันไปตามแดน | ||
ต่าง ๆ เนื่องจากสถานที่มีอย่างจำกัด | ต่าง ๆ เนื่องจากสถานที่มีอย่างจำกัด<ref>ดูรายละเอียดเกี่ยวกับเรือนจำกลางคลองเปรมในปัจจุบันเพิ่มเติมได้ใน “คลองเปรม คุกลาดยาว” ใน อรสม สุทธิสาคร, คุก ชีวิตในพันธนาการ (กรุงเทพฯ: สารคดี, 2540), หน้า 101-170.</ref> | ||
==เรือนจำลาดยาวกับการเมืองไทยในทศวรรษ 2500== | ==เรือนจำลาดยาวกับการเมืองไทยในทศวรรษ 2500== | ||
จากการ[[รัฐประหาร พ.ศ. 2501|รัฐประหารเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501]] ทำให้คณะรัฐประหารที่เรียกตัวเองว่า “คณะปฏิวัติ” อันประกอบด้วยนายทหาร ที่มี[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] เป็นผู้นำสามารถสถาปนาอำนาจของตนเหนือกลุ่มการเมืองและสถาบันการเมืองอื่น ๆอย่างเด็ดขาด อันนำมาซึ่งระบอบเผด็จการทหารอย่างแท้จริงในประวัติศาสตร์การเมืองไทย | |||
ภายหลังการ[[รัฐประหาร]] จอมพลสฤษดิ์ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติห้ามการชุมนุมทางการเมือง มีการใช้อำนาจในการการปิดหนังสือพิมพ์และโรงเรียนจีน ล้มเลิกกฎหมายแรงงานทั้งหมด ห้ามการชุมนุมของสหภาพแรงงานอย่างเด็ดขาด มีการจับกุมบุคคลที่เห็นว่าเป็นภัยต่อ[[ระบอบเผด็จการทหาร]]จำนวนมากที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองหรือเคยเคลื่อนไหวทางการเมืองก่อนปีพ.ศ.2500 รวมถึงบุคคลที่เคยเดินทางหรือไปร่วมกิจกรรมกับประเทศสังคมนิยม บุคคลที่ทางการคาดว่าเป็นสมาชิกหรือแนวร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งผู้ต้องหาในคดีการเมืองจำนวนมากจะถูกส่งตัวมาคุมขังในเรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาว | |||
==ผู้ที่ถูกควบคุมตัวในเรือนจำชั่วคราวลาดยาว== | |||
ผู้ที่ถูกควบคุมตัวในเรือนจำชั่วคราวลาดยาวประกอบด้วย | |||
'''นักการเมือง''' อาทิ สงวน ตุลารักษ์(อดีตเอกอัครราชทูตพิเศษมีอำนาจเต็มประจำประเทศจีน อดีตส.ส.หลายสมัย) เทพ โชตินุชิต(อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ หัวหน้าพรรคเศรษฐกร ส.ส.ศรีสะเกษ) แคล้ว นรปติ(ส.ส.ขอนแก่น เลขาธิการพรรคเศรษฐกร) มนัส พรหมบุญ(ส.ส.เพชรบูรณ์) วิศิษฐ์ ศรีภัทรา(ส.ส.สุรินทร์) ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร(ส.ส.สุราษฎร์ธานี) เจริญ สืบแสง(ส.ส.ปัตตานี อดีตประธานคณะกรรมการสันติภาพแห่งประเทศไทย) เปลื้อง วรรณศรี(ส.ส.สุรินทร์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ปิตุภูมิ) วิไล เบญจลักษณ์(ส.ส.ยะลาและส.ส.ปัตตานี) ฟอง สิทธิธรรม(ส.ส.อุบลราชธานี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) พรชัย แสงชัจจ์(ส.ส.ศรีสะเกษ) พลเรือตรีทหาร ขำหิรัญ(ส.ส.ธนบุรี) | |||
'''นักหนังสือพิมพ์และนักเขียน''' เช่น อุทธรณ์ พลกุล(นายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ) อิศรา อมันตกุล(หนังสือพิมพ์เดลิเมล์ นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย) ทองใบ ทองเปาด์(หนังสือพิมพ์ข่าวภาพ) ทวีป วรดิลก หรือ ทวีปวร(กวี บรรณาธิการหนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย) สังข์ พัธโนทัย(บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เสถียรภาพ) กรุณา กุศลาลัย(หนังสือพิมพ์เสถียรภาพ) สุวิทย์ เผดิมชิต(หนังสือพิมพ์เสถียรภาพ) สนิท เอกชัย(หนังสือพิมพ์เดลิเมล์) เชลง กัทลีรดพันธุ์(หนังสือพิมพ์เดลิเมล์) สวัสดิ์ ตัณฑสุทธิ์(หนังสือพิมพ์เดลิเมล์) เฉลิม คล้ายนาค(หนังสือพิมพ์เดลิเมล์) อุดม สีสุวรรณ(นิตยสารเศรษฐสาร นักประพันธ์ นักวิจารณ์นวนิยาย) สุวัฒน์ วรดิลก หรือ รพีพร(นักประพันธ์) นางสาวอำพันธ์ ไชยวรศิลป์ หรือ อ.ไชยวรศิลป์(นักประพันธ์) นางถวัลย์ วรดิลก(นักเขียนเรื่องสั้น) นางจินตนา กอตระกูล(ผู้อำนวยการสำนักพิมพ์เทวเวศน์) | |||
'''นักศึกษา อาจารย์และปัญญาชน''' อาทิ นิพนธ์ ชัยชาญ(นิสิตคณะเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) จิตร ภูมิศักดิ์(อักษรศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์วิทยาลัยครูเพชรบุรีพิทยาลงกรณ์) ประวุฒิ ศรีมันตะ(อาจารย์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา) เจือจันทร์ ฐาปโนสถ(อาจารย์โรงเรียนเตรียมศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร) สุภัทร สุคนธาภิรมย์(เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต อดีตเสรีไทย อดีตเลขาธิการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตหัวหน้าขบวนการกู้ชาติ) จรวยพร กัลยาณมิตร(อดีตอาจารย์โรงเรียนเพชรบุรี อดีตกบฎสันติภาพ) สุวิทย์ เผดิมชิต(นิติศาสตร์บัณฑิต อดีตประธานนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง) สุธีร์ คุปตารักษ์ (อักษรศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ขจร วัจนะดิลก(ทนายความ อดีตเลขาธิการสหภาพครูโรงเรียนราษฎร์) บุญไทย นามประกาย(ทนายความ) | |||
'''ผู้นำกรรมกรและผู้นำท้องถิ่น''' เช่น ประกอบ โตลักษณ์ล้ำ(หัวหน้าพรรคกรรมกร ผู้นำกรรมกร) ประภาส สุคนธ์(อดีตเลขาธิการสมาคมกรรมกรเสรีแรงงาน) ประเสริฐ ขำปลื้มจิตร (อดีตเลขาธิการสมาคมกรรมกรสามล้อแห่งประเทศไทย) ระคน จุลลภมร(ครูใหญ่โรงเรียนสตรีเทพวิทยา จังหวัดศรีสะเกษ) ชิต เดชพิชัย(ครูประชาบาล) ดวง พลีรัตน์(ครูประชาบาล) ราวี ชัยชาญ(ครูประชาบาล อดีตกบฏสันติภาพ) น้อย จันทา(อดีตผู้ใหญ่บ้าน อดีตกบฏสันติภาพ) | |||
'''อดีตพระสงฆ์''' เช่น พระมหามนัส จิตตธมโม วัดมหาธาตุ(เลขาธิการมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย) พระมหานคร เขมปาลี วัดมหาธาตุ(อาจารย์และผู้กำกับแผนกบาลีมัธยมของมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย) พระมหาประพันธ์ วัดมหาธาตุ พระมหาสมจิตร วัดมหาธาตุ พระมหาจวง วัดมหาธาตุ พระปลัดสุวรรณ วัดจักรวรรดิราชาวาส พระมหาสุรศักดิ์ ธรรมรัตน์ วัดบ้านคำชะอี นครพนม | |||
นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านทั่วไป พ่อค้า ชาวไร่ชาวนา ชาวไทยเชื้อสายจีน และชนเผ่า อาทิ คณะลูกธรรม ซึ่งเป็นชาวบ้านชราจากอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ชาวบ้านจังหวัดศรีสะเกษ ที่ถูกกวาดจับรวม 61 คน ชาวไทยเชื้อสายจีนจากปักษ์ใต้ หรือชาวเขาเผ่ามูเซอร์ เป็นต้น<ref>ดูรายละเอียดเกี่ยวกับนักโทษการเมืองเพิ่มเติมได้ใน ทองใบ ทองเปาด์, คอมมิวนิสต์ลาดยาว (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, 2534).</ref> | |||
นักโทษการเมืองในเรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาวที่กล่าวมาข้างต้นมีลักษณะร่วมกันคือ ผู้ถูกคุมขังส่วนใหญ่ถูกดำเนินคดีการกระทำอันเป็น[[ระบอบคอมมิวนิสต์|คอมมิวนิสต์]] ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือทางการเมืองในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยผู้ถูกกล่าวหานั้นจะถูกจับกุมและคุมขังอย่างไม่มีกำหนดเวลา เนื่องจากภายใต้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 12 ได้ให้อำนาจพนักงานสอบสวนควบคุมผู้ต้องหาในคดีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ไว้ได้ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอบสวน<ref>“ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 12” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 75 ตอนที่ 84 (22 ตุลาคม 2501), หน้า 4-5.</ref> นอกจากนี้จาก[[ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 15]]<ref>“ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 15” ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ, เล่ม 75 ตอนที่ 85 (27 ตุลาคม 2501), หน้า 2.</ref> และ[[ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 16]]<ref>“ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 16” ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ, เล่ม 75 ตอนที่ 85 (27 ตุลาคม 2501), หน้า 3-6.</ref> ยังได้ระบุให้คดีต่าง ๆที่เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ยังต้องถูกดำเนินคดีใน[[ศาลทหาร]] กระทรวงกลาโหม ดังนั้นผู้ต้องหาในข้อกล่าวหาการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์จึงได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างมาก อันส่งผลให้ผู้ต้องหาคดีคอมมิวนิสต์ที่ถูกคุมขังในคุกลาดยาว เกิดการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมต่าง ๆในคุกลาดยาว | |||
==ผู้ต้องขังคุกลาดยาวกับการเรียกร้องความเป็นธรรม== | ==ผู้ต้องขังคุกลาดยาวกับการเรียกร้องความเป็นธรรม== | ||
