ผลต่างระหว่างรุ่นของ "1 ตุลาคม พ.ศ. 2491"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' | '''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร | ||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 เป็นวันที่มีเหตุการณ์ “กบฏ เสนาธิการ” หรือ “กบฏ 1 ตุลาคม” โดยมีเรื่องราวที่เล่าขานกันต่อมาดังนี้ | วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 เป็นวันที่มีเหตุการณ์ “กบฏ เสนาธิการ” หรือ “กบฏ 1 ตุลาคม” โดยมีเรื่องราวที่เล่าขานกันต่อมาดังนี้ | ||
กบฏครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ในเวลานั้น จอมพล ป.พิบูลสงคราม | กบฏครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ในเวลานั้น [[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] มี[[คณะรัฐประหาร]] ของ [[ผิน ชุณหะวัณ|พลโท ผิน ชุณหะวัณ]] กับ [[เผ่า ศรียานนท์|พล.ต.ต.เผ่า ศรียานนท์]] ผู้เป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ และ [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] เป็นผู้กุมกำลังทหารสนับสนุน | ||
คณะรัฐประหารนั้นไปยึดอำนาจล้ม[[รัฐบาล]] ล้ม[[รัฐธรรมนุญ]]มาก่อน พอมาเป็นฝ่ายรัฐบาลเข้า จึงมีผู้คนที่เป็นทหารคิดจะล้มล้างเข้าบ้างเหมือนกัน ดังในกรณีนี้ ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น[[กบฏ]]นั้น สว่าง ลานเหลือ นักหนังสือพิมพ์เก่าได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือ 37 ปีแห่งการปฏิวัติว่า | |||
“นายทหารที่ร่วมในการขบถครั้งนี้ พล.ต.สมบูรณ์ สรานุชิต พล.ต.เนตร เขมะโยธิน พ.อ. กิตติ ทัตตานนท์ พ.อ.สมบูรณ์ สุนทรเขต พ.ต.สามารถ วายะวานนท์ นายปราโมทย์ พึ่งสุนทร และบุคคลสำคัญอื่น ๆ อีกหลายคน” | “นายทหารที่ร่วมในการขบถครั้งนี้ [[สมบูรณ์ สรานุชิต|พล.ต.สมบูรณ์ สรานุชิต]] [[เนตร เขมะโยธิน|พล.ต.เนตร เขมะโยธิน]] [[กิตติ ทัตตานนท์|พ.อ. กิตติ ทัตตานนท์]] [[สมบูรณ์ สุนทรเขต|พ.อ.สมบูรณ์ สุนทรเขต]] [[สามารถ วายะวานนท์|พ.ต.สามารถ วายะวานนท์]] นายปราโมทย์ พึ่งสุนทร และบุคคลสำคัญอื่น ๆ อีกหลายคน” | ||
ดูตามรายชื่อผู้ที่ร่วมคิดในการยึดอำนาจล้มรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม และคณะรัฐประหารในครั้งนี้ ก็ดูจะเป็นนายทหารชั้นนำทั้งสิ้น สมัยนั้นยังมีนายพลน้อยมาก จึงเป็นเสนาธิการที่สำคัญ | ดูตามรายชื่อผู้ที่ร่วมคิดในการยึดอำนาจล้มรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม และคณะรัฐประหารในครั้งนี้ ก็ดูจะเป็นนายทหารชั้นนำทั้งสิ้น สมัยนั้นยังมีนายพลน้อยมาก จึงเป็นเสนาธิการที่สำคัญ | ||
บรรทัดที่ 19: | บรรทัดที่ 19: | ||
ตามแผนการที่จะยึดอำนาจก็ดูจะตื่นเต้นและมีความรุนแรง เพราะจะใช้กำลังทหารเข้าจู่โจมช่วงชิงอำนาจจากคณะรัฐประหาร โดยมุ่งเข้ากุมตัวหัวหน้าที่คุมกำลัง ในวันแต่งงานของบุคคลสำคัญของคณะรัฐประหาร ดังที่ สว่าง ลานเหลือ ได้เขียนเล่าเพิ่มเติมอีกว่า | ตามแผนการที่จะยึดอำนาจก็ดูจะตื่นเต้นและมีความรุนแรง เพราะจะใช้กำลังทหารเข้าจู่โจมช่วงชิงอำนาจจากคณะรัฐประหาร โดยมุ่งเข้ากุมตัวหัวหน้าที่คุมกำลัง ในวันแต่งงานของบุคคลสำคัญของคณะรัฐประหาร ดังที่ สว่าง ลานเหลือ ได้เขียนเล่าเพิ่มเติมอีกว่า | ||
