ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฎเสนาธิการ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Tora (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: {{รอผู้ืทรง}} ---- '''ผู้เรียบเรียง''' จุฑามาศ และ รศ.ดร.นครินทร์ ...
 
Teeraphan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 7 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
{{รอผู้ืทรง}}
----
----


'''ผู้เรียบเรียง''' จุฑามาศ และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
'''ผู้เรียบเรียง''' จุฑามาศ และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์


----
----


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


----


การทำรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เป็นการยึดอำนาจของกลุ่มทหารจากรัฐบาลพลเรือนที่เข้ามาบริหารประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้การปกครองของประเทศไทยตกอยู่ภายใต้อำนาจของทหารยาวนานถึง 26 ปี แม้ว่าบางช่วงจะมีรัฐสภา มีระบบพรรคการเมือง แต่ก็อยู่ใต้การควบคุมของผู้มีอำนาจทางการทหาร และแม้จะมีการเปลี่ยนตัวผู้นำบ้างในบางช่วงแต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนกลุ่มผู้ครองอำนาจแต่อย่างใด ตั้งแต่สมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม จนมาถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนสิ้นสุดในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร จากเหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516  
การทำ[[รัฐประหาร]]ในวันที่ [[8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490]] เป็นการยึดอำนาจของกลุ่มทหารจากรัฐบาลพลเรือนที่เข้ามาบริหารประเทศหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ทำให้การปกครองของประเทศไทยตกอยู่ภายใต้อำนาจของทหารยาวนานถึง 26 ปี แม้ว่าบางช่วงจะมี[[รัฐสภา]] มีระบบ[[พรรคการเมือง]] แต่ก็อยู่ใต้การควบคุมของผู้มีอำนาจทางการทหาร และแม้จะมีการเปลี่ยนตัวผู้นำบ้างในบางช่วงแต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนกลุ่มผู้ครองอำนาจแต่อย่างใด ตั้งแต่สมัยของ[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] จนมาถึงสมัย[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] จนสิ้นสุดในสมัย[[ถนอม กิตติขจร|จอมพล ถนอม กิตติขจร]] จากเหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516<ref>โรม บุนนาค, คู่มือรัฐประหาร , กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2549, หน้า 91</ref>


==ความเป็นมา==


กบฏเสนาธิการ หรือ กบฏนายพล นี้ เป็นกระบวนการทางการเมืองที่เป็นผลผลิตของการต่อต้านนคณะรัฐประหาร พ.ศ.2490 ภายในกองทัพบกเอง โดยมีปัจจัยหลัก 2 ประการที่นำมาสู่การเคลื่อนไหวการกบฏ คือ ดุลอำนาจในกองทัพบก และ ปัจจัยทางด้านความคิดที่มีผลให้เกิดการเคลื่อนไหว  
'''กบฏเสนาธิการ''' หรือ '''กบฏนายพล''' นี้ เป็นกระบวนการทางการเมืองที่เป็นผลผลิตของการต่อต้าน[[รัฐประหาร พ.ศ. 2490|คณะรัฐประหาร พ.ศ.2490]] ภายในกองทัพบกเอง โดยมีปัจจัยหลัก 2 ประการที่นำมาสู่การเคลื่อนไหวการกบฏ คือ ดุลอำนาจในกองทัพบก และ ปัจจัยทางด้านความคิดที่มีผลให้เกิดการเคลื่อนไหว<ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย, พิมพ์ครั้งที่2, กรุงเทพฯ: พี.เพรส., 2550, หน้า 153.</ref>


ในด้านดุลอำนาจในกองทัพบก จะเห็นได้ว่าหลัง[[การยึดอำนาจ]] คณะรัฐประหารทำการประนีประนอมกับบรรดานายทหารระดับผู้บังคับบัญชาในขณะนั้น โดยมีการตั้งตำแหน่งผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทยขึ้น แล้วให้[[จอมพล แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]รับตำแหน่ง แต่ก็ยังคงให้ [[พลเอก อดุล อดุลเดชจรัส|พล.อ. อดุล อดุลเดชจรัส]] ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกต่อไป โดยคณะรัฐประหารมิได้ปลดออกจากตำแหน่งแต่อย่างใดและยังแต่งตั้งให้ พล.อ.อดุล รับตำแหน่ง[[อภิรัฐมนตรี]]ตาม[[รัฐธรรมนูญ]]อีกด้วย บรรดานายทหารในกลุ่มคณะรัฐประหารมิได้รับตำแหน่งสูงมากนักและยังต้องอาศัยการประสานกับทหารฝ่ายอื่นอยู่ไม่น้อยในการควบคุมกำลัง โดยที่ยังไม่มีอำนาจเต็มที่ในกองทัพบกแต่อย่างใด<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 154 – 155.</ref>


