ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 6 วันที่ 29 มกราคม 2491"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 2: | บรรทัดที่ 2: | ||
---- | ---- | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 13: | ||
ผลการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวน[[ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง]]เลือกตั้งทั้งหมด 7,176,891 คน มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน 2,117,474 คน คิดเป็นร้อยละ 26.54 ของจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดระนอง มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 58.69 จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ จังหวัดสมุทรปราการ คิดเป็นร้อยละ 15.68 | ผลการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวน[[ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง]]เลือกตั้งทั้งหมด 7,176,891 คน มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน 2,117,474 คน คิดเป็นร้อยละ 26.54 ของจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดระนอง มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 58.69 จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ จังหวัดสมุทรปราการ คิดเป็นร้อยละ 15.68 | ||
การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2490]] ซึ่งประกาศใช้โดย[[คณะรัฐประหาร]]นำโดย[[พลโทผิน ชุณหวัณ]] โดยการเลือกตั้งครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้รัฐบาลนำโดย[[นายควง อภัยวงศ์]] [[นายกรัฐมนตรี]] ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการจัดการเลือกตั้งตามบทเฉพาะกาลของ[[รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว]] ผลการเลือกตั้งพบว่า | การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2490]] ซึ่งประกาศใช้โดย[[คณะรัฐประหาร]]นำโดย[[ผิน ชุณหวัณ|พลโทผิน ชุณหวัณ]] โดยการเลือกตั้งครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้รัฐบาลนำโดย[[ควง อภัยวงศ์|นายควง อภัยวงศ์]] [[นายกรัฐมนตรี]] ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการจัดการเลือกตั้งตามบทเฉพาะกาลของ[[รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว]] ผลการเลือกตั้งพบว่า พรรค[[ประชาธิปัตย์]] ได้ 53 ที่นั่ง พรรค[[ประชาชน]] ได้ 12 ที่นั่ง พรรค[[ธรรมาธิปัตย์]] ได้ 5 ที่นั่ง และผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่สังกัดพรรคใด จำนวน 3 ที่นั่ง ซึ่งต่อมาสมาชิกที่ไม่สังกัดพรรคใดได้เข้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็น[[พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล]]ในสภา | ||
==ที่มา== | |||
บุญทัน ดอกไธสง, '''การเปลี่ยนแปลงทางการบริหารและการเมืองไทย''', กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2522 | บุญทัน ดอกไธสง, '''การเปลี่ยนแปลงทางการบริหารและการเมืองไทย''', กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2522 |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:24, 21 มีนาคม 2554
ผู้เรียบเรียง ชาย ไชยชิต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 5 วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491
การเลือกตั้งครั้งที่นี้เป็นการเลือกตั้งทางตรง โดยวิธีรวมเขตเรียงเบอร์ โดยถือเอาจังหวัดหนึ่งเป็นเขตการเลือกตั้งหนึ่ง จำนวนผู้แทนราษฎรในแต่ละจังหวัดคำนวณโดยถือเอาจำนวนประชาชน 200,000 คน ต่อผู้แทนราษฎร 1 คน ทำให้มีจำนวนผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งครั้งนี้จำนวน 99 คน การเลือกตั้งครั้งนี้จัดขึ้นเนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้วถึงคราวพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ผลการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด 7,176,891 คน มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน 2,117,474 คน คิดเป็นร้อยละ 26.54 ของจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดระนอง มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 58.69 จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ จังหวัดสมุทรปราการ คิดเป็นร้อยละ 15.68
การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2490 ซึ่งประกาศใช้โดยคณะรัฐประหารนำโดยพลโทผิน ชุณหวัณ โดยการเลือกตั้งครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้รัฐบาลนำโดยนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการจัดการเลือกตั้งตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ผลการเลือกตั้งพบว่า พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 53 ที่นั่ง พรรคประชาชน ได้ 12 ที่นั่ง พรรคธรรมาธิปัตย์ ได้ 5 ที่นั่ง และผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่สังกัดพรรคใด จำนวน 3 ที่นั่ง ซึ่งต่อมาสมาชิกที่ไม่สังกัดพรรคใดได้เข้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลในสภา
ที่มา
บุญทัน ดอกไธสง, การเปลี่ยนแปลงทางการบริหารและการเมืองไทย, กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2522
ฝ่ายพัฒนาการเมืองและการปกครอง สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย, อนุสารการเมือง, มีนาคม 2522
โคทม อารียา, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) หมวดองค์กรทางการเมือง เรื่องที่ 5 ระบบการเลือกตั้ง,กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2544
ขจัดภัย บุรุษพัฒน์, การเมืองและพรรคการเมืองไทยนับแต่ยุคแรกถึงปัจจุบัน, พระนคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2511