พลังแผ่นดินไท (พ.ศ. 2549)

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:43, 10 กรกฎาคม 2553 โดย Teeraphan (คุย | ส่วนร่วม)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต



พรรคพลังแผ่นดินไท

พรรคพลังแผ่นดินจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2549[1] โดยมีนายลิขิต ธีรเวคิน ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคและนายประจวบ อึ๊งภากรณ์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค[2] ต่อมาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549[3] นายประจวบ อึ๊งภากรณ์ ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและเลขาธิการพรรค แต่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2550[4] ได้มีคำสั่งจากนายทะเบียนพรรคการเมืองให้พรรคพลังแผ่นดินไทยเปลี่ยนตัวบุคลผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคและรองหัวหน้าพรรคคือนายลิขิต ธีรเวคิน และนายสฤต สันติเมทนีดล เนื่องจากที่ผ่านมาบุคคลทั้งคู่ได้เป็นอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักไทยและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งทำให้ทั้งคู่ไม่สามารถขอจัดตั้งพรรคการเมือง เป็นกรรมการบริหารของพรรคการเมืองหรือมีส่วนร่วมในการขอจัดตั้งพรรคการเมืองได้ภายในห้าปีนับตั้งแต่วันที่ประกาศยุบพรรคไทยรักไทย จึงทำให้พรรคพลังแผ่นดินไทยต้องเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคคนใหม่ซึ่งก็ได้แก่นายสมศักดิ์ วรคามิน[5] แต่หลังจากนั้นไม่นานก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อนายสมศักดิ์ วรคามิน ได้ลาออกจาการเป็นหัวหน้าพรรค[6] ซึ่งหัวหน้าพรรคคนต่อมาก็ได้แก่ นายมนตรี เศรษฐบุตร [7]

ส่วนการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นทางการของพรรคนั้น ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 พรรคได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด 41 คน แบ่งเป็นแบบสัดส่วนจำนวน 20 คนและแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 21 คน ซึ่งทั้งหมดไม่ได้รับการเลือกตั้งแต่อย่างใด

รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ[8]


ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาภูมิภาค

1.กระตุ้นการบริโภคในประเทศ

2.กระตุ้นการส่งออก

3.ส่งเสริมการออมและการลงทุน

4.ส่งเสริมแข่งขันกันอย่างเสรี

5.สนับสนุนพัฒนาฝีมือแรงงาน

6.รักษาเสถียรภาพทางการเงิน

7.แก้ไขปัญหาการว่างงาน

8.พัฒนาความเจริญสู่ภูมิภาค

9.พัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับแต่ล่ะภูมิภาค


ด้านการต่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศ

1.หาตลาดใหม่สำหรับสินค้าไทย

2.จัดตั้งกองทุนแรงงาน

3.แก้ไขกฎระเบียบด้านเศรษฐกิจที่ประเทศไทยเสียเปรียบ

4.ส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาค

5.สนับสนุนนโยบายความร่วมมือในระดับเอเปค

6.กระตุ้นความร่วมมือในกลุ่มประเทศอาเซียนให้มากยิ่งขึ้น

7.จัดตั้งมหาวิทยาลัยอาเซียน

8.ผลักดันความร่วมมือในระดับอนุภาคในเรื่องสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจและหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ

9.แก้ปัญหาความขัดแย้งบริเวณชายแดน


ด้านการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ

1.พัฒนาพรรคการเมือง

2.สนับสนุนองค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ

3.พัฒนากระบวนการนิติบัญญัติและการบริหาร

4.ปฏิรูประบบราชการให้เป็นเชิงเอกชน

5.ลดขนาดส่วนราชการ

6.กระจายอำนาจรัฐสู่หน่วยงานในท้องถิ่น เอกชนและสังคม

7.ปรับโครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทนแก่หน่วยงานรัฐ

8.สนับสนุนให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง


ด้านความมั่นคง

1.สนับสนุนให้กองทัพมีการค้นคว้า วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางทหารที่ทันสมัย