ในตามปกติแล้วคุกจะต้องทำหน้าที่จำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกต่าง ๆไม่อาจทำอะไรได้ตามความต้องการ แต่ในช่วงที่คุกลาดยาวคุมขังบรรดาผู้ต้องขังทางการเมือง | ในตามปกติแล้วคุกจะต้องทำหน้าที่จำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกต่าง ๆไม่อาจทำอะไรได้ตามความต้องการ แต่ในช่วงที่คุกลาดยาวคุมขังบรรดาผู้ต้องขังทางการเมือง ด้วยข้อกล่าวหาการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ในช่วงทศวรรษ 2500 กลับปรากฏการต่อสู้ต่าง ๆของผู้ต้องขังแดนการเมืองจำนวนมาก อันแสดงให้เห็นถึงความไม่ยอมอ่อนข้อต่ออำนาจกฎระเบียบต่าง ๆที่ไม่เป็นธรรม เช่นผู้ต้องขังที่มีความรู้ทางกฎหมายได้ขออนุญาตทางเรือนจำเปิดการบรรยายกฎหมายและวิธีดำเนินการพิจารณาในศาลให้แก่ผู้ต้องขังด้วยกันทราบไว้ เนื่องจากผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์จำนวนมากไม่มีความรู้ทางกฎหมาย<ref>ทองใบ ทองเปาด์, คอมมิวนิสต์ลาดยาว, หน้า 18.</ref> หรือกรณีที่ผู้ต้องขังบางคนเช่น [[เทพ โชตินุชิต]] [[จิตร ภูมิศักดิ์]] [[ทองใบ ทองเปาด์]] และเพื่อนร่วมคุกคนอื่น ๆได้เรียกร้องให้ทางเรือนจำเข้ามาจัดการด้านโภชนาการและสภาพความเป็นอยู่ของผู้ถูกคุมขังให้ดีขึ้น ดังที่ทองใบ ทองเปาด์ได้บรรยายไว้ว่า | ||
{{Cquote| | {{Cquote|เราก็เลยขอใช้พื้นที่ว่างปลูกผัก ทำสวนครัว เมื่อก่อนเป็นทุ่งนา เราก็แปลงตรงนี้มาปลูกผักเต็มพื้นที่เลย บางส่วนก็ขุดบ่อเลี้ยงปลาไน ปลาจีน บางคนก็เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ปรากฏว่าเราทำได้ผลดีมากเลยอย่างผักนี่ เรายังส่งออกมาขายเอาเงินมาใช้ เป็นเงินของพวกเราเอง คือ เราปรับสภาพคุกให้มันน่าอยู่ได้ บางคนที่ชอบสุนทรีย์ก็ทำสวนกล้วยไม้|}}<ref>สุภัตรา ภูมิประภาส, บันทึก 72 ปี ทองใบ ทองเปาด์ (กรุงเทพฯ: สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน, 2541), หน้า 18.</ref> | ||
นอกจากนี้ผู้ต้องขังยังได้ต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้ทางเรือนจำมีห้องขังมากขึ้น ให้ผู้ต้องขังสามารถประกอบอาหารเองได้ การเรียกร้องให้ญาติสามารถเข้าเยี่ยมนอกกรง หรือการร้องเรียนเพื่อสิทธิของผู้ต้องขังในการรักษาพยาบาล ซึ่งข้อเรียกร้องต่าง ๆของผู้ต้องขังคดีการเมือง ทางเจ้าหน้าที่ต่างได้เข้ามาดำเนินการแก้ไขหรืออนุญาตตามข้อเรียกร้องของผู้ต้องขัง<ref>ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ทองใบ ทองเปาด์, คอมมิวนิสต์ลาดยาว (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, 2534), หน้า 223-281.</ref> | |||
นอกจากนี้ผู้ต้องขังยังได้ต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้ทางเรือนจำมีห้องขังมากขึ้น ให้ผู้ต้องขังสามารถประกอบอาหารเองได้ การเรียกร้องให้ญาติสามารถเข้าเยี่ยมนอกกรง หรือการร้องเรียนเพื่อสิทธิของผู้ต้องขังในการรักษาพยาบาล ซึ่งข้อเรียกร้องต่าง ๆของผู้ต้องขังคดีการเมือง ทางเจ้าหน้าที่ต่างได้เข้ามาดำเนินการแก้ไขหรืออนุญาตตามข้อเรียกร้องของผู้ต้องขัง | |||
ทั้งนี้การเรียกร้องต่าง ๆของผู้ต้องขังประสบความสำเร็จ น่าจะมีเหตุผลมาจากการที่ผู้ต้องขังได้หยิบยกประเด็นที่ว่าพวกตนเป็นผู้ต้องหาคดีมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ โดยไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามกระบวนการยุติธรรมตามที่ได้ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา นอกจากนี้จากการที่ผู้ต้องขังจำนวนมากเป็นบรรดาปัญญาชนที่เคยเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงก่อนปีพ.ศ.2500 จึงสามารถระดมมวลชนผู้ต้องขังคดีการเมืองต่อสู้กับความไม่ยุติธรรมในทุกกรณีและทุกโอกาส ประกอบกับผู้ต้องขังบางส่วนที่เป็นนักกฎหมายได้นำประเด็นทางกฎหมายและระเบียบของกรมราชทัณฑ์มาต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของผู้ต้องขัง ดังนั้นจึงส่งผลให้ทางเรือนจำต้องยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของผู้ต้องหาคดีการเมืองในคุกลาดยาวหรือยอมผ่อนปรนระเบียบบางอย่างแก่ผู้ต้องขังคดีการเมือง เพื่อให้เหตุการณ์ภายในแดนการเมืองของเรือนจำชั่วคราวลาดยาวเข้าสู่ความสงบอย่างรวดเร็ว อันจะป้องกันไม่ให้การชุมนุมเรียกร้องต่าง ๆไม่ขยายไปยังแดนอื่น ๆของเรือนจำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปกครองของเจ้าหน้าที่เรือนจำ | ทั้งนี้การเรียกร้องต่าง ๆของผู้ต้องขังประสบความสำเร็จ น่าจะมีเหตุผลมาจากการที่ผู้ต้องขังได้หยิบยกประเด็นที่ว่าพวกตนเป็นผู้ต้องหาคดีมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ โดยไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามกระบวนการยุติธรรมตามที่ได้ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา นอกจากนี้จากการที่ผู้ต้องขังจำนวนมากเป็นบรรดาปัญญาชนที่เคยเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงก่อนปีพ.ศ.2500 จึงสามารถระดมมวลชนผู้ต้องขังคดีการเมืองต่อสู้กับความไม่ยุติธรรมในทุกกรณีและทุกโอกาส ประกอบกับผู้ต้องขังบางส่วนที่เป็นนักกฎหมายได้นำประเด็นทางกฎหมายและระเบียบของกรมราชทัณฑ์มาต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของผู้ต้องขัง ดังนั้นจึงส่งผลให้ทางเรือนจำต้องยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของผู้ต้องหาคดีการเมืองในคุกลาดยาวหรือยอมผ่อนปรนระเบียบบางอย่างแก่ผู้ต้องขังคดีการเมือง เพื่อให้เหตุการณ์ภายในแดนการเมืองของเรือนจำชั่วคราวลาดยาวเข้าสู่ความสงบอย่างรวดเร็ว อันจะป้องกันไม่ให้การชุมนุมเรียกร้องต่าง ๆไม่ขยายไปยังแดนอื่น ๆของเรือนจำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปกครองของเจ้าหน้าที่เรือนจำ | ||
==ผู้ต้องขังคุกลาดยาวกับการท้าทายอำนาจเผด็จการ== | ==ผู้ต้องขังคุกลาดยาวกับการท้าทายอำนาจเผด็จการ== | ||
ในปีพ.ศ.2503 ผู้ต้องขังทางการเมืองในคุกลาดยาวได้มีการเคลื่อนไหวยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลสั่งไต่สวนคำร้องและสั่งปล่อยตัวผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังในคุกลาดยาว ซึ่งทองใบ ทองเปาด์ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า | ในปีพ.ศ.2503 ผู้ต้องขังทางการเมืองในคุกลาดยาวได้มีการเคลื่อนไหวยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลสั่งไต่สวนคำร้องและสั่งปล่อยตัวผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังในคุกลาดยาว ซึ่งทองใบ ทองเปาด์ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า | ||
{{Cquote|เราเห็นว่าเราถูกคุมขังโดยไม่มีกำหนดเวลา เพราะฉะนั้น เรายื่นฟ้องเขา ข้อหาเอาเรามากักขังโดยมิชอบ เป็นการชูธงเรื่องสิทธิเสรีภาพตั้งแต่ปี 2503 มาแล้ว คือยื่นคำร้องต่อศาลอาญาว่า ถูกควบคุมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ขอให้ปล่อยเรา ให้เรียกตำรวจมาสอบสวน|}}<ref>สุภัตรา ภูมิประภาส, บันทึก 72 ปี ทองใบ ทองเปาด์, หน้า 18.</ref> | |||
{{Cquote|เราเห็นว่าเราถูกคุมขังโดยไม่มีกำหนดเวลา เพราะฉะนั้น เรายื่นฟ้องเขา ข้อหาเอาเรามากักขังโดยมิชอบ เป็นการชูธงเรื่องสิทธิเสรีภาพตั้งแต่ปี 2503 มาแล้ว คือยื่นคำร้องต่อศาลอาญาว่า ถูกควบคุมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ขอให้ปล่อยเรา ให้เรียกตำรวจมาสอบสวน|}} | |||
ในการยื่นฟ้องครั้งนั้น ทางผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังในคุกลาดยาวจึงตั้งคณะทนายขึ้นสู้คดี ซึ่งคณะทนายทั้งหมดล้วนเป็นผู้ถูกคุมขังในคุกลาดยาวทั้งสิ้นจึงถูกเรียกว่า '''“คณะทนายลาดยาว”''' ประกอบด้วย [[เทพ โชตินุชิต]](ประธานคณะทนายลาดยาว) [[มนัส พรหมบุญ]] [[สุธีร์ ภูวพันธ์]] [[พรชัย แสงชัจจ์]] [[ขจร วัจนะดิลก]] [[สุวิทย์ เผดิมชิต]] และ [[ทองใบ ทองเปาด์]] โดยในการต่อสู้คดีดำเนินถึง 3 ศาล เมื่อคดีถึงที่สุด มีคำพิพากษาเป็นฎีกาออกมา ดังที่ทองใบ ทองเปาด์ได้กล่าวไว้ว่า | |||
{{Cquote|เป็นฎีกาประวัติศาสตร์ คดี 326,327/2505 บอกว่าจะคุมขังคนไว้อย่างนี้ไม่ได้ ซึ่งก็หมายความว่าเราชนะคดี แต่มันก็ไม่มีผลอะไรนัก เพราะคำว่าเท่าที่จำเป็นแก่การสอบสวนนั้น มันก็ไม่แน่นอน แค่ไหนคือจำเป็น มันไม่มี ทางตำรวจเขาบอกว่าเขาจำเป็นต้องควบคุมตัวไว้ เบี้ยวไปอย่างนั้นก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติมันก็มีผลทางจิตใจว่า ตำรวจนี่ต่อไปนี้คุณจะขังเขาไว้อย่างนั้น ไม่ได้นะ ซึ่งมันก็มีผลในทางปฏิบัติว่า มีบุคคลแล้วก็ต้องได้รับการปล่อยตัวไป|}}<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 18.</ref> | |||
