ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขบวนการสหพันธ์รัฐสากลนิยม (พ.ศ. 2500)"
สร้างหน้าใหม่: '''พรรคขบวนการสหพันธ์รัฐสากลนิยม''' พรรคขบวนการสหพันธ์รั... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | |||
---- | |||
'''พรรคขบวนการสหพันธ์รัฐสากลนิยม''' | '''พรรคขบวนการสหพันธ์รัฐสากลนิยม''' | ||
พรรคขบวนการสหพันธ์รัฐสากลนิยมเป็นพรรคที่เปลี่ยนชื่อมาจากพรรคขบวนการคนใจบุญซึ่งได้รับการจดทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 75 ตอนที่ 61 หน้า 2191-2192</ref> โดยผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็น[[หัวหน้าพรรค]]และ[[เลขาธิการพรรค]]ยังคงเป็นบุคคลเดิมคือนายจารุกข์ เรืองสุวรรณ และนายบุญ ศราภัย ตามลำดับ | |||
ในการดำเนิน[[กิจกรรมทางการเมือง]]อย่างเป็นทางการของพรรคนั้นในช่วงดังกล่าวไม่ปรากฏว่ามีการได้มีการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองแต่อย่างใดเนื่องจากหลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนชื่อพรรคมาได้ไม่นานจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ก็ได้กระทำการยึดอำนาจทางการเมืองในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ซึ่งการยึดอำนาจดังกล่าวก็มีผลทำให้ต้องยกเลิกการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเนื่องจาก[[คำประกาศของคณะปฏิวัติ]] ฉบับที่ 8 ที่ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2498 และห้าม[[ชุมนุม]]ทางการเมือง | |||
แนวนโยบายที่สำคัญของพรรคขบวนการสหพันธ์รัฐสากลนิยมนั้นจะมีความคล้ายคลึงกับพรรคขบวนการคนใจบุญคือ <ref>สรุปความจากราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 74 ตอนที่ 66 หน้า 1901-1904</ref> | แนวนโยบายที่สำคัญของพรรคขบวนการสหพันธ์รัฐสากลนิยมนั้นจะมีความคล้ายคลึงกับพรรคขบวนการคนใจบุญคือ <ref>สรุปความจากราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 74 ตอนที่ 66 หน้า 1901-1904</ref> | ||
บรรทัดที่ 10: | บรรทัดที่ 15: | ||
'''ด้านการบริหารจัดการ''' | '''ด้านการบริหารจัดการ''' | ||
1. | 1.ยึดมั่นการปกครองใน[[ระบอบประชาธิปไตย]]แบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ต่อต้านลัทธิ[[เผด็จการ]]ทุกๆลัทธิ | ||
2. | 2.ส่งเสริม[[การปกครองส่วนท้องถิ่น]]โดยคนในท้องถิ่นเอง | ||
3.แก้ไขปรับปรุงภาษีอากรให้เป็นธรรม | 3.แก้ไขปรับปรุงภาษีอากรให้เป็นธรรม | ||
4. | 4.สัญญาหรือข้อตกลงใดๆเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารต้องได้รับความเห็นชอบจาก[[รัฐสภา]] | ||
5. | 5.ดำเนินการทุกวิถีทางให้การดำเนินการของฝ่าย[[ตุลาการ]]เป็นไปอย่างอิสระ | ||
บรรทัดที่ 46: | บรรทัดที่ 51: | ||
'''ด้านการต่างประเทศ''' | '''ด้านการต่างประเทศ''' | ||
1. | 1.สร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศบนพื้นฐานของ[[ความเสมอภาค]]เท่าเทียมกัน | ||
2. | 2.มุ่งส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศเพื่อ[[สร้างสันติภาพ]]ถาวร | ||
แต่กระนั้นก็มีสิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ | แต่กระนั้นก็มีสิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 22:22, 10 มิถุนายน 2553
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคขบวนการสหพันธ์รัฐสากลนิยม
พรรคขบวนการสหพันธ์รัฐสากลนิยมเป็นพรรคที่เปลี่ยนชื่อมาจากพรรคขบวนการคนใจบุญซึ่งได้รับการจดทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 [1] โดยผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคยังคงเป็นบุคคลเดิมคือนายจารุกข์ เรืองสุวรรณ และนายบุญ ศราภัย ตามลำดับ
ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นทางการของพรรคนั้นในช่วงดังกล่าวไม่ปรากฏว่ามีการได้มีการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองแต่อย่างใดเนื่องจากหลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนชื่อพรรคมาได้ไม่นานจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ก็ได้กระทำการยึดอำนาจทางการเมืองในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ซึ่งการยึดอำนาจดังกล่าวก็มีผลทำให้ต้องยกเลิกการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเนื่องจากคำประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 ที่ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2498 และห้ามชุมนุมทางการเมือง
แนวนโยบายที่สำคัญของพรรคขบวนการสหพันธ์รัฐสากลนิยมนั้นจะมีความคล้ายคลึงกับพรรคขบวนการคนใจบุญคือ [2]
ด้านการบริหารจัดการ
1.ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ต่อต้านลัทธิเผด็จการทุกๆลัทธิ
2.ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยคนในท้องถิ่นเอง
3.แก้ไขปรับปรุงภาษีอากรให้เป็นธรรม
4.สัญญาหรือข้อตกลงใดๆเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
5.ดำเนินการทุกวิถีทางให้การดำเนินการของฝ่ายตุลาการเป็นไปอย่างอิสระ
ด้านเศรษฐกิจและสังคม
1.ดำเนินการจัดตั้งสถาบันการเศรษฐกิจแห่งชาติ
2.ส่งเสริมอาชีพแก่ราษฎรโดยยึดวิธีสหกรณ์เป็นหลัก
3.ส่งเสริมให้ราษฎรได้มีและรู้จักใช้เครื่องมือทุ่นแรงทางการเกษตร
4.ดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อจะให้ราษฎรมีฐานะดีขึ้นและให้กสิกร กรรมกรหลุดพ้นจากหนี้สิน
5.ส่งเสริมอุตสาหกรรมหนักให้มีการลงทุนทั่วประเทศ
6.ปรับปรุงค่าเงินตราให้มีเสถียรภาพ
7.ปรับปรุงรักษาความสงบภายในโดยยึดหลักป้องกันก่อนปราบปราม
8.กระจายกำลังเจ้าหน้าที่ออกไปยังพื้นที่ต่างๆให้ได้สัดส่วนกับจำนวนประชากร
9.ขยายการศึกษาออกไปสู่ส่วนภูมิภาคเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ราษฎร
10.จัดตั้งโรงงานเภสัชกรรม
ด้านการต่างประเทศ
1.สร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศบนพื้นฐานของความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
2.มุ่งส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศเพื่อสร้างสันติภาพถาวร
แต่กระนั้นก็มีสิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ
1.มุ่งให้ทุกคนยึดถือหลักประจำใจคือ เสียสละ ยุติธรรม ซื่อสัตย์สุจริต เมตตากรุณา ขยันหมั่นเพียร
2.ก่อตั้งสหพันธ์สมาคมทางศาสนาทุกศาสนา สงเคราะห์ ช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ประชาชนทั่วไปยามเจ็บป่วย คลอดบุตร สมรส ชรา ทุพพลภาพ ตาย ประสบภัยธรรมชาติ