ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสียงข้างมาก เสียงข้างน้อย"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน) | |||
บรรทัดที่ 5: | บรรทัดที่ 5: | ||
---- | ---- | ||
เสียงข้างมาก เสียงข้างน้อย มีความหมายในการแสดงความเห็นต่อเรื่องใดหนึ่งซึ่งมีความสำคัญ | เสียงข้างมาก เสียงข้างน้อย มีความหมายในการแสดงความเห็นต่อเรื่องใดหนึ่งซึ่งมีความสำคัญ โดยเฉพาะการปกครองระบอบ[[ประชาธิปไตย]]ที่ประชาชนหรือสมาชิกทุกคนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระเท่าเทียมกัน | ||
==ความหมาย== | ==ความหมาย== | ||
บรรทัดที่ 11: | บรรทัดที่ 11: | ||
เสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตย เป็นคะแนนเสียงที่สมาชิกใช้ลงมติ ที่มีมากเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด<ref>เดโช สวนานนท์, '''พจนานุกรมศัพท์การเมือง,''' กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่โลกกว้าง, 2537,หน้า 157-159.</ref> หรือของจำนวนสมาชิกในที่ประชุมนั้น เพื่อวินิจฉัย หรือลงมติสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง | เสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตย เป็นคะแนนเสียงที่สมาชิกใช้ลงมติ ที่มีมากเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด<ref>เดโช สวนานนท์, '''พจนานุกรมศัพท์การเมือง,''' กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่โลกกว้าง, 2537,หน้า 157-159.</ref> หรือของจำนวนสมาชิกในที่ประชุมนั้น เพื่อวินิจฉัย หรือลงมติสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง | ||
เสียงข้างมาก (Majority)<ref>คณิน บุญสุวรรณ, '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย,''' พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548, หน้า 992-994.</ref> หมายถึง | เสียงข้างมาก (Majority)<ref>คณิน บุญสุวรรณ, '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย,''' พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548, หน้า 992-994.</ref> หมายถึง เสียงข้างมากใน[[การประชุมสภาผู้แทนราษฎร]] การประชุม[[วุฒิสภา]] และการประชุม[[คณะกรรมาธิการ]] รวมทั้งเสียงข้างมากในการออกเสียงประชามติของประชาชน โดยเสียงข้างมากใน[[สภาผู้แทนราษฎร]]มีความชอบธรรมตาม[[รัฐธรรมนูญ]]ที่จะจัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชนและตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ และในส่วนของการตรากฎหมาย ก็ต้องอาศัยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรเช่นเดียวกัน เพราะการลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติทุกครั้งจะใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ | ||
ทั้งนี้ ในรัฐสภาต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาหรืออังกฤษ มีการกำหนดตำแหน่งผู้นำฝ่ายเสียงข้างมาก (Majority Leader)<ref>คณิน บุญสุวรรณ, '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย,''' พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548, หน้า 992-994.</ref> ซึ่งในประเทศไทยไม่มีตำแหน่งนี้ มีเพียงประธานวิปรัฐบาล (Chief Whip) ทำหน้าที่ประสานงานทางการเมืองในฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลเท่านั้น | ทั้งนี้ ในรัฐสภาต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาหรืออังกฤษ มีการกำหนดตำแหน่งผู้นำฝ่ายเสียงข้างมาก (Majority Leader)<ref>คณิน บุญสุวรรณ, '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย,''' พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548, หน้า 992-994.</ref> ซึ่งในประเทศไทยไม่มีตำแหน่งนี้ มีเพียงประธานวิปรัฐบาล (Chief Whip) ทำหน้าที่ประสานงานทางการเมืองในฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลเท่านั้น | ||
บรรทัดที่ 19: | บรรทัดที่ 19: | ||
ในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ มีการกำหนดให้มีผู้นำเสียงข้างน้อย (Minority Leader)<ref>เดโช สวนานนท์, '''พจนานุกรมศัพท์การเมือง,''' กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่โลกกว้าง, 2537, หน้า 157-159.</ref> ซึ่งในประเทศไทย รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ผู้นำเสียงข้างน้อยดำรงตำแหน่ง[[ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร]] (Leader of the Opposition) เพื่อเป็นหลักในการตรวจสอบรัฐบาล | ในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ มีการกำหนดให้มีผู้นำเสียงข้างน้อย (Minority Leader)<ref>เดโช สวนานนท์, '''พจนานุกรมศัพท์การเมือง,''' กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่โลกกว้าง, 2537, หน้า 157-159.</ref> ซึ่งในประเทศไทย รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ผู้นำเสียงข้างน้อยดำรงตำแหน่ง[[ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร]] (Leader of the Opposition) เพื่อเป็นหลักในการตรวจสอบรัฐบาล | ||
