ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อภิรัฐมนตรีสภา"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ล Apirom ย้ายหน้า อภิรัฐมนตรีสภา (ศิวพล ชมภูพันธุ์) ไปยัง อภิรัฐมนตรีสภา โดยไม่สร้างหน้าเปลี่... |
||
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน) | |||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
| | ||
<span style="font-size:x-large;">'''อภิรัฐมนตรีสภา'''</span> | = <span style="font-size:x-large;">'''อภิรัฐมนตรีสภา'''</span> = | ||
อภิรัฐมนตรีก่อตั้งขึ้นในรัชสมัย [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อ พ.ศ. 2469 โดยทำหน้าที่เป็นคณะที่ปรึกษาการบริหารราชการแผ่นดินส่วนพระองค์อภิรัฐมนตรีจึงมีลักษณะคล้ายคณะองคมนตรีในปัจจุบัน อภิรัฐมนตรีมีบทบาทและอำนาจอย่างกว้างขวางในสมัยรัชกาลที่ 7 จนมีฐานะเสมือน เป็น '''“คณะเสนาบดีพิเศษ”'''[[#_ftn1|<sup><sup>[1]</sup></sup>]] ในช่วงปลายสมัยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาอภิรัฐมนตรียุติบทบาทลงภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด | อภิรัฐมนตรีก่อตั้งขึ้นในรัชสมัย [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อ พ.ศ. 2469 โดยทำหน้าที่เป็นคณะที่ปรึกษาการบริหารราชการแผ่นดินส่วนพระองค์อภิรัฐมนตรีจึงมีลักษณะคล้ายคณะองคมนตรีในปัจจุบัน อภิรัฐมนตรีมีบทบาทและอำนาจอย่างกว้างขวางในสมัยรัชกาลที่ 7 จนมีฐานะเสมือน เป็น '''“คณะเสนาบดีพิเศษ”'''[[#_ftn1|<sup><sup>[1]</sup></sup>]] ในช่วงปลายสมัยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาอภิรัฐมนตรียุติบทบาทลงภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด | ||
| หลังพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ได้เพียงไม่กี่วัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง[[อภิรัฐมนตรีสภา|อภิรัฐมนตรีสภา]]ขึ้นเพื่อเป็นคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดินส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริเรื่องนี้มาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์ ในพระราชทัศนะส่วนพระองค์ทรงเห็นการตั้งอภิรัฐมนตรีสภาจะเป็นการฟื้นฟูเกียรติยศราชสำนักและเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนชาวสยามกลับมาอีกครั้ง[[#_ftn2|<sup><sup>[2]</sup></sup>]] โดยพยายามดึงกลุ่มเจ้านายกลับเข้ามาร่วมบริหารประเทศเพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างความยอมรับเชื่อถือจากประชาชน เฉกเช่น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[[#_ftn3|<sup><sup>[3]</sup></sup>]] ในการนี้ พระองค์ได้ทรงเลือกและแต่งตั้งพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงเคารพนับถือ และมีประสบการณ์การบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นสมาชิกอภิรัฐมนตรีสภา ดังความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เมื่อวันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ว่า | ||
'''''“...เราจึงคิดจะตั้งมนตรีขึ้นใหม่อีกคณะหนึ่ง เรียกว่า “อภิรัฐมนตรีสภา” ให้มีจำนวนสมาชิกแต่น้อย สำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงปรึกษาราชการทั้งปวงเปนนิจ เพื่อจะได้เปนกำลังแก่การที่ทรงพระราชวินิจฉัยราชการทั้งปวงในการตั้งอภิรัฐมนตรีนี้ ผู้ซึ่งสมควรจะเปนสมาชิกจำต้องเปนผู้ซึ่งมีความคุ้นเคย และชำนิชำนาญราชการมากมาแต่ก่อน และประกอบด้วยความปรีชาสามารถ สมควรเป็นที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดิน...”[[#_ftn4|<sup><sup>[4]</sup></sup>]] | '''''“...เราจึงคิดจะตั้งมนตรีขึ้นใหม่อีกคณะหนึ่ง เรียกว่า “อภิรัฐมนตรีสภา” ให้มีจำนวนสมาชิกแต่น้อย สำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงปรึกษาราชการทั้งปวงเปนนิจ เพื่อจะได้เปนกำลังแก่การที่ทรงพระราชวินิจฉัยราชการทั้งปวงในการตั้งอภิรัฐมนตรีนี้ ผู้ซึ่งสมควรจะเปนสมาชิกจำต้องเปนผู้ซึ่งมีความคุ้นเคย และชำนิชำนาญราชการมากมาแต่ก่อน และประกอบด้วยความปรีชาสามารถ สมควรเป็นที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดิน...”'''[[#_ftn4|<sup><sup>[4]</sup></sup>]]'' | ||
| | ||
บรรทัดที่ 28: | บรรทัดที่ 28: | ||
'' 5) สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต'' | '' 5) สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต'' | ||
พระบรมวงศ์ทั้ง 5 พระองค์ ล้วนทรงมีประสบการณ์การบริหารราชการแผ่นดินมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นที่น่าสังเกตว่า เจ้านายทั้ง 5 พระองค์นี้มิได้เป็นที่โปรดปรานในช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 ด้วย[[#_ftn6|<sup><sup>[6]</sup></sup>]] อย่างไรก็ตาม หากเจ้านายพระองค์ใดสิ้นพระชนม์จะมีการแต่งตั้งเจ้านายพระองค์อื่นเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนดังเช่น เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช เสด็จทิวงคตหลังจากนั้นอีกสองปี จึงมีการแต่งตั้ง | พระบรมวงศ์ทั้ง 5 พระองค์ ล้วนทรงมีประสบการณ์การบริหารราชการแผ่นดินมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นที่น่าสังเกตว่า เจ้านายทั้ง 5 พระองค์นี้มิได้เป็นที่โปรดปรานในช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 ด้วย[[#_ftn6|<sup><sup>[6]</sup></sup>]] อย่างไรก็ตาม หากเจ้านายพระองค์ใดสิ้นพระชนม์จะมีการแต่งตั้งเจ้านายพระองค์อื่นเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนดังเช่น เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช เสด็จทิวงคตหลังจากนั้นอีกสองปี จึงมีการแต่งตั้ง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เป็นอภิรัฐมนตรีแทนเมื่อ พ.ศ. 2473[[#_ftn7|<sup><sup>[7]</sup></sup>]] ต่อมาเมื่อ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และกรมพระจันทบุรีนฤนาถ สิ้นพระชนในเวลาไล่เลี่ยกัน จึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย เป็นอภิรัฐมนตรีแทนเมื่อ พ.ศ. 2474[[#_ftn8|<sup><sup>[8]</sup></sup>]] | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''อำนาหน้าที่และบทบาทของอภิรัฐมนตรีสภา'''</span> = | |||
