ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

บทสรุปผู้บริหาร



สำนักงานสถิติแห่งชาติกับสถาบันพระปกเกล้าได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในประเด็นสำคัญต่อการร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวและนำไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญที่สามารถเอื้อต่อกระบวนการประชาธิปไตยต่อไป

การศึกษาครั้งนี้ทำการเก็บข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนที่มีคุณสมบัติดังกล่าวครัวเรือนละ 1 คน กระจายตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และสภาพการทำงาน ระหว่างวันที่ 26 มกราคม – กุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 34,779 คน แบ่งเป็นประชาชนในเขตเทศบาล 20,016 คน และนอกเขตเทศบาล 14,760 คน

ผลการสำรวจ

ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์เป็นชายร้อยละ 50.8 หญิงร้อยละ 49.2 อายุ 18-29 ปี ร้อยละ 21.0 30-39 ปี ร้อยละ 26.5 อายุ 40-49 ปี ร้อยละ 25.7 อายุ 50-59 ปี ร้อยละ 17.9 และ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 9.0 ผู้ตอบเกือบ 1 ใน 4 (ร้อยละ 23.3) มีการศึกษาระดับประถมต้น อาชีพ เกษตรกร ร้อยละ 18.6 1 ใน 5 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 3,001-5,000 บาท ร้อยละ 9.41 นับถือศาสนาพุทธ

สำหรับประเด็นที่น่าสนใจในการร่างรัฐธรรมนูญนั้น มีการศึกษาว่าข้อบกพร่องที่เกิดจากการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พบว่าประชาชนเกือบครึ่ง (ร้อยละ 49.1) ไม่ออกความเห็น และร้อยละ 33.0 เห็นว่าไม่มีปัญหา มีร้อยละ 17.0 ที่เห็นว่ามีปัญหา ส่วนการนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาเป็นต้นแบบนั้นส่วนใหญ่ร้อยละ 44.0 เห็นด้วย การจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของนักการเมือง พบว่า ประมาณร้อยละ 68.3 เห็นว่าให้มีการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งโดยประชาชนในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเห็นด้วยมากที่สุด (ร้อยละ 71.3 และ 71.1 ตามลำดับ) สำหรับจำนวนปีที่เหมาะสมนั้น ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63.8) เห็นว่าให้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 ปี สำหรับ ส.ส. ส่วน ส.ว. ให้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 ปี เช่นกัน (ร้อยละ 62.7) เมื่อถามถึงวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีพบว่า ร้อยละ 46.5 เห็นควรให้จำกัดวาระ (ในจำนวนนี้ร้อยละ 44.5 เห็นว่า 4 ปี หรือน้อยกว่า) และมีจำนวนร้อยละ 43.7 ที่เห็นว่าห้ามเป็นติดต่อกัน 2 สมัย ส่วนตำแหน่งรัฐมนตรีนั้น ร้อยละ 45.9 เห็นควรจำกัดวาระ (ในจำนวนนี้ร้อยละ 39.9 เห็นว่าให้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 ปี) ร้อยละ 44.7 เห็นว่าห้ามเป็นติดต่อกัน 2 สมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) การสังกัดพรรคการเมืองก่อนการเลือกตั้ง 90 วัน ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ควรต้องสังกัดพรรคการเมือง พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.1 ระบุว่าควรต้องสังกัดพรรคการเมืองโดยผู้ที่เห็นว่าต้องสังกัดพรรคการเมืองระบุว่า 90 วัน เหมาะสม (ร้อยละ 51.4) ส่วนผู้ระบุว่า 90 วัน ไม่เหมาะสม มี (ร้อยละ 6.6) และมีผู้ระบุว่าสังกัดพรรคการเมือง แต่ไม่ควรกำหนดระยะเวลา (ร้อยละ 5.8)

คุณสมบัติของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) การกำหนดคุณสมบัติของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำเป็นต้องจบปริญญาตรี พบว่า ประชาชนร้อยละ 82.0 เห็นด้วยที่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำเป็นต้องจบปริญญาตรี ส่วนผู้ไม่เห็นด้วยที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำเป็นต้องจบปริญญาตรี ร้อยละ 79.0 เมื่อพิจารณาในส่วนคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำเป็นต้องจบปริญญาตรี ปรากฏว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.1 เห็นด้วยอยู่ในสัดส่วนค่อนข้างสูง ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วย มีเพียงร้อยละ 8.2 และร้อยละ 18.7 ไม่มีความคิดเห็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบระบบบัญชีรายชื่อ การมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบระบบบัญขีรายชื่อ พบว่า ประชาชนประมาณร้อยละ 63.5 ระบุว่าเห็นด้วยที่ควรมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบระบบบัญขีรายชื่อ โดยผู้เห็นด้วยเห็นว่า ระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน เหมาะสม มีร้อยละ 58.7 และไม่เหมาะสม มีเพียงร้อยละ 3.7 ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบระบบบัญขีรายชื่อมีเพียงร้อยละ 11.2 และอีกร้อยละ 25.3 ไม่ระบุความคิดเห็น ข้อห้ามต่างๆ ของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา สำหรับข้อห้ามผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นสมาชิกพรรคการเมือง พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.1 ระบุเห็นด้วยกับข้อห้ามดังกล่าว มีเพียงร้อยละ 7.3 ที่ระบุไม่เห็นด้วย และอีกร้อยละ 35.6 ไม่มีความคิด สำหรับการห้ามสมาชิกวุฒิสภาลงสมัครรับเลือกตั้งติดต่อกัน 2 ประชาชนร้อยละ 45.7 ระบุว่าเห็นด้วย ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยมีร้อยละ 19.8 และไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 34.5

ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา

ผลจากการสำรวจ ปรากฏว่า ประชาชนระบุว่าควรมาจากการเลือกตั้ง โดยตรงทั้งหมดมากที่สุด ร้อยละ 44.4 รองลงมาสมาชิกวุฒิสภาควรมาจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เลือกผู้สมัครได้ 1 คน (One man one Vote) ร้อยละ 26.7 และควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงกึ่งหนึ่ง และแต่งตั้งกึ่งหนึ่ง ร้อยละ 12.1 ส่วนมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม (ผ่านผู้แทน – ประชาชน) ร้อยละ 9.0 สำหรับควรมาจากการแต่งตั้งทั้งหมดร้อยละ 6.2 และที่เหลืออีกร้อยละ 1.6 ระบุอื่นๆ / ไม่มีความคิดเห็น

อำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา

การกำหนดหน้าที่ให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เป็นผู้เลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ พบว่า ประชาชนร้อยละ 30.6 ระบุว่าเห็นด้วย ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วย มีเพียงร้อยละ 15.4 และไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 54.0 จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเข้าชื่อเสนอญัตติเพื่อขอเปิดอภิปราย จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเข้าชื่อเสนอญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี พบว่า ประชาชนประมาณ ร้อยละ 46.3 ระบุว่าควรมีจำนวนของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 ใน 5 มากที่สุด รองลงมาจำนวน 3 ใน 5 ร้อยละ 23.7 1 ใน 5 ร้อยละ 21.0 และจำนวน 1 ใน 10 คือ ร้อยละ 5.9 ตามลำดับ ส่วนจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ปรากฏว่า ประชาชนร้อยละ 49.8 ระบุว่าควรมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 1 ใน 5 มากที่สุด รองลงมาจำนวน 2 ใน 5 ร้อยละ 20.9 และจำนวน 3 ใน 5 มีร้อยละ 19.9 การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี จำเป็นต้องเสนอชื่อผู้ที่ต้องสมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป จากผลสำรวจ พบว่า ประชาชนประมาณร้อยละ 53.7 ระบุเห็นด้วยกับการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี จำเป็นต้องเสนอชื่อผู้ที่ต้องสมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 17.1 และไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 29.2 จำนวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถขอถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูง การที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าร่วมเสนอชื่อจำนวน 50,000 คน ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อขอถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และข้าราชการระดับสูง ที่มีการทุจริตคอรัปชั่นประพฤติมิชอบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.3 ระบุว่าจำนวนดังกล่าวเหมาะสม มีเพียง ร้อยละ 13.6 ระบุว่าไม่เหมาะสม (โดยผู้ที่เห็นว่าไม่เหมาะสมระบุถึงจำนวนที่ควรเข้าร่วมเสนอชื่อน้อยกว่า 50.000 คน มีร้อยละ 9.6 มากกว่า 50.000 คน มีร้อยละ 3.1 และไม่ระบุจำนวน มีร้อยละ 0.8 ) และ ร้อยละ 0.8 ไม่มีความคิดเห็น