ในด้านดุลอำนาจในกองทัพบก จะเห็นได้ว่าหลังหารยึดอำนาจ คณะรัฐประหารทำการประนีประนอมกับบรรดานายทหารระดับผู้บังคับบัญชาในขณะนั้น โดยมีการตั้งตำแหน่งผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทยขึ้น แล้วให้จอมพล ป. พิบูลสงครามรับตำแหน่ง แต่ก็ยังคงให้ พ,. . อดุล อดุลเดชจรัส ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกต่อไป โดยคณะรัฐประหารมิได้ปลดออกจากตำแหน่งแต่อย่างใดและยังแต่งตั้งให้ พล..อดุล รับตำแหน่งอภิรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญอีกด้วย บรรดานายทหารในกลุ่มคณะรัฐประหารมิได้รับตำแหน่งสูงมากนักและยังต้องอาศัยการประสานกับทหารฝ่ายอื่นอยู่ไม่น้อยในการควบคุมกำลัง โดยที่ยังไม่มีอำนาจเต็มที่ในกองทัพบกแต่อย่างใด
จนกระทั่งเมื่อคณะรัฐประหารได้[[การจี้นายควง 6 เมษายน 2491|จี้รัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ออก]] และสถาปนาอำนาจของรัฐบาล[[จอมพล แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] ขึ้นแทน ความไม่พอใจในหมู่ทหารจึงได้เริ่มขึ้น และยิ่งเมื่อ พล.ท.กาจ กาจสงคราม รองผู้บัญชาการทหารบกและเม่ทัพกองทัพบกที่ 1 ดำเนินการก้าวก่ายการเมืองและเคลื่อนไหวทางทหารตามชอบ และเข้าไปเป็นกรรมการองค์การ อจส (องค์การจัดซื้อและขายสินค้า) นอกจากนี้ยังมีข่าวพัวพัน[[การทุจริต]] มีข่าวในด้านลบต่างๆ เช่น ข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับเงินรูปี จน พล.ท.กาจ กาจสงคราม ได้รับฉายาว่า '''“[[นายพลรูปี]]”''' ทั้งยังเป็นคนเขียนหนังสือเรื่องกรณีสวรรคตที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล จึงถูกดำเนินคดีข้อหาละเมิดอำนาจศาล ถูกปรับเป็นเงิน 200 บาท<ref>โรม บุนนาค, เรื่องเดิม, หน้า103 – 104.</ref>  รวมถึงการที่ [[ผิณ ชุณหะวัณ|พล..ผิน ชุณหะวัณ]] เข้าไปควบคุมองค์การทหารผ่านศึก และเริ่มเข้าไปพัวพันกับสัมปทานและการแสวงหาผลประโยชน์  สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจมากขึ้นว่าคณะรัฐประหารก็มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เช่นกัน และนำมาซึ่งความพยายามในการก่อการยึดอำนาจ<ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, เรื่องเดิม, หน้า 155.</ref>


ปัจจัยทางด้านความคิดนั้น นับว่าเป็นตัวแปรสำคัญอีกประการที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองในกลุ่มทหาร ทั้งนี้เนื่องจากในระยะที่รัฐบาล[[ระบอบประชาธิปไตย|ประชาธิปไตย]]พลเรือนบริหารประเทศระหว่าง พ.ศ.2487 – 2490 นั้น ได้มีการผลักดันแนวคิดแยกข้าราชการประจำออกจากการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการฝ่ายทหาร โดยเห็นว่า การที่ทหารเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง อาจะสนับสนุน[[ระบอบเผด็จการ|ลัทธิเผด็จการ]]ได้ นี่คือแนวคิดแบบที่เรียกว่า '''“ความคิดทหารอาชีพ”''' ซึ่งเผยแพร่อย่างมากในกองทัพ ทหารจะต้องปฏิบัติภารกิจที่จำเป็นของฝ่ายทหาร และต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง หรือถ้าหากจะเข้ารับตำแหน่งทางการเมืองก็จะต้องลาออกจากทหารประจำการก่อน  ซึ่งแนวคิดนี้ค่อนข้างจะสวนทางกับคณะรัฐประหารที่เห็นว่าทหารจะต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเมือง จะต้องเข้าแก้ไขและนำพาชาติในภาวะวิกฤต แนวคิดทั้ง 2 แนวนี้ดำรงอยู่ด้วยกันในกองทัพในช่วง พ.ศ. 2490 – 2491 และเป็นเหตุหนึ่งที่นำมาสู่การก่อกบฏเสนาธิการนี้ด้วย<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 158.</ref>


จนกระทั่งเมื่อคณะรัฐประหารได้จี้รัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ออก และสถาปนาอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นแทน ความไม่พอใจในหมู่ทหารจึงได้เริ่มขึ้น และยิ่งเมื่อ พล.ท.กาจ กาจสงคราม รองผู้บัญชาการทหารบกและเม่ทัพกองทัพบกที่ 1 ดำเนินการก้าวก่ายการเมืองและเคลื่อนไหวทางทหารตามชอบ และเข้าไปเป็นกรรมการองค์การ อจส (องค์การจัดซื้อและขายสินค้า) นอกจากนี้ยังมีข่าวพัวพันการทุจริต มีข่าวในด้านลบต่างๆ เช่น ข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับเงินรูปี จน พล.ท.กาจ กาจสงคราม ได้รับฉายาว่า “นายพลรูปี” ทั้งยังเป็นคนเขียนหนังสือเรื่องกรณีสวรรคตที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล จึงถูกดำเนินคดีข้อหาละเมิดอำนาจศาล ถูกปรับเป็นเงิน 200 บาท  รวมถึงการที่ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ เข้าไปควบคุมองค์การทหารผ่านศึก และเริ่มเข้าไปพัวพันกับสัมปทานและการแสวงหาผลประโยชน์  สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจมากขึ้นว่าคณะรัฐประหารก็มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เช่นกัน และนำมาซึ่งความพยายามในการก่อการยึดอำนาจ
==กลุ่มนายทหารร่วมการกบฎ==


