ผลต่างระหว่างรุ่นของ "26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
---- | ---- | ||
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เป็นวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 6 ของประเทศ | วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เป็นวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 6 ของประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากการยึดอำนาจล้ม[[รัฐธรรมนูญ]] ล้มรัฐบาลและล้ม[[สภาผู้แทนราษฎร]] และ[[วุฒิสภา]] เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ทำให้[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ทั้งหมด[[พ้นสมาชิกภาพ]] ต่อมามีการประกาศจัดตั้งรัฐบาลและมี[[รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495]] ออกมาในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 จึงได้นำมาสู่[[การเลือกตั้ง]]ครั้งนี้ ทั้งนี้ถือจำนวน[[ผู้แทนราษฎร]]หนึ่งคนต่อประชากร 150,000 คน ตาม[[กฎหมายเลือกตั้ง พ.ศ. 2494]] | ||
การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แต่เป็นแบบรวมเขต | การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แต่เป็นแบบรวมเขต เขตจังหวัดเป็น[[เขตเลือกตั้ง]] จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นมีจำนวนรวมทั้งหมด 123 คน ทั้งนี้เพราะมีประชากรเพิ่มขึ้นนั่นเอง ในการเลือกตั้งนั้นผู้สมัครได้ลงสมัครเข้ารับเลือกตั้งโดยไม่มีพรรคการเมืองให้สังกัด แต่มีการรวมเป็นกลุ่ม [[ประชาธิปัตย์|พรรคประชาธิปัตย์]]ซึ่งเป็นพรรคเก่าที่เคยมีบทบาทเป็นทั้ง[[พรรครัฐบาล]]และ[[พรรคฝ่ายค้าน]]ได้ทำการประท้วงทางการเมือง โดยการประกาศไม่ส่งสมาชิกของพรรคเข้าลงสมัครรับเลือกตั้ง หากจะมีก็เป็นเรื่องส่วนตัวไม่ได้ลงสมัครในนามพรรค | ||
การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 7,602,591 คน | การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 7,602,591 คน แต่มี[[ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง]]ค่อนข้างน้อยเพียงร้อยละ 38.76 นับเป็นจำนวนคนได้ 2,961,291 คน ทั้งนี้ผู้คนทราบดีว่าผลการเลือกตั้งไม่ได้เป็นตัวกำหนด[[รัฐบาล]] เพราะรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ได้ทำให้มีสมาชิกสภาผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งอยู่กึ่งหนึ่ง | ||
หลังการเลือกตั้งครั้งนี้ จอมพล ป.พิบูลสงคราม | หลังการเลือกตั้งครั้งนี้ [[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] ก็กลับมาเป็น[[นายกรัฐมนตรี]]จัดตั้ง[[รัฐบาล]]อีกครั้งและรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็สามารถบริหารประเทศได้ยาวนานจนครบวาระของสภาผู้แทนราษฎรและมี[[การเลือกตั้งทั่วไป]]ครั้งใหม่ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 | ||
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]] | [[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:02, 15 ตุลาคม 2557
ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เป็นวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 6 ของประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากการยึดอำนาจล้มรัฐธรรมนูญ ล้มรัฐบาลและล้มสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดพ้นสมาชิกภาพ ต่อมามีการประกาศจัดตั้งรัฐบาลและมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ออกมาในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 จึงได้นำมาสู่การเลือกตั้งครั้งนี้ ทั้งนี้ถือจำนวนผู้แทนราษฎรหนึ่งคนต่อประชากร 150,000 คน ตามกฎหมายเลือกตั้ง พ.ศ. 2494
การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แต่เป็นแบบรวมเขต เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นมีจำนวนรวมทั้งหมด 123 คน ทั้งนี้เพราะมีประชากรเพิ่มขึ้นนั่นเอง ในการเลือกตั้งนั้นผู้สมัครได้ลงสมัครเข้ารับเลือกตั้งโดยไม่มีพรรคการเมืองให้สังกัด แต่มีการรวมเป็นกลุ่ม พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคเก่าที่เคยมีบทบาทเป็นทั้งพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านได้ทำการประท้วงทางการเมือง โดยการประกาศไม่ส่งสมาชิกของพรรคเข้าลงสมัครรับเลือกตั้ง หากจะมีก็เป็นเรื่องส่วนตัวไม่ได้ลงสมัครในนามพรรค
การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 7,602,591 คน แต่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งค่อนข้างน้อยเพียงร้อยละ 38.76 นับเป็นจำนวนคนได้ 2,961,291 คน ทั้งนี้ผู้คนทราบดีว่าผลการเลือกตั้งไม่ได้เป็นตัวกำหนดรัฐบาล เพราะรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ได้ทำให้มีสมาชิกสภาผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งอยู่กึ่งหนึ่ง
หลังการเลือกตั้งครั้งนี้ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้งและรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็สามารถบริหารประเทศได้ยาวนานจนครบวาระของสภาผู้แทนราษฎรและมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500