ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ"
สร้างหน้าด้วย " ผู้แต่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว ผู้ท..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
ผู้แต่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว | ผู้แต่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว | ||
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร | ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร | ||
---- | ---- | ||
<p style="text-align: center;">'''''“ชีวิตผมไม่ใช่ข้อยกเว้น เพียงแต่เราต้องปรับโครงสร้างทางสังคมต่าง ๆ เพื่อเปิดทางให้คนส่วนใหญ่เข้าถึงโอกาสได้อย่างเท่าเทียม และที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องให้โอกาสตัวเองได้หวัง ได้ฝัน และก้าวข้ามข้อจำกัดต่าง ๆ ไปได้ ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเอง”'''''</p> | <p style="text-align: center;">'''''“ชีวิตผมไม่ใช่ข้อยกเว้น เพียงแต่เราต้องปรับโครงสร้างทางสังคมต่าง ๆ เพื่อเปิดทางให้คนส่วนใหญ่เข้าถึงโอกาสได้อย่างเท่าเทียม และที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องให้โอกาสตัวเองได้หวัง ได้ฝัน และก้าวข้ามข้อจำกัดต่าง ๆ ไปได้ ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเอง”'''''</p> <p style="text-align: center;">[[File:Dr.-Surin-Pitswan1.jpg|RTENOTITLE]]</p> | ||
'''ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ[[#_ftn1|[1]]]''' | '''ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ[[#_ftn1|[1]]]''' | ||
เมื่อได้ยินชื่อ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เราจะนึกถึงชายมุสลิมคนหนึ่งผู้ดำรงตำแหน่ง[[เลขาธิการอาเซียน|เลขาธิการอาเซียน]] แต่อันที่จริงแล้วก่อนหน้านี้ ดร.สุรินทร์ ยังได้ทำหน้าที่สำคัญต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะเรื่องนโยบายต่างประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2540-2544 ในฐานะ[[รัฐมนตรี|รัฐมนตรี]]ว่ากระทรวงการต่างประเทศ ทำให้ไทยได้มีบทบาทสำคัญในเวทีระดับโลกทั้งในเรื่องการแก้ไข[[ความขัดแย้ง|ความขัดแย้ง]]ระหว่างอินโดนีเซียกับติมอร์-เลสเตที่บานปลายจนเป็นสงคราม มีประชาชนเสียชีวิตจำนวนมาก รวมถึงเป็นผู้ผลักดันให้ [[ศุภชัย_พานิชภักดิ์|ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์]] เป็นผู้อำนวยการใหญ่ [[WTO|WTO]] และบทบาทในฐานะเลขาธิการอาเซียน ก็คือผลงานของชายมุสลิมธรรมดาคนหนึ่งจากแดนใต้ที่มุมานะจนมีตำแหน่งสำคัญในระดับโลกชายผู้มีชื่อว่า ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ | |||
เมื่อได้ยินชื่อ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ | |||
<u>ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว</u> | <u>ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว</u> | ||
บรรทัดที่ 22: | บรรทัดที่ 20: | ||
<u>หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ</u> | <u>หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ</u> | ||
หลังจากจบการศึกษาปริญญาเอกจาก Harvard University ดร.สุรินทร์ ต้องกลับมาเป็น อาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตามเงื่อนไขของทุนการศึกษาที่ได้รับไปศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก โดยเป็นอาจารย์เมื่อปี พ.ศ.2525[[#_ftn7|[7]]] ต่อมาใน พ.ศ.2529 ชีวิตการเป็นนักการเมืองของ ดร.สุรินทร์จึงได้เริ่มต้นขึ้น | หลังจากจบการศึกษาปริญญาเอกจาก Harvard University ดร.สุรินทร์ ต้องกลับมาเป็น อาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตามเงื่อนไขของทุนการศึกษาที่ได้รับไปศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก โดยเป็นอาจารย์เมื่อปี พ.ศ.2525[[#_ftn7|[7]]] ต่อมาใน พ.ศ.2529 ชีวิตการเป็นนักการเมืองของ ดร.สุรินทร์จึงได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อ[[สัมพันธ์_ทองสมัคร|สัมพันธ์ ทองสมัคร]] [[มาโนชย์_วิชัยกุล|มาโนชย์ วิชัยกุล]] และ[[สุพัตรา_มาศดิตถ์|คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์]] ส.ส.จังหวัดนครศรีธรรมราชจากพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางมาหา ดร.สุรินทร์ ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้ชักชวนให้ ดร.สุรินทร์ สมัคร ส.ส.จังหวัดนครศรีธรรมราช ในนามของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในตอนแรกนั้น ดร.สุรินทร์ ไม่ได้ตอบรับในทันที แต่ในเวลาต่อมาก็ตอบรับคำที่จะลงสมัครและก็ได้รับเลือกตั้งในที่สุด เมื่อได้เป็น ส.ส. [[ชวน_หลีกภัย|ชวน หลีกภัย]] ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ชักชวนให้ ดร.สุรินทร์ มารับหน้าที่เป็นเลขานุการประธานสภาฯ[[#_ftn8|[8]]] หลังจากนั้นเมื่อมีการ[[ยุบสภา|ยุบสภา]]และเลือกตั้งใหม่ในปี พ.ศ.2531 ดร.สุรินทร์ ก็ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกครั้งและได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการให้กับ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ด้วยเหตุที่ ดร.สุรินทร์ ศึกษามาทางด้านรัฐศาสตร์อยู่แล้วทางผู้ใหญ่ในพรรคจึงเห็นว่าน่าจะเหมาะสมที่จะไปช่วยงานในกระทรวงมหาดไทย หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2535 เมื่อชวน หลีกภัยได้รับการเลือกตั้งจากสภาฯ ให้ดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]] ดร.สุรินทร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย 1 พ.ศ.2535-2538) และในปี พ.ศ.2540 เมื่อประเทศไทยประสบ[[วิกฤตต้มยำกุ้ง|วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง]]รัฐบาล [[ชวลิต_ยงใจยุทธ|พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ]] ลาออกจากตำแหน่ง เปิดทางให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ และในครั้งนี้ชวน หลีกภัยได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 คณะรัฐมนตรีชวน 2 ครั้งนี้ได้แต่งตั้งให้ ดร.สุรินทร์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย 1 พ.ศ.2540-2544)[[#_ftn9|[9]]] และได้มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศในช่วงหลังวิกฤตเพื่อนำพาประเทศกลับสู่ภาวะปกติ รวมถึงมีการผลักดันบทบาทของอาเซียนในการแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างสมาชิกภายในอาเซียนอีกด้วย (จะอธิบายในส่วนผลงานที่สำคัญในทางการเมือง) ต่อมาในปี พ.ศ.2551 ประเทศไทยได้รับสิทธิในการเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศจึงได้ทำการสรรหาบุคคลที่ประเทศไทยจะส่งไปดำรงตำแหน่งดังกล่าว และในที่สุด จึงได้เสนอชื่อ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนตั้งแต่ปี พ.ศ.2551-2555[[#_ftn10|[10]]] ในระหว่างการเป็นเลขาธิการอาเซียนนั้น ดร.สุรินทร์ ได้ดำเนินการเพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนให้สัตยาบัน[[กฎบัตรอาเซียน|กฎบัตรอาเซียน]]ให้สามารถประกาศใช้ได้ และยังรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อประชาชนในประเทศสมาชิกตระหนักถึงความสำคัญของอาเซียน หลังจากหมดวาระ ดร.สุรินทร์ ก็ยังทำงานในการเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนต่อไป ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มอบตำแหน่งธรรมศาสตราภิชาน ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร.สุรินทร์ | ||
<u>ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง</u> | <u>ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง</u> | ||
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้มีบทบาททางอย่างสำคัญในเรื่องการต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่ง ดร.สุรินทร์ มีผลงานที่โดดเด่นอยู่ 2 เรื่องด้วยกัน โดยในเรื่องแรกนั้น ในปี พ.ศ.2540 ดร.สุรินทร์เป็นผู้รณรงค์หาเสียง และสนับสนุน ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ณ | ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้มีบทบาททางอย่างสำคัญในเรื่องการต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่ง ดร.สุรินทร์ มีผลงานที่โดดเด่นอยู่ 2 เรื่องด้วยกัน โดยในเรื่องแรกนั้น ในปี พ.ศ.2540 ดร.