“การที่ผู้ก่อการขบถ เริ่มลงมือในวันนั้นก็เพราะทราบว่าในเวลาประมาณ 20.00 น. | “การที่ผู้ก่อการขบถ เริ่มลงมือในวันนั้นก็เพราะทราบว่าในเวลาประมาณ 20.00 น. คณะรัฐประหารส่วนมากจะมาประชุมรวมกันอยู่ที่[[ทำเนียบรัฐบาล]] เพื่อเลี้ยงอาหารแสดงความยินดีเนื่องในงานพิธีสมรสของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ขณะนั้นยังเป็นพันเอก) และคู่สมรสของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็คือ ท่านผู้หญิงวิจิตรานั่นเอง” | ||
ดังนั้น วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 จึงน่าจะเป็นวันดีของ พ.อ.สฤษฏิ์ ธนะรัชต์ เจ้าบ่าว | ดังนั้น วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 จึงน่าจะเป็นวันดีของ พ.อ.สฤษฏิ์ ธนะรัชต์ เจ้าบ่าว และ[[วิจิตรา ชลทรัพย์ |นางสาว วิจิตรา ชลทรัพย์ ]]เจ้าสาว ซึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาล มากกว่าฝ่ายที่ต้องการยึดอำนาจข่าวเกี่ยวกับการคิดล้มล้างรัฐบาลจึงไปถึงหูฝ่ายรัฐบาล แต่จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่ปรากฏให้คนวงนอกเข้าใจได้ว่า แอบคิดกันอย่างนั้น ข่าวรั่วออกมาได้อย่างไร มีคนคาดคะเนว่าเป็นเรื่องของ “เกลือเป็นหนอน” พวกเดียวกันแอบเอาไปบอก เพราะทางรัฐบาลสามารถรู้วันเวลาและสถานที่ซึ่งฝ่ายกบฏได้ร่วมประชุมกันที่กระทรวงกลาโหม จึงได้นำกำลังเข้าไปล้อมและขอให้ทางฝ่ายกบฏยอมจำนนต่อทางรัฐบาล | ||
คนของฝ่ายรัฐบาลสำคัญ 2 คนที่เข้ามาจัดการในเรื่องนี้ก็คือ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ “เจ้าบ่าว” ที่นำกำลังทหารมาล้อมกระทรวงกลาโหมเอาไว้ ฝ่ายตำรวจก็คือ พล.ต.ต. เผ่า ศรียานนท์ รองอธิบดีกรมตำรวจ | คนของฝ่ายรัฐบาลสำคัญ 2 คนที่เข้ามาจัดการในเรื่องนี้ก็คือ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ “เจ้าบ่าว” ที่นำกำลังทหารมาล้อมกระทรวงกลาโหมเอาไว้ ฝ่ายตำรวจก็คือ พล.ต.ต. เผ่า ศรียานนท์ รองอธิบดีกรมตำรวจ | ||
บรรทัดที่ 28: | บรรทัดที่ 28: | ||
สว่าง ลานเหลือ สรุปเรื่องนี้ต่อมาว่า | สว่าง ลานเหลือ สรุปเรื่องนี้ต่อมาว่า | ||
“สรุปแล้ว ขบถ 1 ตุลาคม ได้ถูกจับกุมและส่งฟ้องศาลไป 21 ราย บุคคลสำคัญในสมัยรัฐบาล นายปรีดี | “สรุปแล้ว ขบถ 1 ตุลาคม ได้ถูกจับกุมและส่งฟ้องศาลไป 21 ราย บุคคลสำคัญในสมัยรัฐบาล [[ปรีดี พนมยงค์|นายปรีดี]] และ[[หลวงธำรงฯ]] หลายคนถูกจับ เช่น [[ดิเรก ชัยนาม|นายดิเรก ชัยนาม]] [[ทวี บุณยเกตุ|นายทวี บุณยเกตุ]] [[จำลอง ดาวเรือง|นายจำลอง ดาวเรือง]] [[นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์]] [[ถวิล อุดล|นายถวิล อุดล]] [[ดร.ทองเปลว ชลภูมิ]] ฯลฯ” | ||
เสนาธิการท่านหนึ่ง คือ พล.ต. เนตร เขมะโยธิน ที่บอกอยู่ในฝ่ายกบฏนั้น ต่อมาได้มาทำงานกับทาง จอมพล สฤษฏิ์ ธนะรัชต์ | เสนาธิการท่านหนึ่ง คือ พล.ต. เนตร เขมะโยธิน ที่บอกอยู่ในฝ่ายกบฏนั้น ต่อมาได้มาทำงานกับทาง จอมพล สฤษฏิ์ ธนะรัชต์ ดูเหมือนจะเคยไปดูแล[[หนังสือพิมพ์ สารเสรี]] ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของฝ่ายจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และต่อมา เมื่อจอมพล สฤษดิ์ | ||
