ASEAN+3
ผู้เรียบเรียง พัชร์ นิยมศิลป
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ ประเสริฐสุข
ความเป็นมาของกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three : APT)
ท่ามกลางช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย กรอบความร่วมมือ ASEAN+3 ได้เริ่มขึ้นในเดือนธันวาคมปี ค.ศ.1997 โดยผู้นำของจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นได้รับเชิญให้มาร่วมการประชุมวิสามัญของบรรดาผู้นำอาเซียน [1] ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามขึ้น และได้จัดตั้งขึ้นเป็นเวทีประชุมประจำปีอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1999 ในการประชุมอาเซียนบวกสามครั้งที่สาม ที่กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ [2] อันเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และอีก 3 ประเทศนอกกลุ่มคือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยความร่วมมือดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออก ครอบคลุมทั้งในด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านการเงินและเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
ความร่วมมือด้านในด้านที่สำคัญ
กลุ่มประเทศอาเซียน และประเทศที่เกี่ยวข้อง ทั้งจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ได้มีการจัดทำแผนงานดำเนินการในการร่วมมือระหว่างกัน (ASEAN+3 Cooperation Work Plan (2007 – 2017 ทั้งนี้ ความร่วมมือในกรอบเริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1999 โดยได้มีการจัดตั้งกลุ่มวิสัยทัศน์เอเชียตะวันออกรุ่นแรก (East Asia Vision Group I-EAVG I) [3] ขึ้น ซึ่ง EAVG ได้มีข้อเสนอการรวมตัวระหว่างประเทศในระดับที่ใหญ่ขึ้นคือ ประชาคมเอเชียตะวันออกนั่นเอง ซึ่งจากความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียน และประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้มีความร่วมมือในด้านที่สำคัญดังนี้
2.1ด้านการเงินและเศรษฐกิจ
ความร่วมมือในด้านการเงินและเศรษฐกิจนั้น เกิดจากความร่วมมือภายใต้ข้อตกลงความริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative - CMI) เมื่อปี ค.ศ.2000 ได้มีการประชุมรัฐมนตรีคลัง อาเซียนบวกสาม ที่ตกลงให้มีการแลกเปลี่ยนเงินสำรองระหว่างกัน ในกรณีเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ซึ่งหลังจากนั้นมีการพัฒนาต่อมา ได้แก่ การจัดตั้งหน่วยวิจัยหรือ AMRO ขึ้นที่สิงคโปร์
(1) ยกระดับขึ้นเป็น CMI Multilateralisation (CMIM) อันเป็นกลไกเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของรัฐสมาชิกในระดับพหุภาคี ต่อจากเดิมที่เป็นการแลกเปลี่ยนเงินสำรองในระดับทวิภาคี
(2) จัดตั้งสำนักวิจัยเศรษฐกิจประเทศสมาชิกในเศรษฐกิจมหภาคอาเซียน+3 (ASEAN+3 Macroeconomic) เพื่อประเมินและติดตามสภาวะเศรษฐกิจของกลุ่ม
(3) จัดตั้งหน่วยงานค้ำประกันเพื่อกิจการและการลงทุน (Credit Guarantee and Investment Facility - CGIF) โดยอยู่ภายใต้ความดูแลของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank – ADB)
ในปี ค.ศ. 2014 การติดต่อค้าขายกันระหว่างสมาชิก ASEAN+ 3 นั้นเติบโตขึ้นเรื่อยๆ คิดเป็นมูลค่า 727.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น ร้อยละ 28.8 สำหรับการติดต่อการค้าทั้งหมดของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีมูลค่าการลงทุน (FDI) จากกลุ่มประเทศบวกสามรวมเป็นจำนวนถึง 26.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] อาเซียนยังส่งออกให้แก่กลุ่มสามประเทศดังกล่าวๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเฉลี่ยปีละ 1.5 เปอร์เซ็นต์ [5]
