ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลักการแบ่งอำนาจ"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
==ความหมายของหลักการแบ่งอำนาจ== | ==ความหมายของหลักการแบ่งอำนาจ== | ||
หลักการแบ่งอำนาจ (Deconcentration) หมายถึง หลักการบริหารราชการที่หน่วยงาน[[ราชการส่วนกลาง]]ได้แบ่งและมอบอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการบางส่วนให้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานบริหารราชการส่วนกลางบางส่วน ให้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานบริหารราชการส่วนกลางที่เป็นตัวแทนไปปฏิบัติงานประจำในเขต[[การปกครองส่วนภูมิภาค]]ต่างๆของประเทศเพื่อดำเนินการงานในกิจการบางอย่างที่ไม่ได้เกี่ยวกับประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสียของส่วนรวมได้ตามระเบียบแบบแผนที่กำหนดไว้ | หลักการแบ่งอำนาจ (Deconcentration) หมายถึง หลักการบริหารราชการที่หน่วยงาน[[ราชการส่วนกลาง]]ได้แบ่งและมอบอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการบางส่วนให้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานบริหารราชการส่วนกลางบางส่วน ให้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานบริหารราชการส่วนกลางที่เป็นตัวแทนไปปฏิบัติงานประจำในเขต[[การปกครองส่วนภูมิภาค]]ต่างๆของประเทศเพื่อดำเนินการงานในกิจการบางอย่างที่ไม่ได้เกี่ยวกับประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสียของส่วนรวมได้ตามระเบียบแบบแผนที่กำหนดไว้<ref>จักรพันธุ์ วงษ์บูรณาวาทย์, การบริหารราชการไทย (เชียงใหม่: ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541), หน้า 48 . </ref> | ||
การแบ่งอำนาจการปกครองจึงเป็นการที่ราชการบริหารส่วนกลางแบ่งอำนาจหน้าที่ที่เป็นของราชการส่วนกลางบางส่วนให้เจ้าหน้าที่ส่วนกลางที่ส่งไปประจำยังราชการส่วนภูมิภาค แต่เจ้าหน้าที่ที่ส่งไปประจำราชการส่วนภูมิภาคนั้น ผู้แต่งตั้งและมีอำนาจในการบังคับบัญชายังเป็นราชการส่วนกลาง | |||
การแบ่งอำนาจการปกครองจึงเป็นการที่ราชการบริหารส่วนกลางแบ่งอำนาจหน้าที่ที่เป็นของราชการส่วนกลางบางส่วนให้เจ้าหน้าที่ส่วนกลางที่ส่งไปประจำยังราชการส่วนภูมิภาค แต่เจ้าหน้าที่ที่ส่งไปประจำราชการส่วนภูมิภาคนั้น ผู้แต่งตั้งและมีอำนาจในการบังคับบัญชายังเป็นราชการส่วนกลาง<ref>มานิตย์ จุมปา, คำอธิบายกฎหมายปกครองว่าด้วยการจัดระเบียบราชการบริหาร, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548), หน้า 4. </ref> | |||
==หลักการแบ่งอำนาจ== | ==หลักการแบ่งอำนาจ<ref>วิรัช วิรัชนิภาวรรณ , ผู้ว่าราชการจังหวัดไทย: วิเคราะห์เปรียบเทียบกับผู้ว่าราชการจังหวัดของ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541), หน้า 56. </ref>== | ||
1) เป็นการแบ่งอำนาจการปกครองจากส่วนกลางให้แก่ผู้แทนของหน่วยงาน[[ส่วนกลาง]]ที่ไปประจำในหน่วยงานส่วนภูมิภาค แต่ไม่ใช่เป็นการกระจายอำนาจการปกครอง | 1) เป็นการแบ่งอำนาจการปกครองจากส่วนกลางให้แก่ผู้แทนของหน่วยงาน[[ส่วนกลาง]]ที่ไปประจำในหน่วยงานส่วนภูมิภาค แต่ไม่ใช่เป็นการกระจายอำนาจการปกครอง | ||
บรรทัดที่ 51: | บรรทัดที่ 52: | ||
'''จังหวัด''' | '''จังหวัด''' | ||
พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534 ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งจังหวัด โดยรวมอำเภอหลายๆอำเภอจัดตั้งเป็นจังหวัดและมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยเป็นผู้นำภารกิจของรัฐและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐมอบหมาย | พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534 ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งจังหวัด โดยรวมอำเภอหลายๆอำเภอจัดตั้งเป็นจังหวัดและมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยเป็นผู้นำภารกิจของรัฐและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐมอบหมาย<ref>มาตรา 52 และ 52/1 พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534 .</ref> | ||
[[ผู้ว่าราชการจังหวัด]]เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ เป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจาก[[นายกรัฐมนตรี]]ในฐานะ[[หัวหน้ารัฐบาล]] [[คณะรัฐมนตรี]] [[กระทรวง]] [[ทบวง]] [[กรม]] มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน | [[ผู้ว่าราชการจังหวัด]]เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ เป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจาก[[นายกรัฐมนตรี]]ในฐานะ[[หัวหน้ารัฐบาล]] [[คณะรัฐมนตรี]] [[กระทรวง]] [[ทบวง]] [[กรม]] มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน<ref>มาตรา 54 พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534 . </ref> | ||
อำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัด | อำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัด | ||
บรรทัดที่ 98: | บรรทัดที่ 99: | ||
ในอดีตยังมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น[[กิ่งอำเภอ]]ในกรณีที่เขตอำเภอกว้างขวางแต่จำนวนประชาชนยังไม่มากพอที่จะตั้งเป็นอำเภอ ตามมาตรา 64 แห่ง[[พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457]] โดยมี ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ รับผิดชอบในการบริหารราชการ ต่อมาได้มีการออก[[พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอ พ.ศ.2550]] ยกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอทั้งหมด ตามประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]] เล่มที่ 124 ตอนที่ 46 ก หน้า 14 ปัจจุบันประเทศไทยจึงไม่มีเขตการปกครองในระดับกิ่งอำเภอ | ในอดีตยังมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น[[กิ่งอำเภอ]]ในกรณีที่เขตอำเภอกว้างขวางแต่จำนวนประชาชนยังไม่มากพอที่จะตั้งเป็นอำเภอ ตามมาตรา 64 แห่ง[[พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457]] โดยมี ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ รับผิดชอบในการบริหารราชการ ต่อมาได้มีการออก[[พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอ พ.ศ.2550]] ยกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอทั้งหมด ตามประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]] เล่มที่ 124 ตอนที่ 46 ก หน้า 14 ปัจจุบันประเทศไทยจึงไม่มีเขตการปกครองในระดับกิ่งอำเภอ | ||
==อ้างอิง== | |||
<references/> | |||
==หนังสืออ่านประกอบ== | ==หนังสืออ่านประกอบ== |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:59, 8 ธันวาคม 2557
เรียบเรียงโดย : อาจารย์บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล
ความหมายของหลักการแบ่งอำนาจ
หลักการแบ่งอำนาจ (Deconcentration) หมายถึง หลักการบริหารราชการที่หน่วยงานราชการส่วนกลางได้แบ่งและมอบอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการบางส่วนให้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานบริหารราชการส่วนกลางบางส่วน ให้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานบริหารราชการส่วนกลางที่เป็นตัวแทนไปปฏิบัติงานประจำในเขตการปกครองส่วนภูมิภาคต่างๆของประเทศเพื่อดำเนินการงานในกิจการบางอย่างที่ไม่ได้เกี่ยวกับประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสียของส่วนรวมได้ตามระเบียบแบบแผนที่กำหนดไว้[1]
การแบ่งอำนาจการปกครองจึงเป็นการที่ราชการบริหารส่วนกลางแบ่งอำนาจหน้าที่ที่เป็นของราชการส่วนกลางบางส่วนให้เจ้าหน้าที่ส่วนกลางที่ส่งไปประจำยังราชการส่วนภูมิภาค แต่เจ้าหน้าที่ที่ส่งไปประจำราชการส่วนภูมิภาคนั้น ผู้แต่งตั้งและมีอำนาจในการบังคับบัญชายังเป็นราชการส่วนกลาง[2]
หลักการแบ่งอำนาจ[3]
1) เป็นการแบ่งอำนาจการปกครองจากส่วนกลางให้แก่ผู้แทนของหน่วยงานส่วนกลางที่ไปประจำในหน่วยงานส่วนภูมิภาค แต่ไม่ใช่เป็นการกระจายอำนาจการปกครอง
2) การบังคับบัญชายังอยู่ภายใต้อำนาจของหน่วยงานส่วนกลาง โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตั้งถอดถอน กฎเกณฑ์ที่ส่วนกลางเป็นผู้กำหนด อำนาจในการบังคับบัญชาที่ส่วนกลางยังเป็นผู้รับผิดชอบ
3) หน่วยงานที่ได้รับอำนาจจากส่วนกลางมีอำนาจวินิจฉัยสั่งการเพียงบางเรื่องเท่านั้นหน่วยราชการส่วนกลางยังมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขและเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย
4) เขตพื้นที่ของการแบ่งอำนาจการปกครองจะมีทั้งในชุมชนเมืองและชนบทยกเว้นเขตพื้นที่ของเมืองหลวง
5) การแบ่งอำนาจจะไม่มีข้าราชการเมืองและไม่มีการเลือกตั้ง เป็นการบริหารแบบข้าราชการประจำ เป็นไปตามสายการบังคับบัญชา และเป็นการแต่งตั้งจากส่วนกลาง
6) รูปแบบการแบ่งอำนาจการปกครองมีวิวัฒนาการจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่พระมหากษัตริย์ส่งข้าราชการออกไปปฏิบัติราชการต่างพระเนตรพระกรรณตามหัวเมืองต่างๆ
7) ปัจจุบันรูปแบบการแบ่งอำนาจการปกครองค่อยๆลดบทบาทลง เพราะประเทศที่ปกครองครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมักจะใช้หลักการกระจายอำนาจการปกครอง
ข้อดีของการแบ่งอำนาจ
1) เกิดประสิทธิภาพในการปกครอง การแบ่งอำนาจเป็นการแบ่งอำนาจจากส่วนกลาง อำนาจในการบังคับบัญชาเป็นอำนาจจากส่วนกลาง ทำให้การจัดการปกครองเป็นไปโดยทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
2) การแบ่งอำนาจทำให้การนำนโยบายไปปฏิบัติของรัฐบาลไปสู่ภูมิภาคต่างๆโดยตรง ซึ่งวิธีการแบ่งอำนาจนั้นเป็นการขยายงานของรัฐบาล หรือการแบ่งสาขาของรัฐบาลออกไปในระดับต่างๆ มีผลทำให้นโยบายของรัฐบาลได้ถูกนำไปปฏิบัติโดยตัวแทนของรัฐบาลโดยตรง
3) การแบ่งอำนาจทำให้เกิดการปฏิบัติราชการที่สะดวกรวดเร็วขึ้น เพราะหน่วยราชการได้รับมอบอำนาจในการตัดสินใจจากส่วนกลาง ทำให้ขั้นตอนการตัดสินใจลดลง
4) เป็นการแบ่งเบาภาระในการบริหารราชการของราชการส่วนกลาง
5) ผู้ตัดสินใจอยู่ในพื้นที่ ใกล้ชิดกับสภาพปัญหา ทำให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
6) มีการประสานงานของส่วนราชการในระดับภูมิภาค เพราะอยู่ในพื้นที่และมีความสัมพันธ์ในระดับใกล้ชิด ทำให้การบริหารราชการเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ข้อเสียของการแบ่งอำนาจ
1) การแบ่งอำนาจเป็นการมอบอำนาจจากส่วนกลางเพียงบางส่วน ทำให้ในบางกรณีที่เกินอำนาจของส่วนราชการในระดับภูมิภาค ต้องให้ส่วนกลางเป็นผู้วินิจฉัยสั่งการหรืออนุมัติ ทำให้เกิดความล่าช้าหรือแก้ไขปัญหาได้ไม่ทันการณ์
2) ข้าราชการในส่วนภูมิภาคมาตามการแต่งตั้งของส่วนกลาง ในบางกรณี การที่ไม่ใช่คนที่อยู่ในพื้นที่ทำให้ไม่เข้าใจสภาพปัญหา สภาพสังคมและวัฒนธรรม กลายเป็นอุปสรรคปัญหาในการปฏิบัติราชการ
3) ไม่ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
4) หลักการแบ่งอำนาจ คือหลักการที่ใช้ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค (Provincial Administration) เป็นการบริหารราชการที่ราชการส่วนกลางได้แบ่งอำนาจไปให้แก่หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 51 ได้บัญญัติให้การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคไว้สองรูปแบบคือ จังหวัดและอำเภอ
จังหวัด
พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534 ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งจังหวัด โดยรวมอำเภอหลายๆอำเภอจัดตั้งเป็นจังหวัดและมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยเป็นผู้นำภารกิจของรัฐและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐมอบหมาย[4]
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ เป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน[5]
อำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัด
พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534 มาตรา 57 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
1) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
2) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
3) บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวงในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรีหรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
4) กำกับดูแลการปฏิบัติราชการอันมิใช่ราชการส่วนภูมิภาคของข้าราชการซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดนั้น ยกเว้นข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และข้าราชการครู ให้ปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีหรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ของข้าราชการในจังหวัดที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราวแล้วรายงานกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง
5) ประสานงานและร่วมมือกับข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และข้าราชการครู ผู้ตรวจราชการและหัวหน้าส่วนราชการในระดับเขตหรือภาค ในการพัฒนาจังหวัดหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
6) เสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้องตามโครงการหรือแผนพัฒนาจังหวัด และรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
7) ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตามกฎหมาย
8) กำกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ในการนี้ให้มีอำนาจทำรายงานหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
9) บรรจุ แต่งตั้ง ให้บำเหน็จ และลงโทษข้าราชการในส่วนภูมิภาคในจังหวัดตามกฎหมาย และตามที่ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง หรืออธิบดีมอบหมาย
การแบ่งส่วนราชการในจังหวัด
พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534 มาตรา 60 ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัดดังนี้
1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้น มีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
อำเภอ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534 มาตรา 61 ได้บัญญัติให้มีหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดเรียกว่าอำเภอ การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนเขตอำเภอ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
1) อํานาจและหน้าที่เช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ของจังหวัดตามมาตรา 52/1
2) ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการบริการร่วมกันของหน่วยงานของรัฐในลักษณะศูนย์บริการร่วม
3) ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อร่วมมือกับชุมชนในการดําเนินการให้มีแผนชุมชน เพื่อรองรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัด และกระทรวง ทบวง กรม
4) ไกล่เกลี่ยหรือจัดให้มีการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม
ในอดีตยังมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นกิ่งอำเภอในกรณีที่เขตอำเภอกว้างขวางแต่จำนวนประชาชนยังไม่มากพอที่จะตั้งเป็นอำเภอ ตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 โดยมี ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ รับผิดชอบในการบริหารราชการ ต่อมาได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอ พ.ศ.2550 ยกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอทั้งหมด ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 46 ก หน้า 14 ปัจจุบันประเทศไทยจึงไม่มีเขตการปกครองในระดับกิ่งอำเภอ
อ้างอิง
- ↑ จักรพันธุ์ วงษ์บูรณาวาทย์, การบริหารราชการไทย (เชียงใหม่: ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541), หน้า 48 .
- ↑ มานิตย์ จุมปา, คำอธิบายกฎหมายปกครองว่าด้วยการจัดระเบียบราชการบริหาร, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548), หน้า 4.
- ↑ วิรัช วิรัชนิภาวรรณ , ผู้ว่าราชการจังหวัดไทย: วิเคราะห์เปรียบเทียบกับผู้ว่าราชการจังหวัดของ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541), หน้า 56.
- ↑ มาตรา 52 และ 52/1 พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534 .
- ↑ มาตรา 54 พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534 .
หนังสืออ่านประกอบ
ธันยวัฒน์ รัตนสัค, การบริหารราชการไทย, (เชียงใหม่ : สำนักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555).
มานิตย์ จุมปา, คำอธิบายกฎหมายปกครองว่าด้วยการจัดระเบียบราชการบริหาร, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548).