ASEAN UNIVERSITY NETWORK (AUN) เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:47, 31 พฤษภาคม 2559 โดย Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

บทนำ

1.1ที่มาและความสำคัญ

AUN หรือเครือข่ายมหาวิทยาลัยในอาเซียนเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้เป็นองค์กรเพื่อการพัฒนาภูมิภาคร่วมกันในด้านต่างๆ ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรบุคคลก็เป็นอีกด้านที่ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญ [1] โดยในการประชุม ASEAN Summit ครั้งที่ 4 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้เล็งเห็นความสำคัญในการเร่งสร้างความเป็นปึกแผ่น และส่งเสริมการพัฒนาอัตลักษณ์ของภูมิภาคโดยเน้นในส่วนของทรัพยากรบุคคล เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างกันของเครือข่ายมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ในอาเซียน

ในเวลาต่อมาจึงมีการลงนามตามข้อตกลงโดยมหาวิทยาลัยสมาชิกในการก่อตั้ง ASEAN University Network ขึ้นหรือที่รู้จักกันในนาม AUN อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรีในการบริหารจัดการการศึกษาจาก 6 ประเทศด้วยกัน ในแรกเริ่มนั้นมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมทั้งสิ้น 11 มหาวิทยาลัย โดยมอบอำนาจตามข้อตกลงแก่คณะกรรมการผู้ได้รับมอบหมายและเลขาธิการซึ่งมีคณะกรรมการผู้บริหารเป็นผู้จัดการดูแล

คณะกรรมการผู้ได้รับมอบหมายได้จัดการประชุมหารือครั้งแรกขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2539 เพื่อวางแผนการดำเนินการใน 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษา การศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคอาเซียนข้อมูลข่าวสารสารสนเทศเครือข่าย และความร่วมมือด้านวิจัย [2]

หลังจากการลงนามรับรองกฏบัตรอาเซียนใน พ.ศ.2550 AUN ได้มีบทบาทสำคัญในฐานะองค์กรที่มีผลงานทางด้านประชาสังคมและวัฒนธรรมผ่านการดำเนินการเรื่องของการจัดโปรแกรมและกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการจัดการการศึกษาเกี่ยวกับอาเซียนในระดับอุดมศึกษาและพัฒนาความร่วมมือในระหว่างภูมิภาค ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเรื่องของการศึกษาในมาตรฐานระดับสากล

1.2 ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน

AUN มียุทธศาสตร์ที่เน้นความสำคัญในเรื่องการสร้างอัตลักษณ์โดยสร้างความร่วมมือร่วมใจกันของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนาภูมิภาค[3] ซึ่งมีการดำเนินการดังนี้

1) หลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเชิงสหวิทยาการ ในระดับการศึกษาที่มีการมอบปริญญาบัตร

2) หลักสูตรความร่วมมือการจัดการศึกษาในภูมิภาคเกี่ยวกับอาเซียนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกโดยสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษามากกว่าหนึ่งประเทศสมาชิกขึ้นไป

3) การทำวิจัยในระดับภูมิภาคอาเซียนโดยการร่วมมือกันของนักวิทยาศาสตร์และนักศึกษามากกว่าหนึ่งประเทศสมาชิกขึ้นไป

4) หลักสูตรเยี่ยมเยือนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของคณาจารย์ในภูมิภาคอาเซียน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการศึกษาจากแนวคิดของประเทศสมาชิกหนึ่งไปยังอีกประเทศสมาชิกหนึ่ง

องค์กร

2.1 นโยบายการดำเนินงาน

นโยบายของ เครือข่ายมหาวิทยาลัยในอาเซียน ประกอบด้วย

1) เสริมสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือกันที่มีอยู่เดิมระหว่างมหาวิทยาลัยในอาเซียน

2) ก่อให้เกิดความร่วมมือกันทางด้านการศึกษาและการทำวิจัย รวมไปถึงความร่วมมือในการจัดหลักสูตรการศึกษาและการวิจัยโดยเฉพาะในด้านอัตลักษณ์ของอาเซียน

3) เสริมสร้างความร่วมมือและความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างนักเรียนทุน นักวิชาการ และนักวิจัยในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน

4) สนองตอบต่อทิศทางการปรับนโยบายหลักของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคอาเซียน

2.2 โครงสร้างขององค์กร[4]

แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

2.2.1.ระดับนโยบาย Board of Trustee วางรูปแบบและจัดทำแผนนโยบาย ประกอบด้วย

1) ผู้แทนหน่วยงานรัฐบาลของชาติสมาชิกที่กำกับดูแลมหาวิทยาลัย

2) เลขาธิการใหญ่

3) ประธานคณะกรรมาธิการของ Board of Trustee

4) ประธาน Senior Official Meeting on Education (SOM-ED)

5) ผู้อำนวยการขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้Southeast Asian Ministers of Education Organization (SEAMEO)

6) เลขาธิการ

2.2.2.ระดับการปฏิบัติการ โดยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นภาคี ซึ่งในปัจจุบันการดำเนินงานได้ขยายวงกว้างไปถึงจำนวน 30 มหาวิทยาลัยสมาชิก[5] ได้แก่

