ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุการณ์ ร.ศ. 130"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 7: บรรทัดที่ 7:
==ความเป็นมา==
==ความเป็นมา==


ในต้นรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] หลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ราวปีเศษ ทางการสืบทราบว่ามีคณะนายทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งจัดตั้งสมาคม "[[อานาคิช]]" (Anarchist) หรือคณะ ร.ศ. 130 โดยมีเป้าหมายหลัก ในการที่จะต้อง[[การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย]]  โดยให้[[พระมหากษัตริย์]]พระราชทาน[[รัฐธรรมนูญ]]และให้อยู่ภายใต้[[กฎหมาย]]เหมือนพระมหากษัตริย์ของประเทศอังกฤษหรือพระมหาจักรพรรดิของประเทศญี่ปุ่น แต่การลงมือกระทำไม่สำเร็จ เนื่องจากทางการได้เข้าจับกุมผู้ร่วมก่อการสำคัญในวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2454 (ร.ศ. 130) จำนวนสองคนคือ [[ร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์]] กับ[[ร้อยตรีจรูญ  ษตะเมษ]]  ซึ่งเป็นนายทหารกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์และได้จับกุมตัว [[ร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์]] ([[หมอเหล็ง ศรีจันทร์]])  ผู้บังคับกองพยาบาลโรงเรียนนายร้อยทหารบก ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ รวมทั้งนายทหารผู้ร่วมขบวนการที่สำคัญหลายคน เช่น [[ร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง]] สังกัดกรมพระธรรมนูญทหารบก [[ร้อยตรีเนตร พูนวิวัฒน์]] สังกัดกองปืนกลที่ 1 และ[[ร้อยตรีเจือ ศิลาอาสน์]] สังกัดกรมทหาร ปืนใหญ่ที่ 2 เป็นต้น ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มี[[พระราชวินิจฉัย]]และ[[พระบรมราชโองการ]]พระราชทาน[[อภัยโทษ]] โดยละเว้นโทษประหารชีวิตแกผู้ก่อการด้วย ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์  และทรงเห็นว่าปัจจัยที่เป็นเหตุให้นายทหารกลุ่มนี้คบคิดเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองคือ สภาพการเกิดปัญหาการอุดตันในตำแหน่งที่มีอยู่อย่างจำกัดภายในกองทัพ ประกอบกับการมีข้อได้เปรียบของเชื้อพระวงศ์ ทำให้สามัญชนที่ได้รับการศึกษาและเป็นข้าราชการเกิดความรู้สึกว่าถูกปิดกั้นอย่างไม่เป็นธรรม ประกอบกับการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความใกล้ชิดกับข้าราชการมากขึ้นกว่าอดีตที่ผ่านมาส่งผลทำให้[[พระราชอำนาจ]]ลดน้อยลง เนื่องจากความใกล้ชิดมีผลทำให้ความรู้สึกที่ว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพหมดไป สาเหตุอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่ การเปิดเสรีทางความคิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยให้มีหนังสือพิมพ์ที่สามารถวิจารณ์ระบอบการปกครองได้อย่างเสรี ทำให้เกิดข้อวิจารณ์และชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของระบอบการปกครองมากขึ้น ความไม่พอใจของทหารที่มีการจัดตั้ง[[กองเสือป่า]]ขึ้น และกรณีการวิวาทระหว่างทหารกับมหาดเล็ก ทำให้ทหารที่รับการลงโทษเกิดความไม่พอใจ ประกอบกับความคิดเรื่อง[[ประชาธิปไตย]]และการจำกัดอำนาจของพระมหากษัตริย์เริ่มแพร่หลายในหมู่คนที่มีการศึกษาและนำไปสู่การรวมกลุ่มและการคบคิดล้มล้างระบอบการปกครอง  ในที่สุดสาเหตุต่างๆเหล่านี้ จึงเกิดเหตุการณ์ ร.ศ. 130 ขึ้น ต่อมาเมื่อ[[รัชกาลที่ 6]] ทรงหวั่นวิตกว่าอาจเกิดเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวขึ้นอีก จึงได้มีกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับการเมืองการปกครองหลายประการ โดยพยายามชี้ให้เห็นว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นยังไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย  
ในต้นรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] หลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ราวปีเศษ ทางการสืบทราบว่ามีคณะนายทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งจัดตั้งสมาคม "[[อานาคิช]]" (Anarchist) หรือคณะ ร.ศ. 130 โดยมีเป้าหมายหลัก ในการที่จะต้อง[[การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย]]  โดยให้[[พระมหากษัตริย์]]พระราชทาน[[รัฐธรรมนูญ]]และให้อยู่ภายใต้[[กฎหมาย]]เหมือนพระมหากษัตริย์ของประเทศอังกฤษหรือพระมหาจักรพรรดิของประเทศญี่ปุ่น แต่การลงมือกระทำไม่สำเร็จ เนื่องจากทางการได้เข้าจับกุมผู้ร่วมก่อการสำคัญในวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2454 (ร.ศ. 130) จำนวนสองคนคือ [[ร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์]] กับ[[ร้อยตรีจรูญ  ษตะเมษ]]  ซึ่งเป็นนายทหารกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์และได้จับกุมตัว [[ร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์]] ([[หมอเหล็ง ศรีจันทร์]])  ผู้บังคับกองพยาบาลโรงเรียนนายร้อยทหารบก ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ รวมทั้งนายทหารผู้ร่วมขบวนการที่สำคัญหลายคน เช่น [[ร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง]] สังกัดกรมพระธรรมนูญทหารบก [[ร้อยตรีเนตร พูนวิวัฒน์]] สังกัดกองปืนกลที่ 1 และ[[ร้อยตรีเจือ ศิลาอาสน์]] สังกัดกรมทหาร ปืนใหญ่ที่ 2 เป็นต้น ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มี[[พระราชวินิจฉัย]]และ[[พระบรมราชโองการ]]พระราชทาน[[อภัยโทษ]] โดยละเว้นโทษประหารชีวิตแกผู้ก่อการด้วย ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์<ref>พีระพงษ์  สิทธิอมรและคณะ. ประวัติศาสตร์การเมืองไทย. กรุงเทพฯ : ซี แอนด์ เอ็น, 2549.  หน้า 21. </ref> และทรงเห็นว่าปัจจัยที่เป็นเหตุให้นายทหารกลุ่มนี้คบคิดเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองคือ<ref>ชัยอนันต์  สมุทวณิช. ย้อนทวนเรื่องประวัติศาสตร์จาก ร.ศ. 130 ถึง 24 มิถุนายน 2475. สถาบันนโยบายศึกษา, ข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557.เว็บไซต์ http://www.fpps.or.th/news.php?detail=n1354943464.news</ref> สภาพการเกิดปัญหาการอุดตันในตำแหน่งที่มีอยู่อย่างจำกัดภายในกองทัพ ประกอบกับการมีข้อได้เปรียบของเชื้อพระวงศ์ ทำให้สามัญชนที่ได้รับการศึกษาและเป็นข้าราชการเกิดความรู้สึกว่าถูกปิดกั้นอย่างไม่เป็นธรรม ประกอบกับการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความใกล้ชิดกับข้าราชการมากขึ้นกว่าอดีตที่ผ่านมาส่งผลทำให้[[พระราชอำนาจ]]ลดน้อยลง เนื่องจากความใกล้ชิดมีผลทำให้ความรู้สึกที่ว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพหมดไป สาเหตุอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่ การเปิดเสรีทางความคิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยให้มีหนังสือพิมพ์ที่สามารถวิจารณ์ระบอบการปกครองได้อย่างเสรี ทำให้เกิดข้อวิจารณ์และชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของระบอบการปกครองมากขึ้น ความไม่พอใจของทหารที่มีการจัดตั้ง[[กองเสือป่า]]ขึ้น และกรณีการวิวาทระหว่างทหารกับมหาดเล็ก ทำให้ทหารที่รับการลงโทษเกิดความไม่พอใจ ประกอบกับความคิดเรื่อง[[ประชาธิปไตย]]และการจำกัดอำนาจของพระมหากษัตริย์เริ่มแพร่หลายในหมู่คนที่มีการศึกษาและนำไปสู่การรวมกลุ่มและการคบคิดล้มล้างระบอบการปกครอง  ในที่สุดสาเหตุต่างๆเหล่านี้ จึงเกิดเหตุการณ์ ร.ศ. 130 ขึ้น ต่อมาเมื่อ[[รัชกาลที่ 6]] ทรงหวั่นวิตกว่าอาจเกิดเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวขึ้นอีก จึงได้มีกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับการเมืองการปกครองหลายประการ โดยพยายามชี้ให้เห็นว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นยังไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย<ref>มนตรี  รูปสุวรรณ. วิวัฒนาการของระบบรัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ : อัดสำเนาวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยปารีส, 2528. หน้า 21. </ref>


==สาเหตุและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น==  
==สาเหตุและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น==  


