ผลต่างระหว่างรุ่นของ "16 กันยายน พ.ศ. 2500"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 7: | บรรทัดที่ 7: | ||
---- | ---- | ||
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เป็นวันที่[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] นำคณะทหารเข้าล้มรัฐบาล[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] ผู้เป็นนายเก่า แต่ก็ไม่ได้ล้มเลิก[[รัฐธรรมนูญ]]ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น | ||
วันนั้นเป็นวันที่ขุนทหารชื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกได้นำทัพทหารเข้ายึดอำนาจล้มรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม | วันนั้นเป็นวันที่ขุนทหารชื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกได้นำทัพทหารเข้ายึดอำนาจล้มรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] | ||
ความขัดแย้งระหว่างสองจอมพลของกองทัพไทยที่เคยเป็นนายกและลูกน้องเก่ากันมาก่อนนั้นมีเหตุมาจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 | ความขัดแย้งระหว่างสองจอมพลของกองทัพไทยที่เคยเป็นนายกและลูกน้องเก่ากันมาก่อนนั้นมีเหตุมาจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ [[26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500]] ซึ่งเป็น[[การเลือกตั้ง]]ที่ผู้คนในกรุงเทพฯ จำนวนมากประท้วงว่าเป็นการเลือกตั้งสกปรก | ||
เมื่อมีผู้คนประท้วงมาก ๆ ต่อรัฐบาลใหม่ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่ตั้งขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับลูกน้องฝ่ายทหารก็ตีตนออกห่างจากรัฐบาลและนายเก่า โดยพากันลาออกจากพรรคการเมืองรัฐบาลคือ พรรคเสรีมนังคศิลา ทั้งยังประชุมนายทหารที่คุมกำลังยื่นคำขาดให้รัฐบาลและสมาชิกสภาลาออกและให้ผู้สนับสนุนรัฐบาลคนสำคัญ คือ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ผู้เป็นอธิบดีกรมตำรวจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลาออกและเดินทางไปอยู่ต่างประเทศ | เมื่อมีผู้คนประท้วงมาก ๆ ต่อรัฐบาลใหม่ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่ตั้งขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับลูกน้องฝ่ายทหารก็ตีตนออกห่างจากรัฐบาลและนายเก่า โดยพากันลาออกจากพรรคการเมืองรัฐบาลคือ [[พรรคเสรีมนังคศิลา]] ทั้งยังประชุมนายทหารที่คุมกำลังยื่นคำขาดให้รัฐบาลและสมาชิกสภาลาออกและให้ผู้สนับสนุนรัฐบาลคนสำคัญ คือ [[เผ่า ศรียานนท์|พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์]] ผู้เป็นอธิบดีกรมตำรวจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลาออกและเดินทางไปอยู่ต่างประเทศ | ||
ปรากฎว่าท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมืองในกลางเดือนกันยายนปีนั้น คณะทหารที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ได้ออกมาปฏิบัติการยึดอำนาจรัฐในเวลาห้าทุ่มของวันที่ 16 กันยายน | ปรากฎว่าท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมืองในกลางเดือนกันยายนปีนั้น คณะทหารที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ได้ออกมาปฏิบัติการยึดอำนาจรัฐในเวลาห้าทุ่มของวันที่ 16 กันยายน | ||
แต่เป็นการยึดอำนาจที่ล้มรัฐบาลและล้มสมาชิกรัฐสภา โดยไม่ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในขณะนั้น | แต่เป็นการยึดอำนาจที่ล้มรัฐบาลและล้มสมาชิกรัฐสภา โดยไม่ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือ[[รัฐธรรมนุญฉบับ พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495]] | ||
แม้รัฐธรรมนูญจะยังคงใช้อยู่โดยไม่ถูกฉีก ก็ยังมีเงื่อนไขว่า | แม้รัฐธรรมนูญจะยังคงใช้อยู่โดยไม่ถูกฉีก ก็ยังมีเงื่อนไขว่า | ||
บรรทัดที่ 30: | บรรทัดที่ 30: | ||
ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2500 หลังการยึดอำนาจเพียง 2 วัน จึงได้แต่งตั้ง “สมาชิกประเภทที่ 2” จำนวน 121 คน ทำหน้าที่รัฐสภาไปก่อนที่จะมีการเลือกตั้งได้สมาชิกประเภทที่ 1 เข้ามาร่วม ถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2500 ก็มีบันทึกของประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ เขียนเอาไว้ว่า | ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2500 หลังการยึดอำนาจเพียง 2 วัน จึงได้แต่งตั้ง “สมาชิกประเภทที่ 2” จำนวน 121 คน ทำหน้าที่รัฐสภาไปก่อนที่จะมีการเลือกตั้งได้สมาชิกประเภทที่ 1 เข้ามาร่วม ถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2500 ก็มีบันทึกของประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ เขียนเอาไว้ว่า | ||
“...ประธานสภาได้เชิญสมาชิกสภาไปประชุมเพื่อหารือ เป็นการภายใน เพื่อเลือกสรรผู้ที่สมควรจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ณ หอประชุมกองทัพบก ประธานสภาได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ผู้ที่ควรจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น เห็นว่าควรจะเป็น นายพจน์ สารสิน ซึ่งไม่มีสมาชิกเห็นเป็นอย่างอื่น” | “...ประธานสภาได้เชิญสมาชิกสภาไปประชุมเพื่อหารือ เป็นการภายใน เพื่อเลือกสรรผู้ที่สมควรจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ณ หอประชุมกองทัพบก ประธานสภาได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ผู้ที่ควรจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น เห็นว่าควรจะเป็น [[พจน์ สารสิน|นายพจน์ สารสิน]] ซึ่งไม่มีสมาชิกเห็นเป็นอย่างอื่น” | ||
[[ประธานสภา]]ตอนนั้นคือ [[พลเอกสุทธิ์ สุทธิสารรณกร]] | |||
การที่ประธานสภาเห็นควรว่า นายกรัฐมนตรีต้องเป็นนายพจน์ สารสิน ก็เพราะนายพจน์ สารสิน นั้นเป็นนักการทูตเก่าเคยเป็นทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกามาก่อน ทั้งในตอนนั้นยังเป็นเลขาธิการองค์การ สปอ. หรือซีโต้ ที่เป็นองค์กรความร่วมมือของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับมหาอำนาจ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ จึงถือว่าเป็นบุคคลที่ต่างประเทศจะรู้จักดี ขอเอามาเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 เสียหน่อย | การที่ประธานสภาเห็นควรว่า นายกรัฐมนตรีต้องเป็นนายพจน์ สารสิน ก็เพราะนายพจน์ สารสิน นั้นเป็นนักการทูตเก่าเคยเป็นทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกามาก่อน ทั้งในตอนนั้นยังเป็นเลขาธิการองค์การ สปอ. หรือซีโต้ ที่เป็นองค์กรความร่วมมือของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับมหาอำนาจ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ จึงถือว่าเป็นบุคคลที่ต่างประเทศจะรู้จักดี ขอเอามาเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 เสียหน่อย | ||
บรรทัดที่ 38: | บรรทัดที่ 38: | ||
การเลือกตั้งที่กำหนดว่าจะต้องมีขึ้นภายในเวลาเก้าสิบวันจึงเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2500 จึงเป็นว่าปี พ.ศ. 2500 มีการเลือกตั้งทั่วไปสองครั้ง คือตอนต้นปีกับปลายปี | การเลือกตั้งที่กำหนดว่าจะต้องมีขึ้นภายในเวลาเก้าสิบวันจึงเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2500 จึงเป็นว่าปี พ.ศ. 2500 มีการเลือกตั้งทั่วไปสองครั้ง คือตอนต้นปีกับปลายปี | ||
แต่ก็เป็น[[การเลือกตั้ง]]ที่ผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งจะสังกัด[[พรรคการเมือง]]หรือไม่ก็ได้ จึงมีผู้ลงสมัครโดยไม่ต้องไปสังกัดพรรคการเมืองให้ลำบากอยู่หลายราย และผู้สมัครที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองก็ชนะเลือกตั้งมาด้วย | |||
พอเลือกตั้งเสร็จ นายพจน์ สารสิน นายกรัฐมนตรี ก็ขอกลับไปทำหน้าที่เป็นเลขาธิการองค์การ สปอ. ตามเดิม | พอเลือกตั้งเสร็จ นายพจน์ สารสิน นายกรัฐมนตรี ก็ขอกลับไปทำหน้าที่เป็นเลขาธิการองค์การ สปอ. ตามเดิม การเมืองนั้นก็ปล่อยให้ทหารกับ[[นักการเมือง]]ตกลงกันเอง และก็ได้[[ถนอม กิตติขจร|พลโทถนอม กิตติขจร]] เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีตั้งรัฐบาลสืบมา | ||
การยึดอำนาจวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นั้นมิใช่การยึดอำนาจครั้งสุดท้ายของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ | การยึดอำนาจวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นั้นมิใช่การยึดอำนาจครั้งสุดท้ายของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:17, 15 ตุลาคม 2557
ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เป็นวันที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นำคณะทหารเข้าล้มรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้เป็นนายเก่า แต่ก็ไม่ได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในขณะนั้น
วันนั้นเป็นวันที่ขุนทหารชื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกได้นำทัพทหารเข้ายึดอำนาจล้มรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้เป็นนายกรัฐมนตรี
ความขัดแย้งระหว่างสองจอมพลของกองทัพไทยที่เคยเป็นนายกและลูกน้องเก่ากันมาก่อนนั้นมีเหตุมาจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่ผู้คนในกรุงเทพฯ จำนวนมากประท้วงว่าเป็นการเลือกตั้งสกปรก
เมื่อมีผู้คนประท้วงมาก ๆ ต่อรัฐบาลใหม่ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่ตั้งขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับลูกน้องฝ่ายทหารก็ตีตนออกห่างจากรัฐบาลและนายเก่า โดยพากันลาออกจากพรรคการเมืองรัฐบาลคือ พรรคเสรีมนังคศิลา ทั้งยังประชุมนายทหารที่คุมกำลังยื่นคำขาดให้รัฐบาลและสมาชิกสภาลาออกและให้ผู้สนับสนุนรัฐบาลคนสำคัญ คือ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ผู้เป็นอธิบดีกรมตำรวจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลาออกและเดินทางไปอยู่ต่างประเทศ
ปรากฎว่าท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมืองในกลางเดือนกันยายนปีนั้น คณะทหารที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ได้ออกมาปฏิบัติการยึดอำนาจรัฐในเวลาห้าทุ่มของวันที่ 16 กันยายน
แต่เป็นการยึดอำนาจที่ล้มรัฐบาลและล้มสมาชิกรัฐสภา โดยไม่ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือรัฐธรรมนุญฉบับ พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 แม้รัฐธรรมนูญจะยังคงใช้อยู่โดยไม่ถูกฉีก ก็ยังมีเงื่อนไขว่า
“ให้สมาชิกภาพแห่งสภาผู้แทนราษฎรของสมาชิกประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 สิ้นสุดลงในวันประกาศพระบรมราชโองการนี้”
นายกรัฐมนตรีตอนนั้นคือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ไม่ได้ลาออก แต่ได้หนีออกนอกประเทศไปทางเขมรโดยผ่านจังหวดตราด
ประเทศไทยจึงต้องหานายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งก็ต้องเลือกเอาคนที่ต่างประเทศพอจะไว้อกไว้ใจ จะเอาทหารก็คงไม่ดี เพราะไม่มีสภาแล้ว
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงเตรียมหาตัวนายกรัฐมนตรี โดยในขั้นแรกก็ต้องจัดให้มีสภาเสียก่อน
ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2500 หลังการยึดอำนาจเพียง 2 วัน จึงได้แต่งตั้ง “สมาชิกประเภทที่ 2” จำนวน 121 คน ทำหน้าที่รัฐสภาไปก่อนที่จะมีการเลือกตั้งได้สมาชิกประเภทที่ 1 เข้ามาร่วม ถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2500 ก็มีบันทึกของประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ เขียนเอาไว้ว่า
“...ประธานสภาได้เชิญสมาชิกสภาไปประชุมเพื่อหารือ เป็นการภายใน เพื่อเลือกสรรผู้ที่สมควรจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ณ หอประชุมกองทัพบก ประธานสภาได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ผู้ที่ควรจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น เห็นว่าควรจะเป็น นายพจน์ สารสิน ซึ่งไม่มีสมาชิกเห็นเป็นอย่างอื่น”
ประธานสภาตอนนั้นคือ พลเอกสุทธิ์ สุทธิสารรณกร
การที่ประธานสภาเห็นควรว่า นายกรัฐมนตรีต้องเป็นนายพจน์ สารสิน ก็เพราะนายพจน์ สารสิน นั้นเป็นนักการทูตเก่าเคยเป็นทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกามาก่อน ทั้งในตอนนั้นยังเป็นเลขาธิการองค์การ สปอ. หรือซีโต้ ที่เป็นองค์กรความร่วมมือของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับมหาอำนาจ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ จึงถือว่าเป็นบุคคลที่ต่างประเทศจะรู้จักดี ขอเอามาเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 เสียหน่อย
การเลือกตั้งที่กำหนดว่าจะต้องมีขึ้นภายในเวลาเก้าสิบวันจึงเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2500 จึงเป็นว่าปี พ.ศ. 2500 มีการเลือกตั้งทั่วไปสองครั้ง คือตอนต้นปีกับปลายปี
แต่ก็เป็นการเลือกตั้งที่ผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งจะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ จึงมีผู้ลงสมัครโดยไม่ต้องไปสังกัดพรรคการเมืองให้ลำบากอยู่หลายราย และผู้สมัครที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองก็ชนะเลือกตั้งมาด้วย
พอเลือกตั้งเสร็จ นายพจน์ สารสิน นายกรัฐมนตรี ก็ขอกลับไปทำหน้าที่เป็นเลขาธิการองค์การ สปอ. ตามเดิม การเมืองนั้นก็ปล่อยให้ทหารกับนักการเมืองตกลงกันเอง และก็ได้พลโทถนอม กิตติขจร เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีตั้งรัฐบาลสืบมา
การยึดอำนาจวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นั้นมิใช่การยึดอำนาจครั้งสุดท้ายของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์