นอกจากนี้ ในการประชุมคณะกรรมาธิการของ[[สภาผู้แทนราษฎร]] และ[[วุฒิสภา]] โดยเฉพาะการประชุมพิจารณาร่าง[[พระราชบัญญัติ]]ในวาระที่สอง | นอกจากนี้ ในการประชุมคณะกรรมาธิการของ[[สภาผู้แทนราษฎร]] และ[[วุฒิสภา]] โดยเฉพาะการประชุมพิจารณาร่าง[[พระราชบัญญัติ]]ในวาระที่สอง มติของคณะกรรมาธิการต้องมาจาก[[กรรมาธิการเสียงข้างมาก]]ซึ่งรายงานต่อสภา แต่กรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่แพ้การลงมติต่อกรรมาธิการเสียงข้างมาก ก็ยังมีสิทธิที่จะสงวนข้อที่เห็นแตกต่างไปจากกรรมาธิการเสียงข้างมาก เพื่อให้ที่ประชุมสภาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง และตัดสินใจในขั้นสุดท้ายได้ เพื่อดูว่าที่ประชุมจะเห็นด้วยกับกรรมาธิการเสียงข้างมาก หรือเห็นด้วยกับกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ข้อสงวนของกรรมาธิการเสียงข้างน้อยดังกล่าวนี้ เรียกว่า สงวนความเห็น <ref>คณิน บุญสุวรรณ, '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย,''' พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548, หน้า 992-994.</ref> ซึ่งถือเป็นสิทธิของฝ่ายเสียงข้างน้อย (Minority Right)<ref>คณิน บุญสุวรรณ, '''ศัพท์รัฐสภา,''' พิมพ์ครั้งแรก, กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์, 2520, หน้า 157-158.</ref> | ||
==แนวคิดหลักการเสียงข้างมาก (Majority Rule) และหลักการเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย (Minority Rights)== | ==แนวคิดหลักการเสียงข้างมาก (Majority Rule) และหลักการเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย (Minority Rights)== | ||
บรรทัดที่ 25: | บรรทัดที่ 25: | ||
ระบอบประชาธิปไตย เป็นการปกครองโดยประชาชนส่วนใหญ่ จึงให้ความสำคัญกับหลักการเสียงข้างมาก (Majority Rule) ในการตัดสินข้อขัดแย้งทุกระดับ<ref>ชัยอนันต์ สมุทวณิช, '''ประชาธิปไตย สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ กับการเมืองไทย,''' พิมพ์ครั้งแรก, กรุงเทพฯ : พิฆเณศ, 2519, หน้า 17-18.</ref> โดยหลักการเสียงข้างมากหมายความว่า การตัดสินใจใดๆ ของกลุ่มหรือคณะบุคคล หลังจากที่ได้มีการปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นพอสมควรแล้ว ก็ให้ตัดสินเป็นข้อยุติโดยถือเสียงข้างมากเป็นเสียงชี้ขาด เพื่อให้สามารถดำเนินการเป็นรูปธรรมต่อไปได้<ref>วิสุทธิ์ โพธิแท่น, '''แนวคิดพื้นฐานของประชิปไตย,''' พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, 2550, หน้า 61-63.</ref> เช่น การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ที่ได้รับเลือก หรือในการออกเสียงประชามติ เรื่องที่มีผู้เห็นด้วยมากที่สุดจะได้รับการนำไปปฏิบัติ หรือกรณีการออกเสียงลงมติในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก็จะใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ตัดสิน เป็นต้น<ref>ชัยอนันต์ สมุทวณิช, '''ประชาธิปไตย สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ กับการเมืองไทย,''' พิมพ์ครั้งแรก, กรุงเทพฯ : พิฆเณศ, 2519, หน้า 17-18.</ref> | ระบอบประชาธิปไตย เป็นการปกครองโดยประชาชนส่วนใหญ่ จึงให้ความสำคัญกับหลักการเสียงข้างมาก (Majority Rule) ในการตัดสินข้อขัดแย้งทุกระดับ<ref>ชัยอนันต์ สมุทวณิช, '''ประชาธิปไตย สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ กับการเมืองไทย,''' พิมพ์ครั้งแรก, กรุงเทพฯ : พิฆเณศ, 2519, หน้า 17-18.</ref> โดยหลักการเสียงข้างมากหมายความว่า การตัดสินใจใดๆ ของกลุ่มหรือคณะบุคคล หลังจากที่ได้มีการปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นพอสมควรแล้ว ก็ให้ตัดสินเป็นข้อยุติโดยถือเสียงข้างมากเป็นเสียงชี้ขาด เพื่อให้สามารถดำเนินการเป็นรูปธรรมต่อไปได้<ref>วิสุทธิ์ โพธิแท่น, '''แนวคิดพื้นฐานของประชิปไตย,''' พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, 2550, หน้า 61-63.</ref> เช่น การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ที่ได้รับเลือก หรือในการออกเสียงประชามติ เรื่องที่มีผู้เห็นด้วยมากที่สุดจะได้รับการนำไปปฏิบัติ หรือกรณีการออกเสียงลงมติในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก็จะใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ตัดสิน เป็นต้น<ref>ชัยอนันต์ สมุทวณิช, '''ประชาธิปไตย สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ กับการเมืองไทย,''' พิมพ์ครั้งแรก, กรุงเทพฯ : พิฆเณศ, 2519, หน้า 17-18.</ref> | ||
