ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขบวนการไฮด์ปาร์ค (พ.ศ. 2499)"
สร้างหน้าใหม่: '''พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค''' พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค เป็นพรรคก... |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
''' | '''ผู้เรียบเรียง''' รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | ||
---- | |||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | |||
---- | |||
== พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค== | |||
พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนตาม[[พระราชบัญญัติพรรคการเมือ พ.ศ. 2498]] โดยได้ยื่นจดทะเบียนต่อปลัด[[กระทรวงมหาดไทย]]ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2499 เลขทะเบียนที่ 4/2499 โดยมีนายเพทาย โชตินุชิต เป็น[[หัวหน้าพรรค]] และนายชวน รัตนวราหะ เป็น[[เลขาธิการพรรค]] ต่อมาในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ได้มีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคเป็นนายทวีศักดิ์ ตรีพลี | |||
นโยบายภายในประเทศ | พรรคขบวนการไฮด์ปาร์คมี[[อุดมการณ์ทางการเมือง]] 4 ประการคือ ประการแรก การดำเนินกิจการทางการเมืองเพื่อ[[เอกราช]]และประชาธิปไตยสมบูรณ์ ประการที่สอง ต้องเป็นรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ประการที่สาม ประชาชนเป็นใหญ่ ประการที่สี่ รวมกันอยู่ แยกกันเราตาย | ||
== นโยบายของพรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค == | |||
นโยบายด้านการต่างประเทศ พรรคขบวนการไฮด์ปาร์คจะมุ่งดำเนินวิเทโศบายผูกมิตรกับทุกประเทศโดยรักษา[[ศักดิ์ศรี]]ของชาติไทยให้ปรากฏ มุ่งส่งเสริม[[สันติภาพ]] หาทางป้องกันมิให้เกิดสงครามในทุกวิถีทาง | |||
นโยบายภายในประเทศ พรรคขบวนการไฮด์ปาร์คจะมุ่งเทิดทูน[[สิทธิเสรีภาพ]]ต่าง ๆ ของประชาชน เช่น [[เสรีภาพในการพูด]] การเขียน การ[[ชุมนุมสาธารณะ]] การแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะยอมรับนับถือว่าหนังสือพิมพ์เป็น[[ฐานันดรสี่]] จะมุ่งกำจัดกวาดล้างและต่อต้าน[[อภิสิทธิ์]]ทั้งหลายและระบบ[[ศักดินา]]ให้สูญสิ้นไป จะกำจัดกวาดล้าง[[การทุจริต]]ในวง[[ราชการ]] และทำลายล้างลัทธิ[[การกินสินบน]]ให้สูญสิ้นไป และต่อต้านการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนในทุกกรณี | |||
นโยบายด้านการป้องกันประเทศ พรรคขบวนการไฮด์ปาร์คยึดถือหลักว่า “ทหารเป็นทหารของชาติและของประชาชน” ห้ามมิให้ทหารประจำการเกี่ยวข้องกับการเมือง และจะมุ่งเสริมสร้างกำลังทหารและยุทโธปกรณ์ให้เพียงพอเพื่อป้องกันประเทศเป็นสำคัญ ทหารที่มีอยู่ต้องได้รับการช่วยเหลือและได้รับการบำรุงขวัญกำลังใจด้วยดี อีกทั้งพรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค จะให้ความช่วยเหลือแก่เหล่าทหารผ่านศึกอย่างจริงด้วยความเป็นธรรม | นโยบายด้านการป้องกันประเทศ พรรคขบวนการไฮด์ปาร์คยึดถือหลักว่า “ทหารเป็นทหารของชาติและของประชาชน” ห้ามมิให้ทหารประจำการเกี่ยวข้องกับการเมือง และจะมุ่งเสริมสร้างกำลังทหารและยุทโธปกรณ์ให้เพียงพอเพื่อป้องกันประเทศเป็นสำคัญ ทหารที่มีอยู่ต้องได้รับการช่วยเหลือและได้รับการบำรุงขวัญกำลังใจด้วยดี อีกทั้งพรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค จะให้ความช่วยเหลือแก่เหล่าทหารผ่านศึกอย่างจริงด้วยความเป็นธรรม | ||
บรรทัดที่ 27: | บรรทัดที่ 34: | ||
