องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
ผู้เรียบเรียงพัชร์ นิยมศิลป
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ศาสตราจารย์ ดร. ไชยวัฒน์ ค้ำชู
ข้อมูลพื้นฐาน และ ความหมาย
กฎบัตรอาเซียน หมวด 4 ได้กำหนดองค์กรตามกฎบัตรอาเซียนไว้ เก้าประเภท ได้แก่ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน คณะมนตรีประสานงานอาเซียน คณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่างๆ องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา เลขาธิการอาเซียนและสำนักงานเลขาธิการอาเซียน คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน และมูลนิธิอาเซียน ทั้งนี้กฎบัตรอาเซียนได้กำหนดให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนซึ่งประกอบด้วยประมุขของรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิกและคณะรัฐมนตรีประสานงานอาเซียนซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน และคณะมนตรีประชาคมอาเซียนแต่ละคณะจะต้องประชุมกันอย่างน้อยสองครั้งต่อปี ทั้งนี้คณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่าง ๆ จะประกอบด้วยคณะมนตรีประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน คณะมนตรีประชาคมและเศรษฐกิจอาเซียนและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยแต่ละคณะจะมีองค์กรระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องในขอบข่ายการดำเนินงานของตน
โครงสร้างและอำนาจหน้าที่
กฎบัตรอาเซียนข้อ 10 กำหนดให้องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขามีหน้าที่ดังนี้
ก. ดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละองค์กรที่มีอยู่
ข. ปฏิบัติตามความตกลงและข้อตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่อยู่ในขอบข่ายการดำเนินงานของแต่ละองค์กร
ค. เสริมสร้างความร่วมมือในสาขาของแต่ละองค์กรให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียน และการสร้างประชาคมอาเซียน และ
ง. เสนอรายงานและข้อเสนอแนะต่อคณะมนตรีประชาคมอาเซียนของแต่ละองค์กร
ทั้งนี้กฎบัตรได้อนุญาตให้องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาแต่ละองค์กรอาจมีเจ้าหน้าที่อาวุโสและองค์กรย่อยที่เกี่ยวข้องในขอบข่ายการดำเนินงานของตนตามที่ระบุในภาคผนวก 1 ของกฎบัตรอาเซียน เพื่อดำเนินงานตามหน้าที่ของตน นอกจากนั้นคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนอาจเสนอแนะต่อเลขาธิการอาเซียนให้ปรับปรุงภาคผนวก 1 นี้ให้ทันสมัยอยู่เสมอโดยไม่ต้องใช้กระบวนการแก้ไขกฎบัตรอาเซียน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการจัดโครงสร้างภายในของอาเซียนให้ทันต่อความท้าทายใหม่ๆ อยู่เสมอ
กลุ่มองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา ในภาคผนวก 1 นี้ สามารถแยกออกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามกรอบเนื้อหางานของ 3 ประชาคม ดังนี้
กลุ่มที่หนึ่ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคง (ASEAN Political and Security Community) มีคณะกรรมการเฉพาะสาขาต่อไปนี้ :
1.ASEAN POLITICAL-SECURITY COMMUNITY COUNCIL คณะมนตรีประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
2. ASEAN FOREIGN MINISTERS MEETING (AMM) ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
3. COMMISSION ON THE SOUTHEAST ASIA NUCLEAR WEAPON-FREE ZONE (ZEANWFZ COMMISSION) คณะกรรมการเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4. ASEAN DEFENCE MINISTERS MEETING (ADMM) ที่ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน
5. ASEAN LAW MINISTERS MEETING (ALAWMM) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านกฎหมาย
6. ASEAN MINISTERIAL MEETING ON TRANSNATIONAL CRIME (AMMTC) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ
7. ASEAN REGIONAL FORUM (ARF) ที่ประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
กลุ่มที่สอง ASEAN ECONOMIC COMMUNITY ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีคณะกรรมการเฉพาะสาขา ดังต่อไปนี้
1. ASEAN ECONOMIC COMMUNITY COUNCIL คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
