งดใช้ข้อบังคับ

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
ผู้เขียน - สิฐสร กระแสร์สุนทร


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ - รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง




มนุษย์จัดได้ว่าเป็นสัตว์สังคมจำเป็นต้องอาศัยอยู่ร่วมกันพึ่งพากันและกัน แต่มนุษย์นั้นเมื่ออยู่รวมกันมาก ๆ สิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือความแตกต่างกันในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์ หรือสิ่งอื่น ความแตกต่างเหล่านี้อาจนำมาซึ่งความขัดแย้งได้ ฉะนั้นการที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสงบสุขนั้น จำเป็นต้องสร้างกฏ ระเบียบ แบบแผน ขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือสิ่งอื่นใดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องควบคุมให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปด้วยความสงบสุข ปราศจากความขัดแย้ง


สำหรับการประชุมก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการประชุมแบบเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ หากการประชุมนั้นๆ ไม่มีกฏ ระเบียบ หรือข้อบังคับมาเป็นเครื่องมือในการควบคุมความเรียบร้อยในการประชุมแล้ว การประชุมดังกล่าวคงดำเนินไปด้วยความยากลำบาก และอาจเกิดความขัดแย้งขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะการประชุมในระดับสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาซึ่งถือว่าเป็นการประชุมที่มีความสำคัญ ยิ่งจำเป็นต้องมีการกำหนดข้อบังคับการประชุม


ข้อบังคับการประชุม

ครั้งแรกที่มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ณ ห้องโถงชั้นบน พระที่นั่งอนันตสมาคม ในครั้งนั้นได้มีการใช้ข้อบังคับการประชุมสภาชั่วคราว โดยนำข้อบังคับการประชุมของสภาคณะองคมนตรีมาใช้ไปพลางก่อน[1] จะเห็นได้ว่าข้อบังคับการประชุมมีความสำคัญ มีความจำเป็น และอยู่คู่กับสถาบันนิติบัญญัติไทยมาตั้งแต่ต้น


สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ให้คำจำกัดความของข้อบังคับการประชุม[2] คือ กฏหรือระเบียบที่ได้ตราขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ใช้บังคับและควบคุมให้การประชุมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย สำหรับสาระสำคัญของข้อบังคับการประชุมจะกำหนดเกี่ยวกับเรื่องการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธาน รองประธาน ของแต่ละสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด การปฏิบัติหน้าที่และองค์ประชุมของคณะกรรมาธิการ วิธีการประชุม การเสนอและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ การเสนอญัตติ การอภิปราย การลงมติ การบันทึก และการเปิดเผยการลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไป การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย รวมทั้งกิจการอื่น ๆ เพื่อดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ


การใช้ข้อบังคับการประชุมดังกล่าว มีความจำเป็นต้องยึดถือ และปฏิบัติตามกฏ ระเบียบ ในข้อบังคับที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้การประชุมนั้น ๆ ผ่านไปด้วยดี โดยไม่มีปัญหา หรือข้อขัดแย้งใด ๆ เกิดขึ้นระหว่างการประชุม แต่ในบางกรณีอาจมีเหตุสุดวิสัย หรือความจำเป็นบางประการที่จำเป็นต้องละเมิด กฏ กติกาที่วางไว้ ซึ่งนำมาสู่ “งดใช้ข้อบังคับ”


การงดใช้ข้อบังคับ

การงดใช้ข้อบังคับการประชุม หรืองดใช้ข้อบังคับชั่วคราว[3] มีความหมายว่า การระงับการใช้ข้อบังคับการประชุมสภาบางข้อเป็นการชั่วคราว เนื่องจากมีเหตุจำเป็นในระหว่างการประชุมสภา โดยปกติสมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมอย่างเคร่งครัด การฝ่าฝืนข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่งอาจถูกทักท้วง และประธานสภาจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับข้อดังกล่าวหรือไม่ แต่บางครั้งที่ประชุมสภาอาจพร้อมใจกันฝ่าฝืน ในกรณีที่ต้องการหาทางออกโดยเร่งด่วน มิฉะนั้นอาจเกิดความขัดแย้งหรือเสียหายอย่างรุนแรงได้ กรณีที่สมาชิกในที่ประชุมส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดต่างยินยอมพร้อมใจให้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับโดยชอบด้วยกฏหมายแล้ว ให้ถือว่ามีการงดใช้ข้อบังคับการประชุมเป็นการชั่วคราว ซึ่งจะงดใช้ได้ครั้งเดียวเท่านั้น เพราะถ้าหากงดใช้เป็นการถาวร ก็ต้องนำเข้าสู่กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และมีขั้นตอนมาก


ข้อบังคับการประชุมที่ว่าด้วยการงดใช้ข้อบังคับ

ตัวอย่างข้อบังคับการประชุมของหน่วยงานนิติบัญญัติต่าง ๆ ในอดีตที่กล่าวถึง การงดใช้ข้อบังคับดังนี้


