ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉ..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
= '''ความเป็นมา''' = | = '''ความเป็นมา''' = | ||
การปกครองท้องที่ในรูปตำบลเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 กำหนดให้หลายบ้านรวมตัวเป็นหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ควบคุมดูแล และหมู่บ้านรวมตัวเป็นตำบลมีกำนันเป็นผู้ควบคุมดูแล จัดตั้งเพื่อช่วยเหลือภารกิจของทางราชการ พร้อมทั้งกำหนดให้มี '''“คณะกรรมการตำบล”''' ขึ้นคณะหนึ่งทำหน้าที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่กำนันเกี่ยวกับการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกำนัน ประกอบด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกบ้าน แพทย์ประจำตำบล และครูประชาบาลหนึ่งคน ต่อมาในสมัย[[แปลก_พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ที่ 222/2499 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2499 เรื่อง ระเบียบบริหารราชการส่วนตำบลและหมู่บ้านโดยได้ปรับปรุงโครงสร้างของ '''“คณะกรรมการตำบล”''' ให้ประกอบด้วยกำนันท้องที่ ผู้ใหญ่บ้านทุกคนในตำบล แพทย์ประจำตำบล ครูประชาบาลในตำบลนั้นคนหนึ่ง ราษฎรผู้ทรงคุณวุฒิในตำบลนั้นไม่น้อยกว่าสองคน ซึ่งนายอำเภอคัดเลือกเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง กับให้มีข้าราชการที่ปฏิบัติงานในตำบลนั้นเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตำบลด้วย พร้อมทั้งได้กำหนดให้มี '''“'''[[สภาตำบล|สภาตำบล]]'''”''' ขึ้นเป็นครั้งแรกประกอบด้วยสมาชิกสภาตำบลซึ่งมาจากราษฎรผู้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านละสองคน เพื่อควบคุมการบริหารงานของคณะกรรมการตำบล[[#_ftn1|[1]]]จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2500 ได้มีการประกาศใช้ '''“พระราชบัญญัติระเบียบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499”''' ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เนื้อหากฎหมายมี จำนวน 58 มาตรา ประกอบด้วยโครงสร้างของกฎหมาย ดังนี้ | การปกครองท้องที่ในรูปตำบลเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 กำหนดให้หลายบ้านรวมตัวเป็นหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ควบคุมดูแล และหมู่บ้านรวมตัวเป็นตำบลมีกำนันเป็นผู้ควบคุมดูแล จัดตั้งเพื่อช่วยเหลือภารกิจของทางราชการ พร้อมทั้งกำหนดให้มี '''“คณะกรรมการตำบล”''' ขึ้นคณะหนึ่งทำหน้าที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่กำนันเกี่ยวกับการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกำนัน ประกอบด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกบ้าน แพทย์ประจำตำบล และครูประชาบาลหนึ่งคน ต่อมาในสมัย[[แปลก_พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ที่ 222/2499 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2499 เรื่อง ระเบียบบริหารราชการส่วนตำบลและหมู่บ้านโดยได้ปรับปรุงโครงสร้างของ '''“คณะกรรมการตำบล”''' ให้ประกอบด้วยกำนันท้องที่ ผู้ใหญ่บ้านทุกคนในตำบล แพทย์ประจำตำบล ครูประชาบาลในตำบลนั้นคนหนึ่ง ราษฎรผู้ทรงคุณวุฒิในตำบลนั้นไม่น้อยกว่าสองคน ซึ่งนายอำเภอคัดเลือกเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง กับให้มีข้าราชการที่ปฏิบัติงานในตำบลนั้นเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตำบลด้วย พร้อมทั้งได้กำหนดให้มี '''“'''[[สภาตำบล|สภาตำบล]]'''”''' ขึ้นเป็นครั้งแรกประกอบด้วยสมาชิกสภาตำบลซึ่งมาจากราษฎรผู้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านละสองคน เพื่อควบคุมการบริหารงานของคณะกรรมการตำบล[[#_ftn1|[1]]] จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2500 ได้มีการประกาศใช้ '''“พระราชบัญญัติระเบียบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499”''' ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เนื้อหากฎหมายมี จำนวน 58 มาตรา ประกอบด้วยโครงสร้างของกฎหมาย ดังนี้ | ||
- ส่วนนำของกฎหมายยังประกอบด้วยชื่อกฎหมาย วันประกาศใช้กฎหมาย กรณีที่มีกฎหมายขัดหรือแย้งกับกฎหมายฉบับนี้ให้ใช้กฎหมายฉบับนี้แทน คำนิยาม การจัดตั้งตำบล การกำหนดสถานะของเทศบาล และให้รัฐมนตรีรักษาการตามกฎหมาย | - ส่วนนำของกฎหมายยังประกอบด้วยชื่อกฎหมาย วันประกาศใช้กฎหมาย กรณีที่มีกฎหมายขัดหรือแย้งกับกฎหมายฉบับนี้ให้ใช้กฎหมายฉบับนี้แทน คำนิยาม การจัดตั้งตำบล การกำหนดสถานะของเทศบาล และให้รัฐมนตรีรักษาการตามกฎหมาย | ||
