ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2501"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 11: | บรรทัดที่ 11: | ||
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2501<ref>พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 75 ตอนที่ 19 วันที่ 4 มีนาคม 2501, หน้า 60-70.</ref> | พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2501<ref>พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 75 ตอนที่ 19 วันที่ 4 มีนาคม 2501, หน้า 60-70.</ref> เป็น[[กฎหมาย]]แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ได้แก่ [[พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482]] และ[[พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2496|พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 3)พุทธศักราช 2496]] โดยมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญบางประการที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้ใช้บังคับตาม[[พระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2499]] อาทิ คุณสมบัติของผู้เลือกตั้งและคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยให้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับคุณสมบัติของผู้เลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมไปถึงการจัดทำ[[บัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง]]ก็ให้ดำเนินไปในแนวทางเดียวกันกับกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501 มีเนื้อหาสาระของการแก้ไขเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังต่อไปนี้ | ||
== | == การแก้ไขเขตเลือกตั้ง == | ||
เดิม[[พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482]] ได้กำหนดให้แต่ละเขตมีสมาชิกสภาเทศบาลได้ 3 คน <ref>พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช 2482, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 56 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2482 หน้า 1638 ,มาตรา 4</ref> จึงมีผลให้[[เทศบาลตำบล]]มีการแบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น 3 เขต และเทศบาลเมืองแบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 6 เขต และ[[เทศบาลนคร]]แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 12 เขต [[กฎหมาย]]ใหม่กำหนดให้ถือเขตเทศบาลเป็นเขตเลือกตั้งเขตหนึ่ง และถ้าเทศบาลใดมีจำนวนราษฎรเกินกว่า 100,000 คน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศแบ่งเขตเทศบาลออกเป็นเขตเลือกตั้งเพิ่มขึ้นอีก แต่ต้องไม่เกินกว่า 4 เขต โดยให้แต่ละเขตมีจำนวนราษฎรใกล้เคียงกันเท่าที่จะทำได้<ref>พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 75 ตอนที่ 19 วันที่ 4 มีนาคม 2501, หน้า 62. มาตรา 4</ref> ทั้งนี้ หากเขตเลือกตั้งใด ถ้ามีผู้สมัครไม่เกินจำนวนสมาชิกจำนวนสมาชิกสภาเทศบาล ให้ถือว่าผู้สมัครนั้นได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล โดยไม่ต้องลงคะแนน แต่ในกรณีที่เขตเลือกตั้งไม่ได้สมาชิกตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติไว้ในเขตเลือกตั้งใด ให้เทศบาลจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่เฉพาะเขตเลือกตั้งนั้น เพื่อให้ได้สมาชิกครบจำนวน และในการเลือกตั้งใหม่นี้ ให้เทศบาลประกาศวันเลือกตั้งและระยะเวลาสมัครรับเลือกตั้งภายใน 15 วัน นับจากวันเลือกตั้งวันสุดท้าย <ref>เพิ่งอ้าง, หน้า 63. มาตรา 5</ref> | |||
== | == การแก้ไขคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล == | ||
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่4) พ.ศ.2501 ให้ยกเลิกมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 | พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่4) พ.ศ.2501 ให้ยกเลิกมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 | ||
บรรทัดที่ 26: | บรรทัดที่ 26: | ||
1. ผู้เลือกตั้งต้องมิใช่เป็นผู้คุมขังอยู่ในหมายของศาลในวันเลือกตั้ง | 1. ผู้เลือกตั้งต้องมิใช่เป็นผู้คุมขังอยู่ในหมายของศาลในวันเลือกตั้ง | ||
