รายงานวิจัย การสร้างความปรองดองแห่งชาติ
<center>การสร้างความปรองดองแห่งชาติ
การวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎรว่า “อะไรคือรากเหง้าของความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และมีปัจจัยหรือกระบวนการใดที่ทำให้คนในสังคมสามารถกลับมาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ?” โดย (๑) การทบทวนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขความขัดแย้ง กระบวนการสร้างความปรองดอง และความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ร่วมกับการศึกษากฎหมาย รูปแบบ และกลไกที่เกี่ยวข้องซึ่งเคยมีการนำไปใช้ในการแก้ไขความขัดแย้งและสร้างความปรองดองทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ (๒) การสรุปบทเรียนจากเวทีประชาเสวนาหาทางออกซึ่งสถาบันพระปกเกล้าได้ดำเนินการในทุกภูมิภาคทั่วประเทศโดยให้ประชาชนหลายภาคส่วนร่วมกันเสวนาหาทางออกของประเทศไทยร่วมกันในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ – มิถุนายน ๒๕๕๔ (๓) การศึกษาประสบการณ์การแก้ไขความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองในต่างประเทศ ซึ่งคัดเลือกมา ๑๐ กรณีศึกษาจากหลากหลายทวีปในบริบทที่แตกต่างกัน ได้แก่ เกาหลีใต้ โคลอมเบีย ชิลี โบลิเวีย โมร็อกโก เยอรมนี รวันดา สหราชอาณาจักร (กรณีไอร์แลนด์เหนือ) อินโดนีเซีย (กรณีอาเจะห์) และแอฟริกาใต้ (๔) การประมวลวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน และ (๕) การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้อง จำนวน ๔๗ คน ซึ่งประกอบด้วยนักการเมืองอาวุโส ผู้มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ความขัดแย้ง ผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างความปรองดอง และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยใช้คำถามปลายเปิดสำหรับการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) ๒ ครั้ง โดยมีระยะเวลาในการศึกษาวิจัยทั้งสิ้น ๑๒๐ วัน ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือ รากเหง้าของความขัดแย้งทางการเมืองไทย และ ส่วนที่สองคือ ข้อเสนอกระบวนการสร้างความปรองดองในชาติ
๑. รากเหง้าของความขัดแย้งทางการเมืองไทย
สำหรับประเด็นรากเหง้าของความขัดแย้งทางการเมืองไทย พบว่าปัญหาใจกลางคือมุมมองที่แตกต่างกันต่อความเป็นประชาธิปไตยของประเทศที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการอำนาจและทรัพยากรในสังคม ระหว่างฝ่ายหนึ่งที่ให้น้ำหนักต่อการเลือกตั้งซึ่งความชอบธรรมของผู้บริหารประเทศอยู่ที่ ‘เสียงข้างมาก’ ของประชาชน กับอีกฝ่ายหนึ่งที่ให้น้ำหนักต่อ ‘คุณธรรมจริยธรรม’ ของผู้บริหารประเทศมากกว่าความเป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ โดยทั้งสองมุมมองนี้ ต่างก็มีทั้งกลุ่มที่เชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในมุมมองของตนกับกลุ่มที่อิงอยู่กับความเชื่อนั้นเพื่อแสวงหาและรักษาอำนาจตลอดจนผลประโยชน์ส่วนตน ทั้งหมดได้ส่งผลให้ความขัดแย้งทางความคิดนี้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัญหาใจกลางที่กล่าวไปแล้วนี้ได้เกิดขึ้นท่ามกลางบริบทของปัญหาพื้นฐานในสังคมไทย คือ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม อันเป็นเงื่อนไขที่ตอกย้ำให้ความแตกต่างทางความคิดทางการเมืองกลับกลายเป็นความแตกแยกและแหลมคมมากยิ่งขึ้น
