ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐบาลผสม"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' นายจเร พันธุ์เปรื่อง | '''ผู้เรียบเรียง :''' นายชยพล ธานีวัฒน์ | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' นายจเร พันธุ์เปรื่อง | |||
---- | ---- | ||
ในระบอบ[[การปกครองแบบประชาธิปไตย|การปกครองแบบประชาธิปไตย]] [[รัฐบาล|รัฐบาล]]เป็นสถาบันที่ใช้อำนาจบริหารซึ่งเป็นหนึ่งใน[[อำนาจอธิปไตย|อำนาจอธิปไตย]]นอกเหนือจาก[[อำนาจนิติบัญญัติ|อำนาจนิติบัญญัติ]] และ[[อำนาจตุลาการ|อำนาจตุลาการ]] การบริหารประเทศของรัฐบาลต้องดำเนินการตามนโยบายที่กำหนดไว้ตามที่ได้มีการแถลงต่อรัฐสภา เมื่อพิจารณาถึงการจัดตั้งรัฐบาลจากการศึกษาประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่มี 2 ลักษณะได้แก่ รัฐบาลที่มี[[พรรคการเมือง|พรรคการเมือง]]ที่มีเสียงข้างมากพรรคเดียว และรัฐบาลที่มาจากการรวมตัวกันของพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งพรรคขึ้นไปหรือที่เรียกว่า รัฐบาลผสม โดยการจัดตั้งรัฐบาลประเภทนี้เริ่มจากพรรคการเมืองที่มีจำนวน[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร|สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]มากที่สุดจะมีสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลโดยการเชิญพรรคการเมืองอื่น ๆ ที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรองลงมาเข้าร่วมรัฐบาล โดยมีเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการรวมตัวกันและเมื่อเกิดขึ้นเป็นรัฐบาลผสมแล้ว จะมีองค์ประกอบและปัจจัยต่าง ๆ ที่จะทำให้รัฐบาลเข้มแข็งและยั่งยืนเพื่อดำเนินการบริหารประเทศได้อย่าง มีประสิทธิภาพต่อไป การทำความเข้าใจในแนวคิดของรัฐบาลผสมจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการศึกษาระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและเป็นประโยชน์ต่อการต่อยอดความรู้ในการวิเคราะห์การเมืองในสถานการณ์ปัจจุบันต่อไป | |||
ในระบอบ[[การปกครองแบบประชาธิปไตย]] [[รัฐบาล]]เป็นสถาบันที่ใช้อำนาจบริหารซึ่งเป็นหนึ่งใน[[อำนาจอธิปไตย]]นอกเหนือจาก[[อำนาจนิติบัญญัติ]] และ[[อำนาจตุลาการ]] การบริหารประเทศของรัฐบาลต้องดำเนินการตามนโยบายที่กำหนดไว้ตามที่ได้มีการแถลงต่อรัฐสภา เมื่อพิจารณาถึงการจัดตั้งรัฐบาลจากการศึกษาประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่มี 2 ลักษณะได้แก่ รัฐบาลที่มี[[พรรคการเมือง]]ที่มีเสียงข้างมากพรรคเดียว และรัฐบาลที่มาจากการรวมตัวกันของพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งพรรคขึ้นไปหรือที่เรียกว่า รัฐบาลผสม โดยการจัดตั้งรัฐบาลประเภทนี้เริ่มจากพรรคการเมืองที่มีจำนวน[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]มากที่สุดจะมีสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลโดยการเชิญพรรคการเมืองอื่น ๆ ที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรองลงมาเข้าร่วมรัฐบาล โดยมีเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการรวมตัวกันและเมื่อเกิดขึ้นเป็นรัฐบาลผสมแล้ว | |||
จะมีองค์ประกอบและปัจจัยต่าง ๆ ที่จะทำให้รัฐบาลเข้มแข็งและยั่งยืนเพื่อดำเนินการบริหารประเทศได้อย่าง | |||
มีประสิทธิภาพต่อไป การทำความเข้าใจในแนวคิดของรัฐบาลผสมจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการศึกษาระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและเป็นประโยชน์ต่อการต่อยอดความรู้ในการวิเคราะห์การเมืองในสถานการณ์ปัจจุบันต่อไป | |||
== ความหมาย == | == ความหมาย == | ||
รัฐบาลผสม (Coalition government) คือ รัฐบาลที่ประกอบไปด้วย[[กลุ่มการเมือง]] หรือพรรคการเมืองหลายกลุ่มมารวมตัวกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากขึ้นบริหารประเทศ<ref>นรนิติ เศรษฐบุตร, สารานุกรมการเมืองไทย. (นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, 2544) , หน้า 152. </ref> | รัฐบาลผสม (Coalition government) คือ รัฐบาลที่ประกอบไปด้วย[[กลุ่มการเมือง|กลุ่มการเมือง]] หรือพรรคการเมืองหลายกลุ่มมารวมตัวกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากขึ้นบริหารประเทศ<ref>นรนิติ เศรษฐบุตร, สารานุกรมการเมืองไทย. (นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, 2544) , หน้า 152. </ref> สาเหตุที่นำไปสู่การก่อตั้งรัฐบาลผสมนั้นส่วนใหญ่เนื่องมาจากไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับเสียงข้างมากในรัฐสภา รัฐบาลผสม ยังอาจก่อตั้งขึ้นในกรณีที่เกิดปัญหาระดับชาติหรือวิกฤตการณ์ ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างช่วงสงคราม เพื่อให้รัฐบาล มีระดับ[[ความชอบธรรม|ความชอบธรรม]]ทางการเมืองที่สูง ขณะที่ยังได้มีบทบาทในการลด[[ความขัดแย้ง|ความขัดแย้ง]]ทางการเมืองภายใน ในช่วงเวลาดังกล่าว พรรคการเมืองอาจประกอบกันขึ้นเป็น[[รัฐบาลแห่งชาติ|รัฐบาลแห่งชาติ]] ซึ่งประกอบด้วยพรรคการเมือง ทุกพรรค เมื่อรัฐบาลผสมเกิดแนวคิดที่ต่างกัน จะมี[[การอภิปรายไม่ไว้วางใจ|การอภิปรายไม่ไว้วางใจ]]<ref> “ระบอบการปกครอง” [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://arinwan.info/index.php?topic=2221.0;wap2 (สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2557) </ref> | ||
ยังอาจก่อตั้งขึ้นในกรณีที่เกิดปัญหาระดับชาติหรือวิกฤตการณ์ ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างช่วงสงคราม เพื่อให้รัฐบาล | |||
มีระดับ[[ความชอบธรรม]]ทางการเมืองที่สูง ขณะที่ยังได้มีบทบาทในการลด[[ความขัดแย้ง]]ทางการเมืองภายใน ในช่วงเวลาดังกล่าว พรรคการเมืองอาจประกอบกันขึ้นเป็น[[รัฐบาลแห่งชาติ]] ซึ่งประกอบด้วยพรรคการเมือง | |||
ทุกพรรค เมื่อรัฐบาลผสมเกิดแนวคิดที่ต่างกัน จะมี[[การอภิปรายไม่ไว้วางใจ]]<ref> “ระบอบการปกครอง” [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://arinwan.info/index.php?topic=2221.0;wap2 (สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2557) </ref> | |||
สำหรับในประเทศไทย คำว่า รัฐบาลผสมนี้ ใช้เป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 2480 โดยนักการทูตชาวอังกฤษชื่อ Sir Jirsy Crossby ซึ่งได้ตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลของไทยภายหลัง[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] เป็นต้นมา มีลักษณะเป็น “รัฐบาลผสม” (Coalition government) เนื่องจากประกอบด้วยกลุ่มการเมืองฝ่ายพลเรือนนำโดยนาย[[ปรีดี พนมยงค์]] กลุ่มหนึ่งกับกลุ่มทหารนำโดย[[จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] | สำหรับในประเทศไทย คำว่า รัฐบาลผสมนี้ ใช้เป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 2480 โดยนักการทูตชาวอังกฤษชื่อ Sir Jirsy Crossby ซึ่งได้ตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลของไทยภายหลัง[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง_พ.ศ._2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] เป็นต้นมา มีลักษณะเป็น “รัฐบาลผสม” (Coalition government) เนื่องจากประกอบด้วยกลุ่มการเมืองฝ่ายพลเรือนนำโดยนาย[[ปรีดี_พนมยงค์|ปรีดี พนมยงค์]] กลุ่มหนึ่งกับกลุ่มทหารนำโดย[[จอมพล_ป.พิบูลสงคราม|จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] อีกกลุ่มหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนายทหารและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ รวมทั้งกลุ่มของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งอีกส่วนหนึ่งรวมกันประกอบเป็นรัฐบาลทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ ต่อมาคำว่ารัฐบาลผสมนี้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่งภายหลัง[[สงครามโลกครั้งที่_2|สงครามโลกครั้งที่ 2]] เมื่อมีการจัดตั้ง[[รัฐบาลพลเรือน|รัฐบาลพลเรือน]]ขึ้น | ||