2.2 ด้านการท่องเที่ยว กรอบความร่วมมือ ASEAN+3 ได้มีการวางแผนงานโครงการการท่องเที่ยวในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวร่วมกัน สิทธิพิเศษต่างๆที่จะให้แก่การท่องเที่ยวภายในประเทศสมาชิก และมีแนวโน้มที่จะมีความร่วมมือที่สำคัญระหว่าง องค์การท่องเที่ยวแห่งชาติในประเทศสมาชิกด้วย นอกจากนี้ตามแผนโครงการยังได้มีการจัดตั้งกลุ่มคณะทำงาน e-tourism [6]
2.3 ด้านอาหาร กรอบความร่วมมือ ASEAN+3 มีการพัฒนาโครงการต่างๆ มากมายภายใต้แผนการความร่วมมือของอาเซียนบวกสาม [7] (APT Cooperation Strategy (APTCS) อาทิ
2.3.1 ว่าด้วยการสำรองข้าวยามฉุกเฉินอาเซียนบวกสาม (APT Emergency Rice Reserve Agreement (APTERR)) อันเป็นข้อตกลง กรณีเกิดภัยพิบัติ และภัยแล้ง เป็นต้น อีกทั้งช่วยเหลือประเทศสมาชิกเมื่อประสบปัญหาการขาดแคลนธัญญาหาร ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติและภัยแล้ง เป็นต้น
2.3.2 ระบบข้อมูลความมั่นคงทางอาหารอาเซียน (ASEAN Food Security Information System (AFSIS))[8] เป็นข้อตกลงที่เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร ผ่านการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหารแก่ประเทศภาคี โดยประเทศสมาชิกจะใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ระบบข้อมูลนี้จะช่วยให้การวางแผนและการกำหนดนโยบายด้านความมั่นคงทางอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น [9]
2.4ด้านพลังงาน ในกรอบความร่วมมือ ASEAN+3 นั้น ได้มีความร่วมมือในด้านพลังงาน โดยมีการประชุมระหว่างบรรดารัฐสมาชิก ยกตัวอย่างเช่น การประชุมเกี่ยวกับตลาดน้ำมันในกรอบ ASEAN+3 (Regular APT Forum on Oil Market) หรือ การประชุมเกี่ยวกับความมั่นคงทางพลังงานในอาเซียนบวกสาม (APT Forum on Energy Security) เป็นต้น
2.5ด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระหว่างดำเนินการ ซึ่งได้ถูกบรรจุอยู่ในแผนงานประจำปีของเหล่าผู้นำ เช่น เรื่องการมีระบบเศรษฐกิจที่รักษ์สิ่งแวดล้อม (green economy) นอกจากนี้ยังมีการก่อตั้งโครงการใหม่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เช่น การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ (Integrated Water Resource Management หรือ IWRM)
2.6ด้านสังคมและวัฒนธรรม ในกรอบความร่วมมือ ASEAN+3 ได้มีการประชุมระหว่างกันในด้านทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมีความร่วมมือและการประชุมที่สำคัญคือ
2.6.1 การประชุมเพื่อจัดการการบริการสังคม (APT Conference on Civil Service Matters (ACCSM+3) Luang Prabang, Lao PDR,2010)
2.6.2 การประชุมความร่วมมือทางด้านแรงงาน เพื่อการพัฒนาตลาดแรงงาน พัฒนาการฝึกวิชาชีพต่างๆ และมาตรฐานการแข่งขันทางแรงงานระหว่างประเทศสมาชิก (APT Labour Ministers Meeting (ALMM+3) Nay Pyi Taw, Myanmar 2014)
2.6.3 การประชุมเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรม โดยเฉพาะการแบ่งปันนโยบายด้านศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ร่วมพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมทั้งในระดับเล็กและระดับกลาง (APT Ministers Responsible for Culture and Arts (AMCA+3))
2.6.4. ความร่วมมือด้านข้อมูลข่าวสารและสื่อ APT Ministers Responsible for Information (AMRI+3)