{{Cquote| | |||
ทั้งนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวของศาลฎีกา มีผลให้ผู้ต้องขังบางส่วนในเรือนจำชั่วคราวลาดยาวได้รับการปล่อยตัว ซึ่งส่วนมากเป็นชาวบ้านธรรมดาที่ไม่รู้เรื่องราวใด ๆ แต่ผู้ต้องหาบางส่วนก็ยังคงถูกสั่งฟ้อง นอกจากนี้รัฐบาลเผด็จการของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ยังได้ออก '''“พระราชบัญญัติการควบคุมตัวผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดต่อกฎหมายว่าด้วยป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2505”''' โดยเนื้อหาสำคัญคือ ผู้ใดเห็นว่าการควบคุมตัวไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิร้องขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีคำสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมได้ โดยคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยถือเป็นอันสิ้นสุด(ขณะนั้นคือ พลเอกประภาส จารุเสถียร) และห้ามมิให้นำมาตรา 90 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับแก่ผู้ถูกควบคุมตัวในข้อหากระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งพนักงานสอบสวนควบคุมตัวตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 12<ref>“พระราชบัญญัติการควบคุมตัวผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดต่อกฎหมายว่าด้วยป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2505” ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ, เล่ม 79 ตอนที่ 79 (31 สิงหาคม 2505), หน้า 4-7.</ref> | |||
จากการที่ผู้ต้องขังในคุกลาดยาวบางส่วนยังคงถูกสั่งฟ้อง โดยเฉพาะกรณีที่ศาลทหาร กระทรวงกลาโหมได้ยื่นฟ้อง เทพ โชตินุชิตและทองใบ ทองเปาด์ ในคดีดำที่ 223 ก./2505 หรือ “[[คดีอัฟโฟร-เอเชียน]]” ในข้อหาฉกรรจ์คือ สมคบกันมี[[การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์]] กบฏภายในและกบฏภายนอกราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากทั้งสองคนไปเข้าร่วมประชุมสามัคคีธรรมของประชาชนเอเชีย-อัฟริกาที่กรุงไคโร และตั้งคณะกรรมการผดุงสามัคคีธรรมของประชาชนเอเชีย-อัฟริกาแห่งประเทศไทย ซึ่งคดีดังกล่าวมีลักษณะกลั่นแกล้งอย่างเห็นได้ชัดเจน ทั้ง ๆที่รัฐบาลไทยเองก็เข้าร่วมประชุมกลุ่มเอเชียและอัฟริกามาแล้ว และวัตถุประสงค์ของกลุ่มเอเชียและอัฟริกาก็ไม่ขัดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย<ref>ทองใบ ทองเปาด์, คอมมิวนิสต์ลาดยาว, หน้า 119-120.</ref> | |||
ดังนั้นเทพ โชตินุชิตและทองใบ ทองเปาด์จึงได้ยื่นฟ้องกลับโดยทันทีต่อศาลอาญา ดังที่ทองใบ ทองเปาด์ ได้ให้รายละเอียดไว้ว่า | ดังนั้นเทพ โชตินุชิตและทองใบ ทองเปาด์จึงได้ยื่นฟ้องกลับโดยทันทีต่อศาลอาญา ดังที่ทองใบ ทองเปาด์ ได้ให้รายละเอียดไว้ว่า | ||
{{Cquote|เราก็เอาสำเนาคำฟ้องของเขายื่นฟ้องกลับ ฟ้องอัยการศาลทหาร ฟ้องตำรวจที่จับเราและควบคุมเรา ทั้งหมด 7 คน โดยฟ้องกลับว่า ฟ้องเท็จ กล่าวหาเท็จ ควบคุมหน่วงเหนี่ยว กักขัง ทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ เขาฟ้องเราต่อศาลทหาร เราฟ้องเขาต่อศาลอาญา ซึ่งเป็นศาลพลเรือน ศาลพลเรือนบอกว่าคดีนี้ให้รอศาลทหารตัดสินก่อน ว่าอย่างไรแล้วค่อยยกมาว่ากัน ตกลงเราเลยพักคดีศาลพลเรือนไว้ รอศาลทหาร เราก็สู้คดีศาลทหาร เป็นทนายความให้ตัวเอง|}}<ref>สุภัตรา ภูมิประภาส, บันทึก 72 ปี ทองใบ ทองเปาด์, หน้า 19.</ref> | |||
{{ | |||
อย่างไรก็ตามในการดำเนินคดีได้มีการสืบพยานเสร็จในปีพ.ศ.2509 ใกล้จะตัดสินคดีแล้ว ทางทหารได้ขอร้องให้โจทย์(เทพและทองใบ)ถอนฟ้อง โดยฝ่ายทหารได้เริ่มมีการประนีประนอมกับฝ่ายโจทย์ ด้วยการยื่นขอเสนอว่าหากถอนฟ้องทางอัยการทหารจะถอนฟ้องคดีของเทพ โชตินุชิต อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ถูกคุมขังในคุกลาดยาวถึง 70 คน ซึ่งทองใบ ทองเปาด์มีความเห็นว่า | อย่างไรก็ตามในการดำเนินคดีได้มีการสืบพยานเสร็จในปีพ.ศ.2509 ใกล้จะตัดสินคดีแล้ว ทางทหารได้ขอร้องให้โจทย์(เทพและทองใบ)ถอนฟ้อง โดยฝ่ายทหารได้เริ่มมีการประนีประนอมกับฝ่ายโจทย์ ด้วยการยื่นขอเสนอว่าหากถอนฟ้องทางอัยการทหารจะถอนฟ้องคดีของเทพ โชตินุชิต อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ถูกคุมขังในคุกลาดยาวถึง 70 คน ซึ่งทองใบ ทองเปาด์มีความเห็นว่า | ||
{{Cquote|ผมว่าถ้าอย่างนี้ผมคงต้องเอา เพราะคุณเทพแกถูกฟ้อง 3 คดี ถ้าเขาถอนฟ้องแกทั้งหมดพรรคพวกก็ได้ประโยชน์ไปด้วย คดีหนึ่ง สองคน คือเรา คดีสอง แกถูกฟ้องกับคุณแคล้ว นรปติ คุณพรชัย แสงชัด คุณเปลื้อง วรรณศรี รวม 4 คน คดีที่สาม แกถูกฟ้องกับชาวศรีสะเกษอีก 66 คน|}} | {{Cquote|ผมว่าถ้าอย่างนี้ผมคงต้องเอา เพราะคุณเทพแกถูกฟ้อง 3 คดี ถ้าเขาถอนฟ้องแกทั้งหมดพรรคพวกก็ได้ประโยชน์ไปด้วย คดีหนึ่ง สองคน คือเรา คดีสอง แกถูกฟ้องกับคุณแคล้ว นรปติ คุณพรชัย แสงชัด คุณเปลื้อง วรรณศรี รวม 4 คน คดีที่สาม แกถูกฟ้องกับชาวศรีสะเกษอีก 66 คน|}}<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 19.</ref> | ||
เหตุการณ์ครั้งนี้จึงทำให้ผู้ต้องหาคดีคอมมิวนิสต์กลุ่มแรก ๆที่ถูกคุมขังในคุกลาดยาวในปีพ.ศ.2501 ได้รับการปล่อยตัวในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2509 ส่วนผู้ต้องหาอื่น ๆที่ถูกจับกุมภายหลังยังคงถูกคุมขังหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาคดี | |||
==คุกลาดยาว : พื้นที่ในการแสดงออกทางปัญญาในยุคเผด็จการทหาร== | ==คุกลาดยาว : พื้นที่ในการแสดงออกทางปัญญาในยุคเผด็จการทหาร== | ||
จากการที่ปัญญาชนจำนวนมากถูกคุมขังในคุกลาดยาวอย่างไม่มีกำหนด | จากการที่ปัญญาชนจำนวนมากถูกคุมขังในคุกลาดยาวอย่างไม่มีกำหนด โดยเฉพาะนักคิดนักเขียนบางคนที่เคยผลิตงานเขียนสะท้อนสังคมไทยในช่วงก่อน[[รัฐประหาร พ.ศ. 2501|การรัฐประหารวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501]] ถึงแม้บรรดาปัญญาชนจะถูกจำกัดเสรีภาพทางร่างกายภายในคุกลาดยาวจากข้อกล่าวหาทางการเมือง แต่กลับปรากฏว่าบรรดาปัญญาชนในคุกลาดยาวกลับมีเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดของตนได้อย่างเสรีผ่านงานเขียนของตน ซึ่งการแสดงออกดังกล่าวเป็นเรื่องที่ยากมากในประเทศไทยยุคดังกล่าว เนื่องจากการแสดงออกทางความคิดต่าง ๆถูกควบคุมด้วยอำนาจปฏิวัติของรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ||
ทั้งนี้ [[ประจักษ์ ก้องกิรติ]] ได้ตั้งข้อสังเกตถึงการแสดงออกของปัญญาชนที่ถูกคุมขังในคุกลาดยาวว่า คุกโดยธรรมชาติเป็นพื้นที่สำหรับคุมขังและจำกัดอิสรภาพ กลับกลายเป็นพื้นที่แห่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสรเสรีได้มากกว่าสังคมภายนอก เพราะปราศจากอำนาจของตลาดทุนนิยมมากำกับ ทั้งอำนาจรัฐก็มิได้ควบคุมตรวจตราการแสดงความคิดเห็นอย่างเข้มงวดในคุก เพราะอย่างไรเสียชีวิตของนักโทษการเมืองก็อยู่ในเงื้อมมือของรัฐอยู่แล้ว ประกอบกับผลงานต่าง ๆผลิตออกมาก็เผยแพร่อยู่แต่ในคุก ที่ถูกแยกออกจากพื้นที่สาธารณะ<ref>ประจักษ์ ก้องกีรติ, และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548), หน้า 390.</ref> ดังนั้นคุกลาดยาวในช่วงทศวรรษ 2500 จึงได้เป็นพื้นที่ในการผลิตผลงานต่าง ๆของปัญญาชนที่ถูกคุมขังหลายชิ้น ทั้งการแปลหนังสือ เขียนกลอน หรือแต่งเพลงวิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างตรงไปตรงมา | |||
[[จิตร ภูมิศักดิ์]] ปัญญาชนนักปฏิวัติของไทยที่ถูกคุมขังในคุกลาดยาวตั้งแต่ปีพ.ศ.2501-2507 ได้ผลิตงานเขียนจำนวนมากระหว่างถูกคุมขัง ทั้งงานวิชาการ เช่น เรื่อง “ความเป็นมาของคำสยาม, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ” หรือ “สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา” งานวิจารณ์วรรณคดี เช่น '''“นิราศหนองคาย วรรณคดีที่ถูกสั่งเผา”''' งานพจนานุกรมภาษาละหุเล่มแรกของเมืองไทย คือ '''“ภาษาละหุหรือมูเซอร์”''' งานแปล เช่น '''“แม่”''' ของ[[Maxim Gorky|แมกซิม กอร์กี้]] “โคทาน” ของ[[เปรม จันท์]] '''“คนขี่เสือ”''' ของ[[ภวานี ภัฎฏาจารย์]] '''“ความเรียงว่าด้วยศาสนา”''' ของ[[Goerge Thomson|ศาสตราจารย์ยอร์จ ทอมสัน]]<ref>ดูรายละเอียดประวัติงานเขียนของจิตร ภูมิศักดิ์ ได้ใน “อัจฉริยภาพแห่งปราชญ์ ผู้มาก่อนกาล” ใน วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง, จิตร ภูมิศักดิ์ คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย (กรุงเทพฯ: สารคดี, 2549), หน้า 85-103.</ref> เป็นต้น นอกจากนี้จิตรยังได้แต่งบทเพลงจำนวนมาก ภายใต้นามแฝง “สุธรรม บุญรุ่ง” ที่มีเนื้อหาสะท้อนสันติภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรมในสังคม ต่อต้านการกดขี่เผด็จการทหาร ศักดินาและจักรวรรดินิยม เช่น เพลง “มาร์ชลาดยาว” “มาร์ชชาวนาไทย” “เทิดสิทธิมนุษยชน” “ฟ้าใหม่” “ความหวังยังไม่สิ้น” “แสงดาวแห่งศรัทธา” “ศักดิ์ศรีของแรงงาน” “เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ” “รำวงวันเมย์เดย์” “มนต์รักจากเสียงกะดึง” เป็นต้น<ref>ดูรายละเอียดได้ใน “บทเพลงแห่งลาดยาว” ทองใบ ทองเปาด์, คอมมิวนิสต์ลาดยาว (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, 2534), หน้า 53-66.</ref> | |||
กรุณา กุศลาสัย นักหนังสือพิมพ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาฮินดีและสันสกฤต ได้แปลงานหลายชิ้นในช่วงที่ถูกคุมขังในคุกลาดยาวระหว่างปีพ.ศ.2501-2509 อาทิ '''“คีตาญชลี”''' ของ[[รพินทรนาถ ฐากุร]] '''“พบถิ่นอินเดีย”''' ของ[[ยวาหระราล เนห์รู]] '''“ชีวประวัติของข้าพเจ้า”''' ของ[[มหาตมะ คานธี]] เป็นต้น โดยเฉพาะงานแปลเรื่อง “พบถิ่นอินเดีย” ''(The Discovery of India)''เป็นเรื่องที่บังเอิญที่กรุณาได้แปลงานชิ้นดังกล่าวขณะอยู่ในคุกเช่นเดียวกับยวาหระลาล เนห์รูผู้เขียนที่ได้แต่งหนังสือดังกล่าวในช่วงที่อยู่ในคุกด้วยข้อหาทางการเมืองเช่นกัน | |||
[[สุวัฒน์ วรดิลก]] หรือ “รพีพร”(นามปากกา) นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย ต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ(สาขาวรรณศิลป์) โดยสุวัฒน์อยู่ในคุกลาดยาวระหว่างปีพ.ศ.2503-2505 ในฐานะนักโทษการเมืองเด็ดขาด ด้วย[[ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ]]<ref>ทองใบ ทองเปาด์, คอมมิวนิสต์ลาดยาว, หน้า 67.</ref> ระหว่างสุวัฒน์ที่อยู่ในคุกลาดยาวได้เขียนหนังสือ บทละครโทรทัศน์วิทยุ นวนิยาย อย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น นิยายเรื่อง “ภูติพิวาส” ซึ่งเป็นนิยายขายดีและต่อมาได้กลายเป็นภาพยนตร์<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 139-144.</ref> ภายหลังเขาถูกปล่อยตัวยังได้แต่งเรื่อง '''“จดหมายจากลาดยาว”''' ด้วยนามแฝงว่า “ศิวะ รณชิต” ซึ่งผู้เขียนได้สะท้อนภาพชีวิตนักโทษการเมืองในคุกลาดยาว<ref>ดูรายละเอียดได้ใน ศิวะ รณชิต, จดหมายจากลาดยาว (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประกาย, 2521).</ref> | |||
[[ทวีป วรดิลก]] หรือ [[ทวีป วรดิลก|ทวีปวร]] นักหนังสือพิมพ์ นักประพันธ์กวี อดีตกบฏสันติภาพ ต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ(สาขาวรรณศิลป์) ถูกคุมขังในคุกลาดยาวระหว่างปีพ.ศ.2503-2504 ซึ่งเขาได้ผลิตผลงานในช่วงที่ถูกคุมขัง เช่น บทกวีชื่อ '''“ลาดยาวรำลึก”''' มีความตอนหนึ่งว่า | |||
{{Cquote|ณ ลาดยาวเรามีพร้อมพี่น้อง ผู้เรียกร้องความเป็นสุขทุกสิ่งสิ้น | |||
สันติชนนักการเมืองกระเดื่องดิน นักกฎหมายใฝ่ถวิลความเป็นธรรม | |||
กรรมกรชาวนาผู้สามารถ เหนื่อยสายตัวแทบขาดเช้าจนค่ำ | |||
ทั้งครูบาอาจารย์เชี่ยวชาญล้ำ เยาวชนผู้นำยุคใหม่มา | |||
นักประพันธ์นักรบครบพร้อมพรั่ง ทั้งนักหนังสือพิมพ์ผู้แกร่งกล้า | |||
ข้าราชการก็มีที่จับมา อีกพ่อค้าช่างตัดเสื้อเหลือประมวล | |||
อาชีพไหนจะเป็นใครจับให้หมด พระภิกษุปรากฏผ้าเหลืองถ้วน | |||
ยังจับสึกสุดจะนึกรำลึกล้วน การสอบสวนก็หยาบช้าทารุณทำ|}}<ref>ทวีป วรดิลก : ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2548), หน้า 15-16. (ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายทวีป วรดิลก ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม 30 กรกฎาคม 2548). </ref> | |||
ยังจับสึกสุดจะนึกรำลึกล้วน การสอบสวนก็หยาบช้าทารุณทำ | |||
จากตัวอย่างผลงานของปัญญาชนในคุกลาดยาวข้างต้น ถึงแม้จะถูกอำนาจรัฐเผด็จการจำกัดเสรีภาพทางร่างกาย แต่พวกเขาก็ยังสามารถผลิตผลงานต่าง ๆออกมาที่สะท้อนความคิดในจิตใจของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลงานบางชิ้นได้กลายเป็นผลงานอมตะและได้กลายเป็นแรงบันดาลใจในการต่อสู้หรือเป็นต้นแบบของการเขียนบทกวีการเมืองในยุคหลัง [[เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516|14 ตุลาคม 2516]] | |||
ทั้งนี้จากการที่เรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาวหรือคุกลาดยาว ได้เป็นที่คุมขังผู้ต้องหาในคดีการเมืองจำนวนมากในยุคเผด็จการทหารช่วงทศวรรษ 2500 จึงส่งผลให้ชื่อของ '''“คุกลาดยาว”''' ถูกผูกติดกับผู้ถูกคุมขังในคดีการเมือง ถึงแม้ว่าภายหลังพื้นที่ของเรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาวจะถูกใช้เป็นพื้นที่ของกลุ่มเรือนจำที่ตั้งอยู่บนถนนงามวงศ์วาน แต่ชื่อของลาดยาวก็ยังคงกลับถูกนำมาใช้เรียกอีกเมื่อเกิดเหตุการณ์การคุมขังผู้ต้องหาหรือนักโทษที่เกี่ยวข้องกับการเมืองในกลุ่มเรือนจำถนนงามวงศ์วาน เช่น การคุมขังกบฏ 26 มีนาคม 2520 ในสมัยรัฐบาล[[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]] การจำคุกคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คนในช่วงก่อนการ[[รัฐประหาร 19 กันยายน 2549]]<ref>เปลว สีเงิน, “ทะมึนเมฆหลังคุกลาดยาว!” เข้าถึงได้จาก http://board.dserver.org/u/uthaisak/ | |||
00006107.html (25 พฤศจิกายน 2551). | |||
</ref> หรือการฝากขังแกนนำ[[แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ(นปก.)]]ในสมัยรัฐบาล[[พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์]]<ref>สยามธุรกิจ, “สัมผัส “คุกลาดยาว” เคหสถานคลายร้อนแห่งใหม่ 8 นปก.” เข้าถึงได้จาก http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=5329&s_key= (25 พฤศจิกายน 2551).</ref> เป็นต้น | |||
==อ้างอิง== | ==อ้างอิง== | ||
<references/> | <references/> | ||
[[category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2501-2519]] | |||
[[category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:45, 16 ตุลาคม 2557
ผู้เรียบเีรียง ศรัญญู และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
เรือนจำลาดยาว เป็นชื่อเรียกของกลุ่มทัณฑสถานที่ตั้งอยู่บนถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งในปัจจุบันกลุ่มเรือนจำลาดยาวประกอบด้วยเรือนจำขนาดใหญ่หลายแห่งอันได้แก่ เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง และทัณฑสถานหญิงกลาง
ประวัติเรือนจำลาดยาว
ในปีพ.ศ.2478 กรมราชทัณฑ์มีความเห็นว่าเรือนจำลหุโทษ (ต่อมาถูกเรียกว่าเรือนจำกลางคลองเปรมเดิม ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์และสวนรมณีนารถ) ซึ่งอยู่บนถนนมหาไชยใกล้กับวัดสุทัศน์เทพวราราม มีสภาพทรุดโทรมและตั้งอยู่กลางพระนคร จึงควรย้ายเรือนจำไปตั้งยังสถานที่อื่น ดังนั้นทางกรมราชทัณฑ์จึงได้เริ่มโครงการตั้งเรือนจำแห่งใหม่ในบริเวณตรงข้ามฟากคลองเปรม ในท้องที่ตำบลลาดยาว อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร นอกเหนือจากการย้ายเรือนจำลหุโทษไปตั้งที่ใหม่แล้ว ทางกรมราชทัณฑ์ยังเสนอให้ตั้งเรือนจำหญิง และสถานราชทัณฑ์อื่น ๆเช่น โรงเรียนฝึกอาชีพ ในบริเวณโครงการดังกล่าวด้วย[1]
ทั้งนี้รัฐบาลได้เริ่มเวนคืนที่ดินในท้องที่ตำบลลาดยาว ในปีพ.ศ.2486 มีเนื้อที่ 150 ไร่ 2 งาน 29 ตารางวา และได้มีการจัดตั้งเรือนจำขึ้นเรียกว่า “เรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาว” จนในปีพ.ศ.2490 รัฐบาลได้เวนคืนที่ดินตำบลลาดยาวเพิ่มเติมสำหรับการก่อสร้างเรือนจำแห่งใหม่เป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น 782 ไร่ 2 งาน 10 ตารางวา
สำหรับการก่อสร้างเรือนจำแห่งใหม่นั้นได้เริ่มในปีพ.ศ.2496 ซึ่งจากการที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ดังนั้นในการของบประมาณในการก่อสร้าง ทางกรมราชทัณฑ์จึงต้องใช้วิธีของบประมาณผูกพันเป็นรายปีต่อเนื่องกันจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างเรือนจำแห่งใหม่นี้ ได้มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนแรกเป็นสถานอบรมและฝึกอาชีพลาดยาว และส่วนที่สองเป็นเรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาว
โดยในส่วนแรกนั้นเป็นผลมาจากในช่วงปีพ.ศ.2501-2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 มีเนื้อหาสำคัญคือ ให้อำนาจเจ้าพนักงานในการปราบปรามบุคคลที่มีพฤติกรรมเป็นอันธพาลและบุคคลประกอบอาชีพผิดต่อกฎหมาย[2] และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 มีเนื้อหาสำคัญคือ ให้กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งสถานอบรมและฝึกอาชีพ เพื่อควบคุม อบรม ฝึกอาชีพบุคคลที่มีนิสัยและความประพฤติเป็นอันธพาล[3] ดังนั้นทางราชการจึงใช้ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของโครงการเรือนจำแห่งใหม่เป็น “สถานอบรมและฝึกอาชีพลาดยาว” แก่บุคคลอันธพาล
สำหรับพื้นที่อีกส่วนหนึ่งของเขตก่อสร้างเรือนจำแห่งใหม่ รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยตั้ง “เรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาว” สังกัดเรือนจำกลางคลองเปรมเดิม ถนนมหาไชย(ปัจจุบันเป็นพิพิทธภัณฑ์ราชทัณฑ์) เพื่อจะได้ใช้แรงงานผู้ต้องขังทำการก่อสร้างสถานที่คุมขังเพิ่มเติมใหม่ในบริเวณเรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาว ให้เป็นเรือนจำกลางคลองเปรมแห่งใหม่[4]

ทองใบ ทองเปาด์ ผู้ถูกคุมขังในเรือนจำชั่วคราวลาดยาวระหว่างปีพ.ศ.2503-2509 ได้ให้รายละเอียดของเรือนจำว่า
- if:
border: 1px solid #AAAAAA;
}}" class="cquote" |
width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | “ | เรือนจำลาดยาว มีเนื้อที่ 15 ไร่ มีเรือนขัง 4 เรือน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 เขต คือ แดนการเมือง ควบคุมผู้ต้องหาและจำเลยในคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมือง โดยเฉพาะผู้ต้องหาในคดีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ แดนการเมืองประกอบด้วยเรือนขัง 2 หลัง โรงเลี้ยง 1 โรง เรือนขัง 2 เรือน เรือนมีห้องขัง 24 ห้อง เป็นห้องขังขนาดใหญ่ 3 ห้อง ห้องขังขนาดใหญ่ 1 ห้อง แดนธรรมดา ใช้คุมขังนักโทษเด็ดขาด(นักโทษที่คดีถึงที่สุดแล้ว)ในคดีธรรมดา 1 หลัง รวม 8 ห้อง เป็นห้องเล็ก 7 ห้อง ห้องใหญ่ 1 ห้อง แดนเฮโรอีนหรือแดนยาเสพย์ติด ซึ่งเป็นแดนที่มีพลเมืองหนาแน่นที่สุด | width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | ” |
{{#if:| —{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}} }}}} |
เรือนจำกลางคลองเปรมแห่งใหม่ได้ก่อสร้างทั้งหมดแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2513 ทางกรมราชทัณฑ์จึงได้ย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำคลองเปรมเดิมมาคุมขังในเรือนจำแห่งใหม่ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 453/2515 และกำหนดให้เรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาว อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร เป็นเรือนจำกลางคลองเปรม มีเนื้อที่ประมาณ 183 ไร่ 3 งาน 2 วา[6] จนในปีพ.ศ.2519 ได้ใช้พื้นที่บางส่วนของเรือนจำกลางคลองเปรมเป็นเขตทัณฑสถานบำบัดพิเศษบางเขน(ปัจจุบันเป็นทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง) เพื่อควบคุมอบรมและให้การบำบัดผู้ต้องขังที่ติดยาเสพย์ติดโดยเฉพาะ[7]
นอกจากนี้ จากการที่รัฐบาลได้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 และ 43 ในปีพ.ศ.2518 จึงส่งผลให้เริ่มมีการปล่อยตัวผู้ถูกคุมขัง(อันธพาล)ในสถานอบรมและฝึกอาชีพลาดยาว[8] ดังนั้นทางราชการจึงได้นำพื้นที่บางส่วนของสถานอบรมและฝึกอาชีพลาดยาวมาเป็นเรือนจำ เพื่อใช้ควบคุม อบรม และฝึกอาชีพแก่ผู้ต้องขังวัยหนุ่ม เรียกว่า “ทัณฑสถานวัยหนุ่มบางเขน”[9] จนในปีพ.ศ.2522 สถานอบรมและฝึกอาชีพลาดยาวได้ยุบเลิก กระทรวงมหาดไทยจึงได้กำหนดให้ทัณฑสถานวัยหนุ่มบางเขนใช้พื้นที่ทั้งหมดของสถานอบรมและฝึกอาชีพลาดยาวเดิม[10] จนถึงปีพ.ศ.2534 ทางราชการได้ใช้พื้นที่ของทัณฑสถานวัยหนุ่มบางเขนเป็น “เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร” จนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้เรือนจำกลางคลองเปรมในปัจจุบัน เป็นทัณฑสถานที่คุมขังผู้ต้องโทษไม่เกิน 30 ปี มีทั้งนักโทษระหว่างและนักโทษเด็ดขาด ผู้ต้องขังส่วนหนึ่งมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครซึ่งพ้นกำหนดฝากขัง จากเรือนจำจังหวัดซึ่งเหลือโทษไม่ถึง 30 ปี เรือนจำกลางคลองเปรมแบ่งออกเป็น 13 แดน โดยไม่ได้แบ่งผู้ต้องขังตามฐานโทษ ดังนั้นผู้ต้องขังจึงคละกันไปตามแดน
ต่าง ๆ เนื่องจากสถานที่มีอย่างจำกัด[11]
เรือนจำลาดยาวกับการเมืองไทยในทศวรรษ 2500
จากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 ทำให้คณะรัฐประหารที่เรียกตัวเองว่า “คณะปฏิวัติ” อันประกอบด้วยนายทหาร ที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้นำสามารถสถาปนาอำนาจของตนเหนือกลุ่มการเมืองและสถาบันการเมืองอื่น ๆอย่างเด็ดขาด อันนำมาซึ่งระบอบเผด็จการทหารอย่างแท้จริงในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ภายหลังการรัฐประหาร จอมพลสฤษดิ์ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติห้ามการชุมนุมทางการเมือง มีการใช้อำนาจในการการปิดหนังสือพิมพ์และโรงเรียนจีน ล้มเลิกกฎหมายแรงงานทั้งหมด ห้ามการชุมนุมของสหภาพแรงงานอย่างเด็ดขาด มีการจับกุมบุคคลที่เห็นว่าเป็นภัยต่อระบอบเผด็จการทหารจำนวนมากที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองหรือเคยเคลื่อนไหวทางการเมืองก่อนปีพ.ศ.2500 รวมถึงบุคคลที่เคยเดินทางหรือไปร่วมกิจกรรมกับประเทศสังคมนิยม บุคคลที่ทางการคาดว่าเป็นสมาชิกหรือแนวร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งผู้ต้องหาในคดีการเมืองจำนวนมากจะถูกส่งตัวมาคุมขังในเรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาว
ผู้ที่ถูกควบคุมตัวในเรือนจำชั่วคราวลาดยาว
ผู้ที่ถูกควบคุมตัวในเรือนจำชั่วคราวลาดยาวประกอบด้วย
นักการเมือง อาทิ สงวน ตุลารักษ์(อดีตเอกอัครราชทูตพิเศษมีอำนาจเต็มประจำประเทศจีน อดีตส.ส.หลายสมัย) เทพ โชตินุชิต(อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ หัวหน้าพรรคเศรษฐกร ส.ส.ศรีสะเกษ) แคล้ว นรปติ(ส.ส.ขอนแก่น เลขาธิการพรรคเศรษฐกร) มนัส พรหมบุญ(ส.ส.เพชรบูรณ์) วิศิษฐ์ ศรีภัทรา(ส.ส.สุรินทร์) ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร(ส.ส.สุราษฎร์ธานี) เจริญ สืบแสง(ส.ส.ปัตตานี อดีตประธานคณะกรรมการสันติภาพแห่งประเทศไทย) เปลื้อง วรรณศรี(ส.ส.สุรินทร์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ปิตุภูมิ) วิไล เบญจลักษณ์(ส.ส.ยะลาและส.ส.ปัตตานี) ฟอง สิทธิธรรม(ส.ส.อุบลราชธานี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) พรชัย แสงชัจจ์(ส.ส.ศรีสะเกษ) พลเรือตรีทหาร ขำหิรัญ(ส.ส.ธนบุรี)
นักหนังสือพิมพ์และนักเขียน เช่น อุทธรณ์ พลกุล(นายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ) อิศรา อมันตกุล(หนังสือพิมพ์เดลิเมล์ นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย) ทองใบ ทองเปาด์(หนังสือพิมพ์ข่าวภาพ) ทวีป วรดิลก หรือ ทวีปวร(กวี บรรณาธิการหนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย) สังข์ พัธโนทัย(บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เสถียรภาพ) กรุณา กุศลาลัย(หนังสือพิมพ์เสถียรภาพ) สุวิทย์ เผดิมชิต(หนังสือพิมพ์เสถียรภาพ) สนิท เอกชัย(หนังสือพิมพ์เดลิเมล์) เชลง กัทลีรดพันธุ์(หนังสือพิมพ์เดลิเมล์) สวัสดิ์ ตัณฑสุทธิ์(หนังสือพิมพ์เดลิเมล์) เฉลิม คล้ายนาค(หนังสือพิมพ์เดลิเมล์) อุดม สีสุวรรณ(นิตยสารเศรษฐสาร นักประพันธ์ นักวิจารณ์นวนิยาย) สุวัฒน์ วรดิลก หรือ รพีพร(นักประพันธ์) นางสาวอำพันธ์ ไชยวรศิลป์ หรือ อ.ไชยวรศิลป์(นักประพันธ์) นางถวัลย์ วรดิลก(นักเขียนเรื่องสั้น) นางจินตนา กอตระกูล(ผู้อำนวยการสำนักพิมพ์เทวเวศน์)
นักศึกษา อาจารย์และปัญญาชน อาทิ นิพนธ์ ชัยชาญ(นิสิตคณะเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) จิตร ภูมิศักดิ์(อักษรศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์วิทยาลัยครูเพชรบุรีพิทยาลงกรณ์) ประวุฒิ ศรีมันตะ(อาจารย์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา) เจือจันทร์ ฐาปโนสถ(อาจารย์โรงเรียนเตรียมศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร) สุภัทร สุคนธาภิรมย์(เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต อดีตเสรีไทย อดีตเลขาธิการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตหัวหน้าขบวนการกู้ชาติ) จรวยพร กัลยาณมิตร(อดีตอาจารย์โรงเรียนเพชรบุรี อดีตกบฎสันติภาพ) สุวิทย์ เผดิมชิต(นิติศาสตร์บัณฑิต อดีตประธานนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง) สุธีร์ คุปตารักษ์ (อักษรศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ขจร วัจนะดิลก(ทนายความ อดีตเลขาธิการสหภาพครูโรงเรียนราษฎร์) บุญไทย นามประกาย(ทนายความ)