อีกกลุ่มหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนายทหารและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ รวมทั้งกลุ่มของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งอีกส่วนหนึ่งรวมกันประกอบเป็นรัฐบาลทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ ต่อมาคำว่ารัฐบาลผสมนี้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่งภายหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] เมื่อมีการจัดตั้ง[[รัฐบาลพลเรือน]]ขึ้น | |||
อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์รัฐบาลผสมของเมืองไทยนี้ จะมีความชัดเจนและเห็นได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีลักษณะโดดเด่นมากที่สุดนับตั้งแต่การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมาตราบจนปัจจุบัน เนื่องด้วยใน[[การเลือกตั้ง]]ทุกครั้งจะไม่มีพรรคการเมืองใดที่สามารถมีเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาลได้ ดังนั้นจึงต้องมีการรวมตัวกันของพรรคการเมืองหลายพรรคเพื่อให้มีเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาลเสมอ<ref>นรนิติ เศรษฐบุตร, สารานุกรมการเมืองไทย,หน้า 152. </ref> | อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์รัฐบาลผสมของเมืองไทยนี้ จะมีความชัดเจนและเห็นได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีลักษณะโดดเด่นมากที่สุดนับตั้งแต่การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมาตราบจนปัจจุบัน เนื่องด้วยใน[[การเลือกตั้ง|การเลือกตั้ง]]ทุกครั้งจะไม่มีพรรคการเมืองใดที่สามารถมีเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาลได้ ดังนั้นจึงต้องมีการรวมตัวกันของพรรคการเมืองหลายพรรคเพื่อให้มีเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาลเสมอ<ref>นรนิติ เศรษฐบุตร, สารานุกรมการเมืองไทย,หน้า 152. </ref> | ||
| |||
== แนวคิดเรื่ององค์ประกอบการจัดตั้งรัฐบาลผสม == | == แนวคิดเรื่ององค์ประกอบการจัดตั้งรัฐบาลผสม == | ||
การศึกษาเรื่องรัฐบาลผสมของพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว ได้เสนอสมมุติฐานเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลผสมของประเทศไทย ดังนี้<ref>พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, รัฐบาลผสม. (กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิถีไทย สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2544) , หน้า 23-27. </ref> | การศึกษาเรื่องรัฐบาลผสมของพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว ได้เสนอสมมุติฐานเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลผสมของประเทศไทย ดังนี้<ref>พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, รัฐบาลผสม. (กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิถีไทย สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2544) , หน้า 23-27. </ref> | ||
1. | 1. พลังของพรรค | ||
พลังของพรรคการเมืองไทย พิจารณาจากขนาดของพรรค คือ จำนวนสมาชิกของพรรคและจำนวนสมาชิกพรรคที่ได้รับการเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่จะมีแนวโน้มที่สมาชิกจะได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภามากกว่าพรรคขนาดเล็ก และมีแนวโน้มที่จะต่อรองเข้าร่วมรัฐบาลได้หากมีการจัดตั้งรัฐบาลเกิดขึ้น | พลังของพรรคการเมืองไทย พิจารณาจากขนาดของพรรค คือ จำนวนสมาชิกของพรรคและจำนวนสมาชิกพรรคที่ได้รับการเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่จะมีแนวโน้มที่สมาชิกจะได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภามากกว่าพรรคขนาดเล็ก และมีแนวโน้มที่จะต่อรองเข้าร่วมรัฐบาลได้หากมีการจัดตั้งรัฐบาลเกิดขึ้น | ||
2. | 2. ความเหนียวแน่นของพรรค | ||
ความเหนียวแน่น ความมั่นคง หรือเสถียรภาพของแต่ละพรรคย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่พรรคจะต้องนำไปต่อรองเพื่อรวมกับพรรคอื่นในการจัดตั้งรัฐบาลผสม ทั้งนี้พรรคจะต้องคำนึงถึงความเหนียวแน่นของพรรคของตนเองและความเหนียวแน่นของพรรคอื่นทุกพรรคด้วย ความเหนียวแน่นนี้น่าจะเกิดจากปัจจัยสำคัญหลายประการ ได้แก่ ประวัติความเป็นมาและอุดมการณ์ของพรรค จำนวนสมาชิกทั่วประเทศและความผูกพันของสมาชิกที่มีต่อพรรค วินัยของพรรคในการให้คุณและโทษแก่สมาชิก ภาวะผู้นำของพรรค มูลเหตุจูงใจ และบุคลิกภาพของผู้นำพรรค ผลประโยชน์ส่วนตัวของสมาชิกในสภาและผู้นำคนสำคัญ และประการสุดท้ายพื้นฐานแห่งอำนาจของพรรค เช่น ประชาชนกลุ่มใด อาชีพ ชั้น ศาสนา อุดมคติทางการเมือง ภูมิภาค ภาษา ผลประโยชน์ ของผู้ที่เป็นสมาชิกหรือผู้ลงคะแนนให้พรรคในปัจจุบันและอนาคต | ความเหนียวแน่น ความมั่นคง หรือเสถียรภาพของแต่ละพรรคย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่พรรคจะต้องนำไปต่อรองเพื่อรวมกับพรรคอื่นในการจัดตั้งรัฐบาลผสม ทั้งนี้พรรคจะต้องคำนึงถึงความเหนียวแน่นของพรรคของตนเองและความเหนียวแน่นของพรรคอื่นทุกพรรคด้วย ความเหนียวแน่นนี้น่าจะเกิดจากปัจจัยสำคัญหลายประการ ได้แก่ ประวัติความเป็นมาและอุดมการณ์ของพรรค จำนวนสมาชิกทั่วประเทศและความผูกพันของสมาชิกที่มีต่อพรรค วินัยของพรรคในการให้คุณและโทษแก่สมาชิก ภาวะผู้นำของพรรค มูลเหตุจูงใจ และบุคลิกภาพของผู้นำพรรค ผลประโยชน์ส่วนตัวของสมาชิกในสภาและผู้นำคนสำคัญ และประการสุดท้ายพื้นฐานแห่งอำนาจของพรรค เช่น ประชาชนกลุ่มใด อาชีพ ชั้น ศาสนา อุดมคติทางการเมือง ภูมิภาค ภาษา ผลประโยชน์ ของผู้ที่เป็นสมาชิกหรือผู้ลงคะแนนให้พรรคในปัจจุบันและอนาคต | ||
3. นโยบายของพรรค | 3. นโยบายของพรรค | ||
ก่อนปี 2540 พรรคการเมืองไทยเกือบทั้งหมดเป็นพรรคใหม่ จึงมักจะไม่มีประวัติแห่งนโยบาย | ก่อนปี 2540 พรรคการเมืองไทยเกือบทั้งหมดเป็นพรรคใหม่ จึงมักจะไม่มีประวัติแห่งนโยบาย ที่แท้จริงรวมทั้งขาดองค์การของพรรคตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ไม่มีการเลือกผู้แทนประจำท้องถิ่นของพรรคมาประชุมระดับชาติ เพื่อวางนโยบายของพรรคอย่างในต่างประเทศ นโยบายของพรรคจึงอาจไม่สะท้อนความคิดหรือความต้องการของสมาชิกพรรคและประชาชนอย่างแท้จริง ทำให้การร่วมกันเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นเรื่องของการต่อรองทางการเมืองมากกว่าการแสวงหาจุดร่วมด้านนโยบาย แต่หลังจากปี 2542 เป็นต้นมาเมื่อพรรคไทยรักไทยได้เสนอนโยบายต่าง ๆ ออกมาและทำให้ได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภาอย่างล้นหลามสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมที่ตนมีเสียงจำนวนมากและเป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งได้ หลังจากนั้นพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้มีการปรับตัวขนานใหญ่ด้วยการเสนอนโยบายต่าง ๆ แก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำให้เกิดการแข่งขันด้านนโยบายของพรรคการเมือง ทำให้เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลพรรคการเมืองที่จะเข้าร่วมรัฐบาลจึงต้องคำนึงถึงนโยบายที่มีความคล้ายคลึงกันเพื่อให้พรรคได้นำแนวนโยบายของตนไปสู่การปฏิบัติในคณะรัฐบาลและเพื่อเป็นการรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไป | ||
