ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 3 (Declaration of ASEAN Concord III: Bali Concord III)

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

ประวัติความเป็นมา

ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 3 (Bali Concord III) เป็นแผนปฏิบัติการที่เกิดจากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 19 ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 [1] โดยแผนการดังกล่าวเกิดจากกการผลักดันของอินโดนิเซียในฐานะประธานอาเซียน ซึ่งให้ความสำคัญต่อหัวข้อหลักในการประชุม คือ ASEAN Community in a Global Community of Nations [2] ดังนั้น เอกสารฉบับนี้ จึงเป็นเอกสารที่กำหนดรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก โดยมีเป้าหมายดังต่อไปนี้

1. เพื่อให้อาเซียนมีบทบาทสำคัญในเวทีระดับโลก กล่าวคือ ต้องดำเนินมาตรการที่แข็งแกร่งในเสาหลัก ทั้ง 3 ด้าน โดยปลุกความรู้สึกร่วมกันของประเทศสมาชิก เพื่อทำให้อาเซียนบรรลุเป็นประชาคมได้โดยปราศจากข้อขัดแย้งและต้องให้ความสำคัญเพิ่มขี้นต่อ การสร้างอัตลักษณ์ของภูมิภาคเพื่อการก้าวสู่เวทีระดับโลก [3]

2. เพื่อเพิ่มบทบาทของอาเซียนมนการจัดการปัญหาในระดับโลก กล่าวคือ อาเซียนต้องพัฒนาตัวเองให้เป็นฐานของการแก้ไขปัญหา ไม่เพียงแต่ระดับภูมิภาคเท่านั้น หากยังรวมไปถึงระดับโลกด้วย [4]

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ปฏิญญาบาหลีว่าด้วยเรื่องประชาคมอาซียนในประชาคมโลก มีเพื่อเสริมสร้างบทบาทอาเซียนในเวทีประชาคมโลก ในฐานะที่เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาทมากกว่าเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีความเป็นภูมิภาคนิยมแบบเปิดที่ไม่ปิดกั้นประเทศจากภายนอกกลุ่มอาเซียน [5]

วัตถุประสงค์ของปฏิญญา[6]

ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 3 นั้น ประกอบด้วยวัตถุประสงค์หลายประการ ดังต่อไปนี้

1. ส่งเสริมท่าทีร่วมของอาเซียนต่อประเด็นระหว่างประเทศที่เป็นเอกภาพและเข้มแข็ง เพื่อส่งเสริมเสียงของอาเซียนในเวที ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

2. ส่งเสริมศักยภาพของอาเซียนในการร่วมมือและรับมือ กับประเด็นระหว่างประเทศ ที่จะเป็นประโยชน์และมีผลกระทบต่อ ประเทศและประชากรของอาเซียน

3. เสริมสร้างประชาคมอาเซียนให้เป็นองค์กรนิติธรรม โดยมีกฎบัตรอาเซียนเป็นพื้นฐานและบรรทัดฐานของอาเซียน

4. ส่งเสริมศักยภาพของสํานักเลขาธิการอาเซียนในการ สนับสนุนวิสัยทัศน์ และพัฒนาประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก

ความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นภายใต้ประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสา

จากเนื้อหาของปฏิญญา เน้นความร่วมมือในด้านต่างๆของอาเซียนทั้ง 3 เสาหลักของอาเซียน ซึ่งก่อให้เกิดความร่วมมือในด้านต่างๆดังต่อไปนี้

1. ความร่วมมือทางด้านการเมืองและความมั่นคง (Political-Security Cooperation ) [7]

1.1. สันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพ คือ เริ่มเน้นที่จะสนับสนุนวัฒนธรรมของการรักษาสันติภาพ ที่รวมถึงการเคารพซึ่งความแตกต่างพร้อมทั้งสนับสนุนให้มีความอดทนอดกลั้นระหว่างกัน อีกทั้งยังให้ทำความเข้าใจต่อความเชื่อ ความศรัทธาของแต่ละศาสนาและวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกัน ตลอดจนให้เคารพต่อกฎหมายภายในประเทศนั้นๆที่เกี่ยวข้องด้วย พร้อมกันนั้น ยังพยายามเน้นบทบาทประชาคมอาเซียนโดยการพูดถึงผลประโยชน์ร่วมกันบนเวทีโลกอยู่บ่อยครั้ง และเน้นให้การสนับสนุนข้อริเริ่มต่างๆ ที่เป็นการเคลื่อนไหวบนเวทีโลกในลักษณะที่เป็นกลาง โดยให้อาเซียนมีบทบาทเชิงบวกที่จะเป็นฝ่ายสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงและเสรีภาพในระดับโลกด้วย ตลอดจนให้รัฐภาคีอาเซียนมีบทบาทเชิงรุกในการมีส่วนร่วมในบทบาทที่จะรักษาสันติภาพ และพยายามสร้างสันติภาพหลังเกิดเหตุขัดแย้ง รวมถึงเพิ่มความรวมมือภายใต้กรอบกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายในระดับประเทศที่เกี่ยวพันกัน เพื่อที่จะต่อสู้กับการคอร์รัปชันด้วย

1.2 การพัฒนาการเมือง ให้ปฏิบัติตามหลักการและวัตถุประสงค์ของอาเซียน ให้รัฐภาคีดำรงอยู่ด้วยสันติภาพ เป็นธรรม มีบรรยากาศที่สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และให้ปฏิบัติตามหลักนิติธรรม หลักธรรมาภิบาล หลักการประชาธิปไตย และเป็นไปตามธรรมนูญของรัฐบาล ตลอดจนสนับสนุนและปกป้องหลักสิทธิมนุษยชน และหลักเสรีภาพ รวมทั้งพยายามทำให้เกิดความยุติธรรมในสังคม

2. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ (Economic Cooperation) [8]

2.1. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ อาเซียนให้ความสำคัญที่จะขยายความร่วมมือเพื่อมีส่วนร่วมกับข้อริเริ่มต่างๆ ทางเศรษฐกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกมากขึ้น ซึ่งความแข็งแกร่งที่อาเซียนมีนั้น ทำให้อาเซียนกลายเป็นภาคส่วนที่สำคัญในการเป็นห่วงโซ่อุปทานระดับโลก

2.2. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เน้นให้รัฐภาคีอาเซียนให้ความสำคัญกับนโยบายทางเศรษฐกิจมหภาคภายในประเทศ และให้ความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมทั้งการให้ความร่วมมือทางการเงินด้วย ตลอดจนขยายความร่วมมือในการร่วมปฏิรูปสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศต่างๆ ด้วย

2.3. การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้มีการเข้าถึงเทคโนโลยี ตลาด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเงิน เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และโครงการต่างๆ ผ่านกรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วย นอกจากนี้ ยังรวมถึงการพยายามเพิ่มความแข็งแกร่งในการให้ความร่วมมือเพื่อสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงทางอาหารและพลังงานทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

3. ความร่วมมือทางด้านสังคมและวัฒนธรรม [9] ในด้านสังคมและวัฒนธรรมนั้น มีการให้ความสำคัญในเรื่อง อื่นๆมากมาย ยกตัวอย่างเช่นการจัดการภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม

รายชื่อผู้นำอาเซียนที่ร่วมลงนาม[10]

ทั้งนี้รายชื่อผู้นำอาเซียนที่ได้ร่วมลงนามในปฏิญญาความร่วมมืออาเซียนฉบับที่3นั้น ประกอบด้วย

1. Prime Minister Hun Sen of Cambodia

2. Sultan Hasanal Bolkiah of Brunei Darussalam

3. Prime Minister Thongsing Thammavong of Laos

4. President Thein Sein of Myanmar

5. Prime Minister Dato Sri Mohd Najib bin Tun Abdul Razak of Malaysia

6. President Benigno Aquino III of the Philippines

7. Prime Minister Lee Hsien Loong of Singapore

8. Prime Minister Yingluck Shinawatra of Thailand

9. Prime Minister Nguyen Tan Dun of Vietnam

10. President Susilo Bambang Yudhoyono.

บรรณานุกรม

กรมอาเซียน กระทรวงต่างประเทศ. 2555.“ASEAN Highlight 2011”. http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/asean-media-center-20121203-180844-334785.pdf (Accessed 24 May 2015).