เมื่อนายทหารหนุ่มหรือเรียกกันว่า [[ยังเติร์ก]]และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้วางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ให้เหมือนกับประเทศอังกฤษและประเทศญี่ปุ่น โดยการใช้ลัทธิ[[ชาตินิยม]] หรืออุดมการณ์ชาตินิยม เป็นเครื่องมือในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศ มีการเน้นถึงความรักชาติ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และยึดมั่นในคำสอนของศาสนา  ซึ่งการใช้อุดมการณ์ชาตินิยม ก็เพื่อเป้าหมายในการสร้างความเจริญก้าวหน้าของชาติ แต่แนวทางดังกล่าว  กลับไม่ได้รับผลสำเร็จเท่าที่ควร สาเหตุเป็นเพราะคนไทยส่วนใหญ่มีคติความเชื่อที่ยอมรับในสิ่งที่เป็นอยู่หรือพอใจในสิ่งที่ตนเองกำลังประสบ ประกอบกับประเทศไทยไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตก การปลุกเร้าให้รักชาติแบบชาตินิยมจึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร จวบจนเกิดขบวนการ ร.ศ. 130  ที่มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งมาจากความคิดที่จะเปลี่ยนการปกครองจาก[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์]]มาเป็น[[ระบอบประชาธิปไตย]] โดยมีความเชื่อว่าการปกครองระบอบใหม่จะนำความเจริญมาสู่ประเทศชาติ
เมื่อนายทหารหนุ่มหรือเรียกกันว่า [[ยังเติร์ก]]และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้วางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ให้เหมือนกับประเทศอังกฤษและประเทศญี่ปุ่น โดยการใช้ลัทธิ[[ชาตินิยม]] หรืออุดมการณ์ชาตินิยม เป็นเครื่องมือในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศ มีการเน้นถึงความรักชาติ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และยึดมั่นในคำสอนของศาสนา<ref>จักษ์  พันธ์ชูเพชร. การเมืองการปกครองไทยจากยุคสุโขทัยสู่สมัยทักษิณ. ปทุมธานี : บริษัท มายด์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2549. หน้า 147. </ref> ซึ่งการใช้อุดมการณ์ชาตินิยม ก็เพื่อเป้าหมายในการสร้างความเจริญก้าวหน้าของชาติ แต่แนวทางดังกล่าว  กลับไม่ได้รับผลสำเร็จเท่าที่ควร สาเหตุเป็นเพราะคนไทยส่วนใหญ่มีคติความเชื่อที่ยอมรับในสิ่งที่เป็นอยู่หรือพอใจในสิ่งที่ตนเองกำลังประสบ ประกอบกับประเทศไทยไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตก การปลุกเร้าให้รักชาติแบบชาตินิยมจึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร จวบจนเกิดขบวนการ ร.ศ. 130<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 148. </ref> ที่มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งมาจากความคิดที่จะเปลี่ยนการปกครองจาก[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์]]มาเป็น[[ระบอบประชาธิปไตย]] โดยมีความเชื่อว่าการปกครองระบอบใหม่จะนำความเจริญมาสู่ประเทศชาติ


คณะนายทหารบก นายทหารเรือและพลเรือน (คณะ ร.ศ. 130) ได้รวมกลุ่มวางแผนเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมือง สาเหตุของการคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองคือในปลายปี พ.ศ. 2452 ได้มีการโบยหลังนายทหารสัญญาบัตรกลางสนามหญ้า ภายในกระทรวงกลาโหมท่ามกลางวงล้อมของนายทหารกองทัพบก ด้วยการบัญชาการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทั้งนี้เพราะนายร้อยเอกโสม ได้ตามไปตีมหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ที่เกิดการทะเลาะวิวาทกับทหารบกที่หน้ากรมทหาร การโบยหลังนายร้อยเอกโสม ทำให้เกิดปฏิกิริยาในหมู่ทหารบกและโดยเฉพาะนักเรียนนายร้อยทหารบก ครั้นต่อมา ใน พ.ศ. 2453 – 2454 นายทหารรุ่นที่จบจากโรงเรียนนายทหารบกในปลายปี ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) ได้เข้ารับราชการประจำกรมกองต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักรแล้ว มีหลายคนที่เกิดความรู้สึกสะเทือนใจอย่างแรงกล้าจากการตั้ง "กองเสือป่า" ด้วยคิดว่าพระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงสนับสนุนกิจการทหารบก และคิดต่อไปว่าการที่ประเทศไทยไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรเป็นเพราะการปกครองด้วยคนคนเดียว นายทหารบกกลุ่มนี้คิดเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มการ[[ปฏิรูป]]ประเทศพร้อม ๆ กัน แต่เหตุใดประเทศญี่ปุ่นจึงเจริญเกินหน้าประเทศไทยไปไกล คำตอบที่นายทหารบกกลุ่ม ร.ศ. 130 คิดได้คือประเทศญี่ปุ่นได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยภายใต้กฎหมาย ทั้งยังปลูกฝังให้พลเมืองรู้จักรักชาติ รักวัฒนธรรม รัฐบาลรู้จักประหยัดการใช้จ่ายในไม่ช้าก็มีการค้า  ไปทั่วโลก มีผลิตผลจากโรงงานอุตสาหกรรมของตนเอง มีการคมนาคมทั้งทางน้ำและทางบกภายในประเทศและนอกประเทศ และได้แผ่อิทธิพลทางการเมือง การทหาร การสังคมและวัฒนธรรมไปทั่วโลกได้อีกด้วย แต่เหตุใดประเทศไทยจึงไม่สามารถเทียบเคียงกับประเทศญี่ปุ่นได้ เมื่อคณะผู้ก่อการได้คำนึงถึงความล้าหลังของประเทศ และคิดว่าอำนาจการปกครองประเทศชาติไม่ควรที่จะอยู่ในมือของคนคนเดียว จึงทำให้นายทหารบกคิด[[ปฏิวัติ]] โดยเริ่มประชุมหารือกันครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454 ตามศักราชเก่า) และประชุมต่อมาอีก 7 ครั้งรวมเป็น 8 ครั้งตามสถานที่ดังต่อไปนี้
คณะนายทหารบก นายทหารเรือและพลเรือน (คณะ ร.ศ. 130) ได้รวมกลุ่มวางแผนเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมือง สาเหตุของการคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองคือในปลายปี พ.ศ. 2452 ได้มีการโบยหลังนายทหารสัญญาบัตรกลางสนามหญ้า ภายในกระทรวงกลาโหมท่ามกลางวงล้อมของนายทหารกองทัพบก ด้วยการบัญชาการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทั้งนี้เพราะนายร้อยเอกโสม ได้ตามไปตีมหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ที่เกิดการทะเลาะวิวาทกับทหารบกที่หน้ากรมทหาร การโบยหลังนายร้อยเอกโสม ทำให้เกิดปฏิกิริยาในหมู่ทหารบกและโดยเฉพาะนักเรียนนายร้อยทหารบก ครั้นต่อมา ใน พ.ศ. 2453 – 2454 นายทหารรุ่นที่จบจากโรงเรียนนายทหารบกในปลายปี ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) ได้เข้ารับราชการประจำกรมกองต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักรแล้ว มีหลายคนที่เกิดความรู้สึกสะเทือนใจอย่างแรงกล้าจากการตั้ง "กองเสือป่า" ด้วยคิดว่าพระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงสนับสนุนกิจการทหารบก และคิดต่อไปว่าการที่ประเทศไทยไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรเป็นเพราะการปกครองด้วยคนคนเดียว นายทหารบกกลุ่มนี้คิดเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มการ[[ปฏิรูป]]ประเทศพร้อม ๆ กัน แต่เหตุใดประเทศญี่ปุ่นจึงเจริญเกินหน้าประเทศไทยไปไกล คำตอบที่นายทหารบกกลุ่ม ร.ศ. 130 คิดได้คือประเทศญี่ปุ่นได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยภายใต้กฎหมาย ทั้งยังปลูกฝังให้พลเมืองรู้จักรักชาติ รักวัฒนธรรม รัฐบาลรู้จักประหยัดการใช้จ่ายในไม่ช้าก็มีการค้า  ไปทั่วโลก มีผลิตผลจากโรงงานอุตสาหกรรมของตนเอง มีการคมนาคมทั้งทางน้ำและทางบกภายในประเทศและนอกประเทศ และได้แผ่อิทธิพลทางการเมือง การทหาร การสังคมและวัฒนธรรมไปทั่วโลกได้อีกด้วย แต่เหตุใดประเทศไทยจึงไม่สามารถเทียบเคียงกับประเทศญี่ปุ่นได้ เมื่อคณะผู้ก่อการได้คำนึงถึงความล้าหลังของประเทศ และคิดว่าอำนาจการปกครองประเทศชาติไม่ควรที่จะอยู่ในมือของคนคนเดียว จึงทำให้นายทหารบกคิด[[ปฏิวัติ]] โดยเริ่มประชุมหารือกันครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454 ตามศักราชเก่า) และประชุมต่อมาอีก 7 ครั้งรวมเป็น 8 ครั้งตามสถานที่ดังต่อไปนี้
บรรทัดที่ 23: บรรทัดที่ 23:
ครั้งที่ 5 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 130 ที่สวนผักของ[[พระสุรทัณฑ์พิทักษ์]] บิดาของ  [[นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา]] ที่ตำบลศาลาแดง
ครั้งที่ 5 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 130 ที่สวนผักของ[[พระสุรทัณฑ์พิทักษ์]] บิดาของ  [[นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา]] ที่ตำบลศาลาแดง
   