2. ผู้เลือกตั้งต้องมีสัญชาติไทยตามกฎหมาย แต่ผู้มีสัญชาติไทยคนใดที่มีบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือ เป็นผู้ได้สัญชาติโดยการแปลงสัญชาติ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 | 2. ผู้เลือกตั้งต้องมีสัญชาติไทยตามกฎหมาย แต่ผู้มีสัญชาติไทยคนใดที่มีบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือ เป็นผู้ได้สัญชาติโดยการแปลงสัญชาติ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรของ[[กระทรวงศึกษาธิการ]] ทั้งนี้ จะต้องมีคุณสมบัติลักษณะอันได้แก่ ต้องได้รับราชการทหาร ต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงาน[[สุขาภิบาล]] หรือครูประชาบาล โดยมีเงินเดือนประจำมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เป็นหรือเคยเป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] [[สมาชิกสภาจังหวัด]] สมาชิกสภาเทศบาล กรรมการสุขาภิบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ประจำตำบล ทั้งนี้ ในกรณีที่บุคคลใดแปลงสัญชาติ จะต้องมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรติดต่อกันนับตั้งแต่ได้แปลงสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี | ||
3.ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง | 3.ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง | ||
4.ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะอันได้แก่ บุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ บุคคลหูหนวกทั้งสองข้างและเป็นใบ้ ซึ่งไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือไทยได้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง ต้องไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช | 4.ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะอันได้แก่ บุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ บุคคลหูหนวกทั้งสองข้างและเป็นใบ้ ซึ่งไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือไทยได้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง ต้องไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช รวมทั้งต้องไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูก[[ศาล]]พิพากษาให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง | ||
นอกจากนั้น กฎหมายฉบับใหม่นี้ยังได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเพิ่มเติม กล่าวคือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลนั้นเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเป็นผู้ที่เสียภาษีโรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่ตามประมวลรัษฎากรหรือเป็นเจ้าของบ้านในเขตเทศบาลนั้น | นอกจากนั้น กฎหมายฉบับใหม่นี้ยังได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเพิ่มเติม กล่าวคือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลนั้นเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเป็นผู้ที่เสียภาษีโรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่ตามประมวลรัษฎากรหรือเป็นเจ้าของบ้านในเขตเทศบาลนั้น | ||
== | ==การแก้ไขเพิ่มเติมคุณลักษณะของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล == | ||
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2501 ได้ยกเลิกบทบัญญัติในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2496 | พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2501 ได้ยกเลิกบทบัญญัติในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2496 โดยกฎหมายฉบับใหม่นี้ได้กำหนดให้ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งมีลักษณะเช่นเดียวกันกับคุณสมบัติของผู้สมัครตาม[[กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] ซึ่งในขณะนั้นได้ใช้[[พระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2499]] ซึ่งกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งไว้โดยต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้ | ||