กระทรวงต่างประเทศ.2012.”Concept Paper of the Bali Concord III Plan of Action 2012-2022”. http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/asean-media-center-20121203-175458-360878.pdf (Accessed May 30 2015).

ชาติชาย เชษฐสุมน.2555.“ประชาคมอาเซียน(ASEAN Community): ผลกระทบต่อกฎหมายไทย.” http://law.tu.ac.th/files/news/2555/Agust/ASEAN_chatchai.pdf (Accessed May 24 2015).

มูลนิธิศักยภาพชุมชน.2554.”จดหมายข่าวอาเซียน”.http://www.law.cmu.ac.th/law2011/files/1327044491.pdf (Accessed May 29 2015).

eTN Global Travel Industry News.2011.“ASEAN leaders sign Bali Concord III”. http://www.eturbonews.com/26479/asean-leaders-sign-bali-concord-iii (Accessed May 29 2015)

Siamintelligence.2556.“จากอาเซียนสู่ประชาคมอาเซียน ปฏิญญาบาหลี1ถึง 3 ความท้าทายใหม่เเละการเปลี่ยนเเปลง”.http://www.siamintelligence.com/from-asean-to-asean-community-on-bali-declation-one-to-three/ ( Accessed 24 May 2015).

The Habible Center.2014.”The Bali Concord III Towards a More Common ASEAN Platform on Global Issues “. http://admin.thcasean.org/assets/uploads/file/2014/11/ASEAN%20Briefs%20Vol.%201%20Issue%205.pdf (Acessed May 30 2015).

อ้างอิง

  1. กระทรวงต่างประเทศ.2012.”Concept Paper of the Bali Concord III Plan of Action 2012-2022”. http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/asean-media-center-20121203-175458-360878.pdf (Accessed May 30 2015).
  2. The Habible Center.2014.”The Bali Concord III Towards a More Common ASEAN Platform on Global Issues “. http://admin.thcasean.org/assets/uploads/file/2014/11/ASEAN%20Briefs%20Vol.%201%20Issue%205.pdf (Acessed May 30 2015).
  3. มูลนิธิศักยภาพชุมชน.2554.”จดหมายข่าวอาเซียน”.http://www.law.cmu.ac.th/law2011/files/1327044491.pdf (Accessed May 29 2015).
  4. เพิ่งอ้าง.
  5. ชาติชาย เชษฐสุมน.2555.“ประชาคมอาเซียน(ASEAN Community): ผลกระทบต่อกฎหมายไทย.” http://law.tu.ac.th/files/news/2555/Agust/ASEAN_chatchai.pdf (Accessed May 24 2015).
  6. กรมอาเซียน กระทรวงต่างประเทศ. 2555.“ASEAN Highlight 2011”.http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/asean-media-center-20121203-180844-334785.pdf (Accessed 24 May 2015).
  7. Siamintelligence.2556.“จากอาเซียนสู่ประชาคมอาเซียน ปฏิญญาบาหลี1ถึง 3 ความท้าทายใหม่เเละการเปลี่ยนเเปลง”.http://www.siamintelligence.com/from-asean-to-asean-community-on-bali-declation-one-to-three/ ( Accessed 24 May 2015).
  8. เพิ่งอ้าง.
  9. มูลนิธิศักยภาพชุมชน.2554.อ้างเเล้ว.
  10. eTN Global Travel Industry News.2011.“ASEAN leaders sign Bali Concord III”.http://www.eturbonews.com/26479/asean-leaders-sign-bali-concord-iii (Accessed May 29 2015)