เลขาธิการอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียน (Secretary-General of ASEAN and ASEAN Secretariat)

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:33, 31 พฤษภาคม 2559 โดย Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

สำนักเลขาธิการอาเซียน

1.1 ประวัติความเป็นมา

สำนักงานเลขาธิการอาเซียนถูกจัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 1 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1976 [1] ปัจจุบัน สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ ณ เลขที่ 70 A ถนนสิสิงคมังคราชา กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยภายในสำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดแบ่งโครงสร้างภายในดังนี้

1.2 หน้าที่และวิสัยทัศน์ของสำนักเลขาธิการอาเซียน

หน้าที่ของสำนักเลขาธิการอาเซียน คือ เป็นหน่วยงานประสานความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ทั้ง 10 ประเทศ และระหว่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา[2] เพื่อให้ความร่วมมือขององค์กรในอาเซียนเป็นไปได้โดยมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้โครงการและกิจกรรมของอาเซียนสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล[3] ดังนี้ ภารกิจของสำนักงานเลขาธิการอาเซียน จึงเป็นการริเริ่ม อำนวยความสะดวกและประสานงานความร่วมมือ ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอาเซียน เพื่อให้บรรลุถึงจุดประสงค์และหลักการของอาเซียนที่ปรากฎในกฎบัตรอาเซียน [4]

วิสัยทัศน์ของสำนักเลขาธิการอาเซียน คือ ใน ค.ศ.2015 สำนักเลขาธิการอาเซียน ประสงค์ที่จะเป็นศูนย์กลางของประชาคมอาเซียนที่มีความเข้มแข็ง และมีความมั่นใจที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ปฏิบัติตามตราสารอาเซียนและดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งประชาชนอาเซียนทั้งปวง [5]

จากหน้าที่และวิสัยทัศน์ขององค์กรที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น การดำเนินงานต่างๆของสำนักเลขาธิการอาเซียน จะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ เลขาธิการอาเซียน ( Secretary General of ASEAN ) ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้แทนขององค์กรในการดำเนินกิจการงานต่างๆทั้งภายในและภายนอกขององค์กร นอกจากนั้นยังมี เจ้าหน้าที่ประจำองค์กร ที่มีความสามารถที่คัดเลือกมาจากพลเมืองของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ [6]

1.3 สำนักเลขาธิการอาเซียนในไทย

ในแต่ละประเทศสมาชิก จะมีสำนักงานเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ ( National ASEAN Secretariat) เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงต่างประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้น กรมอาเซียน กระทรวงต่างประเทศ เป็นผู้ประสานกิจการอาเซียนและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียนภายในประเทศ[7] โดยหน้าที่ของกรมอาเซียนในฐานะสำนักเลขา ธิการแห่งชาตินั้น มีดังต่อไปนี้

(ก) เป็นผู้ประสานงานกลางแห่งชาติ

(ข) เป็นหน่วยงานระดับชาติซึ่งเก็บรักษาข้อสนเทศในเรื่องทั้งปวงเกี่ยวกับอาเซียน

(ค) เป็นผู้ประสานงานระดับชาติเกี่ยวกับการอนุวัติข้อตัดสินใจของอาเซียน

(ง) เป็นผู้ประสานงานและสนับสนุนการเตรียมการระดับชาติของการประชุมอาเซียน

(จ) ส่งเสริมอัตลักษณ์และความสำนึกเกี่ยวกับอาเซียนในระดับชาติ

(ฉ) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาประชาคมอาเซียน [8]

เลขาธิการอาเซียน

2.1 หน้าที่ของเลขาธิการอาเซียน

หน้าที่ของเลขาธิการอาเซียน คือ กำกับดูแลงานของอาเซียนในภาพรวม อำนวยความสะดวกพร้อมทั้งสอดส่องดูแลความคืบหน้าในงานด้านต่างๆของอาเซียนและเสนอเข้ารายงานประจำปีต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน นอกจากนี้ยังเข้าร่วมประชุมต่างๆที่เป็นกิจกรรมสำคัญของอาเซียนและเสนอแนะความคิดเห็นของอาเซียนและเข้าร่วมประชุมกับภาคีภายนอกตามที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะผู้แทนของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศอีกด้วย [9] ดังนั้นการคัดเลือกเลขาธิการอาเซียนนั้น จึงต้องพิจารณาจาก “ASEAN Character” หรือ บุคลิกความเป็นอาเซียนของสำนักเลขาธิการอาเซียน (The ASEAN Character of the Secretariat) ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจาก บุคลิกของชาติสมาชิก (Particular Character of the Member States) ที่ต่างมีผลประโยชน์ที่ต้องปกป้อง ดังนั้นผู้ที่จะเป็นเลขาธิการอาเซียนต้องมีบทบาท ท่าที และความเห็นในนามอาเซียน ไม่ใช่ในนามประเทศใดประเทศหนึ่งหรือประเทศที่ตนมีสัญชาติ [10]