ที่แท้จริงรวมทั้งขาดองค์การของพรรคตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ไม่มีการเลือกผู้แทนประจำท้องถิ่นของพรรคมาประชุมระดับชาติ เพื่อวางนโยบายของพรรคอย่างในต่างประเทศ นโยบายของพรรคจึงอาจไม่สะท้อนความคิดหรือความต้องการของสมาชิกพรรคและประชาชนอย่างแท้จริง ทำให้การร่วมกันเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นเรื่องของการต่อรองทางการเมืองมากกว่าการแสวงหาจุดร่วมด้านนโยบาย แต่หลังจากปี 2542 เป็นต้นมาเมื่อพรรคไทยรักไทยได้เสนอนโยบายต่าง ๆ ออกมาและทำให้ได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภาอย่างล้นหลามสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมที่ตนมีเสียงจำนวนมากและเป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งได้ หลังจากนั้นพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้มีการปรับตัวขนานใหญ่ด้วยการเสนอนโยบายต่าง ๆ แก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำให้เกิดการแข่งขันด้านนโยบายของพรรคการเมือง ทำให้เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลพรรคการเมืองที่จะเข้าร่วมรัฐบาลจึงต้องคำนึงถึงนโยบายที่มีความคล้ายคลึงกันเพื่อให้พรรคได้นำแนวนโยบายของตนไปสู่การปฏิบัติในคณะรัฐบาลและเพื่อเป็นการรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไป | |||
4. เป้าหมายของพรรคในการเลือกตั้งแต่ละครั้งกับความมุ่งมั่นที่จะเข้าร่วมเป็นรัฐบาลผสม | 4. เป้าหมายของพรรคในการเลือกตั้งแต่ละครั้งกับความมุ่งมั่นที่จะเข้าร่วมเป็นรัฐบาลผสม | ||
ตามปกติ การจัดตั้งพรรคการเมืองจนถึงการรณรงค์หาเสียงเพื่อเข้ามามีที่นั่งในสภานั้นพรรคการเมืองย่อมมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ | ตามปกติ การจัดตั้งพรรคการเมืองจนถึงการรณรงค์หาเสียงเพื่อเข้ามามีที่นั่งในสภานั้นพรรคการเมืองย่อมมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ | ||
4.1 | 4.1 เพื่อให้สามารถปฏิบัติการตามอุดมคติของพรรคได้ คือได้เข้าเป็นฝ่ายบริหารเพื่อจะได้ลงมือทำงานตามที่ได้ตั้งใจไว้ (หรือตามนโยบาย) หรือควบคุมการทำงานของข้าราชการประจำ รวมทั้งการมีโอกาสออกกฎหมายและเป็นปากเสียงของประชาชนด้วย นับเป็นความปรารถนาสูงสุดของทุกพรรค | ||
4.2 | 4.2 เพื่อให้สามารถออกกฎหมายให้รัฐบาลและประชาชนปฏิบัติการต่าง ๆ ตามนโยบายของพรรค กรณีนี้เป็นการพิจารณาตามอุดมคติทางการเมืองเมื่อพรรคสามารถทำหน้าที่ทางนิติบัญญัติได้เต็มที่ | ||
4.3 | 4.3 เพื่อเป็นปากเป็นเสียง เป็นทางออกของปัญหา หรือความต้องการอื่น ๆ ของประชาชนส่วนใหญ่หรือส่วนน้อยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นพรรคที่ตั้งขึ้นเพื่อปกป้องพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของรัฐ ไม่ใช่ฝ่ายริเริ่มรุกหาผลประโยชน์ กรณีนี้มักจะเป็นทางเลือกทางสุดท้ายของพรรคต่าง ๆ | ||
== แนวคิดเรื่องการต่อรองในการจัดตั้งรัฐบาลผสม == | == แนวคิดเรื่องการต่อรองในการจัดตั้งรัฐบาลผสม == | ||
เดอ เมสควตา แบ่งยุทธศาสตร์ที่พรรคการเมืองเลือกใช้ในการต่อรองในการจัดตั้งรัฐบาลผสมออกเป็น 3 กลุ่ม คือ<ref>อมร รักษาสัตย์, ประชาธิปไตยหลายรส. (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิคอนราดอเดนาวร์, 2532). หน้า 62. </ref> | |||
เดอ เมสควตา แบ่งยุทธศาสตร์ที่พรรคการเมืองเลือกใช้ในการต่อรองในการจัดตั้งรัฐบาลผสมออกเป็น 3 กลุ่ม คือ<ref>อมร รักษาสัตย์, ประชาธิปไตยหลายรส. (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิคอนราดอเดนาวร์, 2532). หน้า 62. </ref> | |||
1. พรรคที่ร่วมมือดี | |||
1. | |||
พรรคประเภทนี้สนใจที่จะแบ่งผลประโยชน์จากการจัดตั้งรัฐบาลผสม (หรือผลประโยชน์ส่วนตัว) ออกไปเท่า ๆ กัน เช่น ตำแหน่งรัฐมนตรีก็ยินดีแบ่งให้พรรคต่าง ๆ ตามสัดส่วนของจำนวน ส.ส.ของแต่ละพรรค ทั้งนี้เพื่อลดภาระในการต่อรองหาผลประโยชน์ให้แก่สมาชิกแต่ละคนแต่ละพรรคให้น้อยลงที่สุด แต่ให้ความสนใจในเรื่องนโยบายส่วนรวมของรัฐบาลผสม พรรคใหญ่ ๆ จะได้ประโยชน์จากการยึดหลักนี้มากกว่าพรรคเล็ก | พรรคประเภทนี้สนใจที่จะแบ่งผลประโยชน์จากการจัดตั้งรัฐบาลผสม (หรือผลประโยชน์ส่วนตัว) ออกไปเท่า ๆ กัน เช่น ตำแหน่งรัฐมนตรีก็ยินดีแบ่งให้พรรคต่าง ๆ ตามสัดส่วนของจำนวน ส.ส.ของแต่ละพรรค ทั้งนี้เพื่อลดภาระในการต่อรองหาผลประโยชน์ให้แก่สมาชิกแต่ละคนแต่ละพรรคให้น้อยลงที่สุด แต่ให้ความสนใจในเรื่องนโยบายส่วนรวมของรัฐบาลผสม พรรคใหญ่ ๆ จะได้ประโยชน์จากการยึดหลักนี้มากกว่าพรรคเล็ก | ||
2. | 2. พรรคที่ชอบแข่งขัน | ||
พรรคประเภทนี้จะพยายามขอแบ่งผลประโยชน์จากการแต่งตั้งรัฐบาลผสมให้ได้มากที่สุด เกินสัดส่วนของตนที่พึงจะได้โดยไม่สนใจต่อนโยบายส่วนรวมของรัฐบาลผสม หรือจะต่อรองว่าถ้าไม่ให้ผลประโยชน์เป็นพิเศษจะต่อต้านรัฐบาลผสม พรรคประเภทนี้อาจจะได้ผลประโยชน์สูงในระยะแรก แต่จะเสียประโยชน์ | พรรคประเภทนี้จะพยายามขอแบ่งผลประโยชน์จากการแต่งตั้งรัฐบาลผสมให้ได้มากที่สุด เกินสัดส่วนของตนที่พึงจะได้โดยไม่สนใจต่อนโยบายส่วนรวมของรัฐบาลผสม หรือจะต่อรองว่าถ้าไม่ให้ผลประโยชน์เป็นพิเศษจะต่อต้านรัฐบาลผสม พรรคประเภทนี้อาจจะได้ผลประโยชน์สูงในระยะแรก แต่จะเสียประโยชน์ ในระยะยาวเมื่อพรรคใหญ่ที่ยินดีร่วมมือเห็นว่าตนได้อ่อนข้อให้ประโยชน์มากเกินไป | ||
ในระยะยาวเมื่อพรรคใหญ่ที่ยินดีร่วมมือเห็นว่าตนได้อ่อนข้อให้ประโยชน์มากเกินไป | |||
3. พรรคที่ใช้ยุทธศาสตร์ผสม | |||
3. | |||
พรรคประเภทนี้อาจจะเริ่มต้นด้วยการยินยอมสนับสนุนนโยบายรัฐบาลผสม โดยไม่เรียกร้องมากในระยะแรก แต่ในขั้นต่อ ๆ ไป จะเรียกร้องขอผลประโยชน์มากขึ้นมิฉะนั้นจะเลิกสนับสนุน ถ้าพรรคอื่น ๆ หลงลืมผลประโยชน์บางประการพรรคประเภทนี้จะคอยต่อรองเอาผลประโยชน์ไปเรื่อย ๆ ดังนั้น พรรคประเภทนี้ จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุดในระยะยาว นอกจากนั้นยังจะได้รับผลดีในการเลือกตั้งครั้งต่อไปด้วย | |||
== ตัวแปรเกี่ยวกับความยั่งยืนของรัฐบาลผสม == | == ตัวแปรเกี่ยวกับความยั่งยืนของรัฐบาลผสม == | ||
รัฐบาลผสมที่มีการจัดตั้งขึ้นจะสามารถดำรงอยู่ในสถานะของ[[ฝ่ายบริหาร|ฝ่ายบริหาร]]ได้นานเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้<ref>พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, รัฐบาลผสม, หน้า 31-35. </ref> | |||
รัฐบาลผสมที่มีการจัดตั้งขึ้นจะสามารถดำรงอยู่ในสถานะของ[[ฝ่ายบริหาร]]ได้นานเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้<ref>พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, รัฐบาลผสม, หน้า 31-35. </ref> | |||
1. ระยะเวลา | |||
1. | |||