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค ได้รับเลือกตั้ง 2 คน ทั้งที่เป็นพรรคขนาดเล็กที่เพิ่งจัดตั้งใหม่และยังไม่เป็นที่รู้จักในกว้างเท่าใดนัก ทั้งนี้ก็เนื่องจากชื่อเสียงของตัวบุคคลผู้สมัครของพรรคเป็นสำคัญ | ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค ได้รับเลือกตั้ง 2 คน ทั้งที่เป็นพรรคขนาดเล็กที่เพิ่งจัดตั้งใหม่และยังไม่เป็นที่รู้จักในกว้างเท่าใดนัก ทั้งนี้ก็เนื่องจากชื่อเสียงของตัวบุคคลผู้สมัครของพรรคเป็นสำคัญ | ||
== ที่มา == | |||
'''ราชกิจจานุเบกษา''' เล่มที่ 73 ตอนที่ 30 ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2499 หน้า 1101-1106 | '''ราชกิจจานุเบกษา''' เล่มที่ 73 ตอนที่ 30 ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2499 หน้า 1101-1106 | ||
บรรทัดที่ 41: | บรรทัดที่ 48: | ||
สุจิต บุญบงการ, '''การพัฒนาการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน''', กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 | สุจิต บุญบงการ, '''การพัฒนาการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน''', กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 | ||
[[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | |||
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:28, 4 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค
พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค เป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือ พ.ศ. 2498 โดยได้ยื่นจดทะเบียนต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2499 เลขทะเบียนที่ 4/2499 โดยมีนายเพทาย โชตินุชิต เป็นหัวหน้าพรรค และนายชวน รัตนวราหะ เป็นเลขาธิการพรรค ต่อมาในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ได้มีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคเป็นนายทวีศักดิ์ ตรีพลี
พรรคขบวนการไฮด์ปาร์คมีอุดมการณ์ทางการเมือง 4 ประการคือ ประการแรก การดำเนินกิจการทางการเมืองเพื่อเอกราชและประชาธิปไตยสมบูรณ์ ประการที่สอง ต้องเป็นรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ประการที่สาม ประชาชนเป็นใหญ่ ประการที่สี่ รวมกันอยู่ แยกกันเราตาย
นโยบายของพรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค
นโยบายด้านการต่างประเทศ พรรคขบวนการไฮด์ปาร์คจะมุ่งดำเนินวิเทโศบายผูกมิตรกับทุกประเทศโดยรักษาศักดิ์ศรีของชาติไทยให้ปรากฏ มุ่งส่งเสริมสันติภาพ หาทางป้องกันมิให้เกิดสงครามในทุกวิถีทาง
นโยบายภายในประเทศ พรรคขบวนการไฮด์ปาร์คจะมุ่งเทิดทูนสิทธิเสรีภาพต่าง ๆ ของประชาชน เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน การชุมนุมสาธารณะ การแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะยอมรับนับถือว่าหนังสือพิมพ์เป็นฐานันดรสี่ จะมุ่งกำจัดกวาดล้างและต่อต้านอภิสิทธิ์ทั้งหลายและระบบศักดินาให้สูญสิ้นไป จะกำจัดกวาดล้างการทุจริตในวงราชการ และทำลายล้างลัทธิการกินสินบนให้สูญสิ้นไป และต่อต้านการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนในทุกกรณี
นโยบายด้านการป้องกันประเทศ พรรคขบวนการไฮด์ปาร์คยึดถือหลักว่า “ทหารเป็นทหารของชาติและของประชาชน” ห้ามมิให้ทหารประจำการเกี่ยวข้องกับการเมือง และจะมุ่งเสริมสร้างกำลังทหารและยุทโธปกรณ์ให้เพียงพอเพื่อป้องกันประเทศเป็นสำคัญ ทหารที่มีอยู่ต้องได้รับการช่วยเหลือและได้รับการบำรุงขวัญกำลังใจด้วยดี อีกทั้งพรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค จะให้ความช่วยเหลือแก่เหล่าทหารผ่านศึกอย่างจริงด้วยความเป็นธรรม