ผู้นำกรรมกรและผู้นำท้องถิ่น เช่น ประกอบ โตลักษณ์ล้ำ(หัวหน้าพรรคกรรมกร ผู้นำกรรมกร) ประภาส สุคนธ์(อดีตเลขาธิการสมาคมกรรมกรเสรีแรงงาน) ประเสริฐ ขำปลื้มจิตร (อดีตเลขาธิการสมาคมกรรมกรสามล้อแห่งประเทศไทย) ระคน จุลลภมร(ครูใหญ่โรงเรียนสตรีเทพวิทยา จังหวัดศรีสะเกษ) ชิต เดชพิชัย(ครูประชาบาล) ดวง พลีรัตน์(ครูประชาบาล) ราวี ชัยชาญ(ครูประชาบาล อดีตกบฏสันติภาพ) น้อย จันทา(อดีตผู้ใหญ่บ้าน อดีตกบฏสันติภาพ)
อดีตพระสงฆ์ เช่น พระมหามนัส จิตตธมโม วัดมหาธาตุ(เลขาธิการมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย) พระมหานคร เขมปาลี วัดมหาธาตุ(อาจารย์และผู้กำกับแผนกบาลีมัธยมของมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย) พระมหาประพันธ์ วัดมหาธาตุ พระมหาสมจิตร วัดมหาธาตุ พระมหาจวง วัดมหาธาตุ พระปลัดสุวรรณ วัดจักรวรรดิราชาวาส พระมหาสุรศักดิ์ ธรรมรัตน์ วัดบ้านคำชะอี นครพนม นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านทั่วไป พ่อค้า ชาวไร่ชาวนา ชาวไทยเชื้อสายจีน และชนเผ่า อาทิ คณะลูกธรรม ซึ่งเป็นชาวบ้านชราจากอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ชาวบ้านจังหวัดศรีสะเกษ ที่ถูกกวาดจับรวม 61 คน ชาวไทยเชื้อสายจีนจากปักษ์ใต้ หรือชาวเขาเผ่ามูเซอร์ เป็นต้น[12]
นักโทษการเมืองในเรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาวที่กล่าวมาข้างต้นมีลักษณะร่วมกันคือ ผู้ถูกคุมขังส่วนใหญ่ถูกดำเนินคดีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือทางการเมืองในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยผู้ถูกกล่าวหานั้นจะถูกจับกุมและคุมขังอย่างไม่มีกำหนดเวลา เนื่องจากภายใต้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 12 ได้ให้อำนาจพนักงานสอบสวนควบคุมผู้ต้องหาในคดีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ไว้ได้ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอบสวน[13] นอกจากนี้จากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 15[14] และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 16[15] ยังได้ระบุให้คดีต่าง ๆที่เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ยังต้องถูกดำเนินคดีในศาลทหาร กระทรวงกลาโหม ดังนั้นผู้ต้องหาในข้อกล่าวหาการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์จึงได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างมาก อันส่งผลให้ผู้ต้องหาคดีคอมมิวนิสต์ที่ถูกคุมขังในคุกลาดยาว เกิดการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมต่าง ๆในคุกลาดยาว
ผู้ต้องขังคุกลาดยาวกับการเรียกร้องความเป็นธรรม
ในตามปกติแล้วคุกจะต้องทำหน้าที่จำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกต่าง ๆไม่อาจทำอะไรได้ตามความต้องการ แต่ในช่วงที่คุกลาดยาวคุมขังบรรดาผู้ต้องขังทางการเมือง ด้วยข้อกล่าวหาการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ในช่วงทศวรรษ 2500 กลับปรากฏการต่อสู้ต่าง ๆของผู้ต้องขังแดนการเมืองจำนวนมาก อันแสดงให้เห็นถึงความไม่ยอมอ่อนข้อต่ออำนาจกฎระเบียบต่าง ๆที่ไม่เป็นธรรม เช่นผู้ต้องขังที่มีความรู้ทางกฎหมายได้ขออนุญาตทางเรือนจำเปิดการบรรยายกฎหมายและวิธีดำเนินการพิจารณาในศาลให้แก่ผู้ต้องขังด้วยกันทราบไว้ เนื่องจากผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์จำนวนมากไม่มีความรู้ทางกฎหมาย[16] หรือกรณีที่ผู้ต้องขังบางคนเช่น เทพ โชตินุชิต จิตร ภูมิศักดิ์ ทองใบ ทองเปาด์ และเพื่อนร่วมคุกคนอื่น ๆได้เรียกร้องให้ทางเรือนจำเข้ามาจัดการด้านโภชนาการและสภาพความเป็นอยู่ของผู้ถูกคุมขังให้ดีขึ้น ดังที่ทองใบ ทองเปาด์ได้บรรยายไว้ว่า
- if:
border: 1px solid #AAAAAA;
}}" class="cquote" |
width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | “ | เราก็เลยขอใช้พื้นที่ว่างปลูกผัก ทำสวนครัว เมื่อก่อนเป็นทุ่งนา เราก็แปลงตรงนี้มาปลูกผักเต็มพื้นที่เลย บางส่วนก็ขุดบ่อเลี้ยงปลาไน ปลาจีน บางคนก็เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ปรากฏว่าเราทำได้ผลดีมากเลยอย่างผักนี่ เรายังส่งออกมาขายเอาเงินมาใช้ เป็นเงินของพวกเราเอง คือ เราปรับสภาพคุกให้มันน่าอยู่ได้ บางคนที่ชอบสุนทรีย์ก็ทำสวนกล้วยไม้ | width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | ” |
{{#if:| —{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}} }}}} |
นอกจากนี้ผู้ต้องขังยังได้ต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้ทางเรือนจำมีห้องขังมากขึ้น ให้ผู้ต้องขังสามารถประกอบอาหารเองได้ การเรียกร้องให้ญาติสามารถเข้าเยี่ยมนอกกรง หรือการร้องเรียนเพื่อสิทธิของผู้ต้องขังในการรักษาพยาบาล ซึ่งข้อเรียกร้องต่าง ๆของผู้ต้องขังคดีการเมือง ทางเจ้าหน้าที่ต่างได้เข้ามาดำเนินการแก้ไขหรืออนุญาตตามข้อเรียกร้องของผู้ต้องขัง[18]
ทั้งนี้การเรียกร้องต่าง ๆของผู้ต้องขังประสบความสำเร็จ น่าจะมีเหตุผลมาจากการที่ผู้ต้องขังได้หยิบยกประเด็นที่ว่าพวกตนเป็นผู้ต้องหาคดีมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ โดยไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามกระบวนการยุติธรรมตามที่ได้ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา นอกจากนี้จากการที่ผู้ต้องขังจำนวนมากเป็นบรรดาปัญญาชนที่เคยเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงก่อนปีพ.ศ.2500 จึงสามารถระดมมวลชนผู้ต้องขังคดีการเมืองต่อสู้กับความไม่ยุติธรรมในทุกกรณีและทุกโอกาส ประกอบกับผู้ต้องขังบางส่วนที่เป็นนักกฎหมายได้นำประเด็นทางกฎหมายและระเบียบของกรมราชทัณฑ์มาต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของผู้ต้องขัง ดังนั้นจึงส่งผลให้ทางเรือนจำต้องยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของผู้ต้องหาคดีการเมืองในคุกลาดยาวหรือยอมผ่อนปรนระเบียบบางอย่างแก่ผู้ต้องขังคดีการเมือง เพื่อให้เหตุการณ์ภายในแดนการเมืองของเรือนจำชั่วคราวลาดยาวเข้าสู่ความสงบอย่างรวดเร็ว อันจะป้องกันไม่ให้การชุมนุมเรียกร้องต่าง ๆไม่ขยายไปยังแดนอื่น ๆของเรือนจำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปกครองของเจ้าหน้าที่เรือนจำ
ผู้ต้องขังคุกลาดยาวกับการท้าทายอำนาจเผด็จการ
ในปีพ.ศ.2503 ผู้ต้องขังทางการเมืองในคุกลาดยาวได้มีการเคลื่อนไหวยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลสั่งไต่สวนคำร้องและสั่งปล่อยตัวผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังในคุกลาดยาว ซึ่งทองใบ ทองเปาด์ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า
- if:
border: 1px solid #AAAAAA;
}}" class="cquote" |
width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | “ | เราเห็นว่าเราถูกคุมขังโดยไม่มีกำหนดเวลา เพราะฉะนั้น เรายื่นฟ้องเขา ข้อหาเอาเรามากักขังโดยมิชอบ เป็นการชูธงเรื่องสิทธิเสรีภาพตั้งแต่ปี 2503 มาแล้ว คือยื่นคำร้องต่อศาลอาญาว่า ถูกควบคุมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ขอให้ปล่อยเรา ให้เรียกตำรวจมาสอบสวน | width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | ” |
{{#if:| —{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}} }}}} |
ในการยื่นฟ้องครั้งนั้น ทางผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังในคุกลาดยาวจึงตั้งคณะทนายขึ้นสู้คดี ซึ่งคณะทนายทั้งหมดล้วนเป็นผู้ถูกคุมขังในคุกลาดยาวทั้งสิ้นจึงถูกเรียกว่า “คณะทนายลาดยาว” ประกอบด้วย เทพ โชตินุชิต(ประธานคณะทนายลาดยาว) มนัส พรหมบุญ สุธีร์ ภูวพันธ์ พรชัย แสงชัจจ์ ขจร วัจนะดิลก สุวิทย์ เผดิมชิต และ ทองใบ ทองเปาด์ โดยในการต่อสู้คดีดำเนินถึง 3 ศาล เมื่อคดีถึงที่สุด มีคำพิพากษาเป็นฎีกาออกมา ดังที่ทองใบ ทองเปาด์ได้กล่าวไว้ว่า
- if:
border: 1px solid #AAAAAA;
}}" class="cquote" |
width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | “ | เป็นฎีกาประวัติศาสตร์ คดี 326,327/2505 บอกว่าจะคุมขังคนไว้อย่างนี้ไม่ได้ ซึ่งก็หมายความว่าเราชนะคดี แต่มันก็ไม่มีผลอะไรนัก เพราะคำว่าเท่าที่จำเป็นแก่การสอบสวนนั้น มันก็ไม่แน่นอน แค่ไหนคือจำเป็น มันไม่มี ทางตำรวจเขาบอกว่าเขาจำเป็นต้องควบคุมตัวไว้ เบี้ยวไปอย่างนั้นก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติมันก็มีผลทางจิตใจว่า ตำรวจนี่ต่อไปนี้คุณจะขังเขาไว้อย่างนั้น ไม่ได้นะ ซึ่งมันก็มีผลในทางปฏิบัติว่า มีบุคคลแล้วก็ต้องได้รับการปล่อยตัวไป | width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | ” |
