ผลต่างระหว่างรุ่นของ "8 เมษายน พ.ศ. 2491"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 7: บรรทัดที่ 7:
----
----


วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 นับเป็นวันการเมืองของไทยอีกวันหนึ่ง เพราะเป็นวันที่นายกรัฐมนตรีของไทยท่านหนึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลโดยอ้างว่าถูกบังคับ เรื่องนี้ในบันทึกของ นายประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ อดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรระบุว่า
วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 นับเป็นวันการเมืองของไทยอีกวันหนึ่ง เพราะเป็นวันที่[[นายกรัฐมนตรี]]ของไทยท่านหนึ่งได้ลาออกจากตำแหน่ง[[หัวหน้ารัฐบาล]]โดยอ้างว่าถูกบังคับ เรื่องนี้ในบันทึกของ นายประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ อดีต[[เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร]]ระบุว่า


“วันที่ 8 เมษายน คณะรัฐมนตรีได้ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งโดยอ้างว่าคณะรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ได้บังคับให้ลาออกจากตำแหน่งภายในเวลา 24 ชั่วโมง จึงจำต้องกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง”
“วันที่ 8 เมษายน [[คณะรัฐมนตรี]]ได้ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งโดยอ้างว่า[[คณะรัฐประหาร]] 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ได้บังคับให้ลาออกจากตำแหน่งภายในเวลา 24 ชั่วโมง จึงจำต้องกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง”
เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่น่ารู้ความเป็นมาและเป็นไป
เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่น่ารู้ความเป็นมาและเป็นไป
ประการแรก คณะรัฐมนตรีชุดที่ลาออกนี้คือคณะรัฐมนตรีที่มีนายควง  อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลที่คณะรัฐประหารไปขอให้มาเป็นรัฐบาล ภายหลังจากที่คณะรัฐประหารยึดอำนาจล้มรัฐบาลของพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์
ประการแรก คณะรัฐมนตรีชุดที่ลาออกนี้คือคณะรัฐมนตรีที่มี[[นายควง อภัยวงศ์]] [[หัวหน้าพรรค]]ประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลที่คณะรัฐประหารไปขอให้มาเป็นรัฐบาล ภายหลังจากที่คณะรัฐประหารยึดอำนาจล้มรัฐบาลของ[[พลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์]]
ประการที่สอง คณะรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ก็คือคณะทหารที่เข้ายึดอำนาจล้มรัฐบาล ล้มสภาและล้มรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน
ประการที่สอง คณะรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ก็คือคณะทหารที่เข้ายึดอำนาจล้มรัฐบาล ล้มสภาและล้มรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน
บรรทัดที่ 18: บรรทัดที่ 18:
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ เข้ามาบริหารประเทศแล้วก็ได้กำหนดการเลือกตั้งทั่วไปให้มีขึ้นในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 นับว่าเป็นการจัดการเลือกตั้งที่รวดเร็ว จากวันที่ยึดอำนาจ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 มาถึงวันเลือกตั้ง ยังไม่ทันถึง 90 วัน
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ เข้ามาบริหารประเทศแล้วก็ได้กำหนดการเลือกตั้งทั่วไปให้มีขึ้นในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 นับว่าเป็นการจัดการเลือกตั้งที่รวดเร็ว จากวันที่ยึดอำนาจ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 มาถึงวันเลือกตั้ง ยังไม่ทันถึง 90 วัน
