ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มุ้ง"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' รศ.ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์ | '''ผู้เรียบเรียง''' รศ.ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์ | ||
---- | |||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ | |||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 16: | ||
ดังนั้น จึงเปรียบเทียบกลุ่มต่าง ๆ ในพรรคเดียวกันเสมือนการกางมุ้งหลายมุ้งในบ้านหรือภายใต้หลังคาเดียวกัน เรียกกลุ่มของสมาชิกพรรคการเมืองนี้ว่า “มุ้ง” หรือ “มุ้งการเมือง” | ดังนั้น จึงเปรียบเทียบกลุ่มต่าง ๆ ในพรรคเดียวกันเสมือนการกางมุ้งหลายมุ้งในบ้านหรือภายใต้หลังคาเดียวกัน เรียกกลุ่มของสมาชิกพรรคการเมืองนี้ว่า “มุ้ง” หรือ “มุ้งการเมือง” | ||
[[หมวดหมู่:สารานุกรมการเมืองไทย]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:25, 28 พฤษภาคม 2555
ผู้เรียบเรียง รศ.ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
มุ้ง หรือ มุ้งการเมือง
มุ้ง หมายถึงผ้าหรือสิ่งอื่นใดที่ใช้กางกันยุงหรือป้องกันยุง มุ้งในทางการเมืองหมายถึง การจับกลุ่มรวมตัวกันของสมาชิกพรรคการเมือง ในพรรคการเมืองเดียวกันอาจมีน้อยกลุ่มหรือหลายกลุ่ม
ในแต่ละกลุ่มก็จะมีหัวหน้ากลุ่มซึ่งสมาชิกของกลุ่มให้การยอมรับนับถือ จงรักภักดีและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของสมาชิกกลุ่มในการสนับสนุนนโยบายของพรรคการเมืองในเรื่องต่าง ๆ เช่นในพรรคไทยรักไทยซึ่งมี พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค ประกอบด้วยสมาชิกพรรคซึ่งสังกัดกลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกันหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มวังน้ำเย็น มีนายเสนาะ เทียนทอง เป็นหัวหน้ากลุ่ม กลุ่มวังบัวบาน มีนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ เป็นหัวหน้ากลุ่ม กลุ่มบุรีรัมย์ มีนายเนวิน ชิดชอบ เป็นหัวหน้ากลุ่ม กลุ่มพ่อมดดำ มีนายสุชาติ ตันเจริญ เป็นหัวหน้ากลุ่ม เป็นต้น
กลุ่มหรือมุ้งใดมีสมาชิกจำนวนมากรวมตัวกันเข้มแข็ง ก็มักจะมีอิทธิพลต่อการต่อรองตำแหน่งทางการเมือง เช่น ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำคัญ ๆ ตำแหน่งประธานสภา หรือตำแหน่งอื่น ๆ ที่มีความสำคัญ ในบางครั้งยังมีอิทธิพลต่อการต่อรองผลประโยชน์ หรือการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินสำหรับโครงการต่าง ๆ ซึ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อน และเมื่อมีเหตุการณ์ใดที่กระทบกระเทือนต่อหัวหน้ากลุ่ม จะมีสมาชิกของกลุ่มออกมาปกป้องตอบโต้เพื่อแสดงให้หัวหน้ากลุ่มเห็นความสำคัญของตน หากต่อไปมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งทางการเมืองหัวหน้ากลุ่มจะสนับสนุนให้ผู้ที่แสดงความจงรักภักดีได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ต่อไป
ดังนั้น จึงเปรียบเทียบกลุ่มต่าง ๆ ในพรรคเดียวกันเสมือนการกางมุ้งหลายมุ้งในบ้านหรือภายใต้หลังคาเดียวกัน เรียกกลุ่มของสมาชิกพรรคการเมืองนี้ว่า “มุ้ง” หรือ “มุ้งการเมือง”