ธนะรัชต์ ยึดอำนาจเองในปี พ.ศ. 2501 และเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี พล.ต.เนตร เขมะโยธิน ก็ได้มาร่วมทำงานเป็นเลขาธิการทำเนียบนายกรัฐมนตรีเป็นคนใกล้ชิดคนหนึ่งของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ธนะรัชต์ ยึดอำนาจเองในปี พ.ศ. 2501 และเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี พล.ต.เนตร เขมะโยธิน ก็ได้มาร่วมทำงานเป็นเลขาธิการทำเนียบนายกรัฐมนตรีเป็นคนใกล้ชิดคนหนึ่งของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ||
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:13, 15 ตุลาคม 2557
ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 เป็นวันที่มีเหตุการณ์ “กบฏ เสนาธิการ” หรือ “กบฏ 1 ตุลาคม” โดยมีเรื่องราวที่เล่าขานกันต่อมาดังนี้
กบฏครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ในเวลานั้น จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีคณะรัฐประหาร ของ พลโท ผิน ชุณหะวัณ กับ พล.ต.ต.เผ่า ศรียานนท์ ผู้เป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ และ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้กุมกำลังทหารสนับสนุน
คณะรัฐประหารนั้นไปยึดอำนาจล้มรัฐบาล ล้มรัฐธรรมนุญมาก่อน พอมาเป็นฝ่ายรัฐบาลเข้า จึงมีผู้คนที่เป็นทหารคิดจะล้มล้างเข้าบ้างเหมือนกัน ดังในกรณีนี้ ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏนั้น สว่าง ลานเหลือ นักหนังสือพิมพ์เก่าได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือ 37 ปีแห่งการปฏิวัติว่า
“นายทหารที่ร่วมในการขบถครั้งนี้ พล.ต.สมบูรณ์ สรานุชิต พล.ต.เนตร เขมะโยธิน พ.อ. กิตติ ทัตตานนท์ พ.อ.สมบูรณ์ สุนทรเขต พ.ต.สามารถ วายะวานนท์ นายปราโมทย์ พึ่งสุนทร และบุคคลสำคัญอื่น ๆ อีกหลายคน”
ดูตามรายชื่อผู้ที่ร่วมคิดในการยึดอำนาจล้มรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม และคณะรัฐประหารในครั้งนี้ ก็ดูจะเป็นนายทหารชั้นนำทั้งสิ้น สมัยนั้นยังมีนายพลน้อยมาก จึงเป็นเสนาธิการที่สำคัญ
ตามแผนการที่จะยึดอำนาจก็ดูจะตื่นเต้นและมีความรุนแรง เพราะจะใช้กำลังทหารเข้าจู่โจมช่วงชิงอำนาจจากคณะรัฐประหาร โดยมุ่งเข้ากุมตัวหัวหน้าที่คุมกำลัง ในวันแต่งงานของบุคคลสำคัญของคณะรัฐประหาร ดังที่ สว่าง ลานเหลือ ได้เขียนเล่าเพิ่มเติมอีกว่า
“การที่ผู้ก่อการขบถ เริ่มลงมือในวันนั้นก็เพราะทราบว่าในเวลาประมาณ 20.00 น. คณะรัฐประหารส่วนมากจะมาประชุมรวมกันอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเลี้ยงอาหารแสดงความยินดีเนื่องในงานพิธีสมรสของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ขณะนั้นยังเป็นพันเอก) และคู่สมรสของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็คือ ท่านผู้หญิงวิจิตรานั่นเอง”