< | อำนาจหน้าที่โดยทั่วไปของอภิรัฐมนตรีสภาคือการเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ทั้งในเรื่อง การปกครอง การเงินการคลัง เรื่องพระราชประเพณีในราชสำนักตลอดจนเรื่องทุกข์สุขของอาณาราษฎร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้มีการจัดแบ่งหน้าที่ของอภิรัฐมนตรีแต่ละพระองค์ตามความถนัดและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ยกตัวอย่างเช่น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพซึ่งมิได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงใด ก็ทรงมีหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับการปกครองของกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการต่างประเทศ สมเด็จฯ [[สมเด็จเจ้าฟ้า_กรมพระนครสวรรค์วรพินิต|เจ้าฟ้า กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] ซึ่งคุ้นเคยกับการบริหารราชการด้านกองทัพก็ทรงทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงทหารเรือ และกระทรวงยุติธรรม สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงรับหน้าที่เกี่ยวกับกระทรวงวัง กิจการภายในราชสำนักตลอดจนเรื่องเกี่ยวกับศิลปกรรม เป็นต้น การประชุมภายในอภิรัฐมนตรีสภาจัดขึ้นสัปดาห์ละครั้งโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานในที่ประชุม อีกทั้งยังมีการประชุมร่วมกับเสนาบดีสภาโดยอภิรัฐมนตรีมีสิทธิแสดงความเห็นและลงมติในการประชุมด้วย[[#_ftn9|<sup><sup>[9]</sup></sup>]] โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือด้านการคลังและด้านการปกครอง[[#_ftn10|<sup><sup>[10]</sup></sup>]] | ||
| แม้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีพระราชประสงค์ให้อภิรัฐมนตรีสภากับเสนาบดีสภาร่วมกันบริหารราชการแผ่นดิน แต่ก็มีอุปสรรคในการทำงานอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางความคิดระหว่างองค์กรทั้งสองอยู่เป็นระยะจนก่อให้เกิดปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองภายใน จนทำให้หลายฝ่ายเริ่มวิจารณ์ว่าอภิรัฐมนตรีสภามีอำนาจมากกว่าการเป็นเพียงที่ปรึกษาส่วนพระองค์[[#_ftn11|<sup><sup>[11]</sup></sup>]] ดังจะเห็นได้จากความขัดแย้งระหว่างอภิรัฐมนตรีบางพระองค์ กับ พระองค์เจ้าบวรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม จากประเด็นปัญหาเรื่องการเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการส่วนกองทัพจนเป็นเหตุให้พระองค์บวรเดชลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวเมื่อ พ.ศ. 2474 หรืออีกกรณีหนึ่ง คือ ความคิดเห็นที่ต่างกันในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ การถอนตัวออกจากมาตรฐานทองคำตามอังกฤษและการลดค่าเงินบาท ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ที่อยู่ในกำกับของ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ซึ่งทรงเป็นอภิรัฐมนตรีด้วยกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติซึ่งมี พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) เป็นเสนาบดี ความไม่ลงรอยระหว่างกันเช่นนี้เป็นผลให้พระยาโกมารกุลจำต้องลาออกจากเสนาบดี เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2475[[#_ftn12|<sup><sup>[12]</sup></sup>]] | ||
| นอกจากเรื่องข้างต้นแล้ว อภิรัฐมนตรีสภายังมีบทบาทสูงยิ่งในด้านการเมืองการปกครอง ทั้งในแง่การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและการถวายคำปรึกษาในเรื่องการแต่งตั้ง และการพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการระดับสูง บทบาทสำคัญอีกด้านหนึ่งของอภิรัฐมนตรีสภาในช่วงการแสวงหาตัวแบบการปกครองที่เหมาะสมกับสยาม คือการถวายความเห็นต่อพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องร่างรัฐธรรมนูญในเบื้องต้น ราวเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชบันทึกที่ชื่อว่า '''“Problem of Siam”''' ไปยัง '''พระยากัลยาณไมตรี''' หรือ '''ดร.ฟรานซิส บี แซร์ (Francis B. Sayre)''' อดีตที่ปรึกษาทางการต่างประเทศชาวอเมริกัน เอกสารดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับสภาพปัญหาของสยามที่ทรงอธิบายและทรงตั้งพระราชปุจฉาบางประการเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การเงินการคลังตลอดจนกิจการภายในประเทศ ในการนี้ ทรงย้ำให้เห็นความสำคัญของการตั้งอภิรัฐมนตรีสภาโดยทรงยกเหตุผลประกอบ 3 ประการ คือ | ||
| 1) เพื่อให้เจ้านายมีความสมานฉันท์และผูกสัมพันธ์กันผ่านการบริหารราชการแผ่นดิน | ||
| 2) เพื่อให้เป็นสภาที่ปรึกษา และ | ||
3) เพื่อเป็นที่ทัดทานอำนาจซึ่งไม่มีอำนาจใดมาแบ่งแยกออกไปได้ของสถาบันพระมหากษัตริย์ | |||
กล่าวอีกนัยหนึ่งอภิรัฐมนตรีสภาเป็นที่ซึ่ง '''“มิได้มีพวกข้าราชการที่น่าชิงชังรวมอยู่”'''[[#_ftn13|<sup><sup>[13]</sup></sup>]] นอกจากนั้นยังทรงมีพระราชปุจฉาเพื่อขอความเห็นจากพระยากัลยาณไมตรีในประเด็นอื่น เช่น การมี '''“อัครมหาเสนาบดี”''' หรือ '''[[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]] (Prime Minister)''' การมี '''สภานิติบัญญัติ (legislative Council)''' นั้นว่าสมควรที่จะมีในสยามหรือไม่ ต่อมาพระยากัลยาณไมตรีได้กราบบังคมทูลถวายความเห็นหลายประการพร้อมทูลเกล้าฯ ถวายเอกสารที่ ชื่อ '''Outline of Preliminary Draft''' ซึ่งเปรียบเสมือนร่างรัฐธรรมนูญขนาดสั้นที่ จำนวน 12 มาตรา โดยอิงหลักการที่ว่าพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศและทรงแต่งตั้ง '''“อัครมหาเสนาบดี”''' ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ฝ่ายบริหารพร้อมกับการแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีสภาเพื่อถวายคำปรึกษาและพิจารณาปัญหาสำคัญของประเทศโดยไม่มีอำนาจสั่งการ กระนั้นก็ดี ข้อเสนอของพระยากัลยาณไมตรีก็มิได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกรัฐมนตรีสภาบางพระองค์โดยเฉพาะ '''สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ''' ที่ทรงไม่เห็นด้วยกับเรื่องการแต่งตั้งอัครมหาเสนาบดีด้วยตำแหน่งนี้เหมาะสมกับประเทศที่มีสภาผู้แทนเท่านั้นและไม่เคยมีในสยามมาก่อน อีกทั้งการตั้งตำแหน่งดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนมองว่าพระมหากษัตริย์ทรงอ่อนแอจนไม่สามารถบริหารราชการบ้านเมืองได้ด้วยพระองค์เอง นอกจากนั้นยังทรงเห็นว่าสยามยังไม่พร้อมกับการมีระบบตัวแทนในทางการเมือง