1. | 1.ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง[[สมาชิกสภาท้องถิ่น]] จะต้องมีสัญชาติไทยตามกฎหมาย และในกรณีผู้มีสัญชาติไทยมีบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาตินั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมปีที่ 6 และต้องได้รับราชการทหาร เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล หรือครูประชาบาล หรืออาจเป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล กรรมการสุขาภิบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ประจำตำบล และในกรณีที่บุคคลใดที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ บุคคลผู้นั้นจะต้องมีภูมิลำเนาในประเทศไทยติดต่อกันนับแต่ได้แปลงสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี<ref>เพิ่งอ้าง, หน้า 247, มาตรา 19</ref> และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลนั้นเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเป็นผู้ที่เสียภาษีโรงเรือนตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือภาษีบำรุงท้องที่ตามประมวลรัษฎากร หรือเป็นเจ้าของบ้านในเขตเทศบาลนั้นตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร<ref>พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501,อ้างแล้ว ,หน้า 64-65, มาตรา 8</ref> | ||
2.ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นจะต้องไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ <ref>เพิ่งอ้าง, หน้า 247-248, มาตรา 20-21</ref> | 2.ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นจะต้องไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ <ref>เพิ่งอ้าง, หน้า 247-248, มาตรา 20-21</ref> | ||
บรรทัดที่ 57: | บรรทัดที่ 58: | ||
(8) ไม่เป็นข้าราชการที่ถูกไล่ออกหรือปลดออกจากตำแหน่งเพราะทุจริตต่อหน้าที่ราชการ โดยมิได้รับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ หรือพนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล หรือพนักงานองค์การของรัฐ ซึ่งถูกไล่ออก ปลดออกหรือเลิกจ้าง เพราะทุจริตต่อหน้าที่ นับแต่วันที่ออกจากตำแหน่งถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบ 5 ปี | (8) ไม่เป็นข้าราชการที่ถูกไล่ออกหรือปลดออกจากตำแหน่งเพราะทุจริตต่อหน้าที่ราชการ โดยมิได้รับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ หรือพนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล หรือพนักงานองค์การของรัฐ ซึ่งถูกไล่ออก ปลดออกหรือเลิกจ้าง เพราะทุจริตต่อหน้าที่ นับแต่วันที่ออกจากตำแหน่งถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบ 5 ปี | ||
(9) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานเทศบาล หรือพนักงานสุขาภิบาล ยกเว้นจะเคยเป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายกเทศมนตรี | (9) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานเทศบาล หรือพนักงานสุขาภิบาล ยกเว้นจะเคยเป็นข้าราชการการเมือง [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] [[นายกเทศมนตรี]] หรือ[[เทศมนตรี]] หรือออกจากตำแหน่งข้าราชการนานเกินกว่า 6 เดือนนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง | ||
(10) ไม่เป็นข้าราชการทหารหรือตำรวจที่ต้องรับราชการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร | (10) ไม่เป็นข้าราชการทหารหรือตำรวจที่ต้องรับราชการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร | ||
== | ==หน่วยลงคะแนนเลือกตั้ง == | ||
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501 ได้เปลี่ยนแปลงจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการแบ่งเขตเลือกตั้งให้ลดลง โดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2489 ได้กำหนดให้มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งหน่วยหนึ่งไม่เกิน 1,500 คน ซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2501 นี้ได้แก้ไขโดยกำหนดให้มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งหน่วยหนึ่งลดลงเหลือไม่เกิน 1,000 คน ทั้งนี้ เว้นแต่ว่าการแบ่งหน่วยลงคะแนนเลือกตั้งจะก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการไปลงคะแนนเลือกตั้ง แม้ว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเกินกว่า 1,000 คน แต่ไม่เกิน 4,000 คน ก็สามารถรวมเป็นหน่วยลงคะแนนเดียวกันได้ นอกจากนั้น ยังกำหนดเพิ่มเติมด้วยว่า ให้ประกาศหน่วยลงคะแนนไว้ ณ สำนักงานเทศบาล ที่ว่าการอำเภอ และศาลากลางจังหวัด และให้จัดทำแผนที่สังเขปแสดงเขตของหน่วยลงคะแนนประกอบไว้ด้วย<ref>พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 75 ตอนที่ 19 วันที่ 4 มีนาคม 2501, หน้า 65-66. มาตรา 9</ref> | พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501 ได้เปลี่ยนแปลงจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการแบ่งเขตเลือกตั้งให้ลดลง โดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2489 ได้กำหนดให้มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งหน่วยหนึ่งไม่เกิน 1,500 คน ซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2501 นี้ได้แก้ไขโดยกำหนดให้มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งหน่วยหนึ่งลดลงเหลือไม่เกิน 1,000 คน ทั้งนี้ เว้นแต่ว่าการแบ่งหน่วยลงคะแนนเลือกตั้งจะก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการไปลงคะแนนเลือกตั้ง แม้ว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเกินกว่า 1,000 คน แต่ไม่เกิน 4,000 คน ก็สามารถรวมเป็นหน่วยลงคะแนนเดียวกันได้ นอกจากนั้น ยังกำหนดเพิ่มเติมด้วยว่า ให้ประกาศหน่วยลงคะแนนไว้ ณ สำนักงานเทศบาล ที่ว่าการอำเภอ และศาลากลางจังหวัด และให้จัดทำแผนที่สังเขปแสดงเขตของหน่วยลงคะแนนประกอบไว้ด้วย<ref>พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 75 ตอนที่ 19 วันที่ 4 มีนาคม 2501, หน้า 65-66. มาตรา 9</ref> | ||
== | ==กรรมการตรวจลงคะแนน == | ||
เดิมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2489 ได้กำหนดให้เทศบาลนครและเทศบาลเมืองภายใต้การอนุมัติของผู้ว่าราชการจังหวัด และเทศบาลตำบลภายใต้การอนุมัติของนายอำเภอ | เดิมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2489 ได้กำหนดให้เทศบาลนครและเทศบาลเมืองภายใต้การอนุมัติของผู้ว่าราชการจังหวัด และเทศบาลตำบลภายใต้การอนุมัติของนายอำเภอ ให้แต่งตั้ง[[กรรมการตรวจคะแนนประจำหน่วยลงคะแนน]]ได้แห่งละ 3 คน กรรมการสำรองไม่เกิน 3 คน และพนักงานคะแนน 1 คน ซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2501 ได้เปิดช่องว่าให้เพิ่มพนักงานคะแนนได้โดยกำหนดให้มีพนักงานคะแนนได้ไม่น้อยกว่า 1 คน<ref>เพิ่งอ้าง, หน้า 66-67. มาตรา 11 </ref> | ||
== | ==บัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล == | ||
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 | พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 ได้กำหนดให้เทศบาลจัดทำ[[บัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง]]ในเขตเทศบาลขึ้นไว้จากทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาล กฎหมายฉบับใหม่ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501 ได้เปลี่ยนแปลงการจัดทำบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยคัดจากทะเบียนผู้เลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้กำหนดไว้ว่า ในการจัดทำครั้งแรกให้ถือตามทะเบียนราษฎรเฉพาะในเขตเทศบาลที่ได้สำรวจ ตรวจสอบครั้งหลังที่สุดและแก้ไขเพิ่มเติมเท่าที่มีหลักฐานปรากฏ และในเดือนตุลาคมของทุกปี เทศบาลต้องประกาศให้ผู้ที่เริ่มมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และยังไม่มีชื่อในทะเบียนผู้เลือกตั้งไปแสดงตนต่อเทศบาล เพื่อลงชื่อในทะเบียนผู้เลือกตั้งภายในเดือนธันวาคมของปีนั้น <ref>โปรดดู พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2499,ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอนที่ 21 วันที่ 13 มีนาคม 2499, หน้า 251-255. มาตรา 27-34.</ref> | ||
== | ==บัตรเสีย == | ||
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501 | พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501 ได้แก้ไขลักษณะของ[[บัตรเลือกตั้ง]]ที่เป็นบัตรเสียที่พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2489 ได้กำหนดไว้ ซึ่งในกฎหมายฉบับใหม่ได้แก้ไขเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ[[บัตรเสีย]] โดยให้บัตรเลือกตั้งต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย <ref>พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2501,อ้างแล้ว, หน้า 67-68, มาตรา 13</ref> | ||
(1) | (1) เป็น[[บัตรปลอม]] | ||
(2) เป็นบัตรซึ่งลงเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครเกินจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลที่จะมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น จากเดิมที่กฎหมายเคยกำหนดไว้ว่าเป็นบัตรที่ลงเครื่องหมายเกินจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลที่จะมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น | (2) เป็นบัตรซึ่งลงเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครเกินจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลที่จะมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น จากเดิมที่กฎหมายเคยกำหนดไว้ว่าเป็นบัตรที่ลงเครื่องหมายเกินจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลที่จะมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น | ||
