ผลต่างระหว่างรุ่นของ "15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศ.นรนิต เศรษฐบุตร ---- '''ผู้ทรงคุณวุ...'
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' ศ.นรนิต เศรษฐบุตร
'''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


----
----
บรรทัดที่ 7: บรรทัดที่ 7:
----
----


วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 นั้นสำคัญมากสำหรับเรื่องประชาธิปไตย เพราะเป็นวันที่จัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรโดยทางอ้อมของประชาชนชาวสยามในแผ่นดินนี้ นับเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก
วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 นั้นสำคัญมากสำหรับเรื่อง[[ประชาธิปไตย]] เพราะเป็นวันที่จัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรโดยทางอ้อมของประชาชนชาวสยามในแผ่นดินนี้ นับเป็น[[การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก]]
ดังที่บอกไว้แล้วว่าเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมของประชาชนจึงเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรก และครั้งเดียวของไทย
ดังที่บอกไว้แล้วว่าเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมของประชาชนจึงเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรก และครั้งเดียวของไทย
บรรทัดที่ 16: บรรทัดที่ 16:
ดร.นิยม  รัฐอมฤต เขียนไว้เกี่ยวกับการเลือกตั้งในหนังสือการเมืองการปกครองไทยในรอบ 60 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความตอนหนึ่งว่า
ดร.นิยม  รัฐอมฤต เขียนไว้เกี่ยวกับการเลือกตั้งในหนังสือการเมืองการปกครองไทยในรอบ 60 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความตอนหนึ่งว่า


“เมื่อได้ผู้แทนตำบลแล้ว ผู้แทนตำบลจึงออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัด โดยผู้แทนตำบลมีสิทธิเลือก ส.ส. ได้เท่าจำนวน ส.ส. ที่จังหวัดนั้นพึงมี การเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้มี ส.ส. ประเภท 1 จำนวน 78 คน โดยถือจำนวนประชากรของแต่ละจังหวัดเป็นเกณฑ์กำหนดจำนวน ส.ส.”
“เมื่อได้ผู้แทนตำบลแล้ว ผู้แทนตำบลจึงออกเสียง[[เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ของจังหวัด โดยผู้แทนตำบลมีสิทธิเลือก [[ส.ส.]] ได้เท่าจำนวน ส.ส. ที่จังหวัดนั้นพึงมี การเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้มี ส.ส. ประเภท 1 จำนวน 78 คน โดยถือจำนวนประชากรของแต่ละจังหวัดเป็นเกณฑ์กำหนดจำนวน ส.ส.”
จึงเห็นได้ว่าช่วงเวลาเลือกตั้งทั้ง 2 ขั้นตอน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 กินเวลา 45 วัน นับว่านานพอควร
จึงเห็นได้ว่าช่วงเวลาเลือกตั้งทั้ง 2 ขั้นตอน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 กินเวลา 45 วัน นับว่านานพอควร
ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงเวลาเลือกตั้ง ที่คนไทยเพิ่งเริ่มรู้รสการมีสิทธิมีเสียงและจะได้ออกมาใช้สิทธิใช้เสียงเลือกตั้งครั้งนั้น ก็เป็นเวลาที่หวาดเสียวมากของบ้านเมือง เพราะเป็น
ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงเวลาเลือกตั้ง ที่คนไทยเพิ่งเริ่มรู้รสการมีสิทธิมีเสียงและจะได้ออกมาใช้สิทธิใช้เสียงเลือกตั้งครั้งนั้น ก็เป็นเวลาที่หวาดเสียวมากของบ้านเมือง เพราะเป็น
ช่วงเวลาที่เกิดกบฏบวรเดช อันเป็นสงครามกลางเมืองของไทย ที่ทั้งฝ่ายกบฏและฝ่ายรัฐบาลได้ใช้กำลังรบราฆ่าฟันกันจนมีผู้เสียชีวิตไปพอควร
ช่วงเวลาที่เกิด[[กบฏบวรเดช]] อันเป็นสงครามกลางเมืองของไทย ที่ทั้งฝ่ายกบฏและฝ่ายรัฐบาลได้ใช้กำลังรบราฆ่าฟันกันจนมีผู้เสียชีวิตไปพอควร
การปราบกบฏสิ้นสุดลงเมื่อรัฐบาลชนะ รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้แถลงต่อสภาในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ว่าได้ปราบกบฏ
การปราบกบฏสิ้นสุดลงเมื่อรัฐบาลชนะ รัฐบาลโดย[[นายกรัฐมนตรี]] [[นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา]] ได้แถลงต่อสภาในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ว่าได้ปราบกบฏ
ได้เสร็จสิ้นแล้ว
ได้เสร็จสิ้นแล้ว