นายทหารกลุ่มแรกในกองทัพบกที่ต่อต้านรัฐบาล[[จอมพล แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]และคณะรัฐประหารคือ นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ผู้นำของกลุ่มนี้คือ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต (หลวงศรานุชิต) รองเสนาธิการกลาโหม  พล.ต.เนตร เขมะโยธิน รองเสนาธิการทหารบก และ พล.ต.หลวงรณกรรมโกวิท (เพิ่ม ศิริวิสูตร) นายทหารประจำกรมเสนาธิการทหารบก ส่วนคนอื่นๆมักจะเป็นครูหรือนักเรียนในโรงเรียนเสนาธิการทหาร เช่น พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์  พ.อ.จรูญ สิทธิเดชะ  พ.อ.สงบ บุณยเกศานนท์ (ขุบสงบระงับศึก) เป็นต้น และยังมีนายทหารอื่นเข้าร่วม เช่น พ.อ.หลวงจิตรโยธี (จาด รัตนสถิตย์) พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม (โลม ศิริปาลกะ) และ พ.ท.พโยม จุลานนท์ (ส.ส.เพชรบุรี) เป็นต้น<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 156.</ref>


ปัจจัยทางด้านความคิดนั้น นับว่าเป็นตัวแปรสำคัญอีกประการที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองในกลุ่มทหาร ทั้งนี้เนื่องจากในระยะที่รัฐบาลประชาธิปไตยพลเรือนบริหารประเทศระหว่าง พ..2487 – 2490 นั้น ได้มีการผลักดันแนวคิดแยกข้าราชการประจำออกจากการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการฝ่ายทหาร โดยเห็นว่า การที่ทหารเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง อาจะสนับสนุนลัทธิเผด็จการได้ นี่คือแนวคิดแบบที่เรียกว่า “ความคิดทหารอาชีพ” ซึ่งเผยแพร่อย่างมากในกองทัพ ทหารจะต้องปฏิบัติภารกิจที่จำเป็นของฝ่ายทหาร และต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง หรือถ้าหากจะเข้ารับตำแหน่งทางการเมืองก็จะต้องลาออกจากทหารประจำการก่อน ซึ่งแนวคิดนี้ค่อนข้างจะสวนทางกับคณะรัฐประหารที่เห็นว่าทหารจะต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเมือง จะต้องเข้าแก้ไขและนำพาชาติในภาวะวิกฤต แนวคิดทั้ง 2 แนวนี้ดำรงอยู่ด้วยกันในกองทัพในช่วง พ.. 2490 – 2491 และเป็นเหตุหนึ่งที่นำมาสู่การก่อกบฏเสนาธิการนี้ด้วย
นายทหารในสายเสนาธิการนี้ มีลักษณะพิเศษที่ค่อนข้างแตกต่างจากทหารสายอื่น โดยจะมีลักษณะเป็นปัญญาชนและเป็นสายงานทหารที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในรัฐบาลพลเรือนของ[[ปรีดี พนมยงค์|นายปรีดี พนมยงค์]] และ [[ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์|พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์]] นายทหารสายเสนาธิการหลายคนจบการศึกษาจากต่างประเทศ เช่น พล.ท.จิร วิชิตสงคราม จบการศึกษาจากประเทศสหราชอาณาจักร ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมทุกสมัยในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ และ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์  พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต และ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน จบการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารจากฝรั่งเศส  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้นำทหารของเสนาธิการกับผู้นำของคณะรัฐประหาร จะเห็นความแตกต่างบางประการได้ชัด เพราะผู้นำของคณะรัฐประหารทั้ง น.อ.กาจ เก่งระดมยิง พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พ..สวัสดิ์ ส.สวัสเกียรติ พ.อ.หลวงสถิตยุทธการ พ.อ.เผ่า ศรียานนท์ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ พ.อ.ก้าน จำนงภูมิเวท ต่างไม่มีใครจบการศึกษาจากต่างประเทศ และมักเป็นนายทหารที่ก้าวหน้าในอาชีพด้วยแรงผลักดันทางการเมือง สภาพเช่นนี้ทำให้ลักษณะทางความคิดของนายทหารสองกลุ่มนี้แตกต่างกันด้วย เพราะในขณะที่นายทหารกลุ่มคณะรัฐประหารยึดมั่นในอุดมการณ์ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายทหารสายเสนาธิการอย่าง พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต มีทัศนคติโน้มเอียงไปในทางประชาธิปไตยของฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 159.</ref>