ด้วยเหตุนี้ ข้อเสนอของพระยากัลยาณไมตรีก็มิได้ถูกนำมาพิจารณาอย่างจริงจังหรือก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติแต่ประการใด | กล่าวอีกนัยหนึ่งอภิรัฐมนตรีสภาเป็นที่ซึ่ง '''“มิได้มีพวกข้าราชการที่น่าชิงชังรวมอยู่”'''[[#_ftn13|<sup><sup>[13]</sup></sup>]] นอกจากนั้นยังทรงมีพระราชปุจฉาเพื่อขอความเห็นจากพระยากัลยาณไมตรีในประเด็นอื่น เช่น การมี '''“อัครมหาเสนาบดี”''' หรือ '''[[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]] (Prime Minister)''' การมี '''สภานิติบัญญัติ (legislative Council)''' นั้นว่าสมควรที่จะมีในสยามหรือไม่ ต่อมาพระยากัลยาณไมตรีได้กราบบังคมทูลถวายความเห็นหลายประการพร้อมทูลเกล้าฯ ถวายเอกสารที่ ชื่อ '''Outline of Preliminary Draft''' ซึ่งเปรียบเสมือนร่างรัฐธรรมนูญขนาดสั้นที่ จำนวน 12 มาตรา โดยอิงหลักการที่ว่าพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศและทรงแต่งตั้ง '''“อัครมหาเสนาบดี”''' ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ฝ่ายบริหารพร้อมกับการแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีสภาเพื่อถวายคำปรึกษาและพิจารณาปัญหาสำคัญของประเทศโดยไม่มีอำนาจสั่งการ กระนั้นก็ดี ข้อเสนอของพระยากัลยาณไมตรีก็มิได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกรัฐมนตรีสภาบางพระองค์โดยเฉพาะ '''สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ''' ที่ทรงไม่เห็นด้วยกับเรื่องการแต่งตั้งอัครมหาเสนาบดีด้วยตำแหน่งนี้เหมาะสมกับประเทศที่มีสภาผู้แทนเท่านั้นและไม่เคยมีในสยามมาก่อน อีกทั้งการตั้งตำแหน่งดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนมองว่าพระมหากษัตริย์ทรงอ่อนแอจนไม่สามารถบริหารราชการบ้านเมืองได้ด้วยพระองค์เอง นอกจากนั้นยังทรงเห็นว่าสยามยังไม่พร้อมกับการมีระบบตัวแทนในทางการเมือง ด้วยเหตุนี้ ข้อเสนอของพระยากัลยาณไมตรีก็มิได้ถูกนำมาพิจารณาอย่างจริงจังหรือก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติแต่ประการใด | ||
ในอีกคราวหนึ่ง '''พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว''' ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ '''พระยาศรีวิศาลวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)''' ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ กับ '''นายเรย์มอน บี สตีเวน (Raymond B. Steven)''' ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศชาวอเมริกันเป็นผู้จัดทำความคิดเห็นเรื่องการปกครอง บุคคลทั้งสองได้ทูลเกล้าฯ ถวายเอกสาร จำนวน 3 ฉบับ ฉบับแรกคือ '''“An outline of Changes in the Form of Government”''' ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2475 (ตามปีปฏิทินเดิมคือ 2474) ซึ่งถือเป็นเค้าโครงร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดกลไกและกติกาของการปกครองประเทศไว้ด้วย ส่วนอีก 2 ฉบับเป็นบันทึกความเห็นประกอบของคณะผู้ร่างซึ่งแสดงความไม่เห็นด้วยที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองในเวลานั้น อย่างไรก็ดี เอกสารชุดนี้ได้ถูกนำเข้าสู่การประชุมของอภิรัฐมนตรีสภาและได้รับการคัดค้านจากสมาชิกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง | ในอีกคราวหนึ่ง '''พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว''' ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ '''พระยาศรีวิศาลวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)''' ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ กับ '''นายเรย์มอน บี สตีเวน (Raymond B. Steven)''' ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศชาวอเมริกันเป็นผู้จัดทำความคิดเห็นเรื่องการปกครอง บุคคลทั้งสองได้ทูลเกล้าฯ ถวายเอกสาร จำนวน 3 ฉบับ ฉบับแรกคือ '''“An outline of Changes in the Form of Government”''' ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2475 (ตามปีปฏิทินเดิมคือ 2474) ซึ่งถือเป็นเค้าโครงร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดกลไกและกติกาของการปกครองประเทศไว้ด้วย ส่วนอีก 2 ฉบับเป็นบันทึกความเห็นประกอบของคณะผู้ร่างซึ่งแสดงความไม่เห็นด้วยที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองในเวลานั้น อย่างไรก็ดี เอกสารชุดนี้ได้ถูกนำเข้าสู่การประชุมของอภิรัฐมนตรีสภาและได้รับการคัดค้านจากสมาชิกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] และ [[สมเด็จเจ้าฟ้า_กรมพระนครสวรรค์วรพินิต|สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] ด้วยทรงอ้างเรื่องความไม่พร้อมของสยามในเวลานั้นประกอบกับความเชื่อที่ว่าระบอบประชาธิปไตยยังไม่เหมาะสมกับสังคมสยาม ความเห็นเช่นนี้ยังสอดคล้องต้องกันกับคณะผู้ร่างที่คัดค้านเสียเอง ด้วยเหตุนี้ ร่างดังกล่าวที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะพระราชทานในคราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี ก็เป็นอันระงับไป[[#_ftn14|<sup><sup>[14]</sup></sup>]] | ||
กล่าวได้ว่า แม้อภิรัฐมนตรีสภาจะเป็นคณะที่ปรึกษาส่วนพระองค์ที่มิได้มีกฎหมายรองรับอย่างเป็นทางการ แต่ในทางปฏิบัติอภิรัฐมนตรีสภา มีอำนาจเหนือเสนาบดีสภาที่เป็นกลไกหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งยังมีอำนาจอย่างมากในการกลั่นกรองและเป็นกำลังในการวินิจัยฉัยประเด็นปัญหาต่าง ๆ ของประเทศอย่างกว้างขวางเนื่องจากเป็นผู้รับเรื่องจากเสนาบดีก่อนที่กราบบังคมทูลให้พระมหากษัตริย์ทรงพิจารณา ทั้งนี้อภิรัฐมนตรีมิต้องแสดงความรับผิดชอบใด ๆ ต่อพระบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์[[#_ftn15|<sup><sup>[15]</sup></sup>]] ด้วยเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นทำให้หลายฝ่ายพุ่งวิพากษ์วิจารณ์อภิรัฐมนตรีสภาว่าเป็นสถาบันที่มีบทบาทอย่างกว้างขวางและมีอำนาจมากที่สุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือเป็น'''“คณะที่ปรึกษาชั้นสูงขึ้นเหนือคณะเสนาบดี”'''[[#_ftn16|<sup><sup>[16]</sup></sup>]] นั่นเอง | กล่าวได้ว่า แม้อภิรัฐมนตรีสภาจะเป็นคณะที่ปรึกษาส่วนพระองค์ที่มิได้มีกฎหมายรองรับอย่างเป็นทางการ แต่ในทางปฏิบัติอภิรัฐมนตรีสภา มีอำนาจเหนือเสนาบดีสภาที่เป็นกลไกหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งยังมีอำนาจอย่างมากในการกลั่นกรองและเป็นกำลังในการวินิจัยฉัยประเด็นปัญหาต่าง ๆ ของประเทศอย่างกว้างขวางเนื่องจากเป็นผู้รับเรื่องจากเสนาบดีก่อนที่กราบบังคมทูลให้พระมหากษัตริย์ทรงพิจารณา ทั้งนี้อภิรัฐมนตรีมิต้องแสดงความรับผิดชอบใด ๆ ต่อพระบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์[[#_ftn15|<sup><sup>[15]</sup></sup>]] ด้วยเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นทำให้หลายฝ่ายพุ่งวิพากษ์วิจารณ์อภิรัฐมนตรีสภาว่าเป็นสถาบันที่มีบทบาทอย่างกว้างขวางและมีอำนาจมากที่สุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือเป็น'''“คณะที่ปรึกษาชั้นสูงขึ้นเหนือคณะเสนาบดี”'''[[#_ftn16|<sup><sup>[16]</sup></sup>]] นั่นเอง | ||