   
ส่วนอีกสามครั้งหลัง คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์, วันที่ 28 กุมภาพันธ์ และวันที่ 29 กุมภาพันธ์  ร.ศ. 130 ประชุมที่อนุกูลคดีกิจสถาน แถววังบูรพาภิรมย์ ซึ่งเป็นสถานที่ว่าความของร้อยโทจรูญ    ณ บางช้าง สำนักงานอนุกูลคดีกิจสถานใช้เป็นที่สมาชิกพบปะกันและเป็นสถานที่รับสมาชิกใหม่ด้วย
ส่วนอีกสามครั้งหลัง คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์, วันที่ 28 กุมภาพันธ์ และวันที่ 29 กุมภาพันธ์  ร.ศ. 130 ประชุมที่อนุกูลคดีกิจสถาน แถววังบูรพาภิรมย์ ซึ่งเป็นสถานที่ว่าความของร้อยโทจรูญ    ณ บางช้าง สำนักงานอนุกูลคดีกิจสถานใช้เป็นที่สมาชิกพบปะกันและเป็นสถานที่รับสมาชิกใหม่ด้วย<ref>เหรียญ  ศรีจันทร์และเนตร พูนวิวัฒน์. ปฏิวัติ ร.ศ. 130. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 48.</ref>
   
   
การประชุมครั้งแรกที่บ้านร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์นั้น สมาชิกผู้เริ่มก่อการมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 7 คน กล่าวคือ
การประชุมครั้งแรกที่บ้านร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์นั้น สมาชิกผู้เริ่มก่อการมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 7 คน กล่าวคือ
บรรทัดที่ 71: บรรทัดที่ 71:
มีการวางแนวทางการเปลี่ยนแปลงการปกครองออกเป็น 2 แบบคือ  
มีการวางแนวทางการเปลี่ยนแปลงการปกครองออกเป็น 2 แบบคือ  
1. "ลิมิเตดมอนากี" (Limited Monarchy) การปกครองประเทศตามวิธีนี้กษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย โดยจะมีการดำเนินการ 2 อย่าง คือ  
1. "ลิมิเตดมอนากี" (Limited Monarchy) การปกครองประเทศตามวิธีนี้กษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย โดยจะมีการดำเนินการ 2 อย่าง คือ<ref>เรื่องเดียวกัน. หน้า 250. </ref>


1.1 ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาโดยละม่อม
1.1 ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาโดยละม่อม
บรรทัดที่ 87: บรรทัดที่ 87:
คณะผู้ก่อการ ร.ศ. 130 เริ่มประชุมกันกลางเดือนมกราคม และหลังจากนั้นเพียง 6 สัปดาห์ก็ถูกจับกุม แม้สมาชิกแทบทุกคนลงความเห็นว่าเป็นเพราะนายร้อยเอกยุทธ หรือ ร.อ. หลวงสินาดโยธารักษ์ (แต้ม คงอยู่) ซึ่งกำลังจะไปรับตำแหน่งผู้บังคับกรมทหารปืนใหญ่ที่ 7 พิษณุโลก เข้ามาเป็นสมาชิกในการประชุม 2 ครั้งหลัง และนำเรื่องทั้งหมดไปทูลหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติเกษมสันต์ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ นายร้อยเอกยุทธ ยังเป็นคนเดียวในคณะที่ไม่ถูกลงโทษ และทางราชการยังได้ปูนบำเหน็จด้วยการส่งไปศึกษาต่อต่างประเทศ ที่กรุงปารีส เพื่อหลีกหนีภัยที่อาจเกิดขึ้นจากนายทหารที่ถูกจับกุม ซึ่งอาจจะเจ็บแค้นและสั่งให้พรรคพวกที่อยู่นอกคุกตาม "เก็บ" อย่างไรก็ตาม คณะ ร.ศ. 130 ก็ยังมีข้อบกพร่องในการดำเนินการอีกหลายประการจนทำให้ถูกจับกุมดังต่อไปนี้  
คณะผู้ก่อการ ร.ศ. 130 เริ่มประชุมกันกลางเดือนมกราคม และหลังจากนั้นเพียง 6 สัปดาห์ก็ถูกจับกุม แม้สมาชิกแทบทุกคนลงความเห็นว่าเป็นเพราะนายร้อยเอกยุทธ หรือ ร.อ. หลวงสินาดโยธารักษ์ (แต้ม คงอยู่) ซึ่งกำลังจะไปรับตำแหน่งผู้บังคับกรมทหารปืนใหญ่ที่ 7 พิษณุโลก เข้ามาเป็นสมาชิกในการประชุม 2 ครั้งหลัง และนำเรื่องทั้งหมดไปทูลหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติเกษมสันต์ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ นายร้อยเอกยุทธ ยังเป็นคนเดียวในคณะที่ไม่ถูกลงโทษ และทางราชการยังได้ปูนบำเหน็จด้วยการส่งไปศึกษาต่อต่างประเทศ ที่กรุงปารีส เพื่อหลีกหนีภัยที่อาจเกิดขึ้นจากนายทหารที่ถูกจับกุม ซึ่งอาจจะเจ็บแค้นและสั่งให้พรรคพวกที่อยู่นอกคุกตาม "เก็บ" อย่างไรก็ตาม คณะ ร.ศ. 130 ก็ยังมีข้อบกพร่องในการดำเนินการอีกหลายประการจนทำให้ถูกจับกุมดังต่อไปนี้  


1. ขาดแผนการ ไม่ว่าจะเป็นแผนเล็กหรือแผนใหญ่ การประชุมขาดระเบียบ ไม่มีวาระการประชุม มีการพูดจาทุ่มเถียงอึกทึก ดูแล้วเหมือนวงเหล้าเสวนานินทาเจ้านาย นอกจากนี้ยังไม่มีการกำหนดตัวว่าใครเป็นหัวหน้ากลุ่มชัดเจน เมื่อมีการจับกุมทางการยังหาหลักฐานไม่ได้ว่าหัวหน้าขบวนการคือใคร ในที่สุดก็ต้องสรุปเอาว่า นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ และนายร้อยโทจรูญ       ณ บางช้าง เป็นหัวหน้ากลุ่ม เพราะเป็นผู้ที่พูดมากที่สุดในการประชุมแต่ละครั้ง  
1. ขาดแผนการ ไม่ว่าจะเป็นแผนเล็กหรือแผนใหญ่ การประชุมขาดระเบียบ ไม่มีวาระการประชุม มีการพูดจาทุ่มเถียงอึกทึก ดูแล้วเหมือนวงเหล้าเสวนานินทาเจ้านาย นอกจากนี้ยังไม่มีการกำหนดตัวว่าใครเป็นหัวหน้ากลุ่มชัดเจน เมื่อมีการจับกุมทางการยังหาหลักฐานไม่ได้ว่าหัวหน้าขบวนการคือใคร ในที่สุดก็ต้องสรุปเอาว่า นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ และนายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง เป็นหัวหน้ากลุ่ม เพราะเป็นผู้ที่พูดมากที่สุดในการประชุมแต่ละครั้ง  