{{#if:| —{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}} }}}} |
ทั้งนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวของศาลฎีกา มีผลให้ผู้ต้องขังบางส่วนในเรือนจำชั่วคราวลาดยาวได้รับการปล่อยตัว ซึ่งส่วนมากเป็นชาวบ้านธรรมดาที่ไม่รู้เรื่องราวใด ๆ แต่ผู้ต้องหาบางส่วนก็ยังคงถูกสั่งฟ้อง นอกจากนี้รัฐบาลเผด็จการของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ยังได้ออก “พระราชบัญญัติการควบคุมตัวผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดต่อกฎหมายว่าด้วยป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2505” โดยเนื้อหาสำคัญคือ ผู้ใดเห็นว่าการควบคุมตัวไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิร้องขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีคำสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมได้ โดยคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยถือเป็นอันสิ้นสุด(ขณะนั้นคือ พลเอกประภาส จารุเสถียร) และห้ามมิให้นำมาตรา 90 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับแก่ผู้ถูกควบคุมตัวในข้อหากระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งพนักงานสอบสวนควบคุมตัวตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 12[21]
จากการที่ผู้ต้องขังในคุกลาดยาวบางส่วนยังคงถูกสั่งฟ้อง โดยเฉพาะกรณีที่ศาลทหาร กระทรวงกลาโหมได้ยื่นฟ้อง เทพ โชตินุชิตและทองใบ ทองเปาด์ ในคดีดำที่ 223 ก./2505 หรือ “คดีอัฟโฟร-เอเชียน” ในข้อหาฉกรรจ์คือ สมคบกันมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ กบฏภายในและกบฏภายนอกราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากทั้งสองคนไปเข้าร่วมประชุมสามัคคีธรรมของประชาชนเอเชีย-อัฟริกาที่กรุงไคโร และตั้งคณะกรรมการผดุงสามัคคีธรรมของประชาชนเอเชีย-อัฟริกาแห่งประเทศไทย ซึ่งคดีดังกล่าวมีลักษณะกลั่นแกล้งอย่างเห็นได้ชัดเจน ทั้ง ๆที่รัฐบาลไทยเองก็เข้าร่วมประชุมกลุ่มเอเชียและอัฟริกามาแล้ว และวัตถุประสงค์ของกลุ่มเอเชียและอัฟริกาก็ไม่ขัดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย[22]
ดังนั้นเทพ โชตินุชิตและทองใบ ทองเปาด์จึงได้ยื่นฟ้องกลับโดยทันทีต่อศาลอาญา ดังที่ทองใบ ทองเปาด์ ได้ให้รายละเอียดไว้ว่า
- if:
border: 1px solid #AAAAAA;
}}" class="cquote" |
width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | “ | เราก็เอาสำเนาคำฟ้องของเขายื่นฟ้องกลับ ฟ้องอัยการศาลทหาร ฟ้องตำรวจที่จับเราและควบคุมเรา ทั้งหมด 7 คน โดยฟ้องกลับว่า ฟ้องเท็จ กล่าวหาเท็จ ควบคุมหน่วงเหนี่ยว กักขัง ทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ เขาฟ้องเราต่อศาลทหาร เราฟ้องเขาต่อศาลอาญา ซึ่งเป็นศาลพลเรือน ศาลพลเรือนบอกว่าคดีนี้ให้รอศาลทหารตัดสินก่อน ว่าอย่างไรแล้วค่อยยกมาว่ากัน ตกลงเราเลยพักคดีศาลพลเรือนไว้ รอศาลทหาร เราก็สู้คดีศาลทหาร เป็นทนายความให้ตัวเอง | width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | ” |
{{#if:| —{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}} }}}} |
อย่างไรก็ตามในการดำเนินคดีได้มีการสืบพยานเสร็จในปีพ.ศ.2509 ใกล้จะตัดสินคดีแล้ว ทางทหารได้ขอร้องให้โจทย์(เทพและทองใบ)ถอนฟ้อง โดยฝ่ายทหารได้เริ่มมีการประนีประนอมกับฝ่ายโจทย์ ด้วยการยื่นขอเสนอว่าหากถอนฟ้องทางอัยการทหารจะถอนฟ้องคดีของเทพ โชตินุชิต อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ถูกคุมขังในคุกลาดยาวถึง 70 คน ซึ่งทองใบ ทองเปาด์มีความเห็นว่า
- if:
border: 1px solid #AAAAAA;
}}" class="cquote" |
width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | “ | ผมว่าถ้าอย่างนี้ผมคงต้องเอา เพราะคุณเทพแกถูกฟ้อง 3 คดี ถ้าเขาถอนฟ้องแกทั้งหมดพรรคพวกก็ได้ประโยชน์ไปด้วย คดีหนึ่ง สองคน คือเรา คดีสอง แกถูกฟ้องกับคุณแคล้ว นรปติ คุณพรชัย แสงชัด คุณเปลื้อง วรรณศรี รวม 4 คน คดีที่สาม แกถูกฟ้องกับชาวศรีสะเกษอีก 66 คน | width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | ” |
{{#if:| —{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}} }}}} |
เหตุการณ์ครั้งนี้จึงทำให้ผู้ต้องหาคดีคอมมิวนิสต์กลุ่มแรก ๆที่ถูกคุมขังในคุกลาดยาวในปีพ.ศ.2501 ได้รับการปล่อยตัวในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2509 ส่วนผู้ต้องหาอื่น ๆที่ถูกจับกุมภายหลังยังคงถูกคุมขังหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาคดี
คุกลาดยาว : พื้นที่ในการแสดงออกทางปัญญาในยุคเผด็จการทหาร
จากการที่ปัญญาชนจำนวนมากถูกคุมขังในคุกลาดยาวอย่างไม่มีกำหนด โดยเฉพาะนักคิดนักเขียนบางคนที่เคยผลิตงานเขียนสะท้อนสังคมไทยในช่วงก่อนการรัฐประหารวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 ถึงแม้บรรดาปัญญาชนจะถูกจำกัดเสรีภาพทางร่างกายภายในคุกลาดยาวจากข้อกล่าวหาทางการเมือง แต่กลับปรากฏว่าบรรดาปัญญาชนในคุกลาดยาวกลับมีเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดของตนได้อย่างเสรีผ่านงานเขียนของตน ซึ่งการแสดงออกดังกล่าวเป็นเรื่องที่ยากมากในประเทศไทยยุคดังกล่าว เนื่องจากการแสดงออกทางความคิดต่าง ๆถูกควบคุมด้วยอำนาจปฏิวัติของรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ทั้งนี้ ประจักษ์ ก้องกิรติ ได้ตั้งข้อสังเกตถึงการแสดงออกของปัญญาชนที่ถูกคุมขังในคุกลาดยาวว่า คุกโดยธรรมชาติเป็นพื้นที่สำหรับคุมขังและจำกัดอิสรภาพ กลับกลายเป็นพื้นที่แห่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสรเสรีได้มากกว่าสังคมภายนอก เพราะปราศจากอำนาจของตลาดทุนนิยมมากำกับ ทั้งอำนาจรัฐก็มิได้ควบคุมตรวจตราการแสดงความคิดเห็นอย่างเข้มงวดในคุก เพราะอย่างไรเสียชีวิตของนักโทษการเมืองก็อยู่ในเงื้อมมือของรัฐอยู่แล้ว ประกอบกับผลงานต่าง ๆผลิตออกมาก็เผยแพร่อยู่แต่ในคุก ที่ถูกแยกออกจากพื้นที่สาธารณะ[25] ดังนั้นคุกลาดยาวในช่วงทศวรรษ 2500 จึงได้เป็นพื้นที่ในการผลิตผลงานต่าง ๆของปัญญาชนที่ถูกคุมขังหลายชิ้น ทั้งการแปลหนังสือ เขียนกลอน หรือแต่งเพลงวิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างตรงไปตรงมา
จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนนักปฏิวัติของไทยที่ถูกคุมขังในคุกลาดยาวตั้งแต่ปีพ.ศ.2501-2507 ได้ผลิตงานเขียนจำนวนมากระหว่างถูกคุมขัง ทั้งงานวิชาการ เช่น เรื่อง “ความเป็นมาของคำสยาม, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ” หรือ “สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา” งานวิจารณ์วรรณคดี เช่น “นิราศหนองคาย วรรณคดีที่ถูกสั่งเผา” งานพจนานุกรมภาษาละหุเล่มแรกของเมืองไทย คือ “ภาษาละหุหรือมูเซอร์” งานแปล เช่น “แม่” ของแมกซิม กอร์กี้ “โคทาน” ของเปรม จันท์ “คนขี่เสือ” ของภวานี ภัฎฏาจารย์ “ความเรียงว่าด้วยศาสนา” ของศาสตราจารย์ยอร์จ ทอมสัน[26] เป็นต้น นอกจากนี้จิตรยังได้แต่งบทเพลงจำนวนมาก ภายใต้นามแฝง “สุธรรม บุญรุ่ง” ที่มีเนื้อหาสะท้อนสันติภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรมในสังคม ต่อต้านการกดขี่เผด็จการทหาร ศักดินาและจักรวรรดินิยม เช่น เพลง “มาร์ชลาดยาว” “มาร์ชชาวนาไทย” “เทิดสิทธิมนุษยชน” “ฟ้าใหม่” “ความหวังยังไม่สิ้น” “แสงดาวแห่งศรัทธา” “ศักดิ์ศรีของแรงงาน” “เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ” “รำวงวันเมย์เดย์” “มนต์รักจากเสียงกะดึง” เป็นต้น[27]
กรุณา กุศลาสัย นักหนังสือพิมพ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาฮินดีและสันสกฤต ได้แปลงานหลายชิ้นในช่วงที่ถูกคุมขังในคุกลาดยาวระหว่างปีพ.ศ.2501-2509 อาทิ “คีตาญชลี” ของรพินทรนาถ ฐากุร “พบถิ่นอินเดีย” ของยวาหระราล เนห์รู “ชีวประวัติของข้าพเจ้า” ของมหาตมะ คานธี เป็นต้น โดยเฉพาะงานแปลเรื่อง “พบถิ่นอินเดีย” (The Discovery of India)เป็นเรื่องที่บังเอิญที่กรุณาได้แปลงานชิ้นดังกล่าวขณะอยู่ในคุกเช่นเดียวกับยวาหระลาล เนห์รูผู้เขียนที่ได้แต่งหนังสือดังกล่าวในช่วงที่อยู่ในคุกด้วยข้อหาทางการเมืองเช่นกัน