นโยบายด้านการศึกษาและศาสนา พรรคขบวนการไฮด์ปาร์คจะทุ่มเทงบประมาณ เพื่อปรับปรุงการศึกษาของชาติไม่น้อยกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อให้เยาวชนของชาติได้รับการศึกษาโดยไม่มีการจำกัด จะทำนุบำรุงศาสนาทุกศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนา ศาสนาอิสลชาม คริสตศาสนา เป็นพิเศษ นโยบายด้านเศรษฐกิจ พรรคขบวนการไฮด์ปาร์คจะรักษาไว้ซึ่งเอกราชทางเศรษฐกิจ จะส่งเสริมการประกอบการโดยรัฐในกิจการที่จะอำนวยประโยชน์สุขแก่ประชาชน จะค้นคว้าและทำประโยชน์ให้เกิดจากทรัพยากรธรรมชาติ จะส่งเสริมการสหกรณ์เพื่อช่วยเหลือการครองชีพของประชาชน จะส่งเสริมอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมของชาติ จะช่วยให้การกู้ยืมเงินของประชาชนพ้นจากการถูกขูดรีดดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อื่น ๆ เกินสมควร
นโยบายด้านการเกษตร พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค จะดำเนินการช่วยเหลือชาวนาชาวสวน ชาวไร่ และผู้เลี้ยงปศุสัตว์ในทุกวิถีทาง เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด จะช่วยปลดเปลื้องหนี้สินที่ชาวนา ชาวไร่ และชาวสวมีอยู่กับพ่อค้าคนกลาง นายทุน หรือเจ้าของที่ดิน
นโยบายด้านการศาล พรรคขบวนการไฮด์ปาร์คจะมุ่งส่งเสริมให้อำนาจตุลาการเป็นอิสระโดยเด็ดขาด เพื่อให้การพิจารณาคดีของศาลเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามตัวบทกฎหมายดโดยเคร่งครัด
นโยบายด้านการสาธารณสุข พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค จะจัดสถานพยาบาล แพทย์ และยารักษาโรค ให้เพียงพอแก่การบริการประชาชน นอกจากนี้ จะทำนุบำรุงและจัดให้มีสุขาภิบาลและการอนามัยให้ทั่วถึง เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
นโยบายด้านสังคม พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค จะส่งเสริมให้ชนชั้นกรรมกร กสิกร คนยากจน คนชั้นกลาง และเยาวชนของชาติเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับความเอาใจใส่และความช่วยเหลือจากรัฐเป็นพิเศษ สำหรับคนชรา ผู้หญิง และเด็กนั้น ต้องได้รับการคุ้มครอง บำรุง และเห็นอกเห็นใจเป็นพิเศษ รวมถึงจะจัดให้ประชาชนได้รับการกินดีอยู่ดีอย่างถ้วนหน้า
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค ได้รับเลือกตั้ง 2 คน ทั้งที่เป็นพรรคขนาดเล็กที่เพิ่งจัดตั้งใหม่และยังไม่เป็นที่รู้จักในกว้างเท่าใดนัก ทั้งนี้ก็เนื่องจากชื่อเสียงของตัวบุคคลผู้สมัครของพรรคเป็นสำคัญ
ที่มา
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอนที่ 30 ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2499 หน้า 1101-1106
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 74 ตอนที่ 86 ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2500 หน้า 2411
สมุทร สุรักขกะ, 26 การปฏิวัติไทยและรัฐประหาร สมัย 2489 ถึง 2507, พระนคร: โรงพิมพ์สื่อการพิมพ์, 2507
ขจัดภัย บุรุษพัฒน์, การเมืองและพรรคการเมืองไทยนับแต่ยุคแรกถึงปัจจุบัน, พระนคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2511
ส่วนการทะเบียนและการเลือกตั้ง กรมมหาดไทย, รายงานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกระทรวงมหาดไทย เล่ม 1, พระนคร: โรงพิมพ์กระดาษไทย, 2500
สุจิต บุญบงการ, การพัฒนาการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531