ขนาดทเกิดสงครามกลางเมืองรบราฆ่าฟันกันประมาณ 10 วัน ทางรัฐบาลขณะนั้น ก็ยังเดินหน้าจัดการเลือกตั้งต่อไปจนสำเร็จเรียบร้อย นับว่าน่าชมเชย
ขนาดเกิดสงครามกลางเมืองรบราฆ่าฟันกันประมาณ 10 วัน ทางรัฐบาลขณะนั้น ก็ยังเดินหน้าจัดการเลือกตั้งต่อไปจนสำเร็จเรียบร้อย นับว่าน่าชมเชย
ตอนนั้นประเทศไทยมีอยู่ 70 จังหวัด เลือกผู้แทนราษฎรหนึ่งคน นับว่าเป็นอัตราส่วนที่คิดจำนวนประชากรไม่สูงมาก เพราะตอนนั้นประชากรทั้งประเทศของสยามยังมีไม่ถึง 18 ล้านคน
ตอนนั้นประเทศไทยมีอยู่ 70 จังหวัด เลือกผู้แทนราษฎรหนึ่งคน นับว่าเป็นอัตราส่วนที่คิดจำนวนประชากรไม่สูงมาก เพราะตอนนั้นประชากรทั้งประเทศของสยามยังมีไม่ถึง 18 ล้านคน
จำนวนผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งมีมากกว่าจำนวน 70 คน เพราะมีบางจังหวัดมีผู้แทนราษฎรได้มากกว่าหนึ่งคนเช่นจังหวัดเชียงใหม่มีผู้แทนราษฎรได้ 2 คน จังหวัดร้อยเอ็ดกับจังหวัดมหาสารคามก็มีผู้แทนราษฎรได้ 2 คน เพราะมีประชากรมาก เช่นเดียวกับจังหวัดนครราชสีมาก็มีผู้แทนราษฎรได้ 2 คน แต่จังหวัดที่มีผู้แทนราษฎรได้มากที่สุดมีอยู่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดพระนครที่เป็นเมืองหลวงกับจังหวัดอุบลราชธานี เพราะมีผู้แทนราษฎรได้ถึง 3 คน
จำนวนผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งมีมากกว่าจำนวน 70 คน เพราะมีบางจังหวัดมีผู้แทนราษฎรได้มากกว่าหนึ่งคนเช่นจังหวัดเชียงใหม่มี[[ผู้แทนราษฎร]]ได้ 2 คน จังหวัดร้อยเอ็ดกับจังหวัดมหาสารคามก็มีผู้แทนราษฎรได้ 2 คน เพราะมีประชากรมาก เช่นเดียวกับจังหวัดนครราชสีมาก็มีผู้แทนราษฎรได้ 2 คน แต่จังหวัดที่มีผู้แทนราษฎรได้มากที่สุดมีอยู่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดพระนครที่เป็นเมืองหลวงกับจังหวัดอุบลราชธานี เพราะมีผู้แทนราษฎรได้ถึง 3 คน
น่าเสียดายที่ผู้แทนราษฎรทั้งหมดเป็นบุรุษ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีสตรีไทยที่สนใจการเมืองลงสมัครเข้ารับเลือกตั้ง ปรากฏว่ามีผู้สมัครเป็นสตรี หากแต่ท่านไม่ได้รับเลือกตั้ง
น่าเสียดายที่ผู้แทนราษฎรทั้งหมดเป็นบุรุษ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีสตรีไทยที่สนใจการเมืองลงสมัครเข้ารับเลือกตั้ง ปรากฏว่ามีผู้สมัครเป็นสตรี หากแต่ท่านไม่ได้รับเลือกตั้ง
บรรทัดที่ 38: บรรทัดที่ 38:
จังหวัดที่ผู้คนกระตือรือร้นไปใช้สิทธิกันมากที่สุดเป็นจังหวัดเพชรบุรี มีคนไปใช้สิทธิถึงร้อยละ 78.82 ส่วนจังหวัดที่มีคนไปใช้สิทธิน้อยที่สุดจนได้ลงบันทึกก็คือจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่มีคนออกมาใช้สิทธิเพียงร้อยละ 17.71
จังหวัดที่ผู้คนกระตือรือร้นไปใช้สิทธิกันมากที่สุดเป็นจังหวัดเพชรบุรี มีคนไปใช้สิทธิถึงร้อยละ 78.82 ส่วนจังหวัดที่มีคนไปใช้สิทธิน้อยที่สุดจนได้ลงบันทึกก็คือจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่มีคนออกมาใช้สิทธิเพียงร้อยละ 17.71
ผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งชุดแรกจำนวน 78 คน มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ต่อมาเป็นนักการเมืองเรืองนาม วาจาดี มีชื่อเสียงและได้เป็นรัฐมนตรีคือ นายเลียง ไชยกาล และนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ทั้งสองท่านเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดอุบลราชธานี นายเลียง ไชยกาล นั้นฝีปากดี เคยตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีเรื่องนักการเมืองสำคัญและรัฐมนตรีไปซื้อที่ราคาถูกจากหน่วยงานของรัฐจนนายกรัฐมนตรี พระยาพหลพลพยุหเสนาต้องลาออก อันนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์นั้นก็เคยอภิปรายเล่นงานรัฐบาลสมัยต่อมาจนต้องออกเหมือนกัน นายเลียง ไชยกาล เคยถูกเพื่อนสมิกสภาจับโยนน้ำ แต่นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ถูกพิษทางการเมืองจับกุมและได้ถูกฆ่าตายขณะย้ายที่คุมขัง
ผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งชุดแรกจำนวน 78 คน มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ต่อมาเป็นนักการเมืองเรืองนาม วาจาดี มีชื่อเสียงและได้เป็นรัฐมนตรีคือ [[นายเลียง ไชยกาล]] และ[[นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์]] ทั้งสองท่านเป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]จากจังหวัดอุบลราชธานี นายเลียง ไชยกาล นั้นฝีปากดี เคยตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีเรื่องนักการเมืองสำคัญและรัฐมนตรีไปซื้อที่ราคาถูกจากหน่วยงานของรัฐจนนายกรัฐมนตรี พระยาพหลพลพยุหเสนาต้องลาออก อันนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์นั้นก็เคยอภิปรายเล่นงาน[[รัฐบาล]]สมัยต่อมาจนต้องออกเหมือนกัน นายเลียง ไชยกาล เคยถูกเพื่อนสมาชิกสภาจับโยนน้ำ แต่นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ถูกพิษทางการเมืองจับกุมและได้ถูกฆ่าตายขณะย้ายที่คุมขัง