2. ตั้งอยู่ในความประมาท การจับกลุ่มชุมนุมแต่ละครั้ง มีการวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของราชการ ตลอดจนตำหนิติเตียนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมิได้ระมัดระวังและไม่สนใจว่าเป็นการกระทำที่มีโทษมหันต์ ไม่มีการระแวดระวังสอดแนมติดตามดูการเคลื่อนไหวของทางการ เช่น นายร้อยเอกยุทธ เข้าร่วมประชุมในคืนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ แล้ววันรุ่งขึ้นก็เข้าเฝ้าถวายรายงานต่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ และในคืนนั้นเองก็ยังกลับเข้าร่วมการประชุม เพื่อแสวงหาความลับอีก นอกจากนี้นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ ยังขาดความระมัดระวังพกรายชื่อสมาชิกผู้เข้าร่วมก่อการติดตัวไว้โดยไม่จำเป็น เมื่อถูกจับกุมเจ้าหน้าที่สามารถค้นรายชื่อสมาชิกจากรายชื่อดังกล่าวได้ถึง 58 ชื่อ ไม่รวมรายชื่อที่ถูกรายงานโดยนายร้อยเอกยุทธอีก 26 ชื่อ
2. ตั้งอยู่ในความประมาท การจับกลุ่มชุมนุมแต่ละครั้ง มีการวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของราชการ ตลอดจนตำหนิติเตียนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมิได้ระมัดระวังและไม่สนใจว่าเป็นการกระทำที่มีโทษมหันต์ ไม่มีการระแวดระวังสอดแนมติดตามดูการเคลื่อนไหวของทางการ เช่น นายร้อยเอกยุทธ เข้าร่วมประชุมในคืนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ แล้ววันรุ่งขึ้นก็เข้าเฝ้าถวายรายงานต่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ และในคืนนั้นเองก็ยังกลับเข้าร่วมการประชุม เพื่อแสวงหาความลับอีก นอกจากนี้นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ ยังขาดความระมัดระวังพกรายชื่อสมาชิกผู้เข้าร่วมก่อการติดตัวไว้โดยไม่จำเป็น เมื่อถูกจับกุมเจ้าหน้าที่สามารถค้นรายชื่อสมาชิกจากรายชื่อดังกล่าวได้ถึง 58 ชื่อ ไม่รวมรายชื่อที่ถูกรายงานโดยนายร้อยเอกยุทธอีก 26 ชื่อ
บรรทัดที่ 95: บรรทัดที่ 95:
4. การดำเนินการ โดยเฉพาะการเสาะแสวงหาสมาชิกเป็นไปอย่างหละหลวม ไม่รัดกุม ไม่มีการกลั่นกรองว่าให้ผู้ใดชักชวนใครเข้าร่วม ไม่มีมาตรการกำหนดคุณสมบัติผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิก โดยสมาชิกแต่ละคนต่างใช้ดุลยพินิจส่วนตัวในการชักชวนสมาชิก พอเห็นหน้าใครที่พอรู้จักและเป็นทหาร ก็ชักชวนกันง่ายๆ ด้วยคำถามทำนองเช่น "อยากเป็นคนหัวเก่าหรือหัวใหม่" "อยากเป็นคนโง่หรือคนฉลาด" ถ้าอยากเป็นคนหัวใหม่ หรือเป็นคนฉลาดก็ให้ไปประชุมที่นั่น ที่นี่ มีเรื่องสำคัญจะเล่าให้ฟัง นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการดื่มน้ำร่วมสาบานจะเป็นเครื่องผูกมัดให้คนซื่อสัตย์และมีความภักดีต่อการก่อการประชุมขาดความจริงจัง ราวกับเป็นการชุมนุมสังสรรค์เพื่อนมากกว่าจะเป็นการประชุมเพื่อการก่อการปฏิวัติล้มล้างอำนาจทางปกครอง
4. การดำเนินการ โดยเฉพาะการเสาะแสวงหาสมาชิกเป็นไปอย่างหละหลวม ไม่รัดกุม ไม่มีการกลั่นกรองว่าให้ผู้ใดชักชวนใครเข้าร่วม ไม่มีมาตรการกำหนดคุณสมบัติผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิก โดยสมาชิกแต่ละคนต่างใช้ดุลยพินิจส่วนตัวในการชักชวนสมาชิก พอเห็นหน้าใครที่พอรู้จักและเป็นทหาร ก็ชักชวนกันง่ายๆ ด้วยคำถามทำนองเช่น "อยากเป็นคนหัวเก่าหรือหัวใหม่" "อยากเป็นคนโง่หรือคนฉลาด" ถ้าอยากเป็นคนหัวใหม่ หรือเป็นคนฉลาดก็ให้ไปประชุมที่นั่น ที่นี่ มีเรื่องสำคัญจะเล่าให้ฟัง นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการดื่มน้ำร่วมสาบานจะเป็นเครื่องผูกมัดให้คนซื่อสัตย์และมีความภักดีต่อการก่อการประชุมขาดความจริงจัง ราวกับเป็นการชุมนุมสังสรรค์เพื่อนมากกว่าจะเป็นการประชุมเพื่อการก่อการปฏิวัติล้มล้างอำนาจทางปกครอง


กล่าวโดยสรุปคณะ ร.ศ. 130 ถูกจับกุมเนื่องจากขาดการวางแผน ตั้งอยู่ในความประมาท รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตลอดจนมีการทรยศและซัดทอดผู้ร่วมก่อการ นายร้อยโทกินสุน แพทย์ทหาร ซึ่งเคยเข้าร่วมประชุมและให้การเป็นพยานโจทก์ก็ให้ความเห็นว่า "พวกที่คิดๆ โดยมากเป็นเด็ก ๆ มุทะลุ ตึงตัง ทำอะไรเห็นเป็นการสำเร็จทั้งนั้น" แต่ในความเป็นจริง ทางการได้ลงความเห็นมาตั้งแต่ราวกลางเดือนเมษายนแล้วว่า พวกก่อการกำเริบมีความผิดฐานพยายามจะประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 97 และฐานพยายามกบฏตามมาตรา 102 ต่างมีโทษประหารชีวิตทุกคน ในที่สุดคณะพิจารณาคดีก็ตัดสินโทษโดยพิจารณาถึงการมีส่วนร่วมกระทำความผิดมากน้อยเพียงใด โดยมีโทษหนักที่สุดคือประหารชีวิต จนมาถึงเบาที่สุดคือจำคุก 12 ปี มีผู้ถูกตัดสินประหารชีวิต 3 นายคือ นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ ในฐานะ "เป็นคนต้นคิดและหัวหน้าคณะแห่งคนพวกนี้ที่ปรากฏว่าคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมืองและคิดกระทำการถึงประทุษร้ายต่อประชาชนและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว", นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่า "คงเกี่ยวกับการจัดหาอาวุธ" และ นายร้อยตรีเจือ  ศิลาอาสน์ "ซึ่งเข้าร่วมประชุมสามครั้ง ภายหลังคิดเกลี้ยกล่อมคนจะเข้าแย่งพรรคพวกที่ถูกขังในเวลาใดเวลาหนึ่ง สุดแต่จะมีโอกาสกับพยายามประทุษร้ายพระเจ้าแผ่นดิน"  
กล่าวโดยสรุปคณะ ร.ศ. 130 ถูกจับกุมเนื่องจากขาดการวางแผน ตั้งอยู่ในความประมาท รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตลอดจนมีการทรยศและซัดทอดผู้ร่วมก่อการ นายร้อยโทกินสุน แพทย์ทหาร ซึ่งเคยเข้าร่วมประชุมและให้การเป็นพยานโจทก์ก็ให้ความเห็นว่า "พวกที่คิดๆ โดยมากเป็นเด็ก ๆ มุทะลุ ตึงตัง ทำอะไรเห็นเป็นการสำเร็จทั้งนั้น" แต่ในความเป็นจริง ทางการได้ลงความเห็นมาตั้งแต่ราวกลางเดือนเมษายนแล้วว่า พวกก่อการกำเริบมีความผิดฐานพยายามจะประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 97 และฐานพยายามกบฏตามมาตรา 102 ต่างมีโทษประหารชีวิตทุกคน ในที่สุดคณะพิจารณาคดีก็ตัดสินโทษโดยพิจารณาถึงการมีส่วนร่วมกระทำความผิดมากน้อยเพียงใด โดยมีโทษหนักที่สุดคือประหารชีวิต จนมาถึงเบาที่สุดคือจำคุก 12 ปี มีผู้ถูกตัดสินประหารชีวิต 3 นายคือ นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ ในฐานะ "เป็นคนต้นคิดและหัวหน้าคณะแห่งคนพวกนี้ที่ปรากฏว่าคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมืองและคิดกระทำการถึงประทุษร้ายต่อประชาชนและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว", นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่า "คงเกี่ยวกับการจัดหาอาวุธ" และ นายร้อยตรีเจือ  ศิลาอาสน์ "ซึ่งเข้าร่วมประชุมสามครั้ง ภายหลังคิดเกลี้ยกล่อมคนจะเข้าแย่งพรรคพวกที่ถูกขังในเวลาใดเวลาหนึ่ง สุดแต่จะมีโอกาสกับพยายามประทุษร้ายพระเจ้าแผ่นดิน" <ref>เรื่องเดียวกัน. หน้า 322. </ref>


ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยความว่า "เห็นว่า กรรมการพิพากษาลงโทษพวกเหล่านี้ ชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการแล้ว    แต่ว่าความผิดของพวกเหล่านี้มีข้อสำคัญที่จะกระทำร้ายต่อตัวเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทอาฆาต    มาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรที่จะลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินจะยกให้ได้ เพราะฉะนั้นบรรดาผู้ที่มีชื่อ 3 คน ซึ่งวางโทษไว้ในคดีพิพากษาของกรรมการว่าเป็นโทษชั้นที่ 1 ให้ประหารชีวิตนั้น ให้ลดลงเป็นโทษชั้นที่ 2 ให้จำคุกตลอดชีวิต แลบรรดาผู้มีชื่อ 20 คน ซึ่งวางโทษไว้เป็นชั้นที่ 2 ให้จำคุกตลอดชีวิตนั้น ให้ลดลงเป็นโทษชั้นที่ 3 คือ ให้จำคุกมีกำหนด 20 ปี ตั้งแต่วันนี้สืบไป แต่บรรดาผู้ที่มีชื่ออีก 68 คน ซึ่งวางโทษไว้ชั้นที่ 3 ให้จำคุก 20 ปี 32 คน และวางโทษชั้นที่ 4 ให้จำคุก 15 ปี 6 คน และวางโทษชั้นที่ 5 ให้จำคุก 12 ปี 30 คนนั้น ให้รอการลงอาญาไว้ ทำนองอย่างเช่นได้กล่าวในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 41 และ 42 ซึ่งว่าด้วยการรอลงอาญาในโทษอย่างน้อยนั้น และอย่าเพ่อให้ออกจากตำแหน่งยศก่อน แต่ฝ่ายผู้มีชื่อ 3 คน ที่ได้ลงโทษชั้นที่ 2 กับผู้ที่มีชื่อ 20 คน ที่ได้ลงโทษชั้นที่ 3 รวม 23 คน ดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ให้ถอดจากยศบรรดาศักดิ์ตามอย่างธรรมเนียม ซึ่งเคยมีกับโทษเช่นนั้น..."
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยความว่า "เห็นว่า กรรมการพิพากษาลงโทษพวกเหล่านี้ ชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการแล้ว    แต่ว่าความผิดของพวกเหล่านี้มีข้อสำคัญที่จะกระทำร้ายต่อตัวเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทอาฆาต    มาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรที่จะลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินจะยกให้ได้ เพราะฉะนั้นบรรดาผู้ที่มีชื่อ 3 คน ซึ่งวางโทษไว้ในคดีพิพากษาของกรรมการว่าเป็นโทษชั้นที่ 1 ให้ประหารชีวิตนั้น ให้ลดลงเป็นโทษชั้นที่ 2 ให้จำคุกตลอดชีวิต แลบรรดาผู้มีชื่อ 20 คน ซึ่งวางโทษไว้เป็นชั้นที่ 2 ให้จำคุกตลอดชีวิตนั้น ให้ลดลงเป็นโทษชั้นที่ 3 คือ ให้จำคุกมีกำหนด 20 ปี ตั้งแต่วันนี้สืบไป แต่บรรดาผู้ที่มีชื่ออีก 68 คน ซึ่งวางโทษไว้ชั้นที่ 3 ให้จำคุก 20 ปี 32 คน และวางโทษชั้นที่ 4 ให้จำคุก 15 ปี 6 คน และวางโทษชั้นที่ 5 ให้จำคุก 12 ปี 30 คนนั้น ให้รอการลงอาญาไว้ ทำนองอย่างเช่นได้กล่าวในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 41 และ 42 ซึ่งว่าด้วยการรอลงอาญาในโทษอย่างน้อยนั้น และอย่าเพ่อให้ออกจากตำแหน่งยศก่อน แต่ฝ่ายผู้มีชื่อ 3 คน ที่ได้ลงโทษชั้นที่ 2 กับผู้ที่มีชื่อ 20 คน ที่ได้ลงโทษชั้นที่ 3 รวม 23 คน ดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ให้ถอดจากยศบรรดาศักดิ์ตามอย่างธรรมเนียม ซึ่งเคยมีกับโทษเช่นนั้น..."<ref>เรื่องเดียวกัน. หน้า 341. </ref>
   