ครั้นเลือกตั้งเสร็จ พรรคประชาธิปัตย์ที่เหนื่อยมาจากการเลือกตั้งก็ได้จัดตั้งรัฐบาล และมีนายควง  อภัยวงศ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 คราวนี้เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ประเทศประชาธิปไตยต่าง ๆ ที่ยังไม่รับรองรัฐบาล เพราะมาจากการยึดอำนาจในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ก็ได้กลับมารับรองรัฐบาลไทยกันใหม่ โดยรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อสภาและได้รับความไว้วางใจถึง 122 เสียง ต่อ 23 เสียง เข้าบริหารงานได้ตอนต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2491 เป็นอันว่าเรียบร้อยไปได้ขั้นหนึ่ง
ครั้นเลือกตั้งเสร็จ [[พรรคประชาธิปัตย์]]ที่เหนื่อยมาจากการเลือกตั้งก็ได้จัดตั้งรัฐบาล และมีนายควง  อภัยวงศ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 คราวนี้เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ประเทศประชาธิปไตยต่าง ๆ ที่ยังไม่รับรองรัฐบาล เพราะมาจากการยึดอำนาจในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ก็ได้กลับมารับรองรัฐบาลไทยกันใหม่ โดยรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อสภาและได้รับความไว้วางใจถึง 122 เสียง ต่อ 23 เสียง เข้าบริหารงานได้ตอนต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2491 เป็นอันว่าเรียบร้อยไปได้ขั้นหนึ่ง
แต่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ชุดนี้ได้เข้าทำงานบริหารประเทศได้เพียงหนึ่งเดือน ถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ของนายกรัฐมนตรี ควง  อภัยวงศ์ เสียด้วยนั้นก็มีคนมาบีบบังคับให้รัฐบาลลาออก บางคนบอกว่ารัฐบาลถูก “จี้” กลางเมือง
แต่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ชุดนี้ได้เข้าทำงานบริหารประเทศได้เพียงหนึ่งเดือน ถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ของนายกรัฐมนตรี ควง  อภัยวงศ์ เสียด้วยนั้นก็มีคนมาบีบบังคับให้รัฐบาลลาออก บางคนบอกว่ารัฐบาลถูก “จี้” กลางเมือง
คณะรัฐประหารได้ส่งสมาชิกสำคัญของคณะรัฐประหาร 4 คน มีพันโท ก้าน จำนงภูมิเวช พลตรี สวัสดิ์  สวัสดิเกียรติ พันเอก ขุนศิลป ศรชัย และพันโท ละม้าย อุทยานนท์ มาที่บ้านนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ มีคนบอกว่าบ้านท่านนายกฯ ควง อภัยวงศ์ อยู่ที่หน้าสนามกีฬาศุภลาศัยและก็บอกให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง เหตุผลที่ทางนายทหารทั้ง 4 มายื่นคำขาดนั้น นายณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม สมาชิกคนสำคัญจากพรรคประชาธิปัตย์ได้เขียนเล่าเองไว้ว่า
คณะรัฐประหารได้ส่งสมาชิกสำคัญของคณะรัฐประหาร 4 คน มี[[พันโท ก้าน จำนงภูมิเวช]] [[พลตรี สวัสดิ์  สวัสดิเกียรติ]] [[พันเอก ขุนศิลป ศรชัย]] และ[[พันโท ละม้าย อุทยานนท์]] มาที่บ้านนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ มีคนบอกว่าบ้านท่านนายกฯ ควง อภัยวงศ์ อยู่ที่หน้าสนามกีฬาศุภลาศัยและก็บอกให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง เหตุผลที่ทางนายทหารทั้ง 4 มายื่นคำขาดนั้น [[นายณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม]] สมาชิกคนสำคัญจากพรรคประชาธิปัตย์ได้เขียนเล่าเองไว้ว่า
“คณะรัฐประหารของเราได้ประชุม เห็นพ้องต้องกันว่า คณะรัฐบาลของท่าน ไม่สามารถแก้ไขภาวะการณ์ของบ้านเมืองให้ดีขึ้นได้”
“คณะรัฐประหารของเราได้ประชุม เห็นพ้องต้องกันว่า คณะรัฐบาลของท่าน ไม่สามารถแก้ไขภาวะการณ์ของบ้านเมืองให้ดีขึ้นได้”


เมื่อถูกยื่นคำขาดอย่างนั้น นายกรัฐมนตรี ควง  อภัยวงศ์ ก็ให้นายทหารคนสนิทไปสอบถามทางผู้นำของคณะรัฐประหารเพื่อหาความจริง ซึ่งก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นเจตนารมณ์ของคณะรัฐประหารจริง ทางนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้ตัดสินใจคนเดียว แต่ได้หารือกับบรรดาผู้นำของพรรคว่าจะขัดขืนหรือยอมตามคำขาด เขาเล่ากันว่ามีนักการเมืองพลเรือนที่มาจากต่างจังหวัดที่ต่อมาได้อยู่ในวงการเมืองอย่างยาวนานได้เสนอให้ขัดขืน แต่นายกรัฐมนตรีและผู้นำคนอื่นอีกหลายคนได้เห็นว่าน่าจะลาออก จึงได้ประกาศลาออกในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 ทั้ง ๆ ที่มีคนอีกจำนวนมากไม่เห็นด้วย
เมื่อถูกยื่นคำขาดอย่างนั้น นายกรัฐมนตรี ควง  อภัยวงศ์ ก็ให้นายทหารคนสนิทไปสอบถามทางผู้นำของคณะรัฐประหารเพื่อหาความจริง ซึ่งก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นเจตนารมณ์ของคณะรัฐประหารจริง ทางนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้ตัดสินใจคนเดียว แต่ได้หารือกับบรรดาผู้นำของพรรคว่าจะขัดขืนหรือยอมตามคำขาด เขาเล่ากันว่ามี[[นักการเมือง]]พลเรือนที่มาจากต่างจังหวัดที่ต่อมาได้อยู่ในวงการเมืองอย่างยาวนานได้เสนอให้ขัดขืน แต่นายกรัฐมนตรีและผู้นำคนอื่นอีกหลายคนได้เห็นว่าน่าจะลาออก จึงได้ประกาศลาออกในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 ทั้ง ๆ ที่มีคนอีกจำนวนมากไม่เห็นด้วย


การที่นายกรัฐมนตรี ควง  อภัยวงศ์ ได้สอบถามเพื่อความแน่ใจไปยังผู้นำคณะรัฐประหาร ซึ่งก็ได้ตอบยืนยันที่จะให้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ควง  อภัยวงศ์  ลาออกนั้น จอมพล ผิน  ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งถือว่ารู้เรื่องนี้ดีที่สุดคนหนึ่งในคณะรัฐประหาร ได้เขียนเล่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ อัตชีวประวัติของท่านเอง โดยยืนยันว่าได้ขอให้นายกรัฐมนตรี ควง  อภัยวงศ์  ลาออก
การที่นายกรัฐมนตรี ควง  อภัยวงศ์ ได้สอบถามเพื่อความแน่ใจไปยังผู้นำคณะรัฐประหาร ซึ่งก็ได้ตอบยืนยันที่จะให้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ควง  อภัยวงศ์  ลาออกนั้น [[จอมพล ผิน  ชุณหะวัณ]] หัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งถือว่ารู้เรื่องนี้ดีที่สุดคนหนึ่งในคณะรัฐประหาร ได้เขียนเล่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ อัตชีวประวัติของท่านเอง โดยยืนยันว่าได้ขอให้นายกรัฐมนตรี ควง  อภัยวงศ์  ลาออก
“ครั้นรัฐบาลของ นายควง  อภัยวงศ์ บริหารราชการแผ่นดินไปได้ 5 เดือนเศษ คณะรัฐประหารได้ประชุมกันพิจารณาว่ากิจการต่าง ๆ ไม่ก้าวหน้า ข้าราชการพลเรือน
“ครั้นรัฐบาลของ นายควง  อภัยวงศ์ [[บริหารราชการแผ่นดิน]]ไปได้ 5 เดือนเศษ คณะรัฐประหารได้ประชุมกันพิจารณาว่ากิจการต่าง ๆ ไม่ก้าวหน้า ข้าราชการพลเรือน
ขาดวินัย ไปทำงานตามกระทรวงมีแต่สวมเสื้อเชิ้ตและกางเกงตัวเดียว ตลอดจนผู้แทนราษฎรบางคนนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อเชิ้ตปล่อยชาย เสื้ออยู่ข้างนอกกางเกง เข้านั่งประชุมในสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐประหารจึงขอร้องให้นายควง  อภัยวงศ์ ออกจากนายกรัฐมนตรี”
ขาดวินัย ไปทำงานตามกระทรวงมีแต่สวมเสื้อเชิ้ตและกางเกงตัวเดียว ตลอดจน[[ผู้แทนราษฎร]]บางคนนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อเชิ้ตปล่อยชาย เสื้ออยู่ข้างนอกกางเกง เข้านั่งประชุมใน[[สภาผู้แทนราษฎร]] คณะรัฐประหารจึงขอร้องให้นายควง  อภัยวงศ์ ออกจากนายกรัฐมนตรี”
นับว่าเป็นเหตุผลที่ไม่น่าเชื่อเท่าใดนัก เปลี่ยนรัฐบาลแล้วจะแต่งตัวกันดีขึ้นจริงหรือ แต่นี้ก็คือเหตุผลและเรื่องของการลาออกของนายกรัฐมนตรีเรื่องหนึ่ง
นับว่าเป็นเหตุผลที่ไม่น่าเชื่อเท่าใดนัก เปลี่ยนรัฐบาลแล้วจะแต่งตัวกันดีขึ้นจริงหรือ แต่นี้ก็คือเหตุผลและเรื่องของการลาออกของนายกรัฐมนตรีเรื่องหนึ่ง