บรรทัดที่ 96: | บรรทัดที่ 97: | ||
== การตรวจและลงคะแนน == | |||
== | |||
เนื่องจากเดิมพระราชบัญญัติสมาชิกเทศบาล พ.ศ. 2489 ได้กำหนดจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลโดยให้ผู้เลือกตั้งเลือกสมาชิกสภาเทศบาลเขตละ 3 คน จึงทำให้การ[[นับคะแนน]]จะต้องให้ผู้สมัคร 3 คนที่ได้คะแนนสูงที่สุดได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล ดังนั้น เมื่อพระราชบัญญัติสมาชิกเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2501 ได้เปลี่ยนแปลงการกำหนดเขตเลือกตั้ง จึงทำให้ในเขตเลือกตั้งหนึ่งมีการตรวจนับคะแนนโดยให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนมากตามลำดับลงมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตามจำนวนที่มีการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และในกรณีที่มีผู้สมัครหลายคนได้คะแนนเท่ากันนั้น ให้ผู้สมัครที่มีคะแนนเท่ากัน[[จับสลาก]]เพื่อให้ได้จำนวนผู้ได้รับเลือกตั้งครบจำนวนตามที่กำหนดไว้ | |||
เนื่องจากเดิมพระราชบัญญัติสมาชิกเทศบาล พ.ศ. 2489 ได้กำหนดจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลโดยให้ผู้เลือกตั้งเลือกสมาชิกสภาเทศบาลเขตละ 3 คน | |||
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:51, 29 สิงหาคม 2554
ผู้เรียบเรียง อลิศรา พรหมโชติชัย
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2501
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2501[1] เป็นกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ได้แก่ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 และพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 3)พุทธศักราช 2496 โดยมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญบางประการที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้ใช้บังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2499 อาทิ คุณสมบัติของผู้เลือกตั้งและคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยให้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับคุณสมบัติของผู้เลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมไปถึงการจัดทำบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ให้ดำเนินไปในแนวทางเดียวกันกับกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501 มีเนื้อหาสาระของการแก้ไขเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังต่อไปนี้
การแก้ไขเขตเลือกตั้ง
เดิมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 ได้กำหนดให้แต่ละเขตมีสมาชิกสภาเทศบาลได้ 3 คน [2] จึงมีผลให้เทศบาลตำบลมีการแบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น 3 เขต และเทศบาลเมืองแบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 6 เขต และเทศบาลนครแบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 12 เขต กฎหมายใหม่กำหนดให้ถือเขตเทศบาลเป็นเขตเลือกตั้งเขตหนึ่ง และถ้าเทศบาลใดมีจำนวนราษฎรเกินกว่า 100,000 คน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศแบ่งเขตเทศบาลออกเป็นเขตเลือกตั้งเพิ่มขึ้นอีก แต่ต้องไม่เกินกว่า 4 เขต โดยให้แต่ละเขตมีจำนวนราษฎรใกล้เคียงกันเท่าที่จะทำได้[3] ทั้งนี้ หากเขตเลือกตั้งใด ถ้ามีผู้สมัครไม่เกินจำนวนสมาชิกจำนวนสมาชิกสภาเทศบาล ให้ถือว่าผู้สมัครนั้นได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล โดยไม่ต้องลงคะแนน แต่ในกรณีที่เขตเลือกตั้งไม่ได้สมาชิกตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติไว้ในเขตเลือกตั้งใด ให้เทศบาลจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่เฉพาะเขตเลือกตั้งนั้น เพื่อให้ได้สมาชิกครบจำนวน และในการเลือกตั้งใหม่นี้ ให้เทศบาลประกาศวันเลือกตั้งและระยะเวลาสมัครรับเลือกตั้งภายใน 15 วัน นับจากวันเลือกตั้งวันสุดท้าย [4]