สุวัฒน์ วรดิลก หรือ “รพีพร”(นามปากกา) นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย ต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ(สาขาวรรณศิลป์) โดยสุวัฒน์อยู่ในคุกลาดยาวระหว่างปีพ.ศ.2503-2505 ในฐานะนักโทษการเมืองเด็ดขาด ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ[28] ระหว่างสุวัฒน์ที่อยู่ในคุกลาดยาวได้เขียนหนังสือ บทละครโทรทัศน์วิทยุ นวนิยาย อย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น นิยายเรื่อง “ภูติพิวาส” ซึ่งเป็นนิยายขายดีและต่อมาได้กลายเป็นภาพยนตร์[29] ภายหลังเขาถูกปล่อยตัวยังได้แต่งเรื่อง “จดหมายจากลาดยาว” ด้วยนามแฝงว่า “ศิวะ รณชิต” ซึ่งผู้เขียนได้สะท้อนภาพชีวิตนักโทษการเมืองในคุกลาดยาว[30]
ทวีป วรดิลก หรือ ทวีปวร นักหนังสือพิมพ์ นักประพันธ์กวี อดีตกบฏสันติภาพ ต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ(สาขาวรรณศิลป์) ถูกคุมขังในคุกลาดยาวระหว่างปีพ.ศ.2503-2504 ซึ่งเขาได้ผลิตผลงานในช่วงที่ถูกคุมขัง เช่น บทกวีชื่อ “ลาดยาวรำลึก” มีความตอนหนึ่งว่า
- if:
border: 1px solid #AAAAAA;
}}" class="cquote" |
width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | “ | ณ ลาดยาวเรามีพร้อมพี่น้อง ผู้เรียกร้องความเป็นสุขทุกสิ่งสิ้น
สันติชนนักการเมืองกระเดื่องดิน นักกฎหมายใฝ่ถวิลความเป็นธรรม กรรมกรชาวนาผู้สามารถ เหนื่อยสายตัวแทบขาดเช้าจนค่ำ ทั้งครูบาอาจารย์เชี่ยวชาญล้ำ เยาวชนผู้นำยุคใหม่มา นักประพันธ์นักรบครบพร้อมพรั่ง ทั้งนักหนังสือพิมพ์ผู้แกร่งกล้า ข้าราชการก็มีที่จับมา อีกพ่อค้าช่างตัดเสื้อเหลือประมวล อาชีพไหนจะเป็นใครจับให้หมด พระภิกษุปรากฏผ้าเหลืองถ้วน ยังจับสึกสุดจะนึกรำลึกล้วน การสอบสวนก็หยาบช้าทารุณทำ |
width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | ” |
{{#if:| —{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}} }}}} |
จากตัวอย่างผลงานของปัญญาชนในคุกลาดยาวข้างต้น ถึงแม้จะถูกอำนาจรัฐเผด็จการจำกัดเสรีภาพทางร่างกาย แต่พวกเขาก็ยังสามารถผลิตผลงานต่าง ๆออกมาที่สะท้อนความคิดในจิตใจของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลงานบางชิ้นได้กลายเป็นผลงานอมตะและได้กลายเป็นแรงบันดาลใจในการต่อสู้หรือเป็นต้นแบบของการเขียนบทกวีการเมืองในยุคหลัง 14 ตุลาคม 2516
ทั้งนี้จากการที่เรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาวหรือคุกลาดยาว ได้เป็นที่คุมขังผู้ต้องหาในคดีการเมืองจำนวนมากในยุคเผด็จการทหารช่วงทศวรรษ 2500 จึงส่งผลให้ชื่อของ “คุกลาดยาว” ถูกผูกติดกับผู้ถูกคุมขังในคดีการเมือง ถึงแม้ว่าภายหลังพื้นที่ของเรือนจำชั่วคราวตำบลลาดยาวจะถูกใช้เป็นพื้นที่ของกลุ่มเรือนจำที่ตั้งอยู่บนถนนงามวงศ์วาน แต่ชื่อของลาดยาวก็ยังคงกลับถูกนำมาใช้เรียกอีกเมื่อเกิดเหตุการณ์การคุมขังผู้ต้องหาหรือนักโทษที่เกี่ยวข้องกับการเมืองในกลุ่มเรือนจำถนนงามวงศ์วาน เช่น การคุมขังกบฏ 26 มีนาคม 2520 ในสมัยรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร การจำคุกคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คนในช่วงก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549[32] หรือการฝากขังแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ(นปก.)ในสมัยรัฐบาลพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์[33] เป็นต้น
อ้างอิง
- ↑ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย, ประวัติการราชทัณฑ์ 200 ปี (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ราชทัณฑ์ เรือนจำกลางคลองเปรม, 2525), หน้า 403.
- ↑ “ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21” ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ, เล่ม 75 ตอนที่ 89 (2 พฤศจิกายน 2501), หน้า 1-2.
- ↑ “ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43” ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ, เล่ม 76 ตอนที่ 5 (10 มกราคม 2502), หน้า 1-3.
- ↑ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย, ประวัติการราชทัณฑ์ 200 ปี, หน้า 408.
- ↑ ทองใบ ทองเปาด์, คอมมิวนิสต์ลาดยาว (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, 2534), หน้า 15-17.
- ↑ “คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 453/2515” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 89 ตอนที่ 121 (8 สิงหาคม 2515), หน้า 2022-2023.
- ↑ “คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 839/2519” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม93 ตอนที่ 148 (30 พฤศจิกายน 2519), หน้า 3607-3608.
- ↑ “คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 510/2518” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม92 ตอนที่ 144 (29 กรกฎาคม 2518), หน้า 1889-1890.
- ↑ “คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 511/2518” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม92 ตอนที่ 144 (29 กรกฎาคม 2518), หน้า 1891-1892.
- ↑ “คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 934/2522” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 97 ตอนที่ 2 (8 มกราคม 2523), หน้า 155-156.
- ↑ ดูรายละเอียดเกี่ยวกับเรือนจำกลางคลองเปรมในปัจจุบันเพิ่มเติมได้ใน “คลองเปรม คุกลาดยาว” ใน อรสม สุทธิสาคร, คุก ชีวิตในพันธนาการ (กรุงเทพฯ: สารคดี, 2540), หน้า 101-170.
- ↑ ดูรายละเอียดเกี่ยวกับนักโทษการเมืองเพิ่มเติมได้ใน ทองใบ ทองเปาด์, คอมมิวนิสต์ลาดยาว (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, 2534).
- ↑ “ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 12” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 75 ตอนที่ 84 (22 ตุลาคม 2501), หน้า 4-5.
- ↑ “ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 15” ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ, เล่ม 75 ตอนที่ 85 (27 ตุลาคม 2501), หน้า 2.
- ↑ “ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 16” ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ, เล่ม 75 ตอนที่ 85 (27 ตุลาคม 2501), หน้า 3-6.
- ↑ ทองใบ ทองเปาด์, คอมมิวนิสต์ลาดยาว, หน้า 18.
- ↑ สุภัตรา ภูมิประภาส, บันทึก 72 ปี ทองใบ ทองเปาด์ (กรุงเทพฯ: สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน, 2541), หน้า 18.
- ↑ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ทองใบ ทองเปาด์, คอมมิวนิสต์ลาดยาว (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, 2534), หน้า 223-281.
- ↑ สุภัตรา ภูมิประภาส, บันทึก 72 ปี ทองใบ ทองเปาด์, หน้า 18.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 18.
- ↑ “พระราชบัญญัติการควบคุมตัวผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดต่อกฎหมายว่าด้วยป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2505” ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ, เล่ม 79 ตอนที่ 79 (31 สิงหาคม 2505), หน้า 4-7.
- ↑ ทองใบ ทองเปาด์, คอมมิวนิสต์ลาดยาว, หน้า 119-120.
- ↑ สุภัตรา ภูมิประภาส, บันทึก 72 ปี ทองใบ ทองเปาด์, หน้า 19.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 19.
- ↑ ประจักษ์ ก้องกีรติ, และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548), หน้า 390.
- ↑ ดูรายละเอียดประวัติงานเขียนของจิตร ภูมิศักดิ์ ได้ใน “อัจฉริยภาพแห่งปราชญ์ ผู้มาก่อนกาล” ใน วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง, จิตร ภูมิศักดิ์ คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย (กรุงเทพฯ: สารคดี, 2549), หน้า 85-103.
- ↑ ดูรายละเอียดได้ใน “บทเพลงแห่งลาดยาว” ทองใบ ทองเปาด์, คอมมิวนิสต์ลาดยาว (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, 2534), หน้า 53-66.
- ↑ ทองใบ ทองเปาด์, คอมมิวนิสต์ลาดยาว, หน้า 67.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 139-144.
- ↑ ดูรายละเอียดได้ใน ศิวะ รณชิต, จดหมายจากลาดยาว (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประกาย, 2521).
- ↑ ทวีป วรดิลก : ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2548), หน้า 15-16. (ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายทวีป วรดิลก ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม 30 กรกฎาคม 2548).
- ↑ เปลว สีเงิน, “ทะมึนเมฆหลังคุกลาดยาว!” เข้าถึงได้จาก http://board.dserver.org/u/uthaisak/ 00006107.html (25 พฤศจิกายน 2551).
- ↑ สยามธุรกิจ, “สัมผัส “คุกลาดยาว” เคหสถานคลายร้อนแห่งใหม่ 8 นปก.” เข้าถึงได้จาก http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=5329&s_key= (25 พฤศจิกายน 2551).