สำนัก สำนักงานเขตและสภาเขต
ผู้เรียบเรียง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ก๊กผล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
การจัดการบริหารงานภายในกรุงเทพมหานครมีองค์ประกอบสำคัญ คือ สำนัก สำนักงาน เขต และสภาเขต สำนักของกรุงเทพมหานคร การแบ่งงานตามอำนาจหน้าที่ออกเป็น 16 สำนัก สำนักนี้ถือเป็นหน่วยงานดูแลระดับยุทธศาสตร์ ได้แก่
- 1. สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
- 2. สำนักยุทธศาสตร์และการประเมินผล
- 3. สำนักสิ่งแวดล้อม
- 4. สำนักเทศกิจ
- 5. สำนักการแพทย์
- 6. สำนักการโยธา
- 7. สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
- 8. สำนักพัฒนาสังคม
- 9. สำนักอนามัย
- 10. สำนักระบายน้ำ
- 11. สำนักการคลัง
- 12. สำนักจราจร และขนส่ง
- 13. สำนักงานการศึกษา
- 14. สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- 15. สำนักงบประมาณ
- 16. สำนักผังเมือง
นอกจากนี้กรุงเทพมหานครยังมีหน่วยงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร อันประกอบด้วย สำนักงานการตลาด สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร บริษัทกรุงเทพธนาคม และตลาดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขต
สำนักเขตมีบทบาทสำคัญในการบริการแก่ประชาชนในเขตต่างๆ ในปัจจุบันมี 50 เขต อยู่ภายใต้การบริหารงาน ผู้อำนวยการเขต โดยมีสภาเขตที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นที่ปรึกษา สำนักงานเขตประกอบด้วย
- 1. สำนักงานเขตคลองสาน
- 2. สำนักงานเขตคลองเตย
- 3. สำนักงานเขตคลองสามวา
- 4. สำนักงานเขตคันนายาว
- 5. สำนักงานเขตจตุจักร
- 6. สำนักงานเขตจอมทอง
- 7. สำนักงานเขตดอนเมือง
- 8. สำนักเขตดินแดง
- 9. สำนักงานเขตดุสิต
- 10. สำนักงานเขตตลิ่งชัน
- 11. สำนักงานเขตทวีวัฒนา
- 12. สำนักงานเขตทุ่งครุ
- 13. สำนักงานเขตธนบุรี
- 14. สำนักงานเขตบางกะปิ
- 15. สำนักงานเขตบางกอกน้อย
- 16. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
- 17. สำนักงานเขตบางขุนเทียน
- 18. สำนักงานเขตบางเขน
- 19. สำนักงานเขตบางคอแหลม
- 20. สำนักงานเขตบางแค
- 21. สำนักงานเขตบางซื่อ
- 22. สำนักงานเขตบางนา
- 23. สำนักงานเขตบางบอน
- 24. สำนักงานเขตบางพลัด
- 25. สำนักงานเขตบางรัก
- 26. สำนักงานเขตบึงกุ่ม
- 27. สำนักงานเขตปทุมวัน
- 28. สำนักงานเขตประเวศ
- 29. สำนักงานเขตป้อมปราบฯ
- 30. สำนักงานเขตพญาไท
- 31. สำนักงานเขตพระนคร
- 32. สำนักงานเขตพระโขนง
- 33. สำนักงานเขตภาษีเจริญ
- 34. สำนักงานเขตมีนบุรี
- 35. สำนักงานเขตยานนาวา
- 36. สำนักงานเขตราชเทวี
- 37. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ
- 38. สำนักงานเขตลาดกระบุง
- 39. สำนักงานเขตลาดพร้าว
- 40. สำนักงานเขตวังทองหลาง
- 41. สำนักงานเขตวัฒนา
- 42. สำนักงานเขตสะพานสูง
- 43. สำนักงานเขตสาธร
- 44. สำนักงานเขตสายไหม
- 45. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์
- 46. สำนักงานเขตสวนหลวง
- 47. สำนักงานเขตหนองจอก
- 48. สำนักงานเขตหนองแขม
- 49. สำนักงานเขตหลักสี่
- 50. สำนักงานห้วยขวาง
ทั้งนี้ได้มีการจัดกลุ่มเขตของกรุงเทพมหานครออกเป็น 4 ลักษณะ ตามวัตถุประสงค์เพื่อการปฏิบัติงาน ดังนี้
(1) การแบ่งเขตตามการบริหารงาน 6 กลุ่มโซน คือ กลุ่มรัตนโกสินทร์ กลุ่มบูรพา กลุ่มศรีนครินทร์ กลุ่มเจ้าพระยา กลุ่มกรุงธนเหนือ กลุ่มกรุงธนใต้
(2) การแบ่งเขตตามที่ตั้งของพื้นที่ 3 เขต คือ เขตชั้นใน เขตชั้นกลาง เขตชั้นนอก
(3) การแบ่งเขตตามการตั้งถิ่นฐานชุมชน 5 โซน คือ เขตเมืองชั้นใน (Inner City) เขตชั้นกลางหรือเขตต่อเมือง (Urban Fringe) และเขตชั้นนอกหรือเขตชานเมือง (Suburb)
(4) การแบ่งเขตตามการลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ผังเมือง) 13 บริเวณ
การแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเขต
สำนักงานเขตเป็นองค์การบริหารของเขต มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานการปกครองท้องที่การพัฒนาชุมชน การส่งเสริมอาชีพ การทะเบียน การโยธา การรักษาที่สาธารณะ การพัฒนาผังเมืองเขต การระบายน้ำ การสาธารณสุข การจัดเก็บรายได้ การรักษาความสะอาด การดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ การดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา การควบคุมดูแลโรงเรียนประถมศึกษา การดูแลและรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือ ที่กฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งส่วนราชการ ประกอบด้วย ฝ่ายปกครอง ฝ่ายทะเบียน ฝ่ายโยธา ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ฝ่ายรายได้ ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายการคลัง ฝ่ายเทศกิจ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