==สาเหตุการกบฎ==


นายทหารกลุ่มแรกในกองทัพบกที่ต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามและคณะรัฐประหารคือ นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ผู้นำของกลุ่มนี้คือ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต (หลวงศรานุชิต) รองเสนาธิการกลาโหม  พล.ต.เนตร เขมะโยธิน รองเสนาธิการทหารบก และ พล.ต.หลวงรณกรรมโกวิท (เพิ่ม ศิริวิสูตร) นายทหารประจำกรมเสนาธิการทหารบก ส่วนคนอื่นๆมักจะเป็นครูหรือนักเรียนในโรงเรียนเสนาธิการทหาร เช่น พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์  พ.อ.จรูญ สิทธิเดชะ  พ.อ.สงบ บุณยเกศานนท์ (ขุบสงบระงับศึก) เป็นต้น และยังมีนายทหารอื่นเข้าร่วม เช่น พ.อ.หลวงจิตรโยธี (จาด รัตนสถิตย์) พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม (โลม ศิริปาลกะ) และ พ.ท.พโยม จุลานนท์ (ส.ส.เพชรบุรี) เป็นต้น
เหตุผลหลักของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มนายทหารสายเสนาธิการอยู่ที่ การไม่ยอมรับการที่ฝ่ายคณะรัฐประหาร ออกมาสนับสนุนให้ทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และยังเห็นว่าการที่นายทหารผู้ใหญ่เข้าไป[[แทรกแซงทางการเมือง]]นั้นเป็นความเสื่อมโทรมของกองทัพ และไม่ต้องการให้กองทัพตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มใดๆ จึงได้คิดหาทางล้มอำนาจของคณะรัฐประหาร เพื่อให้ทหารทำหน้าที่ทหารแต่เพียงอย่างเดียว


==แผนการของกบฎเสนาธิการ==


นายทหารในสายเสนาธิการนี้ มีลักษณะพอเศษที่ค่อนข้างแตกต่างจากทหารสายอื่น โดยจะมีลักษณะเป็นปัญญาชนและเป็นสายงานทหารที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในรัฐบาลพลเรือนของ นายปรีดี พนมยงค์ และ พล...ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายทหารสายเสนาธิการหลายคนจบการศึกษาจากต่างประเทศ เช่น พล.ท.จิร วิชิตสงคราม จบการศึกษาจากประเทศสหราชอาณาจักร ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมทุกสมัยในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ และ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต และ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน จบการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารจากฝรั่งเศส  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้นำทหารของเสนาธิการกับผู้นำของคณะรัฐประหาร จะเห็นความแตกต่างบางประการได้ชัด เพราะผู้นำของคณะรัฐประหารทั้ง น.อ.กาจ เก่งระดมยิง พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พ.อ.สวัสดิ์ ส.สวัสเกียรติ พ.อ.หลวงสถิตยุทธการ พ.อ.เผ่า ศรียานนท์  พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ พ.อ.ก้าน จำนงภูมิเวท ต่างไม่มีใครจบการศึกษาจากต่างประเทศ และมักเป็นนายทหารที่ก้าวหน้าในอาชีพด้วยแรงผลักดันทางการเมือง สภาพเช่นนี้ทำให้ลักษณะทางความคิดของนายทหารสองกลุ่มนี้แตกต่างกันด้วย เพราะในขณะที่นายทหารกลุ่มคณะรัฐประหารยึดมั่นในอุดมการณ์ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายทหารสายเสนาธิการอย่าง พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต มีทัศนคติโน้มเอียงไปในทางประชาธิปไตยของฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์
แผนการของฝ่ายคณะเสนาธิการนั้น จะลงมือยึดอำนาจในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ซึ่งจะเป็นวันที่มีการฉลองงานมงคลสมรสระหว่าง พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับ น..วิจิตรา ชลทรัพย์ ซึ่งคนสำคัญในคณะรัฐประหารจะมารวมตัวกันที่ทำเนียบรัฐบาลและจะเป็นการง่ายแก่การจับกุม โดย พ.ท.พโยม จุลานนท์ ได้รับมอบหมายให้นำกำลังเข้าควบคุมตัว [[จอมพล แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] และ[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ส่วน พ.ต.เจริญ พงษ์พานิช รับหน้าที่จับกุมตัว พล.ต.หลวงสถิตยุทธการ เสนาธิการกองทัพที่ 1 และ พ.อ.บัญญัติ เทพหัสดินทร์ ผู้บัญชาการกรมทหารราบที่ 1 และกำลังอีกส่วนหนึ่งนำโดย พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์ จะบุกเข้ายึดกระทรวงกลาโหมเพื่อใช้เป็นกองบัญชาการใน[[การยึดอำนาจ]]<ref>เรียบเรียงจาก โรม บุนนาค, คู่มือรัฐประหาร , หน้า 104 – 105. และ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย, หน้า 163. </ref> 


อย่างไรก็ตาม การดำเนินการครั้งนี้ประสบความล้มเหลว แผนการต่างๆรั่วไหล ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งกำลังไปจับกุม พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์และกำลังส่วนใหญ่ของฝ่ายเสนาธิการได้ที่กระทรวงกลาโหมในคืนวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2491 ก่อนเวลาลงมือปฏิบัติการ และเช้าวันรุ่งขึ้นได้จับตัว พล.ต.หลวงรณกรรมโกวิท และ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม แต่ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พ.ท.พโยม จุลานนท์นั้นหนีรอดไปได้ จนกระทั่งวันที่ 25 ตุลาคม ก็สามารถตามจับกุมผู้ที่หลบหนีไปได้อีก 7 คน รวมทั้ง พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พ.ท.พโยม จุลานนท์ ส่งฟ้องศาลรวม 22 คน<ref>โรม บุนนาค, คู่มือรัฐประหาร, หน้า 105.</ref>  ศาลลงโทษจำคุก 3 ปี 9 ราย คือ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์  พ.อ.หลวงจิตรโยธี  พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม  พ.ท.ประสบ ฐิติวร  พ.ต.ชิน หงส์รัตน์  ร.อ.หิรัญ สมัครเสวี  ร.อ.สุรพันธ์ อิงคุลานนท์  ร.ท.บุญช่วย ศรีทองเกิด ส่วนที่เหลือได้รับการปล่อยตัวไป<ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย, หน้า 165.</ref>


เหตุผลหลักของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มนายทหารสายเสนาธิการอยู่ที่ การไม่ยอมรับการที่ฝ่ายคณะรัฐประหาร ออกมาสนับสนุนให้ทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และยังเห็นว่าการที่นายทหารผู้ใหญ่เข้าไปแทรกแซงทางการเมืองนั้นเป็นความเสื่อมโทรมของกองทัพ และไม่ต้องการให้กองทัพตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มใดๆ จึงได้คิดหาทางล้มอำนาจของคณะรัฐประหาร เพื่อให้ทหารทำหน้าที่ทหารแต่เพียงอย่างเดียว
==ผลกระทบ==


ผลของกบฏเสนาธิการที่มีต่อการเมืองของประเทศไม่รุนแรงนัก เพราะรัฐบาลสามารถจับตัวไดก่อนลงมือทำการ แต่อย่างไรก็ตาม กบฏครั้งนี้เปรียบเสมือนสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า คณะรัฐประหารเริ่มหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศแล้ว และแนวโน้มที่จะใช้กำลังทหารเพื่อการยึดอำนาจอาจเกิดขึ้นได้อีก ผลกระทบที่สำคัญของกบฏนี้คือ ทำให้ฝ่ายคณะรัฐประหารสามารถเข้าควบคุมอำนาจในกองทัพบกได้มากขึ้น นายทหารสายเสนาธิการที่เหลือตกอยู่ใต้การบังคับบัญชาของ พล.ต.เดช เดชประดิยุทธ์ นายทหารที่คณะรัฐประการไว้วางใจ นอกจากนี้ยังมีการเลื่อนเอาคนของฝ่ายคณะรัฐประหารมาแทนนายทหารระดับนายพันหลายคนที่ถูกปลดจากตำแหน่งอันเนื่องจากการก่อการ กองทัพบกต้องเสียนายทหารระดับหัวกะทิที่มีแนวโน้มประชาธิปไตยมากที่สุดในกองทัพไปในกบฏครั้งนี้ และทำให้กองทัพมีแนวโน้มไปในทางอนุรักษ์นิยมมากขึ้น<ref>เรื่องเดียวกัน , หน้าเดียวกัน.</ref>


แผนการของฝ่ายคณะเสนาธิการนั้น จะลงมือยึดอำนาจในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ซึ่งจะเป็นวันที่มีการฉลองงานมงคลสมรสระหว่าง พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับ น.ส.วิจิตรา ชลทรัพย์ ซึ่งคนสำคัญในคณะรัฐประหารจะมารวมตัวกันที่ทำเนียบรัฐบาลและจะเป็นการง่ายแก่การจับกุม โดย พ.ท.พโยม จุลานนท์ ได้รับมอบหมายให้นำกำลังเข้าควบคุมตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1  ส่วน พ.ต.เจริญ พงษ์พานิช รับหน้าที่จับกุมตัว พล.ต.หลวงสถิตยุทธการ เสนาธิการกองทัพที่ 1 และ พ.อ.บัญญัติ เทพหัสดินทร์ ผู้บัญชาการกรมทหารราบที่ 1 และกำลังอีกส่วนหนึ่งนำโดย พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์ จะบุกเข้ายึดกระทรวงกลาโหมเพื่อใช้เป็นกองบัญชาการในการยึดอำนาจ 
==อ้างอิง==
<references/>


==ดูเพิ่มเติม==


อย่างไรก็ตาม การดำเนินการครั้งนี้ประสบความล้มเหลว แผนการต่างๆรั่วไหล ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งกำลังไปจับกุม พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์และกำลังส่วนใหญ่ของฝ่ายเสนาธิการได้ที่กระทรวงกลาโหมในคืนวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2491 ก่อนเวลาลงมือปฏิบัติการ และเช้าวันรุ่งขึ้นได้จับตัว พล.ต.หลวงรณกรรมโกวิท และ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม แต่ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พ.ท.พโยม จุลานนท์นั้นหนีรอดไปได้ จนกระทั่งวันที่ 25 ตุลาคม ก็สามารถตามจับกุมผู้ที่หลบหนีไปได้อีก 7 คน รวมทั้ง พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พ.ท.พโยม จุลานนท์ ส่งฟ้องศาลรวม 22 คน  ศาลลงโทษจำคุก 3 ปี 9 ราย คือ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์  พ.อ.หลวงจิตรโยธี  พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม  พ.ท.ประสบ ฐิติวร  พ.ต.ชิน หงส์รัตน์  ร.อ.หิรัญ สมัครเสวี  ร.อ.สุรพันธ์ อิงคุลานนท์  ร.ท.บุญช่วย ศรีทองเกิด ส่วนที่เหลือได้รับการปล่อยตัวไป
*[[กบฎนายสิบ]]
 