2. ASEAN ECONOMIC MINISTERS MEETING (AEM) ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
3. ASEAN FREE TRADE AREA (AFTA) COUNCI คณะกรรมการเขตการค้าเสรีอาเซียน
4. ASEAN INVESTMENT AREA (AIA) COUNCIL คณะกรรมาธิการเขตการลงทุนอาเซียน
5. ASEAN FINANCE MINISTERS MEETING (AFMM) ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านการคลังอาเซียน
6. ASEAN MINISTERS MEETING ON AGRICULTURE AND FORESTRY (AMAF) ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียน
7. ASEAN MINISTERS ON ENERGY MEETING (AMEM) ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านพลังงานอาเซียน
8. ASEAN MINISTERIAL MEETING ON MINERALS (AMMin) ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านแร่ธาตุอาเซียน
9. ASEAN MINISTERIAL MEETING ON SCIENCE AND TECHNOLOGY (AMMST) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10.ASEAN TELECOMMUNICATIONS AND INFORMATION TECHNOLOGY MINISTERS MEETING (TELMIN) ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศอาเซียน
11. ASEAN TRANSPORT MINISTERS MEETING (ATM) ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านการขนส่งอาเซียน
12. MEETING OF THE ASEAN TOURISM MINISTERS (M-ATM) การประชุมรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวอาเซียน
13. ASEAN MEKONG BASIN DEVELOPMENT COOPERATION (AMBDC) ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มแม่น้ำโขง
14. ASEAN CENTRE FOR ENERGY ศูนย์พลังงานอาเซียน
15. ASEAN-JAPAN CENTRE IN TOKYO ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกียว
กลุ่มที่สาม ASEAN SOCIO-CULTURAL COMMUNITY ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีคณะกรรมการต่อไปนี้
1. ASEAN SOCIO-CULTURAL COMMUNITY COUNCIL คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
2. ASEAN MINISTERS RESPONSIBLE FOR INFORMATION (AMRI) ที่ประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน
3. ASEAN MINISTERS RESPONSIBLE FOR CULTURE AND ARTS (AMCA) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ
4. ASEAN EDUCATION MINISTERS MEETING (ASED) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการศึกษา
5. ASEAN MINISTERIAL MEETING ON DISASTER MANAGEMENT (AMMDM) ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านภัยพิบัติอาเซียน
6, ASEAN MINISTERIAL MEETING ON THE ENVIRONMENT (AMME) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม
7.CONFERENCE OF THE PARTIES TO THE ASEAN AGREEMENT ON TRANS-BOUNDARY HAZE POLLUTION (COP) สมัชชารัฐภาคีต่อความตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษหมอกควันข้ามแดน 8. ASEAN HEALTH MINISTERS MEETING (AHMM) ที่ประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน
9. ASEAN LABOUR MINISTERS MEETING (ALMM) ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านแรงงานอาเซียน
10.ASEAN MINISTERS ON RURAL DEVELOPMENT AND POVERTY ERADICATION (AMRDPE) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบท และ การขจัดความยากจน
11. ASEAN MINISTERIAL MEETING ON SOCIAL WELFARE AND DEVELOPMENT (AMMSWD) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคม และการพัฒนา
12. ASEAN MINISTERIAL MEETING ON YOUTH (AMMY) ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเยาวชน
13. ASEAN CONFERENCE ON CIVIL SERVICE MATTERS (ACCSM) กรอบการประชุมอาเซียนว่าด้วยเรื่องข้าราชการพลเรือน
14. ASEAN CENTRE FOR BIODIVERSITY (ACBD) ศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
15.ASEAN COORDINATING CENTRE FOR HUMANITARIAN ASSISTANCE IN DISASTER MANAGEMENT (AHA CENTRE) ศูนย์ประสานงานงานการจัดการสงเคราะห์ผู้ประสพภัยพิบัติ
16. ASEAN EARTHQUAKES INFORMATION CENTRE ศูนย์ประชาสัมพันธ์ด้านแผ่นดินไหวอาเซียน
17. ASEAN SPECIALISED METEOROLOGICAL CENTRE ศูนย์พยากรณ์อากาศอาเซียน
18. ASEAN UNIVERSITY NETWORK (AUN) เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน