ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หัวคะแนน"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง'''ดร.ถวิลวดี บุรีกุล
'''ผู้เรียบเรียง''' ดร.ถวิลวดี บุรีกุล
----
 
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รศ. นรนิติ เศรษฐบุตร


----
----
'''หัวคะแนน  (Election Canvasser; Election Campaigner)'''
'''หัวคะแนน  (Election Canvasser; Election Campaigner)'''


บรรทัดที่ 12: บรรทัดที่ 14:


นอกจากนี้ มีวิธีการอื่น ๆ ที่หัวคะแนนดำเนินการโดยไม่ถูกกฎหมายอาทิการข่มขู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และข่มขู่ผู้สมัครคู่แข่ง ตลอดจนข่มขู่หัวคะแนนของคู่แข่ง
นอกจากนี้ มีวิธีการอื่น ๆ ที่หัวคะแนนดำเนินการโดยไม่ถูกกฎหมายอาทิการข่มขู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และข่มขู่ผู้สมัครคู่แข่ง ตลอดจนข่มขู่หัวคะแนนของคู่แข่ง
[[หมวดหมู่:สารานุกรมการเมืองไทย]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:48, 30 พฤษภาคม 2555

ผู้เรียบเรียง ดร.ถวิลวดี บุรีกุล


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ. นรนิติ เศรษฐบุตร


หัวคะแนน (Election Canvasser; Election Campaigner)

หัวคะแนน เป็นบุคคล หรือกลุ่มคนที่ทำหน้าที่ในการรณรงค์หาเสียง หรือคะแนนให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยทำการเชิญชวนให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกผู้สมัครที่ตนสนับสนุน โดยการเลือกตั้งนั้นเป็นทั้งการเลือกตั้งในระดับชาติคือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น

บุคคลที่มักทำหน้าที่เป็นหัวคะแนนคือผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นนั้น ๆ ผู้มีอิทธิพลที่สามารถโน้มน้าวเชิญชวนให้ประชาชนหันมาสนใจเลือกผู้สมัครที่ตนสนับสนุนได้ ผู้ที่เป็นหัวคะแนนในสังคมไทยมีหลากหลาย อาทิ ผู้นำชุมชน ผู้มีอิทธิพลต่าง ๆ โดยในการเป็นหัวคะแนนนี้ อาจมีทั้งเป็นโดยอาสาสมัครไม่รับสิ่งตอบแทน เพราะทำด้วยอุดมการณ์ที่ตรงกันกับผู้สมัคร หรือรักใคร่ชอบพอช่วยเหลือเป็นญาติพี่น้องเพื่อนฝูง ผู้ที่ตนนับถือก็มี หรือบางคนบางกลุ่มจะเป็นหัวคะแนนที่ทำงานโดยรับสิ่งตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ

สิ่งตอบแทนที่หัวคะแนนได้รับมีทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน วิธีการรณรงค์มีหลายรูปแบบทั้งที่ถูกกฎหมายหรือไม่ถูกกฎหมาย วิธีการที่ดำเนินกันโดยทั่วไปคือการช่วยหาเสียงต่าง ๆ เช่น แจกใบปลิว ติดโปสเตอร์ พูดเชิญชวนในงานกิจกรรมต่าง ๆ หรือเข้าพบปะประชาชนตามบ้านหรืองานประเพณี หัวคะแนนอาจทำงานเป็นเครือข่ายและมีการวางแผนดำเนินการต่อเนื่องไปในลำดับถัด ๆ ไปให้ครอบคลุมกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป้าหมายเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะได้รับคะแนนเพียงพอที่จะทำให้ผู้สมัครที่ตนสนับสนุนได้รับเลือกตั้งแน่นอน

นอกจากนี้ มีวิธีการอื่น ๆ ที่หัวคะแนนดำเนินการโดยไม่ถูกกฎหมายอาทิการข่มขู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และข่มขู่ผู้สมัครคู่แข่ง ตลอดจนข่มขู่หัวคะแนนของคู่แข่ง