บรรทัดที่ 28: | บรรทัดที่ 28: | ||
= '''สาระสำคัญของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499''' = | = '''สาระสำคัญของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499''' = | ||
ความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ได้จัดตั้ง '''“องค์การบริหารส่วนตำบล”''' ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อดำเนินกิจการส่วนตำบลและมีเขตปกครองตามเขตตำบลตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่[[#_ftn2|[2]]]จัดตั้งโดยประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา[[#_ftn3|[3]]] ให้มีฐานะเป็น '''“นิติบุคคล”''' จัดแบ่งเป็น '''“สภาตำบล”''' และ '''“คณะกรรมการตำบล”''' เพื่อดำเนินการบริหารงานในส่วนตำบล[[#_ftn4|[4]]]มีพนักงานตำบลเป็นผู้ปฏิบัติงานของตนเองและมีอำนาจในการตราข้อบัญญัติตำบล ภายใต้การกำกับดูแลของนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด | ความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ได้จัดตั้ง '''“องค์การบริหารส่วนตำบล”''' ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อดำเนินกิจการส่วนตำบลและมีเขตปกครองตามเขตตำบลตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่[[#_ftn2|[2]]] จัดตั้งโดยประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา[[#_ftn3|[3]]] ให้มีฐานะเป็น '''“นิติบุคคล”''' จัดแบ่งเป็น '''“สภาตำบล”''' และ '''“คณะกรรมการตำบล”''' เพื่อดำเนินการบริหารงานในส่วนตำบล[[#_ftn4|[4]]] มีพนักงานตำบลเป็นผู้ปฏิบัติงานของตนเองและมีอำนาจในการตราข้อบัญญัติตำบล ภายใต้การกำกับดูแลของนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด | ||
'''1. โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล ''' | '''1. โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล ''' | ||
บรรทัดที่ 36: | บรรทัดที่ 36: | ||
<u>1.1 สภาตำบล</u> | <u>1.1 สภาตำบล</u> | ||
สภาตำบลมีหน้าที่ควบคุมการบริหารงานของคณะกรรมการตำบล ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรในหมู่บ้านเลือกตั้งขึ้น หมู่บ้านละ 1 คน และให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านทุกคนในตำบลนั้นเป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง[[#_ftn5|[5]]]สมาชิกสภาตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี นับแต่วันเปิดสมัยประชุมสามัญครั้งแรก[[#_ftn6|[6]]] | สภาตำบลมีหน้าที่ควบคุมการบริหารงานของคณะกรรมการตำบล ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรในหมู่บ้านเลือกตั้งขึ้น หมู่บ้านละ 1 คน และให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านทุกคนในตำบลนั้นเป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง[[#_ftn5|[5]]] สมาชิกสภาตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี นับแต่วันเปิดสมัยประชุมสามัญครั้งแรก[[#_ftn6|[6]]] | ||
ให้สภาตำบลมี '''“ประธาน”''' และรองประธานสภา 1 คน ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากสมาชิกสภาตำบลตามมติของสภาตำบล[[#_ftn7|[7]]]ทำหน้าที่ดำเนินกิจการของสภาตำบลให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาตำบล[[#_ftn8|[8]]]ทั้งนี้ สภาตำบลมีหน้าที่วางข้อบังคับการประชุมสภาตำบลโดยอนุโลมตามแบบของกระทรวงมหาดไทย[[#_ftn9|[9]]] | ให้สภาตำบลมี '''“ประธาน”''' และรองประธานสภา 1 คน ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากสมาชิกสภาตำบลตามมติของสภาตำบล[[#_ftn7|[7]]] ทำหน้าที่ดำเนินกิจการของสภาตำบลให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาตำบล[[#_ftn8|[8]]] ทั้งนี้ สภาตำบลมีหน้าที่วางข้อบังคับการประชุมสภาตำบลโดยอนุโลมตามแบบของกระทรวงมหาดไทย[[#_ftn9|[9]]] | ||
การประชุมสภาตำบล กฎหมายกำหนดให้สภาตำบลต้องประชุมสามัญ 1 ครั้งต่อปี กำหนดเวลาในการประชุมไม่เกิน 15 วัน แต่สามารถขยายเวลาได้โดยนายอำเภอ[[#_ftn10|[10]]]กรณีมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์ขององค์การบริหารส่วนตำบล นายอำเภอจะเรียกประชุมวิสามัญสภาตำบลก็ได้[[#_ftn11|[11]]]การประชุมแต่ละครั้งต้องมีสมาชิกไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม[[#_ftn12|[12]]]ส่วนการลงมติให้ใช้เสียงข้างมาก[[#_ftn13|[13]]] | การประชุมสภาตำบล กฎหมายกำหนดให้สภาตำบลต้องประชุมสามัญ 1 ครั้งต่อปี กำหนดเวลาในการประชุมไม่เกิน 15 วัน แต่สามารถขยายเวลาได้โดยนายอำเภอ[[#_ftn10|[10]]] กรณีมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์ขององค์การบริหารส่วนตำบล นายอำเภอจะเรียกประชุมวิสามัญสภาตำบลก็ได้[[#_ftn11|[11]]] การประชุมแต่ละครั้งต้องมีสมาชิกไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม[[#_ftn12|[12]]] ส่วนการลงมติให้ใช้เสียงข้างมาก[[#_ftn13|[13]]] | ||