= '''<span style="font-size:x-large;">การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 กับการยุติบทบาทของอภิรัฐมนตรีสภา </span>''' = | |||
'''<span style="font-size:x-large;">การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 กับการยุติบทบาทของอภิรัฐมนตรีสภา </span>''' | |||
| เมื่อคณะราษฎรเข้ายึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ วันที่ [[24_มิถุนายน_พ.ศ._2475|24_มิถุนายน_พ.ศ._2475]] สมาชิกในอภิรัฐมนตรีสภาเป็นบุคคลหลักอีกหนึ่ง ที่คณะราษฎรหวังจับกุมเพื่อใช้เป็นเครื่องประกันและสร้างข้อต่อรองกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในเวลานั้นเสด็จแปรพระราชฐานไปยัง[[วังไกลกังวล|วังไกลกังวล]] อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดังนั้นในเวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรส่วนหนึ่งได้ทำหน้าที่เชิญ (จับ) อภิรัฐมนตรีมาเป็นประกัน 3 พระองค์ คือ '''สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต''' ซึ่งในเวลานั้นทรงเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครและประธานอภิรัฐมนตรีสภา '''สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ''' และ'''สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์''' มายังพระที่นั่งอนันตสมาคมพร้อมด้วยการจับกุมข้าราชการชั้นผู้ใหญ่บางคน ส่วน'''กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน '''เสด็จหลบหนีไปหัวหินได้ทัน ส่วน'''กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย '''นั้นมิได้ทรงควบคุมไว้ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่พระองค์ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ การควบคุมพระองค์ไว้อาจก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในหมู่ทูตานุทูต[[#_ftn17|<sup><sup>[17]</sup></sup>]] | ||
| ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จ และมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามเมื่อ วันที่ [[27_มิถุนายน_พ.ศ._2475|27_มิถุนายน_พ.ศ._2475]] ได้มีพระบรมราชโองการยกเลิกอภิรัฐมนตรีสภาเมื่อ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[[#_ftn18|<sup><sup>[18]</sup></sup>]] นับเป็นการสิ้นสุดบทบาทของอภิรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ | ||
<span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> | = <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> = | ||
“ประกาศตั้งอภิรัฐมนตรี” | “ประกาศตั้งอภิรัฐมนตรี” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 (6 เมษายน พ.ศ. 2473): 4 | ||
“ประกาศตั้งอภิรัฐมนตรี” | “ประกาศตั้งอภิรัฐมนตรี” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 48 (25 ตุลาคม พ.ศ. 2474): 366 | ||
“ประกาศเลิกอภิรัฐมนตรีสภา” | “ประกาศเลิกอภิรัฐมนตรีสภา” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 (17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475): 202-203. | ||
“พระราชดำรัสทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา” | “พระราชดำรัสทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 42 (28 พฤษศจิกายน พ.ศ. 2468): 2619-2620 | ||
ชาญชัย รัตนวิบูลย์. | ชาญชัย รัตนวิบูลย์. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2548. | ||
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. | ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประวัติการเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475-2500, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำรา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2559. | ||
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. | นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2546. | ||
บัทสัน, เบนจามิน เอ. | บัทสัน, เบนจามิน เอ. อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม, กาญจนี ละอองศรี และ ยุพา ชุมจันทร์ (บรรณาธิการแปล), พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2547. | ||
พฤทธิสาณ ชุมพล, ม.ร.ว. | พฤทธิสาณ ชุมพล, ม.ร.ว. ประชาธิปก ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560. | ||
พิทยลาภพฤฒิยากร, กรมหมื่น. | พิทยลาภพฤฒิยากร, กรมหมื่น. อัตตชีวประวัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตีรณสาร, 2517. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ณ พระเมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2517). | ||
วัลย์วิภา จรูญโรจน์. | วัลย์วิภา จรูญโรจน์. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว: การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2520. | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> = | |||
<span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> | |||
<div><div id="ftn1"> | <div><div id="ftn1"> | ||
[[#_ftnref1|<sup><sup>[1]</sup></sup>]] เบนจามิน เอ บัทสัน,บัทสัน, | [[#_ftnref1|<sup><sup>[1]</sup></sup>]] เบนจามิน เอ บัทสัน,บัทสัน, อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม, กาญจนี ละอองศรี และ ยุพา ชุมจันทร์ (บรรณาธิการแปล), พิมพ์ครั้งที่ 2. (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2547), หน้า 45. | ||
</div> <div id="ftn2"> | </div> <div id="ftn2"> | ||