   
คณะ ร.ศ. 130 จึงถูกจำคุกจริงๆ 25 คน โดยถูกคุมขังในคุกมหันตโทษ (คุกต่างประเทศ)  23 คน และเรือนจำนครสวรรค์ 2 คน ทั้งหมดต้องโทษถูกคุกขังอยู่ 12 ปี 6 เดือน 6 วัน จึงได้รับพระราชทานอภัยโทษ ในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ในวโรกาสครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์ ระหว่างต้องโทษมีผู้เสียชีวิต 2 คนคือ [[นายร้อยตรีวาส วาสนา]] หลังจากต้องโทษ  4 ปี ถึงแก่กรรมด้วยวัณโรค และ หลังจากนั้นอีก 2 ปี [[นายร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รัชนิกร]] ถึงแก่กรรมด้วยโรคลำไส้
คณะ ร.ศ. 130 จึงถูกจำคุกจริงๆ 25 คน โดยถูกคุมขังในคุกมหันตโทษ (คุกต่างประเทศ)  23 คน และเรือนจำนครสวรรค์ 2 คน ทั้งหมดต้องโทษถูกคุกขังอยู่ 12 ปี 6 เดือน 6 วัน จึงได้รับพระราชทานอภัยโทษ ในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ในวโรกาสครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์ ระหว่างต้องโทษมีผู้เสียชีวิต 2 คนคือ [[นายร้อยตรีวาส วาสนา]] หลังจากต้องโทษ  4 ปี ถึงแก่กรรมด้วยวัณโรค และ หลังจากนั้นอีก 2 ปี [[นายร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รัชนิกร]] ถึงแก่กรรมด้วยโรคลำไส้
   
   
ทั้งนี้เหตุการณ์ ร.ศ. 130  เป็นแรงผลักดันให้คณะราษฎร ก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยภายหลังการยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับ ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า "ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม" และหลวงประดิษฐ์มนูธรรมก็ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า "พวกผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการกระทำเมื่อ ร.ศ. 130"  ซึ่งวีรกรรมของคณะปฏิวัติร.ศ. 130 จะต้องเป็นเครื่องเตือนใจให้อนุชนคนไทย ทั้งในวันนี้และวันหน้าได้รำลึกว่า สิทธิของการเป็นพลเมืองเจ้าของชาติ    เป็นสิทธิที่เราจะต้องหวงแหนและรักษาไว้ด้วยชีวิต
ทั้งนี้เหตุการณ์ ร.ศ. 130  เป็นแรงผลักดันให้คณะราษฎร ก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยภายหลังการยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับ ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า "ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม" และหลวงประดิษฐ์มนูธรรมก็ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า "พวกผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการกระทำเมื่อ ร.ศ. 130"<ref>ชาญวิทย์  เกษตรศิริ. หนึ่งศตวรรษ : รัฐธรรมนูญและรัฐประหารกับการเมืองสยามประเทศไทยจากกบฏ ร.ศ.130 ถึงรัฐประหาร 19 กันยายน 2549. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2552. หน้า 41. </ref> ซึ่งวีรกรรมของคณะปฏิวัติร.ศ. 130 จะต้องเป็นเครื่องเตือนใจให้อนุชนคนไทย ทั้งในวันนี้และวันหน้าได้รำลึกว่า สิทธิของการเป็นพลเมืองเจ้าของชาติ    เป็นสิทธิที่เราจะต้องหวงแหนและรักษาไว้ด้วยชีวิต
   
   
==อ้างอิง==
==อ้างอิง==

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:35, 26 มีนาคม 2557

ผู้เรียบเรียง วิลาสินี สิทธิโสภณ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


ความเป็นมา

ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ราวปีเศษ ทางการสืบทราบว่ามีคณะนายทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งจัดตั้งสมาคม "อานาคิช" (Anarchist) หรือคณะ ร.ศ. 130 โดยมีเป้าหมายหลัก ในการที่จะต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยให้พระมหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญและให้อยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนพระมหากษัตริย์ของประเทศอังกฤษหรือพระมหาจักรพรรดิของประเทศญี่ปุ่น แต่การลงมือกระทำไม่สำเร็จ เนื่องจากทางการได้เข้าจับกุมผู้ร่วมก่อการสำคัญในวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2454 (ร.ศ. 130) จำนวนสองคนคือ ร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ กับร้อยตรีจรูญ ษตะเมษ ซึ่งเป็นนายทหารกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์และได้จับกุมตัว ร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) ผู้บังคับกองพยาบาลโรงเรียนนายร้อยทหารบก ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ รวมทั้งนายทหารผู้ร่วมขบวนการที่สำคัญหลายคน เช่น ร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง สังกัดกรมพระธรรมนูญทหารบก ร้อยตรีเนตร พูนวิวัฒน์ สังกัดกองปืนกลที่ 1 และร้อยตรีเจือ ศิลาอาสน์ สังกัดกรมทหาร ปืนใหญ่ที่ 2 เป็นต้น ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชวินิจฉัยและพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ โดยละเว้นโทษประหารชีวิตแกผู้ก่อการด้วย ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์[1] และทรงเห็นว่าปัจจัยที่เป็นเหตุให้นายทหารกลุ่มนี้คบคิดเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองคือ[2] สภาพการเกิดปัญหาการอุดตันในตำแหน่งที่มีอยู่อย่างจำกัดภายในกองทัพ ประกอบกับการมีข้อได้เปรียบของเชื้อพระวงศ์ ทำให้สามัญชนที่ได้รับการศึกษาและเป็นข้าราชการเกิดความรู้สึกว่าถูกปิดกั้นอย่างไม่เป็นธรรม ประกอบกับการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความใกล้ชิดกับข้าราชการมากขึ้นกว่าอดีตที่ผ่านมาส่งผลทำให้พระราชอำนาจลดน้อยลง เนื่องจากความใกล้ชิดมีผลทำให้ความรู้สึกที่ว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพหมดไป สาเหตุอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่ การเปิดเสรีทางความคิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยให้มีหนังสือพิมพ์ที่สามารถวิจารณ์ระบอบการปกครองได้อย่างเสรี ทำให้เกิดข้อวิจารณ์และชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของระบอบการปกครองมากขึ้น ความไม่พอใจของทหารที่มีการจัดตั้งกองเสือป่าขึ้น และกรณีการวิวาทระหว่างทหารกับมหาดเล็ก ทำให้ทหารที่รับการลงโทษเกิดความไม่พอใจ ประกอบกับความคิดเรื่องประชาธิปไตยและการจำกัดอำนาจของพระมหากษัตริย์เริ่มแพร่หลายในหมู่คนที่มีการศึกษาและนำไปสู่การรวมกลุ่มและการคบคิดล้มล้างระบอบการปกครอง ในที่สุดสาเหตุต่างๆเหล่านี้ จึงเกิดเหตุการณ์ ร.ศ. 130 ขึ้น ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงหวั่นวิตกว่าอาจเกิดเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวขึ้นอีก จึงได้มีกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับการเมืองการปกครองหลายประการ โดยพยายามชี้ให้เห็นว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นยังไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย[3]

สาเหตุและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อนายทหารหนุ่มหรือเรียกกันว่า ยังเติร์กและพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้วางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ให้เหมือนกับประเทศอังกฤษและประเทศญี่ปุ่น โดยการใช้ลัทธิชาตินิยม หรืออุดมการณ์ชาตินิยม เป็นเครื่องมือในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศ มีการเน้นถึงความรักชาติ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และยึดมั่นในคำสอนของศาสนา[4] ซึ่งการใช้อุดมการณ์ชาตินิยม ก็เพื่อเป้าหมายในการสร้างความเจริญก้าวหน้าของชาติ แต่แนวทางดังกล่าว กลับไม่ได้รับผลสำเร็จเท่าที่ควร สาเหตุเป็นเพราะคนไทยส่วนใหญ่มีคติความเชื่อที่ยอมรับในสิ่งที่เป็นอยู่หรือพอใจในสิ่งที่ตนเองกำลังประสบ ประกอบกับประเทศไทยไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตก การปลุกเร้าให้รักชาติแบบชาตินิยมจึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร จวบจนเกิดขบวนการ ร.ศ. 130[5] ที่มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งมาจากความคิดที่จะเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีความเชื่อว่าการปกครองระบอบใหม่จะนำความเจริญมาสู่ประเทศชาติ

คณะนายทหารบก นายทหารเรือและพลเรือน (คณะ ร.ศ. 130) ได้รวมกลุ่มวางแผนเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมือง สาเหตุของการคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองคือในปลายปี พ.ศ. 2452 ได้มีการโบยหลังนายทหารสัญญาบัตรกลางสนามหญ้า ภายในกระทรวงกลาโหมท่ามกลางวงล้อมของนายทหารกองทัพบก ด้วยการบัญชาการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทั้งนี้เพราะนายร้อยเอกโสม ได้ตามไปตีมหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ที่เกิดการทะเลาะวิวาทกับทหารบกที่หน้ากรมทหาร การโบยหลังนายร้อยเอกโสม ทำให้เกิดปฏิกิริยาในหมู่ทหารบกและโดยเฉพาะนักเรียนนายร้อยทหารบก ครั้นต่อมา ใน พ.ศ. 2453 – 2454 นายทหารรุ่นที่จบจากโรงเรียนนายทหารบกในปลายปี ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) ได้เข้ารับราชการประจำกรมกองต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักรแล้ว มีหลายคนที่เกิดความรู้สึกสะเทือนใจอย่างแรงกล้าจากการตั้ง "กองเสือป่า" ด้วยคิดว่าพระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงสนับสนุนกิจการทหารบก และคิดต่อไปว่าการที่ประเทศไทยไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรเป็นเพราะการปกครองด้วยคนคนเดียว นายทหารบกกลุ่มนี้คิดเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มการปฏิรูปประเทศพร้อม ๆ กัน แต่เหตุใดประเทศญี่ปุ่นจึงเจริญเกินหน้าประเทศไทยไปไกล คำตอบที่นายทหารบกกลุ่ม ร.ศ. 130 คิดได้คือประเทศญี่ปุ่นได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยภายใต้กฎหมาย ทั้งยังปลูกฝังให้พลเมืองรู้จักรักชาติ รักวัฒนธรรม รัฐบาลรู้จักประหยัดการใช้จ่ายในไม่ช้าก็มีการค้า ไปทั่วโลก มีผลิตผลจากโรงงานอุตสาหกรรมของตนเอง มีการคมนาคมทั้งทางน้ำและทางบกภายในประเทศและนอกประเทศ และได้แผ่อิทธิพลทางการเมือง การทหาร การสังคมและวัฒนธรรมไปทั่วโลกได้อีกด้วย แต่เหตุใดประเทศไทยจึงไม่สามารถเทียบเคียงกับประเทศญี่ปุ่นได้ เมื่อคณะผู้ก่อการได้คำนึงถึงความล้าหลังของประเทศ และคิดว่าอำนาจการปกครองประเทศชาติไม่ควรที่จะอยู่ในมือของคนคนเดียว จึงทำให้นายทหารบกคิดปฏิวัติ โดยเริ่มประชุมหารือกันครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454 ตามศักราชเก่า) และประชุมต่อมาอีก 7 ครั้งรวมเป็น 8 ครั้งตามสถานที่ดังต่อไปนี้

สองครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 มกราคม และ 21 มกราคม ร.ศ. 130 ที่บ้านนายร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ ตำบลสาทร

ครั้งที่ 3 วันที่ 28 มกราคม ร.ศ. 130 ที่โบสถ์ร้างวัดช่องลม ช่องนนทรี

ครั้งที่ 4 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 130 ที่ทุ่งนาห่างจากสถานีรถไฟคลองเตย ประมาณ 600 เมตร

ครั้งที่ 5 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 130 ที่สวนผักของพระสุรทัณฑ์พิทักษ์ บิดาของ นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา ที่ตำบลศาลาแดง

ส่วนอีกสามครั้งหลัง คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์, วันที่ 28 กุมภาพันธ์ และวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 130 ประชุมที่อนุกูลคดีกิจสถาน แถววังบูรพาภิรมย์ ซึ่งเป็นสถานที่ว่าความของร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง สำนักงานอนุกูลคดีกิจสถานใช้เป็นที่สมาชิกพบปะกันและเป็นสถานที่รับสมาชิกใหม่ด้วย[6]

การประชุมครั้งแรกที่บ้านร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์นั้น สมาชิกผู้เริ่มก่อการมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 7 คน กล่าวคือ

1. นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ สังกัดกรมแพทย์ทหารบก เป็นหัวหน้า

2. นายร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ สังกัดกรมทหารราบที่ 12 มหาดเล็กรักษาพระองค์

3. นายร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รัชนิกร สังกัดกองโรงเรียนนายสิบ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์

4. นายร้อยตรีเขียน อุทัยกุล สังกัดกองโรงเรียนนายสิบ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์

5. นายร้อยตรีปลั่ง ปูรณโชติ สังกัดกองปืนกลที่ 1 รักษาพระองค์

6. นายร้อยตรีเนตร พูนวิวัฒน์ สังกัดกองปืนกลที่ 1 รักษาพระองค์

7. นายร้อยตรีจรูญ ษตะเมษ สังกัดกองปืนกลที่ 1 รักษาพระองค์

คณะผู้ก่อการได้มอบหมายให้ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ (หลวงสินาดโยธารักษ์) เป็นผู้ลงมือลอบปลงพระชนม์ แต่เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติผู้บังคับการ กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 และถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษและได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล ในเดือนพฤศจิกายน 2467

คณะ ร.ศ. 130 เป็นกลุ่มปัญญาชนในยุคใหม่ที่จบจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้สั่งสมประสบการณ์และมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดความรู้จากเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทำให้มีพื้นฐานการศึกษาดี มีโอกาสได้เรียนรู้จากตำราและประสบการณ์จริง ในช่วงเวลาที่เหตุการณ์ต่างๆในบ้านเมืองเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้อุดมการณ์ชาตินิยมของทหารมืออาชีพที่ปลูกฝังจากการศึกษาด้วยการสอนให้รักชาติบ้านเมือง ทหารที่เข้าโรงเรียนนายร้อยทหารบก จึงมีมาตรฐานสูง นายทหารบางนายที่ถูกจับกุมยังอยู่ในระหว่างศึกษาเพิ่มเติม เช่น นายทหารบก 10 นาย กำลังศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ส่วนผู้ไม่ได้จบจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกก็เป็นผู้มีพื้นฐานการศึกษาสูง เช่น ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ และ พ.ต. หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ จบการศึกษาจากโรงเรียนแพทย์และเป็นแพทย์ประจำโรงเรียนนายร้อยทหารบก ร.ท. จรูญ ณ บางช้าง จบเนติบัณฑิตย์ รับราชการเป็นนายทหารประจำกรมพระธรรมนูญ และเป็นครูสอนวิชาปืนกล ทั้งยังมีข้าราชการพลเรือนอีกหลายคนที่มีการศึกษาในระดับสูง เช่น นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา นายเซี้ยง สุวงศ์ (พระยารามบัณฑิตสิทธิ์เศรณี) นายน่วม ทองอินทร์ (พระนิจพจนาตก์) นายเปล่ง ดิษยบุตร (หลวงนัยวิจารณ์) มาจากกระทรวงยุติธรรมและสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมาย

แผนการปฏิวัติของคณะ ร.ศ. 130

เป้าหมายของแผนการปฏิวัติของคณะ ร.ศ. 130 นั้น เพื่อต้องการให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยอมอยู่ภายใต้กฎหมายสูงสุดคือ รัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น โดยได้วางแผนกันอีกว่า หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงยินยอม ก็จะดำเนินการทูลเชิญเจ้านายในพระราชวงศ์จักรีขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐไทย บรรดานายทหารบกคิดจะทูลเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถเป็นประธานาธิบดี พวกทหารเรือก็คิดว่าควรจะทูลเชิญพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็นต้น ทั้งนี้การดำเนินงานตามแผนจะต้องใช้เวลาถึง 10 ปีเพื่อจะได้มีเวลาปลูกฝังทหารเกณฑ์ในแต่ละรุ่นในช่วงเวลานั้น เมื่อทหารเกณฑ์เหล่านั้นได้แยกย้ายกันไปประกอบอาชีพตามภูมิลำเนาทั่วและได้มีวัยวุฒิ และคุณวุฒิเพิ่มขึ้น มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงขึ้น มีความสามารถและความสุจริตซึ่งจะได้เป็นหลักประกันความมั่นคงของชาติให้มหาชนเชื่อถือได้ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะ ร.ศ. 130 มีการวางสายบังคับบัญชามีหัวหน้า 3 คน คือนายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ หัวหน้าคนที่ 1 นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง หัวหน้าคนที่ 2 และนายร้อยโทเจือ ควกุล หัวหน้าคนที่ 3 ได้ประชุมปรึกษาหารือและแบ่งแยกหน้าที่ให้กับสมาชิกต่างๆ ตามสายงานดังนี้