มูลเหตุแห่งความขัดแย้งข้างต้นได้ขยายตัวไปสู่วงกว้างมากขึ้นจากการสะสม ‘ความรู้สึก’ ของทั้งสองฝ่ายว่า อีกฝ่ายหนึ่งได้ใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมในการดำเนินการตามความเชื่อข้างต้นและ/หรือผลประโยชน์ของตน อาทิ การแทรกแซงกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หรือการรัฐประหาร และถึงที่สุด ได้ขยายตัวเป็นความขัดแย้งรุนแรงในทุกระดับของสังคมไทยจากการระดมฐานมวลชนเพื่อสนับสนุนฝ่ายตน และจากการเสนอข่าวของสื่อบางส่วนที่มิได้เน้นการนำเสนอข้อคิดเห็นที่ครอบคลุมทุกแง่มุม
๒. ข้อเสนอกระบวนการสร้างความปรองดองในชาติ
ความแตกแยกทางความคิดอย่างกว้างขวางในสังคมไทยที่ยืดเยื้อยาวนาน สะท้อนให้เห็นความจริงที่ว่าไม่มีความคิดเห็นของฝ่ายใดที่ถูกหรือผิดไปเสียทั้งหมด ท่ามกลางสภาวะความขัดแย้งในปัจจุบันที่แต่ละฝ่ายยังคงยึดมั่นอยู่ในจุดยืน (Position) ของตนเอง สิ่งที่ต้องริเริ่มดำเนินการโดยเร็วคือการสร้างบรรยากาศแห่งการปรองดองด้วยการเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายได้มีโอกาสถกเถียงแลกเปลี่ยนในวงกว้าง ต่อข้อเสนอ ทางเลือก และความเป็นไปได้ต่างๆในการสร้างความปรองดองในชาติ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้แต่ละฝ่ายสามารถก้าวออกจากจุดยืนที่แตกต่างกันมาสู่จุดร่วมที่จะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้
ด้วยเหตุนี้ ข้อเสนอที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องซึ่งยังคงมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่นั้น จึงมีลักษณะเป็นทางเลือกที่ยังมิใช่คำตอบสุดท้าย โดยขอให้ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการสร้างความปรองดองบนพื้นฐานของความจริงจังและจริงใจด้วยกระบวนการพูดคุย (Dialogue) ใน ๒ ระดับ คือ ๑) ระดับตัวแทนทางการเมืองและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง และ ๒) ระดับประชาชนในพื้นที่ในลักษณะของ “เวทีประเทศไทย” ซึ่งจะทำให้สังคมได้ร่วมกันแสวงหาทางออกต่อความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบัน และออกแบบภาพอนาคตของประชาธิปไตยไทย ตลอดจนกติกาทางการเมืองที่ยอมรับได้ร่วมกัน
ทั้งนี้ เนื้อหาสาระของการพูดคุยแลกเปลี่ยน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการปรองดองนั้น มีอย่างน้อย ๖ ประเด็น โดยแบ่งเป็นระยะสั้น ๔ ประเด็นเพื่อทำให้ความแตกแยกและบาดแผลที่เกิดขึ้นกับสังคมและปัจเจกบุคคลกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และระยะยาว ๒ ประเด็นเพื่อป้องกันความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นจากความแตกต่างของมุมมองต่อประชาธิปไตย และเป็นการวางรากฐานของประเทศสู่อนาคตในระยะสั้น มีประเด็นที่สังคมควรต้องพิจารณาร่วมกัน ดังต่อไปนี้
(๑) การจัดการกับความจริงของเหตุการณ์รุนแรงที่นำมาซึ่งความสูญเสีย โดยการสนับสนุนส่งเสริมบทบาทของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ให้ดำเนิน การค้นหาความจริงให้แล้วเสร็จภายในหกเดือน และควรเปิดเผยข้อเท็จจริงของเหตุการณ์โดยไม่ระบุตัวบุคคลในระยะเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบททางสังคม โดยวัตถุประสงค์ของการเปิดเผยนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อให้สังคมเรียนรู้บทเรียนที่เกิดขึ้นในอดีตและป้องกันมิให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีกในอนาคต
(๒) การให้อภัยแก่การกระทำที่เกี่ยวข้องผ่านกระบวนการนิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองโดยรวมถึงกลุ่มผู้ชุมนุมทุกฝ่าย เจ้าหน้าที่รัฐและผู้บังคับบัญชา ตลอดจนผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยมีความเป็นไปได้อย่างน้อย ๒ ทางเลือก ทางเลือกที่หนึ่ง – ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองทั้งหมดทุกประเภท ทั้งคดีการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ และคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง อาทิ การทำลายทรัพย์สินของรัฐหรือเอกชน หรือการทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายและชีวิต
ทางเลือกที่สอง – ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองเฉพาะคดีการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ เท่านั้น โดยคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง เช่น การทำลายทรัพย์สินของรัฐหรือเอกชน หรือการทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายและชีวิต จะไม่ได้รับการยกเว้น
ทั้งนี้ ทั้งสองทางเลือก ให้ยกเว้นกรณีความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยให้กรณีดังกล่าวดำเนินไปตามกระบวนการยุติธรรมและนิติประเพณี
(๓) การเสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมและเป็นการ ลดเงื่อนไขของข้อกล่าวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในส่วนของการดำเนินการกับผู้ถูกกล่าวหาโดยกระบวนการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) โดยมีความเป็นไปได้อย่างน้อย ๓ ทางเลือก
ทางเลือกที่หนึ่ง – ดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาด้วยกระบวนการยุติธรรมตามปกติที่มีอยู่ โดยให้เฉพาะผลการพิจารณาของ คตส. สิ้นผลลง และโอนคดีทั้งหมดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการใหม่ แต่ไม่กระทบถึงคดีที่ถึงที่สุดแล้ว
ทางเลือกที่สอง – ให้เพิกถอนผลทางกฎหมายที่ดำเนินการโดย คตส. ทั้งหมด และให้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมปกติ โดยให้ถือว่าคดีดังกล่าวไม่ขาดอายุความ
ทางเลือกที่สาม – ให้เพิกถอนผลทางกฎหมายที่ดำเนินการโดย คตส. ทั้งหมด และไม่นำคดีที่อยู่ระหว่างกระบวนการและที่ตัดสินไปแล้วมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นทางเลือกใด จะต้องไม่มีการฟ้องร้อง คตส. ในเวลาต่อมา เนื่องจากถือว่าการกระทำของ คตส. เป็นไปตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในขณะนั้น
(๔) การกำหนดกติกาทางการเมืองร่วมกัน ซึ่งอาจรวมถึงการแก้ไขกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาหาข้อสรุปร่วมกันต่อประเด็นที่อาจจะถูกมองว่าขัดต่อหลักนิติธรรมและความเป็นประชาธิปไตย และต้องหลีกเลี่ยงการสร้าง “ความยุติธรรมของผู้ชนะ” ในแง่ที่ผู้มีอำนาจรัฐเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดโดยไม่ฟังเสียงที่เห็นต่าง อนึ่ง ประเด็นที่ต้องพิจารณาอาจรวมถึงการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่าย นิติบัญญัติ และองค์กรอิสระ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การตรวจสอบองค์กรอิสระ การได้มาซึ่งบุคคลที่เข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือการยุบพรรคการเมือง
ในระยะยาว มีประเด็นที่สังคมควรต้องพิจารณาร่วมกัน ดังต่อไปนี้
(๑) การออกแบบภาพอนาคตของการปกครองระบอบประชาธิปไตยไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นหลักการที่ทุกฝ่ายยอมรับและยึดถือร่วมกัน โดยการเปิดพื้นที่ให้มีการพูดคุยกันถึงลักษณะความเป็นประชาธิปไตยของไทยที่คนในสังคมยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ อันถือเป็นปัญหาใจกลางของความขัดแย้งทางการเมืองไทยในปัจจุบัน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเห็นพ้องในหลักการและกติกาทางการเมืองของระบอบประชาธิปไตยไทย
(๒) การวางรากฐานของประเทศเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม และการเสริมสร้างวัฒนธรรมความเป็นพลเมืองและความทนกันได้ (Tolerance) ในการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง
ทั้งนี้ ทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศแห่งการปรองดอง โดยรัฐบาลควร (๑) แสดงเจตจำนงทางการเมืองชัดเจน รวมทั้งมีแนวทางที่เป็นรูปธรรมที่จะสร้างความปรองดองในชาติโดยเร็ว (๒) สร้างความตระหนักแก่สังคมให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของการสร้างความปรองดองในชาติ และ (๓) มีคำอธิบายต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทั้งในรูปของตัวเงินและความรู้สึก อาทิ การให้เกียรติผู้สูญเสียทุกฝ่าย หรือการสร้างสัญลักษณ์เพื่อเป็นที่รำลึกถึงบทเรียนต่อเหตุการณ์ทางการเมืองของสังคมไทย
ในส่วนของผู้เกี่ยวข้องนั้น (๑) ทุกฝ่ายควรงดเว้นการกระทำใดๆ ที่ทำให้ผู้คนรู้สึกว่าอยู่ในสังคมที่ไม่เคารพกฎหมายและหลักนิติรัฐ อาทิ การใช้มวลชนในการเรียกร้องหรือกดดันด้วยวิธีการอันผิดกฎหมาย และ (๒) ควรลดความหวาดระแวงระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคมโดยยุติการเคลื่อนไหวใดๆ ที่อาจถูกตีความได้ว่าเป็นความพยายามที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ (๓) สื่อมวลชนควรสนับสนุนกระบวนการสร้างความปรองดองและหลีกเลี่ยงการสร้างความขัดแย้งใหม่โดยนำเสนอความคิดเห็นทางการเมืองจากฝ่ายต่างๆอย่างรอบด้าน และ (๔) สังคมไม่ควรรื้อฟื้นเอาผิดกับการทำรัฐประหารที่ผ่านมาในอดีตและต้องหามาตรการในการป้องกันมิให้เกิดการรัฐประหารอีกในอนาคต พร้อมทั้งกำหนดโทษของการกระทำดังกล่าวไว้ในประมวลกฎหมายอาญา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังที่กล่าวมาจะประสบผลสำเร็จได้ต้องอาศัยปัจจัยสำคัญอย่างน้อย ๓ ประการ คือ (๑) เจตจำนงทางการเมืองของผู้มีอำนาจรัฐที่จะสร้างความปรองดองโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ (๒) กระบวนการสร้างความปรองดองจะต้องมีพื้นที่ให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงและประชาชนจากทุกภาคส่วนในสังคมไทยได้มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นต่อทางออกและแนวทางป้องกันมิให้ความขัดแย้งกลับกลายเป็นความรุนแรงในอนาคต และ (๓) ปัญหาใจกลางซึ่งเป็นเหตุแห่งความขัดแย้งจะต้องได้รับการแก้ไขและแปรเปลี่ยนเป็นพลังในการพัฒนาประชาธิปไตยที่พึงปรารถนาของประเทศไทย
อนึ่ง คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ริเริ่มกระบวนการพูดคุยร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นโดยไม่ใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน หลังจากนั้นจึงขยายผลการพูดคุยสู่พรรคการเมืองของตน กลุ่มผู้สนับสนุน และสังคมใหญ่ เพื่อให้ผู้คนทั้งสังคมที่ไม่ว่าจะมีความเห็นทางการเมืองแบบใด เกิดความตระหนักว่า สังคมไทยจะปรองดองกันได้ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการถกเถียงถึงความเป็นไปได้ต่างๆ ผ่านกระบวนการพูดคุยที่สามารถนำมาซึ่งทางออกที่ยอมรับได้ร่วมกัน
กล่าวโดยสรุปแล้ว การที่กระบวนการสร้างความปรองดองในชาติจะบรรลุเป้าหมายได้นั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องก้าวข้ามไปให้ไกลกว่าการถกเถียงกันเพียงแค่ในข้อกฎหมาย กล่าวคือ ต้องพิจารณาให้กว้างและลึกลงถึงเหตุแห่งความขัดแย้ง คำนึงถึงมิติความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มพลังต่างๆในสังคม รวมถึงการมีกระบวนการในการแก้ไขปัญหาและสร้างความปรองดองที่ทุกฝ่ายในสังคมให้การยอมรับ ภายใต้บรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยที่ทำให้ทุกฝ่ายรู้สึกว่ามีบทบาทและพื้นที่ในการเสวนาถกเถียงถึงภาพอนาคตของประเทศ อันเป็นเสมือนหลักหมุดปลายทางที่ทุกฝ่ายจะร่วมเดินทางไปภายใต้กติกาที่สังคมเห็นพ้องต้องกัน