[[#_ftnref2|<sup><sup>[2]</sup></sup>]] เรื่องเดียวกัน, หน้า 42 | [[#_ftnref2|<sup><sup>[2]</sup></sup>]] เรื่องเดียวกัน, หน้า 42 | ||
บรรทัดที่ 96: | บรรทัดที่ 88: | ||
[[#_ftnref3|<sup><sup>[3]</sup></sup>]] นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475, พิมพ์ครั้งที่ 4. (กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2546), หน้า 38. | [[#_ftnref3|<sup><sup>[3]</sup></sup>]] นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475, พิมพ์ครั้งที่ 4. (กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2546), หน้า 38. | ||
</div> <div id="ftn4"> | </div> <div id="ftn4"> | ||
[[#_ftnref4|<sup><sup>[4]</sup></sup>]] “พระราชดำรัสทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา” | [[#_ftnref4|<sup><sup>[4]</sup></sup>]] “พระราชดำรัสทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 42 (28 พฤษศจิกายน พ.ศ. 2468): 2619-2620. | ||
</div> <div id="ftn5"> | </div> <div id="ftn5"> | ||
[[#_ftnref5|<sup><sup>[5]</sup></sup>]] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, | [[#_ftnref5|<sup><sup>[5]</sup></sup>]] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475-2500, พิมพ์ครั้งที่ 6 (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2559), หน้า 43 | ||
</div> <div id="ftn6"> | </div> <div id="ftn6"> | ||
[[#_ftnref6|<sup><sup>[6]</sup></sup>]] เบนจามิน เอ บัทสัน, | [[#_ftnref6|<sup><sup>[6]</sup></sup>]] เบนจามิน เอ บัทสัน, อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม,หน้า 42. | ||
</div> <div id="ftn7"> | </div> <div id="ftn7"> | ||
[[#_ftnref7|<sup><sup>[7]</sup></sup>]] “ประกาศตั้งอภิรัฐมนตรี” | [[#_ftnref7|<sup><sup>[7]</sup></sup>]] “ประกาศตั้งอภิรัฐมนตรี” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 (6 เมษายน พ.ศ. 2473): 4. | ||
</div> <div id="ftn8"> | </div> <div id="ftn8"> | ||
[[#_ftnref8|<sup><sup>[8]</sup></sup>]] “ประกาศตั้งอภิรัฐมนตรี” | [[#_ftnref8|<sup><sup>[8]</sup></sup>]] “ประกาศตั้งอภิรัฐมนตรี” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 48 (25 ตุลาคม พ.ศ. 2474): 366. | ||
</div> <div id="ftn9"> | </div> <div id="ftn9"> | ||
[[#_ftnref9|<sup><sup>[9]</sup></sup>]] วัลย์วิภา จรูญโรจน์, แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว: การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2520), หน้า 48 . | [[#_ftnref9|<sup><sup>[9]</sup></sup>]] วัลย์วิภา จรูญโรจน์, แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว: การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2520), หน้า 48 . | ||
</div> <div id="ftn10"> | </div> <div id="ftn10"> | ||
[[#_ftnref10|<sup><sup>[10]</sup></sup>]] ชาญชัย รัตนวิบูลย์, | [[#_ftnref10|<sup><sup>[10]</sup></sup>]] ชาญชัย รัตนวิบูลย์, บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2548), หน้า 163-168. | ||
</div> <div id="ftn11"> | </div> <div id="ftn11"> | ||
[[#_ftnref11|<sup><sup>[11]</sup></sup>]] ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล, | [[#_ftnref11|<sup><sup>[11]</sup></sup>]] ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล, ประชาธิปก ประชาธิปไตย (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560), หน้า 33. | ||
</div> <div id="ftn12"> | </div> <div id="ftn12"> | ||
[[#_ftnref12|<sup><sup>[12]</sup></sup>]] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, | [[#_ftnref12|<sup><sup>[12]</sup></sup>]] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475-2500, หน้า 104-107. | ||
</div> <div id="ftn13"> | </div> <div id="ftn13"> | ||
[[#_ftnref13|<sup><sup>[13]</sup></sup>]] นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, | [[#_ftnref13|<sup><sup>[13]</sup></sup>]] นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475, หน้า 183. | ||
</div> <div id="ftn14"> | </div> <div id="ftn14"> | ||
[[#_ftnref14|<sup><sup>[14]</sup></sup>]] ชาญชัย รัตนวิบูลย์, | [[#_ftnref14|<sup><sup>[14]</sup></sup>]] ชาญชัย รัตนวิบูลย์, บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า 156-157. | ||
</div> <div id="ftn15"> | </div> <div id="ftn15"> | ||
[[#_ftnref15|<sup><sup>[15]</sup></sup>]] เรื่องเดียวกัน, หน้า 192 | [[#_ftnref15|<sup><sup>[15]</sup></sup>]] เรื่องเดียวกัน, หน้า 192 | ||
บรรทัดที่ 122: | บรรทัดที่ 114: | ||
[[#_ftnref16|<sup><sup>[16]</sup></sup>]] กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร อัตตชีวประวัติ (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตีรณสาร, 2517) พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ณ พระเมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2517, หน้า 83. | [[#_ftnref16|<sup><sup>[16]</sup></sup>]] กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร อัตตชีวประวัติ (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตีรณสาร, 2517) พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ณ พระเมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2517, หน้า 83. | ||
</div> <div id="ftn17"> | </div> <div id="ftn17"> | ||
[[#_ftnref17|<sup><sup>[17]</sup></sup>]] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, | [[#_ftnref17|<sup><sup>[17]</sup></sup>]] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475-2500, หน้า 85. | ||
</div> <div id="ftn18"> | </div> <div id="ftn18"> | ||
[[#_ftnref18|<sup><sup>[18]</sup></sup>]] ประกาศเลิกอภิรัฐมนตรีสภา” | [[#_ftnref18|<sup><sup>[18]</sup></sup>]] ประกาศเลิกอภิรัฐมนตรีสภา” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 (17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475): 202-203. | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:พระปกเกล้าศึกษา]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ]] [[Category:ว่าด้วยบุคคลสำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]] | [[Category:พระปกเกล้าศึกษา]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ]] [[Category:ว่าด้วยบุคคลสำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:04, 19 มิถุนายน 2567