 
ผลของกบฏเสนาธิการที่มีต่อการเมืองของประเทศไม่รุนแรงนัก เพราะรัฐบาลสามารถจับตัวไดก่อนลงมือทำการ แต่อย่างไรก็ตาม กบฏครั้งนี้เปรียบเสมือนสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า คณะรัฐประหารเริ่มหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศแล้ว และแนวโน้มที่จะใช้กำลังทหารเพื่อการยึดอำนาจอาจเกิดขึ้นได้อีก ผลกระทบที่สำคัญของกบฏนี้คือ ทำให้ฝ่ายคณะรัฐประหารสามารถเข้าควบคุมอำนาจในกองทัพบกได้มากขึ้น นายทหารสายเสนาธิการที่เหลือตกอยู่ใต้การบังคับบัญชาขิง พล.ต.เดช เดชประดิยุทธ์ นายทหารที่คณะรัฐประการไว้วางใจ นอกจากนี้ยังมีการเลื่อนเอาคนของฝ่ายคณะรัฐประหารมาแทนนายทหารระดับนายพันหลายคนที่ถูกปลดจากตำแหน่งอันเนื่องจากการก่อการ กองทัพบกต้องเสียนายทหารระดับหัวกะทิที่มีแนวโน้มประชาธิปไตยมากที่สุดในกองทัพไปในกบฏครั้งนี้ และทำให้กองทัพมีแนวโน้มไปในทางอนุรักษ์นิยมมากขึ้น
 


==อ้างอิง==
*[[กบฎแมนฮัตตัน]]
<references/>


==ดูเพิ่มเติม==
*[[กบฎพลเอกฉลาด หิรัญศิริ]]




[[category: กบฎ]]
[[หมวดหมู่:กบฏ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 17:02, 16 สิงหาคม 2556


ผู้เรียบเรียง จุฑามาศ และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


การทำรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เป็นการยึดอำนาจของกลุ่มทหารจากรัฐบาลพลเรือนที่เข้ามาบริหารประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้การปกครองของประเทศไทยตกอยู่ภายใต้อำนาจของทหารยาวนานถึง 26 ปี แม้ว่าบางช่วงจะมีรัฐสภา มีระบบพรรคการเมือง แต่ก็อยู่ใต้การควบคุมของผู้มีอำนาจทางการทหาร และแม้จะมีการเปลี่ยนตัวผู้นำบ้างในบางช่วงแต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนกลุ่มผู้ครองอำนาจแต่อย่างใด ตั้งแต่สมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม จนมาถึงสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนสิ้นสุดในสมัยจอมพล ถนอม กิตติขจร จากเหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516[1]

ความเป็นมา

กบฏเสนาธิการ หรือ กบฏนายพล นี้ เป็นกระบวนการทางการเมืองที่เป็นผลผลิตของการต่อต้านคณะรัฐประหาร พ.ศ.2490 ภายในกองทัพบกเอง โดยมีปัจจัยหลัก 2 ประการที่นำมาสู่การเคลื่อนไหวการกบฏ คือ ดุลอำนาจในกองทัพบก และ ปัจจัยทางด้านความคิดที่มีผลให้เกิดการเคลื่อนไหว[2]

ในด้านดุลอำนาจในกองทัพบก จะเห็นได้ว่าหลังการยึดอำนาจ คณะรัฐประหารทำการประนีประนอมกับบรรดานายทหารระดับผู้บังคับบัญชาในขณะนั้น โดยมีการตั้งตำแหน่งผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทยขึ้น แล้วให้จอมพล ป. พิบูลสงครามรับตำแหน่ง แต่ก็ยังคงให้ พล.อ. อดุล อดุลเดชจรัส ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกต่อไป โดยคณะรัฐประหารมิได้ปลดออกจากตำแหน่งแต่อย่างใดและยังแต่งตั้งให้ พล.อ.อดุล รับตำแหน่งอภิรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญอีกด้วย บรรดานายทหารในกลุ่มคณะรัฐประหารมิได้รับตำแหน่งสูงมากนักและยังต้องอาศัยการประสานกับทหารฝ่ายอื่นอยู่ไม่น้อยในการควบคุมกำลัง โดยที่ยังไม่มีอำนาจเต็มที่ในกองทัพบกแต่อย่างใด[3]

จนกระทั่งเมื่อคณะรัฐประหารได้จี้รัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ออก และสถาปนาอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นแทน ความไม่พอใจในหมู่ทหารจึงได้เริ่มขึ้น และยิ่งเมื่อ พล.ท.กาจ กาจสงคราม รองผู้บัญชาการทหารบกและเม่ทัพกองทัพบกที่ 1 ดำเนินการก้าวก่ายการเมืองและเคลื่อนไหวทางทหารตามชอบ และเข้าไปเป็นกรรมการองค์การ อจส (องค์การจัดซื้อและขายสินค้า) นอกจากนี้ยังมีข่าวพัวพันการทุจริต มีข่าวในด้านลบต่างๆ เช่น ข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับเงินรูปี จน พล.ท.กาจ กาจสงคราม ได้รับฉายาว่า นายพลรูปี ทั้งยังเป็นคนเขียนหนังสือเรื่องกรณีสวรรคตที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล จึงถูกดำเนินคดีข้อหาละเมิดอำนาจศาล ถูกปรับเป็นเงิน 200 บาท[4] รวมถึงการที่ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ เข้าไปควบคุมองค์การทหารผ่านศึก และเริ่มเข้าไปพัวพันกับสัมปทานและการแสวงหาผลประโยชน์ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจมากขึ้นว่าคณะรัฐประหารก็มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เช่นกัน และนำมาซึ่งความพยายามในการก่อการยึดอำนาจ[5]

