ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสร้างความปรองดองแห่งชาติ: กรณีศึกษาไอร์แลนด์เหนือ สหราชอาณาจักร (ตอนที่ 1)"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''การสร้างความปรองดองแห่งชาติ: กรณีศึกษาไอร์แลนด...' |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
เรียบเรียงโดย : นายเมธัส อนุวัตรอุดม | เรียบเรียงโดย : นายเมธัส อนุวัตรอุดม | ||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 6: | ||
'''บทนำ''' | '''บทนำ''' | ||
[[ความขัดแย้ง]]ในไอร์แลนด์เหนือ สหราชอาณาจักรถือเป็นกรณีความขัดแย้ง[[รุนแรง]]ซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในชื่อ “[[The Troubles]]” (วุ่นวาย) ในฐานะที่เป็นความขัดแย้งที่ยืดเยื้อที่สุดและเป็นกรณีตัวอย่างของ[[กระบวนการสันติภาพ]]ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ (Shirlow and McEvoy, 2008) ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นมามานานนับศตวรรษพร้อมกับสถานการณ์ความรุนแรงที่ขึ้นลงเป็นระยะ แต่ความรุนแรงต่อเนื่องครั้งใหญ่ได้ปะทุขึ้นเมื่อปี 2511 ระหว่างฝ่ายไอริชคาทอลิกซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในพื้นที่ที่ต้องการแยกไอร์แลนด์เหนือออกจากสหราชอาณาจักรเพื่อไปรวมกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ กับฝ่ายอังกฤษโปรเตสแตนท์ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ที่ต้องการจะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรต่อไป ความรุนแรงครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3,636 คน (Dixon, 2008) ซึ่งเฉลี่ยแล้วมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2 คนต่อสัปดาห์จากความขัดแย้งต่อเนื่องมาเป็นเวลา 30 ปี บาดเจ็บอีกกว่า 30,000 คน (Moloney, 2007) โดยที่มีการประเมินกันว่าจากจำนวนประชากรเกือบ 1,700,000 คน มี 1 ใน 7 คนที่มีประสบการณ์ตรงกับความรุนแรง มี 1 ใน 5 คนที่มีครอบครัวหรือญาติสนิทบาดเจ็บหรือเสียชีวิต และมากกว่าครึ่งรู้จักกับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเป็นการส่วนตัว (Hayes and McAllister, 2001 อ้างถึงใน Dixon, 2008) ซึ่งสุดท้ายทั้งสองฝ่ายก็ได้บรรลุข้อตกลงระหว่างกันในปี 2541 โดยที่ยังคงร่วมมือกันทำงานเพื่อสร้าง[[สันติสุข]]ที่ยั่งยืนในสังคมจนกระทั่งถึงปัจจุบัน | |||
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษากระบวนการสร้าง[[ความปรองดอง]]ในไอร์แลนด์เหนือโดยจะวิเคราะห์ว่า 1) เพราะเหตุใดทั้งสองฝ่ายจึงสามารถบรรลุข้อตกลงสันติภาพได้ในปี 2541 หลังจากที่เคยประสบความล้มเหลวมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 2517 และ 2) เพราะเหตุใดทั้งสองฝ่ายจึงสามารถป้องกันมิให้ความรุนแรงหวนกลับคืนมาอีก ทั้งนี้ เพื่อสรุปบทเรียนให้เห็นถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างความปรองดองของไอร์แลนด์เหนือต่อไป | |||
ผู้เขียนได้แบ่งบทความนี้ออกเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย | ผู้เขียนได้แบ่งบทความนี้ออกเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 18: | ||
3) กรอบคิดในการสร้างความปรองดองแห่งชาติ | 3) กรอบคิดในการสร้างความปรองดองแห่งชาติ | ||
4) | 4) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการ[[สร้างความปรองดองแห่งชาติ]] | ||
5) บทสรุป | 5) บทสรุป | ||
'''1. ภาพรวมของสถานการณ์ความขัดแย้ง''' | '''1. ภาพรวมของสถานการณ์ความขัดแย้ง''' | ||
[[ไฟล์:1.jpg]] | |||
'''1.1 สภาพบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมวัฒนธรรม''' | '''1.1 สภาพบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมวัฒนธรรม''' | ||
บรรทัดที่ 30: | บรรทัดที่ 31: | ||
'''อิทธิพลอาณานิคม''' | '''อิทธิพลอาณานิคม''' | ||
ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์และอยู่ทางฝั่งตะวันตกของอังกฤษ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ชาวอังกฤษและสก็อตแลนด์ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์จำนวนมากเริ่มที่จะเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์นี้ตามนโยบาย | ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์และอยู่ทางฝั่งตะวันตกของอังกฤษ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ชาวอังกฤษและสก็อตแลนด์ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์จำนวนมากเริ่มที่จะเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์นี้ตามนโยบาย “[[การสร้างนิคมแห่งอัลสเตอร์]]” (Plantation of Ulster) ซึ่งมีประชากรดั้งเดิมเป็นชาวไอริชที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ทำให้ชุมชนเดิมในพื้นที่รู้สึกว่าตนเองถูกขโมยดินแดนไป ตั้งแต่นั้นมาการต่อต้านที่จะมีอิสระใน[[การปกครองตนเอง]]จากจักรวรรดิอังกฤษโดยชาวไอริชก็เริ่มทวีความเข้มข้นมากขึ้น จนกระทั่งในปี 2464 อังกฤษและไอร์แลนด์ได้มีการลงนามใน[[สนธิสัญญาการปกครองไอร์แลนด์]] (Government of Ireland) ที่ยินยอมให้ 26 แคว้นบนเกาะไอร์แลนด์แยกตัวเป็นรัฐอิสระไอร์แลนด์ ในขณะที่อีก 6 แคว้นทางตอนเหนือของเกาะจะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรต่อไป แม้จะได้รับอนุญาตให้มีสภาเป็นของตนเองก็ตาม การแบ่งประเทศครั้งนี้ทำให้ไอร์แลนด์เหนือซึ่งมีประชากรที่เป็นโปรเตสแตนท์ประมาณร้อยละ 60 และอีกร้อยละ 40 เป็นคาทอลิก กลายเป็นพื้นที่แห่งความขัดแย้งรุนแรงระหว่างกลุ่มคนอังกฤษโปรเตสแตนท์ ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษต่อไป กับกลุ่มคนไอริชคาทอลิกที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระออกจากอังกฤษเพื่อผนวกเข้ากับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Moloney, 2007) | ||
'''การเบ่งบานของกระแสการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน''' | '''การเบ่งบานของกระแสการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน''' | ||
กลุ่มคนอังกฤษโปรเตสแตนท์ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในไอร์แลนด์เหนือกุมอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมมาเกือบห้าสิบปี จนกระทั่งในปี 2511 | กลุ่มคนอังกฤษโปรเตสแตนท์ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในไอร์แลนด์เหนือกุมอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมมาเกือบห้าสิบปี จนกระทั่งในปี 2511 ได้เกิดการ[[ประท้วง]]เดินขบวนเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้อง[[ความเท่าเทียมทางสังคม]] โดยมีสาเหตุมาจากการที่ชาวคาทอลิกรู้สึกว่ากลุ่มของตนไม่ได้รับ[[ความเป็นธรรม]]จากการจัดสรรที่อยู่อาศัย เหตุการณ์ที่เป็นชนวนนำไปสู่การประท้วงในเดือนสิงหาคมคือ กรณีที่หญิงโสดวัย 19 ปีชาวโปรเตสแตนท์ได้รับการจัดสรรที่อยู่อาศัยให้แทนที่จะเป็นครอบครัวคาทอลิกครอบครัวหนึ่ง ภายใต้กระแสการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิ[[พลเมือง]]ที่ได้ขยายตัวไปในหลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา การเดินขบวนประท้วงเพื่อเรียกร้องให้คณะผู้บริหารท้องถิ่นของไอร์แลนด์เหนือปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่เป็นธรรมก็ได้เกิดขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง แต่ทางฝ่ายโปรเตสแตนท์ส่วนหนึ่งมองว่าการประท้วงดังกล่าวเป็นเพียงฉากบังหน้า หากแต่เจตนาที่แท้จริงคือผลทางการเมืองที่ต้องการจะแยกไอร์แลนด์เหนือออกจากสหราชอาณาจักร ซึ่งการประท้วงในลักษณะนี้ได้ถูกประกาศให้เป็นการกระทำที่ผิด[[กฎหมาย]]และได้ถูกตอบโต้ด้วยความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ตำรวจของไอร์แลนด์เหนือ (Dixon, 2008) | ||
ในวันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม 2515 ชาวไอริชคาทอลิกจำนวนหนึ่งได้ชุมนุมกันเพื่อประท้วงการควบคุมโดยมิชอบที่ผ่านมาของรัฐบาล แต่ทหารอังกฤษได้เปิดฉากยิงเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงในเมือง Derry ทำให้มีผู้เสียชีวิต 13 คนซึ่งเป็นชาวคาทอลิกทั้งหมด เหตุการณ์ | ในวันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม 2515 ชาวไอริชคาทอลิกจำนวนหนึ่งได้ชุมนุมกันเพื่อประท้วงการควบคุมโดยมิชอบที่ผ่านมาของรัฐบาล แต่ทหารอังกฤษได้เปิดฉากยิงเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงในเมือง Derry ทำให้มีผู้เสียชีวิต 13 คนซึ่งเป็นชาวคาทอลิกทั้งหมด เหตุการณ์ “[[อาทิตย์เลือด]]” (Bloody Sunday) ครั้งนี้ทำให้มวลชนต่างหันมาสนับสนุน IRA เป็นจำนวนมาก และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนไอริชคาทอลิกกับรัฐบาลอังกฤษเสื่อมถอยลงเป็นอย่างมาก (Jimmy Spratt, สัมภาษณ์, 16 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) ทั้งที่เดิมก่อนหน้านี้ IRA ถือเป็นองค์กรปิดและจะถ่ายทอดอุดมการณ์การต่อสู้จากพ่อแม่สู่ลูกภายในครอบครัวเท่านั้น (Moloney, 2007) | ||
''' การทหารคู่การเมือง''' | ''' การทหารคู่การเมือง''' | ||
ความขัดแย้งรุนแรงได้ขยายตัวมากขึ้นจนทำท่าว่าจะลุกลามบานปลายมากขึ้น | ความขัดแย้งรุนแรงได้ขยายตัวมากขึ้นจนทำท่าว่าจะลุกลามบานปลายมากขึ้น รัฐบาลอังกฤษจึงได้ใช้อำนาจส่วนกลางตามกฎหมายเข้าควบคุม[[การบริหารงานท้องถิ่น]]ของไอร์แลนด์เหนือโดยตรง (Direct Rule) ซึ่งเป็นการยับยั้งอำนาจการบริหารของ[[สภาท้องถิ่น]]ไอร์แลนด์เหนือชั่วคราวด้วยเหตุผลจากสถานการณ์ฉุกเฉินทางการเมืองพร้อมการส่งกองกำลังทหารจำนวนมากเข้าควบคุมสถานการณ์ โดยระหว่างนั้น รัฐบาลก็ได้พยายามเสนอทางออกโดยให้ทั้งสองฝ่ายได้แบ่งอำนาจ (Power Sharing) ในการบริหารปกครองไอร์แลนด์เหนือร่วมกัน แต่ก็ถูกต่อต้านอย่างหนักจากกลุ่มที่มีความคิดแข็งกร้าวจากทั้งสองฝ่ายซึ่งไม่ยอมประนีประนอม (Hardliner) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝั่ง Unionist ในปี 2517 จนกระทั่งไม่สามารถผลักดันต่อไปได้ (Dixon, 2008) | ||
การปะทะต่อสู้ทางการทหารและการกดดันด้วยวิธีต่างๆจึงดำเนินต่อไปควบคู่กับความพยายามในการแก้ไขปัญหาด้วยวิถีทางทางการเมืองของรัฐบาลอังกฤษ ในช่วงปี 2523-4 | การปะทะต่อสู้ทางการทหารและการกดดันด้วยวิธีต่างๆจึงดำเนินต่อไปควบคู่กับความพยายามในการแก้ไขปัญหาด้วยวิถีทางทางการเมืองของรัฐบาลอังกฤษ ในช่วงปี 2523-4 ได้เกิดเหตุการณ์นักโทษการเมืองอดอาหารประท้วง[[รัฐบาล]] (Hunger Strike) โดยนักโทษเหล่านี้ต้องการให้รัฐบาลอังกฤษปฏิบัติต่อพวกเขาในฐานะ[[นักโทษการเมือง]] มิใช่ผู้ต้องขังคดีอาชญากรรมทั่วไปดังที่เป็นอยู่ ณ เวลานั้น แต่รัฐบาลอังกฤษได้ปฏิเสธที่จะทำตามข้อเรียกร้อง การประท้วงจึงดำเนินต่อไปและส่งผลให้ Republican 10 คนต้องเสียชีวิตเนื่องจากการ[[อดอาหารประท้วง]]ในครั้งนั้น ซึ่งทำให้สถานการณ์ความรุนแรงยังคงดำเนินต่อไป (Beresford, 1994) | ||
''' การเปิดพื้นที่ทางการเมือง''' | ''' การเปิดพื้นที่ทางการเมือง''' | ||
ในช่วงกลางของความขัดแย้ง รัฐบาลอังกฤษได้เปิดพื้นที่ทางการเมืองมากขึ้นโดยพยายามสร้างบรรยากาศทางการเมืองที่เอื้อต่อการหาทางออกร่วมกัน ดังเช่น ในปี 2528 ได้เกิดข้อตกลงสำคัญฉบับหนึ่งคือ Anglo-Irish Agreement ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาลอังกฤษและไอร์แลนด์ | ในช่วงกลางของความขัดแย้ง รัฐบาลอังกฤษได้เปิดพื้นที่ทางการเมืองมากขึ้นโดยพยายามสร้างบรรยากาศทางการเมืองที่เอื้อต่อการหาทางออกร่วมกัน ดังเช่น ในปี 2528 ได้เกิดข้อตกลงสำคัญฉบับหนึ่งคือ Anglo-Irish Agreement ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาลอังกฤษและไอร์แลนด์ ซึ่งมีผลทำให้ไอร์แลนด์สามารถเข้ามามีส่วนในการเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาทางการเมืองในไอร์แลนด์เหนือได้[[โดยชอบธรรม]] แม้ว่าจะถูกต่อต้านจากฝ่าย Unionist แต่ข้อตกลงนี้ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบางส่วนทางแนวคิดและแนวทางในการต่อสู้ของกลุ่ม Republican อันนำไปสู่การติดต่อกับรัฐบาลอังกฤษในทางลับระหว่างปี 2533-2536 ก่อนที่ทาง IRA จะประกาศหยุดยิงในปีถัดไป ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพบริบทระหว่างประเทศครั้งใหญ่คือการสิ้นสุดของสงครามเย็นในปี 2532 ซึ่งส่งผลให้อังกฤษประกาศว่าตนไม่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือทางยุทธศาสตร์ใดๆเป็นพิเศษในไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งทำให้ฝ่าย Nationalist เริ่มมองเห็นความเป็นไปได้ในการหาทางออกทางการเมืองที่ยอมรับร่วมกันได้มากขึ้น อันเป็นการปูทางไปสู่การเกิดข้อตกลงสันติภาพระหว่างสองฝ่ายในที่สุดเมื่อปี 2541 ซึ่งเรียกว่า Good Friday Agreement หรือ Belfast Agreement (Dixon, 2008) | ||
'''1.2 คู่ขัดแย้งและผู้เกี่ยวข้องหลัก''' | '''1.2 คู่ขัดแย้งและผู้เกี่ยวข้องหลัก''' | ||
ความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือเป็นความขัดแย้งระหว่างฝ่ายแรกคือกลุ่ม Unionist ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ประมาณร้อยละ 60 โดยมองว่าตัวเองคือคนอังกฤษโปรเตสแตนท์และต้องการที่จะเป็นหนึ่งเดียว (Union) กับ สหราชอาณาจักรต่อไป กับกลุ่ม Nationalist ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในพื้นที่ประมาณร้อยละ 40 และเป็นคนไอริชคาทอลิก โดยต้องการที่จะให้ไอร์แลนด์เหนือแยกตัวเป็นอิสระจากสหราชอาณาจักรเพื่อไปรวมตัวกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ทั้งนี้ | ความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือเป็นความขัดแย้งระหว่างฝ่ายแรกคือกลุ่ม Unionist ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ประมาณร้อยละ 60 โดยมองว่าตัวเองคือคนอังกฤษโปรเตสแตนท์และต้องการที่จะเป็นหนึ่งเดียว (Union) กับ สหราชอาณาจักรต่อไป กับกลุ่ม Nationalist ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในพื้นที่ประมาณร้อยละ 40 และเป็นคนไอริชคาทอลิก โดยต้องการที่จะให้ไอร์แลนด์เหนือแยกตัวเป็นอิสระจากสหราชอาณาจักรเพื่อไปรวมตัวกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ทั้งนี้ รัฐบาลอังกฤษได้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีสองบทบาทคือในฐานะรัฐบาลที่ต้อง[[ไกล่เกลี่ย]]ระหว่างทั้งสองฝ่ายและอีกในฐานะหนึ่งที่ถูกมองว่าเป็น[[คู่ขัดแย้ง]]กับฝ่ายไอริชคาทอลิกเนื่องจากมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกัน ในส่วนของรัฐบาลไอร์แลนด์ก็จะถูกมองว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนฝ่ายไอริชคาทอลิก (Dixon, 2008) | ||