1. หน้าที่ปกครอง : นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง

2. หน้าที่เสนาธิการ : นายร้อยโทเจือ ควกุล โดยมีนายร้อยโททองดำ คล้ายโอภาส เป็นผู้ช่วย

3. หน้าที่การเงิน : นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ โดยมีนายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง เป็นผู้ช่วย

4. หน้าที่กฎหมาย : นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง โดยมีนายร้อยโททองดำ คล้ายโอภาส เป็นผู้ช่วย

5. หน้าที่ต่างประเทศ : นายพันตรีหลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์

6. หน้าที่บัญชีพล : นายร้อยตรีเขียน อุทัยกุล นายร้อยตรีโกย วรรณกุลและนายร้อยตรีปลั่ง ปูรณโชติ

7. หน้าที่จัดการเลี้ยงดู : นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์

8. หน้าที่สืบข่าวส่งข่าว : นายร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รัชนิกร นายร้อยตรีบ๋วย บุณยรัตพันธุ์นายร้อยตรีเนตร พูนวิวัฒน์และนายร้อยตรีสอน วงษ์โต

9. หน้าที่แพทย์ : นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์

10. ที่ปรึกษาทั่วไป : นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง

มีการวางแนวทางการเปลี่ยนแปลงการปกครองออกเป็น 2 แบบคือ

1. "ลิมิเตดมอนากี" (Limited Monarchy) การปกครองประเทศตามวิธีนี้กษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย โดยจะมีการดำเนินการ 2 อย่าง คือ[7]

1.1 ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาโดยละม่อม

1.2 ยกกำลังเข้าล้อมวัง แล้วบังคับให้ทรงสละพระราชอำนาจมาอยู่ใต้กฎหมาย หรือเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดินโดยจะทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต หรือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย

2. "รีปับลิค" (Republic) การปกครองประเทศตามวิธีนี้เป็นแบบประธานาธิบดี โดยจะทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ขึ้นเป็นประธานาธิบดี

ผลสืบเนื่องจากการก่อกบฏ

การก่อกบฏดังกล่าว ได้มีหนังสือพิมพ์ที่ออกในต่างประเทศ เช่น อังกฤษและอเมริกาเสนอข่าวทหารก่อการปฏิวัติ ได้พาดหัวข่าวและเนื้อหาของข่าวแต่เพียงว่ามีนายทหารกลุ่มหนึ่งพร้อมด้วยพลเรือนคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองในเมืองสยาม แต่ถูกทางการจับกุมตัวไว้ได้หมด หนังสือพิมพ์ต่างประเทศที่ลงข่าว เช่น หนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์ค เฮรัลด์ (The New York Herald) เดอะอีฟนิงก์ สตาร์ (The Evening Star) เดอะวอชิงตัน ไทม์ (The Washington Time) เดอะนิวยอร์ค ซัน (The New York Sun) เดอะวอชิงตัน โพสต์ (The Washington Post) และเดอะไทมส์ (The Times)

ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศของสยามดูไม่ค่อยสบายใจนัก ที่ปรากฏข่าวเรื่องกบฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ในต่างประเทศ สมเด็จกรมพระเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ จึงทรงมีคำสั่งไปยังสถานทูตในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่กรุงวอชิงตันสหรัฐอเมริกาว่า ถ้ามีผู้สอบถามเรื่องทหารก่อการกบฏในกรุงเทพฯ ก็ให้ชี้แจงว่า ได้มีผู้วางแผนจะปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อจะสถาปนาระบอบการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐขึ้นมา แต่กลุ่มผู้ก่อการถูกจับกุมเสียก่อน มีผู้ถูกจับกุมประมาณ 60 คน ส่วนใหญ่เป็นพวกนายทหารหนุ่ม แต่ขณะนี้เหตุการณ์สงบเรียบร้อยแล้ว ไม่มีอะไรน่าหวั่นวิตก อนึ่งขอให้ทำความเข้าใจด้วยว่า การจับกุมครั้งนี้ไม่ใช่เพราะนายทหารหนุ่มมีความผิดเรื่องเรียกร้องรัฐธรรมนูญ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้มีน้ำพระหทัยกว้างและทรงรักเสรีภาพดีพอ ทรงเข้าพระหทัยในเรื่องประชาธิปไตย แต่ที่ต้องจับกุมเพราะนายทหารกลุ่มนี้จะใช้วิธีการรุนแรงถึงขั้นทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์

คณะผู้ก่อการ ร.ศ. 130 เริ่มประชุมกันกลางเดือนมกราคม และหลังจากนั้นเพียง 6 สัปดาห์ก็ถูกจับกุม แม้สมาชิกแทบทุกคนลงความเห็นว่าเป็นเพราะนายร้อยเอกยุทธ หรือ ร.อ. หลวงสินาดโยธารักษ์ (แต้ม คงอยู่) ซึ่งกำลังจะไปรับตำแหน่งผู้บังคับกรมทหารปืนใหญ่ที่ 7 พิษณุโลก เข้ามาเป็นสมาชิกในการประชุม 2 ครั้งหลัง และนำเรื่องทั้งหมดไปทูลหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติเกษมสันต์ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ นายร้อยเอกยุทธ ยังเป็นคนเดียวในคณะที่ไม่ถูกลงโทษ และทางราชการยังได้ปูนบำเหน็จด้วยการส่งไปศึกษาต่อต่างประเทศ ที่กรุงปารีส เพื่อหลีกหนีภัยที่อาจเกิดขึ้นจากนายทหารที่ถูกจับกุม ซึ่งอาจจะเจ็บแค้นและสั่งให้พรรคพวกที่อยู่นอกคุกตาม "เก็บ" อย่างไรก็ตาม คณะ ร.ศ. 130 ก็ยังมีข้อบกพร่องในการดำเนินการอีกหลายประการจนทำให้ถูกจับกุมดังต่อไปนี้

1. ขาดแผนการ ไม่ว่าจะเป็นแผนเล็กหรือแผนใหญ่ การประชุมขาดระเบียบ ไม่มีวาระการประชุม มีการพูดจาทุ่มเถียงอึกทึก ดูแล้วเหมือนวงเหล้าเสวนานินทาเจ้านาย นอกจากนี้ยังไม่มีการกำหนดตัวว่าใครเป็นหัวหน้ากลุ่มชัดเจน เมื่อมีการจับกุมทางการยังหาหลักฐานไม่ได้ว่าหัวหน้าขบวนการคือใคร ในที่สุดก็ต้องสรุปเอาว่า นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ และนายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง เป็นหัวหน้ากลุ่ม เพราะเป็นผู้ที่พูดมากที่สุดในการประชุมแต่ละครั้ง

2. ตั้งอยู่ในความประมาท การจับกลุ่มชุมนุมแต่ละครั้ง มีการวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของราชการ ตลอดจนตำหนิติเตียนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมิได้ระมัดระวังและไม่สนใจว่าเป็นการกระทำที่มีโทษมหันต์ ไม่มีการระแวดระวังสอดแนมติดตามดูการเคลื่อนไหวของทางการ เช่น นายร้อยเอกยุทธ เข้าร่วมประชุมในคืนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ แล้ววันรุ่งขึ้นก็เข้าเฝ้าถวายรายงานต่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ และในคืนนั้นเองก็ยังกลับเข้าร่วมการประชุม เพื่อแสวงหาความลับอีก นอกจากนี้นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ ยังขาดความระมัดระวังพกรายชื่อสมาชิกผู้เข้าร่วมก่อการติดตัวไว้โดยไม่จำเป็น เมื่อถูกจับกุมเจ้าหน้าที่สามารถค้นรายชื่อสมาชิกจากรายชื่อดังกล่าวได้ถึง 58 ชื่อ ไม่รวมรายชื่อที่ถูกรายงานโดยนายร้อยเอกยุทธอีก 26 ชื่อ

3. การซัดทอดกันเองในกลุ่ม เมื่อแรกถูกจับกุมทางการไม่มีหลักฐานใดมากไปกว่ารายชื่อของนายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ และรายงานราชการลับของนายร้อยเอกยุทธ แต่ภายหลังเมื่อมีการไต่สวน บุคคลที่ถูกจับต่างซัดทอดกันเองบานปลายไปเกี่ยวข้องกับคนอีกจำนวนมาก แต่ก็เป็นไปได้ว่าการไต่สวนนั้นอาจมีการข่มขู่หรือผู้ถูกสอบสวนขาดปฏิภาณไหวพริบและการต่อสู้กับวิธีการสอบสวน นอกจากผู้เป็นทนายและนักเรียนกฎหมายบางคน เช่น นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา ซึ่งพอมีชั้นเชิงตอบโต้กับการไต่สวนได้บ้าง