<u>1.2 คณะกรรมการตำบล</u> | <u>1.2 คณะกรรมการตำบล</u> | ||
คณะกรรมการตำบลทำหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการดำเนินกิจการส่วนตำบล[[#_ftn14|[14]]]ประกอบด้วยกำนันท้องที่เป็นประธาน แพทย์ประจำตำบล และผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นเป็นกรรมการกับกรรมการอื่นซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากครูใหญ่ โรงเรียนในตำบลหรือบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิมีจำนวนไม่เกิน 5 คน[[#_ftn15|[15]]] | คณะกรรมการตำบลทำหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการดำเนินกิจการส่วนตำบล[[#_ftn14|[14]]] ประกอบด้วยกำนันท้องที่เป็นประธาน แพทย์ประจำตำบล และผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นเป็นกรรมการกับกรรมการอื่นซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากครูใหญ่ โรงเรียนในตำบลหรือบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิมีจำนวนไม่เกิน 5 คน[[#_ftn15|[15]]] | ||
การประชุมคณะกรรมการตำบล ให้ประธานคณะกรรมการตำบลเรียกประชุมผู้มีสิทธิเลือกตั้งในหมู่บ้านหรือตำบลเพื่อปรึกษาหารือหรือออกความเห็นเกี่ยวกับกิจการของหมู่บ้านหรือตำบล[[#_ftn16|[16]]]ซึ่งต้องมีคณะกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม[[#_ftn17|[17]]] | การประชุมคณะกรรมการตำบล ให้ประธานคณะกรรมการตำบลเรียกประชุมผู้มีสิทธิเลือกตั้งในหมู่บ้านหรือตำบลเพื่อปรึกษาหารือหรือออกความเห็นเกี่ยวกับกิจการของหมู่บ้านหรือตำบล[[#_ftn16|[16]]]ซึ่งต้องมีคณะกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม[[#_ftn17|[17]]] | ||
บรรทัดที่ 54: | บรรทัดที่ 54: | ||
'''3. ข้อบัญญัติตำบล''' | '''3. ข้อบัญญัติตำบล''' | ||
สภาตำบลมีอำนาจออกข้อบัญญัติตำบล โดยความเห็นชอบของนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด[[#_ftn19|[19]]]ทั้งนี้ ข้อบัญญัติตำบลสามารถกำหนดโทษปรับผู้ที่ไม่กระทำตามข้อบัญญัติได้โดยห้ามมิให้ปรับเกิน 50 บาท[[#_ftn20|[20]]] | สภาตำบลมีอำนาจออกข้อบัญญัติตำบล โดยความเห็นชอบของนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด[[#_ftn19|[19]]] ทั้งนี้ ข้อบัญญัติตำบลสามารถกำหนดโทษปรับผู้ที่ไม่กระทำตามข้อบัญญัติได้โดยห้ามมิให้ปรับเกิน 50 บาท[[#_ftn20|[20]]] | ||
'''4. การคลังและทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล''' | '''4. การคลังและทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล''' | ||
บรรทัดที่ 78: | บรรทัดที่ 78: | ||
= '''บทส่งท้าย''' = | = '''บทส่งท้าย''' = | ||
องค์การบริหารส่วนตำบลที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499 ได้บริหารกิจการในส่วนของตำบลเรื่อยมาจนกระทั่งถูกยุบเลิกโดยรัฐบาล[[ถนอม_กิตติขจร_(รศ.นรนิติ_เศรษฐบุตร)|จอมพลถนอม กิตติขจร]] โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499 และ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 โดยมีสาระสำคัญเพื่อปรับปรุงองค์การบริหารส่วนตำบลใหม่เป็นผลให้สภาตำบลไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลอีกต่อไป แต่เป็นองค์กรที่ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายและเห็นชอบในระดับการพัฒนาตำบลเท่านั้น[[#_ftn27|[27]]]จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 | องค์การบริหารส่วนตำบลที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499 ได้บริหารกิจการในส่วนของตำบลเรื่อยมาจนกระทั่งถูกยุบเลิกโดยรัฐบาล[[ถนอม_กิตติขจร_(รศ.นรนิติ_เศรษฐบุตร)|จอมพลถนอม กิตติขจร]] โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499 และ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 โดยมีสาระสำคัญเพื่อปรับปรุงองค์การบริหารส่วนตำบลใหม่เป็นผลให้สภาตำบลไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลอีกต่อไป แต่เป็นองค์กรที่ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายและเห็นชอบในระดับการพัฒนาตำบลเท่านั้น[[#_ftn27|[27]]] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 | ||
| | ||
บรรทัดที่ 91: | บรรทัดที่ 91: | ||
สถาบันดำรงราชานุภาพ และ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. รายงานการวิจัย เรื่อง ปัญหาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล. โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรุงเทพ. 2540. | สถาบันดำรงราชานุภาพ และ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. รายงานการวิจัย เรื่อง ปัญหาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล. โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรุงเทพ. 2540. | ||
| |||
| | ||
บรรทัดที่ 148: | บรรทัดที่ 150: | ||
[[#_ftnref26|[26]]] มาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499 | [[#_ftnref26|[26]]] มาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499 | ||
</div> <div id="ftn27"> | </div> <div id="ftn27"> | ||
[[#_ftnref27|[27]]] ชูวงศ์ ฉายะบุตร, | [[#_ftnref27|[27]]] ชูวงศ์ ฉายะบุตร, การปกครองท้องถิ่นไทย, กรุงเทพฯ : กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539, หน้า 194-195 | ||
| | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:การปกครองท้องถิ่น]] [[Category:ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น]] [[Category:ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น]] [[Category:กฎหมายที่เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น]] [[Category:โครงสร้างการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล]] [[Category:อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล]] | [[Category:การปกครองท้องถิ่น]] [[Category:ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น]] [[Category:ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น]] [[Category:กฎหมายที่เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น]] [[Category:โครงสร้างการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล]] [[Category:อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:42, 21 กรกฎาคม 2565
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
ความเป็นมา
การปกครองท้องที่ในรูปตำบลเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 กำหนดให้หลายบ้านรวมตัวเป็นหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ควบคุมดูแล และหมู่บ้านรวมตัวเป็นตำบลมีกำนันเป็นผู้ควบคุมดูแล จัดตั้งเพื่อช่วยเหลือภารกิจของทางราชการ พร้อมทั้งกำหนดให้มี “คณะกรรมการตำบล” ขึ้นคณะหนึ่งทำหน้าที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่กำนันเกี่ยวกับการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกำนัน ประกอบด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกบ้าน แพทย์ประจำตำบล และครูประชาบาลหนึ่งคน ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ที่ 222/2499 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2499 เรื่อง ระเบียบบริหารราชการส่วนตำบลและหมู่บ้านโดยได้ปรับปรุงโครงสร้างของ “คณะกรรมการตำบล” ให้ประกอบด้วยกำนันท้องที่ ผู้ใหญ่บ้านทุกคนในตำบล แพทย์ประจำตำบล ครูประชาบาลในตำบลนั้นคนหนึ่ง ราษฎรผู้ทรงคุณวุฒิในตำบลนั้นไม่น้อยกว่าสองคน ซึ่งนายอำเภอคัดเลือกเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง กับให้มีข้าราชการที่ปฏิบัติงานในตำบลนั้นเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตำบลด้วย พร้อมทั้งได้กำหนดให้มี “สภาตำบล” ขึ้นเป็นครั้งแรกประกอบด้วยสมาชิกสภาตำบลซึ่งมาจากราษฎรผู้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านละสองคน เพื่อควบคุมการบริหารงานของคณะกรรมการตำบล[1] จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2500 ได้มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติระเบียบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499” ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เนื้อหากฎหมายมี จำนวน 58 มาตรา ประกอบด้วยโครงสร้างของกฎหมาย ดังนี้
- ส่วนนำของกฎหมายยังประกอบด้วยชื่อกฎหมาย วันประกาศใช้กฎหมาย กรณีที่มีกฎหมายขัดหรือแย้งกับกฎหมายฉบับนี้ให้ใช้กฎหมายฉบับนี้แทน คำนิยาม การจัดตั้งตำบล การกำหนดสถานะของเทศบาล และให้รัฐมนตรีรักษาการตามกฎหมาย
- ส่วนที่ 1 สภาตำบล
- ส่วนที่ 2 คณะกรรมการตำบล
- ส่วนที่ 3 หน้าที่ของตำบล
- ส่วนที่ 4 ข้อบัญญัติตำบล
- ส่วนที่ 5 การคลังและทรัพย์สินของตำบล
- ส่วนที่ 6 การควบคุม
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
ความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ได้จัดตั้ง “องค์การบริหารส่วนตำบล” ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อดำเนินกิจการส่วนตำบลและมีเขตปกครองตามเขตตำบลตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่[2] จัดตั้งโดยประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา[3] ให้มีฐานะเป็น “นิติบุคคล” จัดแบ่งเป็น “สภาตำบล” และ “คณะกรรมการตำบล” เพื่อดำเนินการบริหารงานในส่วนตำบล[4] มีพนักงานตำบลเป็นผู้ปฏิบัติงานของตนเองและมีอำนาจในการตราข้อบัญญัติตำบล ภายใต้การกำกับดูแลของนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด
1. โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วย “สภาตำบล” และ “คณะกรรมการตำบล” รายละเอียด ดังนี้
1.1 สภาตำบล
สภาตำบลมีหน้าที่ควบคุมการบริหารงานของคณะกรรมการตำบล ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรในหมู่บ้านเลือกตั้งขึ้น หมู่บ้านละ 1 คน และให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านทุกคนในตำบลนั้นเป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง[5] สมาชิกสภาตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี นับแต่วันเปิดสมัยประชุมสามัญครั้งแรก[6]
ให้สภาตำบลมี “ประธาน” และรองประธานสภา 1 คน ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากสมาชิกสภาตำบลตามมติของสภาตำบล[7] ทำหน้าที่ดำเนินกิจการของสภาตำบลให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาตำบล[8] ทั้งนี้ สภาตำบลมีหน้าที่วางข้อบังคับการประชุมสภาตำบลโดยอนุโลมตามแบบของกระทรวงมหาดไทย[9]
การประชุมสภาตำบล กฎหมายกำหนดให้สภาตำบลต้องประชุมสามัญ 1 ครั้งต่อปี กำหนดเวลาในการประชุมไม่เกิน 15 วัน แต่สามารถขยายเวลาได้โดยนายอำเภอ[10] กรณีมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์ขององค์การบริหารส่วนตำบล นายอำเภอจะเรียกประชุมวิสามัญสภาตำบลก็ได้[11] การประชุมแต่ละครั้งต้องมีสมาชิกไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม[12] ส่วนการลงมติให้ใช้เสียงข้างมาก[13]
1.2 คณะกรรมการตำบล
คณะกรรมการตำบลทำหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการดำเนินกิจการส่วนตำบล[14] ประกอบด้วยกำนันท้องที่เป็นประธาน แพทย์ประจำตำบล และผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นเป็นกรรมการกับกรรมการอื่นซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากครูใหญ่ โรงเรียนในตำบลหรือบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิมีจำนวนไม่เกิน 5 คน[15]
การประชุมคณะกรรมการตำบล ให้ประธานคณะกรรมการตำบลเรียกประชุมผู้มีสิทธิเลือกตั้งในหมู่บ้านหรือตำบลเพื่อปรึกษาหารือหรือออกความเห็นเกี่ยวกับกิจการของหมู่บ้านหรือตำบล[16]ซึ่งต้องมีคณะกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม[17]
2. หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ดำเนินกิจการทั้งปวงเพื่อให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในเขตพื้นที่ ทั้งในด้านสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา ด้านสาธารณสุข เช่น ด้านโรคติดต่อ การรักษาความสะอาด กำจัดขยะมูลฝอย ด้านสาธารณภัย ด้านการศึกษา ด้านศาสนา รวมถึงกิจการอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ของราษฎรและท้องถิ่น[18]
3. ข้อบัญญัติตำบล
สภาตำบลมีอำนาจออกข้อบัญญัติตำบล โดยความเห็นชอบของนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด[19] ทั้งนี้ ข้อบัญญัติตำบลสามารถกำหนดโทษปรับผู้ที่ไม่กระทำตามข้อบัญญัติได้โดยห้ามมิให้ปรับเกิน 50 บาท[20]
4. การคลังและทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
การบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลมีรายได้จาก
1. เงินงบประมาณจากภาครัฐ ผ่านร่างข้อบัญญัติงบประมาณประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบลโดยตราเป็นข้อบัญญัติตำบลที่ผ่านความเห็นชอบของนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ในปีใดที่งบประมาณที่ตั้งไว้ไม่เพียงพอสามารถตั้งราบรับรายจ่ายขึ้นระหว่างปีได้โดยตรงเป็นข้อบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม[21]
2. รายได้อื่น ๆ ที่เกิดจากการจัดเก็บภาษีอากรตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับ รายได้จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล รายได้จากกิจการที่องค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินการ เป็นต้น[22]