ปัจจัยทางด้านความคิดนั้น นับว่าเป็นตัวแปรสำคัญอีกประการที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองในกลุ่มทหาร ทั้งนี้เนื่องจากในระยะที่รัฐบาลประชาธิปไตยพลเรือนบริหารประเทศระหว่าง พ.ศ.2487 – 2490 นั้น ได้มีการผลักดันแนวคิดแยกข้าราชการประจำออกจากการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการฝ่ายทหาร โดยเห็นว่า การที่ทหารเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง อาจะสนับสนุนลัทธิเผด็จการได้ นี่คือแนวคิดแบบที่เรียกว่า “ความคิดทหารอาชีพ” ซึ่งเผยแพร่อย่างมากในกองทัพ ทหารจะต้องปฏิบัติภารกิจที่จำเป็นของฝ่ายทหาร และต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง หรือถ้าหากจะเข้ารับตำแหน่งทางการเมืองก็จะต้องลาออกจากทหารประจำการก่อน ซึ่งแนวคิดนี้ค่อนข้างจะสวนทางกับคณะรัฐประหารที่เห็นว่าทหารจะต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเมือง จะต้องเข้าแก้ไขและนำพาชาติในภาวะวิกฤต แนวคิดทั้ง 2 แนวนี้ดำรงอยู่ด้วยกันในกองทัพในช่วง พ.ศ. 2490 – 2491 และเป็นเหตุหนึ่งที่นำมาสู่การก่อกบฏเสนาธิการนี้ด้วย[6]

กลุ่มนายทหารร่วมการกบฎ

นายทหารกลุ่มแรกในกองทัพบกที่ต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามและคณะรัฐประหารคือ นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ผู้นำของกลุ่มนี้คือ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต (หลวงศรานุชิต) รองเสนาธิการกลาโหม พล.ต.เนตร เขมะโยธิน รองเสนาธิการทหารบก และ พล.ต.หลวงรณกรรมโกวิท (เพิ่ม ศิริวิสูตร) นายทหารประจำกรมเสนาธิการทหารบก ส่วนคนอื่นๆมักจะเป็นครูหรือนักเรียนในโรงเรียนเสนาธิการทหาร เช่น พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์ พ.อ.จรูญ สิทธิเดชะ พ.อ.สงบ บุณยเกศานนท์ (ขุบสงบระงับศึก) เป็นต้น และยังมีนายทหารอื่นเข้าร่วม เช่น พ.อ.หลวงจิตรโยธี (จาด รัตนสถิตย์) พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม (โลม ศิริปาลกะ) และ พ.ท.พโยม จุลานนท์ (ส.ส.เพชรบุรี) เป็นต้น[7]

นายทหารในสายเสนาธิการนี้ มีลักษณะพิเศษที่ค่อนข้างแตกต่างจากทหารสายอื่น โดยจะมีลักษณะเป็นปัญญาชนและเป็นสายงานทหารที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในรัฐบาลพลเรือนของนายปรีดี พนมยงค์ และ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายทหารสายเสนาธิการหลายคนจบการศึกษาจากต่างประเทศ เช่น พล.ท.จิร วิชิตสงคราม จบการศึกษาจากประเทศสหราชอาณาจักร ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมทุกสมัยในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ และ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต และ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน จบการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารจากฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้นำทหารของเสนาธิการกับผู้นำของคณะรัฐประหาร จะเห็นความแตกต่างบางประการได้ชัด เพราะผู้นำของคณะรัฐประหารทั้ง น.อ.กาจ เก่งระดมยิง พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พ.อ.สวัสดิ์ ส.สวัสเกียรติ พ.อ.หลวงสถิตยุทธการ พ.อ.เผ่า ศรียานนท์ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ พ.อ.ก้าน จำนงภูมิเวท ต่างไม่มีใครจบการศึกษาจากต่างประเทศ และมักเป็นนายทหารที่ก้าวหน้าในอาชีพด้วยแรงผลักดันทางการเมือง สภาพเช่นนี้ทำให้ลักษณะทางความคิดของนายทหารสองกลุ่มนี้แตกต่างกันด้วย เพราะในขณะที่นายทหารกลุ่มคณะรัฐประหารยึดมั่นในอุดมการณ์ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายทหารสายเสนาธิการอย่าง พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต มีทัศนคติโน้มเอียงไปในทางประชาธิปไตยของฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์[8]

สาเหตุการกบฎ

เหตุผลหลักของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มนายทหารสายเสนาธิการอยู่ที่ การไม่ยอมรับการที่ฝ่ายคณะรัฐประหาร ออกมาสนับสนุนให้ทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และยังเห็นว่าการที่นายทหารผู้ใหญ่เข้าไปแทรกแซงทางการเมืองนั้นเป็นความเสื่อมโทรมของกองทัพ และไม่ต้องการให้กองทัพตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มใดๆ จึงได้คิดหาทางล้มอำนาจของคณะรัฐประหาร เพื่อให้ทหารทำหน้าที่ทหารแต่เพียงอย่างเดียว