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่ม Loyalist ซึ่งมีอุดมการณ์เดียวกับ Unionist แต่เป็นกลุ่มที่ใช้วิธีการรุนแรงเป็นเครื่องมือ และกลุ่ม Republican ซึ่งมีอุดมการณ์เดียวกับ Nationalist แต่ใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือเช่นเดียวกับ Loyalist กล่าวคือในขณะที่กลุ่ม Unionist และ Nationalist ใช้แนวทางการเมืองในการต่อสู้ ก็ได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่ม Loyalist และ Republican ซึ่งในแนวทางการทหารด้วยตามลำดับ (Ian White, สัมภาษณ์, 27 กุมภาพันธ์ 2554, วิคโลว์) โดยทั่วไปแล้ว คำว่า Nationalist จึงใช้เรียกกลุ่มคนที่ต้องการแยกไอร์แลนด์เหนือไปรวมกับประเทศไอร์แลนด์แต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง ในขณะที่ Republican ก็คือกลุ่มคนที่มีเป้าหมายเดียวกันแต่พร้อมที่จะใช้ความรุนแรงในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เช่นเดียวกันในส่วนของคำว่า Unionist จะใช้เรียกกลุ่มคนที่ต้องการให้ไอร์แลนด์คงเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอังกฤษต่อไป แต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง ในขณะที่ Loyalist นั้นก็มีเป้าหมายเดียวกันกับ Unionist แต่ไม่ปฏิเสธที่จะใช้ความรุนแรงเพื่อปกป้องเป้าหมายนั้น (Shirlow and McEvoy, 2008) | นอกจากนี้ ยังมีกลุ่ม Loyalist ซึ่งมีอุดมการณ์เดียวกับ Unionist แต่เป็นกลุ่มที่ใช้วิธีการรุนแรงเป็นเครื่องมือ และกลุ่ม Republican ซึ่งมีอุดมการณ์เดียวกับ Nationalist แต่ใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือเช่นเดียวกับ Loyalist กล่าวคือในขณะที่กลุ่ม Unionist และ Nationalist ใช้แนวทางการเมืองในการต่อสู้ ก็ได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่ม Loyalist และ Republican ซึ่งในแนวทางการทหารด้วยตามลำดับ (Ian White, สัมภาษณ์, 27 กุมภาพันธ์ 2554, วิคโลว์) โดยทั่วไปแล้ว คำว่า Nationalist จึงใช้เรียกกลุ่มคนที่ต้องการแยกไอร์แลนด์เหนือไปรวมกับประเทศไอร์แลนด์แต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง ในขณะที่ Republican ก็คือกลุ่มคนที่มีเป้าหมายเดียวกันแต่พร้อมที่จะใช้ความรุนแรงในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เช่นเดียวกันในส่วนของคำว่า Unionist จะใช้เรียกกลุ่มคนที่ต้องการให้ไอร์แลนด์คงเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอังกฤษต่อไป แต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง ในขณะที่ Loyalist นั้นก็มีเป้าหมายเดียวกันกับ Unionist แต่ไม่ปฏิเสธที่จะใช้ความรุนแรงเพื่อปกป้องเป้าหมายนั้น (Shirlow and McEvoy, 2008) | ||
กลุ่ม Unionist นั้น | กลุ่ม Unionist นั้น มี[[พรรคการเมือง]]หลัก คือพรรค DUP (Democratic Unionist Party) ซึ่งเป็นพรรคที่มีแนวคิดสุดขั้ว และพรรค UUP (Ulster Unionist Party) ที่มีแนวคิดค่อนข้างที่จะ[[ประนีประนอม]] ในขณะที่กลุ่ม Loyalist นั้นมีกลุ่มกองกำลังติดอาวุธหลัก คือ กลุ่ม Ulster Defense Association (UDA) ที่ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นแรงงานซึ่งมีการทำงานเชื่อมโยงกับพรรค UDP (Ulster Democratic Party) และกลุ่ม Ulster Volunteer Force (UVF) ซึ่งมีขนาดเล็กแต่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงกว่า UDA และได้รับการฝึกอาวุธจากอดีตทหารอังกฤษ (Taylor, 2000) | ||
ส่วนกลุ่ม Nationalist นั้น มีพรรคการเมืองหลัก คือ พรรคชินเฟน (Sinn Fein, SF) ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีแนวคิดสุดขั้ว และพรรค SDLP (Social Democratic and Labour Party) ซึ่งมีแนวคิดประนีประนอมสายกลาง ในขณะที่กลุ่ม Republican ก็มีกองกำลังติดอาวุธหลักๆ คือ กลุ่ม Irish Republican Army (IRA) ซึ่งทำงานเชื่อมโยงกับพรรค SF โดยต่อมาก็มีแตกย่อยออกไปเนื่องจากไม่เห็นด้วยข้อตกลงสันติภาพ เช่น กลุ่ม Real IRA (RIRA) แต่ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากมวลชนแต่อย่างใด (Alex Maskey, สัมภาษณ์ 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าสมาชิกกลุ่มกองกำลังทั้งสองฝ่ายส่วนใหญ่จะมาจากชนชั้นแรงงานที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความไม่ธรรมในสังคม (Dixon, 2008) | ส่วนกลุ่ม Nationalist นั้น มีพรรคการเมืองหลัก คือ พรรคชินเฟน (Sinn Fein, SF) ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีแนวคิดสุดขั้ว และพรรค SDLP (Social Democratic and Labour Party) ซึ่งมีแนวคิดประนีประนอมสายกลาง ในขณะที่กลุ่ม Republican ก็มีกองกำลังติดอาวุธหลักๆ คือ กลุ่ม Irish Republican Army (IRA) ซึ่งทำงานเชื่อมโยงกับพรรค SF โดยต่อมาก็มีแตกย่อยออกไปเนื่องจากไม่เห็นด้วยข้อตกลงสันติภาพ เช่น กลุ่ม Real IRA (RIRA) แต่ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากมวลชนแต่อย่างใด (Alex Maskey, สัมภาษณ์ 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าสมาชิกกลุ่มกองกำลังทั้งสองฝ่ายส่วนใหญ่จะมาจากชนชั้นแรงงานที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความไม่ธรรมในสังคม (Dixon, 2008) | ||
บรรทัดที่ 62: | บรรทัดที่ 63: | ||
ผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆนั้น นอกจากจะมีพรรคการเมืองที่เดินสายกลางโดยไม่นิยามว่าตนเองเป็น Unionist หรือ Nationalist คือ พรรค Alliance Party (APNI) ซึ่งมีจุดยืนมาตั้งแต่ต้นว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆในเชิงโครงสร้างและกฎหมายจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนส่วนใหญ่ในไอร์แลนด์เหนือแล้วนั้น (Dixon, 2008) ก็มีกลุ่มที่พยายามประสานให้เกิดการพูดคุยเจรจาระหว่างสองฝ่าย ซึ่งกลุ่มหลักนอกจากจะเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆแล้ว ยังรวมถึงปัจเจกบุคคล เช่น ผู้นำศาสนาบางส่วนจากทั้งสองนิกาย และนักธุรกิจด้วย โดยมีรัฐบาลสหรัฐฯที่เข้ามามีบทบาทในฐานะผู้มีส่วนผลักดันให้ทั้งสองฝ่ายพูดคุยกันจนบรรลุข้อตกลง | ผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆนั้น นอกจากจะมีพรรคการเมืองที่เดินสายกลางโดยไม่นิยามว่าตนเองเป็น Unionist หรือ Nationalist คือ พรรค Alliance Party (APNI) ซึ่งมีจุดยืนมาตั้งแต่ต้นว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆในเชิงโครงสร้างและกฎหมายจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนส่วนใหญ่ในไอร์แลนด์เหนือแล้วนั้น (Dixon, 2008) ก็มีกลุ่มที่พยายามประสานให้เกิดการพูดคุยเจรจาระหว่างสองฝ่าย ซึ่งกลุ่มหลักนอกจากจะเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆแล้ว ยังรวมถึงปัจเจกบุคคล เช่น ผู้นำศาสนาบางส่วนจากทั้งสองนิกาย และนักธุรกิจด้วย โดยมีรัฐบาลสหรัฐฯที่เข้ามามีบทบาทในฐานะผู้มีส่วนผลักดันให้ทั้งสองฝ่ายพูดคุยกันจนบรรลุข้อตกลง | ||
[[ไฟล์:2.png]] | |||
'''1.3 เหตุแห่งความขัดแย้ง''' | '''1.3 เหตุแห่งความขัดแย้ง''' | ||
ฝ่าย Nationalist และ Republican มองว่าไอร์แลนด์เหนือได้ถูกจักรวรรดิอังกฤษรุกรานและกดขี่ปกครองมากว่า 800 ปี (Ian White, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) คนในพื้นที่ต้องถูกกษัตริย์และกองทัพอังกฤษรุกรานและทำลายล้างมาหลายยุคหลายสมัย รวมไปถึงการสังหารหมู่ชาวไอริชโดยนายพล ครอมเวลในช่วงปี 2183 ซึ่งความทรงจำเหล่านี้ก็ถูกตอกย้ำอีกครั้งเมื่อคนไอริชถูกสังหารหมู่โดยกองทัพอังกฤษในปี 2515 กรณี Bloody Sunday เรื่องราวเหล่านี้จึงเป็นเสมือนความทรงจำที่เจ็บปวดทางประวัติศาสตร์ที่ สั่งสมส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น จนเกิดมุมมองการรับรู้ที่มีต่อคนอังกฤษว่ามีพฤติกรรมกดขี่เช่นนี้มาแต่ในอดีตมิเคยเปลี่ยนแปลง ฝ่าย Unionist จึงเป็นผู้รุกรานที่ไม่มีความชอบธรรมใดๆที่จะอยู่อาศัยในพื้นที่ของคนไอริชแห่งนี้ (Dixon, 2008) พร้อมกับยังอาศัยความได้เปรียบทางการเมืองที่มีรัฐบาลอังกฤษให้การสนับสนุนมากีดกันคนไอริชด้วยมาตรการต่างๆที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม | ฝ่าย Nationalist และ Republican มองว่าไอร์แลนด์เหนือได้ถูกจักรวรรดิอังกฤษรุกรานและกดขี่ปกครองมากว่า 800 ปี (Ian White, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) คนในพื้นที่ต้องถูกกษัตริย์และกองทัพอังกฤษรุกรานและทำลายล้างมาหลายยุคหลายสมัย รวมไปถึงการสังหารหมู่ชาวไอริชโดยนายพล ครอมเวลในช่วงปี 2183 ซึ่งความทรงจำเหล่านี้ก็ถูกตอกย้ำอีกครั้งเมื่อคนไอริชถูกสังหารหมู่โดยกองทัพอังกฤษในปี 2515 กรณี Bloody Sunday เรื่องราวเหล่านี้จึงเป็นเสมือนความทรงจำที่เจ็บปวดทางประวัติศาสตร์ที่ สั่งสมส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น จนเกิดมุมมองการรับรู้ที่มีต่อคนอังกฤษว่ามีพฤติกรรมกดขี่เช่นนี้มาแต่ในอดีตมิเคยเปลี่ยนแปลง ฝ่าย Unionist จึงเป็นผู้รุกรานที่ไม่มีความชอบธรรมใดๆที่จะอยู่อาศัยในพื้นที่ของคนไอริชแห่งนี้ (Dixon, 2008) พร้อมกับยังอาศัยความได้เปรียบทางการเมืองที่มีรัฐบาลอังกฤษให้การสนับสนุนมากีดกันคนไอริชด้วยมาตรการต่างๆที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ไม่ว่าจะเป็นการแบ่ง[[เขตการเลือกตั้ง]]ที่ไม่เป็นธรรมอันทำให้สัดส่วนความเป็นตัวแทนทางการเมืองมิได้สะท้อนสัดส่วนของประชากรตามความเป็นจริง การไม่ได้รับการจัดสรรที่อยู่อาศัยอย่าง[[เสมอภาค]] และการถูกกีดกันการจ้างงาน (Moloney, 2007) | ||
