|
|
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน) |
บรรทัดที่ 1: |
บรรทัดที่ 1: |
| เรียบเรียงโดย : อาจารย์บุญยเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ
| |
|
| |
|
| ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล
| | *[[หัวเมืองประเทศราช_(โดม_ไกรปกรณ์)|หัวเมืองประเทศราช (โดม ไกรปกรณ์)]] |
| ----
| | *[[หัวเมืองประเทศราช_(บุญยเกียรติ_การะเวกพันธุ์_และคณะ)|หัวเมืองประเทศราช (บุญยเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ)]] |
|
| |
|
| ==ความหมายของหัวเมืองประเทศราช==
| | |
| | |
| หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานี อยู่นอกพระราชอาณาเขต มีการปกครองที่เป็นอิสระเป็นของตนเอง เมืองเหล่านี้มีรูปแบบการปกครองตามวัฒนธรรมเดิมของตน เจ้าผู้ปกครองมีสิทธิ์ขาดในการปกครองดินแดนของตน แต่ต้องแสดงตนว่ายอมอ่อนน้อมหรือยอมเป็นเมืองประเทศราช โดยการส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนดเป็นการแสดงความจงรักภักดี ต้องส่งส่วยและเมื่อเกิดศึกสงครามก็ส่งกำลังและเสบียงอาหารมาช่วยราชธานี หัวเมืองประเทศราชที่สำคัญของไทย เช่น เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน น่าน แพร่ มลายู ลาวและกัมพูชา
| |
| | |
| ==การแบ่งหัวเมืองในสมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น==
| |
|
| |
| การจัดการปกครองในสมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ตามลำดับความสำคัญของเมือง โดยการแบ่งหัวเมืองเช่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระบอบการปกครอง จัดความสัมพันธ์ระหว่างหัวเมืองกับเมืองหลวง เพราะรัฐไม่มีกำลังทหารเพียงพอที่จะไปปกครองโดยตรง
| |
|
| |
| การจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางการปกครองระหว่างราชธานีกับหัวเมืองจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
| |
| | |
| 1.เมืองที่ปกครองจากราชธานีโดยตรง โดยราชธานีจะส่งผู้ปกครองไปจากส่วนกลาง รูปแบบการปกครองจำลองจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาค การแบ่งประเภทหัวเมืองแล้วแต่ยุคสมัย เช่น สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นใน คือเมืองลูกหลวง และหัวเมืองชั้นนอกไกลออกจากราชธานีจะเป็นเมืองพระยามหานคร สมัยสมเด็จพระนเรศวรแบ่งเป็นหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี
| |
| | |
| 2.เมืองที่ปกครองตนเอง มีการสืบตำแหน่งผู้ปกครองของตนเองแต่แสดงตนว่ายอมอ่อนน้อมต่อราชธานีโดยการส่งเครื่องราชบรรณาการเช่นต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ส่วยและผลประโยชน์อย่างอื่น เพื่อแสดงว่ายอมเป็นเมืองขึ้น เมืองเหล่านี้มักเป็นเมืองต่างชาติ ต่างภาษา ดังที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ถึงเมืองประเทศราชไว้ว่า “..ลักษณะการปกครองแบบเดิมนั้น นิยมให้เป็นอย่างประเทศราชาธิราช (Empire) อันมีเมืองคนต่างชาติต่างภาษาเป็นเมืองขึ้นอยู่ในพระราชอาณาเขต”
| |
|
| |
| เมืองประเทศราชมักจะเป็นเมืองที่ห่างไกลจากราชธานีและมีอำนาจทางการเมืองของตน ในกฎมณเฑียรบาลในกฎหมายตราสามดวงกล่าวว่า มีเมืองกษัตริย์แต่ได้ถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง 20 เมือง คือ เมืองทางเหนือ 16 เมือง ได้แก่ เมืองนครหลวง (กัมพูชา) ศรีสัตนาคนหุต เชียงใหม่ ตองอู เชียงไกร เชียงกราน เชียงแสน เชียงรุ้ง เชียงราย แสนหวี เขมราช แพร่ น่าน ใต้ทอง โคตรบอง และแรวแกว ทางใต้ 4 เมืองคือ อุยองตะหนะ มะละกา มลายูและวรวารี