ภายในพรรคต่าง ๆ เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไปจำนวนลูกพรรคอาจเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงได้ เพราะอาจมีการเสียชีวิต การลาออก การย้ายพรรคของสมาชิกเกิดขึ้นได้ ในขณะเดียวกันความเหนียวแน่นโดยเฉพาะวินัยของพรรคก็อาจจะเข็มแข็งขึ้นหรืออ่อนตัวลงได้ แต่โดยปกติแล้วยิ่งระยะเวลาล่วงเลยไปความผูกพันภายในพรรคและระหว่างที่พรรคตั้งรัฐบาลผสมด้วยกันมักจะผ่อนคลายลง โดยเฉพาะลูกพรรคมักจะมีปฏิกิริยาต่อต้านหัวหน้าพรรคมากขึ้นเมื่ออยู่ในตำแหน่งนาน ๆ และมักมี[[การต่อรองผลประโยชน์|การต่อรองผลประโยชน์]]ตามมา ซึ่งอาจพิจารณาได้ว่า ระยะเวลามักแปรผกผันกับความเหนียวแน่นของพรรคตามปกติย่อมจะลดลงทีละเล็กน้อย ในระบบรัฐสภา ที่พรรคยังไม่เข้มแข็ง ไม่มีประวัติร่วมอันยาวไกล และไม่มีความผูกพันที่ยืนยาวมาก่อน ความสัมพันธ์จะค่อย ๆ ลดลง จนหมดลงไปในปีสุดท้ายก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ | |||
ภายในพรรคต่าง ๆ เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไปจำนวนลูกพรรคอาจเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงได้ เพราะอาจมีการเสียชีวิต การลาออก การย้ายพรรคของสมาชิกเกิดขึ้นได้ ในขณะเดียวกันความเหนียวแน่นโดยเฉพาะวินัยของพรรคก็อาจจะเข็มแข็งขึ้นหรืออ่อนตัวลงได้ แต่โดยปกติแล้วยิ่งระยะเวลาล่วงเลยไปความผูกพันภายในพรรคและระหว่างที่พรรคตั้งรัฐบาลผสมด้วยกันมักจะผ่อนคลายลง โดยเฉพาะลูกพรรคมักจะมีปฏิกิริยาต่อต้านหัวหน้าพรรคมากขึ้นเมื่ออยู่ในตำแหน่งนาน ๆ และมักมี[[การต่อรองผลประโยชน์]]ตามมา ซึ่งอาจพิจารณาได้ว่า ระยะเวลามักแปรผกผันกับความเหนียวแน่นของพรรคตามปกติย่อมจะลดลงทีละเล็กน้อย ในระบบรัฐสภา | |||
ที่พรรคยังไม่เข้มแข็ง ไม่มีประวัติร่วมอันยาวไกล และไม่มีความผูกพันที่ยืนยาวมาก่อน ความสัมพันธ์จะค่อย ๆ ลดลง จนหมดลงไปในปีสุดท้ายก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ | 2. ความกดดันนอกสภา | ||
2. | ในระบบการเมืองของประเทศที่มีการปกครองแบบ[[รัฐสภา|รัฐสภา]]มานาน ความกดดันนอกสภาถึงขั้นที่รัฐบาลจะถูกล้มหรือยกเลิกรัฐธรรมนูญไม่ค่อยจะเกิดขึ้น ความกดดันนอกสภามักจะเกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทางเศรษฐกิจและทางสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงเกินความสามารถที่รัฐบาลผสมจะรับมือได้เท่านั้น จึงจะเป็นเหตุให้พรรคที่สนับสนุนไม่แน่ใจและถอนตัวออกไปสนับสนุนกลุ่ม[[ฝ่ายค้าน|ฝ่ายค้าน]] ทำให้รัฐบาลมีเสียงข้างน้อยไม่พอบริหารประเทศและต้องยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ | ||
ในระบบการเมืองของประเทศที่มีการปกครองแบบ[[รัฐสภา]]มานาน ความกดดันนอกสภาถึงขั้นที่รัฐบาลจะถูกล้มหรือยกเลิกรัฐธรรมนูญไม่ค่อยจะเกิดขึ้น ความกดดันนอกสภามักจะเกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทางเศรษฐกิจและทางสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงเกินความสามารถที่รัฐบาลผสมจะรับมือได้เท่านั้น | |||
จึงจะเป็นเหตุให้พรรคที่สนับสนุนไม่แน่ใจและถอนตัวออกไปสนับสนุนกลุ่ม[[ฝ่ายค้าน]] ทำให้รัฐบาลมีเสียงข้างน้อยไม่พอบริหารประเทศและต้องยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ | |||
สำหรับประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนอกกติกาของระบอบประชาธิปไตยบ่อย ๆ ความกดดันจากภายนอกอาจเกิดขึ้นจากกลุ่มผลประโยชน์นอกวงการเมือง เช่น คณะทหาร หรือคณะผู้ก่อการร้าย ขบวนการปลดแอก เป็นต้น | สำหรับประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนอกกติกาของระบอบประชาธิปไตยบ่อย ๆ ความกดดันจากภายนอกอาจเกิดขึ้นจากกลุ่มผลประโยชน์นอกวงการเมือง เช่น คณะทหาร หรือคณะผู้ก่อการร้าย ขบวนการปลดแอก เป็นต้น | ||
นอกจากนั้นกรอบของกติกาในเกมทางการเมือง ซึ่งกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอาจจะมีผลให้รัฐบาลผสมต้องมีอายุสั้นลงได้ เช่น [[สมาชิกวุฒิสภา]]อาจขัดขวางรัฐบาลเข้าร่วมมือกับ[[พรรคฝ่ายค้าน]]ใน[[การตรากฎหมาย]] หรือ[[การตั้งกระทู้ถาม]] เป็นต้น ตามปกติแล้ว ความกดดันนอกสภาจะมีไม่มากนักหรือไม่ค่อยมีบ่อยนัก แต่เมื่อเกิดขึ้นมักจะรุนแรงและให้ผลเด็ดขาด | นอกจากนั้นกรอบของกติกาในเกมทางการเมือง ซึ่งกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอาจจะมีผลให้รัฐบาลผสมต้องมีอายุสั้นลงได้ เช่น [[สมาชิกวุฒิสภา|สมาชิกวุฒิสภา]]อาจขัดขวางรัฐบาลเข้าร่วมมือกับ[[พรรคฝ่ายค้าน|พรรคฝ่ายค้าน]]ใน[[การตรากฎหมาย|การตรากฎหมาย]] หรือ[[การตั้งกระทู้ถาม|การตั้งกระทู้ถาม]] เป็นต้น ตามปกติแล้ว ความกดดันนอกสภาจะมีไม่มากนักหรือไม่ค่อยมีบ่อยนัก แต่เมื่อเกิดขึ้นมักจะรุนแรงและให้ผลเด็ดขาด | ||
3. | 3. ความกดดันภายในสภา | ||
ในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ความกดดันภายในสภาย่อมมีอยู่เสมอ เช่น สมาชิกเปลี่ยนพรรค สมาชิกไม่ลงคะแนนให้ตามที่คาดไว้ สมาชิกแต่ละคนมีความต้องการไม่เหมือนกันและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นอกจากนั้นพรรคที่เข้าร่วมรัฐบาลผสมจะต้องคอยประมาณค่าฐานะของตนเสมอเพราะพรรคที่เข้าร่วมรัฐบาลผสมย่อมจะไม่ยอมอยู่ร่วมต่อไปเมื่อผลประโยชน์ที่พรรคหรือลูกพรรคฝ่ายของตนมีน้อยลง หรือไม่คุ้มค่า | ในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ความกดดันภายในสภาย่อมมีอยู่เสมอ เช่น สมาชิกเปลี่ยนพรรค สมาชิกไม่ลงคะแนนให้ตามที่คาดไว้ สมาชิกแต่ละคนมีความต้องการไม่เหมือนกันและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นอกจากนั้นพรรคที่เข้าร่วมรัฐบาลผสมจะต้องคอยประมาณค่าฐานะของตนเสมอเพราะพรรคที่เข้าร่วมรัฐบาลผสมย่อมจะไม่ยอมอยู่ร่วมต่อไปเมื่อผลประโยชน์ที่พรรคหรือลูกพรรคฝ่ายของตนมีน้อยลง หรือไม่คุ้มค่า ที่อยู่ร่วมต่อไป เช่น พรรคบางพรรคเมื่อเข้ามาร่วมรัฐบาลผสมไม่มีโอกาสทำงาน หรือทำงานให้เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว พรรคนั้นก็ย่อมเห็นว่า ควรถอนตัวออกย่อมดีกว่า เพราะ[[การเลือกตั้ง|การเลือกตั้ง]]ครั้งใหม่ตนก็มีประเด็นจะหาเสียงได้มากเพียงพอแล้ว | ||
ที่อยู่ร่วมต่อไป เช่น พรรคบางพรรคเมื่อเข้ามาร่วมรัฐบาลผสมไม่มีโอกาสทำงาน หรือทำงานให้เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว พรรคนั้นก็ย่อมเห็นว่า ควรถอนตัวออกย่อมดีกว่า เพราะ[[การเลือกตั้ง]]ครั้งใหม่ตนก็มีประเด็นจะหาเสียงได้มากเพียงพอแล้ว | |||
ข้อสำคัญก็คือ พรรคและสมาชิกฝ่ายที่มิได้เข้าร่วมเป็นรัฐบาลย่อมหาทางทุกวิถีทางที่จะรวมตัวกันให้มีคะแนนเสียงข้างมากให้ได้ เพื่อจะได้ล้มญัตติสำคัญของรัฐบาลผสม ทำให้รัฐบาลต้องลาออกหรือยุบสภา ในการนี้พรรคฝ่ายค้านย่อมมีกลยุทธวิธีที่จะยุแหย่พรรคและสมาชิกของพรรคที่ร่วมเป็นรัฐบาล ให้แตกแยกออกมารวมกับกลุ่มใหม่อีกด้วย | ข้อสำคัญก็คือ พรรคและสมาชิกฝ่ายที่มิได้เข้าร่วมเป็นรัฐบาลย่อมหาทางทุกวิถีทางที่จะรวมตัวกันให้มีคะแนนเสียงข้างมากให้ได้ เพื่อจะได้ล้มญัตติสำคัญของรัฐบาลผสม ทำให้รัฐบาลต้องลาออกหรือยุบสภา ในการนี้พรรคฝ่ายค้านย่อมมีกลยุทธวิธีที่จะยุแหย่พรรคและสมาชิกของพรรคที่ร่วมเป็นรัฐบาล ให้แตกแยกออกมารวมกับกลุ่มใหม่อีกด้วย | ||
== ลักษณะของรัฐบาลผสมในประเทศไทย == | |||
จากการศึกษาและการทดลองตั้งสมมติฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลผสมของประเทศไทยโดยเฉพาะนั้น สรุปได้ดังนี้<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 43-44. </ref> | |||