อย่างไรก็ตาม [[หลักการเสียงข้างมาก]] (Majority Rule) ต้องดำเนินควบคู่ไปกับการเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย (Minority Rights)<ref>วิสุทธิ์ โพธิแท่น, '''แนวคิดพื้นฐานของประชิปไตย,''' พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : | อย่างไรก็ตาม [[หลักการเสียงข้างมาก]] (Majority Rule) ต้องดำเนินควบคู่ไปกับการเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย (Minority Rights)<ref>วิสุทธิ์ โพธิแท่น, '''แนวคิดพื้นฐานของประชิปไตย,''' พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : [[คณะรัฐมนตรี]]และราชกิจจานุเบกษา, 2550, หน้า 61-63.</ref> ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันว่าฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่ใช้วิธีการใดๆ ที่เห็นแก่ผลประโยชน์ของกลุ่มพวกพ้องตน แต่ต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งหมด เพื่อสร้างสังคมทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยฝ่ายเสียงข้างน้อย (Minority Right) จะต้องได้รับความคุ้มครอง ขณะที่ต้องยอมรับฟังจากเสียงส่วนใหญ่ไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในสังคม | ||
==บทบัญญัติเกี่ยวกับเสียงข้างมาก ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. '''ราชกิจจานุเบกษา''' ตอนที่ 47 ก เล่ม 124, วันที่ 24 สิงหาคม 2550, หน้า 1.</ref>== | ==บทบัญญัติเกี่ยวกับเสียงข้างมาก ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. '''ราชกิจจานุเบกษา''' ตอนที่ 47 ก เล่ม 124, วันที่ 24 สิงหาคม 2550, หน้า 1.</ref>== | ||
บรรทัดที่ 47: | บรรทัดที่ 47: | ||
(2) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สาม ต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ ออกใช้เป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา | (2) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สาม ต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ ออกใช้เป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา | ||
ให้นำบทบัญญัติในหมวด 6 ส่วนที่ 7 การตราพระราชบัญญัติ มาใช้บังคับกับ | ให้นำบทบัญญัติในหมวด 6 ส่วนที่ 7 การตราพระราชบัญญัติ มาใช้บังคับกับ การพิจารณาร่าง]]พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ]]ด้วยโดยอนุโลม | ||
'''มาตรา 143''' ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน หมายความถึงร่างพระราชบัญญัติ ว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังต่อไปนี้ | '''มาตรา 143''' ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน หมายความถึงร่างพระราชบัญญัติ ว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังต่อไปนี้ | ||
บรรทัดที่ 59: | บรรทัดที่ 59: | ||
(4) เงินตรา | (4) เงินตรา | ||
ในกรณีที่เป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของ[[นายกรัฐมนตรี]]หรือไม่ | ในกรณีที่เป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของ[[นายกรัฐมนตรี]]หรือไม่ ให้เป็นอำนาจของที่ประชุมร่วมกันของ[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]และประธาน[[คณะกรรมาธิการสามัญ]]ของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะเป็นผู้วินิจฉัย | ||
ให้[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]จัดให้มีการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณากรณีตามวรรคสอง ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว | ให้[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]จัดให้มีการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณากรณีตามวรรคสอง ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว | ||
บรรทัดที่ 65: | บรรทัดที่ 65: | ||
มติของที่ประชุมร่วมกันตามวรรคสองให้ใช้'''เสียงข้างมาก'''เป็นประมาณ ถ้าคะแนนเสียง เท่ากัน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด | มติของที่ประชุมร่วมกันตามวรรคสองให้ใช้'''เสียงข้างมาก'''เป็นประมาณ ถ้าคะแนนเสียง เท่ากัน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด | ||
'''มาตรา 165''' | '''มาตรา 165''' ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งย่อมมีสิทธิ[[ออกเสียงประชามติ]] | ||
การจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้กระทำได้ในเหตุ ดังต่อไปนี้ | การจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้กระทำได้ในเหตุ ดังต่อไปนี้ | ||
บรรทัดที่ 81: | บรรทัดที่ 81: | ||
หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการออกเสียง ประชามติ ระยะเวลาในการดำเนินการ และจำนวนเสียงประชามติ เพื่อมีข้อยุติ | หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการออกเสียง ประชามติ ระยะเวลาในการดำเนินการ และจำนวนเสียงประชามติ เพื่อมีข้อยุติ | ||