ในขณะที่ฝ่าย Unionist และ Loyalist มองว่าบรรพบุรุษที่ตั้งรกรากอยู่เดิมในดินแดนแห่งนี้คือคนกลุ่มเดียวกับคนในฝั่งเกาะอังกฤษโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสก๊อตแลนด์ซึ่งอยู่ใกล้กับไอร์แลนด์เหนือ การอพยพเข้ามาของคนสก๊อตในอดีตจึงเป็นเพียงการกลับคืนถิ่นฐานดั้งเดิมของตนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการรุกรานดินแดนอื่นแต่อย่างใด แต่กลับต้องพบกับการต่อต้านด้วยความรุนแรงจากคนไอริชคาทอลิก ซึ่งก็เป็นเช่นนี้เรื่อยมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันในการใช้ความรุนแรงกับกลุ่มตนเพื่อบรรลุเป้าหมายของตัวเอง การประท้วงเรียกร้องสิทธิต่างๆก็เป็นเพียงข้ออ้างในการที่จะเปิดประเด็นเรื่องการแยกดินแดนไปรวมตัวกับประเทศไอร์แลนด์ (Dixon, 2008) ด้วยเหตุนี้ ทาง Loyalist จึงจำเป็นต้องใช้ความรุนแรงเพื่อปกป้องชุมชนโปรเตส-แตนท์และความเป็นสหราชอาณาจักรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Shirlow and McEvoy, 2008) | ในขณะที่ฝ่าย Unionist และ Loyalist มองว่าบรรพบุรุษที่ตั้งรกรากอยู่เดิมในดินแดนแห่งนี้คือคนกลุ่มเดียวกับคนในฝั่งเกาะอังกฤษโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสก๊อตแลนด์ซึ่งอยู่ใกล้กับไอร์แลนด์เหนือ การอพยพเข้ามาของคนสก๊อตในอดีตจึงเป็นเพียงการกลับคืนถิ่นฐานดั้งเดิมของตนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการรุกรานดินแดนอื่นแต่อย่างใด แต่กลับต้องพบกับการต่อต้านด้วยความรุนแรงจากคนไอริชคาทอลิก ซึ่งก็เป็นเช่นนี้เรื่อยมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันในการใช้ความรุนแรงกับกลุ่มตนเพื่อบรรลุเป้าหมายของตัวเอง การประท้วงเรียกร้องสิทธิต่างๆก็เป็นเพียงข้ออ้างในการที่จะเปิดประเด็นเรื่องการแยกดินแดนไปรวมตัวกับประเทศไอร์แลนด์ (Dixon, 2008) ด้วยเหตุนี้ ทาง Loyalist จึงจำเป็นต้องใช้ความรุนแรงเพื่อปกป้องชุมชนโปรเตส-แตนท์และความเป็นสหราชอาณาจักรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Shirlow and McEvoy, 2008) | ||
อย่างไรก็ตาม Ed Moloney (2007) ซึ่งศึกษาพัฒนาการของกลุ่ม IRA มาเป็นเวลานาน ได้กล่าวว่าความไม่เป็นธรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่มีต่อคนไอริชคาทอลิกนั้นมีอยู่จริงจากนโยบายทางการเมืองและมาตรการทางสังคมต่างๆที่กำหนดโดยคนอังกฤษโปรเตสแตนท์ | อย่างไรก็ตาม Ed Moloney (2007) ซึ่งศึกษาพัฒนาการของกลุ่ม IRA มาเป็นเวลานาน ได้กล่าวว่าความไม่เป็นธรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่มีต่อคนไอริชคาทอลิกนั้นมีอยู่จริงจากนโยบายทางการเมืองและมาตรการทางสังคมต่างๆที่กำหนดโดยคนอังกฤษโปรเตสแตนท์ ทั้งในเรื่องของ[[การมีส่วนร่วมทางการเมือง]] การจัดสรรที่อยู่อาศัย การจ้างงาน การศึกษา และการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆในสังคม โดยในด้านของการจ้างงานนั้น มีสถิติว่าในปี 2514 คนคาทอลิกมีอัตราว่างงานประมาณร้อยละ 17 ซึ่งมากกว่าสามเท่าของคนโปรเตสแตนท์ การแบ่งเขตเลือกตั้งในลักษณะที่เอื้อต่อฝ่าย Unionist ให้ครองเสียงข้างมากในสภาท้องถิ่น การวางระบบที่ทำให้ข้าราชการที่เป็นคนคาทอลิกไม่สามารถดำรงตำแหน่งในผู้บริหารระดับสูง การจัดสรรที่อยู่อาศัยที่ให้สิทธิแก่คนโปรเตสแตนท์เหนือคนคาทอลิก (Dixon, 2008) และการไม่เปิดโอกาสให้คนไอริชคาทอลิกเข้ารับราชการตำรวจ ซึ่งมีจำนวนเพียงร้อยละ 6 โดยที่อีกร้อยละ 94 เป็นคนอังกฤษโปรเตส-แตนท์ (Ian White, สัมภาษณ์, 26 กุมภาพันธ์, วิคโลว์) | ||
จะเห็นได้ว่า'''สาเหตุของความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือไม่ใช่ประเด็นทางศาสนา | จะเห็นได้ว่า'''สาเหตุของความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือไม่ใช่ประเด็นทางศาสนา หากแต่เป็นประเด็น[[ชาตินิยม]]ซึ่งถูกขับเน้นให้ชัดเจนรุนแรงขึ้นจากความไม่เป็นธรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม''' เพียงแต่ทั้งสองเชื้อชาตินี้บังเอิญว่ามีอัตลักษณ์อีกส่วนที่แตกต่างกันอีกด้วยคือนิกายทางศาสนา จึงทำให้ดูประหนึ่งว่าเป็นความขัดแย้งทางศาสนา (Doherty, 2000) ซึ่งแท้จริงแล้ว หากพิจารณาเบื้องลึกลงไปในจิตใจ การที่ทั้งสองฝ่ายต่างไม่ยอมประนีประนอมกันนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความไม่ไว้วางใจระหว่างกันว่าหากอีกฝ่ายมีอำนาจในการปกครองเหนือกลุ่มตนแล้ว จะกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิต ตลอดจนอัตลักษณ์วัฒนธรรมของตนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในที่สุด (Ian White, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) | ||
ผลของความขัดแย้งรุนแรงได้ทำให้สังคมแตกแยกร้าวลึกจนกลายเป็นสังคมแบ่งขั้วแยกกันอยู่ในทุกมิติ ทั้งแยกกันอยู่ แยกกันเรียน แยกกันดำเนินชีวิต เด็กนักเรียนจากทั้งสองชุมชนต่างก็แยกกันเรียนในโรงเรียนของชุมชนตนเอง มีเพียงร้อยละ 6 ของนักเรียนทั้งหมดเท่านั้นที่เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีเด็กจากทั้งสองชุมชน (Dixon, 2008, 22) เกิดการแบ่งแยกทั้งทางจิตใจและทางกายภาพอย่างชัดเจน ประกอบเข้ากับการใช้วิทยุชุมชนซึ่งส่วนหนึ่งก็จัดโดยบาทหลวงจากแต่ละฝ่ายเป็นช่องทางในการสื่อสารสนับสนุนแนวความคิดของฝ่ายตน (Martin Magill, สัมภาษณ์, 1 มีนาคม 2554, เบลฟาสต์) มีการสร้าง “กำแพงสันติภาพ” (Peace Wall) ขึ้นมา 46 กำแพง และประตูกั้นระหว่างชุมชนอีก 11 ประตู (Dixon, 2008) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการปะทะกันระหว่างสองชุมชน (Peter Robinson, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์) ซึ่งแม้จะเป็นการป้องกันความรุนแรงในเชิงกายภาพ แต่กลับเป็นเครื่องตอกย้ำให้เห็นถึงความแตกแยกที่ร้าวลึกลงไปในจิตใจของผู้คนในสังคม | ผลของความขัดแย้งรุนแรงได้ทำให้สังคมแตกแยกร้าวลึกจนกลายเป็นสังคมแบ่งขั้วแยกกันอยู่ในทุกมิติ ทั้งแยกกันอยู่ แยกกันเรียน แยกกันดำเนินชีวิต เด็กนักเรียนจากทั้งสองชุมชนต่างก็แยกกันเรียนในโรงเรียนของชุมชนตนเอง มีเพียงร้อยละ 6 ของนักเรียนทั้งหมดเท่านั้นที่เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีเด็กจากทั้งสองชุมชน (Dixon, 2008, 22) เกิดการแบ่งแยกทั้งทางจิตใจและทางกายภาพอย่างชัดเจน ประกอบเข้ากับการใช้วิทยุชุมชนซึ่งส่วนหนึ่งก็จัดโดยบาทหลวงจากแต่ละฝ่ายเป็นช่องทางในการสื่อสารสนับสนุนแนวความคิดของฝ่ายตน (Martin Magill, สัมภาษณ์, 1 มีนาคม 2554, เบลฟาสต์) มีการสร้าง “กำแพงสันติภาพ” (Peace Wall) ขึ้นมา 46 กำแพง และประตูกั้นระหว่างชุมชนอีก 11 ประตู (Dixon, 2008) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการปะทะกันระหว่างสองชุมชน (Peter Robinson, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์) ซึ่งแม้จะเป็นการป้องกันความรุนแรงในเชิงกายภาพ แต่กลับเป็นเครื่องตอกย้ำให้เห็นถึงความแตกแยกที่ร้าวลึกลงไปในจิตใจของผู้คนในสังคม | ||
