การสร้างความปรองดองแห่งชาติ: กรณีศึกษาไอร์แลนด์เหนือ สหราชอาณาจักร (ตอนที่ 5)

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:51, 21 พฤษภาคม 2557 โดย Suksan (คุย | ส่วนร่วม) (หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'เรียบเรียงโดย : นายเมธัส อนุวัตรอุดม ผู้ทรงคุณวุฒ...')
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

เรียบเรียงโดย : นายเมธัส อนุวัตรอุดม ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : พลเอก เอกชัย ศรีวิลาส

5. บทสรุปสู่สังคมไทย

กรณีการสร้างความปรองดองในไอร์แลนด์เหนือได้สะท้อนให้เห็นว่าความรุนแรงจะยุติลงได้และสังคมจะมีทางออกร่วมกันได้อย่างยั่งยืนก็ด้วยกระบวนการพูดคุยเจรจาที่ทุกฝ่ายได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมคุย ร่วมคิด และตัดสินใจ โดยที่กระบวนการดังกล่าวมิได้มุ่งขจัดความแตกต่างทางความคิดและเป้าหมายของทั้งสองฝ่ายเพื่อให้คิดและเชื่อเหมือนทั้งหมด หากแต่ทำให้ความแตกต่างขัดแย้งที่มีอยู่นั้นได้รับการบริหารจัดการไม่ให้กลายเป็นความรุนแรงด้วยการยึดมั่นร่วมกันในหลักประชาธิปไตยและการปฏิเสธความรุนแรง ในส่วนของการจัดการกับความจริงที่เกิดขึ้นในอดีตนั้นก็ สังคมส่วนใหญ่ได้เห็นพ้องในหลักของการแสวงหาและเปิดเผยความจริง รับผิดชอบในการกระทำของตน และให้อภัยต่อกันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อให้สังคมเดินหน้าต่อไป

ภายใต้ภาวะการณ์ที่ความขัดแย้งในความคิดทางการเมืองได้หยั่งรากลึกลงไปในทุกระดับของสังคมไทย โจทย์สำคัญจึงมิใช่การพยายามกำจัดความขัดแย้ง หากแต่ทำอย่างไรให้ผู้คนที่หลากหลายในสังคมสามารถอยู่กับความขัดแย้งได้โดยไม่ให้ความขัดแย้งดังกล่าวกลับกลายเป็นความรุนแรง กล่าวคือ เราไม่จำเป็นต้องยุติความขัดแย้งซึ่งถือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในสังคมไทยที่มีความแตกต่างทั้งในแง่ความคิดทางการเมือง สถานะทางเศรษฐกิจสังคม และประเพณีวัฒนธรรม หากแต่สิ่งที่ต้องขจัดให้หมดไปและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกคือความรุนแรง ซึ่งต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย โดยการจะทำงานร่วมกันได้นั้น ผู้คนในสังคมจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าเราสามารถอยู่ด้วยกันได้โดยไม่จำเป็นต้องคิดเหมือนกัน รับรู้และเข้าใจว่าทำไมคนอื่นจึงคิดต่างจากเรา ลดอคติและความเกลียดชังระหว่างกันลงโดยไม่จำเป็นต้องรักใคร่กลมเกลียวกัน และค้นหาแนวทางจัดการกับความจริงในอดีตที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมด้วยจำนวนมากเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงครั้งใหม่ขึ้นอีก ดังที่ชาวไอร์แลนด์เหนือได้พิสูจน์ให้ทั่วโลกได้เห็นแล้วว่าเป็นไปได้

บรรณานุกรม

เอกสารภาษาอังกฤษ

Anglo-Irish Agreement. 1985. http://cain.ulst.ac.uk/events/aia/aiadoc.htm (December 13, 2011).

Beresford, David. 1994. Ten Men Dead: The Story of the 1981 Irish Hunger Strike. London: HarperCollins.

Collins, Eamon. 1997. Killing Rage. London: Granta Books.

Dixon, Paul. 2008. Northern Ireland: The Politics of War and Peace. 2nd Edition. Basingstoke: Palgave Macmillan.

Doherty, Paul. 2000. “The Northern Ireland Peace Process: A Solution to the Problems of an Ethnically Divided Society?” The Brown Journal of World Affairs Volume VII, Issue 1 (Winter/Spring): 49-62.

Family Support Center. 2010. “Set the Truth Free.” Family Support Center. http://www.bloodysundaytrust.org/bsi/BSI-media-pack-pdf.pdf (December 13, 2011).

Farrington, Christopher. 2008. “Introduction: Political Change in a Divided Society – The Implementation of the Belfast Agreement.” In Global Change, Civil Society and the Northern Ireland Peace Process: Implementing the Political Settlement, ed. Christopher Farrington. New York: Palgrave Macmillan.

Goodall, David. 1993. “The Irish Question.” Ampleforth Journal vol.XCVIII Part I (Spring).