รัฐบาลที่มีผู้แทนราษฎรครึ่งสภาที่มาจากการเลือกตั้งคราวนี้คือ รัฐบาลของนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศนั่นเอง
รัฐบาลที่มีผู้แทนราษฎรครึ่งสภาที่มาจากการเลือกตั้งคราวนี้คือ รัฐบาลของนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศนั่นเอง


[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]]
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:08, 9 กันยายน 2556

ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 นั้นสำคัญมากสำหรับเรื่องประชาธิปไตย เพราะเป็นวันที่จัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรโดยทางอ้อมของประชาชนชาวสยามในแผ่นดินนี้ นับเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก

ดังที่บอกไว้แล้วว่าเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมของประชาชนจึงเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรก และครั้งเดียวของไทย

ก่อนจะถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ก้ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้กรม การอำเภอ ดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนตำบลขึ้นทั่วประเทศในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 จากนั้นผู้แทนตำบลที่ราษฎรเลือกตั้งไว้ตำบลละหนึ่งคนจึงไปเลือกผู้แทนราษฎรอีกชั้นหนึ่ง

ดร.นิยม รัฐอมฤต เขียนไว้เกี่ยวกับการเลือกตั้งในหนังสือการเมืองการปกครองไทยในรอบ 60 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความตอนหนึ่งว่า

“เมื่อได้ผู้แทนตำบลแล้ว ผู้แทนตำบลจึงออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัด โดยผู้แทนตำบลมีสิทธิเลือก ส.ส. ได้เท่าจำนวน ส.ส. ที่จังหวัดนั้นพึงมี การเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้มี ส.ส. ประเภท 1 จำนวน 78 คน โดยถือจำนวนประชากรของแต่ละจังหวัดเป็นเกณฑ์กำหนดจำนวน ส.ส.”