สุรินทร์เป็นผู้รณรงค์หาเสียง และสนับสนุน ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ณ ขณะนั้นให้ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้อำนวยการใหญ่ของ[[องค์การการค้าโลก|องค์การการค้าโลก]] (World Trade Organization; WTO) ซึ่ง ณ ช่วงเวลานั้นต้องแข่งกับ ไมค์ มัวร์ (Mike Moore) อดีตนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ในการแข่งขันการเป็นผู้อำนวยการใหญ่ WTO นี้มีการแข่งขันอย่างดุเดือดมากถึงขั้นมีการเดินขบวนนำพวงหรีดไปวางไว้ที่หน้าสถานทูตสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยจนอาจกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ จนในท้ายที่สุด ดร.สุรินทร์ ได้มีโอกาสคุยโทรศัพท์กับแมเดลีน อัลไบรท์ (Madeleine Albright) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ในเรื่องดังกล่าวจนนำไปสู่ข้อเสนอของ ดร.สุรินทร์ ที่ให้ผลัดกันเป็นผู้อำนวยการใหญ่ WTO คนละ 3 ปี โดยให้ ไมค์ มัวร์ ได้เป็นก่อนแล้วตามด้วย ดร.ศุภชัยในวาระต่อไปอีก 3 ปี[[#_ftn11|[11]]] | ||
ในเรื่องที่สอง ดร.สุรินทร์ เป็นคนสำคัญที่ไปเจรจาของบประมาณช่วยเหลือจากญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพ ไทย-ฟิลิปปินส์ เพื่อไปรักษาสันติภาพในติมอร์-เลสเต (Timor-Leste) หรือ ติมอร์ตะวันออก (East Timor) ซึ่งเพิ่งแยกตัวออกและจากอินโดนีเซีย และในขณะนั้นเกิดความขัดแย้งและความวุ่นวายจนบานปลายกลายเป็นปัญหาระหว่างอินโดนีเซีย-ติมอร์-เลสเต จนนำไปสู่การฆ่าพลเมืองติมอร์-เลสเต จำนวนมาก ประชาคมโลกต้องการให้เหตุการณ์ดังกล่าวยุติลง แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่มีประเทศมหาอำนาจใดเข้ามาควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าบริเวณดังกล่าวจะอยู่ภายใต้เขตอิทธิพลของออสเตรเลีย แต่ออสเตรเลียก็กลัวที่จะเข้าไปแทรกแซงเพราะอาจจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ในท้ายที่สุดจึงประสานให้ไทย ซึ่งขณะนั้นอยู่ในวาระการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนช่วยเป็นแกนหลักในการขอความช่วยเหลือจากประเทศในอาเซียนเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ดังกล่าว แม้แต่โคฟี อันนัน (Kofi Annan) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (United Nations) และ บิล คลินตัน (Bill Clinton) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาก็ขอความช่วยเหลือให้ไทยช่วยเป็นแกนนำหลักในการแก้ปัญหาดังกล่าว ในท้ายที่สุดก็ได้ข้อยุติโดยมีฟิลิปปินส์กับไทยที่พร้อมจะส่งกองกำลังรักษาสันติภาพจำนวน 3,400 นาย ไปที่ติมอร์-เลสเต แต่ด้วยที่ทั้งไทยและฟิลิปปินส์ประสบปัญหาในวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง (วิกฤตการเงิน พ.ศ.2540) อยู่จึงไม่มีงบประมาณในการสนับสนุนการส่งกองกำลังดังกล่าวได้ ในที่สุด ดร.สุรินทร์ ได้ไปเจรจาของบประมาณสนับสนุนดังกล่าวจากญี่ปุ่น และญี่ปุ่นได้อนุมัติเงินจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การส่งกองกำลังร่วมไทย-ฟิลิปปินส์เพื่อไปรักษาสันติภาพที่ติมอร์-เลสเตประสบความสำเร็จในที่สุด[[#_ftn12|[12]]] | ในเรื่องที่สอง ดร.สุรินทร์ เป็นคนสำคัญที่ไปเจรจาของบประมาณช่วยเหลือจากญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพ ไทย-ฟิลิปปินส์ เพื่อไปรักษาสันติภาพในติมอร์-เลสเต (Timor-Leste) หรือ ติมอร์ตะวันออก (East Timor) ซึ่งเพิ่งแยกตัวออกและจากอินโดนีเซีย และในขณะนั้นเกิดความขัดแย้งและความวุ่นวายจนบานปลายกลายเป็นปัญหาระหว่างอินโดนีเซีย-ติมอร์-เลสเต จนนำไปสู่การฆ่าพลเมืองติมอร์-เลสเต จำนวนมาก ประชาคมโลกต้องการให้เหตุการณ์ดังกล่าวยุติลง แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่มีประเทศมหาอำนาจใดเข้ามาควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าบริเวณดังกล่าวจะอยู่ภายใต้เขตอิทธิพลของออสเตรเลีย แต่ออสเตรเลียก็กลัวที่จะเข้าไปแทรกแซงเพราะอาจจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ในท้ายที่สุดจึงประสานให้ไทย ซึ่งขณะนั้นอยู่ในวาระการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนช่วยเป็นแกนหลักในการขอความช่วยเหลือจากประเทศในอาเซียนเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ดังกล่าว แม้แต่โคฟี อันนัน (Kofi Annan) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (United Nations) และ บิล คลินตัน (Bill Clinton) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาก็ขอความช่วยเหลือให้ไทยช่วยเป็นแกนนำหลักในการแก้ปัญหาดังกล่าว ในท้ายที่สุดก็ได้ข้อยุติโดยมีฟิลิปปินส์กับไทยที่พร้อมจะส่งกองกำลังรักษาสันติภาพจำนวน 3,400 นาย ไปที่ติมอร์-เลสเต แต่ด้วยที่ทั้งไทยและฟิลิปปินส์ประสบปัญหาในวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง (วิกฤตการเงิน พ.ศ.2540) อยู่จึงไม่มีงบประมาณในการสนับสนุนการส่งกองกำลังดังกล่าวได้ ในที่สุด ดร.สุรินทร์ ได้ไปเจรจาของบประมาณสนับสนุนดังกล่าวจากญี่ปุ่น และญี่ปุ่นได้อนุมัติเงินจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การส่งกองกำลังร่วมไทย-ฟิลิปปินส์เพื่อไปรักษาสันติภาพที่ติมอร์-เลสเตประสบความสำเร็จในที่สุด[[#_ftn12|[12]]] | ||
หลังจากครบวาระของรัฐบาลชวนหลีกภัย 2 (พ.ศ.2540-2544) ดร.สุรินทร์ไม่ได้รับตำแหน่งใด ๆ ในทางการเมือง จนในปี พ.ศ.2551 | หลังจากครบวาระของรัฐบาลชวนหลีกภัย 2 (พ.ศ.2540-2544) ดร.สุรินทร์ไม่ได้รับตำแหน่งใด ๆ ในทางการเมือง จนในปี พ.ศ.2551 เป็นวาระที่ไทยจะต้องเป็น[[เลขาธิการอาเซียน|เลขาธิการอาเซียน]] กระทรวงการต่างประเทศจึงได้มีการสรรหาบุคคลที่เหมาะสมในตำแหน่งดังกล่าว และได้มีมติให้เสนอชื่อ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นเลขาธิการอาเซียนตั้งแต่ ปี พ.ศ.2551-2555 ซึ่ง ดร.สุรินทร์ มีส่วนสำคัญในการผลักดันในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศให้สัตยาบันต่อกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) จนแล้วเสร็จในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 และได้ประกาศใช้ในที่สุด นอกจากนี้แล้ว ดร.สุรินทร์ยังได้รณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทั้ง 10 ชาติตระหนักและรู้จักอาเซียนให้มากขึ้นอีกด้วย[[#_ftn13|[13]]] | ||
ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงพยาบาลรามคำแหง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน สิริอายุรวม 68 ปี | |||
| | ||
บรรทัดที่ 36: | บรรทัดที่ 36: | ||
<u>บรรณานุกรม</u> | <u>บรรณานุกรม</u> | ||
สีดา สอนศรี และคนอื่น ๆ, '''เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : การเมือง เศรษฐกิจและการต่างประเทศหลังวิกฤตเศรษฐกิจ (พ.ศ. ''''''2540-2550)''', (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554) | สีดา สอนศรี และคนอื่น ๆ, '''เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : การเมือง เศรษฐกิจและการต่างประเทศหลังวิกฤตเศรษฐกิจ (พ.ศ. ''''''2540-2550)''', (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554) | ||
สุเจน กรรพฤทธิ์ (สัมภาษณ์), “สัมภาษณ์ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ห้าปีบนเก้าอี้เลขาธิการอาเซียน,” '''นิตยสารสารคดี''', 336 (กุมภาพันธ์ 2556), Retrived From http://www.sarakadee.com/2013/04/10/dr-surintra/3/#sthash.ggduMrDg.dpuf, February 21, 2016. | สุเจน กรรพฤทธิ์ (สัมภาษณ์), “สัมภาษณ์ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ห้าปีบนเก้าอี้เลขาธิการอาเซียน,” '''นิตยสารสารคดี''', 336 (กุมภาพันธ์ 2556), Retrived From [http://www.sarakadee.com/2013/04/10/dr-surintra/3/#sthash.ggduMrDg.dpuf http://www.sarakadee.com/2013/04/10/dr-surintra/3/#sthash.ggduMrDg.dpuf], February 21, 2016. | ||
สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เรื่อง), อโนมา สอนบาลี (ผู้เรียบเรียง), '''ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ''', (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์,<br/> 2556) | สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เรื่อง), อโนมา สอนบาลี (ผู้เรียบเรียง), '''ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ''', (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์,<br/> 2556) | ||
<u>อ้างอิง </u> | <u>อ้างอิง </u> | ||
<div><div id="ftn1"> | <div><div id="ftn1"> | ||
[[#_ftnref1|[1]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), คำนำ. | [[#_ftnref1|[1]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), คำนำ. | ||
</div> <div id="ftn2"> | </div> <div id="ftn2"> | ||
[[#_ftnref2|[2]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.145. | [[#_ftnref2|[2]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.145. | ||
</div> <div id="ftn3"> | </div> <div id="ftn3"> | ||
[[#_ftnref3|[3]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.52. | [[#_ftnref3|[3]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.52. | ||
</div> <div id="ftn4"> | </div> <div id="ftn4"> | ||
[[#_ftnref4|[4]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.9-14. | [[#_ftnref4|[4]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.9-14. | ||
</div> <div id="ftn5"> | </div> <div id="ftn5"> | ||
[[#_ftnref5|[5]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.15, 30-32, 41, 59-62, 72, 77, 82. | [[#_ftnref5|[5]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.15, 30-32, 41, 59-62, 72, 77, 82. | ||
</div> <div id="ftn6"> | </div> <div id="ftn6"> | ||
[[#_ftnref6|[6]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.96-97, 167-168, 170-171. | [[#_ftnref6|[6]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.96-97, 167-168, 170-171. | ||
</div> <div id="ftn7"> | </div> <div id="ftn7"> | ||
[[#_ftnref7|[7]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.82, 96. | [[#_ftnref7|[7]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.82, 96. | ||
</div> <div id="ftn8"> | </div> <div id="ftn8"> | ||
[[#_ftnref8|[8]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.99-100, 105. | [[#_ftnref8|[8]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.99-100, 105. | ||
</div> <div id="ftn9"> | </div> <div id="ftn9"> | ||
[[#_ftnref9|[9]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.105, 126. | [[#_ftnref9|[9]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.105, 126. | ||
</div> <div id="ftn10"> | </div> <div id="ftn10"> | ||
[[#_ftnref10|[10]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.140-142. | [[#_ftnref10|[10]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.140-142. | ||
</div> <div id="ftn11"> | </div> <div id="ftn11"> | ||
[[#_ftnref11|[11]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.134-139. | [[#_ftnref11|[11]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.134-139. | ||
</div> <div id="ftn12"> | </div> <div id="ftn12"> | ||
[[#_ftnref12|[12]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.126-134. | [[#_ftnref12|[12]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.126-134. | ||
</div> <div id="ftn13"> | </div> <div id="ftn13"> | ||
[[#_ftnref13|[13]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.147-153. | [[#_ftnref13|[13]]] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.147-153. | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category: | | ||
[[Category:บุคคลสำคัญด้านอื่นๆ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:44, 4 มิถุนายน 2564
ผู้แต่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
“ชีวิตผมไม่ใช่ข้อยกเว้น เพียงแต่เราต้องปรับโครงสร้างทางสังคมต่าง ๆ เพื่อเปิดทางให้คนส่วนใหญ่เข้าถึงโอกาสได้อย่างเท่าเทียม และที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องให้โอกาสตัวเองได้หวัง ได้ฝัน และก้าวข้ามข้อจำกัดต่าง ๆ ไปได้ ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเอง”
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ[1]
เมื่อได้ยินชื่อ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เราจะนึกถึงชายมุสลิมคนหนึ่งผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน แต่อันที่จริงแล้วก่อนหน้านี้ ดร.สุรินทร์ ยังได้ทำหน้าที่สำคัญต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะเรื่องนโยบายต่างประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2540-2544 ในฐานะรัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ ทำให้ไทยได้มีบทบาทสำคัญในเวทีระดับโลกทั้งในเรื่องการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างอินโดนีเซียกับติมอร์-เลสเตที่บานปลายจนเป็นสงคราม มีประชาชนเสียชีวิตจำนวนมาก รวมถึงเป็นผู้ผลักดันให้ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นผู้อำนวยการใหญ่ WTO และบทบาทในฐานะเลขาธิการอาเซียน ก็คือผลงานของชายมุสลิมธรรมดาคนหนึ่งจากแดนใต้ที่มุมานะจนมีตำแหน่งสำคัญในระดับโลกชายผู้มีชื่อว่า ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว
“We dare to dream. We care to share.”[2]
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2492 เป็นคนบ้านตาล ต.กำแพงเซา อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช พ่อชื่อ ฮัจยี อิสมาแอล แม่ชื่อ ซอฟียะห์ พิศสุวรรณ เป็นลูกชายคนโตจากทั้งหมด 11 คน[3] มีคุณตาชื่อ ฮัจจียะโกบ พิศสุวรรณ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนปอเนอะบ้านตาลหรือ โรงเรียนประทีปศาสน์ โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามของเอกชน ส่วนคุณตาทวดของ ดร.สุรินทร์ เป็นผู้บุกเบิกชุมชนมุสลิมใน จ.นครศรีธรรมราช ชื่อ อิหม่ามตูวันฆูอัลมัรฮูม ฮัจยีซิดฎิก พิศสุวรรณ ดร.สุรินทร์มีชื่อในภาษาอาหรับว่า อับดุลฮาลีม บินอิสมาแอล พิศสุวรรณ ซึ่งแปลว่า “ผู้มีจิตใจสุขุมเยือกเย็น โกรธยาก อภัยเร็ว”[4]
ในเรื่องการศึกษานั้น ดร.สุรินทร์เข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านตาล มัธยมศึกษาจาก โรงเรียนพรสวัสดิ์วิทยา โรเงรียนเบญจมราชูทิศ และโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช ตามลำดับ ในระดับปริญญาตรีได้ศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยเรียนปี 1-2 และได้รับทุน Frank Bell Appleby ไปศึกษาต่อ ปี 3-4 ด้านรัฐศาสตร์ที่ Claremont Men’s College, Claremont University และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากที่นั้น และศึกษาในระดับปริญญาโทและเอกที่ Harvard University ด้านรัฐศาสตร์ โดยได้รับทุนจาก Rockefeller ภายใต้การสนับสนุนของ อ.เสน่ห์ จามริก[5]
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ สมรสกับ อลิสา พิศสุวรรณ (ฮัจยะห์อาอีชะฮ์) เมื่อ พ.ศ.2526 มีลูกชายด้วยกัน 3 คน โดยคนโตชื่อ ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ คนที่สองชื่อ ฮุสนี พิศสุวรรณ และคนสุดท้องชื่อ ฟิกรี่ พิศสุวรรณ[6]
หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ
หลังจากจบการศึกษาปริญญาเอกจาก Harvard University ดร.สุรินทร์ ต้องกลับมาเป็น อาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตามเงื่อนไขของทุนการศึกษาที่ได้รับไปศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก โดยเป็นอาจารย์เมื่อปี พ.ศ.2525[7] ต่อมาใน พ.ศ.2529 ชีวิตการเป็นนักการเมืองของ ดร.สุรินทร์จึงได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อสัมพันธ์ ทองสมัคร มาโนชย์ วิชัยกุล และคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ส.ส.จังหวัดนครศรีธรรมราชจากพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางมาหา ดร.สุรินทร์ ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้ชักชวนให้ ดร.สุรินทร์ สมัคร ส.ส.จังหวัดนครศรีธรรมราช ในนามของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในตอนแรกนั้น ดร.สุรินทร์ ไม่ได้ตอบรับในทันที แต่ในเวลาต่อมาก็ตอบรับคำที่จะลงสมัครและก็ได้รับเลือกตั้งในที่สุด เมื่อได้เป็น ส.ส. ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ชักชวนให้ ดร.สุรินทร์ มารับหน้าที่เป็นเลขานุการประธานสภาฯ[8] หลังจากนั้นเมื่อมีการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ในปี พ.ศ.2531 ดร.สุรินทร์ ก็ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกครั้งและได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการให้กับ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ด้วยเหตุที่ ดร.สุรินทร์ ศึกษามาทางด้านรัฐศาสตร์อยู่แล้วทางผู้ใหญ่ในพรรคจึงเห็นว่าน่าจะเหมาะสมที่จะไปช่วยงานในกระทรวงมหาดไทย หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2535 เมื่อชวน หลีกภัยได้รับการเลือกตั้งจากสภาฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดร.สุรินทร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย 1 พ.ศ.2535-2538) และในปี พ.ศ.2540 เมื่อประเทศไทยประสบวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่ง เปิดทางให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ และในครั้งนี้ชวน หลีกภัยได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 คณะรัฐมนตรีชวน 2 ครั้งนี้ได้แต่งตั้งให้ ดร.สุรินทร์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย 1 พ.ศ.2540-2544)[9] และได้มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศในช่วงหลังวิกฤตเพื่อนำพาประเทศกลับสู่ภาวะปกติ รวมถึงมีการผลักดันบทบาทของอาเซียนในการแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างสมาชิกภายในอาเซียนอีกด้วย (จะอธิบายในส่วนผลงานที่สำคัญในทางการเมือง) ต่อมาในปี พ.ศ.2551 ประเทศไทยได้รับสิทธิในการเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศจึงได้ทำการสรรหาบุคคลที่ประเทศไทยจะส่งไปดำรงตำแหน่งดังกล่าว และในที่สุด จึงได้เสนอชื่อ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนตั้งแต่ปี พ.ศ.2551-2555[10] ในระหว่างการเป็นเลขาธิการอาเซียนนั้น ดร.สุรินทร์ ได้ดำเนินการเพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียนให้สามารถประกาศใช้ได้ และยังรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อประชาชนในประเทศสมาชิกตระหนักถึงความสำคัญของอาเซียน หลังจากหมดวาระ ดร.สุรินทร์ ก็ยังทำงานในการเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนต่อไป ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มอบตำแหน่งธรรมศาสตราภิชาน ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร.สุรินทร์
ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้มีบทบาททางอย่างสำคัญในเรื่องการต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่ง ดร.สุรินทร์ มีผลงานที่โดดเด่นอยู่ 2 เรื่องด้วยกัน โดยในเรื่องแรกนั้น ในปี พ.ศ.2540 ดร.สุรินทร์เป็นผู้รณรงค์หาเสียง และสนับสนุน ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ณ ขณะนั้นให้ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization; WTO) ซึ่ง ณ ช่วงเวลานั้นต้องแข่งกับ ไมค์ มัวร์ (Mike Moore) อดีตนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ในการแข่งขันการเป็นผู้อำนวยการใหญ่ WTO นี้มีการแข่งขันอย่างดุเดือดมากถึงขั้นมีการเดินขบวนนำพวงหรีดไปวางไว้ที่หน้าสถานทูตสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยจนอาจกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ จนในท้ายที่สุด ดร.สุรินทร์ ได้มีโอกาสคุยโทรศัพท์กับแมเดลีน อัลไบรท์ (Madeleine Albright) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ในเรื่องดังกล่าวจนนำไปสู่ข้อเสนอของ ดร.สุรินทร์ ที่ให้ผลัดกันเป็นผู้อำนวยการใหญ่ WTO คนละ 3 ปี โดยให้ ไมค์ มัวร์ ได้เป็นก่อนแล้วตามด้วย ดร.ศุภชัยในวาระต่อไปอีก 3 ปี[11]
ในเรื่องที่สอง ดร.สุรินทร์ เป็นคนสำคัญที่ไปเจรจาของบประมาณช่วยเหลือจากญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพ ไทย-ฟิลิปปินส์ เพื่อไปรักษาสันติภาพในติมอร์-เลสเต (Timor-Leste) หรือ ติมอร์ตะวันออก (East Timor) ซึ่งเพิ่งแยกตัวออกและจากอินโดนีเซีย และในขณะนั้นเกิดความขัดแย้งและความวุ่นวายจนบานปลายกลายเป็นปัญหาระหว่างอินโดนีเซีย-ติมอร์-เลสเต จนนำไปสู่การฆ่าพลเมืองติมอร์-เลสเต จำนวนมาก ประชาคมโลกต้องการให้เหตุการณ์ดังกล่าวยุติลง แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่มีประเทศมหาอำนาจใดเข้ามาควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าบริเวณดังกล่าวจะอยู่ภายใต้เขตอิทธิพลของออสเตรเลีย แต่ออสเตรเลียก็กลัวที่จะเข้าไปแทรกแซงเพราะอาจจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ในท้ายที่สุดจึงประสานให้ไทย