ข้อบังคับการประชุมปรึกษาของสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๐๔ ข้อ ๘๕[4] ซึ่งใช้เป็นข้อบังคับการประชุมชั่วคราวของสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน กำหนดไว้ว่า


  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px ถ้าประธานขอปรึกษาหรือสมาชิกเสนอญัตติให้งดการใช้ข้อบังคับในข้อหนึ่งข้อใดแห่งข้อบังคับนี้ เป็นการชั่วคราวเฉพาะกรณีพิเศษ และที่ประชุมลงมติเห็นชอบด้วย โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา ก็ให้งดใช้ข้อบังคับเช่นว่านั้นได้ แต่ญัตติดังกล่าวต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าสิบคน width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}


ข้อบังคับการประชุมปรึกษาของสภาผู้แทน พ.ศ. ๒๕๑๓ ข้อ ๑๓๗[5]กำหนดไว้ว่า

  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px ถ้าประธานขอปรึกษา หรือสมาชิกเสนอญัตติให้งดการใช้บทบังคับในข้อหนึ่งข้อใดแห่งข้อบังคับนี้เป็นการชั่วคราวเฉพาะกรณีพิเศษ ที่ประชุมอาจลงมติให้งดการใช้บทบังคับเช่นว่านั้นได้ width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}


ข้อบังคับการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๗ ข้อ ๑๓๗[6] กำหนดไว้ว่า

  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px ถ้าประธานขอปรึกษา หรือสมาชิกเสนอญัตติโดยมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าสามสิบคน ให้งดใช้ข้อบังคับข้อหนึ่งข้อใดเป็นการชั่วคราวเฉพาะกรณี และที่ประชุมลงมติเห็นชอบด้วย โดยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ก็ให้งดใช้ข้อบังคับนั้นได้ width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}


ข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๒๗ ข้อ ๑๔๑[7] กำหนดไว้ว่า

  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px ถ้าประธานขอปรึกษา หรือสมาชิกเสนอญัตติ โดยมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าสามสิบคน ให้งดใช้ข้อบังคับหนึ่งข้อใดทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวเฉพาะกรณี หากที่ประชุมลงมติเห็นชอบ ด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม ก็ให้งดใช้ข้อบังคับนั้นได้ width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}


ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๘ ข้อ ๑๓๖[8] กำหนดไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px ถ้าประธานขอปรึกษา หรือสมาชิกเสนอญัตติโดยมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ให้งดใช้ข้อบังคับข้อหนึ่งข้อใดทั้งหมด หรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวเฉพาะกรณี และที่ประชุมอนุมัติก็ให้งดใช้ได้ width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}


ปัจจุบันการเมืองการปกครองของประเทศไทยเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งประกอบไปด้วย ๒ สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ซึ่งในข้อบังคับการประชุมของทั้ง ๒ สภาได้กำหนดให้มีการงดใช้ข้อบังคับไว้คล้ายคลึงกัน แตกต่างกันที่จำนวนสมาชิกที่จะเสนอญัตติการงดใช้ข้อบังคับ และคะแนนเสียงของที่ประชุมในการที่จะอนุมัติ/เห็นชอบเรื่องดังกล่าว โดยมีรายละเอียด ดังนี้


ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๑ หมวดที่ ๑๒ บทสุดท้าย ข้อ ๑๗๖ กล่าวถึงการงดใช้ข้อบังคับ[9] ไว้ว่า “ถ้าประธานขอปรึกษา หรือสมาชิกเสนอญัตติโดยมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ให้งดใช้ข้อบังคับข้อหนึ่งข้อใดทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวเฉพาะกรณี หากที่ประชุมอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกในที่ประชุมก็ให้งดใช้ได้”


ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๑ หมวดที่ ๑๑ บทสุดท้าย ข้อ ๑๘๑ กล่าวถึงการงดใช้ข้อบังคับ[10] ไว้ว่า “ถ้าประธานของที่ประชุมขอปรึกษา หรือสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคน ให้งดใช้ข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่งทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวเฉพาะกรณี หากที่ประชุมวุฒิสภาลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกในที่ประชุมวุฒิสภา ก็ให้งดใช้ข้อบังคับนั้นได้”


จะเห็นได้ว่าข้อบังคับการประชุมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้มีข้อกำหนดที่ว่าด้วยการงดใช้ข้อบังคับเรื่อยมา โดยมีพัฒนาการ มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระ และวิธีการให้เหมาะสมกับสภาวะการณ์ในช่วงนั้น ๆ


กรณีตัวอย่างการงดใช้ข้อบังคับ

กรณีตัวอย่างการงดใช้ข้อบังคับการประชุม เลือกมานำเสนอ จำนวน ๒ กรณี โดยกรณีตัวอย่างแรกเป็นกรณีที่ประธานในที่ประชุมขอปรึกษาที่ประชุมเพื่อของดใช้ข้อบังคับการประชุม โดยเป็นกรณีตัวอย่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ณ ตึกรัฐสภา โดยในการประชุมครั้งนั้น รองศาสตราจารย์ลลิตา ฤกษ์สำราญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายโภคิน พลกุล ติดภาระกิจเดินทางไปราชการต่างประเทศ) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งดังกล่าว หลังจากที่ประชุมได้อภิปรายและรับทราบผลการดำเนินงานของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๗ แล้ว รองศาสตราจารย์ลลิตา ฤกษ์สำราญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อของดใช้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๓๒ ในการพิจารณากระทู้ถามสดมากกว่า ๓ กระทู้ถาม ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ถามสด จำนวน ๔ กระทู้ถาม