Guelke, Adrian. 2008. “The Lure of the Miracle? The South African Connection and the Northern Ireland Peace Process.” In Global Change, Civil Society and the Northern Ireland Peace Process: Implementing the Political Settlement, ed. Christopher Farrington. New York: Palgrave Macmillan.

Howe, Geoffrey. 1994. Conflict of Loyalty. London: Pan.

Idoiaga, Gorka Espiau. 2010. “The Peace Processes in the Basque Country and Northern Ireland (1994-2006): a Comparative Approach.” Working Papers 2010/03. Institut Catala Internacional Per la Pau. http://www20.gencat.cat/docs/icip/Continguts/Publicacions/WorkingPapers/Arxius/WP10_3_ANG.pdf (December 13, 2011).

Lodge, Tom. 2009. “Northern Ireland: between Peace and Reconciliation.” OpenDemocracy. http://www.opendemocracy.net/article/northern-ireland-between-peace-and-reconciliation (December 13, 2011).

Major, John. 1999. John Major: The Autobiography. London: HarperCollins.

Mitchell, George J., John de Chastelain, and Harri Holkeri. 1996. Report of the International Body on Arms Decommissioning, 22 January 1996. Conflict Archive on the Internet, University of Ulster. http://cain.ulst.ac.uk/events/peace/docs/gm24196.htm (December 13, 2011).

Moloney, Ed. 2007. A Secret History of the IRA. 2nd Edition. London: Penguin Books.

Powell, Jonathan. 2009. Great Hatred, Little Room: Making Peace in Northern Ireland. London: Vintage Books.

Saville of Newdigate, William L. Hoyt, and John L. Toohey. 2010. Report of the Bloody Sunday Inquiry. National Archive. http://webarchive.nationalarchives.gov.uk/20101103103930/http://bloody-sunday-inquiry.org/ (December 13, 2011).

Shirlow, Peter, and Kieran McEvoy. Beyond the Wire: Former Prisoners and Conflict Transformation in Northern Ireland. London: Pluto Press.

Sunningdale Agreement. 1973. http://cain.ulst.ac.uk/events/sunningdale/agreement.htm (December 13, 2011).

Taylor, Peter. 2000. Loyalists. London: Bloomsbury.

Thatcher, Margaret. 1993. Downing Street Years. London: HarperCollins.

The Agreement. 1998. http://cain.ulst.ac.uk/events/peace/docs/agreement.htm (December 13, 2011).

Wichert, Sabine. 1999. Northern Ireland since 1945. 2nd Edition. New York: Longman.

Widgery. 1972. Report of the Tribunal appointed to inquire into the events on Sunday, 30th January 1972. Conflict Archive on the Internet, University of Ulster. http://cain.ulst.ac.uk/hmso/widgery.htm (December 13, 2011).

รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์

1. Alex Maskey – สมาชิกสสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค SF และกรรมการกำกับดูแลกิจการตำรวจ (Policing Board) ในนามพรรค

2. David Stitt – อดีตหัวหน้ากองกำลังย่อยกลุ่มติดอาวุธ UDA ของฝ่าย Loyalist

3. Evelyn Glenholmes – แกนนำพรรค SF เป็นลูกและหลานของอดีตสมาชิก IRA และได้เข้าร่วม IRA ตั้งแต่อายุ 13 ปี ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนอังกฤษว่า “นางฟ้าแห่งความตาย” (Angle of Death)

4. Ian White – ผู้อำนวยการ Glencree Center for Peace and Reconciliation ซึ่งเคยมีบทบาทเป็นผู้เชื่อมประสานให้เกิดการพูดคุยระหว่างฝ่าย Unionist และฝ่าย Nationalist ในระดับชุมชน

5. Jeffrey Donaldson – สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค DUP/ อดีตคณะผู้เจรจาของพรรค DUP ในกระบวนการสันติภาพเมื่อปี 2541

6. Jimmy Spratt – สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ พรรค DUP และกรรมการกำกับดูแลกิจการตำรวจ (Policing Board) ในนามพรรค

7. Lynne Knox – จ่าตำรวจประจำสำนักงานตำรวจไอร์แลนด์เหนือ

8. Martin Magill (Rev.) – บาทหลวงนิกายคาทอลิกประจำ St Oliver Plunkett Parish เบลฟาสต์ตะวันตก

9. Michael Culbert – ผู้อำนวยการคอยส์เต้ (Coiste) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ช่วยเหลือดูแลอดีตนักโทษการเมืองในการกลับคืนสู่สังคม/ เป็นอดีตสมาชิกกลุ่มขบวนการIRA และเป็นอดีตนักโทษการเมืองที่ถูกทางการอังกฤษตัดสินจำคุก 16 ปี

10. Paul Arthur – ศาสตราจารย์ด้านสันติภาพและความขัดแย้ง มหาวิทยาลัย Ulster

11. Paul Moran – สารวัตรประจำสำนักงานตำรวจไอร์แลนด์เหนือ

12. Peter Robinson – หัวหน้าคณะผู้บริหารไอร์แลนด์เหนือ (First Minister)

13. Vikki Nelson – ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว Jimmy Spratt สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือพรรค DUP