1. รัฐบาลผสมที่ตั้งขึ้นจึงน่าจะเป็นรัฐบาลที่มีพรรคเข้าร่วมมากกว่าจำนวนต่ำสุด (คือสูงกว่า minimum winning coalition) เพื่อให้มีลูกพรรคมาก ทั้งนี้เพราะต้องคิดเผื่อลูกพรรคจะเกิดเปลี่ยนพรรคไป หรือบางพรรคจะถอนตัวออกไปด้วย รัฐบาลผสมในรูปนี้จะเกิดลักษณะพิเศษขึ้นดังนี้ | 1. รัฐบาลผสมที่ตั้งขึ้นจึงน่าจะเป็นรัฐบาลที่มีพรรคเข้าร่วมมากกว่าจำนวนต่ำสุด (คือสูงกว่า minimum winning coalition) เพื่อให้มีลูกพรรคมาก ทั้งนี้เพราะต้องคิดเผื่อลูกพรรคจะเกิดเปลี่ยนพรรคไป หรือบางพรรคจะถอนตัวออกไปด้วย รัฐบาลผสมในรูปนี้จะเกิดลักษณะพิเศษขึ้นดังนี้ | ||
1.1 ในขั้นต้นมีหลายพรรค มีสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งไปจำนวนมาก แต่ต่อ ๆ ไปถ้าพรรคใดหรือสมาชิกของพรรคใด ไม่ปฏิบัติตามแนวนโยบายส่วนรวมก็อาจจะถูกไล่ออกจากรัฐบาลผสมไป ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม เช่น พรรคใดเห็นว่าการอยู่ในรัฐบาลผสมทำให้ตนเสียประโยชน์มากกว่าได้ประโยชน์ก็จะถอนตัวออกไปเอง | |||
1.2 ความยั่งยืนของรัฐบาลผสมหลังเลือกตั้งจึงจะอยู่ที่ว่า จะรวมพรรคและสมาชิกให้ได้มากที่สุดนั้นได้มากเพียงใด และมีอัตราการสูญเสียพรรคหรือลูกพรรคเร็วหรือช้าเพียงใด รัฐบาลผสมก็จะอายุสั้น แต่ถ้าเริ่มต้นด้วยเสียงข้างมากท่วมท้นและค่อย ๆ เสียเสียงไป ก็จะยังอยู่ได้นาน | |||
1.3 กำหนดตำแหน่งทางการเมืองเพิ่มขึ้น เมื่อมีพรรคอยู่ในรัฐบาลผสมมาก แต่ละพรรคต่างก็อยากหาตำแหน่งให้พรรคพวกมากที่สุด ดังนั้น ตำแหน่งทางการเมืองจะมีมากที่สุด | |||
1.4 ถ้าผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคที่มี[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร|สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ค่อนข้างมาก มีจำนวนหลายพรรค มีนโยบายคล้ายคลึงกัน และตกลงที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล บางครั้งตำแหน่ง[[รัฐมนตรี|รัฐมนตรี]]สำคัญ ๆ อาจจะต้องแต่งตั้งจากคนภายนอกก็ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้พรรคต่าง ๆ ต้องยื้อแย่งกันเกินไป | |||
2. ถ้าพรรคการเมืองได้เสียงค่อนข้างสูง คือพรรคใหญ่ ๆ ตกลงร่วมมือกันจัดตั้งรัฐบาลผสมแบบมีจำนวนพรรคน้อยที่สุด แม้จะมีเสียงรวมกันเป็นข้างมากในสภาอายุของรัฐบาลแบบนี้อาจจะสั้นกว่าที่คาดไว้ เพราะพรรคอื่น ๆ อาจดึงตัวลูกพรรคที่มาผสมก็ได้ ทั้งนี้เพราะพรรคการเมืองไทยไม่มีธรรมเนียมควบคุม[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร|สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ที่รัดกุมอย่างบางประเทศ หรือพรรคใหญ่บางพรรคในรัฐบาลผสมอาจหาทางปลีกตัวไปรวมกับพรรคเล็กนอกรัฐบาลเพื่อฟอร์มทีมใหม่ก็ได้ | |||
3. ถ้าพรรคการเมืองมีความคิดเห็นแตกแยกกันรุนแรงเป็นกลุ่ม ๆ หรือบุคคลระดับ[[หัวหน้าพรรค|หัวหน้าพรรค]]มีความโกรธเคืองกันเป็นส่วนตัว อาจจะทำให้ไม่สามารถตั้งรัฐบาลผสมแบบมีเสียงข้างมากได้ ต้องตั้งแบบข้างน้อย (minority cabinet) ในกรณีรัฐบาลผสมที่มีเสียงข้างน้อยในสภา อาจสามารถตั้งขึ้นได้สำเร็จ แต่จะไม่ยั่งยืน เพราะลูกพรรครัฐบาลผสมจะเกี่ยงงอนหาผลประโยชน์กันมาก หรือพรรคนอกรัฐบาลอาจจะรวมตัวกันติดขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ หรือแม้ไม่รวมกันแต่ก็จะถือว่ารัฐบาลเป็นคนละพรรคก็จะถูกโจมตีตลอดเวลา และมีโอกาสทำให้แพ้คะแนนในสภาได้ง่าย ทำให้รัฐบาลผสมต้องลาออกหรือยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ | |||
== ลักษณะของรัฐบาลผสมและความยั่งยืนของรัฐบาลผสมในยุโรป == | == ลักษณะของรัฐบาลผสมและความยั่งยืนของรัฐบาลผสมในยุโรป == | ||
จากการศึกษาเรื่องรัฐบาลผสมในยุโรป ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ได้ข้อสรุปและลักษณะของรัฐบาลผสมดังนี้<ref>อมร รักษาสัตย์, อ้างแล้ว, หน้า 52. </ref> | |||
จากการศึกษาเรื่องรัฐบาลผสมในยุโรป ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ได้ข้อสรุปและลักษณะของรัฐบาลผสมดังนี้<ref>อมร รักษาสัตย์, อ้างแล้ว, หน้า 52. </ref> | |||
1. ในกรณีที่พรรคการเมืองมีหลายพรรค และพรรคเหล่านี้เป็นพรรคที่มีเสถียรภาพ ไม่ว่าจะมีอุดมการณ์แตกต่างกันแบบสุดโด่ง (ซ้ายสุด–ขวาสุด) หรือไม่แตกต่างกันมากนักก็ตาม คณะรัฐมนตรีจะเป็นแบบผสมน้อยพรรคที่สุด และจะอยู่ในตำแหน่งได้ยั่งยืนพอสมควร เพราะไม่ต้องแบ่งตำแหน่งและแบ่งผลประโยชน์กันมากโดยไม่จำเป็น (คำว่าผสมน้อยพรรคที่สุดหมายความว่า มีพรรคมาร่วมเท่าที่จะทำให้มีคะแนนเสียงเกินครึ่งไปน้อยที่สุด ถ้ามีพรรคหนึ่งพรรคใดถอนตัวออกเพียงพรรคเดียวรัฐบาลก็จะล้ม) | |||
2. ประเทศที่มีพรรคหลายพรรค เป็นพรรคที่มีเสถียรภาพและพรรคเหล่านี้ไปรวมกันเป็นกลุ่มอยู่อย่างสุดขั้ว (ทางซ้ายสุด และขวาสุด ไม่มีกลุ่มกลาง) รัฐบาลที่ตั้งขึ้นจะมีได้แค่เพียงรัฐบาลผสมที่มีเสียงข้างน้อยในสภา (minority cabinet) เท่านั้น เพราะพรรคต่าง ๆ เข้ากันไม่ได้ ไม่ยอมออมชอมกัน พรรคเล็กพรรคน้อยที่พอจะรวมกันได้ก็จะกลายเป็นกลุ่มที่มีเสียงมากกว่าพรรคอื่น ๆ ซึ่งรวมกันไม่ติดในกรณีเช่นนี้แม้จะตั้งรัฐบาลได้สำเร็จก็จะไม่มีความมั่นคงแต่อย่างใด การเปลี่ยนรัฐบาลมักจะเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อแพ้เสียงในสภา และจะไม่มีพรรคใดตั้งรัฐบาลผสมได้ใหม่ จึงต้องยุบสภาไป หรือเมื่อใดที่กลุ่มผสมเดิมคิดว่าตนมีแนวนโยบายดีกว่ากลุ่มอื่น หรือมีคะแนนนิยมจากประชาชนมากกว่ากลุ่มอื่น ก็จะเป็นผู้ยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่เผื่อว่ากลุ่มของตนจะชนะเด็ดขาด ซึ่งก็จะกลายเป็นแบบแรกไป | |||
3. ในกรณีที่พรรคการเมืองมีหลายพรรคแต่ละพรรคไม่มีเสถียรภาพ มีความแตกต่างภายในพรรคมาก แม้แนวนโยบายของพรรคจะไม่ต่างกันมาก รัฐบาลผสมจะเกิดขึ้นได้ในรูปของมีการรวมหลายพรรคเพื่อให้ได้คะแนนท่วมทัน (oversized cabinet) อย่างเดียว และรัฐบาลประเภทนี้มักอายุสั้น เพราะหลายพรรคที่ดึงมาร่วมทีมจะไม่ได้รับประโยชน์มากเพียงพอ และอาจกลัวเสียคะแนนในคราวต่อไป จะค่อย ๆ ถอนตัวออก | |||
4. ในกรณีที่พรรคการเมืองมีหลายพรรค แต่ละพรรคไม่มีเสถียรภาพ มีความแตกต่างกันภายในพรรคมากอีกทั้งพรรคต่าง ๆ ก็มีนโยบายสุดโด่ง รัฐบาลผสมที่เกิดขึ้นจะอยู่ในรูปของรัฐบาลผสมที่มีเสียงข้างน้อย (undersized or minority cabined) และจะไม่มีความยั่งยืนแต่อย่างใด เพราะพรรคต่าง ๆ ไม่ยอมรวมกัน | |||
== อ้างอิง == | == อ้างอิง == | ||
<references/> | |||
<references /> | |||
== หนังสืออ่านเพิ่มเติม == | == หนังสืออ่านเพิ่มเติม == | ||
นรนิติ เศรษฐบุตร, (2544) “สารานุกรมการเมืองไทย”. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า. | |||
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, (2544) “รัฐบาลผสม”. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิถีไทย สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย. | |||
อมร รักษาสัตย์, (2532) “ประชาธิปไตยหลายรส”. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิคอนราดอเดนาวร์. | |||
== บรรณานุกรม == | == บรรณานุกรม == | ||
นรนิติ เศรษฐบุตร, (2544) “สารานุกรมการเมืองไทย”. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า. | |||
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, (2544) “รัฐบาลผสม”. กรุงเทพฯ : สถาบันวิถีไทย สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย. | |||
“ระบอบการปกครอง” [http://arinwan.info/index.php?topic=2221.0;wap2 http://arinwan.info/index.php?topic=2221.0;wap2] (สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2557) | |||
อมร รักษาสัตย์, (2532) “ประชาธิปไตยหลายรส”. กรุงเทพฯ : มูลนิธิคอนราดอเดนาวร์. | |||
[[Category:รัฐสภา]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:25, 25 พฤษภาคม 2560
ผู้เรียบเรียง : นายชยพล ธานีวัฒน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายจเร พันธุ์เปรื่อง
ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย รัฐบาลเป็นสถาบันที่ใช้อำนาจบริหารซึ่งเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยนอกเหนือจากอำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ การบริหารประเทศของรัฐบาลต้องดำเนินการตามนโยบายที่กำหนดไว้ตามที่ได้มีการแถลงต่อรัฐสภา เมื่อพิจารณาถึงการจัดตั้งรัฐบาลจากการศึกษาประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่มี 2 ลักษณะได้แก่ รัฐบาลที่มีพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากพรรคเดียว และรัฐบาลที่มาจากการรวมตัวกันของพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งพรรคขึ้นไปหรือที่เรียกว่า รัฐบาลผสม โดยการจัดตั้งรัฐบาลประเภทนี้เริ่มจากพรรคการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดจะมีสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลโดยการเชิญพรรคการเมืองอื่น ๆ ที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรองลงมาเข้าร่วมรัฐบาล โดยมีเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการรวมตัวกันและเมื่อเกิดขึ้นเป็นรัฐบาลผสมแล้ว จะมีองค์ประกอบและปัจจัยต่าง ๆ ที่จะทำให้รัฐบาลเข้มแข็งและยั่งยืนเพื่อดำเนินการบริหารประเทศได้อย่าง มีประสิทธิภาพต่อไป การทำความเข้าใจในแนวคิดของรัฐบาลผสมจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการศึกษาระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและเป็นประโยชน์ต่อการต่อยอดความรู้ในการวิเคราะห์การเมืองในสถานการณ์ปัจจุบันต่อไป
ความหมาย
รัฐบาลผสม (Coalition government) คือ รัฐบาลที่ประกอบไปด้วยกลุ่มการเมือง หรือพรรคการเมืองหลายกลุ่มมารวมตัวกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากขึ้นบริหารประเทศ[1] สาเหตุที่นำไปสู่การก่อตั้งรัฐบาลผสมนั้นส่วนใหญ่เนื่องมาจากไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับเสียงข้างมากในรัฐสภา รัฐบาลผสม ยังอาจก่อตั้งขึ้นในกรณีที่เกิดปัญหาระดับชาติหรือวิกฤตการณ์ ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างช่วงสงคราม เพื่อให้รัฐบาล มีระดับความชอบธรรมทางการเมืองที่สูง ขณะที่ยังได้มีบทบาทในการลดความขัดแย้งทางการเมืองภายใน ในช่วงเวลาดังกล่าว พรรคการเมืองอาจประกอบกันขึ้นเป็นรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยพรรคการเมือง ทุกพรรค เมื่อรัฐบาลผสมเกิดแนวคิดที่ต่างกัน จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ[2]
สำหรับในประเทศไทย คำว่า รัฐบาลผสมนี้ ใช้เป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 2480 โดยนักการทูตชาวอังกฤษชื่อ Sir Jirsy Crossby ซึ่งได้ตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลของไทยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา มีลักษณะเป็น “รัฐบาลผสม” (Coalition government) เนื่องจากประกอบด้วยกลุ่มการเมืองฝ่ายพลเรือนนำโดยนายปรีดี พนมยงค์ กลุ่มหนึ่งกับกลุ่มทหารนำโดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม อีกกลุ่มหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนายทหารและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ รวมทั้งกลุ่มของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งอีกส่วนหนึ่งรวมกันประกอบเป็นรัฐบาลทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ ต่อมาคำว่ารัฐบาลผสมนี้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนขึ้น
อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์รัฐบาลผสมของเมืองไทยนี้ จะมีความชัดเจนและเห็นได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีลักษณะโดดเด่นมากที่สุดนับตั้งแต่การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมาตราบจนปัจจุบัน เนื่องด้วยในการเลือกตั้งทุกครั้งจะไม่มีพรรคการเมืองใดที่สามารถมีเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาลได้ ดังนั้นจึงต้องมีการรวมตัวกันของพรรคการเมืองหลายพรรคเพื่อให้มีเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาลเสมอ[3]
แนวคิดเรื่ององค์ประกอบการจัดตั้งรัฐบาลผสม
การศึกษาเรื่องรัฐบาลผสมของพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว ได้เสนอสมมุติฐานเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลผสมของประเทศไทย ดังนี้[4]
1. พลังของพรรค
พลังของพรรคการเมืองไทย พิจารณาจากขนาดของพรรค คือ จำนวนสมาชิกของพรรคและจำนวนสมาชิกพรรคที่ได้รับการเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่จะมีแนวโน้มที่สมาชิกจะได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภามากกว่าพรรคขนาดเล็ก และมีแนวโน้มที่จะต่อรองเข้าร่วมรัฐบาลได้หากมีการจัดตั้งรัฐบาลเกิดขึ้น
2. ความเหนียวแน่นของพรรค
ความเหนียวแน่น ความมั่นคง หรือเสถียรภาพของแต่ละพรรคย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่พรรคจะต้องนำไปต่อรองเพื่อรวมกับพรรคอื่นในการจัดตั้งรัฐบาลผสม ทั้งนี้พรรคจะต้องคำนึงถึงความเหนียวแน่นของพรรคของตนเองและความเหนียวแน่นของพรรคอื่นทุกพรรคด้วย ความเหนียวแน่นนี้น่าจะเกิดจากปัจจัยสำคัญหลายประการ ได้แก่ ประวัติความเป็นมาและอุดมการณ์ของพรรค จำนวนสมาชิกทั่วประเทศและความผูกพันของสมาชิกที่มีต่อพรรค วินัยของพรรคในการให้คุณและโทษแก่สมาชิก ภาวะผู้นำของพรรค มูลเหตุจูงใจ และบุคลิกภาพของผู้นำพรรค ผลประโยชน์ส่วนตัวของสมาชิกในสภาและผู้นำคนสำคัญ และประการสุดท้ายพื้นฐานแห่งอำนาจของพรรค เช่น ประชาชนกลุ่มใด อาชีพ ชั้น ศาสนา อุดมคติทางการเมือง ภูมิภาค ภาษา ผลประโยชน์ ของผู้ที่เป็นสมาชิกหรือผู้ลงคะแนนให้พรรคในปัจจุบันและอนาคต
3. นโยบายของพรรค
ก่อนปี 2540 พรรคการเมืองไทยเกือบทั้งหมดเป็นพรรคใหม่ จึงมักจะไม่มีประวัติแห่งนโยบาย ที่แท้จริงรวมทั้งขาดองค์การของพรรคตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ไม่มีการเลือกผู้แทนประจำท้องถิ่นของพรรคมาประชุมระดับชาติ เพื่อวางนโยบายของพรรคอย่างในต่างประเทศ นโยบายของพรรคจึงอาจไม่สะท้อนความคิดหรือความต้องการของสมาชิกพรรคและประชาชนอย่างแท้จริง ทำให้การร่วมกันเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นเรื่องของการต่อรองทางการเมืองมากกว่าการแสวงหาจุดร่วมด้านนโยบาย แต่หลังจากปี 2542 เป็นต้นมาเมื่อพรรคไทยรักไทยได้เสนอนโยบายต่าง ๆ ออกมาและทำให้ได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภาอย่างล้นหลามสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมที่ตนมีเสียงจำนวนมากและเป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งได้ หลังจากนั้นพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้มีการปรับตัวขนานใหญ่ด้วยการเสนอนโยบายต่าง ๆ แก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำให้เกิดการแข่งขันด้านนโยบายของพรรคการเมือง ทำให้เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลพรรคการเมืองที่จะเข้าร่วมรัฐบาลจึงต้องคำนึงถึงนโยบายที่มีความคล้ายคลึงกันเพื่อให้พรรคได้นำแนวนโยบายของตนไปสู่การปฏิบัติในคณะรัฐบาลและเพื่อเป็นการรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
4. เป้าหมายของพรรคในการเลือกตั้งแต่ละครั้งกับความมุ่งมั่นที่จะเข้าร่วมเป็นรัฐบาลผสม
ตามปกติ การจัดตั้งพรรคการเมืองจนถึงการรณรงค์หาเสียงเพื่อเข้ามามีที่นั่งในสภานั้นพรรคการเมืองย่อมมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
4.1 เพื่อให้สามารถปฏิบัติการตามอุดมคติของพรรคได้ คือได้เข้าเป็นฝ่ายบริหารเพื่อจะได้ลงมือทำงานตามที่ได้ตั้งใจไว้ (หรือตามนโยบาย) หรือควบคุมการทำงานของข้าราชการประจำ รวมทั้งการมีโอกาสออกกฎหมายและเป็นปากเสียงของประชาชนด้วย นับเป็นความปรารถนาสูงสุดของทุกพรรค
4.2 เพื่อให้สามารถออกกฎหมายให้รัฐบาลและประชาชนปฏิบัติการต่าง ๆ ตามนโยบายของพรรค กรณีนี้เป็นการพิจารณาตามอุดมคติทางการเมืองเมื่อพรรคสามารถทำหน้าที่ทางนิติบัญญัติได้เต็มที่
4.3 เพื่อเป็นปากเป็นเสียง เป็นทางออกของปัญหา หรือความต้องการอื่น ๆ ของประชาชนส่วนใหญ่หรือส่วนน้อยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นพรรคที่ตั้งขึ้นเพื่อปกป้องพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของรัฐ ไม่ใช่ฝ่ายริเริ่มรุกหาผลประโยชน์ กรณีนี้มักจะเป็นทางเลือกทางสุดท้ายของพรรคต่าง ๆ
แนวคิดเรื่องการต่อรองในการจัดตั้งรัฐบาลผสม
เดอ เมสควตา แบ่งยุทธศาสตร์ที่พรรคการเมืองเลือกใช้ในการต่อรองในการจัดตั้งรัฐบาลผสมออกเป็น 3 กลุ่ม คือ[5]
1. พรรคที่ร่วมมือดี
พรรคประเภทนี้สนใจที่จะแบ่งผลประโยชน์จากการจัดตั้งรัฐบาลผสม (หรือผลประโยชน์ส่วนตัว) ออกไปเท่า ๆ กัน เช่น ตำแหน่งรัฐมนตรีก็ยินดีแบ่งให้พรรคต่าง ๆ ตามสัดส่วนของจำนวน ส.ส.ของแต่ละพรรค ทั้งนี้เพื่อลดภาระในการต่อรองหาผลประโยชน์ให้แก่สมาชิกแต่ละคนแต่ละพรรคให้น้อยลงที่สุด แต่ให้ความสนใจในเรื่องนโยบายส่วนรวมของรัฐบาลผสม พรรคใหญ่ ๆ จะได้ประโยชน์จากการยึดหลักนี้มากกว่าพรรคเล็ก
2. พรรคที่ชอบแข่งขัน
พรรคประเภทนี้จะพยายามขอแบ่งผลประโยชน์จากการแต่งตั้งรัฐบาลผสมให้ได้มากที่สุด เกินสัดส่วนของตนที่พึงจะได้โดยไม่สนใจต่อนโยบายส่วนรวมของรัฐบาลผสม หรือจะต่อรองว่าถ้าไม่ให้ผลประโยชน์เป็นพิเศษจะต่อต้านรัฐบาลผสม พรรคประเภทนี้อาจจะได้ผลประโยชน์สูงในระยะแรก แต่จะเสียประโยชน์ ในระยะยาวเมื่อพรรคใหญ่ที่ยินดีร่วมมือเห็นว่าตนได้อ่อนข้อให้ประโยชน์มากเกินไป
3. พรรคที่ใช้ยุทธศาสตร์ผสม
พรรคประเภทนี้อาจจะเริ่มต้นด้วยการยินยอมสนับสนุนนโยบายรัฐบาลผสม โดยไม่เรียกร้องมากในระยะแรก แต่ในขั้นต่อ ๆ ไป จะเรียกร้องขอผลประโยชน์มากขึ้นมิฉะนั้นจะเลิกสนับสนุน ถ้าพรรคอื่น ๆ หลงลืมผลประโยชน์บางประการพรรคประเภทนี้จะคอยต่อรองเอาผลประโยชน์ไปเรื่อย ๆ ดังนั้น พรรคประเภทนี้ จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุดในระยะยาว นอกจากนั้นยังจะได้รับผลดีในการเลือกตั้งครั้งต่อไปด้วย
ตัวแปรเกี่ยวกับความยั่งยืนของรัฐบาลผสม
รัฐบาลผสมที่มีการจัดตั้งขึ้นจะสามารถดำรงอยู่ในสถานะของฝ่ายบริหารได้นานเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้[6]
1. ระยะเวลา
ภายในพรรคต่าง ๆ เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไปจำนวนลูกพรรคอาจเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงได้ เพราะอาจมีการเสียชีวิต การลาออก การย้ายพรรคของสมาชิกเกิดขึ้นได้ ในขณะเดียวกันความเหนียวแน่นโดยเฉพาะวินัยของพรรคก็อาจจะเข็มแข็งขึ้นหรืออ่อนตัวลงได้ แต่โดยปกติแล้วยิ่งระยะเวลาล่วงเลยไปความผูกพันภายในพรรคและระหว่างที่พรรคตั้งรัฐบาลผสมด้วยกันมักจะผ่อนคลายลง โดยเฉพาะลูกพรรคมักจะมีปฏิกิริยาต่อต้านหัวหน้าพรรคมากขึ้นเมื่ออยู่ในตำแหน่งนาน ๆ และมักมีการต่อรองผลประโยชน์ตามมา ซึ่งอาจพิจารณาได้ว่า ระยะเวลามักแปรผกผันกับความเหนียวแน่นของพรรคตามปกติย่อมจะลดลงทีละเล็กน้อย ในระบบรัฐสภา ที่พรรคยังไม่เข้มแข็ง ไม่มีประวัติร่วมอันยาวไกล และไม่มีความผูกพันที่ยืนยาวมาก่อน ความสัมพันธ์จะค่อย ๆ ลดลง จนหมดลงไปในปีสุดท้ายก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหม่
2. ความกดดันนอกสภา
ในระบบการเมืองของประเทศที่มีการปกครองแบบรัฐสภามานาน ความกดดันนอกสภาถึงขั้นที่รัฐบาลจะถูกล้มหรือยกเลิกรัฐธรรมนูญไม่ค่อยจะเกิดขึ้น ความกดดันนอกสภามักจะเกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทางเศรษฐกิจและทางสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงเกินความสามารถที่รัฐบาลผสมจะรับมือได้เท่านั้น จึงจะเป็นเหตุให้พรรคที่สนับสนุนไม่แน่ใจและถอนตัวออกไปสนับสนุนกลุ่มฝ่ายค้าน ทำให้รัฐบาลมีเสียงข้างน้อยไม่พอบริหารประเทศและต้องยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่
สำหรับประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนอกกติกาของระบอบประชาธิปไตยบ่อย ๆ ความกดดันจากภายนอกอาจเกิดขึ้นจากกลุ่มผลประโยชน์นอกวงการเมือง เช่น คณะทหาร หรือคณะผู้ก่อการร้าย ขบวนการปลดแอก เป็นต้น
นอกจากนั้นกรอบของกติกาในเกมทางการเมือง ซึ่งกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอาจจะมีผลให้รัฐบาลผสมต้องมีอายุสั้นลงได้ เช่น สมาชิกวุฒิสภาอาจขัดขวางรัฐบาลเข้าร่วมมือกับพรรคฝ่ายค้านในการตรากฎหมาย หรือการตั้งกระทู้ถาม เป็นต้น ตามปกติแล้ว ความกดดันนอกสภาจะมีไม่มากนักหรือไม่ค่อยมีบ่อยนัก แต่เมื่อเกิดขึ้นมักจะรุนแรงและให้ผลเด็ดขาด
3. ความกดดันภายในสภา
ในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ความกดดันภายในสภาย่อมมีอยู่เสมอ เช่น สมาชิกเปลี่ยนพรรค สมาชิกไม่ลงคะแนนให้ตามที่คาดไว้ สมาชิกแต่ละคนมีความต้องการไม่เหมือนกันและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นอกจากนั้นพรรคที่เข้าร่วมรัฐบาลผสมจะต้องคอยประมาณค่าฐานะของตนเสมอเพราะพรรคที่เข้าร่วมรัฐบาลผสมย่อมจะไม่ยอมอยู่ร่วมต่อไปเมื่อผลประโยชน์ที่พรรคหรือลูกพรรคฝ่ายของตนมีน้อยลง หรือไม่คุ้มค่า ที่อยู่ร่วมต่อไป เช่น พรรคบางพรรคเมื่อเข้ามาร่วมรัฐบาลผสมไม่มีโอกาสทำงาน หรือทำงานให้เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว พรรคนั้นก็ย่อมเห็นว่า ควรถอนตัวออกย่อมดีกว่า เพราะการเลือกตั้งครั้งใหม่ตนก็มีประเด็นจะหาเสียงได้มากเพียงพอแล้ว
ข้อสำคัญก็คือ พรรคและสมาชิกฝ่ายที่มิได้เข้าร่วมเป็นรัฐบาลย่อมหาทางทุกวิถีทางที่จะรวมตัวกันให้มีคะแนนเสียงข้างมากให้ได้ เพื่อจะได้ล้มญัตติสำคัญของรัฐบาลผสม ทำให้รัฐบาลต้องลาออกหรือยุบสภา ในการนี้พรรคฝ่ายค้านย่อมมีกลยุทธวิธีที่จะยุแหย่พรรคและสมาชิกของพรรคที่ร่วมเป็นรัฐบาล ให้แตกแยกออกมารวมกับกลุ่มใหม่อีกด้วย
ลักษณะของรัฐบาลผสมในประเทศไทย
จากการศึกษาและการทดลองตั้งสมมติฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลผสมของประเทศไทยโดยเฉพาะนั้น สรุปได้ดังนี้[7]