ตารางสรุปสาระสำคัญของการสร้างความปรองดองในชาติ
๑. ใครขัดแย้งกับใคร? –> มุมมองต่อความเป็นประชาธิปไตยที่แตกต่างกันในแง่ของระบบการจัดการอำนาจและทรัพยากรในสังคมระหว่างประชาธิปไตยเน้นเสียงข้างมาก กับ ประชาธิปไตยเน้นคุณธรรมจริยธรรม
๒. ขัดแย้งกันเรื่องอะไร? -> ชั้นความเชื่อ – ความเชื่อที่แตกต่างต่อระบบการจัดการอำนาจและทรัพยากรในสังคม ชั้นผลประโยชน์ – การแสวงหาและรักษาอำนาจและผลประโยชน์ที่อิงกับความเชื่อ
๓. ความขัดแย้งขยายตัวได้อย่างไร? -> การใช้อำนาจของ ‘ทั้งสองฝ่าย’ เพื่อดำเนินการตามความเชื่อข้างต้นและ/หรือให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ ของตนเองในลักษณะที่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม
๔. จะปรองดองกันได้อย่างไร? -> กระบวนการพูดคุย (Dialogue) ใน ๒ ระดับ เพื่อเปิดพื้นที่ให้สังคมได้แลกเปลี่ยนถกเถียงต่อข้อเสนอทางเลือก และความเป็นไปได้ต่างๆ พร้อมทั้งร่วมกันออกแบบภาพอนาคตของประชาธิปไตยไทยและกติกาทางการเมืองที่เห็นพ้องต้องกัน
๕. ตัวอย่างประเด็นที่ควรพูดคุยกัน ->
- ๑) การจัดการกับความจริงของเหตุการณ์รุนแรงที่นำมาซึ่งความสูญเสีย
- ๒) การให้อภัยแก่การกระทำที่เกี่ยวข้องผ่านกระบวนการนิรโทษกรรมในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุม ทางการเมือง
- ๓) การเสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมและเป็นการลดเงื่อนไขของข้อกล่าวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในส่วนของการดำเนินการกับผู้ถูกกล่าวหาโดยกระบวนการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
- ๔) การกำหนดกติกาทางการเมืองร่วมกัน
- ๕) การออกแบบภาพอนาคตของการปกครองระบอบประชาธิปไตยไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ๖) การวางรากฐานของประเทศเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม
Executive Summary
The aim of the present research was to investigate concrete steps to bring about sustainable reconciliation in Thailand in the present context. Research findings are based on the following components:
(1) Literature review of conflict resolution theories, reconciliation processes and transitional justice, as well as conflict resolution tools used in Thailand and in foreign countries;
(2) Conclusions of public forums held in all regions of Thailand between December 2010 and June 2011;
(3) Review of transitional justice experiences in 10 foreign countries, namely Indonesia (Aceh), South Korea, South Africa, Rwanda, Morocco, Colombia, Chile, Bolivia, United Kingdom (Northern Ireland) and Germany;
(4) Analysis of past political conflicts in Thai society from the 1932 revolution onwards;
(5) In-depth semi-structured interviews with experienced politicians, leaders of current social movements, actors in reconciliation efforts and other relevant stakeholders.
Research findings (1) identify the root causes of the Thai current political conflict and (2) issue recommendations for bringing about reconciliation.
