พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งคณะองคมนตรี

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งคณะองคมนตรี

ในระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขพระมหากษัตริย์จะมีคณะที่ปรึกษาชุดหนึ่ง ทำหน้าที่ถวายความคิดเห็นในพระราชกิจทั้งปวงที่ทรงปรึกษาหรือมีพระบรมราชโองการให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งถวายคณะบุคคลดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกต่างๆ กัน แต่โดยทั่วไปจะเรียกว่า “คณะองคมนตรี” ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และมีองคามนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคน ทั้งนี้ การทรงเลือกและทรงแต่งตั้ง หรือทรงให้พ้นจากตำแหน่ง เป็นพระราชอำนาจที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัยโดยไม่ต้องรับการถวายคำแนะนำจากผู้ใด

ซึ่งรัฐธรรมนูญจะกำหนดให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งหรือให้พ้นจากตำแหน่ง และให้ประธานองคมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งหรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่ง โดยผู้มีหน้าที่ลงนามรับสนองบรมราชโองการจะใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ ว่า

“มาตรา ๑๒ พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคนประกอบเป็นคณะคงคมนตรี

คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๑๓ การเลือกและแต่งตั้งคงคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย”

ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมสตรีหรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง

ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่นหรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่ง”


หน้าหลัก | พระราชอำนาจ