1) ประเทศบรูไน

2) ประเทศอินโดนีเซีย

3) ประเทศลาว

4) ประเทศกัมพูชา

5) ประเทศมาเลเซีย

6) ประเทศไทย

7) ประเทศพม่า

8) ประเทศฟิลิปปินส์

- Universiti Brunei Darussalam (UBD)

- Universitas Gadjah Mada (UGM)

- Universitas Indonesia (UI)

- Royal University of Law and Economics (RULE)

- Institut Teknologi Bundung (ITB)

- Universitas Airlangga (UNAIR)

- National University of Laos (NUOL)

- Royal University of Phnom Penh (RUPP)

- Universiti Malaya(UM)

- Universiti Sains Malaysia (USM)

- Universiti Kebangsaan Malaysia (UKM)

- Universiti Putra Malaysia (UPM)

- Universiti Utara Malaysia (UUM)

- Burapha University (BUU)

- Chulalongkorn University (CU)

- Chiang Mai University (CMU)

- Mahidol University (MU)

- Prince of Songkla University (PSU)

- University of Yangon (UY)

- Institute of Economics, Yangon (IEY)

- University of Mandalay

- De La Salle University (DLSU)

9) ประเทศเวียดนาม

10) ประเทศสิงคโปร์

- University of the Philippines (UP)

- Ateneo de Manila University (ATMU)

- Can Tho University (CTU)

- Vietnam National University-Ho Chi Minh (VNU-HCM)

- Vietnam National University, Hanoi (VNU-HN)

- Singapore Management University (SMU)

- Nanyang Technological University (NTU)

- National University of Singapore (NUS)

2.2.3.ระดับการบริหารจัดการ โดยเลขาธิการ AUN ซึ่งคอยประสานงาน ควบคุม ดูแลภาพรวม รวมไปถึงการประเมินผลตั้งแต่กระบวนการวางแผนไปจนถึงการดำเนินการจัดกิจกรรมและหลักสูตรต่างๆ นอกจากนี้ยังช่วยเสนอความเห็นเพื่อพัฒนาแผนงานและเครื่องมือเพื่อจัดหาและสร้างแหล่งเงินทุนเพื่อการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่ง AUN มีสำนักงานอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทำงานใกล้ชิดกับเลขาธิการอาเซียนในการประสานงานและปฏิบัติการต่างๆภายในภูมิภาคในเรื่องเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา

2.3 งบประมาณ

ค่าใช้จ่ายการดำเนินการและกิจกรรมต่างที่จัดขึ้นภายใต้ AUN ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภายในได้แก่ กลุ่มมหาวิทยาลัยสมาชิกในภูมิภาค นอกจากนั้น AUN ยังรับการสนับสนุนจากจากองค์กรภายนอกซึ่งเป็นคู่เจรจาของอาเซียน ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน สหภาพยุโรป อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติหรือ The United Nations Development Program (UNDP)

บทบาทขององค์กร

3.1บทบาทภายใน

กิจกรรมจะถูกจัดแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนเยาวชน,ความร่วมมือทางการศึกษา,มาตรฐาน เครื่องมือ ระบบ และนโยบายของความร่วมมือของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา,หลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาต่างๆ,รูปแบบนโยบายระดับภูมิภาคแบะระดับสากล

3.2บทบาทภายนอก

มีการตกลงร่วมกันเป็นเครือข่ายกับองค์กรอื่นๆเพื่อการจัดกิจกรรมและหลักสูตรต่างๆอย่างหลากหลาย อาทิ ASEAN, ASEAN Foundation, DAAD, EUA, ASIA-EUROPE Foundation,UNESCO,JICA,Japan Foundation, MEXT, Ministry of Education,Ministry of Gender Equality and Family Republic of Korea, ADB, EU etc.

บรรณานุกรม

ASEAN Network University, 2015. AUN MEMBER UNIVERSITIES http://www.aunsec.org/aunmemberuniversities.php (accessed March 24 ,2015).

ASEAN Network University, 2015. HISTORY and BACKGROUND. http://www.aunsec.org/ourhistory.php (accessed March 24 ,2015).

ASEAN Network University, 2015. ORGANIZATION STRUCTURE. http://www.aunsec.org/organization.php (accessed March 24 ,2015).

Salita Seedokmai, “THE ROLE OF THE ASEAN UNIVERSITY NETWORK IN CREATING AWARENESS OF ASEAN THROUGH YOUTH PARTICIPANT,”( Southeast Asian Studies Program Chulalongkorn University,2013).

อ้างอิง

  1. Salita Seedokmai, “THE ROLE OF THE ASEAN UNIVERSITY NETWORK IN CREATING AWARENESS OF ASEAN THROUGH YOUTH PARTICIPANT,”( Southeast Asian Studies Program Chulalongkorn University,2013).
  2. ASEAN Network University, 2015. “HISTORY and BACKGROUND.” <http://www.aunsec.org/ourhistory.php> (accessed March 24 ,2015).
  3. Ibid.
  4. ASEAN Network University, 2015. “ORGANIZATION STRUCTURE”. <http://www.aunsec.org/organization.php> (accessed March 24 ,2015).
  5. ASEAN Network University, 2015. “AUN MEMBER UNIVERSITIES” <http://www.aunsec.org/aunmemberuniversities.php> (accessed March 24 ,2015).