แทนคุณแผ่นดิน (พ.ศ. 2550)

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต



พรรคแทนคุณแผ่นดิน

พรรคแทนคุณแผ่นดินจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[1] โดยมีนายวิชัย ศิรินคร [2] ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคและนายชาตวิทย์ มงคลแสน ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค[3]

ในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นทางการของพรรคแทนคุณแผ่นดินนั้นที่ผ่านมาพรรคยังมิได้เข้าร่วมกิจกรรมการเลือกแม้แต่ครั้งเดียว


รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ [4]


นโยบายเร่งด่วน

1.สร้างรางรถไฟคู่ขนานจำนวน 3 สายให้แล้วเสร็จภายใน 15 ปี

2.จัดหากองทุนกู้ยืมให้แรงงานไทยอีสานไปทำงานในต่างประเทศโดยไปทำงานก่อนแล้วผ่อนให้รัฐทีหลัง


ด้านการเมืองและการปกครอง

1.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนทุกคน

2.กระจายอำนาจสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น

3.พัฒนาการเมืองในระบบรัฐสภาให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ มั่นคงและมีเกียรติภูมิ

4.สนับสนุนบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชน ส่งเสริมบทบาทของสื่อมวลชน


ด้านการเกษตร

1.ปรับปรุงระบบการปฏิรูปที่ดิน

2.กำหนดราคาผลผลิตขั้นต่ำและสนับสนุนสหกรณ์การเกษตร

3.ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรโดยตั้งโรงงานขนาดเล็กไว้ในแหล่งวัตถุดิบ

4.จัดตั้งสถาบันวิจัยทางการเกษตร สถาบันเกษตรกร สมัชชาและสภาการเกษตร

5.เร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ำ

6.รื้อฟื้นโครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำแม่โขงที่ผามอง

7.แก้ไขภาวะหนี้สินของเกษตรกร


ด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม

1.ส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพและสวัสดิการแก่ผู้ใช้แรงงาน

2.ส่งเสริมการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพแรงงาน

3.คุ้มครองผู้ใช้แรงงานเด็ก เยาวชน และสตรี

4.จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบเกี่ยวกับปัญหาแรงงานในต่างประเทศ

5.นำแรงงานที่กลับจากต่างประเทศมาพัฒนาอุตสาหกรรม


ด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน

1.การกระจายทรัพย์สินและรายได้ให้มีความเป็นธรรม

2.ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคและระหว่างประเทศ

3.สนับสนุนการออม

4.ขุดคลองเชื่อมการเดินเรือสมุทรระหว่างทะเลอันดามันและอ่าวไทยเพื่อลดระยะทางขนส่ง

5.ร่วมทุนกับประเทศเพื่อนบ้านในการสร้างท่าเรือน้ำลึก

6.ปรับปรุงระบบภาษีอากร

7.พัฒนาโครงสร้างและบริการพื้นฐานเพื่อจูงใจนักลงทุน


ด้านสังคมและสาธารณสุข

1.รักษาฟรีแก่บุคคลสูงอายุ

2.เกษียณอายุและบุคคลไร้สมรรถภาพ

3.สนับสนุนการวิจัยเพื่อนำมาแก้ปัญหาสาธารณสุข

4.กระจายการบริการด้านสาธารณสุขไปทั่วประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

5.ควบคุมค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนให้เป็นธรรม


ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

1.จัดการศึกษาให้เหมาะสมกับแต่ละภูมิภาคของประเทศ

2.สนับสนุนการวิจัยในมหาวิทยาลัย

3.เร่งผลิตบุคลากรในด้านวิทยาศาสตร์

4.ส่งเสริมการนำเอาศาสนามาปรับใช้ในการพัฒนาชีวิต

5.ฟื้นฟูวัฒนธรรมที่ดีงามทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น


ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

1.กำหนดแผนการใช้และพิทักษ์ทรัพยากรของชาติ

2.ให้ความรู้ในเรื่องระบบนิเวศน์แก่ประชาชนทุกคน

3.นำเข้าพลังงานหลักจาต่างประเทศและสำรองพลังงานในประเทศ

4.ให้รัฐมีอำนาจจัดการพื้นที่รกร้างว่างเปล่าและพื้นที่ของรัฐที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์โดยการให้สัมปทานปลูกป่าและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม


ด้านการพัฒนาท้องถิ่นและชนบท

1.จัดให้มีการวางผังเมืองในเมืองใหญ่

2.กระจายระบบพื้นฐานทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

3.ส่งเสริมให้มีการสร้างงานในชนบท

4.พัฒนาองค์กรชุมชนชนบทให้เข้มแข็งและมีศักยภาพ


ด้านการลงทุนและอุตสาหกรรม

1.ปรับปรุงกลไกรัฐให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ลงทุน

2.ส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก

3.สนับสนุนอุตสาหกรรมเพื่อรองรับผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่


ด้านการต่างประเทศ

1.ส่งเสริมความร่วมมืออันดีกับทุกประเทศโดยเฉพาะประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2.สร้างบทบาทในการลดความขัดแย้งระหว่างประเทศ

3.คุ้มครองสิทธิประโยชน์ต่างๆของคนไทยในต่างประเทศ

4.ช่วยเหลือและสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเพื่อนบ้าน

5.ผลักดันให้คนไทยแสดงบทบาทเป็นผู้นำในเวทีสำคัญของโลก


ด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ

1.พัฒนาโครงสร้างกองทัพให้มีขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพ

2.สร้างกองทัพให้เป็นทหารอาชีพและมีบทบาทในการพัฒนาประเทศ

3.เปลี่ยนยุทธศาสตร์ทางการทหารเป็นยุทธศาสตร์ทางการค้าและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

4.เพิ่มสวัสดิการให้แก่ทหาร

5.ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาของทหาร

6.พัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นใช้เอง


อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 32ง หน้า 85
  2. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 32ง หน้า 123
  3. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 32ง หน้า 123
  4. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 32ง หน้า 85-99