การแก้ไขคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่4) พ.ศ.2501 ให้ยกเลิกมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2496 โดยกำหนดให้คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีลักษณะเช่นเดียวกับคุณสมบัติของผู้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[5] ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2499 อันเป็นกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ได้กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ดังนี้ [6]
1. ผู้เลือกตั้งต้องมิใช่เป็นผู้คุมขังอยู่ในหมายของศาลในวันเลือกตั้ง
2. ผู้เลือกตั้งต้องมีสัญชาติไทยตามกฎหมาย แต่ผู้มีสัญชาติไทยคนใดที่มีบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือ เป็นผู้ได้สัญชาติโดยการแปลงสัญชาติ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ จะต้องมีคุณสมบัติลักษณะอันได้แก่ ต้องได้รับราชการทหาร ต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล หรือครูประชาบาล โดยมีเงินเดือนประจำมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล กรรมการสุขาภิบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ประจำตำบล ทั้งนี้ ในกรณีที่บุคคลใดแปลงสัญชาติ จะต้องมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรติดต่อกันนับตั้งแต่ได้แปลงสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี
3.ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
4.ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะอันได้แก่ บุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ บุคคลหูหนวกทั้งสองข้างและเป็นใบ้ ซึ่งไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือไทยได้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง ต้องไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช รวมทั้งต้องไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกศาลพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
นอกจากนั้น กฎหมายฉบับใหม่นี้ยังได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเพิ่มเติม กล่าวคือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลนั้นเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเป็นผู้ที่เสียภาษีโรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่ตามประมวลรัษฎากรหรือเป็นเจ้าของบ้านในเขตเทศบาลนั้น
การแก้ไขเพิ่มเติมคุณลักษณะของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2501 ได้ยกเลิกบทบัญญัติในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2496 โดยกฎหมายฉบับใหม่นี้ได้กำหนดให้ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งมีลักษณะเช่นเดียวกันกับคุณสมบัติของผู้สมัครตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในขณะนั้นได้ใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2499 ซึ่งกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งไว้โดยต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้
1.ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น จะต้องมีสัญชาติไทยตามกฎหมาย และในกรณีผู้มีสัญชาติไทยมีบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาตินั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมปีที่ 6 และต้องได้รับราชการทหาร เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล หรือครูประชาบาล หรืออาจเป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล กรรมการสุขาภิบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ประจำตำบล และในกรณีที่บุคคลใดที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ บุคคลผู้นั้นจะต้องมีภูมิลำเนาในประเทศไทยติดต่อกันนับแต่ได้แปลงสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี[7] และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลนั้นเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเป็นผู้ที่เสียภาษีโรงเรือนตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือภาษีบำรุงท้องที่ตามประมวลรัษฎากร หรือเป็นเจ้าของบ้านในเขตเทศบาลนั้นตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร[8]
2.ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นจะต้องไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ [9] (1) ไม่เป็นบุคคลที่วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
(2) ไม่เป็นบุคคลหูหนวกทั้งสองข้างและเป็นใบ้ซึ่งไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือไทยหรือตาบอดทั้งสองข้าง