สำหรับกรณีตัวอย่างที่สอง เป็นกรณีตัวอย่างที่สมาชิกเสนอญัตติเพื่อของดใช้ข้อบังคับการประชุม โดยเป็นกรณีตัวอย่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๓ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ ตึกรัฐสภา โดยในการประชุมครั้งนั้นมีนายชัย ชิดชอบ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในระหว่างที่การประชุมจะดำเนินการพิจารณาระเบียบวาระต่อไป มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอเสนอญัตติตามข้อบังคับการประชุม ข้อ ๑๗๖ เพื่อของดใช้ข้อบังคับการประชุมข้อ ๔๖ วรรคสอง ในการขอนำร่างพระราชบัญญัติอื่น จำนวน ๓ พระราชบัญญัติขึ้นมาพิจารณาต่อจากร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอโดยให้งดใช้ข้อบังคับการประชุมข้อ ๔๖ วรรคสอง


จะเห็นได้ว่าการงดใช้ข้อบังคับนั้น มีความจำเป็นมากหากในการประชุมสภาครั้งนั้น ๆ ประสบปัญหา ไม่สามารถหาทางออก และแก้ไขปัญหานั้นได้ จำเป็นต้องหาวิธีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นอาจทำเกิดความขัดแย้ง หรือเสียหายอย่างรุนแรงได้ จึงต้องให้ความสำคัญ โดยการกำหนดการงดใช้ข้อบังคับการประชุมไว้ในข้อบังคับการประชุมเรื่อยมา เพื่อให้การประชุมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และเกิดประโยชน์กับประเทศอย่างสูงที่สุด


อ้างอิง

  1. ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์, “รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (๒๔๗๕ - ๒๕๑๗)”. กรุงเทพ ฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชุมนุมช่าง, ๒๕๑๗, หน้า ๒๐.
  2. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, “ข้อบังคับการประชุม”. กรุงเทพ ฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ๒๕๕๑, หน้า คำนำ.
  3. คณิน บุญสุวรรณ, “ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย”. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, ๒๕๔๘, หน้า ๒๒๕ – ๒๒๖.
  4. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, “รวมข้อบังคับการประชุมสภา ๒๔๗๖ – ๒๕๑๘”. กรุงเทพ ฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร , ๒๕๑๙ , หน้า ๑๖๗.
  5. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, “ข้อบังคับการประชุมสภาเปรียบเทียบ ๒๔๗๖ – ๒๕๑๗”. กรุงเทพ ฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ๒๕๔๖, หน้า ๒๑๒.
  6. คณิน บุญสุวรรณ, “ภาษาการเมืองในระบอบรัฐสภา”. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๓, หน้า ๙๐ – ๙๑.
  7. คณิน บุญสุวรรณ, “ภาษาการเมืองในระบอบรัฐสภา”. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๓, หน้า ๙๑.
  8. คณิน บุญสุวรรณ, “ภาษาการเมืองในระบอบรัฐสภา”. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๓, หน้า ๙๑.
  9. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, “ข้อบังคับการประชุม”. กรุงเทพ ฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ๒๕๕๑, หน้า ๗๐.
  10. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, “ข้อบังคับการประชุม”. กรุงเทพ ฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ๒๕๕๑, หน้า ๑๕๒.


บรรณานุกรม

คณิน บุญสุวรรณ, (๒๕๓๓) “ภาษาการเมืองในระบอบรัฐสภา”. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

คณิน บุญสุวรรณ, (๒๕๔๘) “ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย”. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์, (๒๕๑๗) “รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (๒๔๗๕ - ๒๕๑๗)”. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชุมนุมช่าง.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (๒๕๑๙) “รวมข้อบังคับการประชุมสภา ๒๔๗๖ – ๒๕๑๘”. กรุงเทพ ฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (๒๕๔๖) “ข้อบังคับการประชุมสภาเปรียบเทียบ ๒๔๗๖ – ๒๕๑๗”. กรุงเทพ ฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (๒๕๔๘) “บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ณ ตึกรัฐสภา”.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (๒๕๕๑) “ข้อบังคับการประชุม”. กรุงเทพ ฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (๒๕๕๒) “บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๓ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ ตึกรัฐสภา”.


หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

คณิน บุญสุวรรณ, (๒๕๓๓) “ภาษาการเมืองในระบอบรัฐสภา”. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

คณิน บุญสุวรรณ, (๒๕๔๘) “ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย”. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์, (๒๕๑๗) “รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (๒๔๗๕ - ๒๕๑๗)”. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชุมนุมช่าง.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, (๒๕๕๑) “ข้อบังคับการประชุม”. กรุงเทพ ฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

ดูเพิ่มเติม