ดังนั้น วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 จึงน่าจะเป็นวันดีของ พ.อ.สฤษฏิ์ ธนะรัชต์ เจ้าบ่าว และนางสาว วิจิตรา ชลทรัพย์ เจ้าสาว ซึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาล มากกว่าฝ่ายที่ต้องการยึดอำนาจข่าวเกี่ยวกับการคิดล้มล้างรัฐบาลจึงไปถึงหูฝ่ายรัฐบาล แต่จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่ปรากฏให้คนวงนอกเข้าใจได้ว่า แอบคิดกันอย่างนั้น ข่าวรั่วออกมาได้อย่างไร มีคนคาดคะเนว่าเป็นเรื่องของ “เกลือเป็นหนอน” พวกเดียวกันแอบเอาไปบอก เพราะทางรัฐบาลสามารถรู้วันเวลาและสถานที่ซึ่งฝ่ายกบฏได้ร่วมประชุมกันที่กระทรวงกลาโหม จึงได้นำกำลังเข้าไปล้อมและขอให้ทางฝ่ายกบฏยอมจำนนต่อทางรัฐบาล
คนของฝ่ายรัฐบาลสำคัญ 2 คนที่เข้ามาจัดการในเรื่องนี้ก็คือ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ “เจ้าบ่าว” ที่นำกำลังทหารมาล้อมกระทรวงกลาโหมเอาไว้ ฝ่ายตำรวจก็คือ พล.ต.ต. เผ่า ศรียานนท์ รองอธิบดีกรมตำรวจ
นึกถึงภาพกระทรวงกลาโหมเองก็แล้วกัน ดูใหญ่โตเป็นตึกที่แข็งแรง แต่ใช้กำลังล้อมจากข้างนอกไม่ยากเลย เขาเล่ากันว่าตอนแรกฝ่ายกบฏยังได้ยิงสู้ออกมา แต่ตกอยู่ในที่ล้อม เสียเปรียบ ถึงตอนนั้นคนข้างนอกที่จะร่วมด้วยถ้าไม่เปลี่ยนใจ ก็หนีหน้ากันไปแล้ว จึงได้มีการเจรจากันโดยฝ่ายกบฏยอมมอบตัว แต่ขอคำมั่นว่าจะไม่ถูกยิงทิ้ง และเขาก็เล่ากันอีกว่า ผู้ที่ให้คำมั่นว่าจะไม่มีการยิงทิ้งเด็ดขาด คือ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั่นเอง จึงทำให้ฝ่ายกบฏเชื่อ สว่าง ลานเหลือ สรุปเรื่องนี้ต่อมาว่า
“สรุปแล้ว ขบถ 1 ตุลาคม ได้ถูกจับกุมและส่งฟ้องศาลไป 21 ราย บุคคลสำคัญในสมัยรัฐบาล นายปรีดี และหลวงธำรงฯ หลายคนถูกจับ เช่น นายดิเรก ชัยนาม นายทวี บุณยเกตุ นายจำลอง ดาวเรือง นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อุดล ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ฯลฯ”
เสนาธิการท่านหนึ่ง คือ พล.ต. เนตร เขมะโยธิน ที่บอกอยู่ในฝ่ายกบฏนั้น ต่อมาได้มาทำงานกับทาง จอมพล สฤษฏิ์ ธนะรัชต์ ดูเหมือนจะเคยไปดูแลหนังสือพิมพ์ สารเสรี ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของฝ่ายจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และต่อมา เมื่อจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจเองในปี พ.ศ. 2501 และเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี พล.ต.เนตร เขมะโยธิน ก็ได้มาร่วมทำงานเป็นเลขาธิการทำเนียบนายกรัฐมนตรีเป็นคนใกล้ชิดคนหนึ่งของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
กบฏเสนาธิการเป็นเพียงกบฏหนึ่งหรือความพยายามหนึ่งในหลายครั้งที่จะมีต่อมาจนถึง พ.ศ. 2494 ที่จะล้มรัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม และคณะรัฐประหาร เพราะเห็นว่าคณะรัฐประหารใช้กำลังเข้าล้ม ก็คิดใช้กำลังเข้าล้มบ้าง แบบหนามยอกเอาหนามบ่งนั่นเอง หากดูโดยกว้างก็จะมองเห็นได้ และท้ายที่สุดจอมพล ป.พิบูลสงคราม เอง เป็นนายกรัฐมนตรีมาจนถึงวาระสุดท้าย ก็ถูกล้มโดยการยึดอำนาจอีกเช่นกัน และเป็นการถูกล้มโดยคนของคณะรัฐประหาร ลูกน้องเก่าที่ชื่อ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั่นเอง