คณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้เรียบเรียง วัชรา ไชยสาร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ พรรณราย ขันธกิจ
องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา
พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 มาตรา 6 กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จำนวน 21 คน ประกอบด้วย
ก. ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานโดยตำแหน่ง
ข. ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง เลือกกันเองให้เหลือ 4 คน
ค. อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่ง เลือกกันเองให้เหลือ 3 คน
ง. อธิการบดีของสถาบันราชภัฏและสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลทุกแห่งเลือกกันเองให้เหลือ 1 คน
จ. ผู้แทนสถาบันภาคการผลิต
• ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 1 คน
• ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 1 คน
• ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย 1 คน
• ผู้แทนชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด 1 คน
ฉ. ผู้แทนสหภาพแรงงาน เลือกกันเองให้เหลือ 1 คน
ช. ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่ดำเนินการโดยมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้*
• ด้านการพัฒนาชุมชนชนบท การพัฒนาชุมชนเมือง การจัดการทรัพยากร - ธรรมชาติ การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการเกษตรทางเลือก หรือการจัดการ เทคโนโลยีที่เหมาะสม เลือกกันเองด้านละ 1 คน
• ด้านการพัฒนาชีวิตของเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ติดเชื้อเอดส์ หรือผู้ป่วย เลือกกันเองด้านละ 1 คน
• ด้านสิทธิเสรีภาพของประชาชน สิทธิของผู้บริโภค การส่งเสริม - ประชาธิปไตย หรือการพัฒนาแรงงาน เลือกกันเองด้านละ 1 คน
• ด้านการสาธารณสุข การศึกษา หรือศิลปวัฒนธรรม เลือกกันเองด้านละ 1 คน
ซ. ผู้แทนสื่อมวลชน*
• ด้านหนังสือพิมพ์ เลือกกันเองกิจการละ 1 คน
• ด้านวิทยุกระจายเสียง เลือกกันเองกิจการละ 1 คน
• ด้านวิทยุโทรทัศน์ เลือกกันเองกิจการละ 1 คน
โดยมีเลขาธิการสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเลขานุการในคณะกรรมการสรรหาฯ ทั้งนี้ องค์กรภาคเอกชน ตามข้อ ช. และองค์กรสื่อมวลชน ตามข้อ ซ. ต้องเป็นองค์กรที่มีฐานะเป็น นิติบุคคลและได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ก่อนครบกำหนด 15 วันนับแต่วันที่มีเหตุให้มีการเลือกสมาชิก ถ้าองค์กรใดมีวัตถุประสงค์หลักหลายด้าน ให้ขึ้นทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกในด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
การเลือกกรรมการสรรหาตาม ฉ., ช. และ ซ. ให้ใช้วิธีการจัดส่งทางไปรษณีย์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ กำหนด ทั้งนี้ ให้ผู้ซึ่งได้คะแนนมากที่สุดตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับเลือก ในกรณีที่ผู้ได้รับเลือกมีคะแนนเท่ากันอันเป็นเหตุให้เกินจำนวนที่จะพึงมีได้ ให้ใช้วิธีการจับสลาก[1]
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหา
คณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีหน้าที่พิจารณาสรรหาสมาชิก โดยกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการสรรหาสมาชิก วิธีการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิก และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จำนวนหกคณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการการผลิตด้านการเกษตร คณะอนุกรรมการการผลิตด้านการอุตสาหกรรม คณะอนุกรรมการการผลิตด้านการบริการ คณะอนุกรรมการกลุ่มในภาคสังคม คณะอนุกรรมการกลุ่มในภาคฐานทรัพยากร และคณะอนุกรรมการกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ

ดูเพิ่มเติม
พรรณราย ขันธกิจ. บทบาทและหน้าที่ขององค์กรสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, 2548.
สถาพร วชิรโรจน์. ความคิดเห็นของประชาชนต่อสาระสำคัญในร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ภาคนิพนธ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์, 2543.
รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 30/2542-2543 วันที่ 15 มีนาคม 2543.
รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 5/2543 วันที่ 12 กรกฎาคม 2543.
รายงานการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 5/2543 วันที่ 28 สิงหาคม 2543.
รายงานการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 19/2543 วันที่ 13 ตุลาคม 2543.
รายงานการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 20/2543 วันที่ 16 ตุลาคม 2543.
รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 34/2543 วันที่ 19 ตุลาคม 2543.
สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาศาสตร์. โครงการวิจัยเสริมสร้างประสิทธิภาพและ ประเมินผลการสรรหาสมาชิสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 3, 2552.
สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาศาสตร์. การสร้างสร้างความรู้และความเข้าใจและพัฒนา กระบวนการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2551.
สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : เพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด, 2544. หน้า 46 – 47.
สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานประจำปี 2548.
สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานประจำปี 2552.
www.nesac.go.th/
อ้างอิง
- ↑ พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 มาตรา 6.