ผลต่างระหว่างรุ่นของ "18 เมษายน พ.ศ. 2526"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:


----
----
วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526 เป็นวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 13 ของไทย ขณะนั้นใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 แต่ทางนายกรัฐมนตรีต้องการจะให้มีการเลือกตั้งทั่วไปก่อนครบกำหนด เพราะถ้าครบกำหนด บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญที่จะทำให้เลือกตั้งในแบบเดิมที่ทำกันมา ก็จะใช้ไม่ได้ ดังนั้นนายกรัฐมนตรีจึงยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 และมีการเลือกตั้งในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526
วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526 เป็นวันที่มี[[การเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 13]] ของไทย ขณะนั้นใช้[[รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521]] แต่ทาง[[นายกรัฐมนตรี]]ต้องการจะให้มี[[การเลือกตั้งทั่วไป]]ก่อนครบกำหนด เพราะถ้าครบกำหนด บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญที่จะทำให้เลือกตั้งในแบบเดิมที่ทำกันมา ก็จะใช้ไม่ได้ ดังนั้นนายกรัฐมนตรีจึงยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 และมีการเลือกตั้งในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526


การเลือกตั้งครั้งนี้อาศัยกฎหมายเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 เป็นการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดยแบ่งเป็นเขตเลือกตั้งจำนวนผู้แทนราษฎรได้ไม่เกินเขตละ 3 คน จำนวนผู้แทนราษฎรทั้งหมดในการเลือกตั้งครั้งนี้มีอยู่ 324 คน สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เพิ่มจำนวนจากคราวก่อนมาเป็น  24,224,470 คน แต่จำนวนผู้มาออกเสียงทั่วประเทศก็มีเพียง  12,295,339 คน นับได้เป็นอัตราร้อยละ 50.76 คน ของจำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด
การเลือกตั้งครั้งนี้อาศัย[[กฎหมายเลือกตั้ง พ.ศ. 2522]] เป็น[[การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน]] โดยแบ่งเป็น[[เขตเลือกตั้ง]]จำนวนผู้แทนราษฎรได้ไม่เกินเขตละ 3 คน จำนวนผู้แทนราษฎรทั้งหมดในการเลือกตั้งครั้งนี้มีอยู่ 324 คน สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เพิ่มจำนวนจากคราวก่อนมาเป็น  24,224,470 คน แต่จำนวนผู้มาออกเสียงทั่วประเทศก็มีเพียง  12,295,339 คน นับได้เป็นอัตราร้อยละ 50.76 คน ของจำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด


ผลการเลือกตั้งที่นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ ไม่ได้ไปลงเลือกตั้งด้วยนั้น ปรากฏว่าไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงมากเกินกว่ากึ่งหนึ่ง จึงต้องตั้งรัฐบาลผสม และพรรคการเมืองก็ตกลงกันเองไม่ได้ จนต้องหันไปพึ่ง พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลผสมที่มี พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ เป็นแกนนำรัฐบาล มีพรรคการเมือง 4 พรรคเข้าร่วมได้แก่ พรรคกิจสังคม พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชากรไทย และพรรคชาติประชาธิปไตย
ผลการเลือกตั้งที่นายกรัฐมนตรี [[พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์]] ไม่ได้ไปลงเลือกตั้งด้วยนั้น ปรากฏว่าไม่มี[[พรรคการเมือง]]ใดได้เสียงมากเกินกว่ากึ่งหนึ่ง จึงต้องตั้ง[[รัฐบาลผสม]] และพรรคการเมืองก็ตกลงกันเองไม่ได้ จนต้องหันไปพึ่ง พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลผสมที่มี พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ เป็น[[แกนนำรัฐบาล]] มีพรรคการเมือง 4 พรรคเข้าร่วมได้แก่ [[พรรคกิจสังคม]] [[พรรคประชาธิปัตย์]] [[พรรคประชากรไทย]] และ[[พรรคชาติประชาธิปไตย]]


สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งนี้กับรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ ได้อยู่กันมารอดจากความพยายามในการยึดอำนาจของทหารกลุ่มหนึ่ง ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 แต่สภาผู้แทนราษฎรก็ไม่สามารถอยู่จนครบวาระเพราะนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ประกาศยุบสภา ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 และนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 นั่นเอง
สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งนี้กับรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ ได้อยู่กันมารอดจากความพยายามในการยึดอำนาจของทหารกลุ่มหนึ่ง ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 แต่สภาผู้แทนราษฎรก็ไม่สามารถอยู่จนครบวาระเพราะนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ประกาศ[[ยุบสภา]] ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 และนำไปสู่[[การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529]] นั่นเอง


[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]]
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:36, 17 กันยายน 2556

ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526 เป็นวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 13 ของไทย ขณะนั้นใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 แต่ทางนายกรัฐมนตรีต้องการจะให้มีการเลือกตั้งทั่วไปก่อนครบกำหนด เพราะถ้าครบกำหนด บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญที่จะทำให้เลือกตั้งในแบบเดิมที่ทำกันมา ก็จะใช้ไม่ได้ ดังนั้นนายกรัฐมนตรีจึงยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 และมีการเลือกตั้งในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526

การเลือกตั้งครั้งนี้อาศัยกฎหมายเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 เป็นการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดยแบ่งเป็นเขตเลือกตั้งจำนวนผู้แทนราษฎรได้ไม่เกินเขตละ 3 คน จำนวนผู้แทนราษฎรทั้งหมดในการเลือกตั้งครั้งนี้มีอยู่ 324 คน สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เพิ่มจำนวนจากคราวก่อนมาเป็น 24,224,470 คน แต่จำนวนผู้มาออกเสียงทั่วประเทศก็มีเพียง 12,295,339 คน นับได้เป็นอัตราร้อยละ 50.76 คน ของจำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด

ผลการเลือกตั้งที่นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ไม่ได้ไปลงเลือกตั้งด้วยนั้น ปรากฏว่าไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงมากเกินกว่ากึ่งหนึ่ง จึงต้องตั้งรัฐบาลผสม และพรรคการเมืองก็ตกลงกันเองไม่ได้ จนต้องหันไปพึ่ง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลผสมที่มี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นแกนนำรัฐบาล มีพรรคการเมือง 4 พรรคเข้าร่วมได้แก่ พรรคกิจสังคม พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชากรไทย และพรรคชาติประชาธิปไตย

สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งนี้กับรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้อยู่กันมารอดจากความพยายามในการยึดอำนาจของทหารกลุ่มหนึ่ง ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 แต่สภาผู้แทนราษฎรก็ไม่สามารถอยู่จนครบวาระเพราะนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ประกาศยุบสภา ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 และนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 นั่นเอง