บรรทัดที่ 85: | บรรทัดที่ 80: | ||
'''1.4 สถานะล่าสุดของเหตุการณ์''' | '''1.4 สถานะล่าสุดของเหตุการณ์''' | ||
โดยภาพรวมอาจกล่าวได้ว่าความรุนแรงได้ยุติลงแล้วในไอร์แลนด์เหนือ ทั้งสองฝ่ายได้เดินหน้าทำงานร่วมกันเพื่อที่จะให้ผลของข้อตกลงเกิดขึ้นจริงอย่างเต็มที่ ซึ่งแม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างกันอาจจะมีความไม่ราบรื่นอยู่บ้าง และมีการก่ออาชญากรรมจากอดีตสมาชิกของกลุ่มต่างๆที่เคยติดอาวุธ แต่ก็ถือเป็นธรรมดาของสังคมที่แตกแยกมานานหลายศตวรรษ (Jimmy Spratt, สัมภาษณ์, 27 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์) | โดยภาพรวมอาจกล่าวได้ว่าความรุนแรงได้ยุติลงแล้วในไอร์แลนด์เหนือ ทั้งสองฝ่ายได้เดินหน้าทำงานร่วมกันเพื่อที่จะให้ผลของข้อตกลงเกิดขึ้นจริงอย่างเต็มที่ ซึ่งแม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างกันอาจจะมีความไม่ราบรื่นอยู่บ้าง และมีการก่ออาชญากรรมจากอดีตสมาชิกของกลุ่มต่างๆที่เคยติดอาวุธ แต่ก็ถือเป็นธรรมดาของสังคมที่แตกแยกมานานหลายศตวรรษ (Jimmy Spratt, สัมภาษณ์, 27 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์) โดยหลายฝ่ายก็พยายามที่จะสานสัมพันธ์ระหว่างสองชุมชนเพื่อให้เกิด[[ความสมานฉันท์]]ปรองดองอย่างแท้จริง ในขณะที่เงื่อนไขแห่งความไม่เป็นธรรมต่างๆทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมก็ได้รับการแก้ไขปรับปรุงจนไม่เกิดความคับข้องใจในประเด็นการถูกกดขี่กีดกันดังเช่นในอดีตอีก ดังจะเห็นได้จากตัวเลขการว่างงานของคนคาทอลิกที่ลดลงจากร้อยละ 17 ในปี 2514 เหลือไม่ถึงร้อยละ 4 ในปี 2548 เป็นต้น (Dixon, 2008) | ||
'''บรรณานุกรม''' | '''บรรณานุกรม''' | ||
บรรทัดที่ 138: | บรรทัดที่ 133: | ||
Widgery. 1972. Report of the Tribunal appointed to inquire into the events on Sunday, 30th January 1972. Conflict Archive on the Internet, University of Ulster. http://cain.ulst.ac.uk/hmso/widgery.htm (December 13, 2011). | Widgery. 1972. Report of the Tribunal appointed to inquire into the events on Sunday, 30th January 1972. Conflict Archive on the Internet, University of Ulster. http://cain.ulst.ac.uk/hmso/widgery.htm (December 13, 2011). | ||
'''รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์''' | '''รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์''' |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:15, 19 พฤษภาคม 2557
เรียบเรียงโดย : นายเมธัส อนุวัตรอุดม
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : พลเอก เอกชัย ศรีวิลาส
บทนำ
ความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือ สหราชอาณาจักรถือเป็นกรณีความขัดแย้งรุนแรงซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในชื่อ “The Troubles” (วุ่นวาย) ในฐานะที่เป็นความขัดแย้งที่ยืดเยื้อที่สุดและเป็นกรณีตัวอย่างของกระบวนการสันติภาพที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ (Shirlow and McEvoy, 2008) ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นมามานานนับศตวรรษพร้อมกับสถานการณ์ความรุนแรงที่ขึ้นลงเป็นระยะ แต่ความรุนแรงต่อเนื่องครั้งใหญ่ได้ปะทุขึ้นเมื่อปี 2511 ระหว่างฝ่ายไอริชคาทอลิกซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในพื้นที่ที่ต้องการแยกไอร์แลนด์เหนือออกจากสหราชอาณาจักรเพื่อไปรวมกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ กับฝ่ายอังกฤษโปรเตสแตนท์ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ที่ต้องการจะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรต่อไป ความรุนแรงครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3,636 คน (Dixon, 2008) ซึ่งเฉลี่ยแล้วมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2 คนต่อสัปดาห์จากความขัดแย้งต่อเนื่องมาเป็นเวลา 30 ปี บาดเจ็บอีกกว่า 30,000 คน (Moloney, 2007) โดยที่มีการประเมินกันว่าจากจำนวนประชากรเกือบ 1,700,000 คน มี 1 ใน 7 คนที่มีประสบการณ์ตรงกับความรุนแรง มี 1 ใน 5 คนที่มีครอบครัวหรือญาติสนิทบาดเจ็บหรือเสียชีวิต และมากกว่าครึ่งรู้จักกับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเป็นการส่วนตัว (Hayes and McAllister, 2001 อ้างถึงใน Dixon, 2008) ซึ่งสุดท้ายทั้งสองฝ่ายก็ได้บรรลุข้อตกลงระหว่างกันในปี 2541 โดยที่ยังคงร่วมมือกันทำงานเพื่อสร้างสันติสุขที่ยั่งยืนในสังคมจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษากระบวนการสร้างความปรองดองในไอร์แลนด์เหนือโดยจะวิเคราะห์ว่า 1) เพราะเหตุใดทั้งสองฝ่ายจึงสามารถบรรลุข้อตกลงสันติภาพได้ในปี 2541 หลังจากที่เคยประสบความล้มเหลวมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 2517 และ 2) เพราะเหตุใดทั้งสองฝ่ายจึงสามารถป้องกันมิให้ความรุนแรงหวนกลับคืนมาอีก ทั้งนี้ เพื่อสรุปบทเรียนให้เห็นถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างความปรองดองของไอร์แลนด์เหนือต่อไป
ผู้เขียนได้แบ่งบทความนี้ออกเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย
1) ภาพรวมของสถานการณ์ความขัดแย้ง
2) สาระสำคัญของการสร้างความปรองดองในชาติ
3) กรอบคิดในการสร้างความปรองดองแห่งชาติ
4) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการสร้างความปรองดองแห่งชาติ
5) บทสรุป
1. ภาพรวมของสถานการณ์ความขัดแย้ง
1.1 สภาพบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมวัฒนธรรม
อิทธิพลอาณานิคม
ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์และอยู่ทางฝั่งตะวันตกของอังกฤษ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ชาวอังกฤษและสก็อตแลนด์ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์จำนวนมากเริ่มที่จะเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์นี้ตามนโยบาย “การสร้างนิคมแห่งอัลสเตอร์” (Plantation of Ulster) ซึ่งมีประชากรดั้งเดิมเป็นชาวไอริชที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ทำให้ชุมชนเดิมในพื้นที่รู้สึกว่าตนเองถูกขโมยดินแดนไป ตั้งแต่นั้นมาการต่อต้านที่จะมีอิสระในการปกครองตนเองจากจักรวรรดิอังกฤษโดยชาวไอริชก็เริ่มทวีความเข้มข้นมากขึ้น จนกระทั่งในปี 2464 อังกฤษและไอร์แลนด์ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาการปกครองไอร์แลนด์ (Government of Ireland) ที่ยินยอมให้ 26 แคว้นบนเกาะไอร์แลนด์แยกตัวเป็นรัฐอิสระไอร์แลนด์ ในขณะที่อีก 6 แคว้นทางตอนเหนือของเกาะจะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรต่อไป แม้จะได้รับอนุญาตให้มีสภาเป็นของตนเองก็ตาม การแบ่งประเทศครั้งนี้ทำให้ไอร์แลนด์เหนือซึ่งมีประชากรที่เป็นโปรเตสแตนท์ประมาณร้อยละ 60 และอีกร้อยละ 40 เป็นคาทอลิก กลายเป็นพื้นที่แห่งความขัดแย้งรุนแรงระหว่างกลุ่มคนอังกฤษโปรเตสแตนท์ ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษต่อไป กับกลุ่มคนไอริชคาทอลิกที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระออกจากอังกฤษเพื่อผนวกเข้ากับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Moloney, 2007)
การเบ่งบานของกระแสการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน
กลุ่มคนอังกฤษโปรเตสแตนท์ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในไอร์แลนด์เหนือกุมอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมมาเกือบห้าสิบปี จนกระทั่งในปี 2511 ได้เกิดการประท้วงเดินขบวนเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมทางสังคม โดยมีสาเหตุมาจากการที่ชาวคาทอลิกรู้สึกว่ากลุ่มของตนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจัดสรรที่อยู่อาศัย เหตุการณ์ที่เป็นชนวนนำไปสู่การประท้วงในเดือนสิงหาคมคือ กรณีที่หญิงโสดวัย 19 ปีชาวโปรเตสแตนท์ได้รับการจัดสรรที่อยู่อาศัยให้แทนที่จะเป็นครอบครัวคาทอลิกครอบครัวหนึ่ง ภายใต้กระแสการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมืองที่ได้ขยายตัวไปในหลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา การเดินขบวนประท้วงเพื่อเรียกร้องให้คณะผู้บริหารท้องถิ่นของไอร์แลนด์เหนือปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่เป็นธรรมก็ได้เกิดขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง แต่ทางฝ่ายโปรเตสแตนท์ส่วนหนึ่งมองว่าการประท้วงดังกล่าวเป็นเพียงฉากบังหน้า หากแต่เจตนาที่แท้จริงคือผลทางการเมืองที่ต้องการจะแยกไอร์แลนด์เหนือออกจากสหราชอาณาจักร ซึ่งการประท้วงในลักษณะนี้ได้ถูกประกาศให้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและได้ถูกตอบโต้ด้วยความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ตำรวจของไอร์แลนด์เหนือ (Dixon, 2008)
ในวันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม 2515 ชาวไอริชคาทอลิกจำนวนหนึ่งได้ชุมนุมกันเพื่อประท้วงการควบคุมโดยมิชอบที่ผ่านมาของรัฐบาล แต่ทหารอังกฤษได้เปิดฉากยิงเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงในเมือง Derry ทำให้มีผู้เสียชีวิต 13 คนซึ่งเป็นชาวคาทอลิกทั้งหมด เหตุการณ์ “อาทิตย์เลือด” (Bloody Sunday) ครั้งนี้ทำให้มวลชนต่างหันมาสนับสนุน IRA เป็นจำนวนมาก และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนไอริชคาทอลิกกับรัฐบาลอังกฤษเสื่อมถอยลงเป็นอย่างมาก (Jimmy Spratt, สัมภาษณ์, 16 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) ทั้งที่เดิมก่อนหน้านี้ IRA ถือเป็นองค์กรปิดและจะถ่ายทอดอุดมการณ์การต่อสู้จากพ่อแม่สู่ลูกภายในครอบครัวเท่านั้น (Moloney, 2007)
การทหารคู่การเมือง
ความขัดแย้งรุนแรงได้ขยายตัวมากขึ้นจนทำท่าว่าจะลุกลามบานปลายมากขึ้น รัฐบาลอังกฤษจึงได้ใช้อำนาจส่วนกลางตามกฎหมายเข้าควบคุมการบริหารงานท้องถิ่นของไอร์แลนด์เหนือโดยตรง (Direct Rule) ซึ่งเป็นการยับยั้งอำนาจการบริหารของสภาท้องถิ่นไอร์แลนด์เหนือชั่วคราวด้วยเหตุผลจากสถานการณ์ฉุกเฉินทางการเมืองพร้อมการส่งกองกำลังทหารจำนวนมากเข้าควบคุมสถานการณ์ โดยระหว่างนั้น รัฐบาลก็ได้พยายามเสนอทางออกโดยให้ทั้งสองฝ่ายได้แบ่งอำนาจ (Power Sharing) ในการบริหารปกครองไอร์แลนด์เหนือร่วมกัน แต่ก็ถูกต่อต้านอย่างหนักจากกลุ่มที่มีความคิดแข็งกร้าวจากทั้งสองฝ่ายซึ่งไม่ยอมประนีประนอม (Hardliner) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝั่ง Unionist ในปี 2517 จนกระทั่งไม่สามารถผลักดันต่อไปได้ (Dixon, 2008)
การปะทะต่อสู้ทางการทหารและการกดดันด้วยวิธีต่างๆจึงดำเนินต่อไปควบคู่กับความพยายามในการแก้ไขปัญหาด้วยวิถีทางทางการเมืองของรัฐบาลอังกฤษ ในช่วงปี 2523-4 ได้เกิดเหตุการณ์นักโทษการเมืองอดอาหารประท้วงรัฐบาล (Hunger Strike) โดยนักโทษเหล่านี้ต้องการให้รัฐบาลอังกฤษปฏิบัติต่อพวกเขาในฐานะนักโทษการเมือง มิใช่ผู้ต้องขังคดีอาชญากรรมทั่วไปดังที่เป็นอยู่ ณ เวลานั้น แต่รัฐบาลอังกฤษได้ปฏิเสธที่จะทำตามข้อเรียกร้อง การประท้วงจึงดำเนินต่อไปและส่งผลให้ Republican 10 คนต้องเสียชีวิตเนื่องจากการอดอาหารประท้วงในครั้งนั้น ซึ่งทำให้สถานการณ์ความรุนแรงยังคงดำเนินต่อไป (Beresford, 1994)
การเปิดพื้นที่ทางการเมือง
ในช่วงกลางของความขัดแย้ง รัฐบาลอังกฤษได้เปิดพื้นที่ทางการเมืองมากขึ้นโดยพยายามสร้างบรรยากาศทางการเมืองที่เอื้อต่อการหาทางออกร่วมกัน ดังเช่น ในปี 2528 ได้เกิดข้อตกลงสำคัญฉบับหนึ่งคือ Anglo-Irish Agreement ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาลอังกฤษและไอร์แลนด์ ซึ่งมีผลทำให้ไอร์แลนด์สามารถเข้ามามีส่วนในการเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาทางการเมืองในไอร์แลนด์เหนือได้โดยชอบธรรม แม้ว่าจะถูกต่อต้านจากฝ่าย Unionist แต่ข้อตกลงนี้ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบางส่วนทางแนวคิดและแนวทางในการต่อสู้ของกลุ่ม Republican อันนำไปสู่การติดต่อกับรัฐบาลอังกฤษในทางลับระหว่างปี 2533-2536 ก่อนที่ทาง IRA จะประกาศหยุดยิงในปีถัดไป ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพบริบทระหว่างประเทศครั้งใหญ่คือการสิ้นสุดของสงครามเย็นในปี 2532 ซึ่งส่งผลให้อังกฤษประกาศว่าตนไม่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือทางยุทธศาสตร์ใดๆเป็นพิเศษในไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งทำให้ฝ่าย Nationalist เริ่มมองเห็นความเป็นไปได้ในการหาทางออกทางการเมืองที่ยอมรับร่วมกันได้มากขึ้น อันเป็นการปูทางไปสู่การเกิดข้อตกลงสันติภาพระหว่างสองฝ่ายในที่สุดเมื่อปี 2541 ซึ่งเรียกว่า Good Friday Agreement หรือ Belfast Agreement (Dixon, 2008)
1.2 คู่ขัดแย้งและผู้เกี่ยวข้องหลัก
ความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือเป็นความขัดแย้งระหว่างฝ่ายแรกคือกลุ่ม Unionist ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ประมาณร้อยละ 60 โดยมองว่าตัวเองคือคนอังกฤษโปรเตสแตนท์และต้องการที่จะเป็นหนึ่งเดียว (Union) กับ สหราชอาณาจักรต่อไป กับกลุ่ม Nationalist ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในพื้นที่ประมาณร้อยละ 40 และเป็นคนไอริชคาทอลิก โดยต้องการที่จะให้ไอร์แลนด์เหนือแยกตัวเป็นอิสระจากสหราชอาณาจักรเพื่อไปรวมตัวกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ทั้งนี้ รัฐบาลอังกฤษได้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีสองบทบาทคือในฐานะรัฐบาลที่ต้องไกล่เกลี่ยระหว่างทั้งสองฝ่ายและอีกในฐานะหนึ่งที่ถูกมองว่าเป็นคู่ขัดแย้งกับฝ่ายไอริชคาทอลิกเนื่องจากมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกัน ในส่วนของรัฐบาลไอร์แลนด์ก็จะถูกมองว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนฝ่ายไอริชคาทอลิก (Dixon, 2008)
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่ม Loyalist ซึ่งมีอุดมการณ์เดียวกับ Unionist แต่เป็นกลุ่มที่ใช้วิธีการรุนแรงเป็นเครื่องมือ และกลุ่ม Republican ซึ่งมีอุดมการณ์เดียวกับ Nationalist แต่ใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือเช่นเดียวกับ Loyalist กล่าวคือในขณะที่กลุ่ม Unionist และ Nationalist ใช้แนวทางการเมืองในการต่อสู้ ก็ได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่ม Loyalist และ Republican ซึ่งในแนวทางการทหารด้วยตามลำดับ (Ian White, สัมภาษณ์, 27 กุมภาพันธ์ 2554, วิคโลว์) โดยทั่วไปแล้ว คำว่า Nationalist จึงใช้เรียกกลุ่มคนที่ต้องการแยกไอร์แลนด์เหนือไปรวมกับประเทศไอร์แลนด์แต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง ในขณะที่ Republican ก็คือกลุ่มคนที่มีเป้าหมายเดียวกันแต่พร้อมที่จะใช้ความรุนแรงในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เช่นเดียวกันในส่วนของคำว่า Unionist จะใช้เรียกกลุ่มคนที่ต้องการให้ไอร์แลนด์คงเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอังกฤษต่อไป แต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง ในขณะที่ Loyalist นั้นก็มีเป้าหมายเดียวกันกับ Unionist แต่ไม่ปฏิเสธที่จะใช้ความรุนแรงเพื่อปกป้องเป้าหมายนั้น (Shirlow and McEvoy, 2008)
