การเลือกตั้งพฤฒสภา

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


การเลือกตั้งพฤฒสภา (การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489 มีที่มาจากการเสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง จำนวน 6 คน ประกอบด้วย พระยามานวราชเสวี นายทองเย็น หลีละเมียร พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายยล สมานนท์ และนายดิเรก ชัยนาม โดยมีเหตุผลว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ได้ใช้มาเป็นเวลานาน สมควรจะได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์และให้ทันสมัยยิ่งขึ้น ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณารับหลักการ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 แล้วตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย นายปรีดี พนมยงค์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ และหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จและลงมติในวาระที่สาม เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2489

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 จึงมีผลให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489 เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 มีบทบัญญัติรวมทั้งสิ้น 96 มาตรา มีระบบรัฐสภาเป็นแบบสองสภา ประกอบด้วย พฤฒสภา และ สภาผู้แทน กล่าวคือ พฤฒสภา ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งทางออ้อม โดยผ่านผู้แทนตำบล มีจำนวน 80 คน อยู่ในวาระคราวละ 6 ปี และเมื่อครบ 3 ปี ให้จับสลากออกกึ่งหนึ่ง สมาชิกพฤฒสภาต้องมีอายุ 40 ปีขึ้นไป และต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ พฤฒสภามีอำนาจน้อยกว่าสภาผู้แทน คือมีอำนาจหน้าที่ในการยับยั้งร่างกฎหมาย และควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีเท่านั้น ส่วนสภาผู้แทน ประกอบด้วย สมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้งโดยตรงตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน และต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้ประธานพฤฒสภาเป็นประธานของที่ประชุมร่วมกันสภาทั้งสอง และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นรองประธาน

การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา ดำเนินการจัดการเลือกตั้งโดยเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีการรับสมัคร ทำบัญชีรายชื่อ จัดนับคะแนน โดยดำเนินการทุกขั้นตอนเสมือนหนึ่งเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา จัดให้มีขึ้นในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 โดยมีนายแนบ พหลโยธิน เป็นประธานองค์การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา และนายเจริญ ปัณฑโร เป็นเลขาธิการองค์การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา สำหรับรายชื่อผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกพฤฒสภาทั้ง 80 คน มีดังต่อไปนี้

(1) พ.ต. ม.ล. กรี เดชาติวงศ์

(2) ร.อ. กำลาภ กาญจนสกุล ร.น.

(3) พ.ท. ก้าน จำนงภูมิเวท

(4) นายแก้ว สิงหะคเชนทร์

(5) พ.อ. กาจ เก่งระดมยิง

(6) พล.ร.ต. กระแส ประวาหนาวินศรศรยุทธเสนี

(7) พล.ท. หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต

(8) นายเขียน กาญจนพันธ์

(9) พล.ท. จิระ วิชิตสงคราม

(10) นายจรูญ สืบแสง

(11) นายจิตตะเสน ปัญจะ

(12) พ.ท. เจือ สฤษฎิราชโยธิน

(13) นายจำรัส สุวรรณชีพ

(14) นายจินดา พันธุมจินดา

(15) นายจำลอง ดาวเรือง

(16) พล.ท. จรูญ รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์

(17)นายเฉลียว ประทุมรส

(18) พ.อ. หลวงชาญสงคราม

(19) พ.อ. ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม

(20) หลวงชำนาญนิติเกษตร

(21) พ.ต.ท. ชั้น รัศมิทัต

(22) นายชาญ บุนนาค

(23) นายชุณฑ์ ปินทานนท์

(24) พล.ต. ไชย ประทีประเสน

(25) นายช่วย สุคนธมัต

(26) ร.ท. เชย กลัญชัย

(27) นายดิเรก ชัยนาม

(28) นายเดือน บุนนาค

(29) นายไต๋ ปาณิกบุตร

(30) พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

(31) นายถวิล อุดล

(32) ร.อ. ทิพย์ ประสานสุข ร.น.

(33) นายทองม้วน สถิรบุตร

(34) พ.อ. ทวน วิชัยขัทคะ

(35) พ.อ. เทศ กิตติรัต

(36) ร.ต. เที่ยง เฉลิมศักดิ์

(37) นายทัน พรหมมิทธิกุล

(38) นายเธียรไท อภิชาติบุตร

(39) พระยานลราชสุวัจน์

(40) พระยานิติศาสตร์ไพศาล

(41) พระยานิติการณ์ประสม

(42) นายบรรจง ศรีจรูญ

(43) นายประเสริญ ศรีจรูญ

(44) นายปรีดี พนมยงค์

(45) นายปราโมทย์ พึ่งสุนทร

(46) ร.อ. ประเสริฐ สุขสมัย ร.น.

(47) พล.ต. ปลดปรปักษ์ พิบูลภาณุวัฒน์

(48) พล.ท. ประจน มหาดิลก ประจนปัจจนึก

(49) นายปพาฬ บุญ-หลง

(50) หลวงประสิทธนรกรรม

(51) พล.ต. ประยูร ภมรมนตรี

(52) นายประทุม รมยานนท์

(53) นายผูก ปาลธรรมี

(54) พ.ต.อ. พระพิจารณ์พลกิจ

(55) นายพึ่ง ศรีจันทร์

(56) พล.ท. มังกร พรหมโยธี

(57) พระยามานวราชเสวี

(58) นายมิ่ง เลาห์เรณู

(59) พ.อ. ม.ร.ว. ลาภ หัสดินทร

(60) นายเล้ง ศรีสมวงศ์

(61) นายวิจิตร ลุลิตานนท์

(62) นายวิลาศ โอสถานนท์

(63) ร.อ.วิมล วิมลสรกิจ

(64) ร.อ. วัน รุยาพร ร.น.

(65) เรืออากาศโท วิริยะ วิริยะเหิรหาว

(66) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร

(67) พล.ต. เศียร สู่ศิลป

(68) นายศิริ ชาตินนท์

(69) นายสงวน จูฑะเตมีย์

(70) พระสุธรรมวินิจฉัย

(71) พ.ต. สมาน เทพหัสดิน ณ อยุธยา

(72) นายสนิท เจริญรัฐ

(73) นายสุรินทร์ ชิโนทัย

(74) นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์

(75) นายไสว อินทรประชา

(76) พ.ต. สเหวก นิรันดร

(77) พ.ท. อภัย พลรบ

(78) นายเอก สุภโปฎก

(79) หลวงอรรถกัลยาณวินิจ

(80) นายอรุณ แสงสว่างวัฒนะ

ประธานพฤฒสภา คือ นายวิลาศ โอสถานนท์ และรองประธานพฤฒสภา คือ นายไต๋ ปาณิกบุตร โดยพฤฒสภา และสภาผู้แทน ได้มีการประชุมสภาร่วมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489

ที่มา

ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 33 เล่มที่ 63 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2489

ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 35 เล่มที่ 63 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2489

ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 40 เล่มที่ 23 ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489

คณิน บุญสุวรรณ, ประวัติรัฐธรรมนูญไทย, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภูมิปัญญา, 2542