| |
| | |
| ==การส่งเครื่องราชบรรณาการ==
| |
|
| |
| การปกครองของเมืองประเทศราชจะมีการปกครองที่ค่อนจะเป็นอิสระแต่ต้องมีการแสดงความอ่อนน้อมและจงรักภักดีต่อราชธานีโดยการส่งเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งประกอบด้วย
| |
| | |
| '''1.เครื่องราชบรรณาการ''' เป็นเครื่องหมายของการยอมอยู่ใต้อำนาจ หากไม่ส่งจะถือว่าเป็นกบฏ เครื่องราชบรรณาการประกอบด้วยสิ่งสำคัญคือ ต้นไม้ทองและต้นไม้เงิน ขนาดเท่ากัน 1 คู่ และสิ่งของอีกจำนวนหนึ่งตามความเหมาะสม โดยไม่จำกัดชนิดและจำนวน หลักฐานในสมัยรัชกาลที่ 4 พบส่งต้นไม้เงินทองเงินสูง 3 ศอกคืบ 7 ชั้น และไม้ขอนสัก 300 ต้น หรือบางปีส่งน้ำรักแทนในจำนวน 150 หรือ 300 กระบอก ต้นไม้เงินต้นไม้ทองที่ส่งมาถวายไม่มีค่าทางเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับส่วยและการเกณฑ์สิ่งของที่มีมูลค่าสูงกว่ามาก
| |
| | |
| กำหนดที่เมืองประเทศราชจะส่งเครื่องราชบรรณาการแล้วแต่ระยะทางใกล้ไกลและความสำคัญของแต่ละเมือง บางเมืองต้องถวายบรรณาการทุกปี แต่โดยปกติแล้วจะส่งสามปีต่อครั้ง โดยคำนึงถึงระยะทางและความไว้วางใจ
| |
|
| |
| การถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง มาจากความเชื่อในลัทธิไศเลนทร์ที่ว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นพระศิวะ ซึ่งประทับบนเขาไกรลาส และเมืองขึ้นก็เปรียบเหมือนต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองในป่าหิมพานต์เชิงเขาไกลาส
| |
|
| |
| ลักษณะรูปแบบสำคัญของต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองที่ใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการ สมัยรัตนโกสินทร์มีลักษณะที่สำคัญคือ ต้องจัดทำเป็นคู่ ทำด้วยเงินแท้ทั้งต้น ต้นไม้ทองทำด้วยทองคำแท้ตั้งต้น น้ำหนักของต้นไม้ทองคำและต้นไม้เงิน ที่เป็นคู่กันต้องมีน้ำหนักเท่ากัน มีลำต้น กิ่งก้าน กาบดอก และใบครบถ้วนสมบูรณ์ รูปร่างลักษณะและความสูงต่ำของต้นไม้ ที่เป็นคู่กันต้องเหมือนหรือเท่ากัน มีกระถางหรือแจกันรองรับ เหมือนกัน เป็นคู่กัน ความสวยงาม ความประณีต และแบบต้นไม้ จะเป็นอย่างไรนั้นสุดแต่เมืองนั้นๆ จะคิดและประดิษฐ์ ส่วนมากมักจะมีครอบแก้ว ครอบต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาด้วย เพื่อป้องกันการชำรุดเสียหายระหว่างทางและสะดวกในการเก็บรักษาทำความสะอาด
| |
| | |
| ในสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องราชบรรณาการจากไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู มีต้นไม้เงิน 1 ต้นไม้ทอง 1 แต่ละต้นสูง 6 ศอก มีกิ่งไม้ 8 ชั้น มีดอกไม้เงิน ทอง รวม 638 ดอก ใบไม้เงิน ทอง 980 ใบ มีงู 2 คู่ เงินคู่ ทองคู่ นกอีก 4 ตัว และกวางเงิน 2 บนยอดมีดอกไม้เงิน ทองใหญ่อย่างละ 1 มีกลีบเป็น 3 ชั้น
| |
|
| |