5. การควบคุม
การบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลถูกควบคุมและกำกับให้เป็นไปตามหลักความชอบด้วยกฎหมาย โดยรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ดังนี้
1. รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจยุบสภาตำบลเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งใหม่ได้[23]
2. ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย พร้อมทั้งมีอำนาจหน้าที่ในการชี้แนะ ตักเตือน และตรวจสอบกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลได้[24] พร้อมทั้งสั่งยกเลิกมติของสภาตำบลที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล[25]
3. นายอำเภอ ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการตำบลที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือแก่ส่วนราชการ โดยมีอำนาจสั่งเพิกถอน สั่งให้ระงับการปฏิบัติหน้าที่ได้[26]
บทส่งท้าย
องค์การบริหารส่วนตำบลที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499 ได้บริหารกิจการในส่วนของตำบลเรื่อยมาจนกระทั่งถูกยุบเลิกโดยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499 และ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 โดยมีสาระสำคัญเพื่อปรับปรุงองค์การบริหารส่วนตำบลใหม่เป็นผลให้สภาตำบลไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลอีกต่อไป แต่เป็นองค์กรที่ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายและเห็นชอบในระดับการพัฒนาตำบลเท่านั้น[27] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538
บรรณานุกรม
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2539.
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89/ตอนที่ 190 ฉบับพิเศษ/หน้า 122-132/13 ธันวาคม 2515. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 74/ตอนที่ 11/29 มกราคม 2500. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
สถาบันดำรงราชานุภาพ และ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. รายงานการวิจัย เรื่อง ปัญหาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล. โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรุงเทพ. 2540.
อ้างอิง
[1] สถาบันดำรงราชานุภาพ และ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, รายงานการวิจัย เรื่อง ปัญหาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล, โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรุงเทพ, 2540, หน้า 37 - 38.
[2] มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[3] มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[4] มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[5] มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[6] มาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[7] มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[8] มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[9] มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[10] มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[11] มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[12] มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[13] มาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[14] มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[15] มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[16] มาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[17] มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[18] มาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[19] มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[20] มาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[21] มาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[22] มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[23] มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[24] มาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[25] มาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[26] มาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499
[27] ชูวงศ์ ฉายะบุตร, การปกครองท้องถิ่นไทย, กรุงเทพฯ : กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539, หน้า 194-195