2.2 วิธีการคัดเลือกและวาระการดำรงตำแหน่ง

การที่จะมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนได้นั้น ต้องได้รับการแต่งตั้งโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน[11] โดยวิธีการคัดเลือกคือ พิจารณาจากการเสนอชื่อของประเทศที่มีสิทธิในการเสนอชื่อผู้สมัคร โดยใช้หลักการเวียนตัวอักษรภาษาอังกฤษของประเทศสมาชิก[12] โดยคำนึงถึงความซื่อสัตย์สุจริต ความสามารถ รวมถึงประสบการณ์ทางวิชาชีพและความเท่าเทียมทางเพศเป็นสำคัญ[13] ทั้งนี้เลขาธิการอาเซียนมีวาระการดำรงตำแหน่ง เพียง 1 สมัย คือ 5 ปีเท่านั้นโดยไม่สามารถต่ออายุได้ [14] ตามกฎบัตรอาเซียนผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน พึงได้รับการสนับสนุนจากรองเลขาธิการอาเซียน 4 คน บนเงื่อนไขว่า รองเลขาธิการอาเซียนทั้ง 4 คนนี้จะต้องมีสัญชาติที่แตกต่างกันเองภายในผู้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการอาเซียนและแตกต่างจากเลขาธิการอาเซียนเป็นสำคัญ กล่าวคือ เลขาธิการอาเซียนและรองเลขาธิการอาเซียน ทุกคนล้วนแต่มีสัญชาติที่ต่างกันไป [15]

สำหรับประเทศไทย มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนอยู่ด้วยกัน 2 คน คือ

1.นายแผน วรรณเมธี (16 กรกฎาคม 2527 - 15 กรกฎาคม 2529)

2. ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ (1 มกราคม 2551 - 31 ธันวาคม 2555)

รายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน[16]

1) H.R DHARSONO , 7 June 1976 to 18 Feb 1978, Indonesia

2) UMARJADI NOTOWIJONO, 19 Feb 1978 to 30 June 1978, Indonesia

3) DATUK ALI BIN ABDULLAH, 10 July 1978 to 30 June 1980, Malaysia

4) NARCISO G. REYES, 1 July 1980 to 1 July 1982, The Philippines

5) CHAN KAI YAU, 18 July 1982 to 15 July 1984 , Singapore

6) PHAN WANNAMETHEE, 16 July 1984 to 15 July 1986, Thailand

7) RODERICK YONG, 16 July 1986 to 16 July 1989, Brunei Darussalam

8) RUSLI NOOR, 17 July 1989 to 1 Jan 1993, Indonesia

9) DATO AJIT SINGH, 1 Jan 1993 to 31 Dec 1997, Malaysia

10) RODOLFO C. SEVERINO JR., 1 Jan 1998 to 31 Dec 2002, The Philippines

11) ONG KENG YONG, 1 Jan 2003 to 31 Dec 2007, Singapore

12) Dr. SURIN PITSUWAN, 1 Jan 2008 to 31 Dec 2012, Thailand

13) H.E. Le Luong Minh, The Secretary-General of ASEAN 2013 -2017, Viet Nam

บรรณานุกรม

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ.2559 “กรมอาเซียนในฐานะสำนักงานเลขาธิการอาเซียน” .http://www.mfa.go.th/asean/th/organize/30088-กรมอาเซียนในฐานะสำนักเลขาธิการอาเ.html(accessed January 25 2016).

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ.2558. “หนังสือ 58 คำตอบ สู่ประชาคมอาเซียน” 2558. http://www.led.go.th/asean/pdf/1/1-21.pdf(accessed June 25 2015).

วิทยาลัยการปกครอง.2558.”มองอาเซียน 360 ํ องศา (ASEAN 360 degree)” http://www.iadopa.org/index.php/component/content/article/80-2013-04-10-06-58-31/117-as0001 (accessed June 28 2015).