ซึ่งขณะนั้นอยู่ในวาระการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนช่วยเป็นแกนหลักในการขอความช่วยเหลือจากประเทศในอาเซียนเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ดังกล่าว แม้แต่โคฟี อันนัน (Kofi Annan) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (United Nations) และ บิล คลินตัน (Bill Clinton) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาก็ขอความช่วยเหลือให้ไทยช่วยเป็นแกนนำหลักในการแก้ปัญหาดังกล่าว ในท้ายที่สุดก็ได้ข้อยุติโดยมีฟิลิปปินส์กับไทยที่พร้อมจะส่งกองกำลังรักษาสันติภาพจำนวน 3,400 นาย ไปที่ติมอร์-เลสเต แต่ด้วยที่ทั้งไทยและฟิลิปปินส์ประสบปัญหาในวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง (วิกฤตการเงิน พ.ศ.2540) อยู่จึงไม่มีงบประมาณในการสนับสนุนการส่งกองกำลังดังกล่าวได้ ในที่สุด ดร.สุรินทร์ ได้ไปเจรจาของบประมาณสนับสนุนดังกล่าวจากญี่ปุ่น และญี่ปุ่นได้อนุมัติเงินจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การส่งกองกำลังร่วมไทย-ฟิลิปปินส์เพื่อไปรักษาสันติภาพที่ติมอร์-เลสเตประสบความสำเร็จในที่สุด[12]
หลังจากครบวาระของรัฐบาลชวนหลีกภัย 2 (พ.ศ.2540-2544) ดร.สุรินทร์ไม่ได้รับตำแหน่งใด ๆ ในทางการเมือง จนในปี พ.ศ.2551 เป็นวาระที่ไทยจะต้องเป็นเลขาธิการอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศจึงได้มีการสรรหาบุคคลที่เหมาะสมในตำแหน่งดังกล่าว และได้มีมติให้เสนอชื่อ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นเลขาธิการอาเซียนตั้งแต่ ปี พ.ศ.2551-2555 ซึ่ง ดร.สุรินทร์ มีส่วนสำคัญในการผลักดันในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศให้สัตยาบันต่อกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) จนแล้วเสร็จในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 และได้ประกาศใช้ในที่สุด นอกจากนี้แล้ว ดร.สุรินทร์ยังได้รณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทั้ง 10 ชาติตระหนักและรู้จักอาเซียนให้มากขึ้นอีกด้วย[13]
ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงพยาบาลรามคำแหง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน สิริอายุรวม 68 ปี
บรรณานุกรม
สีดา สอนศรี และคนอื่น ๆ, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : การเมือง เศรษฐกิจและการต่างประเทศหลังวิกฤตเศรษฐกิจ (พ.ศ. '2540-2550)', (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554)
สุเจน กรรพฤทธิ์ (สัมภาษณ์), “สัมภาษณ์ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ห้าปีบนเก้าอี้เลขาธิการอาเซียน,” นิตยสารสารคดี, 336 (กุมภาพันธ์ 2556), Retrived From http://www.sarakadee.com/2013/04/10/dr-surintra/3/#sthash.ggduMrDg.dpuf, February 21, 2016.
สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เรื่อง), อโนมา สอนบาลี (ผู้เรียบเรียง), ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์,
2556)
อ้างอิง
[1] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), คำนำ.
[2] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.145.
[3] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.52.
[4] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.9-14.
[5] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.15, 30-32, 41, 59-62, 72, 77, 82.
[6] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.96-97, 167-168, 170-171.
[7] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.82, 96.
[8] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.99-100, 105.
[9] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.105, 126.
[10] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.140-142.
[11] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.134-139.
[12] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.126-134.
[13] สุรินทร์ พิศสุวรรณ เรื่อง ; อโนมา สอนบาลี ผู้เรียบเรียง, ความสำเร็จไม่มีข้อยกเว้น : ชีวิตจากปอเนาะเลาะไปอาเซียนของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2556), น.147-153.