ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิ้งจกเปลี่ยนสี"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' รศ.ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์ ---- จิ้งจกเปลี่... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 3: | บรรทัดที่ 3: | ||
---- | ---- | ||
จิ้งจกเปลี่ยนสี | จิ้งจกเปลี่ยนสี เป็นคำพูดที่เปรียบเปรย[[นักการเมือง]]ที่มีแนวคิดอุดมการณ์อย่างหนึ่ง เช่น การปฏิบัติตนในการหาเสียง[[การเลือกตั้ง|เลือกตั้ง]] ยึดหลักประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ จนประชาชนเชื่อมั่นว่าเป็นนักการเมืองที่มีอุดมการณ์ เป็นที่พึ่งพาได้ หากได้ไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจในการตัดสินใจทางการเมือง ประโยชน์สุขก็จะเกิดแก่ประชาชน แต่เมื่อนักการเมืองผู้นั้นได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็น[[รัฐมนตรี]]แล้วกลับกลายไปอยู่ในกลุ่มนักการเมืองที่[[เอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มผลประโยชน์]] นายทุน หรือเห็นด้วยกับผู้มีอำนาจที่มีผลประโยชน์ส่วนตัวแอบแฝง โดยไม่ต่อสู้เพื่อประโยชน์ของประชาชนดังเช่นอุดมการณ์ของตนในอดีตต่อไป และเข้ากลุ่มนักการเมืองอื่น ๆ และถูกกลืนไปเป็นพวกของนักการเมืองอื่น ทำนองเดียวกับจิ้งจกที่เปลี่ยนสีไปตามสภาพแวดล้อม ถ้าไปอยู่ในที่มืดก็จะมีตัวสีดำ แต่ถ้าอยู่ในที่สว่างก็จะมีสีตัวเป็นสีขาวหรือสีเทาตามสภาพแวดล้อมนั้น และคำว่า จิ้งจกเปลี่ยนสี นี้ เป็นคำเปรียบเปรยที่ใกล้เคียงกับคำว่า “[[แปรพักตร์]]” ซึ่งใช้กับบุคคลที่อยู่ในฝ่ายการเมืองข้างหนึ่งแล้วต่อมาเปลี่ยนใจไปเข้ากับฝ่ายตรงข้าม |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:40, 13 กันยายน 2553
ผู้เรียบเรียง รศ.ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์
จิ้งจกเปลี่ยนสี เป็นคำพูดที่เปรียบเปรยนักการเมืองที่มีแนวคิดอุดมการณ์อย่างหนึ่ง เช่น การปฏิบัติตนในการหาเสียงเลือกตั้ง ยึดหลักประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ จนประชาชนเชื่อมั่นว่าเป็นนักการเมืองที่มีอุดมการณ์ เป็นที่พึ่งพาได้ หากได้ไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจในการตัดสินใจทางการเมือง ประโยชน์สุขก็จะเกิดแก่ประชาชน แต่เมื่อนักการเมืองผู้นั้นได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีแล้วกลับกลายไปอยู่ในกลุ่มนักการเมืองที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มผลประโยชน์ นายทุน หรือเห็นด้วยกับผู้มีอำนาจที่มีผลประโยชน์ส่วนตัวแอบแฝง โดยไม่ต่อสู้เพื่อประโยชน์ของประชาชนดังเช่นอุดมการณ์ของตนในอดีตต่อไป และเข้ากลุ่มนักการเมืองอื่น ๆ และถูกกลืนไปเป็นพวกของนักการเมืองอื่น ทำนองเดียวกับจิ้งจกที่เปลี่ยนสีไปตามสภาพแวดล้อม ถ้าไปอยู่ในที่มืดก็จะมีตัวสีดำ แต่ถ้าอยู่ในที่สว่างก็จะมีสีตัวเป็นสีขาวหรือสีเทาตามสภาพแวดล้อมนั้น และคำว่า จิ้งจกเปลี่ยนสี นี้ เป็นคำเปรียบเปรยที่ใกล้เคียงกับคำว่า “แปรพักตร์” ซึ่งใช้กับบุคคลที่อยู่ในฝ่ายการเมืองข้างหนึ่งแล้วต่อมาเปลี่ยนใจไปเข้ากับฝ่ายตรงข้าม