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

ประเด็นที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ควรมีหน้าที่เฉพาะการจัดการเลือกตั้ง ส่วนการแจกใบเหลือง-ใบแดง ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ควรเป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรม พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.9 ระบุว่าเห็นด้วย ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วย มีเพียงร้อยละ 9.7 และร้อยละ 39.4 ไม่มีความคิดเห็น ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด มีอำนาจรับรองผลการเลือกตั้งท้องถิ่นได้ปรากฏว่า ประชาชนระบุว่าเห็นด้วย ร้อยละ 37.3 ส่วนผู้ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 19.9 และอีกร้อยละ 42.8 ไม่มีความคิดเห็น การสรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระ การที่มีตัวแทนของพรรคการเมืองร่วมเป็นกรรมการในการสรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระ โดยเฉพาะองค์กรอิสระที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบนักการเมือง พบว่า ประชาชนมีความเห็นไม่แตกต่างกันมากนัก กล่าวคือมีผู้เห็นด้วยร้อยละ 25.5 และไม่เห็นด้วย ร้อยละ 28.4 และอีกร้อยละ 46.1 ไม่มีความคิดเห็น

การเลือกตั้งในต่างประเทศ

การจัดให้มีการเลือกตั้งในต่างประเทศ ปรากฏว่า ประชาชน ร้อยละ 39.9 ระบุว่าเห็นด้วย ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วย มีร้อยละ 22.2 และร้อยละ 37.9 ไม่มีความคิดเห็น สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

ผลจากการสำรวจ พบว่า สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ประชาชนส่วนใหญ่ ระบุเห็นด้วย ร้อยละ 90.0 ขึ้นไป ประเด็นที่ประชาชนให้ความสำคัญมากที่สุด เรียงลำดับคือ ประกอบด้วย ประชาชนย่อมมีหน้าที่ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (ร้อยละ 99.2) ชุมชนท้องถิ่น ย่อมมีสิทธิในการอนุรักษ์ หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ร้อยละ 98.3) ประชาชนย่อมมีสิทธิเข้ามีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติประชาชนเห็นด้วย ร้อยละ 98.1) ประชาชนย่อมมีหน้าที่ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

ส่วนในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ ประชาชนมีสิทธิในการรับการรักษาพยาบาล โดยเป็นผู้จัดให้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 96.0) สื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารโดยอิสระและเป็นกลาง และสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของประชาชนทั่วไปให้เป็นไปตามหลักสากล และประชาชนมีสิทธิในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดให้อย่างทั่วถึงมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ประชาชนระบุเห็นด้วย ในสัดส่วนเท่ากัน คือ (ร้อยละ 95.2) (ร้อยละ 94.0) ประชาชนย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธและประชาชนย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อดำเนินการทางการเมือง ประชาชนระบุเห็นด้วยในสัดส่วนเท่ากัน คือ (ร้อยละ 90.1) ส่วนหากประชาชนไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรให้บุคคลนั้นเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ ประชาชนระบุเห็นด้วยในสัดส่วน ร้อยละ 84.6 กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน ประชาสังคมในทางการเมือง และการบริหารราชการ การมีส่วนร่วมของประชาชน กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน ประชาสังคมในทางการเมือง และการบริหารราชการ พบว่า ประเด็นที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยเกินร้อยละ 90.0 คือ ประชาชนควรมีส่วนร่วมในองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 97.8) และส่วนรัฐต้องสนับสนุนการทำงานของประชาสังคมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของประเทศขาติ และ คือ (ร้อยละ 97.7) ประชาชนควรมีส่วนร่วมในองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค คือ (ร้อยละ 97.3) สำหรับประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 50,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายต่อรัฐสภา ประชาชนระบุเห็นด้วยในสัดส่วน ร้อยละ 90.0 การปกครองส่วนท้องถิ่น การเข้าชื่อเสนอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ควนใช้ประชาชนจำนวนเท่าใด พบว่าประชาชนระบุว่าควรเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 41.6 รองลงมา จำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 34.1 ส่วนในจำนวน 3 ใน 4 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมาเลือกตั้ง ร้อยละ 20.5 และอีกร้อยละ 3.8 ระบุอื่นๆ / ไม่มีความคิดเห็น ส่วนการเข้าชื่อเสนอให้ออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ควรใช้ประชาชนจำนวนเท่าใด พบว่าประชาชน ร้อยละ 40 ระบุว่าให้เป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากที่สุด รองลงมา ควรใช้จำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ร้อยละ 35.1) และจำนวน 3 ใน 4 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมาเลือกตั้ง (ร้อยละ 21.0) อีกร้อยละ 3.4 ระบุอื่นๆ / ไม่มีความคิดเห็น สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( เช่น อบจ. เทศบาล อบต. ) ควรเป็นผู้ดูแลเรื่องใด พบว่าประชาชนระบุว่า ควรดูแลสาธารณูโภคและสาธารณูปการ เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา การจัดการขยะมูลฝอย ฯลฯ มากที่สุดถึง ร้อยละ 91.6 รองลงมา การดูแล จัดการ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชน ร้อยละ 64.0 การให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรเป็นผู้ดูแลเรื่องการจัดการศึกษา ปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 55.7 ระบุว่าควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแล (โดยเห็นให้จัดการศึกษาเฉพาะบางระดับ ได้แก่ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นต้น) ส่วนผู้ที่ระบุว่าไม่ควรให้ดูแล มีเพียงร้อยละ 44.2 โครงสร้าง และอำนาจหน้าที่ของสถาบันทางการเมือง อำนาจหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือองค์กรจัดการเลือกตั้ง ประชาชนร้อยละ 90 เห็นว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่จัดการเลือกตั้งในประเด็นที่เกี่ยวกับการกำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบ คำสั่งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง การควบคุมดูแล และดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. การควบคุมดูและดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ส่วนการให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เช่น ให้ใบเหลือง –ใบแดง มีผู้เห็นด้วยร้อยละ 79.4 ส่วนการให้มี ศาลเลือกตั้ง หรือ องค์กรอื่น มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีเลือกตั้ง ปรากฏว่าประชาชนระบุเห็นด้วยในสัดส่วนค่อนข้างสูง คือ ร้อยละ 90.6

