ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสด็จฯ เยือนอินโดจีน (เวียดนาม) 3"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย '๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๓ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า...'
 
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๓ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาโดยรถยนต์พระที่นั่งถึงเมืองดาลัด ซึ่งตั้งบนภูเขาสูงแห่งเทือกเขาปันดารัง ในครั้งนั้น ทางการฝรั่งเศสได้จัดบ้านพักของกูแวร์เนอร์แห่งโคชินจีน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของ โอลด์ เฟรนซ์ วิลล่า ในปัจจุบัน ถวายแด่ทั้งสองพระองค์ จากนั้นเสด็จไปทอดพระเนตรทิวทัศน์ของเมืองดาลัด เช่นทะเลสาปซอนฮวาง ป่าสนรอบเมืองดาลัด ท่ามกลางอากาศเย็นเหมือนดังอยู่ในยุโรป ที่นี่เป็นเมืองที่ฝรั่งเศสส่งเสริมกิจการด้านกสิกรรมให้แก่ชาวเมือง ดังที่ในปัจจุบันเมืองดาลัดยังคงเป็นเมืองที่มีพื้นที่เพาะปลูกพืชผัก ผลไม้ สวนดอกไม้ และฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เหมือนดังที่เมื่อครั้งการเสด็จเยือนเมืองดาลัดในครั้งนั้น  
๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๓ [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]] ได้เสด็จพระราชดำเนินมาโดยรถยนต์พระที่นั่งถึงเมืองดาลัด ซึ่งตั้งบนภูเขาสูงแห่งเทือกเขาปันดารัง ในครั้งนั้น ทางการฝรั่งเศสได้จัดบ้านพักของกูแวร์เนอร์แห่งโคชินจีน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของ โอลด์ เฟรนซ์ วิลล่า ในปัจจุบัน ถวายแด่ทั้งสองพระองค์ จากนั้นเสด็จไปทอดพระเนตรทิวทัศน์ของเมืองดาลัด เช่นทะเลสาปซอนฮวาง ป่าสนรอบเมืองดาลัด ท่ามกลางอากาศเย็นเหมือนดังอยู่ในยุโรป ที่นี่เป็นเมืองที่ฝรั่งเศสส่งเสริมกิจการด้านกสิกรรมให้แก่ชาวเมือง ดังที่ในปัจจุบันเมืองดาลัดยังคงเป็นเมืองที่มีพื้นที่เพาะปลูกพืชผัก ผลไม้ สวนดอกไม้ และฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เหมือนดังที่เมื่อครั้งการเสด็จเยือนเมืองดาลัดในครั้งนั้น  


ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรแปลงผัก สวนดอกไม้ และฟาร์มเลี้ยงวัว เป็นที่สำราญพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง นอกจากธรรมชาติอันงดงามของเมืองดาลัดแล้ว ที่นี่ยังเคยเป็นถิ่นอาศัยของชนเผ่าโบราณ ที่ในบันทึกการเสด็จประพาสอินโดจีนครั้งนั้น เรียกว่า “ชาวม๊อย” หรือที่ชาวญวนเรียกว่า “ชาวลัด” ซึ่งแปลว่า “คนป่า” ชาวม๊อย เป็นชาติพันธ์เก่าแก่ที่อาศัยอยู่บนภูเขา ทางการฝรั่งเศสได้นำชาวม๊อยเหล่านี้มาเข้าเฝ้าทั้งสองพระองค์ และได้นำของพื้นเมืองมาทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวาย พร้อมแสดงการร่ายรำและการยิงหน้าไม้ให้ทั้งสองพระองค์ได้ทอดพระเนตรอีกด้วย
ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรแปลงผัก สวนดอกไม้ และฟาร์มเลี้ยงวัว เป็นที่สำราญพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง นอกจากธรรมชาติอันงดงามของเมืองดาลัดแล้ว ที่นี่ยังเคยเป็นถิ่นอาศัยของชนเผ่าโบราณ ที่ในบันทึกการเสด็จประพาสอินโดจีนครั้งนั้น เรียกว่า “ชาวม๊อย” หรือที่ชาวญวนเรียกว่า “ชาวลัด” ซึ่งแปลว่า “คนป่า” ชาวม๊อย เป็นชาติพันธ์เก่าแก่ที่อาศัยอยู่บนภูเขา ทางการฝรั่งเศสได้นำชาวม๊อยเหล่านี้มาเข้าเฝ้าทั้งสองพระองค์ และได้นำของพื้นเมืองมาทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวาย พร้อมแสดงการร่ายรำและการยิงหน้าไม้ให้ทั้งสองพระองค์ได้ทอดพระเนตรอีกด้วย
บรรทัดที่ 9: บรรทัดที่ 9:
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖


[[หมวดหมู่:พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ]]
*[https://www.youtube.com/watch?v=shGhU907lOU&list=PLz3ADrKTT5i0vjsCnIPrpraHExclR_Odo&index=75  YOU TUBE : ทางสายพระราชไมตรี : เสด็จฯ เยือนอินโดจีน (เวียดนาม) 3]
 
[[หมวดหมู่:พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ|ส]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:33, 10 กุมภาพันธ์ 2559

๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๓ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาโดยรถยนต์พระที่นั่งถึงเมืองดาลัด ซึ่งตั้งบนภูเขาสูงแห่งเทือกเขาปันดารัง ในครั้งนั้น ทางการฝรั่งเศสได้จัดบ้านพักของกูแวร์เนอร์แห่งโคชินจีน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของ โอลด์ เฟรนซ์ วิลล่า ในปัจจุบัน ถวายแด่ทั้งสองพระองค์ จากนั้นเสด็จไปทอดพระเนตรทิวทัศน์ของเมืองดาลัด เช่นทะเลสาปซอนฮวาง ป่าสนรอบเมืองดาลัด ท่ามกลางอากาศเย็นเหมือนดังอยู่ในยุโรป ที่นี่เป็นเมืองที่ฝรั่งเศสส่งเสริมกิจการด้านกสิกรรมให้แก่ชาวเมือง ดังที่ในปัจจุบันเมืองดาลัดยังคงเป็นเมืองที่มีพื้นที่เพาะปลูกพืชผัก ผลไม้ สวนดอกไม้ และฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เหมือนดังที่เมื่อครั้งการเสด็จเยือนเมืองดาลัดในครั้งนั้น

ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรแปลงผัก สวนดอกไม้ และฟาร์มเลี้ยงวัว เป็นที่สำราญพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง นอกจากธรรมชาติอันงดงามของเมืองดาลัดแล้ว ที่นี่ยังเคยเป็นถิ่นอาศัยของชนเผ่าโบราณ ที่ในบันทึกการเสด็จประพาสอินโดจีนครั้งนั้น เรียกว่า “ชาวม๊อย” หรือที่ชาวญวนเรียกว่า “ชาวลัด” ซึ่งแปลว่า “คนป่า” ชาวม๊อย เป็นชาติพันธ์เก่าแก่ที่อาศัยอยู่บนภูเขา ทางการฝรั่งเศสได้นำชาวม๊อยเหล่านี้มาเข้าเฝ้าทั้งสองพระองค์ และได้นำของพื้นเมืองมาทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวาย พร้อมแสดงการร่ายรำและการยิงหน้าไม้ให้ทั้งสองพระองค์ได้ทอดพระเนตรอีกด้วย

สถานที่ในความทรงจำจากการเสด็จอีกแห่งหนึ่ง คือ น้ำตกปองกัว ซึ่งอยู่ห่างจากดาลัตราว ๕๘ กิโลเมตร ที่นี่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ไว้อย่างงดงาม แสดงถึงความสวยงามทางธรรมชาติของเมืองดาลัต ที่ทำให้การเสด็จพระราชดำเนินเยือนในครั้งนั้น เป็นประวัติศาสตร์ความทรงจำที่มีคุณค่ามาจนถึงปัจจุบัน

ที่มา

บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