จึงเห็นได้ว่าช่วงเวลาเลือกตั้งทั้ง 2 ขั้นตอน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 กินเวลา 45 วัน นับว่านานพอควร

ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงเวลาเลือกตั้ง ที่คนไทยเพิ่งเริ่มรู้รสการมีสิทธิมีเสียงและจะได้ออกมาใช้สิทธิใช้เสียงเลือกตั้งครั้งนั้น ก็เป็นเวลาที่หวาดเสียวมากของบ้านเมือง เพราะเป็น ช่วงเวลาที่เกิดกบฏบวรเดช อันเป็นสงครามกลางเมืองของไทย ที่ทั้งฝ่ายกบฏและฝ่ายรัฐบาลได้ใช้กำลังรบราฆ่าฟันกันจนมีผู้เสียชีวิตไปพอควร

การปราบกบฏสิ้นสุดลงเมื่อรัฐบาลชนะ รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้แถลงต่อสภาในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ว่าได้ปราบกบฏ ได้เสร็จสิ้นแล้ว

ขนาดเกิดสงครามกลางเมืองรบราฆ่าฟันกันประมาณ 10 วัน ทางรัฐบาลขณะนั้น ก็ยังเดินหน้าจัดการเลือกตั้งต่อไปจนสำเร็จเรียบร้อย นับว่าน่าชมเชย

ตอนนั้นประเทศไทยมีอยู่ 70 จังหวัด เลือกผู้แทนราษฎรหนึ่งคน นับว่าเป็นอัตราส่วนที่คิดจำนวนประชากรไม่สูงมาก เพราะตอนนั้นประชากรทั้งประเทศของสยามยังมีไม่ถึง 18 ล้านคน

จำนวนผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งมีมากกว่าจำนวน 70 คน เพราะมีบางจังหวัดมีผู้แทนราษฎรได้มากกว่าหนึ่งคนเช่นจังหวัดเชียงใหม่มีผู้แทนราษฎรได้ 2 คน จังหวัดร้อยเอ็ดกับจังหวัดมหาสารคามก็มีผู้แทนราษฎรได้ 2 คน เพราะมีประชากรมาก เช่นเดียวกับจังหวัดนครราชสีมาก็มีผู้แทนราษฎรได้ 2 คน แต่จังหวัดที่มีผู้แทนราษฎรได้มากที่สุดมีอยู่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดพระนครที่เป็นเมืองหลวงกับจังหวัดอุบลราชธานี เพราะมีผู้แทนราษฎรได้ถึง 3 คน

น่าเสียดายที่ผู้แทนราษฎรทั้งหมดเป็นบุรุษ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีสตรีไทยที่สนใจการเมืองลงสมัครเข้ารับเลือกตั้ง ปรากฏว่ามีผู้สมัครเป็นสตรี หากแต่ท่านไม่ได้รับเลือกตั้ง

ตอนนั้นผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในสยามมีอยู่ 4,278,231 คน ไปออกเสียงใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งจำนวน 1,773,532คน เป็นอัตราร้อยละ 41.45 สมัยนั้นน่าจะถือว่าเป็นจำนวนมากทีเดียว

จังหวัดที่ผู้คนกระตือรือร้นไปใช้สิทธิกันมากที่สุดเป็นจังหวัดเพชรบุรี มีคนไปใช้สิทธิถึงร้อยละ 78.82 ส่วนจังหวัดที่มีคนไปใช้สิทธิน้อยที่สุดจนได้ลงบันทึกก็คือจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่มีคนออกมาใช้สิทธิเพียงร้อยละ 17.71

ผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งชุดแรกจำนวน 78 คน มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ต่อมาเป็นนักการเมืองเรืองนาม วาจาดี มีชื่อเสียงและได้เป็นรัฐมนตรีคือ นายเลียง ไชยกาล และนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ทั้งสองท่านเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดอุบลราชธานี นายเลียง ไชยกาล นั้นฝีปากดี เคยตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีเรื่องนักการเมืองสำคัญและรัฐมนตรีไปซื้อที่ราคาถูกจากหน่วยงานของรัฐจนนายกรัฐมนตรี พระยาพหลพลพยุหเสนาต้องลาออก อันนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์นั้นก็เคยอภิปรายเล่นงานรัฐบาลสมัยต่อมาจนต้องออกเหมือนกัน นายเลียง ไชยกาล เคยถูกเพื่อนสมาชิกสภาจับโยนน้ำ แต่นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ถูกพิษทางการเมืองจับกุมและได้ถูกฆ่าตายขณะย้ายที่คุมขัง

รัฐบาลที่มีผู้แทนราษฎรครึ่งสภาที่มาจากการเลือกตั้งคราวนี้คือ รัฐบาลของนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศนั่นเอง