ผู้เรียบเรียง : ศิวพล ชมภูพันธุ์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ
อภิรัฐมนตรีสภา
อภิรัฐมนตรีก่อตั้งขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2469 โดยทำหน้าที่เป็นคณะที่ปรึกษาการบริหารราชการแผ่นดินส่วนพระองค์อภิรัฐมนตรีจึงมีลักษณะคล้ายคณะองคมนตรีในปัจจุบัน อภิรัฐมนตรีมีบทบาทและอำนาจอย่างกว้างขวางในสมัยรัชกาลที่ 7 จนมีฐานะเสมือน เป็น “คณะเสนาบดีพิเศษ”[1] ในช่วงปลายสมัยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาอภิรัฐมนตรียุติบทบาทลงภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
หลังพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ได้เพียงไม่กี่วัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งอภิรัฐมนตรีสภาขึ้นเพื่อเป็นคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดินส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริเรื่องนี้มาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์ ในพระราชทัศนะส่วนพระองค์ทรงเห็นการตั้งอภิรัฐมนตรีสภาจะเป็นการฟื้นฟูเกียรติยศราชสำนักและเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนชาวสยามกลับมาอีกครั้ง[2] โดยพยายามดึงกลุ่มเจ้านายกลับเข้ามาร่วมบริหารประเทศเพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างความยอมรับเชื่อถือจากประชาชน เฉกเช่น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] ในการนี้ พระองค์ได้ทรงเลือกและแต่งตั้งพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงเคารพนับถือ และมีประสบการณ์การบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นสมาชิกอภิรัฐมนตรีสภา ดังความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เมื่อวันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ว่า
“...เราจึงคิดจะตั้งมนตรีขึ้นใหม่อีกคณะหนึ่ง เรียกว่า “อภิรัฐมนตรีสภา” ให้มีจำนวนสมาชิกแต่น้อย สำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงปรึกษาราชการทั้งปวงเปนนิจ เพื่อจะได้เปนกำลังแก่การที่ทรงพระราชวินิจฉัยราชการทั้งปวงในการตั้งอภิรัฐมนตรีนี้ ผู้ซึ่งสมควรจะเปนสมาชิกจำต้องเปนผู้ซึ่งมีความคุ้นเคย และชำนิชำนาญราชการมากมาแต่ก่อน และประกอบด้วยความปรีชาสามารถ สมควรเป็นที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดิน...”[4]
เมื่อแรกก่อตั้งอภิรัฐมนตรีสภา ประกอบด้วยพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ จำนวน 5 พระองค์ ดังมีรายพระนามดังต่อไปนี้[5]
1) สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช
2) สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
3) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
4) พระเจ้าพี่ยาเธอฯ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ และ
5) สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
พระบรมวงศ์ทั้ง 5 พระองค์ ล้วนทรงมีประสบการณ์การบริหารราชการแผ่นดินมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นที่น่าสังเกตว่า เจ้านายทั้ง 5 พระองค์นี้มิได้เป็นที่โปรดปรานในช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 ด้วย[6] อย่างไรก็ตาม หากเจ้านายพระองค์ใดสิ้นพระชนม์จะมีการแต่งตั้งเจ้านายพระองค์อื่นเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนดังเช่น เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช เสด็จทิวงคตหลังจากนั้นอีกสองปี จึงมีการแต่งตั้ง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เป็นอภิรัฐมนตรีแทนเมื่อ พ.ศ. 2473[7] ต่อมาเมื่อ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และกรมพระจันทบุรีนฤนาถ สิ้นพระชนในเวลาไล่เลี่ยกัน จึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย เป็นอภิรัฐมนตรีแทนเมื่อ พ.ศ. 2474[8]
อำนาหน้าที่และบทบาทของอภิรัฐมนตรีสภา
อำนาจหน้าที่โดยทั่วไปของอภิรัฐมนตรีสภาคือการเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ทั้งในเรื่อง การปกครอง การเงินการคลัง เรื่องพระราชประเพณีในราชสำนักตลอดจนเรื่องทุกข์สุขของอาณาราษฎร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้มีการจัดแบ่งหน้าที่ของอภิรัฐมนตรีแต่ละพระองค์ตามความถนัดและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ยกตัวอย่างเช่น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพซึ่งมิได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงใด ก็ทรงมีหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับการปกครองของกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการต่างประเทศ สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งคุ้นเคยกับการบริหารราชการด้านกองทัพก็ทรงทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงทหารเรือ และกระทรวงยุติธรรม สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงรับหน้าที่เกี่ยวกับกระทรวงวัง กิจการภายในราชสำนักตลอดจนเรื่องเกี่ยวกับศิลปกรรม เป็นต้น การประชุมภายในอภิรัฐมนตรีสภาจัดขึ้นสัปดาห์ละครั้งโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานในที่ประชุม อีกทั้งยังมีการประชุมร่วมกับเสนาบดีสภาโดยอภิรัฐมนตรีมีสิทธิแสดงความเห็นและลงมติในการประชุมด้วย[9] โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือด้านการคลังและด้านการปกครอง[10]
