เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:51, 11 พฤษภาคม 2563 โดย Apirom (คุย | ส่วนร่วม) (Apirom ย้ายหน้า เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (สิวาพร สุขเอียด) ไปยัง เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ โดยไม...)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

ผู้เรียบเรียง สิวาพร สุขเอียด


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เป็นขุนนางชั้นสูงระดับ “เจ้าพระยา” คนสุดท้ายในประวัติศาสตร์ไทย และเป็นขุนนาง 5 แผ่นดิน โดยได้ดำรงตำแหน่งสำคัญทางราชการและทางการเมือง อาทิ ประธานศาลฎีกา เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา องคมนตรี ประธานองคมนตรี เป็นต้น[1]

ประวัติและการศึกษา [2]

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ เกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2428 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ที่บ้านพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของพระอนันตสมบัติ (เอม ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา กับ ท่านเชื้อ (คุณเชื้อ ณ สงขลา) ธิดาของหลวงอุปการโกศากร (เวท วัชราภัย) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 9 คน

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ สมรสกับท่านผู้หญิงน้อม (พหลโยธิน) บุตรีนายพลโท พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี (นพ พหลโยธิน) กับคุณหญิงล้วน (จารุรัตน์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ และท่านผู้หญิงน้อม มีบุตรธิดา 11 คน และอสัญกรรมวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2515 อายุ 90 ปี 11 เดือน 8 วัน

ประวัติการศึกษา

- เรียนหนังสือแบบเรียนหลวงชุดมูลบทบรรพกิจของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) จบเล่มพิศาลการันต์ จากครูขวด ที่จังหวัดสงขลา

- ปี พ.ศ. 2438 ครอบครัวได้อพยพมาอยู่กรุงเทพมหานคร จึงศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ จบชั้นสูงสุดสายวิชาสามัญ โดยได้คะแนนสอบเป็นที่ 1

- ปี พ.ศ. 2446 ศึกษาวิชากฎหมาย

- ปี พ.ศ. 2448 สอบเป็นเนติบัณฑิตสยาม เมื่ออายุเพียง 20 ปี 1 เดือน

- ปี พ.ศ. 2450 ได้รับการคัดเลือกศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ในพระอุปถัมภ์ของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2449 ซึ่งในปีนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ 2 กระทรวงยุติธรรมจึงขอพะบรมราชานุญาตให้นายจิตร ณ สงขลา ร่วมกระบวนเสด็จไปประเทศอังกฤษ ซึ่งนายจิตร ณ สงขลา ได้บันทึกไว้ดังนี้[3]

  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px

“...ในปีพุทธศักราช 2450 พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระปิยมหาราช เสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้าได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ตามเสด็จนอกสวิต (Suite) ในฐานะเป็นนักเรียนหลวงของกระทรวงยุติธรรม พร้อมกับนักเรียนอื่นอีกสองคน โดยเรือพระที่นั่งจักรีจากกรุงเทพฯ เปลี่ยนขึ้นเรือแซกชั่น ของบริษัทเยอรมันน๊อรทด๊อยซ์ลอยด์ จากสิงคโปร์ตรงไปเมืองเยนัว ประเทศอิตาลี แล้วโดยสารรถไฟไปยังเมืองซานเรโม ซึ่งเป็นที่ประทับเมื่อได้พักอยู่เจ็ดวันแล้ว ได้กราบถวายบังคมลาตามเสด็จพระเจ้าลูกยาเธอสี่พระองค์คือ สมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา พร้อมด้วยพระยาวิสูตรโกษา อัครราชทูตไทยประจำประเทศอังกฤษ และเลขานุการ ไปยังกรุงลอนดอน เพื่อศึกษาวิชากฎหมายต่อไป”

width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}

- ปี พ.ศ. 2453 สำเร็จเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ (Barrister – at – law) ที่สำนักเกรย์อิน (Gray’s Inn) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยใช้เวลาศึกษาวิชากฎหมายเป็นเวลา 3 ปีครึ่ง และได้ศึกษาภาษาฝรั่งเศสเพิ่มเติมอีกด้วย

ประวัติการทำงาน [4]

- ปี พ.ศ. 2448 ล่ามฝึกหัดในกรมกองกฎหมาย ซึ่งไม่ได้รับเงินเดือน แต่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ภาษาอังกฤษ

- ปี พ.ศ. 2448 ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการประจำ ในกรมกองกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่เป็นล่ามแปลภาษาอังกฤษ

- ปี พ.ศ. 2455 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นว่าที่อธิบดีกองหมาย กองล้มละลายและหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เป็นคนไทยคนแรกจากเดิมที่เป็นชาวต่างประเทศ

- ปี พ.ศ. 2456 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2456 และได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระจินดาภิรมย์ราชสภาบดี

- ปี พ.ศ. 2459 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี

- ปี พ.ศ. 2460 เป็นผู้พิพากษาศาลทรัพย์เชลย และเป็นเลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา

- ปี พ.ศ. 2461 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรี ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นกรรมการผู้ชี้ขาดราคาที่ดินเพื่อก่อสร้างสนามบินดอนเมือง

- ปี พ.ศ. 2464 ได้รับแต่งตั้ง ตุลาการแห่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเป็นประธานผู้ชี้ขาดในการจัดซื้อที่ดินเพื่อสร้างสะพานพระราม 6 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

- ปี พ.ศ. 2465 เป็นกรรมการศาลฎีกา (พ.ศ. 2465 – 2468) และเป็นผู้แทนสภากาชาดสยาม ในการประชุมสภากาชาดนานาประเทศ ครั้งที่ 1 ในบูรพา

- ปี พ.ศ. 2466 เป็นกรรมการกรมยกร่างกฎหมาย

- ปี พ.ศ. 2467 เป็นนายกกรรมการเนติบัณฑิตยสภา

- ปี พ.ศ. 2470 เป็นอธิบดีศาลฎีกา

- ปี พ.ศ. 2471 ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม

- ปี พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น “เจ้าพระยา” มีสมญาจารึกในหิรัญบัฎว่า “เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ สมันต – เนตรนิศุทธยุตติธรรมธร วิสดรนีติศาสตรราชประเพณี วิเชียรคีรีสัลลีวงศวัยวฑฒน์ บรมกษัตรสุนทรมหาสวามิภักดิ์ สุขุมลักษณ์สุจริตาร์ชวาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณาภิรดี อภัยพีรยปรากรม – พาหุ” ดำรงศักดินา 10000

- ปี พ.ศ. 2476 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ภายใต้การเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2476 – พ.ศ. 2477)

- ปี พ.ศ. 2477 – พ.ศ. 2479 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 2 และได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์วิสามัญแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง

- ปี พ.ศ. 2480 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ 1

- ปี พ.ศ. 2481 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

- ปี พ.ศ. 2487 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ 2 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

- ปี พ.ศ. 2489 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ 3

- ปี พ.ศ. 2490 เป็นสมาชิกวุฒิสภา และประธานวุฒิสภา (พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2494)

- ปี พ.ศ. 2491 เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ จัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492

- ปี พ.ศ. 2492 เป็นประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง และเป็นประธานตุลาการรัฐธรรมนูญโดยตำแหน่ง (พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2494)

- ปี พ.ศ. 2495 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรี (8 เมษายน 2495 – 25 กันยายน พ.ศ. 2499)

- ปี พ.ศ. 2506 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2506 และ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506) เครื่องราชอิสริยาภรณ์

- ปี พ.ศ. 2455 เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

- ปี พ.ศ. 2474 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

- ปี พ.ศ. 2493 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

- ปี พ.ศ. 2497 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม)

บทบาททางการเมือง

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในวงงานรัฐสภา คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาและประธานรัฐสภา และมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ดังนี้[5]

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

- 22 กันยายน 2477 – 15 ธันวาคม 2477

- 17 ธันวาคม 2477 - 31 กรกฎาคม 2478

- 2 สิงหาคม 2478 – 31 กรกฎาคม 2479

ประธานวุฒิสภาและประธานรัฐสภา

- 26 พฤศจิกายน 2490 – 18 กุมภาพันธ์ 2491

- 20 กุมภาพันธ์ 2491 – 14 มิถุนายน 2492

- 15 มิถุนายน 2492 – 20 พฤศจิกายน 2493

- 22 พฤศจิกายน 2493 – 29 พฤศจิกายน 2494

ขณะที่ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังกล่าว ท่านได้ทำหน้าที่สำคัญในประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยหลายประการ คือ[6]

- ในปี พ.ศ. 2477 – พ.ศ. 2479 ระหว่างดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา ได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาลไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงลอนดอน เพื่ออัญเชิญเสด็จกลับคืนมาครองราชย์ และเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาลไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ณ เมืองโลซาน เพื่ออัญเชิญให้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 8

- ในปี พ.ศ. 2491 – พ.ศ. 2492 เป็นสมาชิกสภาร่างและได้รับเลือกเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้จัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาดีที่สุดฉบับหนึ่ง และต่อมาถูกล้มเลิกโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งทำการรัฐประหารและนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 กลับมาใช้

- ในปี พ.ศ. 2493 ได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2493 เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสมาชิกสภา ได้ร่วมกล่าวคำถวายพระพรชัยมงคลเป็นภาษามคธ และในพิธีเบื้องปลาย เสด็จออกมหาสมาคม เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และในฐานะประธานรัฐสภาได้กราบถวายพระพรชัยมงคลในนามประชาชนชาวไทย[7]

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

ศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา), เจ้าพระยา, “อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)” กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนการพิมพ์, 2519.

ที่มา

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)” ระบบออนไลน์ http://th.wikipedia.org/wiki

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 77 ปี รัฐสภาไทย กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2552.

ศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา), เจ้าพระยา, “อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)” กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนการพิมพ์, 2519.

อ้างอิง

  1. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)” ระบบออนไลน์ http://th.wikipedia.org/wiki สืบค้นวันที่ 28 มกราคม 2553
  2. เกษกนก วัฒนวิกย์กรรม ค้นคว้าและเรียบเรียง, “30 ตุลาคม 2428 วันเกิดเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)” ระบบออนไลน์ http://nlt.go.th/Data/past/Octo/3010.pdf สืบค้นวันที่ 28 มกราคม 2553
  3. เกษกนก วัฒนวิทย์กรรม, อ้างแล้ว.
  4. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, อ้างแล้ว
  5. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 77 ปี รัฐสภาไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2552, หน้า 45.
  6. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, อ้างแล้ว.
  7. การจัดพิธีบรมราชาภิเษก ระบบออนไลน์ http://download.clib.psu.ac.th สืบค้นวันที่ 28 มกราคม 2553.