1. รัฐบาลผสมที่ตั้งขึ้นจึงน่าจะเป็นรัฐบาลที่มีพรรคเข้าร่วมมากกว่าจำนวนต่ำสุด (คือสูงกว่า minimum winning coalition) เพื่อให้มีลูกพรรคมาก ทั้งนี้เพราะต้องคิดเผื่อลูกพรรคจะเกิดเปลี่ยนพรรคไป หรือบางพรรคจะถอนตัวออกไปด้วย รัฐบาลผสมในรูปนี้จะเกิดลักษณะพิเศษขึ้นดังนี้
1.1 ในขั้นต้นมีหลายพรรค มีสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งไปจำนวนมาก แต่ต่อ ๆ ไปถ้าพรรคใดหรือสมาชิกของพรรคใด ไม่ปฏิบัติตามแนวนโยบายส่วนรวมก็อาจจะถูกไล่ออกจากรัฐบาลผสมไป ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม เช่น พรรคใดเห็นว่าการอยู่ในรัฐบาลผสมทำให้ตนเสียประโยชน์มากกว่าได้ประโยชน์ก็จะถอนตัวออกไปเอง
1.2 ความยั่งยืนของรัฐบาลผสมหลังเลือกตั้งจึงจะอยู่ที่ว่า จะรวมพรรคและสมาชิกให้ได้มากที่สุดนั้นได้มากเพียงใด และมีอัตราการสูญเสียพรรคหรือลูกพรรคเร็วหรือช้าเพียงใด รัฐบาลผสมก็จะอายุสั้น แต่ถ้าเริ่มต้นด้วยเสียงข้างมากท่วมท้นและค่อย ๆ เสียเสียงไป ก็จะยังอยู่ได้นาน
1.3 กำหนดตำแหน่งทางการเมืองเพิ่มขึ้น เมื่อมีพรรคอยู่ในรัฐบาลผสมมาก แต่ละพรรคต่างก็อยากหาตำแหน่งให้พรรคพวกมากที่สุด ดังนั้น ตำแหน่งทางการเมืองจะมีมากที่สุด
1.4 ถ้าผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรค่อนข้างมาก มีจำนวนหลายพรรค มีนโยบายคล้ายคลึงกัน และตกลงที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล บางครั้งตำแหน่งรัฐมนตรีสำคัญ ๆ อาจจะต้องแต่งตั้งจากคนภายนอกก็ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้พรรคต่าง ๆ ต้องยื้อแย่งกันเกินไป
2. ถ้าพรรคการเมืองได้เสียงค่อนข้างสูง คือพรรคใหญ่ ๆ ตกลงร่วมมือกันจัดตั้งรัฐบาลผสมแบบมีจำนวนพรรคน้อยที่สุด แม้จะมีเสียงรวมกันเป็นข้างมากในสภาอายุของรัฐบาลแบบนี้อาจจะสั้นกว่าที่คาดไว้ เพราะพรรคอื่น ๆ อาจดึงตัวลูกพรรคที่มาผสมก็ได้ ทั้งนี้เพราะพรรคการเมืองไทยไม่มีธรรมเนียมควบคุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่รัดกุมอย่างบางประเทศ หรือพรรคใหญ่บางพรรคในรัฐบาลผสมอาจหาทางปลีกตัวไปรวมกับพรรคเล็กนอกรัฐบาลเพื่อฟอร์มทีมใหม่ก็ได้
3. ถ้าพรรคการเมืองมีความคิดเห็นแตกแยกกันรุนแรงเป็นกลุ่ม ๆ หรือบุคคลระดับหัวหน้าพรรคมีความโกรธเคืองกันเป็นส่วนตัว อาจจะทำให้ไม่สามารถตั้งรัฐบาลผสมแบบมีเสียงข้างมากได้ ต้องตั้งแบบข้างน้อย (minority cabinet) ในกรณีรัฐบาลผสมที่มีเสียงข้างน้อยในสภา อาจสามารถตั้งขึ้นได้สำเร็จ แต่จะไม่ยั่งยืน เพราะลูกพรรครัฐบาลผสมจะเกี่ยงงอนหาผลประโยชน์กันมาก หรือพรรคนอกรัฐบาลอาจจะรวมตัวกันติดขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ หรือแม้ไม่รวมกันแต่ก็จะถือว่ารัฐบาลเป็นคนละพรรคก็จะถูกโจมตีตลอดเวลา และมีโอกาสทำให้แพ้คะแนนในสภาได้ง่าย ทำให้รัฐบาลผสมต้องลาออกหรือยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่
ลักษณะของรัฐบาลผสมและความยั่งยืนของรัฐบาลผสมในยุโรป
จากการศึกษาเรื่องรัฐบาลผสมในยุโรป ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ได้ข้อสรุปและลักษณะของรัฐบาลผสมดังนี้[8]
1. ในกรณีที่พรรคการเมืองมีหลายพรรค และพรรคเหล่านี้เป็นพรรคที่มีเสถียรภาพ ไม่ว่าจะมีอุดมการณ์แตกต่างกันแบบสุดโด่ง (ซ้ายสุด–ขวาสุด) หรือไม่แตกต่างกันมากนักก็ตาม คณะรัฐมนตรีจะเป็นแบบผสมน้อยพรรคที่สุด และจะอยู่ในตำแหน่งได้ยั่งยืนพอสมควร เพราะไม่ต้องแบ่งตำแหน่งและแบ่งผลประโยชน์กันมากโดยไม่จำเป็น (คำว่าผสมน้อยพรรคที่สุดหมายความว่า มีพรรคมาร่วมเท่าที่จะทำให้มีคะแนนเสียงเกินครึ่งไปน้อยที่สุด ถ้ามีพรรคหนึ่งพรรคใดถอนตัวออกเพียงพรรคเดียวรัฐบาลก็จะล้ม)
2. ประเทศที่มีพรรคหลายพรรค เป็นพรรคที่มีเสถียรภาพและพรรคเหล่านี้ไปรวมกันเป็นกลุ่มอยู่อย่างสุดขั้ว (ทางซ้ายสุด และขวาสุด ไม่มีกลุ่มกลาง) รัฐบาลที่ตั้งขึ้นจะมีได้แค่เพียงรัฐบาลผสมที่มีเสียงข้างน้อยในสภา (minority cabinet) เท่านั้น เพราะพรรคต่าง ๆ เข้ากันไม่ได้ ไม่ยอมออมชอมกัน พรรคเล็กพรรคน้อยที่พอจะรวมกันได้ก็จะกลายเป็นกลุ่มที่มีเสียงมากกว่าพรรคอื่น ๆ ซึ่งรวมกันไม่ติดในกรณีเช่นนี้แม้จะตั้งรัฐบาลได้สำเร็จก็จะไม่มีความมั่นคงแต่อย่างใด การเปลี่ยนรัฐบาลมักจะเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อแพ้เสียงในสภา และจะไม่มีพรรคใดตั้งรัฐบาลผสมได้ใหม่ จึงต้องยุบสภาไป หรือเมื่อใดที่กลุ่มผสมเดิมคิดว่าตนมีแนวนโยบายดีกว่ากลุ่มอื่น หรือมีคะแนนนิยมจากประชาชนมากกว่ากลุ่มอื่น ก็จะเป็นผู้ยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่เผื่อว่ากลุ่มของตนจะชนะเด็ดขาด ซึ่งก็จะกลายเป็นแบบแรกไป
3. ในกรณีที่พรรคการเมืองมีหลายพรรคแต่ละพรรคไม่มีเสถียรภาพ มีความแตกต่างภายในพรรคมาก แม้แนวนโยบายของพรรคจะไม่ต่างกันมาก รัฐบาลผสมจะเกิดขึ้นได้ในรูปของมีการรวมหลายพรรคเพื่อให้ได้คะแนนท่วมทัน (oversized cabinet) อย่างเดียว และรัฐบาลประเภทนี้มักอายุสั้น เพราะหลายพรรคที่ดึงมาร่วมทีมจะไม่ได้รับประโยชน์มากเพียงพอ และอาจกลัวเสียคะแนนในคราวต่อไป จะค่อย ๆ ถอนตัวออก
4. ในกรณีที่พรรคการเมืองมีหลายพรรค แต่ละพรรคไม่มีเสถียรภาพ มีความแตกต่างกันภายในพรรคมากอีกทั้งพรรคต่าง ๆ ก็มีนโยบายสุดโด่ง รัฐบาลผสมที่เกิดขึ้นจะอยู่ในรูปของรัฐบาลผสมที่มีเสียงข้างน้อย (undersized or minority cabined) และจะไม่มีความยั่งยืนแต่อย่างใด เพราะพรรคต่าง ๆ ไม่ยอมรวมกัน
อ้างอิง
- ↑ นรนิติ เศรษฐบุตร, สารานุกรมการเมืองไทย. (นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, 2544) , หน้า 152.
- ↑ “ระบอบการปกครอง” [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://arinwan.info/index.php?topic=2221.0;wap2 (สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2557)
- ↑ นรนิติ เศรษฐบุตร, สารานุกรมการเมืองไทย,หน้า 152.
- ↑ พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, รัฐบาลผสม. (กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิถีไทย สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2544) , หน้า 23-27.
- ↑ อมร รักษาสัตย์, ประชาธิปไตยหลายรส. (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิคอนราดอเดนาวร์, 2532). หน้า 62.
- ↑ พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, รัฐบาลผสม, หน้า 31-35.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 43-44.
- ↑ อมร รักษาสัตย์, อ้างแล้ว, หน้า 52.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
นรนิติ เศรษฐบุตร, (2544) “สารานุกรมการเมืองไทย”. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, (2544) “รัฐบาลผสม”. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิถีไทย สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.
อมร รักษาสัตย์, (2532) “ประชาธิปไตยหลายรส”. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิคอนราดอเดนาวร์.
บรรณานุกรม
นรนิติ เศรษฐบุตร, (2544) “สารานุกรมการเมืองไทย”. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, (2544) “รัฐบาลผสม”. กรุงเทพฯ : สถาบันวิถีไทย สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.
“ระบอบการปกครอง” http://arinwan.info/index.php?topic=2221.0;wap2 (สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2557)
อมร รักษาสัตย์, (2532) “ประชาธิปไตยหลายรส”. กรุงเทพฯ : มูลนิธิคอนราดอเดนาวร์.