แม้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีพระราชประสงค์ให้อภิรัฐมนตรีสภากับเสนาบดีสภาร่วมกันบริหารราชการแผ่นดิน แต่ก็มีอุปสรรคในการทำงานอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางความคิดระหว่างองค์กรทั้งสองอยู่เป็นระยะจนก่อให้เกิดปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองภายใน จนทำให้หลายฝ่ายเริ่มวิจารณ์ว่าอภิรัฐมนตรีสภามีอำนาจมากกว่าการเป็นเพียงที่ปรึกษาส่วนพระองค์[11] ดังจะเห็นได้จากความขัดแย้งระหว่างอภิรัฐมนตรีบางพระองค์ กับ พระองค์เจ้าบวรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม จากประเด็นปัญหาเรื่องการเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการส่วนกองทัพจนเป็นเหตุให้พระองค์บวรเดชลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวเมื่อ พ.ศ. 2474 หรืออีกกรณีหนึ่ง คือ ความคิดเห็นที่ต่างกันในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ การถอนตัวออกจากมาตรฐานทองคำตามอังกฤษและการลดค่าเงินบาท ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ที่อยู่ในกำกับของ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ซึ่งทรงเป็นอภิรัฐมนตรีด้วยกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติซึ่งมี พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) เป็นเสนาบดี ความไม่ลงรอยระหว่างกันเช่นนี้เป็นผลให้พระยาโกมารกุลจำต้องลาออกจากเสนาบดี เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2475[12]
นอกจากเรื่องข้างต้นแล้ว อภิรัฐมนตรีสภายังมีบทบาทสูงยิ่งในด้านการเมืองการปกครอง ทั้งในแง่การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและการถวายคำปรึกษาในเรื่องการแต่งตั้ง และการพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการระดับสูง บทบาทสำคัญอีกด้านหนึ่งของอภิรัฐมนตรีสภาในช่วงการแสวงหาตัวแบบการปกครองที่เหมาะสมกับสยาม คือการถวายความเห็นต่อพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องร่างรัฐธรรมนูญในเบื้องต้น ราวเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชบันทึกที่ชื่อว่า “Problem of Siam” ไปยัง พระยากัลยาณไมตรี หรือ ดร.ฟรานซิส บี แซร์ (Francis B. Sayre) อดีตที่ปรึกษาทางการต่างประเทศชาวอเมริกัน เอกสารดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับสภาพปัญหาของสยามที่ทรงอธิบายและทรงตั้งพระราชปุจฉาบางประการเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การเงินการคลังตลอดจนกิจการภายในประเทศ ในการนี้ ทรงย้ำให้เห็นความสำคัญของการตั้งอภิรัฐมนตรีสภาโดยทรงยกเหตุผลประกอบ 3 ประการ คือ
1) เพื่อให้เจ้านายมีความสมานฉันท์และผูกสัมพันธ์กันผ่านการบริหารราชการแผ่นดิน
2) เพื่อให้เป็นสภาที่ปรึกษา และ
3) เพื่อเป็นที่ทัดทานอำนาจซึ่งไม่มีอำนาจใดมาแบ่งแยกออกไปได้ของสถาบันพระมหากษัตริย์
กล่าวอีกนัยหนึ่งอภิรัฐมนตรีสภาเป็นที่ซึ่ง “มิได้มีพวกข้าราชการที่น่าชิงชังรวมอยู่”[13] นอกจากนั้นยังทรงมีพระราชปุจฉาเพื่อขอความเห็นจากพระยากัลยาณไมตรีในประเด็นอื่น เช่น การมี “อัครมหาเสนาบดี” หรือ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) การมี สภานิติบัญญัติ (legislative Council) นั้นว่าสมควรที่จะมีในสยามหรือไม่ ต่อมาพระยากัลยาณไมตรีได้กราบบังคมทูลถวายความเห็นหลายประการพร้อมทูลเกล้าฯ ถวายเอกสารที่ ชื่อ Outline of Preliminary Draft ซึ่งเปรียบเสมือนร่างรัฐธรรมนูญขนาดสั้นที่ จำนวน 12 มาตรา โดยอิงหลักการที่ว่าพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศและทรงแต่งตั้ง “อัครมหาเสนาบดี” ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ฝ่ายบริหารพร้อมกับการแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีสภาเพื่อถวายคำปรึกษาและพิจารณาปัญหาสำคัญของประเทศโดยไม่มีอำนาจสั่งการ กระนั้นก็ดี ข้อเสนอของพระยากัลยาณไมตรีก็มิได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกรัฐมนตรีสภาบางพระองค์โดยเฉพาะ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงไม่เห็นด้วยกับเรื่องการแต่งตั้งอัครมหาเสนาบดีด้วยตำแหน่งนี้เหมาะสมกับประเทศที่มีสภาผู้แทนเท่านั้นและไม่เคยมีในสยามมาก่อน อีกทั้งการตั้งตำแหน่งดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนมองว่าพระมหากษัตริย์ทรงอ่อนแอจนไม่สามารถบริหารราชการบ้านเมืองได้ด้วยพระองค์เอง นอกจากนั้นยังทรงเห็นว่าสยามยังไม่พร้อมกับการมีระบบตัวแทนในทางการเมือง ด้วยเหตุนี้ ข้อเสนอของพระยากัลยาณไมตรีก็มิได้ถูกนำมาพิจารณาอย่างจริงจังหรือก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติแต่ประการใด
ในอีกคราวหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาศรีวิศาลวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ กับ นายเรย์มอน บี สตีเวน (Raymond B. Steven) ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศชาวอเมริกันเป็นผู้จัดทำความคิดเห็นเรื่องการปกครอง บุคคลทั้งสองได้ทูลเกล้าฯ ถวายเอกสาร จำนวน 3 ฉบับ ฉบับแรกคือ “An outline of Changes in the Form of Government” ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2475 (ตามปีปฏิทินเดิมคือ 2474) ซึ่งถือเป็นเค้าโครงร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดกลไกและกติกาของการปกครองประเทศไว้ด้วย ส่วนอีก 2 ฉบับเป็นบันทึกความเห็นประกอบของคณะผู้ร่างซึ่งแสดงความไม่เห็นด้วยที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองในเวลานั้น อย่างไรก็ดี เอกสารชุดนี้ได้ถูกนำเข้าสู่การประชุมของอภิรัฐมนตรีสภาและได้รับการคัดค้านจากสมาชิกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ด้วยทรงอ้างเรื่องความไม่พร้อมของสยามในเวลานั้นประกอบกับความเชื่อที่ว่าระบอบประชาธิปไตยยังไม่เหมาะสมกับสังคมสยาม ความเห็นเช่นนี้ยังสอดคล้องต้องกันกับคณะผู้ร่างที่คัดค้านเสียเอง ด้วยเหตุนี้ ร่างดังกล่าวที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะพระราชทานในคราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี ก็เป็นอันระงับไป[14]
กล่าวได้ว่า แม้อภิรัฐมนตรีสภาจะเป็นคณะที่ปรึกษาส่วนพระองค์ที่มิได้มีกฎหมายรองรับอย่างเป็นทางการ แต่ในทางปฏิบัติอภิรัฐมนตรีสภา มีอำนาจเหนือเสนาบดีสภาที่เป็นกลไกหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งยังมีอำนาจอย่างมากในการกลั่นกรองและเป็นกำลังในการวินิจัยฉัยประเด็นปัญหาต่าง ๆ ของประเทศอย่างกว้างขวางเนื่องจากเป็นผู้รับเรื่องจากเสนาบดีก่อนที่กราบบังคมทูลให้พระมหากษัตริย์ทรงพิจารณา ทั้งนี้อภิรัฐมนตรีมิต้องแสดงความรับผิดชอบใด ๆ ต่อพระบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์[15] ด้วยเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นทำให้หลายฝ่ายพุ่งวิพากษ์วิจารณ์อภิรัฐมนตรีสภาว่าเป็นสถาบันที่มีบทบาทอย่างกว้างขวางและมีอำนาจมากที่สุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือเป็น“คณะที่ปรึกษาชั้นสูงขึ้นเหนือคณะเสนาบดี”[16] นั่นเอง
