ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฉพาะกิจทางการเมือง"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | '''ผู้เรียบเรียง''' รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | ||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
== พรรคเฉพาะกิจทางการเมือง == | == พรรคเฉพาะกิจทางการเมือง == | ||
พรรคเฉพาะกิจทางการเมือง เป็นคำที่มักใช้เรียก[[พรรคการเมือง]]ซึ่งมีการรวมตัวจัดตั้งขึ้นภายในระยะเวลาไม่นาน เป็นการรวมตัวของแกนนำ[[กลุ่มการเมือง]]และ[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]จำนวนหนึ่ง มีเป้าหมายเฉพาะหน้าเพื่อเตรียมส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งเป็นสำคัญ พรรคการเมืองที่ถูกเรียกว่าเป็น “พรรคเฉพาะกิจทางการเมือง” จึงมักเป็นพรรคการเมืองที่มีลักษณะตรงข้ามกับพรรคการเมืองที่ถูกเรียกว่าเป็น “พรรคการเมืองที่มีความเป็น[[สถาบันทางการเมือง]]” ซึ่งมักเป็นพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกัของบุคคลผู้มีอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม หรือมีส่วนได้เสียในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมสอดคล้องกัน และมีเป้าหมายเพื่อผลักดันนโยบายทางการเมืองเพื่อคุ้มครองหรือส่งเสริมผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งชัดเจน อีกทั้งมีการวางหลักการดำเนินกิจการของพรรคอันจะนำไปสู่เป้าหมายของการจัดตั้งพรรคการเมืองนั้น ๆ อย่างชัดเจน | |||
เป้าหมายสำคัญของการจัดตั้งพรรคการเมืองที่มิใช่ “พรรคเฉพาะกิจทางการเมือง” จึงอยู่ที่การมุ่งนำเสนอนโยบายต่าง ๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อประชาชน เพื่อให้ประชาชนทราบถึงจุดยืนทางความคิด วิธีการ ตลอดจนความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาของพรรคการเมืองนั้น ๆ สำหรับพรรคการเมืองที่ไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจแล้ว การดำเนินการส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งจะมีกระบวนการและขั้นตอนการคัดกรองบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้งอย่างเป็นระบบ ในขณะที่พรรคเฉพาะกิจทางการเมืองซึ่งจัดตั้งขึ้นเพียงเพื่อดำเนินการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในช่วงก่อนหน้าจะมีการเลือกตั้งไม่นานนั้น โดยส่วนใหญ่ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคมักจะเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงมานานหรือเป็น[[นักการเมือง]]ที่เป็นที่รู้จักและมีฐานะเสียงสนับสนุนของตนเอง ดังนั้น พรรคเฉพาะกิจทางการเมืองจึงมิได้มีบทบาทในกระบวนการคัดเลือกบุคคลจากสมาชิกพรรคเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่เป็นการระดมผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคเพื่อเป้าหมายในการชิงชัยชนะในการเลือกตั้งเป็นสำคัญ | เป้าหมายสำคัญของการจัดตั้งพรรคการเมืองที่มิใช่ “พรรคเฉพาะกิจทางการเมือง” จึงอยู่ที่การมุ่งนำเสนอนโยบายต่าง ๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อประชาชน เพื่อให้ประชาชนทราบถึงจุดยืนทางความคิด วิธีการ ตลอดจนความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาของพรรคการเมืองนั้น ๆ สำหรับพรรคการเมืองที่ไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจแล้ว การดำเนินการส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งจะมีกระบวนการและขั้นตอนการคัดกรองบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้งอย่างเป็นระบบ ในขณะที่พรรคเฉพาะกิจทางการเมืองซึ่งจัดตั้งขึ้นเพียงเพื่อดำเนินการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในช่วงก่อนหน้าจะมีการเลือกตั้งไม่นานนั้น โดยส่วนใหญ่ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคมักจะเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงมานานหรือเป็น[[นักการเมือง]]ที่เป็นที่รู้จักและมีฐานะเสียงสนับสนุนของตนเอง ดังนั้น พรรคเฉพาะกิจทางการเมืองจึงมิได้มีบทบาทในกระบวนการคัดเลือกบุคคลจากสมาชิกพรรคเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่เป็นการระดมผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคเพื่อเป้าหมายในการชิงชัยชนะในการเลือกตั้งเป็นสำคัญ | ||