[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]]
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:59, 16 กันยายน 2556

ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 นับเป็นวันการเมืองของไทยอีกวันหนึ่ง เพราะเป็นวันที่นายกรัฐมนตรีของไทยท่านหนึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลโดยอ้างว่าถูกบังคับ เรื่องนี้ในบันทึกของ นายประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ อดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรระบุว่า

“วันที่ 8 เมษายน คณะรัฐมนตรีได้ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งโดยอ้างว่าคณะรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ได้บังคับให้ลาออกจากตำแหน่งภายในเวลา 24 ชั่วโมง จึงจำต้องกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง” เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่น่ารู้ความเป็นมาและเป็นไป

ประการแรก คณะรัฐมนตรีชุดที่ลาออกนี้คือคณะรัฐมนตรีที่มีนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลที่คณะรัฐประหารไปขอให้มาเป็นรัฐบาล ภายหลังจากที่คณะรัฐประหารยึดอำนาจล้มรัฐบาลของพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์

ประการที่สอง คณะรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ก็คือคณะทหารที่เข้ายึดอำนาจล้มรัฐบาล ล้มสภาและล้มรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน

รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ เข้ามาบริหารประเทศแล้วก็ได้กำหนดการเลือกตั้งทั่วไปให้มีขึ้นในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 นับว่าเป็นการจัดการเลือกตั้งที่รวดเร็ว จากวันที่ยึดอำนาจ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 มาถึงวันเลือกตั้ง ยังไม่ทันถึง 90 วัน

ครั้นเลือกตั้งเสร็จ พรรคประชาธิปัตย์ที่เหนื่อยมาจากการเลือกตั้งก็ได้จัดตั้งรัฐบาล และมีนายควง อภัยวงศ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 คราวนี้เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ประเทศประชาธิปไตยต่าง ๆ ที่ยังไม่รับรองรัฐบาล เพราะมาจากการยึดอำนาจในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ก็ได้กลับมารับรองรัฐบาลไทยกันใหม่ โดยรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อสภาและได้รับความไว้วางใจถึง 122 เสียง ต่อ 23 เสียง เข้าบริหารงานได้ตอนต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2491 เป็นอันว่าเรียบร้อยไปได้ขั้นหนึ่ง