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 กับการยุติบทบาทของอภิรัฐมนตรีสภา
เมื่อคณะราษฎรเข้ายึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ วันที่ 24_มิถุนายน_พ.ศ._2475 สมาชิกในอภิรัฐมนตรีสภาเป็นบุคคลหลักอีกหนึ่ง ที่คณะราษฎรหวังจับกุมเพื่อใช้เป็นเครื่องประกันและสร้างข้อต่อรองกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในเวลานั้นเสด็จแปรพระราชฐานไปยังวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดังนั้นในเวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรส่วนหนึ่งได้ทำหน้าที่เชิญ (จับ) อภิรัฐมนตรีมาเป็นประกัน 3 พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งในเวลานั้นทรงเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครและประธานอภิรัฐมนตรีสภา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มายังพระที่นั่งอนันตสมาคมพร้อมด้วยการจับกุมข้าราชการชั้นผู้ใหญ่บางคน ส่วนกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสด็จหลบหนีไปหัวหินได้ทัน ส่วนกรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย นั้นมิได้ทรงควบคุมไว้ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่พระองค์ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ การควบคุมพระองค์ไว้อาจก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในหมู่ทูตานุทูต[17]
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จ และมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามเมื่อ วันที่ 27_มิถุนายน_พ.ศ._2475 ได้มีพระบรมราชโองการยกเลิกอภิรัฐมนตรีสภาเมื่อ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[18] นับเป็นการสิ้นสุดบทบาทของอภิรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ
บรรณานุกรม
“ประกาศตั้งอภิรัฐมนตรี” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 (6 เมษายน พ.ศ. 2473): 4
“ประกาศตั้งอภิรัฐมนตรี” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 48 (25 ตุลาคม พ.ศ. 2474): 366
“ประกาศเลิกอภิรัฐมนตรีสภา” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 (17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475): 202-203.
“พระราชดำรัสทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 42 (28 พฤษศจิกายน พ.ศ. 2468): 2619-2620
ชาญชัย รัตนวิบูลย์. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2548.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประวัติการเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475-2500, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำรา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2559.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2546.
บัทสัน, เบนจามิน เอ. อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม, กาญจนี ละอองศรี และ ยุพา ชุมจันทร์ (บรรณาธิการแปล), พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2547.
พฤทธิสาณ ชุมพล, ม.ร.ว. ประชาธิปก ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560.
พิทยลาภพฤฒิยากร, กรมหมื่น. อัตตชีวประวัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตีรณสาร, 2517. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ณ พระเมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2517).
วัลย์วิภา จรูญโรจน์. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว: การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2520.
อ้างอิง
[1] เบนจามิน เอ บัทสัน,บัทสัน, อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม, กาญจนี ละอองศรี และ ยุพา ชุมจันทร์ (บรรณาธิการแปล), พิมพ์ครั้งที่ 2. (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2547), หน้า 45.
[2] เรื่องเดียวกัน, หน้า 42
[3] นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475, พิมพ์ครั้งที่ 4. (กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2546), หน้า 38.
[4] “พระราชดำรัสทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 42 (28 พฤษศจิกายน พ.ศ. 2468): 2619-2620.
[5] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475-2500, พิมพ์ครั้งที่ 6 (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2559), หน้า 43
[6] เบนจามิน เอ บัทสัน, อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม,หน้า 42.
[7] “ประกาศตั้งอภิรัฐมนตรี” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 (6 เมษายน พ.ศ. 2473): 4.
[8] “ประกาศตั้งอภิรัฐมนตรี” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 48 (25 ตุลาคม พ.ศ. 2474): 366.
[9] วัลย์วิภา จรูญโรจน์, แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว: การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2520), หน้า 48 .
[10] ชาญชัย รัตนวิบูลย์, บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2548), หน้า 163-168.
[11] ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล, ประชาธิปก ประชาธิปไตย (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560), หน้า 33.
[12] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475-2500, หน้า 104-107.
[13] นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475, หน้า 183.
[14] ชาญชัย รัตนวิบูลย์, บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า 156-157.
[15] เรื่องเดียวกัน, หน้า 192
[16] กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร อัตตชีวประวัติ (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตีรณสาร, 2517) พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ณ พระเมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2517, หน้า 83.
[17] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475-2500, หน้า 85.
[18] ประกาศเลิกอภิรัฐมนตรีสภา” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 (17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475): 202-203.