สมเกียรติ อ่อนวิมล.2556”คอลัมน์ บันทึกอาเซียน | ASEAN DIARY” . http://guru.truelife.com/issue/content/view/387618 (accessed June 25 2015).

สุรินทร์ พิศสุวรรณ.2555.”ห้าปีบนเก้าอี้เลขาธิการอาเซียน”http://www.sarakadee.com/2013/04/10/dr-surintra/3/ (accessed June 28 2015).

ASEAN Corner.2559 “สำนักงานเลขาธิการอาเซียน.” http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/asean/aseansecret.pdf (accessed January 25 2016).

The ASEAN Secretariat.2014. “Former Secretaries-General of ASEAN”. http://www.asean.org/asean/asean-secretariat/former-secretaries-general-of-asean (accessed June 28 2015). อุไรวรรณ รุ่งไหรัญ.2555. “ทัศนะของเลขาธิการอาเซียนต่อการเตรียมความพร้อม เข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทย” http://www.journalhri.com/pdf/0702_10.PDF(accessed June 25 2015).

Human Rights in ASEAN.2555.“About ASEAN”.http://humanrightsinasean.info/asean-background/asean-structure.html (accessed June 28 2015).

The ASEAN Secretariat.2556. “About ASEAN Secretariat”. http://www.asean.org/asean/asean-secretariat/about-asean-secretariat (accessed June 25 2015).

อ้างอิง

  1. The ASEAN Secretariat.2556. “About ASEAN Secretariat”. http://www.asean.org/asean/asean-secretariat/about-asean-secretariat(accessed June 25 2015).
  2. อุไรวรรณ รุ่งไหรัญ.2555. “ทัศนะของเลขาธิการอาเซียนต่อการเตรียมความพร้อม เข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทย” http://www.journalhri.com/pdf/0702_10.PDF(accessed June 25 2015).
  3. The ASEAN Secretariat.2556.อ้างเเล้ว.
  4. The ASEAN Secretariat.2556.อ้างเเล้ว.
  5. The ASEAN Secretariat.2556.อ้างเเล้ว.
  6. สมเกียรติ อ่อนวิมล.2556”คอลัมน์ บันทึกอาเซียน | ASEAN DIARY” . http://guru.truelife.com/issue/content/view/387618 (accessed June 25 2015).
  7. ASEAN Corner.2559 “สำนักงานเลขาธิการอาเซียน”.http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/asean/aseansecret.pdf (accessed January 25 2016).
  8. กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ.2559 “กรมอาเซียนในฐานะสำนักงานเลขาธิการอาเซียน” .http://www.mfa.go.th/asean/th/organize/30088-กรมอาเซียนในฐานะสำนักเลขาธิการอาเ.html(accessed January 25 2016).
  9. กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ.2558. “หนังสือ 58 คำตอบ สู่ประชาคมอาเซียน” 2558. http://www.led.go.th/asean/pdf/1/1-21.pdf(accessed June 25 2015).
  10. สุรินทร์ พิศสุวรรณ.2555.”ห้าปีบนเก้าอี้เลขาธิการอาเซียน” http://www.sarakadee.com/2013/04/10/dr-surintra/3/ (accessed June 28 2015).
  11. ASEAN Charter  : Article 11 (1) “ให้เลขาธิการอาเซียนได้รับการแต่งตั้งโดยที่ประชุม สุดยอดอาเซียน โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งห้าปีที่ไม่สามารถต่ออายุได้ และให้ได้รับการเลือกจากคนชาติของรัฐสมาชิกอาเซียน บนพื้นฐานของการหมุนเวียนตามลําดับตัวอักษร โดยคํานึงตามสมควรถึงความซื่อสัตย์สุจริต ความสามารถ รวมถึงประสบการณทางวิชาชีพ และความเท่าเทียมกันทางเพศ”
  12. ASEAN Charter  : Article 11 (1)
  13. ASEAN Charter  : Article 11 (1)
  14. ASEAN Charter  : Article 11 (1)
  15. ASEAN Charter  : Article 11 (5) “รองเลขาธิการอาเซียนทั้งสี่คนต้องมีสัญชาติที่แตกต่างจากเลขาธิการอาเซียนและมาจากรัฐสมาชิกที่แตกต่างกันสี่รัฐสมาชิกอาเซียน”
  16. The ASEAN Secretariat.2014. “Former Secretaries-General of ASEAN”. http://www.asean.org/asean/asean-secretariat/former-secretaries-general-of-asean (accessed June 28 2015).