'''มาตรา 216 ''' | '''มาตรา 216 ''' องค์คณะของตุลาการ[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]ในการนั่งพิจารณาและในการทำคำวินิจฉัย ต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่าห้าคน คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ถือ'''เสียงข้างมาก''' เว้นแต่จะมีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้ | ||
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนจะต้องทำความเห็นในการวินิจฉัยในส่วนของตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ | ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนจะต้องทำความเห็นในการวินิจฉัยในส่วนของตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ | ||
บรรทัดที่ 97: | บรรทัดที่ 97: | ||
คำสั่งและคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เปิดเผยและเป็นที่สุด เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคสาม | คำสั่งและคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เปิดเผยและเป็นที่สุด เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคสาม | ||
ในกรณีที่ผู้ต้องคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ[[ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง]]มีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ อาจยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ | |||
หลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ให้เป็นไป ตามระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนด | หลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ให้เป็นไป ตามระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนด | ||
บรรทัดที่ 151: | บรรทัดที่ 151: | ||
วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2550). แนวคิดพื้นฐานของประชิปไตย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. | วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2550). แนวคิดพื้นฐานของประชิปไตย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. | ||
[[หมวดหมู่: กิจกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการทางนิติบัญญัติ|ส]] | |||
[[หมวดหมู่:ศุภพรรัตน์ สุขพุ่ม|ส]] | |||
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:34, 7 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง ศุภพรรัตน์ สุขพุ่ม
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
เสียงข้างมาก เสียงข้างน้อย มีความหมายในการแสดงความเห็นต่อเรื่องใดหนึ่งซึ่งมีความสำคัญ โดยเฉพาะการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนหรือสมาชิกทุกคนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระเท่าเทียมกัน
ความหมาย
เสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตย เป็นคะแนนเสียงที่สมาชิกใช้ลงมติ ที่มีมากเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด[1] หรือของจำนวนสมาชิกในที่ประชุมนั้น เพื่อวินิจฉัย หรือลงมติสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
เสียงข้างมาก (Majority)[2] หมายถึง เสียงข้างมากในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา และการประชุมคณะกรรมาธิการ รวมทั้งเสียงข้างมากในการออกเสียงประชามติของประชาชน โดยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรมีความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญที่จะจัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชนและตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ และในส่วนของการตรากฎหมาย ก็ต้องอาศัยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรเช่นเดียวกัน เพราะการลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติทุกครั้งจะใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์
ทั้งนี้ ในรัฐสภาต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาหรืออังกฤษ มีการกำหนดตำแหน่งผู้นำฝ่ายเสียงข้างมาก (Majority Leader)[3] ซึ่งในประเทศไทยไม่มีตำแหน่งนี้ มีเพียงประธานวิปรัฐบาล (Chief Whip) ทำหน้าที่ประสานงานทางการเมืองในฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลเท่านั้น
เสียงข้างน้อย (Minority) [4][5] หมายถึง เสียงข้างน้อยในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา การประชุมรัฐสภา และการประชุมคณะกรรมาธิการ ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่ยึดเอาเสียงข้างมากเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามเสียงข้างน้อยก็ใช่ว่าจะถูกละเลยหรือถูกมองข้ามไป
ในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ มีการกำหนดให้มีผู้นำเสียงข้างน้อย (Minority Leader)[6] ซึ่งในประเทศไทย รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ผู้นำเสียงข้างน้อยดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (Leader of the Opposition) เพื่อเป็นหลักในการตรวจสอบรัฐบาล