| จากหนังสือสยามประเภทของนาย ก.ศ.ร. กุหลาบ สยามประเภท เล่ม 2 ตอน 17. วันที่ 1 ส.ค. ร.ศ.118 เรื่องต้นเหตุเมืองแขกมะละกาขึ้นกับไทย ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้กล่าวถึงต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ที่เป็นเครื่องราชบรรณาการ ในสมัยอยุธยาไว้ว่า ราว พ.ศ.2045 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมราชามหาพุทธางกูร สยามเป็นไมตรีกับโปรตุเกส โปรตุเกสขอกำลังกองทัพเรือไทยไปช่วยตีเมืองมะละกา เพราะชาวมะละกาทำร้ายพ่อค้าโปรตุเกสที่เข้าไปค้าขาย กองทัพเรืออยุธยาตีเมืองมะละกาได้ พระเจ้าแผ่นดินสยามขณะนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าราชบุตรแขกเมืองมะละกาเป็นเจ้าเมืองสืบแทนพระบิดา ให้มีพระนามว่า จ้าวมะหะหมัดรัตนะรายามหาราช และให้เป็นเมืองประเทศราชถวายดอกไม้เงินทองสิ่งของเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงศรีอยุธยาตามประเพณีมีมาแต่โบราณ
| |
|
| |
| '''2.ส่วย''' เป็นสิ่งของที่ต้องส่งทุกปีในอัตราที่ค่อนข้างแน่นอน เช่นส่วยที่สำคัญที่เชียงใหม่ต้องส่งคือ ไม้ขอนสัก ตามหลักฐานสมัยรัชกาลที่ 3 เชียงใหม่ส่งไม้ขอนสัก 500 ต้น น่าน 4000 ต้น ลำปาง 400 ต้น แพร่ 200ต้น ลำพูน 200 ต้น
| |
| | |
| ''' 3.การเกณฑ์สิ่งของ''' เมื่อมีงานพระราชพิธี เช่นพระบรมศพ จะมีการเกณฑ์สิ่งของ พระราชพิธีพระบรมศพรัชกาลที่ 1 พ.ศ.2352 เชียงใหม่ถูกเกณฑ์ส่งกระดาษหัว 20,000 แผ่น ลำปางส่งกระดาษหัว 15,000 แผ่น ลำพูน 5,000 แผ่น แพร่ 20,000 แผ่น ป่าน 5 หาบ และเมืองน่านส่งกระดาษหัว 3,000 แผ่น ป่าน 5 หาบหรือเมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างพระราชวังที่ลพบุรี ลำปางส่งไม้สัก 1,000 ต้น
| |
|
| |
| ''' 4.การเกณฑ์ไพร่พลในราชการสงคราม''' ยามมีศึกสงครามเมืองประเทศราชจะถูกเกณฑ์กำลังทหารเข้าร่วมในกองทัพ เช่น การเกณฑ์ประเทศราชฝ่ายเหนือเข้าร่วมกับกองทัพสยามในคราวกบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ.2369 นอกจากนี้เมืองประเทศราชอยู่ในสภาวะที่ต้องเตรียมพร้อมป้องกันบ้านเมืองเสมอ
| |
| | |
| ==ประโยชน์ที่หัวเมืองประเทศราชได้รับ==
| |
| | |
| 1.การได้รับความคุ้มครองจากราชธานี การเป็นเมืองประเทศราชจะได้รับการแผ่อิทธิพลทางการเมืองของราชธานีเพื่อคุ้มครอง ถ้าเมืองประเทศราชถูกรุกรานจากรัฐอื่น หรือมีสงครามให้เมืองประเทศราชแจ้งราชธานีเพื่อจะส่งกำลังไปช่วยเหลือ
| |
| | |
| 2.รายได้ของผู้ปกครอง มีดังนี้
| |
|
| |
| (1) รายได้จากภาษีอากร ซึ่งอยู่ในรูปของเงินหรือผลิตผล เช่น ข้าว
| |
| | |
| (2) รายได้จากทรัพยากร เช่น แร่ธาตุ สัตว์น้ำ สัตว์ป่า ไม้สัก ซึ่งถือเป็นของหลวง ผู้ที่เก็บได้จะต้องเสียบางส่วนเข้าท้องพระคลัง
| |
| | |
| (3) รายได้จากการปรับไหม ได้จากการปรับไหมผู้ที่ถูกพิจารณาตัดสินลงโทษโดยการปรับไหม
| |
|
| |
| (4) รายได้จากส่วยไร หรือบรรณาการเมืองขึ้น ซึ่งเจ้าเมืองจะเก็บจากเมืองบริวาร
| |
| | |
| (5) รายได้จากการทำสงคราม หลังจากที่ส่งกองทัพไปร่วมรบ เมื่อรบชนะแล้วยึดทรัพย์สิน ตลอดจนจับผู้คนเป็นเชลย
| |
| | |
| (6) เมื่อประชาชนตายและไม่มีผู้สืบมรดกให้ทรัพย์สินตกเป็นของคลังหลวง
| |
| | |
| 3.การได้รับสิ่งของพระราชทาน เมื่อเมืองประเทศราชส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย ราชธานีจะพระราชทานสิ่งของตอบแทนผ่านผู้คุมบรรณาการ ดังตัวอย่างที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระราชทานสิ่งของให้กับเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เมื่อมาถวายราชบรรณาการใน พ.ศ.2435 ดังนี้
| |
|
| |
| ปืนนกคุ้มกระสุน 2 นิ้ว 2 กระบอก
| |
| | |
| ปืนเล็กกระสุน 3 นิ้ว 2 กระบอก
| |
| | |
| กระสุนปืนใหญ่ 3,4,5 นิ้ว 2,500 ลูก
| |
| | |
| ดีบุก 5 หาบ
| |
| | |
| สุพันถัน 3 หาบ
| |
| | |
| ฉาบพล 2,000 ใบ
| |
| | |
| กระทะเหล็ก 7 ใบ
| |
| | |
| ทองคำเปลว 5,000 แผ่น
| |
| | |
| กระจก 10 หาบ
| |
| | |
| ==ความสัมพันธ์ทางการปกครองกับราชธานี==
| |
|
| |
| เมืองประเทศราชจะมีการปกครองอิสระของตนเอง โดยแสดงความอ่อนน้อมและจงรักภักดีโดยการถวายเครื่องราชบรรณาการตามกำหนด ซึ่งเมืองประเทศราชที่ไม่ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการจะอยู่ในสถานะความเป็นกบฏและจะได้รับโทษขั้นรุนแรง ดังปรากฏกฎหมายลักษณะกระบดศึกว่า...อนึ่งพระเจ้าอยู่หัวให้ผู้ใดไปรั้งเมืองครองเมืองแลมิได้เอาสุวรรณบุปผาเข้ามาบังคมถวายแลแขวงเมือง อนึ่งผู้ใดเอาใจไปเผื่อแผ่ข้าศึกศัตรู นัดแนะให้ยกเข้ามาเบียดเบียนพระนครขอบขัณฑเสมาธานีน้อยใหญ่ ถ้าผู้ใดกระทำดังกล่าวมานี้ โทษผู้นั้นเปนอุกฤษฐโทษ 3 สถาน ๆ หนึ่ง ให้ริบราชบาทฆ่าเสียให้สิ้นทังโคตร สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาทฆ่าเสีย 7 ชั่วโคตร สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาตรแล้วให้ฆ่าเสีย โคตรนั้นอย่าให้เลี้ยงสืบไปเลย เมื่อประหารชีวิตนั้น ให้ได้ 7 วันจึงให้สิ้นชีวิต เมื่อประหารนั้นอย่าให้โลหิตแลอาศภตกลงในแผ่นดิน ให้ใส่แพลอยเสียตามกระแสน้ำ
| |
| | |
| ==การยกเลิกหัวเมืองประเทศราช==
| |
|
| |
| ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศสยามเผชิญกับการคุกคามของการล่าอาณานิคมจากประเทศตะวันตก เมืองประเทศราชหลายๆเมืองตกเป็นเมืองขึ้นของตะวันตก เช่น การเสียเมืองประเทศราชทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง อันได้แก่หลวงพระบาง เวียงจันทน์ให้กับฝรั่งเศส ในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ.1904 การเสียประเทศราชในกัมพูชา อันได้แก่พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้กับฝรั่งเศส ในหนังสือสัญญาระหว่างพระเจ้าแผ่นดินสยาม กับ เปรสิเดนต์แห่งรีปับลิกฝรั่งเศส ค.ศ.1907 การเสียมลายูให้กับอังกฤษใน สัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ ลงชื่อกันที่กรุงเทพฯ ณ วันที่ 10 มีนาคม รัตนโกสินทร์ ศก 127
| |
|
| |
| ในส่วนที่เหลือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มปฏิรูปการปกครองโดยการรวมเมืองประเทศราชทางเหนือ เช่น นครเชียงใหม่, นครน่าน, นครลำปาง, นครลำพูน, แพร่, เถิน เข้าเป็นมณฑลลาวเฉียง และทรงแต่งตั้งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ประจำนครเชียงใหม่ ใน พ.ศ.2427 รวมเมือง อุดรธานี, ขอนแก่น, นครพนม, สกลนคร, เลย, หนองคาย เป็นมณฑลลาวพวน รวมอุบลราชธานี, นครจำปาศักดิ์, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์ เป็นมณฑลลาวกาว
| |
|
| |
| ใน พ.ศ.2437 ทรงจัดทั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น เมืองประเทศราชกลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักร เมืองประเทศราชทางเหนือ คือ นครเชียงใหม่,นครน่าน,นครลำปาง,นครลำพูน,แพร่ กลายเป็นมณฑลพายัพ เมืองประเทศราชทางใต้คือ ปัตตานี ยะลา ระแงะ(ภายหลังรวมกับอำเภอบางนรา แล้วเปลี่ยนชื่อ เป็น นราธิวาส) กลายเป็นมณฑลปัตตานี เมืองประเทศราชทางทิศตะวันออกกลายเป็นมณฑลอุดรและมณฑลอีสานหรืออุบล ถือเป็นการสิ้นสุดหัวเมืองประเทศราช