2.ยกเลิกระบบทหารเกณฑ์โดยเปลี่ยนมาเป็นระบบทหารอาสา

3.ส่งเสริมบทบาทของกองทัพในการพัฒนาประเทศ


ด้านสังคม

1.สร้างสังคมใหม่ให้ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมผาสุก

2.ส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานของสถานเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

3.พัฒนาระบบการคุ้มครองสิทธิเด็ก

4.ควบคุมการใช้แรงงานเด็ก

5.ฝึกอาชีพให้เยาวชนที่ไม่ได้ศึกษาต่อ

6.สนับสนุนหญิงชายให้มีความรับผิดชอบตามกรอบธรรมเนียมประเพณี

7.คุ้มครองให้เกียรติ สิทธิและเสรีภาพทุกประการกับหญิงบริการที่ทำโดยความสมัครใจ

8.ให้การบริการที่จำเป็นทุกด้านแก่ผู้สูงอายุโดยไม่คิดมูลค่า

9.จัดสวัสดิการให้แก่ผู้พิการในทุกด้าน


ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

1.ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2.พัฒนาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3.ส่งเสริมระบบสารสนเทศการเกษตร

4.กำหนดมาตรการในการดูแล รักษา แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

5.สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์เพื่อการพัฒนา

6.ตั้งคณะกรรมการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการใช้ทรัพยากรและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม


ด้านการเกษตร

1.ส่งเสริมการผลิตเพื่อแปรรูปสินค้าการเกษตรและการผลิตแบบฟาร์มขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของเกษตรกร

2.พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารภายใต้ตราสัญลักษณ์ประเทศไทยเพื่อการส่งออก

3.ขยายตลาดและแสวงหาตลาดใหม่ๆทางการเกษตร

4.ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร

5.เพิ่มบทบาทของเอกชนในการพัฒนาแหล่งน้ำ

6.สนับสนุนการรวมตัวของเกษตรกร


ด้านการศึกษา

1.ให้โอกาสทางการศึกษากับคนทุกคน

2.เรียนฟรี 12 ปี

3.ส่งเสริมการศึกษาสำหรับนักบวชในทุกศาสนา

4.จัดตั้งกองทุนพัฒนาและกองทุนส่งเสริมบุคลากรทางการศึกษา

5.ตั้งกองทุนส่งเสริมการศึกษาในระดับอุดมศึกษา

6.ให้มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นหลักในการผลิตงานวิจัยและมหาวิทยาลัยเอกชนผลิตนักศึกษา

7.จัดหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับประเพณีวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่

8.จัดตั้งห้องสมุดประชาชนในทุกท้องถิ่น

9.สนับสนุนการแปลสิ่งพิมพ์จากต่างประเทศ

10.ให้อิสระแก่เอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ


ด้านสาธารณสุข

1.สนับสนุนให้มีแพทย์หรือพยาบาลประจำครอบครัว

2.จัดการบริการสาธารณสุขให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

3.จัดหาน้ำดื่มที่สะอาดให้ครบทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ

4.จัดตั้งศูนย์บริการแม่และเด็ก

5.สร้างเครือข่ายศูนย์สาธารณสุขและสหกรณ์ยาระดับหมู่บ้าน

6.ให้บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลปฏิบัติงานได้ถึงอายุ 65 ปี

7.ส่งเสริมให้มีระบบประกันสุขภาพราคาถูก

8.สนับสนุนการรักษาด้วยยากลางบ้านและยาสมุนไพร


อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอน 77ง หน้า 14
  2. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอน 77ง หน้า 49
  3. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอน 127ง หน้า 114
  4. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอน 70ง หน้า 83-84
  5. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอน 86ง หน้า 59
  6. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอน 26ง หน้า 29
  7. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอน 91ง หน้า 131
  8. สรุปความจากราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอน 77ง หน้า 14-30