กลุ่ม Unionist นั้น มีพรรคการเมืองหลัก คือพรรค DUP (Democratic Unionist Party) ซึ่งเป็นพรรคที่มีแนวคิดสุดขั้ว และพรรค UUP (Ulster Unionist Party) ที่มีแนวคิดค่อนข้างที่จะประนีประนอม ในขณะที่กลุ่ม Loyalist นั้นมีกลุ่มกองกำลังติดอาวุธหลัก คือ กลุ่ม Ulster Defense Association (UDA) ที่ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นแรงงานซึ่งมีการทำงานเชื่อมโยงกับพรรค UDP (Ulster Democratic Party) และกลุ่ม Ulster Volunteer Force (UVF) ซึ่งมีขนาดเล็กแต่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงกว่า UDA และได้รับการฝึกอาวุธจากอดีตทหารอังกฤษ (Taylor, 2000)
ส่วนกลุ่ม Nationalist นั้น มีพรรคการเมืองหลัก คือ พรรคชินเฟน (Sinn Fein, SF) ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีแนวคิดสุดขั้ว และพรรค SDLP (Social Democratic and Labour Party) ซึ่งมีแนวคิดประนีประนอมสายกลาง ในขณะที่กลุ่ม Republican ก็มีกองกำลังติดอาวุธหลักๆ คือ กลุ่ม Irish Republican Army (IRA) ซึ่งทำงานเชื่อมโยงกับพรรค SF โดยต่อมาก็มีแตกย่อยออกไปเนื่องจากไม่เห็นด้วยข้อตกลงสันติภาพ เช่น กลุ่ม Real IRA (RIRA) แต่ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากมวลชนแต่อย่างใด (Alex Maskey, สัมภาษณ์ 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าสมาชิกกลุ่มกองกำลังทั้งสองฝ่ายส่วนใหญ่จะมาจากชนชั้นแรงงานที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความไม่ธรรมในสังคม (Dixon, 2008)
โดยภาพรวมแล้ว การต่อสู้ทางการเมืองในไอร์แลนด์เหนือจึงมีลักษณะที่ดำเนินควบคู่กันไปทั้งทางด้านการเมืองและการทหาร ในบางครั้งปีกการเมืองก็เป็นตัวนำและในบางครั้งปีกการทหารก็กลายเป็นตัวนำ ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาและสถานการณ์ แต่เมื่อเวลาผ่านเลยไป ปีกการเมืองของทั้งสองฝ่ายก็กลายเป็นส่วนที่เข้ามามีอิทธิพลต่อทิศทางการแก้ไขปัญหาและนำไปสู่ข้อตกลงร่วมกันได้ในที่สุด
ผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆนั้น นอกจากจะมีพรรคการเมืองที่เดินสายกลางโดยไม่นิยามว่าตนเองเป็น Unionist หรือ Nationalist คือ พรรค Alliance Party (APNI) ซึ่งมีจุดยืนมาตั้งแต่ต้นว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆในเชิงโครงสร้างและกฎหมายจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนส่วนใหญ่ในไอร์แลนด์เหนือแล้วนั้น (Dixon, 2008) ก็มีกลุ่มที่พยายามประสานให้เกิดการพูดคุยเจรจาระหว่างสองฝ่าย ซึ่งกลุ่มหลักนอกจากจะเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆแล้ว ยังรวมถึงปัจเจกบุคคล เช่น ผู้นำศาสนาบางส่วนจากทั้งสองนิกาย และนักธุรกิจด้วย โดยมีรัฐบาลสหรัฐฯที่เข้ามามีบทบาทในฐานะผู้มีส่วนผลักดันให้ทั้งสองฝ่ายพูดคุยกันจนบรรลุข้อตกลง
1.3 เหตุแห่งความขัดแย้ง
ฝ่าย Nationalist และ Republican มองว่าไอร์แลนด์เหนือได้ถูกจักรวรรดิอังกฤษรุกรานและกดขี่ปกครองมากว่า 800 ปี (Ian White, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ) คนในพื้นที่ต้องถูกกษัตริย์และกองทัพอังกฤษรุกรานและทำลายล้างมาหลายยุคหลายสมัย รวมไปถึงการสังหารหมู่ชาวไอริชโดยนายพล ครอมเวลในช่วงปี 2183 ซึ่งความทรงจำเหล่านี้ก็ถูกตอกย้ำอีกครั้งเมื่อคนไอริชถูกสังหารหมู่โดยกองทัพอังกฤษในปี 2515 กรณี Bloody Sunday เรื่องราวเหล่านี้จึงเป็นเสมือนความทรงจำที่เจ็บปวดทางประวัติศาสตร์ที่ สั่งสมส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น จนเกิดมุมมองการรับรู้ที่มีต่อคนอังกฤษว่ามีพฤติกรรมกดขี่เช่นนี้มาแต่ในอดีตมิเคยเปลี่ยนแปลง ฝ่าย Unionist จึงเป็นผู้รุกรานที่ไม่มีความชอบธรรมใดๆที่จะอยู่อาศัยในพื้นที่ของคนไอริชแห่งนี้ (Dixon, 2008) พร้อมกับยังอาศัยความได้เปรียบทางการเมืองที่มีรัฐบาลอังกฤษให้การสนับสนุนมากีดกันคนไอริชด้วยมาตรการต่างๆที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งเขตการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรมอันทำให้สัดส่วนความเป็นตัวแทนทางการเมืองมิได้สะท้อนสัดส่วนของประชากรตามความเป็นจริง การไม่ได้รับการจัดสรรที่อยู่อาศัยอย่างเสมอภาค และการถูกกีดกันการจ้างงาน (Moloney, 2007)
ในขณะที่ฝ่าย Unionist และ Loyalist มองว่าบรรพบุรุษที่ตั้งรกรากอยู่เดิมในดินแดนแห่งนี้คือคนกลุ่มเดียวกับคนในฝั่งเกาะอังกฤษโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสก๊อตแลนด์ซึ่งอยู่ใกล้กับไอร์แลนด์เหนือ การอพยพเข้ามาของคนสก๊อตในอดีตจึงเป็นเพียงการกลับคืนถิ่นฐานดั้งเดิมของตนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการรุกรานดินแดนอื่นแต่อย่างใด แต่กลับต้องพบกับการต่อต้านด้วยความรุนแรงจากคนไอริชคาทอลิก ซึ่งก็เป็นเช่นนี้เรื่อยมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันในการใช้ความรุนแรงกับกลุ่มตนเพื่อบรรลุเป้าหมายของตัวเอง การประท้วงเรียกร้องสิทธิต่างๆก็เป็นเพียงข้ออ้างในการที่จะเปิดประเด็นเรื่องการแยกดินแดนไปรวมตัวกับประเทศไอร์แลนด์ (Dixon, 2008) ด้วยเหตุนี้ ทาง Loyalist จึงจำเป็นต้องใช้ความรุนแรงเพื่อปกป้องชุมชนโปรเตส-แตนท์และความเป็นสหราชอาณาจักรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Shirlow and McEvoy, 2008)
อย่างไรก็ตาม Ed Moloney (2007) ซึ่งศึกษาพัฒนาการของกลุ่ม IRA มาเป็นเวลานาน ได้กล่าวว่าความไม่เป็นธรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่มีต่อคนไอริชคาทอลิกนั้นมีอยู่จริงจากนโยบายทางการเมืองและมาตรการทางสังคมต่างๆที่กำหนดโดยคนอังกฤษโปรเตสแตนท์ ทั้งในเรื่องของการมีส่วนร่วมทางการเมือง การจัดสรรที่อยู่อาศัย การจ้างงาน การศึกษา และการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆในสังคม โดยในด้านของการจ้างงานนั้น มีสถิติว่าในปี 2514 คนคาทอลิกมีอัตราว่างงานประมาณร้อยละ 17 ซึ่งมากกว่าสามเท่าของคนโปรเตสแตนท์ การแบ่งเขตเลือกตั้งในลักษณะที่เอื้อต่อฝ่าย Unionist ให้ครองเสียงข้างมากในสภาท้องถิ่น การวางระบบที่ทำให้ข้าราชการที่เป็นคนคาทอลิกไม่สามารถดำรงตำแหน่งในผู้บริหารระดับสูง การจัดสรรที่อยู่อาศัยที่ให้สิทธิแก่คนโปรเตสแตนท์เหนือคนคาทอลิก (Dixon, 2008) และการไม่เปิดโอกาสให้คนไอริชคาทอลิกเข้ารับราชการตำรวจ ซึ่งมีจำนวนเพียงร้อยละ 6 โดยที่อีกร้อยละ 94 เป็นคนอังกฤษโปรเตส-แตนท์ (Ian White, สัมภาษณ์, 26 กุมภาพันธ์, วิคโลว์)
จะเห็นได้ว่าสาเหตุของความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือไม่ใช่ประเด็นทางศาสนา หากแต่เป็นประเด็นชาตินิยมซึ่งถูกขับเน้นให้ชัดเจนรุนแรงขึ้นจากความไม่เป็นธรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพียงแต่ทั้งสองเชื้อชาตินี้บังเอิญว่ามีอัตลักษณ์อีกส่วนที่แตกต่างกันอีกด้วยคือนิกายทางศาสนา จึงทำให้ดูประหนึ่งว่าเป็นความขัดแย้งทางศาสนา (Doherty, 2000) ซึ่งแท้จริงแล้ว หากพิจารณาเบื้องลึกลงไปในจิตใจ การที่ทั้งสองฝ่ายต่างไม่ยอมประนีประนอมกันนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความไม่ไว้วางใจระหว่างกันว่าหากอีกฝ่ายมีอำนาจในการปกครองเหนือกลุ่มตนแล้ว จะกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิต ตลอดจนอัตลักษณ์วัฒนธรรมของตนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในที่สุด (Ian White, สัมภาษณ์, 17 มิถุนายน 2553, กรุงเทพฯ)
ผลของความขัดแย้งรุนแรงได้ทำให้สังคมแตกแยกร้าวลึกจนกลายเป็นสังคมแบ่งขั้วแยกกันอยู่ในทุกมิติ ทั้งแยกกันอยู่ แยกกันเรียน แยกกันดำเนินชีวิต เด็กนักเรียนจากทั้งสองชุมชนต่างก็แยกกันเรียนในโรงเรียนของชุมชนตนเอง มีเพียงร้อยละ 6 ของนักเรียนทั้งหมดเท่านั้นที่เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีเด็กจากทั้งสองชุมชน (Dixon, 2008, 22) เกิดการแบ่งแยกทั้งทางจิตใจและทางกายภาพอย่างชัดเจน ประกอบเข้ากับการใช้วิทยุชุมชนซึ่งส่วนหนึ่งก็จัดโดยบาทหลวงจากแต่ละฝ่ายเป็นช่องทางในการสื่อสารสนับสนุนแนวความคิดของฝ่ายตน (Martin Magill, สัมภาษณ์, 1 มีนาคม 2554, เบลฟาสต์) มีการสร้าง “กำแพงสันติภาพ” (Peace Wall) ขึ้นมา 46 กำแพง และประตูกั้นระหว่างชุมชนอีก 11 ประตู (Dixon, 2008) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการปะทะกันระหว่างสองชุมชน (Peter Robinson, สัมภาษณ์, 28 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์) ซึ่งแม้จะเป็นการป้องกันความรุนแรงในเชิงกายภาพ แต่กลับเป็นเครื่องตอกย้ำให้เห็นถึงความแตกแยกที่ร้าวลึกลงไปในจิตใจของผู้คนในสังคม