แผนการของกบฎเสนาธิการ

แผนการของฝ่ายคณะเสนาธิการนั้น จะลงมือยึดอำนาจในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ซึ่งจะเป็นวันที่มีการฉลองงานมงคลสมรสระหว่าง พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับ น.ส.วิจิตรา ชลทรัพย์ ซึ่งคนสำคัญในคณะรัฐประหารจะมารวมตัวกันที่ทำเนียบรัฐบาลและจะเป็นการง่ายแก่การจับกุม โดย พ.ท.พโยม จุลานนท์ ได้รับมอบหมายให้นำกำลังเข้าควบคุมตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ส่วน พ.ต.เจริญ พงษ์พานิช รับหน้าที่จับกุมตัว พล.ต.หลวงสถิตยุทธการ เสนาธิการกองทัพที่ 1 และ พ.อ.บัญญัติ เทพหัสดินทร์ ผู้บัญชาการกรมทหารราบที่ 1 และกำลังอีกส่วนหนึ่งนำโดย พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์ จะบุกเข้ายึดกระทรวงกลาโหมเพื่อใช้เป็นกองบัญชาการในการยึดอำนาจ[9]

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการครั้งนี้ประสบความล้มเหลว แผนการต่างๆรั่วไหล ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งกำลังไปจับกุม พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์และกำลังส่วนใหญ่ของฝ่ายเสนาธิการได้ที่กระทรวงกลาโหมในคืนวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2491 ก่อนเวลาลงมือปฏิบัติการ และเช้าวันรุ่งขึ้นได้จับตัว พล.ต.หลวงรณกรรมโกวิท และ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม แต่ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พ.ท.พโยม จุลานนท์นั้นหนีรอดไปได้ จนกระทั่งวันที่ 25 ตุลาคม ก็สามารถตามจับกุมผู้ที่หลบหนีไปได้อีก 7 คน รวมทั้ง พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พ.ท.พโยม จุลานนท์ ส่งฟ้องศาลรวม 22 คน[10] ศาลลงโทษจำคุก 3 ปี 9 ราย คือ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์ พ.อ.หลวงจิตรโยธี พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม พ.ท.ประสบ ฐิติวร พ.ต.ชิน หงส์รัตน์ ร.อ.หิรัญ สมัครเสวี ร.อ.สุรพันธ์ อิงคุลานนท์ ร.ท.บุญช่วย ศรีทองเกิด ส่วนที่เหลือได้รับการปล่อยตัวไป[11]

ผลกระทบ

ผลของกบฏเสนาธิการที่มีต่อการเมืองของประเทศไม่รุนแรงนัก เพราะรัฐบาลสามารถจับตัวไดก่อนลงมือทำการ แต่อย่างไรก็ตาม กบฏครั้งนี้เปรียบเสมือนสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า คณะรัฐประหารเริ่มหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศแล้ว และแนวโน้มที่จะใช้กำลังทหารเพื่อการยึดอำนาจอาจเกิดขึ้นได้อีก ผลกระทบที่สำคัญของกบฏนี้คือ ทำให้ฝ่ายคณะรัฐประหารสามารถเข้าควบคุมอำนาจในกองทัพบกได้มากขึ้น นายทหารสายเสนาธิการที่เหลือตกอยู่ใต้การบังคับบัญชาของ พล.ต.เดช เดชประดิยุทธ์ นายทหารที่คณะรัฐประการไว้วางใจ นอกจากนี้ยังมีการเลื่อนเอาคนของฝ่ายคณะรัฐประหารมาแทนนายทหารระดับนายพันหลายคนที่ถูกปลดจากตำแหน่งอันเนื่องจากการก่อการ กองทัพบกต้องเสียนายทหารระดับหัวกะทิที่มีแนวโน้มประชาธิปไตยมากที่สุดในกองทัพไปในกบฏครั้งนี้ และทำให้กองทัพมีแนวโน้มไปในทางอนุรักษ์นิยมมากขึ้น[12]

อ้างอิง

  1. โรม บุนนาค, คู่มือรัฐประหาร , กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2549, หน้า 91
  2. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย, พิมพ์ครั้งที่2, กรุงเทพฯ: พี.เพรส., 2550, หน้า 153.
  3. เรื่องเดียวกัน, หน้า 154 – 155.
  4. โรม บุนนาค, เรื่องเดิม, หน้า103 – 104.
  5. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, เรื่องเดิม, หน้า 155.
  6. เรื่องเดียวกัน, หน้า 158.
  7. เรื่องเดียวกัน, หน้า 156.
  8. เรื่องเดียวกัน, หน้า 159.
  9. เรียบเรียงจาก โรม บุนนาค, คู่มือรัฐประหาร , หน้า 104 – 105. และ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย, หน้า 163.
  10. โรม บุนนาค, คู่มือรัฐประหาร, หน้า 105.
  11. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย, หน้า 165.
  12. เรื่องเดียวกัน , หน้าเดียวกัน.

ดูเพิ่มเติม