สำหรับพรรคการเมืองที่ไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจทางการเมืองนั้น จะมีลักษณะสำคัญอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่ ประการแรก ความยั่งยืนของพรรคการเมืองจะต้องไม่ขึ้นอยู่กับตัวผู้นำพรรคการเมืองหรือเป็นพรรคที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตัวบุคคลที่เป็นแกนนำ หากเป็นพรรคการเมืองที่ดำรงอยู่ด้วยการรวมตัวของกลุ่มบุคคลที่ยึดถือในหลักการ นโยบาย และเป้าหมายทางการเมืองเดียวกัน ประการที่สอง พรรคการเมืองจะต้องมีองค์กรหรือสาขาพรรคกระจายไปในระดับท้องถิ่น โดยมีการประสานงานและ[[การดำเนินกิจกรรมทางการเมือง]]ระหว่างสำนักงานใหญ่ของพรรคกับสาขาพรรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พรรคการเมืองมีการเชื่อมโยงกับประชาชนทุกกลุ่มในพื้นที่อยู่ตลอด ประการที่สาม พรรคการเมืองนั้นจะต้องมีความมุ่งหมายที่จะให้พรรคของตนเป็นรัฐบาล เพื่อควบคุมอำนาจการตัดสินนโยบายต่าง ๆ มากกว่าจะมีบทบาทเพียงเพื่อได้เข้าร่วมรัฐบาล แต่ไม่สามารถผลักดันนโยบายของพรรคตนเองได้ ประการที่สี่ พรรคการเมืองต้องพยายามหา[[คะแนนนิยม]]ในการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ไม่มีการเลือกตั้ง โดยพรรคการเมืองจะต้องพยายามขยายแนวความคิด นำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเมือง ตลอดจนชี้แง่มุมปัญหาต่าง ๆ แก่ประชาชนอยู่เสมอ มิใช่เพียงนำเสนอนโยบายแก่ประชาชนในช่วงการ[[หาเสียงเลือกตั้ง]]เท่านั้น | สำหรับพรรคการเมืองที่ไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจทางการเมืองนั้น จะมีลักษณะสำคัญอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่ ประการแรก ความยั่งยืนของพรรคการเมืองจะต้องไม่ขึ้นอยู่กับตัวผู้นำพรรคการเมืองหรือเป็นพรรคที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตัวบุคคลที่เป็นแกนนำ หากเป็นพรรคการเมืองที่ดำรงอยู่ด้วยการรวมตัวของกลุ่มบุคคลที่ยึดถือในหลักการ นโยบาย และเป้าหมายทางการเมืองเดียวกัน ประการที่สอง พรรคการเมืองจะต้องมีองค์กรหรือสาขาพรรคกระจายไปในระดับท้องถิ่น โดยมีการประสานงานและ[[การดำเนินกิจกรรมทางการเมือง]]ระหว่างสำนักงานใหญ่ของพรรคกับสาขาพรรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พรรคการเมืองมีการเชื่อมโยงกับประชาชนทุกกลุ่มในพื้นที่อยู่ตลอด ประการที่สาม พรรคการเมืองนั้นจะต้องมีความมุ่งหมายที่จะให้พรรคของตนเป็นรัฐบาล เพื่อควบคุมอำนาจการตัดสินนโยบายต่าง ๆ มากกว่าจะมีบทบาทเพียงเพื่อได้เข้าร่วมรัฐบาล แต่ไม่สามารถผลักดันนโยบายของพรรคตนเองได้ ประการที่สี่ พรรคการเมืองต้องพยายามหา[[คะแนนนิยม]]ในการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ไม่มีการเลือกตั้ง โดยพรรคการเมืองจะต้องพยายามขยายแนวความคิด นำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเมือง ตลอดจนชี้แง่มุมปัญหาต่าง ๆ แก่ประชาชนอยู่เสมอ มิใช่เพียงนำเสนอนโยบายแก่ประชาชนในช่วงการ[[หาเสียงเลือกตั้ง]]เท่านั้น | ||
== ที่มา == | == ที่มา == | ||
บรรทัดที่ 28: | บรรทัดที่ 26: | ||
“"สุวิทย์" เปิดตัวพรรค "เพื่อแผ่นดิน" ยันไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจ” '''หนังสือพิมพ์เดลินิวส์''' ฉบับประจำวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 | “"สุวิทย์" เปิดตัวพรรค "เพื่อแผ่นดิน" ยันไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจ” '''หนังสือพิมพ์เดลินิวส์''' ฉบับประจำวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 | ||
[[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย|ฉเฉพาะกิจทางการเมือง]] | [[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย|ฉเฉพาะกิจทางการเมือง]] | ||
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:18, 4 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคเฉพาะกิจทางการเมือง
พรรคเฉพาะกิจทางการเมือง เป็นคำที่มักใช้เรียกพรรคการเมืองซึ่งมีการรวมตัวจัดตั้งขึ้นภายในระยะเวลาไม่นาน เป็นการรวมตัวของแกนนำกลุ่มการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่ง มีเป้าหมายเฉพาะหน้าเพื่อเตรียมส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งเป็นสำคัญ พรรคการเมืองที่ถูกเรียกว่าเป็น “พรรคเฉพาะกิจทางการเมือง” จึงมักเป็นพรรคการเมืองที่มีลักษณะตรงข้ามกับพรรคการเมืองที่ถูกเรียกว่าเป็น “พรรคการเมืองที่มีความเป็นสถาบันทางการเมือง” ซึ่งมักเป็นพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกัของบุคคลผู้มีอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม หรือมีส่วนได้เสียในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมสอดคล้องกัน และมีเป้าหมายเพื่อผลักดันนโยบายทางการเมืองเพื่อคุ้มครองหรือส่งเสริมผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งชัดเจน อีกทั้งมีการวางหลักการดำเนินกิจการของพรรคอันจะนำไปสู่เป้าหมายของการจัดตั้งพรรคการเมืองนั้น ๆ อย่างชัดเจน
เป้าหมายสำคัญของการจัดตั้งพรรคการเมืองที่มิใช่ “พรรคเฉพาะกิจทางการเมือง” จึงอยู่ที่การมุ่งนำเสนอนโยบายต่าง ๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อประชาชน เพื่อให้ประชาชนทราบถึงจุดยืนทางความคิด วิธีการ ตลอดจนความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาของพรรคการเมืองนั้น ๆ สำหรับพรรคการเมืองที่ไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจแล้ว การดำเนินการส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งจะมีกระบวนการและขั้นตอนการคัดกรองบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้งอย่างเป็นระบบ ในขณะที่พรรคเฉพาะกิจทางการเมืองซึ่งจัดตั้งขึ้นเพียงเพื่อดำเนินการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในช่วงก่อนหน้าจะมีการเลือกตั้งไม่นานนั้น โดยส่วนใหญ่ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคมักจะเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงมานานหรือเป็นนักการเมืองที่เป็นที่รู้จักและมีฐานะเสียงสนับสนุนของตนเอง ดังนั้น พรรคเฉพาะกิจทางการเมืองจึงมิได้มีบทบาทในกระบวนการคัดเลือกบุคคลจากสมาชิกพรรคเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่เป็นการระดมผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคเพื่อเป้าหมายในการชิงชัยชนะในการเลือกตั้งเป็นสำคัญ
สำหรับพรรคการเมืองที่ไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจทางการเมืองนั้น จะมีลักษณะสำคัญอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่ ประการแรก ความยั่งยืนของพรรคการเมืองจะต้องไม่ขึ้นอยู่กับตัวผู้นำพรรคการเมืองหรือเป็นพรรคที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตัวบุคคลที่เป็นแกนนำ หากเป็นพรรคการเมืองที่ดำรงอยู่ด้วยการรวมตัวของกลุ่มบุคคลที่ยึดถือในหลักการ นโยบาย และเป้าหมายทางการเมืองเดียวกัน ประการที่สอง พรรคการเมืองจะต้องมีองค์กรหรือสาขาพรรคกระจายไปในระดับท้องถิ่น โดยมีการประสานงานและการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองระหว่างสำนักงานใหญ่ของพรรคกับสาขาพรรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พรรคการเมืองมีการเชื่อมโยงกับประชาชนทุกกลุ่มในพื้นที่อยู่ตลอด ประการที่สาม พรรคการเมืองนั้นจะต้องมีความมุ่งหมายที่จะให้พรรคของตนเป็นรัฐบาล เพื่อควบคุมอำนาจการตัดสินนโยบายต่าง ๆ มากกว่าจะมีบทบาทเพียงเพื่อได้เข้าร่วมรัฐบาล แต่ไม่สามารถผลักดันนโยบายของพรรคตนเองได้ ประการที่สี่ พรรคการเมืองต้องพยายามหาคะแนนนิยมในการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ไม่มีการเลือกตั้ง โดยพรรคการเมืองจะต้องพยายามขยายแนวความคิด นำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเมือง ตลอดจนชี้แง่มุมปัญหาต่าง ๆ แก่ประชาชนอยู่เสมอ มิใช่เพียงนำเสนอนโยบายแก่ประชาชนในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งเท่านั้น
ที่มา
อัครเมศวร์ ทองนวล, การพัฒนาความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองไทย, รัฐสภาสาร ปีที่ 35 ฉบับที่ 4 (เมษายน 2530), หน้า 2-36.
พงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย, ปัญหาการเติบโตของพรรคการเมือง,” รัฐธรรมนูญสำหรับชาวบ้าน (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเณศ, 2516)
กระมล ทองธรรมชาติ, การเมืองและประชาธิปไตยของไทย (กรุงเทพฯ: บรรณกิจเทรดดิ้ง, 2519)
อวยชัย ชะบา, พรรคการเมือง, สถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย (กรุงเทพฯ: น่ำกังการพิมพ์, 2527)
“"สุวิทย์" เปิดตัวพรรค "เพื่อแผ่นดิน" ยันไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจ” หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับประจำวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551