ผู้อำนวยการเขต
สำนักงานเขตมีผู้อำนวยการเขตซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับ บัญชาข้าราชการ และลูกจ้างกรุงเทพมหานครรับผิดชอบการปฏิบัติราชการภายในเขต และจะให้มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตคนหนึ่งหรือหลายคนสำหรับช่วยสั่งหรือ ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้ ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอในแต่พระราช บัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
- อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการเขต
- อำนาจหน้าที่ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย
ในกรณีที่เป็นการสมควร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจสั่งให้สำนักงานเขตใดปฏิบัติหน้าที่แทนสำนัก งานเขตอื่นทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ และจะให้ผู้อำนวยการเขตใดเป็น ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่นั้นก็ได้ แต่ต้องประกาศสั่งการดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา
สภาเขต
การกำหนดให้มี “สภาเขต” เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ทำหน้าที่เสมือนที่ปรึกษาผู้อำนวยการเขตในแต่ละเขตที่สภาเขตนั้นได้รับการ เลือกตั้ง ขึ้นมา เนื่องจากอำนาจที่แท้จริงยังอยู่ที่ผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาใน ระดับเขต จึงทำให้สภาเขตมีบทบาทไม่มากเท่าที่ควร โดยมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
- (1) ในเขตหนึ่ง ๆ ให้มีสภาเขต ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งมีจำนวนอย่างน้อย เขตละ 7 คน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกิน 100,000 คน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีก 1 คนต่อจำนวนราษฎรทุก 100,000 คน เศษของ 100,000 คนถ้าถึง 50,000 คน หรือกว่านั้นให้นับเป็น 100,000 คน โดยกำหนดอายุของสภาเขตคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
- (2) กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต เช่นเดียวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- (3) หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตให้ตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
อำนาจหน้าที่ของ “สภาเขต” มีดังนี้
- (1) ให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนพัฒนาเขตต่อผู้อำนวยการเขตและสภา กรุงเทพมหานคร และเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขต
- (2) สอดส่องและติดตามดูแลการดำเนินการของสำนักงานเขต
- (3) ให้คำแนะนำหรือข้อสังเกตต่อผู้อำนวยการเขตเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขการ บริการประชาชนภายในเขต หากผู้อำนวยการเขตไม่ดำเนินการใด ๆ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ทราบ ให้สภาเขตแจ้งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาดำเนินการต่อไป
- (4) ให้คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตร้องขอ
- (5) แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกระทำกิจการ หรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ เกี่ยวกับการงานของสภาเขต ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนั้น
- (6) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎหมายหรือที่สภากรุงเทพมหานครมอบหมาย
- (7) สภาเขตต้องมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ตามวันเวลาที่สภาเขตกำหนดสมาชิกสภาเขตมาประชุมกันเป็นครั้งแรก ในการประชุมสภาเขตต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก ทั้งหมด จึงจะถือเป็นองค์ประชุม และในการประชุมสภาเขตจะพิจารณาเรื่องอื่นที่อยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ไม่ได้
ที่มา
สถาบันพระปกเกล้า. สารานุกรมการปกครองท้องถิ่น หมวดที่ 3 พัฒนาการและรูปแบบการปกครองท้องถิ่นไทย ลำดับที่ 5 เรื่อง กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2547.
โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543.
ชูวิทย์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. การกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น เปรียบเทรียบ :อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2541.
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร ปีที่ 27, 2542.
พัชรี สิโรรส และอรทัย ก๊กผล บรรณาธิการ. การบริหารเมือง : กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร. จากเทศบาลสู่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร, 2542.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545
กรุงเทพมหานคร <www.bma.go.th>