แต่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ชุดนี้ได้เข้าทำงานบริหารประเทศได้เพียงหนึ่งเดือน ถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ของนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ เสียด้วยนั้นก็มีคนมาบีบบังคับให้รัฐบาลลาออก บางคนบอกว่ารัฐบาลถูก “จี้” กลางเมือง

คณะรัฐประหารได้ส่งสมาชิกสำคัญของคณะรัฐประหาร 4 คน มีพันโท ก้าน จำนงภูมิเวช พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิเกียรติ พันเอก ขุนศิลป ศรชัย และพันโท ละม้าย อุทยานนท์ มาที่บ้านนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ มีคนบอกว่าบ้านท่านนายกฯ ควง อภัยวงศ์ อยู่ที่หน้าสนามกีฬาศุภลาศัยและก็บอกให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง เหตุผลที่ทางนายทหารทั้ง 4 มายื่นคำขาดนั้น นายณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม สมาชิกคนสำคัญจากพรรคประชาธิปัตย์ได้เขียนเล่าเองไว้ว่า

“คณะรัฐประหารของเราได้ประชุม เห็นพ้องต้องกันว่า คณะรัฐบาลของท่าน ไม่สามารถแก้ไขภาวะการณ์ของบ้านเมืองให้ดีขึ้นได้”

เมื่อถูกยื่นคำขาดอย่างนั้น นายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ก็ให้นายทหารคนสนิทไปสอบถามทางผู้นำของคณะรัฐประหารเพื่อหาความจริง ซึ่งก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นเจตนารมณ์ของคณะรัฐประหารจริง ทางนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้ตัดสินใจคนเดียว แต่ได้หารือกับบรรดาผู้นำของพรรคว่าจะขัดขืนหรือยอมตามคำขาด เขาเล่ากันว่ามีนักการเมืองพลเรือนที่มาจากต่างจังหวัดที่ต่อมาได้อยู่ในวงการเมืองอย่างยาวนานได้เสนอให้ขัดขืน แต่นายกรัฐมนตรีและผู้นำคนอื่นอีกหลายคนได้เห็นว่าน่าจะลาออก จึงได้ประกาศลาออกในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 ทั้ง ๆ ที่มีคนอีกจำนวนมากไม่เห็นด้วย

การที่นายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ได้สอบถามเพื่อความแน่ใจไปยังผู้นำคณะรัฐประหาร ซึ่งก็ได้ตอบยืนยันที่จะให้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ลาออกนั้น จอมพล ผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งถือว่ารู้เรื่องนี้ดีที่สุดคนหนึ่งในคณะรัฐประหาร ได้เขียนเล่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ อัตชีวประวัติของท่านเอง โดยยืนยันว่าได้ขอให้นายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ลาออก

“ครั้นรัฐบาลของ นายควง อภัยวงศ์ บริหารราชการแผ่นดินไปได้ 5 เดือนเศษ คณะรัฐประหารได้ประชุมกันพิจารณาว่ากิจการต่าง ๆ ไม่ก้าวหน้า ข้าราชการพลเรือน ขาดวินัย ไปทำงานตามกระทรวงมีแต่สวมเสื้อเชิ้ตและกางเกงตัวเดียว ตลอดจนผู้แทนราษฎรบางคนนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อเชิ้ตปล่อยชาย เสื้ออยู่ข้างนอกกางเกง เข้านั่งประชุมในสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐประหารจึงขอร้องให้นายควง อภัยวงศ์ ออกจากนายกรัฐมนตรี”

นับว่าเป็นเหตุผลที่ไม่น่าเชื่อเท่าใดนัก เปลี่ยนรัฐบาลแล้วจะแต่งตัวกันดีขึ้นจริงหรือ แต่นี้ก็คือเหตุผลและเรื่องของการลาออกของนายกรัฐมนตรีเรื่องหนึ่ง