1. Root causes of the Thai current political conflict At the core of the current political conflict lies the existence, in Thai society, of conflicting views on democracy, with regard to power and resource allocation. The first view places emphasis on the electoral process with the executive deriving its legitimacy from “the majority rule”. The opposing view considers “morality and ethical behavior” of the executive more important than its representativeness.
Both views are being held by a variety of groups for different reasons, be it convictions or personal interest. In the context of a society characterized by strong socio-economic inequalities, the conflict between opposing views on democracy has gained in intensity and scope, investing the social and the psychological domains. Both parties consider that the use of power by the other one is illegitimate, for instance, the intervention of the executive in the work of the public scrutiny bodies or the use of coup d’états. The conflict has invaded all sectors of society, as a result of grassroots mobilization and bias media.
2. Recommendations for bringing about reconciliation
In the context of a deep bipolarized society like Thailand, there is no possible answer relying on the identification of who is “right” and who is “wrong”. Both sides being most likely to maintain their current positions in the short run, what is now urgently needed is to build a “reconciliation climate” by opening up a space for public debate so that all parties can exchange about possible solutions to the conflict and create better mutual understanding. This will in turn enable the parties to reach a common position and achieve sustainable peace.
Conclusions presented here are drawn from the confrontation of experiences and opinions that are still revolving around a bipolar axis; therefore they do not represent ready-made instant solutions for Thailand. Instead, they insist on the need for cooperation between all parties by engaging in a genuine dialogue.
The reconciliation process should indeed be inclusive of public dialogues at two levels: (1) dialogue between political representatives and direct stakeholders (such dialogue could adopt several forms); (2) the people, by participating in “Thailand’s forums” to allow people from all sectors to exchange and debate about possible solutions for Thailand and to reflect on the future of Thai democracy and the common political rules it will entail.
Public debate and dialogue are essential elements of reconciliation. It should focus on at least four short-term and two long-term issues; all six of them should be subject to public debate. The four short-term issues aim at returning Thailand to a normal state; the two long-term issues aim at preventing the re-occurrence of violence and to move the country forward. Short-term issues to be subject to public debate
(1) Truth about past violence
The work of the Truth and Reconciliation Commission of Thailand (TRCT) should be encouraged. Its investigation of the violent events that occurred in 2010 and 2011 should be completed within the next six months and the findings, which should not name perpetrators, should be made public when deemed appropriate according to the social and political context. The objective of this dissemination is for Thai society to learn from its past violent events to prevent their re-occurrence in the future.
(2) Amnesty in relation to participation in mass protests
An amnesty for participants in protests, including demonstrators, security officials and their supervisors as well as state officials in charge of implementation of the Emergency Decree should be granted. There are two options to be further deliberated upon:
(1) issue an amnesty bill covering both charges related to the infringement of the Emergency Decree B.E 2548 (2005) and regular criminal law when motivated by political aims such as damage to State or private property or life, or
(2) issue an amnesty bill covering charges related to the infringement of the Emergency Decree B.E 2548 (2005) only.
Hence, both alternatives exclude the issuance of an amnesty for cases related to defamation of the monarchy, which shall still be subject to the regular judicial process.
(3)Restore confidence in the judicial process in accordance with the rule of law : cases initiated by the defunct Assets Examination Committee (AEC)
With regard to judicial cases initiated by the Assets Examination Committee (AEC), there are three possible options: (1) process cases within the existing regular judicial framework by transferring the cases from the AEC to the National Anti-Corruption Commission (NACC) for further processing, excluding cases that have already reached their final verdicts; (2) nullify all legal decisions stemming form the work of the AEC and transfer all cases to the regular judicial system without consideration of possible time prescriptions; (3) nullify all legal decisions stemming from the work of the AEC but do not allow for re-judgment of ongoing or finalized cases.
Whichever solution is to be chosen, there should not be any prosecution of the AEC considering that its actions were in line with its announced mandate at that time.
