เหรียญพระแก้วมรกตในการสมโภชพระนคร 150 ปี

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:47, 6 ตุลาคม 2554 โดย Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

ผู้เรียบเรียง พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


ลักษณะ

ทอง

เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 เซนติเมตร

เป็นเหรียญกลม มีห่วงด้านบน ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากรหรือพระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ปางสมาธิ ประทับนั่งอยู่บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีผ้าทิพย์ห้อย ด้านหลังเป็นรูปยันต์กงจักรมีอักษรจารึกมรรค 8 ดังนี้

     อ่านว่า ทํ คือ สัมมาทิฐิ

     อ่านว่า สํ คือ สัมมาสังกัปโป

     อ่านว่า วา คือ สัมมาวาจา

     อ่านว่า กํ คือ สัมมากัมมันโต

     อ่านว่า อา คือ สัมมาอาชีโวโว

     อ่านว่า วา คือ สัมมาวายาโม

     อ่านว่า ส คือ สัมมาสติ

     อ่านว่า ส คือ สัมมาสมาธิ

ที่ริมขอบเหรียญบางเหรียญมีชื่อบริษัทผู้ผลิต ได้แก่ เพาะช่าง สุวรรณประดิษฐ์ นาถาจารุประกร ฮั่งเตียนเซ้ง และ Georges Hantz Geneve U.G.D.


ประวัติความเป็นมา

ในวาระที่จะจัดงานสมโภชพระนครครบรอบ 150 ปี เมื่อ พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามทั่วทั้งพระอาราม ซึ่งเป็นการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เช่นเดียวกับการปฏิสังขรณ์ในงานสมโภชพระนคร 100 ปี เมื่อ พ.ศ. 2425 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้วิธีหาทุนดำเนินการเช่นเดียวกับการสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ คือ บอกบุญเรี่ยไรบริจาคจากประชาชนทั่วไปมาร่วมสมทบทุนในการปฏิสังขรณ์ งบประมาณในการปฏิสังขรณ์เป็นเงินทั้งสิ้น 600,000 บาท พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชศรัทธาอุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200,000 บาท ให้เป็นทุนในการปฏิสังขรณ์ รัฐบาลออกอีกส่วนหนึ่ง ที่เหลือได้เปิดรับจากประชาชนทั่วไป โดยผู้ที่ร่วมสมทบทุนในการปฏิสังขรณ์ จะได้รับพระราชทานเหรียญพระแก้วมรกตเป็นที่ระลึก ซึ่งกำหนดการพระราชทาน ดังนี้

1. ผู้บริจาคตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญทอง

2. ผู้บริจาคตั้งแต่ 20 บาท ขึ้นไป พระราชทานเหรียญเงิน

3. ผู้บริจาคตั้งแต่ 5 บาท ขึ้นไป พระราชทาน เหรียญทองขาว

4. ผู้บริจาคตั้งแต่ 1 บาท ขึ้นไป พระราชทานเหรียญทองแดง [1]

อ้างอิง

  1. กรมธนารักษ์, เหรียญที่ระลึก กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ ๒๓๒๕ - ๒๕๒๕ , (กรุงเทพฯ : ศรีบุญพับลิเคชั่น, 2525),หน้า 199.