1.4 สถานะล่าสุดของเหตุการณ์
โดยภาพรวมอาจกล่าวได้ว่าความรุนแรงได้ยุติลงแล้วในไอร์แลนด์เหนือ ทั้งสองฝ่ายได้เดินหน้าทำงานร่วมกันเพื่อที่จะให้ผลของข้อตกลงเกิดขึ้นจริงอย่างเต็มที่ ซึ่งแม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างกันอาจจะมีความไม่ราบรื่นอยู่บ้าง และมีการก่ออาชญากรรมจากอดีตสมาชิกของกลุ่มต่างๆที่เคยติดอาวุธ แต่ก็ถือเป็นธรรมดาของสังคมที่แตกแยกมานานหลายศตวรรษ (Jimmy Spratt, สัมภาษณ์, 27 กุมภาพันธ์ 2554, เบลฟาสต์) โดยหลายฝ่ายก็พยายามที่จะสานสัมพันธ์ระหว่างสองชุมชนเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ปรองดองอย่างแท้จริง ในขณะที่เงื่อนไขแห่งความไม่เป็นธรรมต่างๆทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมก็ได้รับการแก้ไขปรับปรุงจนไม่เกิดความคับข้องใจในประเด็นการถูกกดขี่กีดกันดังเช่นในอดีตอีก ดังจะเห็นได้จากตัวเลขการว่างงานของคนคาทอลิกที่ลดลงจากร้อยละ 17 ในปี 2514 เหลือไม่ถึงร้อยละ 4 ในปี 2548 เป็นต้น (Dixon, 2008)
บรรณานุกรม
เอกสารภาษาอังกฤษ
Anglo-Irish Agreement. 1985. http://cain.ulst.ac.uk/events/aia/aiadoc.htm (December 13, 2011).
Beresford, David. 1994. Ten Men Dead: The Story of the 1981 Irish Hunger Strike. London: HarperCollins.
Collins, Eamon. 1997. Killing Rage. London: Granta Books.
Dixon, Paul. 2008. Northern Ireland: The Politics of War and Peace. 2nd Edition. Basingstoke: Palgave Macmillan.
Doherty, Paul. 2000. “The Northern Ireland Peace Process: A Solution to the Problems of an Ethnically Divided Society?” The Brown Journal of World Affairs Volume VII, Issue 1 (Winter/Spring): 49-62.
Family Support Center. 2010. “Set the Truth Free.” Family Support Center. http://www.bloodysundaytrust.org/bsi/BSI-media-pack-pdf.pdf (December 13, 2011).
Farrington, Christopher. 2008. “Introduction: Political Change in a Divided Society – The Implementation of the Belfast Agreement.” In Global Change, Civil Society and the Northern Ireland Peace Process: Implementing the Political Settlement, ed. Christopher Farrington. New York: Palgrave Macmillan.
Goodall, David. 1993. “The Irish Question.” Ampleforth Journal vol.XCVIII Part I (Spring).
Guelke, Adrian. 2008. “The Lure of the Miracle? The South African Connection and the Northern Ireland Peace Process.” In Global Change, Civil Society and the Northern Ireland Peace Process: Implementing the Political Settlement, ed. Christopher Farrington. New York: Palgrave Macmillan.
Howe, Geoffrey. 1994. Conflict of Loyalty. London: Pan.
Idoiaga, Gorka Espiau. 2010. “The Peace Processes in the Basque Country and Northern Ireland (1994-2006): a Comparative Approach.” Working Papers 2010/03. Institut Catala Internacional Per la Pau. http://www20.gencat.cat/docs/icip/Continguts/Publicacions/WorkingPapers/Arxius/WP10_3_ANG.pdf (December 13, 2011).
Lodge, Tom. 2009. “Northern Ireland: between Peace and Reconciliation.” OpenDemocracy. http://www.opendemocracy.net/article/northern-ireland-between-peace-and-reconciliation (December 13, 2011).
Major, John. 1999. John Major: The Autobiography. London: HarperCollins.
Mitchell, George J., John de Chastelain, and Harri Holkeri. 1996. Report of the International Body on Arms Decommissioning, 22 January 1996. Conflict Archive on the Internet, University of Ulster. http://cain.ulst.ac.uk/events/peace/docs/gm24196.htm (December 13, 2011).
Moloney, Ed. 2007. A Secret History of the IRA. 2nd Edition. London: Penguin Books.
Powell, Jonathan. 2009. Great Hatred, Little Room: Making Peace in Northern Ireland. London: Vintage Books.
Saville of Newdigate, William L. Hoyt, and John L. Toohey. 2010. Report of the Bloody Sunday Inquiry. National Archive. http://webarchive.nationalarchives.gov.uk/20101103103930/http://bloody-sunday-inquiry.org/ (December 13, 2011).
Shirlow, Peter, and Kieran McEvoy. Beyond the Wire: Former Prisoners and Conflict Transformation in Northern Ireland. London: Pluto Press.
Sunningdale Agreement. 1973. http://cain.ulst.ac.uk/events/sunningdale/agreement.htm (December 13, 2011).
Taylor, Peter. 2000. Loyalists. London: Bloomsbury.
Thatcher, Margaret. 1993. Downing Street Years. London: HarperCollins.
The Agreement. 1998. http://cain.ulst.ac.uk/events/peace/docs/agreement.htm (December 13, 2011).
Wichert, Sabine. 1999. Northern Ireland since 1945. 2nd Edition. New York: Longman.
Widgery. 1972. Report of the Tribunal appointed to inquire into the events on Sunday, 30th January 1972. Conflict Archive on the Internet, University of Ulster. http://cain.ulst.ac.uk/hmso/widgery.htm (December 13, 2011).
รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์
1. Alex Maskey – สมาชิกสสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค SF และกรรมการกำกับดูแลกิจการตำรวจ (Policing Board) ในนามพรรค
2. David Stitt – อดีตหัวหน้ากองกำลังย่อยกลุ่มติดอาวุธ UDA ของฝ่าย Loyalist
3. Evelyn Glenholmes – แกนนำพรรค SF เป็นลูกและหลานของอดีตสมาชิก IRA และได้เข้าร่วม IRA ตั้งแต่อายุ 13 ปี ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนอังกฤษว่า “นางฟ้าแห่งความตาย” (Angle of Death)
4. Ian White – ผู้อำนวยการ Glencree Center for Peace and Reconciliation ซึ่งเคยมีบทบาทเป็นผู้เชื่อมประสานให้เกิดการพูดคุยระหว่างฝ่าย Unionist และฝ่าย Nationalist ในระดับชุมชน
5. Jeffrey Donaldson – สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค DUP/ อดีตคณะผู้เจรจาของพรรค DUP ในกระบวนการสันติภาพเมื่อปี 2541
6. Jimmy Spratt – สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค DUP และกรรมการกำกับดูแลกิจการตำรวจ (Policing Board) ในนามพรรค
7. Lynne Knox – จ่าตำรวจประจำสำนักงานตำรวจไอร์แลนด์เหนือ
8. Martin Magill (Rev.) – บาทหลวงนิกายคาทอลิกประจำ St Oliver Plunkett Parish เบลฟาสต์ตะวันตก
9. Michael Culbert – ผู้อำนวยการคอยส์เต้ (Coiste) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ช่วยเหลือดูแลอดีตนักโทษการเมืองในการกลับคืนสู่สังคม/ เป็นอดีตสมาชิกกลุ่มขบวนการIRA และเป็นอดีตนักโทษการเมืองที่ถูกทางการอังกฤษตัดสินจำคุก 16 ปี
10. Paul Arthur – ศาสตราจารย์ด้านสันติภาพและความขัดแย้ง มหาวิทยาลัย Ulster
11. Paul Moran – สารวัตรประจำสำนักงานตำรวจไอร์แลนด์เหนือ
12. Peter Robinson – หัวหน้าคณะผู้บริหารไอร์แลนด์เหนือ (First Minister)
13. Vikki Nelson – ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว Jimmy Spratt สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือพรรค DUP