(3) ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช หรือผู้อยู่ในระหว่างถูกศาลพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
(4) ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ
(5) ไม่เป็นบุคคลผู้ล้มละลายที่ศาลยังไม่สั่งให้พ้นคดี
(6) ไม่เป็นบุคคลซึ่งเป็นโรคเรื้อนและวัณโรคระยะอันตราย หรือเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
(7) ไม่เป็นผู้ถูกจำคุกหรือเคยถูกจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และพ้นโทษไปถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบ 10 ปี หรือผู้ถูกจำคุกหรือเคยถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป ทั้งนี้ยกเว้นกรณีความผิดลหุโทษหรือความผิดที่มีกำหนดโทษชั้นลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
(8) ไม่เป็นข้าราชการที่ถูกไล่ออกหรือปลดออกจากตำแหน่งเพราะทุจริตต่อหน้าที่ราชการ โดยมิได้รับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ หรือพนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล หรือพนักงานองค์การของรัฐ ซึ่งถูกไล่ออก ปลดออกหรือเลิกจ้าง เพราะทุจริตต่อหน้าที่ นับแต่วันที่ออกจากตำแหน่งถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบ 5 ปี
(9) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานเทศบาล หรือพนักงานสุขาภิบาล ยกเว้นจะเคยเป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายกเทศมนตรี หรือเทศมนตรี หรือออกจากตำแหน่งข้าราชการนานเกินกว่า 6 เดือนนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
(10) ไม่เป็นข้าราชการทหารหรือตำรวจที่ต้องรับราชการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร
หน่วยลงคะแนนเลือกตั้ง
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501 ได้เปลี่ยนแปลงจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการแบ่งเขตเลือกตั้งให้ลดลง โดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2489 ได้กำหนดให้มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งหน่วยหนึ่งไม่เกิน 1,500 คน ซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2501 นี้ได้แก้ไขโดยกำหนดให้มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งหน่วยหนึ่งลดลงเหลือไม่เกิน 1,000 คน ทั้งนี้ เว้นแต่ว่าการแบ่งหน่วยลงคะแนนเลือกตั้งจะก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการไปลงคะแนนเลือกตั้ง แม้ว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเกินกว่า 1,000 คน แต่ไม่เกิน 4,000 คน ก็สามารถรวมเป็นหน่วยลงคะแนนเดียวกันได้ นอกจากนั้น ยังกำหนดเพิ่มเติมด้วยว่า ให้ประกาศหน่วยลงคะแนนไว้ ณ สำนักงานเทศบาล ที่ว่าการอำเภอ และศาลากลางจังหวัด และให้จัดทำแผนที่สังเขปแสดงเขตของหน่วยลงคะแนนประกอบไว้ด้วย[10]
กรรมการตรวจลงคะแนน
เดิมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2489 ได้กำหนดให้เทศบาลนครและเทศบาลเมืองภายใต้การอนุมัติของผู้ว่าราชการจังหวัด และเทศบาลตำบลภายใต้การอนุมัติของนายอำเภอ ให้แต่งตั้งกรรมการตรวจคะแนนประจำหน่วยลงคะแนนได้แห่งละ 3 คน กรรมการสำรองไม่เกิน 3 คน และพนักงานคะแนน 1 คน ซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2501 ได้เปิดช่องว่าให้เพิ่มพนักงานคะแนนได้โดยกำหนดให้มีพนักงานคะแนนได้ไม่น้อยกว่า 1 คน[11]
บัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 ได้กำหนดให้เทศบาลจัดทำบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลขึ้นไว้จากทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาล กฎหมายฉบับใหม่ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501 ได้เปลี่ยนแปลงการจัดทำบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยคัดจากทะเบียนผู้เลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้กำหนดไว้ว่า ในการจัดทำครั้งแรกให้ถือตามทะเบียนราษฎรเฉพาะในเขตเทศบาลที่ได้สำรวจ ตรวจสอบครั้งหลังที่สุดและแก้ไขเพิ่มเติมเท่าที่มีหลักฐานปรากฏ และในเดือนตุลาคมของทุกปี เทศบาลต้องประกาศให้ผู้ที่เริ่มมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และยังไม่มีชื่อในทะเบียนผู้เลือกตั้งไปแสดงตนต่อเทศบาล เพื่อลงชื่อในทะเบียนผู้เลือกตั้งภายในเดือนธันวาคมของปีนั้น [12]
บัตรเสีย
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501 ได้แก้ไขลักษณะของบัตรเลือกตั้งที่เป็นบัตรเสียที่พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2489 ได้กำหนดไว้ ซึ่งในกฎหมายฉบับใหม่ได้แก้ไขเนื้อหาสาระเกี่ยวกับบัตรเสีย โดยให้บัตรเลือกตั้งต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย [13]
(1) เป็นบัตรปลอม
(2) เป็นบัตรซึ่งลงเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครเกินจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลที่จะมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น จากเดิมที่กฎหมายเคยกำหนดไว้ว่าเป็นบัตรที่ลงเครื่องหมายเกินจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลที่จะมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น
(3) เป็นบัตรที่ไม่ได้ลงเครื่องหมายเลย
(4) เป็นบัตรที่ปรากฏว่าได้พับซ้อนกันเกินกว่าบัตรเดียว
(5) เป็นบัตรที่มีการขีดเขียนหรือเครื่องสังเกตหรือข้อความอื่นใดนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
(6) เป็นบัตรที่ลงเครื่องหมายไม่ชัดเจนว่าลงเครื่องหมายให้แก่ผู้ใด แต่ถ้าหากนอกเหนือจากเครื่องหมายที่ลงไม่ชัดเจนว่าลงเครื่องหมายให้แก่ผู้ใดแล้ว ยังมีเครื่องหมายที่ลงไว้ชัดเจนให้แก่ผู้สมัครคนใดอยู่ด้วย ก็ไม่นับว่าเป็นบัตรเสีย และให้นับคะแนนให้แก่ผู้สมัครที่มีเครื่องหมายชัดเจนลงให้นั้น
(7) เป็นบัตรที่ลงเครื่องหมายซ้ำกันให้ถือว่าเสียเฉพาะเครื่องหมายที่ซ้ำกันเท่านั้น
การตรวจและลงคะแนน
เนื่องจากเดิมพระราชบัญญัติสมาชิกเทศบาล พ.ศ. 2489 ได้กำหนดจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลโดยให้ผู้เลือกตั้งเลือกสมาชิกสภาเทศบาลเขตละ 3 คน จึงทำให้การนับคะแนนจะต้องให้ผู้สมัคร 3 คนที่ได้คะแนนสูงที่สุดได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล ดังนั้น เมื่อพระราชบัญญัติสมาชิกเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2501 ได้เปลี่ยนแปลงการกำหนดเขตเลือกตั้ง จึงทำให้ในเขตเลือกตั้งหนึ่งมีการตรวจนับคะแนนโดยให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนมากตามลำดับลงมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตามจำนวนที่มีการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และในกรณีที่มีผู้สมัครหลายคนได้คะแนนเท่ากันนั้น ให้ผู้สมัครที่มีคะแนนเท่ากันจับสลากเพื่อให้ได้จำนวนผู้ได้รับเลือกตั้งครบจำนวนตามที่กำหนดไว้
ที่มา
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช 2482, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 56 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2482
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2499,ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอนที่ 21 วันที่ 13 มีนาคม 2499
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 75 ตอนที่ 19 วันที่ 4 มีนาคม 2501
อ้างอิง
- ↑ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 75 ตอนที่ 19 วันที่ 4 มีนาคม 2501, หน้า 60-70.
- ↑ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช 2482, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 56 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2482 หน้า 1638 ,มาตรา 4
- ↑ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 75 ตอนที่ 19 วันที่ 4 มีนาคม 2501, หน้า 62. มาตรา 4
- ↑ เพิ่งอ้าง, หน้า 63. มาตรา 5
- ↑ เพิ่งอ้าง, หน้า 63. มาตรา 6
- ↑ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2499,ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอนที่ 21 วันที่ 13 มีนาคม 2499, หน้า 245-246. มาตรา 16-18.
- ↑ เพิ่งอ้าง, หน้า 247, มาตรา 19
- ↑ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501,อ้างแล้ว ,หน้า 64-65, มาตรา 8
- ↑ เพิ่งอ้าง, หน้า 247-248, มาตรา 20-21
- ↑ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2501, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 75 ตอนที่ 19 วันที่ 4 มีนาคม 2501, หน้า 65-66. มาตรา 9
- ↑ เพิ่งอ้าง, หน้า 66-67. มาตรา 11
- ↑ โปรดดู พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2499,ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอนที่ 21 วันที่ 13 มีนาคม 2499, หน้า 251-255. มาตรา 27-34.
- ↑ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2501,อ้างแล้ว, หน้า 67-68, มาตรา 13