(4)Common political rules to be agreed upon by all parties
All parties should participate in searching for solutions to improve the country’s level of democratization and abidance by the rule of law while cautiously avoiding imposing “the justice of the winners”. This could include amendments to important laws and the Constitution, such as measures related to the dissolution of political parties, the selection of personnel serving in independent public organizations, and the process of scrutinizing their work, as well as those specifying the balance of powers between the executive, the legislature and the independent public organizations.
Long-term issues to be subject to public debate
(1)Reflect on the future of the Thai “democratic regime with the King as Head of State”
The Thai “democratic regime with the King as Head of State” is the rationale to which all Thais adhere. The Thai public should engage in a dialogue on the features of Thai democracy in the context of persistent opposing views.
(2)Lay the foundations for creating social justice
Particular efforts should be concentrated on reducing socio-economic inequalities and civic education inclusive of values of tolerance.
All parties should cooperate to build the conditions for reconciliation.
The government should (1) affirm its political will by announcing concrete measures conducive to reconciliation in the short-term; (2) raise awareness of all parties as to the importance of the process; (3) offer explanation about the violence and offer compensation to victims of violent events, both financial and psychological; for the latter, memorialization efforts should be made attempting at restoring the dignity of victims through, for example, the construction of a memorial.
All stakeholders should refrain from actions leading to (1) a climate of defiance towards the law and the existence of a rule of law, such as the use of masses for political aims by illegal means; (2) mistrust and suspicion among Thai people, such as the feeding of political and social movements that could be seen as attempting to bring about changes to the royal institution.
Also, mass media should be supportive of the reconciliation process and refrain from stirring up new conflicts, especially through one-sided media. Meanwhile, Thai society should not revive the debate about the right- or wrongfulness of the coup d’état and instead focus on ways to prevent re-occurrence of coup d’états in the future; the definition of the offence of coup d’état together with a penalty for committing such offence should be incorporated in criminal law.
At least three factors are crucial in assuring the success of the reconciliation process:
- (1) The political will of power-holders dedicated to achieving public interest;
- (2) The degree of inclusiveness of the process;
- (3) The core question from which the entire conflict stems should be addressed and solved to act as a driving force for democratization.
In addition, the research team recommends, as a first step towards national reconciliation, that the parliamentary subcommittee on national reconciliation launches its own internal debate and, without using majority vote, reaches its preliminary conclusions. The preliminary conclusions should be reported by MPs to their parties, as well as to constituents and society as a whole for further deliberation. The aim is to lead Thai society to come to the realization that reconciliation can only be achieved when all parties agree to take part in a dialogue about possible solutions. An inclusive dialogue is the sole process likely to bring about solutions acceptable to all.
Finally, the success of the recommended process will depend on the scope and content of the public debate in Thai society. Not only must legal and judicial aspects of the conflict be discussed, but also its root causes, including a reflection on power relations in Thai society. The reconciliation process must engage all parties within a democratic context allocating space for all parties to express their opinions and debate about the future of the country, the common destination for all.
Building reconciliation in Thailand
Who are the parties to the conflict? -> Conflicting views on democracy (focus on majority rule versus focus on morality and ethical behavior)
What are they fighting for? -> Beliefs – Conflicting beliefs related to power and resource allocation in society
Interests – Conflicting attitudes in relation to the pursuit of conflicting interests
How did the conflict turn violent? -> Use of power by ‘both parties’ for the pursuit of the above-mentioned interests and/or beliefs through means considered illegitimate by the other party
How to initiate a reconciliation process? -> Dialogue engaging all parties in a debate about possible solutions to the conflict and the future of Thai democracy including its common political rules
Set of issues to be discussed ->
- 1) Truth about past violence
- 2) Amnesty for cases related to participation in mass protests
- 3) Restore confidence in the judicial process in accordance with the rule of law: cases initiated by the defunct Assets Examination Committee (AEC)
- 4) Common political rules to be agreed upon
- 5) Reflect on the future of the Thai “democratic regime with the King as Head of State”
- 6) Lay the foundations for creating social justice
- ดาวน์โหลดรายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ (PDF Download-kpi.ac.th)