การเลือกตั้งวุฒิสมาชิกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2543

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

ผู้เรียบเรียง นครินทร์ เมฆไตรรัตน์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


การเลือกตั้งวุฒิสมาชิกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2543[1] ได้ถูกกำหนดขึ้นภายใต้กฎกติกาทางการเมืองใหม่ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยบัญญัติที่มาของวุฒิสมาชิก ไว้ว่า วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งจำนวน 200 คน (มาตรา 121) โดยกำหนดให้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง (มาตรา 122) และผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภามีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นได้ 1 คน ซึ่งการเลือกตั้งให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ และในกรณีที่จังหวัดใดมีสมาชิกวุฒิสภาได้มากกว่า 1 คน ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับจนตรบจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่จะพึงมีได้ในจังหวัดนั้น เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (มาตรา 123) อีกทั้งสมาชิกวุฒิสภามีวาระในการดำรงตำแหน่งได้คราวละ 6 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง (มาตรา 130) โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้จัดการเลือกตั้งครั้งวุฒิสภา (มาตรา 144)

อีกทั้งรัฐธรรมนูญยังได้ระบุถึง คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (มาตรา 125) ดังนี้

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง

(3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า

(4) มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 107 (3)

นอกจากนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 [2] ยังได้บัญญัติถึงการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเฉกเช่นเดียวกันกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยกำหนดให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ละจังหวัดจะมีสมาชิกวุฒิสภาได้เท่าใดขึ้นอยู่กับสัดส่วนของประชากรในจังหวัดนั้น ๆ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1 คน สามารถลงคะแนนเสียงได้เพียง 1 คะแนน (มาตรา 88) อีกทั้งผู้สมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาห้ามหาเสียงทำได้แต่เพียงการแนะนำตัวผู้สมัคร (มาตรา 91)

ในส่วนของอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา พบว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติให้วุฒิสภามีอำนาจเพิ่มขึ้นหลายประการกว่าวุฒิสภาในอดีต[3] อาทิ

(1) วุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 มีสิทธิขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่มีการลงมติ (มาตรา 187)

(2) วุฒิสภามีหน้าที่เลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลเข้าดำรงตำแหน่ง ดังนี้ ประธานกรรมการ และกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรมการตุลาการศาลยุติธรรม ประธานศาลปกครองสูงสุด และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองประธานกรมการและกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

(3) วุฒิสภามีหน้าที่พิจารณาและมีมติให้ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง ดังนี้ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎิกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาหรือตุลากร พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง

สำหรับผลการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2543 พบว่ามีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 31,216,032 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 42,557,583 คน มีบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,074,307 ใบ มีบัตรเสีย จำนวน 1,924,980 บัตร และมีหน่วยเลือกตั้ง 87,007 แห่ง จาก 75 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร อีกทั้งยังมีผู้สมัครเข้ารับกาเลือกตั้งวุฒิสมาชิกทั้งหมด 1,532 คน

แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2543 อันเป็นการจัดเลือกตั้งครั้งแรก เต็มพื้นที่ประเทศไทย 75 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับรองวุฒิสมาชิกเพียง 122 คน ซึ่งกว่าจะได้สมาชิกวุฒิสภาครบทั้ง 200 คน คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกขึ้นใหม่ด้วยกันทั้งหมด 5 ครั้ง (หากรวมการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2543 เท่ากับ มีการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ถึง 6 ครั้งด้วยกัน)[4] อันเนื่องมาจากคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่รับรองผลการเลือกตั้งให้กับผู้สมัครบางคน ดังนี้

ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2543 จัดการเลือกตั้งใน 34 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร ได้วุฒิสมาชิก 62 คน

ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2543 จัดการเลือกตั้งใน 9 จังหวัด ได้วุฒิสมาชิก 12 คน

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2543 จัดการเลือกตั้งใน 1 จังหวัด คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่รับรองผล

ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2543 จัดการเลือกตั้งใน 3 จังหวัด ได้วุฒิสมาชิก 3 คน

ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2543 จัดการเลือกตั้งใน 1 จังหวัด ได้วุฒิสมาชิก 1 คน

ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2543
(ผลรวมจากการเลือกตั้งซ่อม 3 ครั้ง) [5]
ที่ จังหวัด ชื่อ-นามสกุลสมาชิกวุฒิสภา
1 กรุงเทพมหานคร นายปราโมทย์ ไม้กลัด
2 นายดำรง พุฒตาล
3 นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
4 นายโสภณ สุพาพงษ์
5 พลตำรวจเอกประทิน สันติภพ
6 นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
7 นายแก้วสรร อติโพธิ
8 นายมีชัย วีระไวทยะ
9 นางประทีป อึ้งทรงธรรม
10 นายสัก กอแสงเรือง
11 นายเสรี สุวรรณภานนท์
12 นายอิมรอน มะลูลีม
13 นายผ่อง เล่งอี้
14 นายชุมพล ศิลปอาชา
15 นายจอน อึ๊งภากรณ์
16 พลตำรวจโททวี ทิพย์รัตน์
17 นาชัชวาลย์ คงอุดม
18 คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช
19 กระบี่ นายวีระพงศ์ สกลกิติวัฒน์
20 กาญจนบุรี พลเอกบัณฑิตย์ มลายอริศูนย์
21 พลเอกวัฒนา สรรพานิช
22 กาฬสิทธุ์ นายประศักดิ์ ณ กาฬสิทธุ์
23 นายสมบัติ วรามิตร
24 นายวิบูลย์ แช่มชื่น
25 กำแพงเพชร นายสุนทร จินดาอินทร์
26 นายอนันต์ ผลอำนวย
27 ขอนแก่น นายแคล้ว นรปิติ
28 นายสมควร จิตแสง
29 พลตำรวจเอกสมชาย ไชยเวช
30 นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช
31 นายพา อักษรเสือ
32 นายกวี สุภธีระ
33 จันทบุรี พลเอกวิชา ศิริธรรม
34 นายปรีชา ปิตานนท์
35 ฉะเชิงเทรา นายรส มะลิผล
36 นายบุญเลิศ ไพรินทร์
37 ชลบุรี พลตำรวจโทปรีชา ปฏิบัติสรกิจ
38 พลตำรวจตรีวีระ อนันตกูล
39 นายวิโรจน์ อมตกุลชัย
40 ชัยนาท นางนันทนา สงฆ์ประชา
41 นายพิชิต ชัยวิรัตนะ
42 นายสุริยน ภูมิรัตนประพิณ
43 นายสุชน ชาลีเครือ
44 นายนิรัตน์ อยู่ภักดี
45 ชุมพร นายกมล มั่นภักดี
46 เชียงราย นางเตือนใจ ดีเทศน์
47 พลตำรวจเอกวิรุฬห์ พื้นแสน
48 นางสาวบุษรินทร์ ติยะไพรัช
49 นายวิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์
50 เชียงใหม่ นายอาคม ตุลาดิลก
51 พลตำรวจตรีสนาม คงเมือง
52 พลตรีอินทรัตน์ ยอดบางเตย
53 นายถาวร เกียรติไชยากร
54 พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมรวิวัฒน์
55 ตรัง พลอากาศเอกกานต์ สุระกุล
56 นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ
57 ตราด พลตรีสาคร กิจวิริยะ
58 ตาก นายอุดร ตันติสุนทร
59 นายพนัส ทัศนียานนท์
60 นครนายก นายมรุต โรจนาปิยาวงศ์
61 นายสราวุธ นิยมทรัพย์
62 นายประสิทธ์ ปทุมารักษ์
63 นครพนม นายสวัสดิ์ ทรัพย์เจริญ
64 นายวัรวร สิทธิธรรม
65 นครราชสีมา นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ
66 นายไสว พราหมณี
67 นายลำพอง พิลาสมบัติ
68 นายบุญทัน ดอกไธสง
69 นายพิเชฐ พัฒนโชติ
70 นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์
71 นายวีระพล วัชระประทีป
72 นายอุบล เอื้อศรี
73 นครศรีธรรมราช นายทวี แก้วคง
74 พลตำรวจเอกมีชัย นุกุลกิจ
75 พลโทโอภาส รัตนบุรี
76 นายณรงค์ นุ่นทอง
77 นายประยุทธ ศรีมีชัย
78 นครสวรรค์ นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ
79 นายประสิทธิ์ พิทูรกิจจา
80 นางพัฒนา ศิริวันสาณฑ์
81 นายสมเกียรติ ศรลัมพ์
82 นนทบุรี พลเอกยุทธนา คำดี
83 คุณหญิงจินตนา สุขมาก
84 นายถวิล จันทร์ประสงค์
85 นราธิวาส นายฟัครุดดีน บอตอ
86 นายอูมาร์ ตอยิบ
87 น่าน นายสม ต๊ะยศ
88 นายสันติภาพ อินทรพัฒน์
89 บุรีรัมย์ นายการุณ ใสงาม
90 นางสาวอุษณีย์ ชิดชอบ
91 พันตำรวจเอกสุรพงศ์ ไผ่นวล
92 นายพร เพ็ญพาส
93 นายเพิ่มพูน ทองศรี
94 ปทุมธานี นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา
95 นายปรีดี หิรัญพฤกษ์
96 ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยตรีอำนวย ไทยานนท์
97 ปราจีนบุรี นายกำพล ภู่มณี
98 ปัตตานี นายเด่น โต๊ะมีมา
99 พลตำรวจโทชูชาติ ทัศนเสถียร
100 พระนครศรีอยุธยา นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล
101 นางสำรวย แขวัฒนะ
102 พะเยา นายสุรเดช ยะสวัสดิ์
103
104 พังงา นายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง
105 พัทลุง รัอยตรีอนุกูล สุภาไชยกิจ
106 นายโอภาส รองเงิน
107 พิจิตร นายสุรสิทธิ์ ฉัตรชัยเดช
108 นายวิชิต พูลลาภ
109 พิษณุโลก พลเอกศิริ ทิวะพันธุ์
110 นายบุญยืน ศุภสารสาทร
111 พลตำรวจโทณรงค์ อมาตยกุล
112 เพชรบุรี นายพิชัย ขำเพชร
113 เพชรบูรณ์ นายเกษม ชัยสิทธิ์
114 นายประสงค์ โฆษิตานนท์
115 นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี
116 แพร่ นายสมพร คำชื่น
117 นายสวัสดิภาพ กันทาธรรม
118 ภูเก็ต นายไพบูลย์ อุปัตศฤงศ์
119 มหาสารคาม นายทองใบ ทองเปาด์
120 นายศรีเมือง เจริญศิริ
121 นายวิทยา มะเสนา
122 มุกดาหาร นายระวี กิ่งคำวงศ์
123 แม่ฮ่องสอน นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์
124 ยโสธร นายสมบูรณ์ ทองบุราณ
125 นายสมัย ฮมแสน
126 ยะลา นายมะตา มะทา
127 ร้อยเอ็ด นายเกษม มาลัยศรี
128 นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล
129 นายวิจิตร มโนสิทธิศักดิ์
130 นายประเกียรติ นาสิมมา
131 ระนอง นายธรรมนูญ มลคล
132 ระยอง
133 นายทวีป ขวัญบุรี
134 ราชบุรี ร้อยตำรวจโทเชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ
135 นายนภินทร ศรีสรรพางค์
136 นายปราโมทย์ ไพชนม์
137 ลพบุรี นายสนิท วรปัญญา
138 พลเอกศิรินทร์ ธูปกล่ำ
139 ลำปาง พลตำรวจตรีอำพล งามจิตร
140 นายนพดล สมบูรณ์
141 นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ
142 ลำพูน นายสันติ์ เทพมณี
143 เลย พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก
144 หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล
145 ศรีสะเกษ นายชวาล มหาสุวีระชัย
146 นายชิต เจริญประเสริฐ
147 นายณรงค์สิทธิ์ เครือรัตน์
148 นายจิโรจน์ โชติพันธุ์
149 นางกรองกาญจน์ วีสมหมาย
150 สกลนคร นางมาลีรัตน์ วีสมหมาย
151 นางเพ็ญศักดิ์ จักษุจินดา
152 นายวิญญู อุฬารกุล
153 สงขลา พันตำรวจเอกไพจิตร ศรีคงคา
154 นายสมพงษ์ สระกวี
155 นายบุญญา หลีเหลด
156 นายสุรใจ ศิรินุพงศ์
157 สตูล พลเอกหาญ ลีนานนท์
158 สมุทรปราการ นายจรูญ ยังประกร
159 นายพากเพียร วิริยะพันธุ์
160 นายอนันตชัย คุณานันทกุล
161 สมุทรสงคราม
162 สมุทรสาคร นายมนตรี สินทวิชัย
163 สระแก้ว
164 นายสหัส พินทุเสนีย์
165 สระบุรี นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา
166 พลตรีมนูญกฤต รูปขจร
167 สิงห์บุรี นายคำนวณ ชโลปถัมภ์
168 สุโขทัย นายจำเจน จิตรธร
169 พลเอกพนม จีนะวิจารณะ
170 สุพรรณบุรี นายสมเกียรติ อ่อนวิมล
171 พลเอกมนัส อร่ามศรี
172 นายมนัส รุ่งเรือง
173 สุราษฎร์ธานี นายภิญญา ช่วยปลด
174 นายเฉลิม พรหมเลิศ
175 นายมนู วณิชชานนท์
176 นายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย
177 นายอำนาจ เธียรประมุข
178 นายเกษม รุ่งธนเกียรติ
179 นายอุทัยพันธุ์ สงวนเสริมศรี
180 หนองคาย นายนิตินัย นาครทรรพ
181 นายเชิดพงษ์ อุทัยสาง
182 นางอรัญญา สุจนิล
183 หนองบัวลำภู นายธวัชชัย เมืองนาง
184 นายสามารถ รัตนประทีปพร
185 อ่างทอง นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์
186 อำนาจเจริญ นายนิพนธ์ สุทธิเกช
187 อุดรธานี นายคำพันธ์ ป้องปาน
188 นายสุพร สุภสร
189 พันเอกสมคิด ศรีสังคม
190 นางจิตรา อยู่ประเสริฐ
191 พลโทปัญญา อยู่ประเสริฐ
192 อุตรดิตถ์ นายคำนวณ เหมาะประสิทธิ์
193 นายอนุชาติ บรรจงศุภมิตร
194 อุทัยธานี นายศิลป์ชัย เชษฐศิลป์
195 อุบลราชธานี นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
196 นายวีระศักดิ์ จินารัตน์
197 นายวิชัย ครองยุติ
198 นายอมร นิลเปรม
199 นางมลิวัลย์ เงินหมื่น
200 นางวิลาวัณย์ ตันวัฒนะพงษ์

ภายหลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับรองผลการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2543 จนได้สมาชิกวุฒิสภาจำนวน 200 คนแล้ว สมาชิกวุฒิสภาชุดนี้ก็ได้ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 6 ปีเต็ม นับตั้งแต่ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2543 จนถึง วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2549


ที่มา

กองบรรณาธิการมติชน, ผ่า ส.ว.ที่พึ่งหรือผู้พังประชาธิปไตย (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน, 2549), น.21-22.

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.

เลือกตั้ง ส.ว.49, วิเคราะห์สนามเลือกตั้ง ส.ว.ทั่วประเทศ, เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 724 วันที่ 14-20 เมษายน พ.ศ.2549, น.20.

สำนักงานคณะกรมการการเลือกตั้ง, รายงานการวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2543 (กรุงเทพมหานคร, 2543).

อ้างอิง

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541.
  3. กองบรรณาธิการมติชน, ผ่า ส.ว.ที่พึ่งหรือผู้พังประชาธิปไตย (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน, 2549), น.21-22.
  4. เลือกตั้ง ส.ว.49, วิเคราะห์สนามเลือกตั้ง ส.ว.ทั่วประเทศ, เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 724 วันที่ 14-20 เมษายน พ.ศ.2549, น.20.
  5. สำนักงานคณะกรมการการเลือกตั้ง, รายงานการวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2543 (กรุงเทพมหานคร, 2543).