ผลต่างระหว่างรุ่นของ "29 มิถุนายน พ.ศ. 2494"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศ.นรนิต เศรษฐบุตร ---- '''ผู้ทรงคุณวุ...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' | '''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร | ||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
---- | ---- | ||
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เป็นวันเริ่มปฏิบัติการจะยึดอำนาจล้มรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยทหารเรือกลุ่มหนึ่งจำนวนไม่มาก แต่กระทำการไม่สำเร็จ จึงถูกเรียกว่า “กบฏ” และมีชื่อว่า “กบฏแมนแฮตตัน” จึงเป็นกบฏชื่อเป็นฝรั่งของไทย | วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เป็นวันเริ่มปฏิบัติการจะยึดอำนาจล้มรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยทหารเรือกลุ่มหนึ่งจำนวนไม่มาก แต่กระทำการไม่สำเร็จ จึงถูกเรียกว่า “กบฏ” และมีชื่อว่า “กบฏแมนแฮตตัน” จึงเป็นกบฏชื่อเป็นฝรั่งของไทย | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:20, 9 กันยายน 2556
ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เป็นวันเริ่มปฏิบัติการจะยึดอำนาจล้มรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยทหารเรือกลุ่มหนึ่งจำนวนไม่มาก แต่กระทำการไม่สำเร็จ จึงถูกเรียกว่า “กบฏ” และมีชื่อว่า “กบฏแมนแฮตตัน” จึงเป็นกบฏชื่อเป็นฝรั่งของไทย
เหตุการณ์คราวนี้เกิดขึ้นตอนบ่ายแก่ ๆ ของวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เวลาบ่ายสามโมงที่ท่าราชวรดิษฐ์ ซึ่งอยู่ถัดจากบริเวณท่าช้างวังหลวงไม่มาก วันเวลาดังที่กล่าวนี้ นายกรัฐมนตรีจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ไปเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดแมนแฮตตันที่ทางรัฐบาลอเมริกันมอบให้ไทย โดยมีอุปทูตผู้รักษาการณ์ของอเมริกัน คือ นายวิลเลียม เทอร์เนอร์ เป็นผู้แทนรัฐบาลอเมริกันเป็นผู้มอบ พอรับมอบเรือกันแล้ว แต่งานยังไม่ทันเลิก กำลังเดินชมเรือกันอยู่ก็มีผู้ที่ไม่ได้รับเชิญโผล่เข้ามาร่วมงาน ดังที่ ประเสริฐ ปัทะสุคนธ์ บันทึกเล่าเอาไว้
“ทันใดนั้น ประมาณ 17.00 น. นาวาตรี มนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรัตนโกสินทร์ พร้อมด้วยอาวุธปืนยิงเร็ว ได้เดินตรงไปที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ขณะที่กำลังลงเรือขุด “แมนแฮตตัน” ต่อหน้าทูตานุทูต...”
น.ต.มนัส จารุภา ได้ใช้ปืนจี้เอาตัวนายกรัฐมนตรีลงจากเรือขุดไปขึ้นเรือเปิดหัวที่รออยู่ นำจอมพล ป.พิบูลสงครามไปขึ้นเรือรบหลวงศรีอยุธยาและคุมตัวไว้ และให้รัฐบาลลาออก แต่ทางฝ่ายรัฐบาลแม้จะไม่มีตัวจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ยอมและประกาศใช้กำลังเข้าปราบ จนการต่อสู้ข้ามมาถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ทางกองทัพอากาศได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดที่เรือรบหลวงศรีอยุธยา จนเรือเสียหายจมลง แต่จอมพลป.พิบูลสงคราม หนีรอดว่ายน้ำไปขึ้นฝั่งได้ ทางรัฐบาลเป็นฝ่ายชนะ
คณะผู้ก่อการกบฏ ซึ่งเป็นทหารเรือเสียเป็นส่วนใหญ่จึงต้องหลบหนี หลังการปราบกบฏคราวนี้ ทางรัฐบาลได้ดำเนินคดีกับนายทหารเรือระดับสูงเกือบจะทั้งหมด และปลดผู้บัญชาการทหารเรือออกจากราชการ กองกำลังของทหารเรือถูกลดทอนลงมาก จากเดิมเป็นกองทัพที่เข้มแข็งและมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองก็พลอยลดหายไปเกือบหมดสิ้น