นอกจากนี้ ในการประชุมคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา โดยเฉพาะการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่สอง มติของคณะกรรมาธิการต้องมาจากกรรมาธิการเสียงข้างมากซึ่งรายงานต่อสภา แต่กรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่แพ้การลงมติต่อกรรมาธิการเสียงข้างมาก ก็ยังมีสิทธิที่จะสงวนข้อที่เห็นแตกต่างไปจากกรรมาธิการเสียงข้างมาก เพื่อให้ที่ประชุมสภาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง และตัดสินใจในขั้นสุดท้ายได้ เพื่อดูว่าที่ประชุมจะเห็นด้วยกับกรรมาธิการเสียงข้างมาก หรือเห็นด้วยกับกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ข้อสงวนของกรรมาธิการเสียงข้างน้อยดังกล่าวนี้ เรียกว่า สงวนความเห็น [7] ซึ่งถือเป็นสิทธิของฝ่ายเสียงข้างน้อย (Minority Right)[8]
แนวคิดหลักการเสียงข้างมาก (Majority Rule) และหลักการเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย (Minority Rights)
ระบอบประชาธิปไตย เป็นการปกครองโดยประชาชนส่วนใหญ่ จึงให้ความสำคัญกับหลักการเสียงข้างมาก (Majority Rule) ในการตัดสินข้อขัดแย้งทุกระดับ[9] โดยหลักการเสียงข้างมากหมายความว่า การตัดสินใจใดๆ ของกลุ่มหรือคณะบุคคล หลังจากที่ได้มีการปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นพอสมควรแล้ว ก็ให้ตัดสินเป็นข้อยุติโดยถือเสียงข้างมากเป็นเสียงชี้ขาด เพื่อให้สามารถดำเนินการเป็นรูปธรรมต่อไปได้[10] เช่น การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ที่ได้รับเลือก หรือในการออกเสียงประชามติ เรื่องที่มีผู้เห็นด้วยมากที่สุดจะได้รับการนำไปปฏิบัติ หรือกรณีการออกเสียงลงมติในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก็จะใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ตัดสิน เป็นต้น[11]
อย่างไรก็ตาม หลักการเสียงข้างมาก (Majority Rule) ต้องดำเนินควบคู่ไปกับการเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย (Minority Rights)[12] ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันว่าฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่ใช้วิธีการใดๆ ที่เห็นแก่ผลประโยชน์ของกลุ่มพวกพ้องตน แต่ต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งหมด เพื่อสร้างสังคมทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยฝ่ายเสียงข้างน้อย (Minority Right) จะต้องได้รับความคุ้มครอง ขณะที่ต้องยอมรับฟังจากเสียงส่วนใหญ่ไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในสังคม
บทบัญญัติเกี่ยวกับเสียงข้างมาก ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[13]
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 110 ได้บัญญัติเกี่ยวกับเสียงข้างมากไว้หลายมาตรา โดยส่วนใหญ่จะใช้เสียงข้างมากในการลงมติ วินิจฉัยข้อปรึกษา หรือการวินิจฉัยชี้ขาด ดังปรากฏในมาตรา 126, มาตรา 140, มาตรา 143, มาตรา 165, มาตรา 216, มาตรา 278 และ มาตรา 291 ดังนี้[14]
มาตรา 126 การประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมวุฒิสภาต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา จึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่ในกรณีการพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ถามตามมาตรา 156 และมาตรา 157 สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาจะกำหนดเรื่ององค์ประชุมไว้ในข้อบังคับเป็นอย่างอื่นก็ได้
การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้
สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา ต้องจัดให้มีการบันทึก การออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคน และเปิดเผยบันทึกดังกล่าวไว้ในที่ที่ประชาชนอาจเข้าไปตรวจสอบได้ เว้นแต่กรณีการออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ
การออกเสียงลงคะแนนเลือกหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดให้กระทำเป็นการลับ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้ และสมาชิกย่อมมีอิสระและไม่ถูกผูกพันโดยมติของพรรคการเมืองหรืออาณัติอื่นใด
มาตรา 140 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาให้กระทำเป็นสามวาระ ดังต่อไปนี้
(1) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ และในวาระที่สองขั้นพิจารณา เรียงลำดับมาตรา ให้ถือเสียงข้างมากของแต่ละสภา
(2) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สาม ต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ ออกใช้เป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา
ให้นำบทบัญญัติในหมวด 6 ส่วนที่ 7 การตราพระราชบัญญัติ มาใช้บังคับกับ การพิจารณาร่าง]]พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ]]ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 143 ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน หมายความถึงร่างพระราชบัญญัติ ว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร
(2) การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน
(3) การกู้เงิน การค้ำประกัน การใช้เงินกู้ หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ
(4) เงินตรา
ในกรณีที่เป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะเป็นผู้วินิจฉัย
ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรจัดให้มีการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณากรณีตามวรรคสอง ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว
มติของที่ประชุมร่วมกันตามวรรคสองให้ใช้เสียงข้างมากเป็นประมาณ ถ้าคะแนนเสียง เท่ากัน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา 165 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งย่อมมีสิทธิออกเสียงประชามติ
การจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้กระทำได้ในเหตุ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้
(2) ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ
การออกเสียงประชามติตาม (1) หรือ (2) อาจจัดให้เป็นการออกเสียงเพื่อมีข้อยุติ โดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติในปัญหาที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ หรือเป็นการออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีก็ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ
การออกเสียงประชามติต้องเป็นการให้ออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในกิจการตามที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ และการจัดการออกเสียงประชามติในเรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือเกี่ยวกับตัวบุคคลหรือคณะบุคคล จะกระทำมิได้
ก่อนการออกเสียงประชามติ รัฐต้องดำเนินการให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ และให้บุคคลฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบกับกิจการนั้น มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน
หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการออกเสียง ประชามติ ระยะเวลาในการดำเนินการ และจำนวนเสียงประชามติ เพื่อมีข้อยุติ
มาตรา 216 องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทำคำวินิจฉัย ต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่าห้าคน คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ถือเสียงข้างมาก เว้นแต่จะมีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนจะต้องทำความเห็นในการวินิจฉัยในส่วนของตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและความเห็นในการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทุกคน ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างน้อยต้องประกอบด้วยความเป็นมาหรือคำกล่าวหา สรุปข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการพิจารณา เหตุผลในการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ
วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
มาตรา 278 การพิพากษาคดีให้ถือเสียงข้างมาก โดยผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะทุกคน ต้องทำความเห็นในการวินิจฉัยคดีเป็นหนังสือพร้อมทั้งต้องแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ
คำสั่งและคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เปิดเผยและเป็นที่สุด เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคสาม
ในกรณีที่ผู้ต้องคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ อาจยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้
หลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ให้เป็นไป ตามระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนด
มาตรา 291 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วย การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะเสนอมิได้
(2) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ
(3) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
(4) การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้องจัดให้มีการรับฟัง ความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วย
การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
(5) เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป
(6) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
(7) เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
อ้างอิง
- ↑ เดโช สวนานนท์, พจนานุกรมศัพท์การเมือง, กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่โลกกว้าง, 2537,หน้า 157-159.