รูปแบบขององค์กรจัดการเลือกตั้ง

องค์กรจัดการเลือกตั้งควรมีรูปแบบใด พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ระบุว่าควรเป็นองค์กรจัดการเลือกตั้ง เช่น คณะกรรมการเลือกตั้ง มากที่สุด ถึงร้อยละ 39.0 รองลงมา หน่วยงานภาครัฐร้อยละ 35.4 และองค์กรจัดการเลือกตั้งชั่วคราว หน้าที่เฉพาะช่วงที่มีการเลือกตั้ง ร้อยละ 24.3

อำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ

รัฐสภา รัฐสภาควรประกอบไปด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าวอยู่ในสัดส่วนที่สูงถึง ร้อยละ 97.6 ส่วนการกำหนดสัดส่วน ส.ส. และ ส.ว. ที่เป็นชนกลุ่มน้อย และการกำหนดสัดส่วน ส.ส.หญิง และ ส.ว. หญิงในสภา ประชาชนระบุเห็นด้วยอยู่ในสัดส่วน เพียงร้อยละ 61.1 และร้อยละ 57.1 ตามลำดับ และภาคที่มีประชาชนเห็นด้วยกับการกำหนดสัดส่วนให้กับชนกลุ่มน้อยและ ส.ส. และ ส.ว. หญิง นั่นคือ ภาคใต้ น้อยที่สุด คือ กทม.

สภาผู้แทนราษฎร ในเรื่องของสภาผู้แทนราษฎร พบว่า ประชาชนระบุเห็นด้วยเกี่ยวกับประเด็น ส.ส. แบบแบ่งเขตมาจากการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว มากที่สุดถึง ร้อยละ 90.0 ส่วนในประเด็นพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงในการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อควรได้จำนวน ส.ส. ตามสัดส่วนจำนวนคะแนนที่ได้ (เดิมต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5) ประชาชนเห็นด้วยร้อยละ 85.8 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (Party List) ประชาชนเห็นด้วยร้อยละ 85.5 ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (Party List) มาจากการเลือกตั้ง โดยใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ประชาชนเห็นด้วยร้อยละ 84.0 สำหรับ ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งมีจำนวน 400 คน และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (Party List) มีจำนวน 100 คน ประชาชนระบุเห็นด้วยอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 81.2

วุฒิสภา สำหรับประเด็นในเรื่องวุฒิสภา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ระบุเห็นด้วยกับการที่วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 200 คน ร้อยละ 89.9 รองลงมา ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาถอดถอนนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงออกจากตำแหน่ง ร้อยละ 87.9 และ ส.ส. ส.ว.มีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ แต่รัฐมนตรีมีสิทธิไม่ตอบหากเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผย ระบุเห็นด้วยร้อยละ 84.7

อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร คณะรัฐมนตรี ผลการสำรวจปรากฏว่า ประชาชนส่วนใหญ่ระบุเห็นด้วยกับประเด็นคณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบ และดำเนินการตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา และต้องทำรายงานแสดงผลการทำงานรวมทั้งปัญหา อุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาเป็นประจำทุกปีมากที่สุด (ร้อยละ 96.7) รองลงมา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องไม่รับสัมปทานจากรัฐ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ (ร้อยละ 94.5) และนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะเป็น ส.ส. หรือ ส.ว. ด้วยในเวลาเดียวกันมิได้ ประชาชนระบุเห็นด้วยในสัดส่วน (ร้อยละ 91.2) ส่วนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ประชาชนระบุเห็นด้วยในสัดส่วน (ร้อยละ 90.6) มาตรการ คุ้มครองการพิจารณาอนุมัติร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชน 50,000 คน เข้าชื่อเสนอ การพิจารณาอนุมัติร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชน 50,000 คน เข้าชื่อเสนอ ควรกำหนดให้มีมาตรการคุ้มครองนั้น ประชาชนระบุว่าให้มีตัวแทนประชาชนเข้ามาร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาด้วย (ร้อยละ 59.8) รองลงให้มีหน่วยงานของรัฐสภาช่วยในการยกร่างพระราชบัญญัติ และให้คำปรึกษาแก่ประชาชน มากที่สุดถึง (ร้อยละ 58.6) ส่วนการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมของกรรมาธิการและสมาชิกรัฐสภาต้องไม่กระทบกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติ (ร้อยละ 39.7) และร่างกฎหมายที่เสนอโดยประชาชนต้องได้รับการพิจารณาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาล (ไม่ต้องมีการรับรองโดยรัฐบาลใหม่เสียก่อน) ร้อยละ 26.4

การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

กลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ จากผลการสำรวจในเรื่องกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยในสัดส่วนค่อนข้างสูง ร้อยละ 90 ขึ้นไป คือ คุณสมบัติของกรรมการในองค์กรตรวจสอบอิสระควรเปิดกว้าง ให้มีผู้แทนองค์กรภาคประชาชนและผู้แทนองค์วิชาชีพ (ร้อยละ 97.4) และกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการองค์กรตรวจสอบอิสระ ควรเปิดเผยทั้งในการลงมติเลือก และการเปิดเผยต่อสาธารณะเพื่อร่วมในการตรวจสอบ (ร้อยละ 96.3) สำหรับการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินหนี้สิน และความร่ำรวยผิดปกติของนักการเมืองระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ควรมีองค์กรตรวจสอบแยกจากกัน ประชาชนเห็นด้วยในสัดส่วน (ร้อยละ 92.7)

บทบาทของประชาชนประชาสังคมร่วมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

สำหรับบทบาทของประชาชนประชาสังคมร่วมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ พบว่า ประชาชนระบุเห็นด้วยกับประเด็นที่ภาคประชาชนควรเข้าร่วมเป็นกรรมการสรรหาองค์กรตรวจสอบอิสระสูงถึงร้อยละ 95.8 ส่วนอธิการบดีของมหาวิทยาลัยควรเข้าร่วมเป็นกรรมการสรรหากรรมการองค์กรตรวจสอบอิสระ ประชาชนเห็นด้วยในสัดส่วน ร้อยละ 89.5

ข้อคิดเห็น / ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขปัญหาการแทรกแซงองค์กรอิสระจากนักการเมือง ประชาชนได้ให้ข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขปัญหาการแทรกแซงองค์กรอิสระจากนักการเมือง ได้แก่ ออกกฎหมายควบคุมการแทรกแซง ควรคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้าบริหารงานในองค์กรอิสระและองค์กรอิสระควรมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ เป็นต้น ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ ต่อการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 สำหรับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการรร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ของประชาชนได้แก่ ควรแก้ไขให้สอดคล้องกับปัญหาและเหตุการณ์ในปัจจุบัน ไม่สมควรใช้เวลาในการร่างรัฐธรรมนูญนานเกินไป จำกัดสิทธิของนักการเมืองลงบ้าง และเน้นไปที่การศึกษาจริยธรรมและศีลธรรม เป็นต้น