2.6.5. ความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีการจัดค่ายแก่อาจารย์และนักเรียนในอาเซียน (Committee on Science and Technology Plus Three : ASEAN COST+3)
2.7ด้านการแพทย์ กรอบความร่วมมือ ASEAN+3 นั้น ได้มีความร่วมมือทางด้านแพทย์โดยเฉพาะในเรื่อง แพทย์แผนโบราณ การจัดการสุขอนามัยเมื่อเกิดภัยพิบัติ สุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก โรคระบาด โรคที่ไม่ติดต่อและโรคติดต่อหรือติดเชื้อ รวมถึงมีการร่วมทุนโครงการศึกษาพัฒนาโรคเฉพาะบางอย่าง เช่นโรคมาลาเรีย พิษสุนัขบ้า และโรคไข้เลือดออก โดยในเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2014 ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมในการป้องกันและยับยั้งโรคอีโบลา โดยได้มีการพูดคุยและติดตามผลที่เกิดขึ้น ซึ่งอยู่ภายใต้การสนับสนุนขององค์การอนามัยโลก
2.8 ความร่วมมือที่สำคัญ [10]
2.8.1.การจัดประชุมความร่วมมือระหว่างรัฐมนตรีคมนาคมของอาเซียนและญี่ปุ่นในปี 2003 เมืองบาหลี ในส่วนของการคมนาคมและระบบขนส่ง ซึ่งยังผลให้เกิด 16 โครงการร่วมระหว่างญี่ปุ่นและอาเซียนในช่วงปีค.ศ.2003-2004 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง อ้างอิงที่ไม่มีชื่อต้องมีเนื้อหา
2.8.2.ความตกลงระหว่างอาเซียนและจีนในส่วนของการคมนาคม โดยได้มีการจัดประชุมความตกลงระหว่างรัฐมนตรีทั้งสองฝ่าย ขึ้นที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา ในปี ค.ศ.2004 นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือด้านสื่อสารสนเทศ (Memorandum of Understanding (MOU) on Cooperation in ICT) โดยได้จัดขึ้นในเมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปีค.ศ 2003
2.8.3.เกาหลีใต้ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคในการวางแผนทำหนังสือทางหลวงอาเซียน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการทำทางหลวงสายอาเซียน
การประชุมที่สำคัญ
การประชุมสุดยอด ASEAN+3 จะจัดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับมีการจัดประชุมสุดยอดอาเซียน โดยจะจัดขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคมของทุกปี โดยเจ้าภาพจัดประชุมในแต่ละครั้ง จะเรียงตามชื่อประเทศสมาชิกอาเซียนตามลำดับ [11]
ตารางการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม
การประชุมสุดยอดอาเซียน+3 | วันเวลาที่จัดประชุม | สถานที่ที่จัดประชุม |
---|---|---|
ครั้งที่ 1 | 18 มีนาคม ค.ศ. 1999 | ฮานอย (เวียดนาม) |
ครั้งที่ 2 | 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 | เชียงใหม่ (ไทย) |
ครั้งที่ 3 | 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 | มะนิลา (ฟิลิปปินส์) |
ครั้งที่ 4 | 7 ตุลาคม ค.ศ. 2000 | เชียงใหม่ (ไทย) |
ครั้งที่ 5 | 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 | บันดาร์เสรีเบกาวัน (บรูไน) |
ครั้งที่ 6 | 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 | พนมเปญ (กัมพูชา) |
ครั้งที่ 7 | 7 ตุลาคม ค.ศ. 2003 | บาหลี (อินโดนีเซีย) |
ครั้งที่ 8 | 29 พฤศจิกายน คศ. 2004 | เวียงจันทน์ (ลาว) |
ครั้งที่ 9 | 12 ธันวาคม คศ. 2005 | กัวลาลัมเปอร์ (มาเลเซีย) |
ครั้งที่ 10 | 14 มกราคม คศ. 2007 | เซบู (ฟิลิปปินส์) |
ครั้งที่ 11 | 20 พฤศจิกายน คศ. 2007 | สิงคโปร์ |
ครั้งที่ 12 | 24 ตุลาคม คศ. 2009 | ชะอำ-หัวหิน (ไทย) |
ครั้งที่ 13 | 29 ตุลาคม คศ. 2010 | ฮานอย (เวียดนาม) |
ครั้งที่ 14 | 18 พฤศจิกายน คศ. 2011 | บาหลี (อินโดนีเซีย) |
ครั้งที่ 15 | 19 พฤศจิกายน คศ. 2012 | พนมเปญ (กัมพูชา) |
ครั้งที่ 16 | 10 ตุลาคม คศ 2013 | บันดาร์เสรีเบกาวัน (บรูไน) |
ครั้งที่ 17 | 13 พฤศจิกายน คศ 2014 | เนปิดอว์ (พม่า) |
บรรณานุกรม
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ.2555.กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี). <http://www.led.go.th/asean/pdf/4/4-1.pdf> (accessed March 22,2015)
วิทยาลัยอาชีวะศึกษาลำปาง .2014.“อาเซียน+3.” <www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_asean+3.htm> (accessed มีนาคม 22,2015)
ASEAN Food Security Information System.2014.“Background”. <www.afsisnc.org/aboutus> (accessed March 21,2015)
ASEAN Secretariat. 2014. “ASEAN+3.” <http://www.asean.org/asean/external-relations/asean-3> (accessed March 25,2015)
Asia Regional Integration Center.2014. “Association of Southeast Asian Nations Plus Three (ASEAN+3) cooperation on energy, transport, and information & communications technology.” <http://www.aric.adb.org/initiative/association-of-southeast-asian-nations-plus-three-cooperation-on-energy-transport-and-information-communications-technology?communications_technology=> (accessed March22,2015)
Masahiro kawai and Ganeshan wignajia.2007. “ASEAN+3 or ASEAN+6 Which way forward”. www.wto.org/english/tratop_e/region_e/con_sep07_e/kawai_wignaraja_e.pdf (accessed March 22,2015)
อ้างอิง
- ↑ Masahiro kawai and Ganeshan wignajia.2007. “ASEAN+3 or ASEAN+6 Which way forward”. <www.wto.org/english/tratop_e/region_e/con_sep07_e/kawai_wignaraja_e.pdf> (accessed March 22,2015)
- ↑ Asia Regional Integration Center.2014. “Association of Southeast Asian Nations Plus Three (ASEAN+3) cooperation on energy, transport, and information & communications technology.” <http://www.aric.adb.org/initiative/association-of-southeast-asian-nations-plus-three-cooperation-on-energy-transport-and-information-communications-technology?communications_technology=> (accessed March22,2015)
- ↑ <http://www.led.go.th/asean/pdf/4/4-1.pdf> (accessed March 22,2015)
- ↑ ASEAN Secretariat. 2015. “Chairman’s Statement of the 18th ASEAN Plus Three Summit Kuala Lumpur, 21 November 2015” < http://www.asean.org/images/2015/November/27th-summit/statement/Chairman-Statement-APT-FINAL.pdf> (accessed November 27, 2015).
- ↑ ASEAN Secretariat. 2014. “ASEAN+3.” <http://www.asean.org/asean/external-relations/asean-3> (accessed March 25,2015)
- ↑ Ibid.
- ↑ Ibid.
- ↑ ASEAN Food Security Information System.2014.“Background”. <www.afsisnc.org/aboutus> (accessed March 21,2015)
- ↑ Ibid.
- ↑ Asia Regional Integration Center.2014. “Association of Southeast Asian Nations Plus Three (ASEAN+3) cooperation on energy, transport, and information & communications technology.” <http://www.aric.adb.org/initiative/association-of-southeast-asian-nations-plus-three-cooperation-on-energy-transport-and-information-communications-technology?communications_technology=> (accessed March25,2015)
- ↑ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน สำนักประชาสัมพันธ์ เขต6.”การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน”<http://region6.prd.go.th/main.php?filename=asean_meeting>