4. การดำเนินการ โดยเฉพาะการเสาะแสวงหาสมาชิกเป็นไปอย่างหละหลวม ไม่รัดกุม ไม่มีการกลั่นกรองว่าให้ผู้ใดชักชวนใครเข้าร่วม ไม่มีมาตรการกำหนดคุณสมบัติผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิก โดยสมาชิกแต่ละคนต่างใช้ดุลยพินิจส่วนตัวในการชักชวนสมาชิก พอเห็นหน้าใครที่พอรู้จักและเป็นทหาร ก็ชักชวนกันง่ายๆ ด้วยคำถามทำนองเช่น "อยากเป็นคนหัวเก่าหรือหัวใหม่" "อยากเป็นคนโง่หรือคนฉลาด" ถ้าอยากเป็นคนหัวใหม่ หรือเป็นคนฉลาดก็ให้ไปประชุมที่นั่น ที่นี่ มีเรื่องสำคัญจะเล่าให้ฟัง นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการดื่มน้ำร่วมสาบานจะเป็นเครื่องผูกมัดให้คนซื่อสัตย์และมีความภักดีต่อการก่อการประชุมขาดความจริงจัง ราวกับเป็นการชุมนุมสังสรรค์เพื่อนมากกว่าจะเป็นการประชุมเพื่อการก่อการปฏิวัติล้มล้างอำนาจทางปกครอง

กล่าวโดยสรุปคณะ ร.ศ. 130 ถูกจับกุมเนื่องจากขาดการวางแผน ตั้งอยู่ในความประมาท รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตลอดจนมีการทรยศและซัดทอดผู้ร่วมก่อการ นายร้อยโทกินสุน แพทย์ทหาร ซึ่งเคยเข้าร่วมประชุมและให้การเป็นพยานโจทก์ก็ให้ความเห็นว่า "พวกที่คิดๆ โดยมากเป็นเด็ก ๆ มุทะลุ ตึงตัง ทำอะไรเห็นเป็นการสำเร็จทั้งนั้น" แต่ในความเป็นจริง ทางการได้ลงความเห็นมาตั้งแต่ราวกลางเดือนเมษายนแล้วว่า พวกก่อการกำเริบมีความผิดฐานพยายามจะประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 97 และฐานพยายามกบฏตามมาตรา 102 ต่างมีโทษประหารชีวิตทุกคน ในที่สุดคณะพิจารณาคดีก็ตัดสินโทษโดยพิจารณาถึงการมีส่วนร่วมกระทำความผิดมากน้อยเพียงใด โดยมีโทษหนักที่สุดคือประหารชีวิต จนมาถึงเบาที่สุดคือจำคุก 12 ปี มีผู้ถูกตัดสินประหารชีวิต 3 นายคือ นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ ในฐานะ "เป็นคนต้นคิดและหัวหน้าคณะแห่งคนพวกนี้ที่ปรากฏว่าคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมืองและคิดกระทำการถึงประทุษร้ายต่อประชาชนและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว", นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่า "คงเกี่ยวกับการจัดหาอาวุธ" และ นายร้อยตรีเจือ ศิลาอาสน์ "ซึ่งเข้าร่วมประชุมสามครั้ง ภายหลังคิดเกลี้ยกล่อมคนจะเข้าแย่งพรรคพวกที่ถูกขังในเวลาใดเวลาหนึ่ง สุดแต่จะมีโอกาสกับพยายามประทุษร้ายพระเจ้าแผ่นดิน" [8]

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยความว่า "เห็นว่า กรรมการพิพากษาลงโทษพวกเหล่านี้ ชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการแล้ว แต่ว่าความผิดของพวกเหล่านี้มีข้อสำคัญที่จะกระทำร้ายต่อตัวเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทอาฆาต มาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรที่จะลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินจะยกให้ได้ เพราะฉะนั้นบรรดาผู้ที่มีชื่อ 3 คน ซึ่งวางโทษไว้ในคดีพิพากษาของกรรมการว่าเป็นโทษชั้นที่ 1 ให้ประหารชีวิตนั้น ให้ลดลงเป็นโทษชั้นที่ 2 ให้จำคุกตลอดชีวิต แลบรรดาผู้มีชื่อ 20 คน ซึ่งวางโทษไว้เป็นชั้นที่ 2 ให้จำคุกตลอดชีวิตนั้น ให้ลดลงเป็นโทษชั้นที่ 3 คือ ให้จำคุกมีกำหนด 20 ปี ตั้งแต่วันนี้สืบไป แต่บรรดาผู้ที่มีชื่ออีก 68 คน ซึ่งวางโทษไว้ชั้นที่ 3 ให้จำคุก 20 ปี 32 คน และวางโทษชั้นที่ 4 ให้จำคุก 15 ปี 6 คน และวางโทษชั้นที่ 5 ให้จำคุก 12 ปี 30 คนนั้น ให้รอการลงอาญาไว้ ทำนองอย่างเช่นได้กล่าวในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 41 และ 42 ซึ่งว่าด้วยการรอลงอาญาในโทษอย่างน้อยนั้น และอย่าเพ่อให้ออกจากตำแหน่งยศก่อน แต่ฝ่ายผู้มีชื่อ 3 คน ที่ได้ลงโทษชั้นที่ 2 กับผู้ที่มีชื่อ 20 คน ที่ได้ลงโทษชั้นที่ 3 รวม 23 คน ดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ให้ถอดจากยศบรรดาศักดิ์ตามอย่างธรรมเนียม ซึ่งเคยมีกับโทษเช่นนั้น..."[9]

คณะ ร.ศ. 130 จึงถูกจำคุกจริงๆ 25 คน โดยถูกคุมขังในคุกมหันตโทษ (คุกต่างประเทศ) 23 คน และเรือนจำนครสวรรค์ 2 คน ทั้งหมดต้องโทษถูกคุกขังอยู่ 12 ปี 6 เดือน 6 วัน จึงได้รับพระราชทานอภัยโทษ ในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ในวโรกาสครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์ ระหว่างต้องโทษมีผู้เสียชีวิต 2 คนคือ นายร้อยตรีวาส วาสนา หลังจากต้องโทษ 4 ปี ถึงแก่กรรมด้วยวัณโรค และ หลังจากนั้นอีก 2 ปี นายร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รัชนิกร ถึงแก่กรรมด้วยโรคลำไส้

ทั้งนี้เหตุการณ์ ร.ศ. 130 เป็นแรงผลักดันให้คณะราษฎร ก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยภายหลังการยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับ ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า "ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม" และหลวงประดิษฐ์มนูธรรมก็ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า "พวกผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการกระทำเมื่อ ร.ศ. 130"[10] ซึ่งวีรกรรมของคณะปฏิวัติร.ศ. 130 จะต้องเป็นเครื่องเตือนใจให้อนุชนคนไทย ทั้งในวันนี้และวันหน้าได้รำลึกว่า สิทธิของการเป็นพลเมืองเจ้าของชาติ เป็นสิทธิที่เราจะต้องหวงแหนและรักษาไว้ด้วยชีวิต

อ้างอิง

  1. พีระพงษ์ สิทธิอมรและคณะ. ประวัติศาสตร์การเมืองไทย. กรุงเทพฯ : ซี แอนด์ เอ็น, 2549. หน้า 21.
  2. ชัยอนันต์ สมุทวณิช. ย้อนทวนเรื่องประวัติศาสตร์จาก ร.ศ. 130 ถึง 24 มิถุนายน 2475. สถาบันนโยบายศึกษา, ข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557.เว็บไซต์ http://www.fpps.or.th/news.php?detail=n1354943464.news
  3. มนตรี รูปสุวรรณ. วิวัฒนาการของระบบรัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ : อัดสำเนาวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยปารีส, 2528. หน้า 21.
  4. จักษ์ พันธ์ชูเพชร. การเมืองการปกครองไทยจากยุคสุโขทัยสู่สมัยทักษิณ. ปทุมธานี : บริษัท มายด์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2549. หน้า 147.
  5. เรื่องเดียวกัน, หน้า 148.
  6. เหรียญ ศรีจันทร์และเนตร พูนวิวัฒน์. ปฏิวัติ ร.ศ. 130. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 48.
  7. เรื่องเดียวกัน. หน้า 250.
  8. เรื่องเดียวกัน. หน้า 322.
  9. เรื่องเดียวกัน. หน้า 341.
  10. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. หนึ่งศตวรรษ : รัฐธรรมนูญและรัฐประหารกับการเมืองสยามประเทศไทยจากกบฏ ร.ศ.130 ถึงรัฐประหาร 19 กันยายน 2549. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2552. หน้า 41.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

1. ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์, ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์. ปฏิวัติ ร.ศ. 130. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556

2. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. หนึ่งศตวรรษ : รัฐธรรมนูญและรัฐประหารกับการเมืองสยามประเทศไทยจากกบฏ ร.ศ.130 ถึงรัฐประหาร 19 กันยายน 2549. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2552.

บรรณานุกรม

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. หนึ่งศตวรรษ : รัฐธรรมนูญและรัฐประหารกับการเมืองสยามประเทศไทยจาก กบฏ ร.ศ.130 ถึงรัฐประหาร 19 กันยายน 2549. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2552.

พีระพงษ์ สิทธิอมรและคณะ. ประวัติศาสตร์การเมืองไทย. กรุงเทพฯ : ซี แอนด์ เอ็น, 2549.

จักษ์ พันธ์ชูเพชร. การเมืองการปกครองไทยจากยุคสุโขทัยสู่สมัยทักษิณ. ปทุมธานี : บริษัท มายด์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2549.

มนตรี รูปสุวรรณ. วิวัฒนาการของระบบรัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยปารีส, 2528 (อัดสำเนาวิทยานิพนธ์)

เหรียญ ศรีจันทร์ และ เนตร พูนวิวัฒน์. ปฏิวัติ ร.ศ. 130. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556.