| |
|
| |
| ดังที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงไว้ว่า...เมื่อเป็นพระราชอาณาเขตแล้ว จึงเลิกประเพณีที่เมืองประเทศราชถวายต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน และให้เปลี่ยนนามมณฑลลาวเฉียงเป็นมณฑลพายัพ เปลี่ยนนามมณฑลลาวพวนเป็นมณฑลอุดร และเปลี่ยนนามมณฑลลาวกาวเป็นมณฑลอีสาน ทั้งให้เลิกเรียกชาวมณฑลทั้ง 3 ว่าลาวด้วย
| |
| | |
| ==บรรณานุกรม==
| |
| | |
| ชาญวิทย์ เกษตรศิริ , '''ลัทธิชาตินิยมไทย/สยามกับกัมพูชา : และกรณีศึกษาปราสาทเขาพระวิหาร''', กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,2552.
| |
| | |
| ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ , '''ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย''', กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2555.
| |
| | |
| ธันยวัฒน์ รัตนสัค, '''การบริหารราชการไทย''', เชียงใหม่ : สำนักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.
| |
| | |
| ชวลีย์ ณ ถลาง, '''ประเทศราชของสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว''', กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.2541.
| |
| | |
| ปริศนา ศิรินาม, [[ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและประเทศราชในหัวเมืองล้านนาไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น]], วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ,บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยการศึกษาประสานมิตร ,2516.
| |
| | |
| สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, '''บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์''', กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
| |
| | |
| สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, '''นิทานโบราณคดี''', กรุงเทพมหานคร, ศิลปะบรรณาคาร, 2509.
| |
| | |
| สรัสวดี อ๋องสกุล, '''ประวัติศาสตร์ล้านนา''', กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์, 2556.
| |
| | |
| สมศักดิ์ ฤทธิ์ภักดี ,(2557), '''ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองสมัยรัตนโกสินทร์''', ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2557 จาก http://emuseum.treasury.go.th/article/238-goldtree-a-sivertree.html
| |
| | |
| ==หนังสือแนะนำอ่านเพิ่มเติม==
| |
| | |
| สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, '''บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์''', กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
| |
| | |
| ชวลีย์ ณ ถลาง, '''ประเทศราชของสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว''', กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.2541.
| |
| | |
| สรัสวดี อ๋องสกุล, '''ประวัติศาสตร์ล้านนา''', กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์, 2556.
| |
| | |
| [[หมวดหมู่:การบริหารราชการแผ่นดิน]]
| |