- ↑ คณิน บุญสุวรรณ, ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548, หน้า 992-994.
- ↑ คณิน บุญสุวรรณ, ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548, หน้า 992-994.
- ↑ เดโช สวนานนท์, พจนานุกรมศัพท์การเมือง, กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่โลกกว้าง, 2537, หน้า 157-159.
- ↑ คณิน บุญสุวรรณ, ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548, หน้า 992-994.
- ↑ เดโช สวนานนท์, พจนานุกรมศัพท์การเมือง, กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่โลกกว้าง, 2537, หน้า 157-159.
- ↑ คณิน บุญสุวรรณ, ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548, หน้า 992-994.
- ↑ คณิน บุญสุวรรณ, ศัพท์รัฐสภา, พิมพ์ครั้งแรก, กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์, 2520, หน้า 157-158.
- ↑ ชัยอนันต์ สมุทวณิช, ประชาธิปไตย สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ กับการเมืองไทย, พิมพ์ครั้งแรก, กรุงเทพฯ : พิฆเณศ, 2519, หน้า 17-18.
- ↑ วิสุทธิ์ โพธิแท่น, แนวคิดพื้นฐานของประชิปไตย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, 2550, หน้า 61-63.
- ↑ ชัยอนันต์ สมุทวณิช, ประชาธิปไตย สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ กับการเมืองไทย, พิมพ์ครั้งแรก, กรุงเทพฯ : พิฆเณศ, 2519, หน้า 17-18.
- ↑ วิสุทธิ์ โพธิแท่น, แนวคิดพื้นฐานของประชิปไตย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, 2550, หน้า 61-63.
- ↑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 47 ก เล่ม 124, วันที่ 24 สิงหาคม 2550, หน้า 1.
- ↑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 47 ก เล่ม 124, วันที่ 24 สิงหาคม 2550, หน้า 1.
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
คณิน บุญสุวรรณ. (2520). ศัพท์รัฐสภา. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
คณิน บุญสุวรรณ. (2548). ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2519). ประชาธิปไตย สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ กับการเมืองไทย. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ : พิฆเณศ.
เดโช สวนานนท์. (2537). พจนานุกรมศัพท์การเมือง. กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่โลกกว้าง.
วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2550). แนวคิดพื้นฐานของประชิปไตย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
บรรณานุกรม
คณิน บุญสุวรรณ. (2520). ศัพท์รัฐสภา. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
คณิน บุญสุวรรณ. (2533). ภาษาการเมืองในระบอบรัฐสภา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2519). ประชาธิปไตย สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ กับการเมืองไทย. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ : พิฆเณศ.
เดโช สวนานนท์. (2537). พจนานุกรมศัพท์การเมือง. กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่โลกกว้าง.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 47 ก เล่ม 124. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550.
วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2550). แนวคิดพื้นฐานของประชิปไตย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.